อุตสาหกรรมอาหาร กับ เทคโนโลยีสะอาด (CT)
จากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ปัญหาโลกร้อน อันตรายต่างๆ ปนเปื้อนกับสิ่งแวดล้อม ทุกทิศทุกทาง ทั้ง ดิน น้ำ อากาศ ทำให้ทั่วโลกจำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อร่วมกัน ป้องกัน ร่วมกันใช้ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน ที่มีอยู่อย่างจำกัด อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า มากที่สุดไว้ให้ลูกหลาน
เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด (Cleaner Technology : CT) อาจเรียกว่า การผลิตเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Productivity) หมายถึง การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือผลิตภัณฑ์ เพื่อให้การใช้ วัตถุดิบ พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้เปลี่ยนเป็นของเสียน้อยที่สุด หรือไม่มีเลย (Waste Minimization) จึงเป็นการลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด (Pollution Prevention) ทั้งนี้ รวมถึงการเปลี่ยนวัตถุดิบ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนในการผลิตไปพร้อมกัน
เทคโลโลยีการผลิตที่สะอาดจึง เป็นแนวทางหนึ่งของการจัดการสิ่งแวดล้อมในลักษณะของการป้องกันมลพิษ ที่มีการประยุกต์และผสมผสานกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมของภาคการผลิต ให้มีการป้องกันหรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพในการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดเป็นการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดการใช้วัตถุดิบ พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยทำให้เกิดของเสียน้อยที่สุดหรือไม่มีเลยรวมถึงการเปลี่ยนวัตถุดิบ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ จึงเป็นการลดมลพิษ ที่แหล่งกำเนิดช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์และลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการบำบัดหรือกำจัดของเสีย จึงเกิดประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้า
อุตสาหกรรมอาหาร เป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ที่นำวัตถุดิบจากการเกษตร เช่น ผัก ผลไม้ เมล็ดธัญพืช เนื้อสัตว์ซึ่งได้จากธรรมชาติ มาผ่านการแปรรูป เพื่อให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการถนอมอาหาร ยืดอายุการเก็บรักษา และสะดวกในการรับประทาน ซึ่งกระบวนการแปรรูปอาหารตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบจนถึง การแปรรูปอาหารด้วยกรรมวิธีต่างๆ เช่น การแปรรูปอาหารความร้อน การแช่เยือกแข็ง การทำแห้งจำเป็นต้องใช้พลังงานสูง และทำให้เกิดของเสียเป็นจำนวนมาก ทั้งขยะจากเศษอาหารน้ำล้าง น้ำทิ้ง ซึ่งมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และยังเกิดการปนเปื้อนไปยังอาหารที่ผลิต ทำให้เกิดอันตรายทางอาหาร (food hazard) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผู้ผลิตอาหารโดยตรง
นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์อาหาร ยังมีการใช้ บรรจุภัณฑ์เป็นจำนวนมาก ซึ่งต้องการพลังงานทั้งไฟฟ้า น้ำมัน และพลังงงานอื่นๆ ในการผลิต และยังก่อให้เกิด "ขยะ" ปริมาณมหาศาล
ประเภทของพลังงานที่ใช้ในการผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ 1 ตัน (หน่วย 106 Joules, หรือ MJ)
วัสดุบรรจุภัณฑ์ | ไฟฟ้า | น้ำมัน | พลังงานอื่นๆ |
แก้ว | 1,304 | 8,471 | 5,919 |
กระป๋อง 3 ชิ้น (450 ซี.ซี.) | 10,531 | 16,802 | 28,993 |
กระป๋องอะลูมิเนียม (450 ซี.ซี.) | 79,625 | 76,829 | 57,276 |
กระดาษแข็ง | 9,350 | 25,630 | 16,630 |
ขวด LDPE (50,000 ขวด) | 6,720 | 36,820 | - |
ขวด HDPE (50,000 ขวด) | 6,890 | 37,910 | - |
ขวด PP (50,000 ขวด) | 3,340 | 40,390 | - |
ขวด PET (50,000 ขวด) | 18,660 | - | - |
แหล่งที่มา : Boustead, Hancock "Energy and Packaging
http://www.foodnetworksolution.com/control/knowledge_edit_content/142
ดังนั้นเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด จึงเป็นเครื่องมือเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพสำหรับอุตสหาหรรมอาหาร เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน นำไปสู่มาตรฐาน การจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 ซึ่งเป็นที่ยอมรับ ในวงการค้า ในโลกปัจจุบันด้วย
วิธีการของเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด
การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด ต้องมีการค้นหาแหล่งกำเนิดของเสียหรือมลพิษ และวิเคราะห์หาสาเหตุว่าของเสียหรือมลพิษเหล่านั้นเกิดอย่างไร การลดมลพิษสามารถทำได้โดย
1) การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ (Product Reformulation) เป็นการปรับปรุงในรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดการเกิดสารมลพิษ โดยพัฒนาการออกแบบให้มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด เช่น น้ำผลไม้เข้มข้น ซึ่งนำไปผสมน้ำให้เป็นผลไม้พร้อมดื่ม อาหารแห้ง เช่นเครื่องดื่มผงชงดื่มชาเขียวบรรจุซองชา ใช้ชงดื่มแทนการบรรจุขวดพร้อมดื่มเพื่อลดจำนวนบรรจุภัณฑ์ใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ง่าย หรือ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น กระดาษ วัสดุจากธรรมชาติรวมทั้งยกเลิกหีบห่อที่ไม่จำเป็น
2) การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต (Process Change) สามารถดำเนินการได้ ดังนี้
2.1) การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ (Input Material Change) เป็นการเลือกใช้วัตถุดิบที่สะอาด มีการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรก วัตถุอันตรายทางการเกษตรให้น้อยที่สุดโดยใช้มาตรการGood Agricultural Practice หรือGAPหากเป็นไปได้ควรมีการกำจัดสิ่งปนเปื้อน เช่น ดิน ทราย กิ่งไม้วัชพืช ออกตั้งแต่แหล่งที่มาก่อนที่จะเข้าสู่โรงงานหรือเข้าสู่กระบวนการผลิตเพื่อลดปริมาณน้ำที่ใช้เพื่อการล้าง
2.2) การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี (Technology Improvement) โดยการปรับเปลี่ยนวิธีการ กลไกในกระบวนการผลิต หรือปรับปรุงอุปกรณ์ในสายการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหรือลดการ สูญเสีย เปลี่ยนการออกแบบใหม่ เพิ่มระบบอัตโนมัติเข้าช่วย ปรับปรุงข้อจำกัดในการปฏิบัติงานและการใช้เทคโนโลยี เป็นต้น
ทำได้โดยการออกแบบใหม่ เพิ่มระบบอัตโนมัติ เข้าช่วยปรับปรุง คุณภาพของอุปกรณ์ และแสวงหาเทคโนโลยีใหม่มาใช้ เช่น
3) การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน (Operational Improvement) โดยการปรับปรุงการบริหารระบบการวางแผนและควบคุมการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพของกระบวนการผลิตให้สามารถลดต้นทุนการผลิตและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิผล เช่น มีกระบวนการทำงานและขั้นตอนการบำรุงรักษาที่ชัดเจน มีการบริหารการปฏิบัติงาน มีการฝึกอบรม มีวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง มีระบบการจัดเก็บในโกดัง ชั้นเก็บของ ใช้ระบบ First in - First out เพื่อลดการสูญเสียจากคุณภาพของผลิตภัณฑ์ มีการวางแผนซ่อมบำรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ หลีกเลี่ยงการรวมของเสียต่างชนิดเข้าด้วยกันแยกของเสียที่เกิดขึ้นในขั้นตอนต่างๆ อย่างเหมาะสม การใช้ซ้ำ (Reuse) หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เป็นต้น
ประโยชน์จากนำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร ของไทย ต้องตระหนักถึงบทบาทของการมีส่วนร่วมสำคัญเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อม ผลดีที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีสะอาด เริ่มต้นที่ตัวท่านเองก่อน เพราะเทคโนโลยีสะอาด เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ในการสร้างการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารอย่างยั่งยืน ทำให้สามารถรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการพัฒนา อุตสาหกรรมของประเทศ ผลของการใช้ เทคโนโลยีสะอาด สามารถช่วยให้
Refernces
http://www.sme.go.th/SiteCollectionDocuments/วิจัยSMEs/FATและผลกระทบ/เตรียมรับมาตรการ/doc (5) .pdf