ปัจจุบันมีการใช้เครื่องปั้นโดว์ สำหรับการปั้น และคลึงให้โดว์มีผิวหน้าเรียบแทนการใช้มือในการผลิตเบเกอรี่ อย่างแพร่หลาย ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานผู้บริโภคและเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมประเภทนี้
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้จัดทำขึ้นตามความร่วมมือด้านการกำหนดมาตรฐานระหว่างสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกับอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้กำหนดขึ้นโดยอาศัยข้อมูลจากผู้ทำและเอกสารต่อไปนี้เป็นแนวทาง
มอก. 11 เล่ม 1-2553 สายไฟฟ้าหุ้มฉนวนพอลิไวนิลคลอไรด์แรงดันไฟฟ้าที่กําหนดไม่เกิน 450/750 โวลต์เล่ม 1 ข้อกำหนดทั่วไป
มอก. 166 - 2549 เต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย และงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน: เต้าเสียบและเต้ารับที่มีแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 250 โวลต์
มอก. 465 เล่ม 1 - 2554 วิธีการชักตัวอย่างเพื่อการตรวจสอบลักษณะเชิงคุณภาพ เล่ม 1 แบบแผนการชักตัวอย่างระบุโดยขีดจำกัดคุณภาพที่ยอมรับ (AQL)เพื่อการตรวจสอบรุ่นต่อรุ่น
มอก. 866 - 2550 มอเตอร์เหนี่ยวนำ
มอก. 1375 - 2547 ความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นที่คล้ายกัน ข้อกำหนดทั่วไป
มอก. 1998 - 2543 ความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานที่มีลักษณะคล้ายกัน ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับเครื่องครัวเชิงพาณิชย์
มอก. 2162 - 2556 เต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน: คุณลักษณะที่ต้องการทั่วไป
มอก. 2593 เล่ม 1 สวิตซ์สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า เล่ม 1 คุณลักษณะที่ต้องการทั่วไป
ANSI Z50.2-2013 American National Standard for Bakery Equipment-Sanitation requirements
เครื่องปั้นโดว์
1. ขอบข่าย
1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ครอบคลุมเครื่องปั้นโดว์ประเภทปั้นโดว์เพียงอย่างเดียว ประเภทแบ่งโดว์และปั้นโดว์ในเครื่องเดียวกัน (กึ่งอัตโนมัติหรืออัตโนมัติ) ซึ่งมาตรฐานนี้ไม่ครอบคลุมเครื่องปั้นโดว์ที่ต้องมีระบบลำเลียงก้อนโดว์จากเครื่องแบ่งโดว์ไปยังเครื่องปั้นโดว์
2. บทนิยาม
ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้มีดังต่อไปนี้
โดว์ (dough) หมายถึง ของผสมที่ได้จากการผสมแป้งสาลีโปรตีนสูง(bread flour/strong flour/hard flour)กับน้ำและส่วนผสมอื่นๆ เช่น ยีสต์ไข่ นม น้ำมันเนยน้ำตาลแล้วนวดให้เข้ากัน ทำให้โดว์มีลักษณะ เหนียว นุ่ม ยืดหยุ่น ดึงเป็นแผ่นบางได้โดยไม่ขาดง่าย
การปั้นโดว์ (dough rounding) หมายถึง กระบวนการขึ้นรูปโดว์ (dough) ที่ผ่านการตัดเป็นชิ้นแล้วโดยการปั้น หรือคลึงให้เป็นก้อนกลม หรือมีลักษณะตามต้องการ ผิวเรียบเนียน
เครื่องแบ่งโดว์และปั้นโดว์ในเครื่องเดียวกันแบบกึ่งอัตโนมัติ(semi-automatic bun machine) หมายถึงเครื่องที่มีกลไกการแบ่งโดว์และปั้นโดว์อยู่ในเครื่องเดียวกัน และมีการใช้กลไกการทำงานบางอย่างร่วมกัน โดว์จะ ถูกวางอยู่บนแผ่นรองโดว์ขณะถูกแบ่งและปั้นโดยไม่มีการเคลื่อนย้ายโดว์ในทั้งสองขั้นตอนซึ่งในขั้นตอนการปั้นผู้ปฏิบัติงานต้องโยกคันโยกเพื่อให้กลไกการปั้นทำงาน
เครื่องแบ่งโดว์และปั้นโดว์ในเครื่องเดียวกัน แบบอัตโนมัติ(automatic bun machine) หมายถึงเครื่องที่มีกลไกการแบ่งโดว์และปั้นโดว์อยู่ในเครื่องเดียวกัน และมีการใช้กลไกการทำงานบางอย่างร่วมกัน โดว์จะถูกวางอยู่ บนแผ่นรองขณะถูกแบ่งและปั้นโดยไม่มีการเคลื่อนย้ายโดว์ในทั้งสองขั้นตอนซึ่งกลไกการปั้นจะทำงานต่อเนื่องจากกลไกการแบ่งแบบอัตโนมัติ
แป้งสาลีชนิดทำขนมปัง (แป้งสาลีชนิดโปรตีนสูง) หมายถึง แป้งสาลีที่มีปริมาณโปรตีนอยู่ระหว่าง 11% - 14 %
การโรยแป้ง (dusting) หมายถึง กระบวนการโรยแป้งสาลีลงบนโดว์หรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรเพื่อป้องกันไม่ให้โดว์ติดกันเองและติดกับชิ้นส่วนของเครื่องจักร
3. ประเภทและแบบ
3.1 เครื่องปั้นโดว์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการทำงานของเครื่องปั้นโดว์ คือ
3.1.1 ประเภทปั้นโดว์เพียงอย่างเดียว แบ่งเป็น 2 แบบ ตามกลไกการปั้นคือ
3.1.1.1 แบบแกนหมุน
3.1.1.2 แบบสายพาน
3 .1.2 ประเภทแบ่งโดว์และปั้นโดว์ในเครื่องเดียวกัน (กึ่งอัตโนมัติหรืออัตโนมัติ) แบบกลไกการปั้นคลึงอยู่กับที่
4. วัสดุ ส่วนประกอบและการทำ
4.1 วัสดุ
4 .1.1 ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่สัมผัสหรือมีโอกาสสัมผัสกับอาหาร (product zone) คือ พื้นผิวของส่วนประกอบของเครื่องจักรที่มีโอกาสสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงพื้นผิวที่อาจเกิดหยดน้ำจากการกลั่นตัวและหยดลงบนผ ลิตภัณฑ์ หรือวัตถุแปลกปลอมที่อาจตกลงไปปนเปื้อนกับผลิตภัณฑ์ได้แก่สายพานปั้นโดว์ แกนทรงกระบอกปั้นโดว์แผ่นรองโดว์ และกล่องโรยแป้ง ต้องทำจากวัสดุชั้นคุณภาพที่ใช้กับอาหาร
4 .1.2 ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ไม่สัมผัสอาหาร (non product zone) คือ ส่วนประกอบของเครื่องจักรที่ไม่มีโอกาสสัมผัสหรือปนเปื้อนกับผลิตภัณฑ์ได้แก่โครงเครื่อง สวิตซ์ปิด-เปิด ไฟแสดงสถานะการทำงาน ต้องทำจากวัสดุที่ทนกา รกัดกร่อน หรือวัสดุที่ผ่านการเคลือบผิวหรือพ่นสีเพื่อป้องกันการกัดกร่อน โดยผิวเคลือบหรือสีที่พ่นต้องมีสารตะกั่วไม่เกิน 0.06 % ของมวลสารเคลือบ
การ ทดสอบทำโดยตรวจสอบตามใบรับรอง หรือการตรวจพินิจ
4.2 ส่วนประกอบ
4.2.1 เครื่องปั้นโดว์ประเภทปั้นโดว์เพียงอย่างเดียว แบบแกนหมุน อย่างน้อยต้องมีส่วนประกอบหลักดังแสดงในรูปที่ 1
การทดสอบทำโดยการตรวจพินิจ
4.2.2 เครื่องปั้นโดว์ประเภทปั้นโดว์เพียงอย่างเดียว แบบสายพานอย่างน้อยต้องมีส่วนประกอบหลักดังแสดงในรูปที่ 2
การทดสอบทำโดยการตรวจพินิจ
4.2.3 เครื่องปั้นโดว์ ประเภทแบ่งโดว์และปั้นโดว์ในเครื่องเดียวกัน (กึ่งอัตโนมัติหรืออัตโนมัติ) แบบกลไกการปั้นคลึงอยู่กับที่อย่างน้อยต้องมีส่วนประกอบหลักดังแสดงในรูปที่ 3
พิจารณาเฉพาะส่วนปั้นโดว์
การทดสอบทำโดยการตรวจพินิจ
4.3 การทำ
ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ของส่วนประกอบของเครื่องปั้นโดว์ต้องเป็นดังนี้
4.3.1 กลไกการปั้นโดว์
4.3.1.1 พื้นผิวส่วนที่สัมผัสก้อนโดว์ (เพื่อใช้คลึงให้ก้อนโดว์มีความเรียบเนียน) ต้องเรียบและส่วนหรือบริเวณที่ต่อให้ติดกันด้วยการเชื่อมจะต้องเป็นการเชื่อมแบบต่อชนและขัดแต่งรอยเชื่อมให้เรียบและสม่ำเสมอ ไม่มีส่วน ที่อาจเสี่ยงต่อการสะสมของจุลินทรีย์และสามารถล้างทำความสะอาดได้
4.3.1.2 กรณีเครื่องปั้นโดว์แบบแบ่งและปั้นในเครื่องเดียวกัน แผ่นรองโดว์สามารถถอดออกได้ง่าย โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ
การทดสอบทำโดยการตรวจพินิจ
4.3.2 แผ่นรองโดว์
แผ่นสำหรับรองโดว์จะต้องขึ้นรูปจากวัสดุชิ้นเดียวกัน วางอยู่ในตำแหน่งที่แน่นอน สามารถถอดออกได้ง่าย โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ เพื่อนำโดว์ที่แบ่งแล้วออกหรือนำชิ้นส่วนอุปกรณ์ออกมาล้างทำความสะอาด
การทดสอบทำโดยการตรวจพินิจ
4.3.3 โครงเครื่อง
วัสดุที่ใช้ทำโครงเครื่องต้องทำจากเหล็กกล้าไร้สนิม หรือวัสดุที่ไม่เป็นสนิม ทนการกัดกร่อน กรณีทำจากเหล็กต้องทาสีหรือเคลือบผิวเพื่อป้องกันสนิม เพื่อป้องกันการกัดกร่อน โดยผิวเคลือบหรือสีที่พ่นต้องมีสารตะกั่วไม่ เกิน 0.06 % ของมวลสารเคลือบ
การทดสอบทำโดยตรวจสอบตามใบรับรอง
4.3.4 สวิทซ์ปิด-เปิดเครื่องปั้นโดว์
4 .3.4.1 ติดตั้งในตำแหน่งที่ใช้งาน และผู้ใช้งานเครื่องปั้นโดว์สามารถปิด-เปิด เครื่องปั้นโดว์ได้อย่างสะดวก
4 .3.4.2 สวิทซ์เป็นไปตามมอก. 2593
ก ารทดสอบทำโดยการตรวจพินิจ และตรวจสอบตามใบรับรอง
4.3. 5 มอเตอร์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำ เป็นต้นกำลังสำหรับหมุนแกนปั้นโดว์
4.3. 5.1 มอเตอร์ควรเป็นไปตาม มอก. 866
4.3. 5.2 ควรติดตั้งอยู่ในบริเวณหรือพื้นที่ที่มีระดับชั้นการป้องกันน้ำ
4. 3.6 สายไฟฟ้า
สายไฟต้องเป็นไปตาม มอก. 11
การ ทดสอบทำโดยตรวจสอบตามใบรับรอง
4.3.7 กลไกการโรยแป้ง(ถ้ามี)
4.3.7.1 พื้นผิวของกล่องสำหรับโรยแป้งโดยเฉพาะภายในต้องเรียบและส่วนหรือบริเวณที่ต่อให้ติดกันด้วยการเชื่อม ต้องเรียบและสม่ำเสมอ ไม่มีส่วนที่อาจเสี่ยงต่อการสะสมของจุลินทรีย์และสามารถล้างทำความสะอาดได้
4.3.7.2 กล่องบรรจุแป้งสำหรับโรยจะต้องมีฝาปิดมิดชิด และกลไกการโรยแป้งจะต้องถอดล้างหรือทำความสะอาดได้ง่าย หากใช้กลไกการโรยแป้งแบบอื่นนอกจากกล่องโรยแป้งต้องออกแบบสร้างในลักษณะที่สามารถถอดล้างหรือทำความสะอาดได้ง่าย
การทดสอบทำโดยการตรวจพินิจ
4.3.8 เต้าเสียบ (ถ้ามี)
เต้าเสียบต้องเป็นไปตาม มอก. 166 และมอก. 2162
การทดสอบ ทำโดยตรวจสอบตามใบรับรอง
4.3.9 อุปกรณ์เสริม ความปลอดภัย (ถ้ามี)
4.3.9.1 เครื่องปั้นโดว์ ต้องมีสวิทซ์ฉุกเฉิน (emergency switch) สำหรับหยุดเครื่องในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีสิ่งแปลกปลอมตกลงในเครื่องปั้น อุบัติเหตุ โดยต้องติดตั้งให้ง่ายต่อการเข้าถึง มองเห็นสะดวก
4.3.9.2 เครื่องปั้นโดว์ควรมี ฝาปิดหรือตะแกรงปิดเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้งาน โดยช่องเปิดของตะแกรงต้องมีความกว้างไม่เกิน 25 mm และฝาปิดหรือตะแกรงต้องทำจากวัสดุชั้นคุณภาพสัมผัสอาการได้อย่างปลอดภัย
การ ทดสอบทำ โดยการตรวจพินิจ
5. คุณลักษณะที่ต้องการ
5 .1 คุณลักษณะทั่วไป
5.1 .1เครื่องปั้นโดว์ต้องไม่ก่ออันตรายต่อผู้ใช้ เช่น ต้องไม่มีขอบคมหรือปลายแหลมมีการป้องกันอย่างเพียงพอเพื่อไม่ให้ผู้ใช้สัมผัสกับส่วนที่มีกระแสไฟฟ้า
การท ดสอบทำโดยการตรวจพินิจ
5.1.2 โครง เครื่องต้องแข็งแรงเพียงพอที่จะรับภาระสูงสุดขณะใช้งาน
การทดสอบใ ห้ทำโดยการตรวจพินิจ
5.2 คุณลัก ษณะด้านความปลอดภัย
ให้เป็น ไปตามมอก. 1998
5.3 สมรรถนะ
เมื่อทดส อบตามข้อ 8 แล้วต้องเป็นดังนี้
5.3.1 กำลังไฟ ฟ้าที่ภาวะโหลดสูงสุดไม่เกิน 5% ของค่าที่ผู้ทำระบุ
5.3.2 การใช้งาน
5.3.2.1 กำลัง การผลิต 100 ± 5 และมีความคลาดเคลื่อน (c) ไม่เกิน 1%
5.3.2.2 ความสมบูรณ์ในการปั้น โดว์ใช้เกณฑ์การชักตัวอย่างและเกณฑ์การตัดสินใจสำหรับการทดสอบความผิดพลาดในการปั้นโดว์ให้เป็นไปตาม มอก. 465 เล่ม 1 แผนการชักตัวอย่างเชิงเดี่ยวสำหรับการตรวจสอบแบบปกติ และขีดจำกัดคุณภาพ ที่ยอมรับ (acceptance quality limit, AQL) 6.5 โดยใช้ระดับการตรวจสอบทั่วไป II และขนาดตัวอย่างให้กำหนดเป็นตัวอักษรรหัสดังตารางที่ 1 เพื่อนำไปใช้ในตารางที่ 2
5.3 .2.3 กลไกการโรยแป้ง (ถ้ามี) สามารถโรยแป้งได้ต่อเนื่องในปริมาณที่ผู้ทำระบุไว้ โดยไม่เกิดการอุดตันในระหว่างการทำงานและต้องมีความคลาดเคลื่อน (P) จากปริมาณที่ผู้ทำระบุไม่เกิน 5%
5.3.2.4 ระหว่างทดสอบการใช้งาน ไม่เกิดเสียงดังหรือการสั่นผิดปกติโครงเครื่องไม่เกิดการเสียหายทางกล
6. เครื่องหมายและฉลาก
6.1 เครื่องปั้นโดว์อย่างน้อยต้องมีตัวเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ ให้เห็นง่าย ชัดเจน และถาวร
(1) คำว่า "เครื่องปั้นโดว์" ประเภทและแบบของเครื่องปั้นโดว์
(2) แบบรุ่น (model)
(3) หมายเลขลำดับเครื่อง (serial number)
(4) มิติข องเครื่อง ระบุ ความกว้าง x ความยาว x ความสูง หน่วยเป็น mm x mm x mm
(5) ความสามารถในการทำงาน หรือกำลังการผลิต ระบุเป็น ชิ้นต่อชั่วโมง หรือ ชิ้นต่อรอบการทำงาน
(6) กำลังไฟ ฟ้าที่ภาวะโหลดสูงสุด หน่วยเป็น วัตต์
(7) กระแสไ ฟฟ้า หน่วยเป็น แอมแปร์ แรงดันไฟฟ้า หน่วยเป็น โวลต์ ความถี่หน่วยเป็น เฮิรตซ์ และเฟส
(8) ข้อควรร ะวัง
(9) เดือนปีที่ ผลิต หรือรหัสรุ่นที่ผลิต
(10) ชื่อผู้ผลิต หรือโรงงานที่ผลิต หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
(11) น้ำหนักขอ งเครื่อง หน่วยเป็น กิโลกรัม
6.2 เครื่ องปั้นโดว์ทุกเครื่องและอุปกรณ์ระบบลำเลียง (ถ้ามี) ต้องมีคู่มือแนะนำการใช้งาน ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) คำว่า "เครื่องปั้นโดว์" และระบุประเภทและแบบของเครื่องปั้นโดว์
(2) แบบรุ่น
(3) มิติข องเครื่อง ระบุ ความกว้าง x ความยาว x ความสูง หน่วยเป็น mm x mm x mm
(4) ความ สามารถในการทำงาน หรืออัตราการผลิต ระบุเป็น ชิ้นต่อชั่วโมง หรือ ชิ้นต่อรอบการทำงาน
(5) กำลังไฟ ฟ้าที่ภาวะโหลดสูงสุด หน่วยเป็น วัตต์
(6) กระแสไฟฟ้า หน่วยเป็น แอมแปร์ แรงดันไฟฟ้า หน่วยเป็น โวลต์ ความถี่ หน่วยเป็น เฮิรตซ์ และเฟส
(7) ข้อควรระ วัง
(8) คำแนะนำกา รใช้งาน
(8.1) วิธีการติดตั้ง และ ถอดประกอบเครื่องปั้นโดว์และอุปกรณ์ระบบลำเลียง (ถ้ามี)
(8.2) กำลังการผลิต (ชิ้ นต่อชั่วโมงหรือชิ้นต่อรอบการทำงาน)
(8.3) ปริมาณการโรยแป้ง(กิโ ลกรัมต่อชั่วโมง)
(8.4) วิธีการใช้ง านเครื่องปั้นโดว์และอุปกรณ์ระบบลำเลียง (ถ้ามี)
(8.4.1) ขั้นตอนการ ทำงานของเครื่องจักรอย่างละเอียดโดยอาจมีภาพประกอบให้เข้าใจง่าย
(8.4.2) การปรับตั้งอุปกรณ์ ปรับเปลี่ยนขนาดก้อนโดว์ที่ปั้น (ถ้ามี)
(8.4.3) มีการระบุระย ะเวลาสูงสุดในการใช้งานระบบกลไกปั้นโดว์ และอุปกรณ์ระบบลำเลียง (ถ้ามี)แบบต่อเนื่อง
(8.4.4) มี การระบุข้อควรระวังและข้อห้ามในการปฏิบัติงานกับเครื่องปั้นโดว์
(9) วิธีการทำค วามสะอาดระบบกลไกปั้นโดว์ และอุปกรณ์ระบบลำเลียง (ถ้ามี)
(10) การตรวจส อบ และบำรุงรักษาเครื่องเบื้องต้น
(11) รายการอะไ หล่และชิ้นส่วนอุปกรณ์ของเครื่อง
(12) ชื่อผู้ผลิต หรื อโรงงานที่ผลิต หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
7. การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน
7.1 รุ่น หมายถึง เครื่องปั้นโดว์แบบเดียวกันที่มีขนาดเดียวกัน ทำจากวัสดุ และผ่านกรรมวิธีทางการผลิตอย่างเดียวกัน และทำต่อเนื่องคราวเดียวกัน หรือส่งมอบ หรือซื้อขายในระยะเวลาเดียวกัน
7.2 การ ชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน
ให้เป็นไปตา มแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้
7.2.1 การ ชักตัวอย่าง
ให้ชักตัวอย่า งโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกันจำนวน 1 เครื่อง
7.2.2 เกณฑ์ ตัดสิน
เครื่องปั้นโดว์ต้องเป็นไ ปตามข้อ 4, 5 และ 6 ทุกรายการจึงจะถือว่าเครื่องปั้นโดว์รุ่นนั้นเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้
8. การทดสอบ
การทดสอบสมร รถนะของเครื่องปั้นโดว์ให้เป็นไปตามที่กำหนดต่อไปนี้ หรืออาจใช้การทดสอบที่เทียบเท่ากันทางวิชาการกับการทดสอบสมรรถนะที่กำหนดไว้
8.1 ทั่วไ ป
ข้อกำหนด ทั่วไปในการหาค่าต่าง ๆ และอุปกรณ์วัดในการทดสอบให้เป็นดังนี้
8.1.1 กำลังไฟฟ้า
ใช้เครื่องวัด กำลังไฟฟ้าชนิด watt meter ที่มีความละเอียด 1 w
8.1.2 มวล
ใช้เครื่องชั่งมวลที่มีความ ละเอียด 0.1 g
8.1.3 เวลา
ใช้นาฬิกาจับเวลาที่มี ความละเอียด 1 sec
8.2 การเตรียมการทดสอบ
8. 2.1 การเตรียมเครื่องปั้นโดว์สำหรับทดสอบ
8.2.1.1 ติด ตั้งเครื่องปั้นโดว์บนพื้นเรียบแข็งที่ได้ระดับ
8.2.1.2 ประกอบและติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องปั้นโดว์ตามตามผู้ทำระบุ
8.2. 2 เงื่อนไขการทดสอบ
การ เตรียมตัวอย่างโดว์สำหรับการทดสอบเป็นดังนี้
ตัวอย่างโด ว์ทดสอบ (ชนิดขนมปังอิตาเลียน) มีส่วนผสมประกอบด้วยแป้งสาลีชนิดทำขนมปัง 61% น้ำ 37% เกลือ (table salt) 1% และยีสต์ผง (instant dry yeast) สำหรับทำขนมปังจืด 1% (% โดยมวล)ในการชั่งมวลส่วนผสมให้ใช้
เครื่องชั่งมวลตามข้อ 8.1.2
วิธีการเตรียมโด ว์ทดสอบใช้เครื่องผสมแบบสองแขน (double arm mixer)โดยมีขั้นตอนดังนี้
ร่อนแป้งด้วยตะแกรง ร่อนแป้งสแตนเลส แบบกรองละเอียด 60 mesh (60 ช่องต่อนิ้ว)
เปิดเครื่องผสม จากนั้ นผสมของแห้งเข้าด้วยกันในอ่างผสมโดยเริ่มจากใส่แป้งสาลี ตามด้วยเกลือ แล้วจึงเติมยีสต์ลงไป
ค่อย ๆ เติมน้ำจนหมด นวดต่อให้เป็นเนื้อเดียวกันไม่ติดขอบอ่างผสมและเมื่อทดสอบดึงโดว์สามารถดึงเป็นแผ่นบางๆ โดยไม่ขาด
ปิดเครื่องผสม นำโดว์ที่ได้ไปทดสอบสมรรถนะ
8.3 สมรรถนะ
8.3.1 การ ทดสอบกำลังไฟฟ้า
ให้วั ดกำลังไฟฟ้าของเครื่องปั้นโดว์ที่ภาวะโหลดสูงสุดตามที่ผู้ทำระบุ
8.3.2 การทดสอบการใช้งาน
8.3.2.1 วิธีก รทดสอบเครื่องปั้นโดว์ประเภทปั้นโดว์เพียงอย่างเดียว (ข้อ3.1.1)
(1) นำโด ว์ทดสอบที่เตรียมไว้มาแบ่งให้มีจำนวนก้อนและมวลเท่ากับ จำนวนที่ต้องการทดสอบ เป็นไปตามตารางที่กำหนดจำนวนที่ต้องการทดสอบ ตามหัวข้อ 5.3.2.2
(2) นำโดว์ ที่ถูกแบ่งแล้วใส่เครื่องปั้นโดว์ด้วยอัตราเร็วเท่ากับที่ผู้ทำระบุจับเวลาเมื่อเริ่มใส่โดว์ก้อนแรกเข้าเครื่องแบ่งโดว์ และหยุดจับเวลาเมื่อก้อนโดว์ก้อนสุดท้ายออกมาจากเครื่องปั้นโดว์และในระหว่างจับเวลาให้ชัก ตัวอย่างก้อนโดว์ โดย
ใช้วิธีการชั กตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสินสำหรับการทดสอบความผิดพลาดในการปั้นโดว์ (โดยก้อนโดว์ที่ถูกปั้นอย่างสมบูรณ์จะต้องมีลักษณะผิวเรียบเนียน ไม่แตก และรูปทรงมีความสม่ำเสมอ)ให้เป็น ไปตามข้อ 5.3.2.2
(3) คำนวณกำลังการผลิตของเครื่องปั้นโดว์จากสมการ (1) เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนจากสมการ (2)
8.3.2.2 วิธีการทดสอบเครื่องปั้นโดว์ประเภทแบ่งโดว์และปั้นโดว์ในเครื่องเดียวกัน (กึ่งอัตโนมัติหรืออัตโนมัติ) (ข้อ 3.1.2) แบบกลไกการปั้นคลึงอยู่กับที่ โดยพิจารณาเฉพาะส่วนปั้นโดว์
(1) นำโดว์สำหรับใช้ทดสอบที่เตรียมไว้มาชั่งมวลด้วยเครื่องชั่งให้ได้มวลโดว์จำนวนที่ต้องการทดสอบ เป็นไปตามตารางที่กำหนดจำนวนที่ต้องการทดสอบ ตามหัวข้อ 5.3.2.2 แต่ในการทดสอบต้องทำให้เต็มจำนวนก้อนที่สามารถทำได้ในแต่ละรอบ แล้วจึงสุ่มตามจำนวนที่กำหนดตามหัวข้อ 5.3.2.2
(2) ใส่โดว์ลงในเครื่องแบ่งและปั้นโดว์ในเครื่องเดียวกัน (กึ่งอัตโนมัติหรืออัตโนมัติ) จากนั้นเริ่มเดินเครื่องทำงาน เริ่มจับเวลาเมื่อกลไกการปั้นทำงาน
(3) คำนวณกำลังการผลิตที่สามารถทำได้ในแต่ละรอบ และ คำนวณเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อน (ของส่วนปั้นโดว์) จากสมการ (1) และ (2) ตามลำดับ
(4) ชักตัวอย่างก้อนโดว์ โดยใช้วิธีการชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสินสำหรับการทดสอบความผิดพลาดในการปั้นโดว์ (โดยก้อนโดว์ที่ถูกปั้นอย่างสมบูรณ์จะต้องมีลักษณะผิวเรียบเนียน ไม่แตก และรูปทรงมีความสม่ำเสมอ) ให้เป็นไปตามข้อ 5.3.2.2
(5) บันทึกข้อมูล
(6) ทดสอบทั้งหมด 3 ครั้ง โดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของการทดสอบทั้งสามครั้ง
8.3.2.3 การทดสอบกลไกการโรยแป้ง (ถ้ามี)
(1) ชั่งมวลแป้งสาลี (Mp) ให้มีมวลพอสำหรับการทดสอบ นาน 10 นาที จากปริมาณที่ผู้ทำระบุไว้ในฉลาก
(2) ใส่แป้งสาลีลงในกล่องสำหรับโรยแป้ง
(3) เปิดกลไกการโรยแป้ง จับเวลาในการโรยจนหมดกล่องเพื่อคำนวณปริมาณการโรยแป้งจากสมการ (3) และเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนจากสมการ (4)
(4) บันทึกข้อมูล
(5) ทดสอบทั้งหมด 3 ครั้ง โดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของการทดสอบทั้งสามครั้ง
8.3.2.4 ในระหว่างการทดสอบการใช้งานตามข้อ 8.3.2.1, 8.3.2.2 และ 8.3.2.3 ให้เป็นไปตามข้อ 5.3.2.4 โดยสังเกตเสียง อาการสั่น และความเสียหายทางกลของโครงเครื่อง