EU แก้ไขกฎระเบียบเพิ่มเติมสำหรับสินค้าประมงแช่แข็งเพื่อลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนพยาธิมีชีวิต |
---|
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2554 คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศตีพิมพ์ใน EU Official Journal L 327 Volume 39 เรื่องการแก้ไขเงื่อนไขการแช่แข็งสินค้าประมงเพื่อการบริโภคของมนุษย์ ภายใต้กฎระเบียบ Regulation (EC) No 853/2004 ซึ่งเป็นการกำหนดข้อบังคับด้านสุขอนามัยสำหรับอาหารที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ที่ผู้ผลิตสินค้าอาหารต้องปฏิบัติตาม โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้ 1 เพื่อให้เป็นไปตามผลประเมินความเสี่ยงของหน่วยงานความปลอดภัยสหภาพยุโรป ซึ่งเห็นควรกำหนดเงื่อนไขควบคุมความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของพยาธิ (parasite) ที่สามารถมีอยู่ได้ในสินค้าประมงและสัตว์น้ำ ทั้งที่จับได้ตามธรรมชาติและที่ได้จากการเพาะเลี้ยง ในกรณีที่มีการบริโภคสินค้าดังกล่าวในลักษณะดิบ (raw) หรือเกือบดิบ (almost raw) โดยกำหนดเงื่อนไขใหม่ดังนี้ ภาพหนอนพยาธิ Anisakis simplex 2. สำหรับหนอนพยาธิที่ไม่ใช่ trematodes กระบวนการแช่แข็ง (freezing) จะต้องทำให้อุณหภูมิต่ำลงในทุกอนูของสินค้าในระดับอุณหภูมิอย่างต่ำที่ (a) - 20 องศาเซลเซียสเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง (b) - 35 องศาเซลเซียสเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง3. ผู้ประกอบการสินค้าอาหารไม่จำเป็นต้องใช้กระบวนการแช่แข็งที่กำหนดไว้ในข้อ 1. สำหรับสินค้าประมง ในกรณีดังต่อไปนี้ (a) สินค้าที่ผ่านหรือที่จะผ่านกระบวนการความร้อน (thermal processing) ที่สามารถฆ่าหนอนพยาธิที่มีชีวิตได้ก่อนการรับประทานของผู้บริโภค ในกรณีสำหรับหนอนพยาธิที่ไม่ใช่ trematodes สินค้าจะต้องได้รับความร้อนถึงเนื้อชั้นในที่ระดับ 60 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า เป็นเวลาอย่างน้อย 1 นาที (b) สินค้าที่ได้รับการจัดเก็บในรูปสินค้าประมงแช่แข็งเป็นระยะเวลานานเพียงพอที่จะสามารถฆ่าหนอนพยาธิมีชีวิตได้ (c) สินค้าที่จับจากแหล่งธรรมชาติ ให้เป็นดังนี้- มีสถิติข้อมูลการระบาดที่บ่งบอกว่าสถานที่แหล่งจับปลาปลอดจากการระบาดของโรคหนอนพยาธิที่เป็นอันตราย- เมื่อหน่วยงานรับผิดชอบอนุญาต (d) สินค้ามาจากฟาร์มเพาะเลี้ยงตัวอ่อนที่ได้รับอาหารไม่มีหนอนพยาธิมีชีวิตปนเปื้อน ที่อาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้-ได้รับการเพาะเลี้ยงเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่ปลอดจากหนอนพยาธิมีชีวิต หรือ-ผู้ประกอบการได้ตรวจสอบทั้งกระบวนการและได้รับการรับรองจากหน่วยงานรับผิดชอบว่า สินค้าประมงดังกล่าวจะไม่ส่งผลอันตรายจากการปนเปื้อนของหนอนพยาธิมีชีวิต4. (a) เมื่อวางจำหน่ายสินค้าในตลาด ยกเว้นเมื่อจำหน่ายโดยตรงให้แก่ผู้บริโภค สินค้าประมงที่กล่าวถึงในข้อ 1. จะต้องมีใบรับรองที่ออกโดยผู้ประกอบการอาหารระบุว่าสินค้าดังกล่าวผ่านกระบวนการแช่แข็ง (freezing) โดยต้องระบุชนิดของกระบวนการแช่แข็งด้วย (b) ก่อนการวางจำหน่ายในตลาด สินค้าประมงที่ระบุในข้อ 3 (c) และ (d) ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการแช่แข็งหรือที่จะไม่ผ่านกระบวนที่สามารถฆ่าหนอนพยาธิได้ก่อนการบริโภค ผู้ประกอบการอาหารจำเป็นต้องตรวจสอบสินค้าว่าสินค้าประมงนั้นจับได้มาจากแหล่งจับหรือแหล่งเพาะเลี้ยงที่ถูกต้องตามเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งข้างต้น รวมทั้งต้องระบุข้อมูลดังกล่าวในเอกสารทางการค้า (commercial document) หรือเอกสารใดที่แนบไปกับสินค้าประมงนั้นๆ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากhttp://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2011:327:0039:0041:EN:PDF ทั้งนี้จะมีผลปรับใช้ 20 วันหลังจากประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2554) จึงมีผลปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2554 ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป |