ปัจจุบันมีการใช้เครื่องแบ่งโดว์ในการผลิตเบเกอรี่อย่างแพร่หลาย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมส่งเสริมอุตสาหกรรมประเภทนี้
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้จัดทำขึ้นตามความร่วมมือด้านการกำหนดมาตรฐานระหว่างสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกับอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหา
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้กำหนดขึ้นโดยอาศัยข้อมูลจากผู้ทำและเอกสารต่อไปนี้เป็นแนวทาง
มอก. 11 เล่ม 1-2553 สายไฟฟ้าหุ้มฉนวนพอลิไวนิลคลอไรด์แรงดันไฟฟ้าที่กําหนดไม่เกิน 450/750 โวลต์
มอก. 166- 2549 เต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย และงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน: เต้าเสียบและเต้ารับที่มีแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 250 โวลต์
มอก. 465 เล่ม 1 - 2554 วิธีการชักตัวอย่างเพื่อการตรวจสอบลักษณะเชิงคุณภาพ เล่ม 1 แบบแผนการชักตัวอย่างระบุโดยขีดจำกัดคุณภาพที่ยอมรับ (AQL)เพื่อการตรวจสอบรุ่นต่อรุ่น
มอ ก. 866- 2550 มอเตอร์เหนี่ยวนำ
มอก . 1375-2547 ความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นที่คล้ายกัน ข้อกำหนดทั่วไป
มอก . 1998-2543 ความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานที่มีลักษณะคล้ายกัน ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับเครื่องครัวเชิงพาณิชย์
มอก. 2162-2556 เต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน: คุณลักษณะที่ต้องการทั่วไป
มอก. 2 593 เล่ม 1 สวิตซ์สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า เล่ม 1 คุณลักษณะที่ต้องการทั่วไป
ANSI Z 50.2-2013 American National Standard for Bakery Equipment-Sanitation requirements
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องแบ่งโดว์
1. ขอบข่าย
1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ครอบคลุมเครื่องแบ่งโดว์ประเภททำงานต่อเนื่องด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ และประเภททำงานเป็นรอบโดยใช้กลไกการแบ่งโดว์ด้วยใบมีดตัด
2. บทนิยาม
ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้มีดังต่อไปนี้
2 .1 โดว์ (dough) หมายถึง ของผสมที่ได้จากการผสมแป้งสาลีโปรตีนสูงกับน้ำ และส่วนผสมอื่นๆ เช่น ยีสต์ ไข่ นม น้ำมัน เนย น้ำตาล แล้วนวดให้เข้ากัน ทำให้โดว์มีลักษณะ เหนียว นุ่ม ยืดหยุ่น ดึงเป็นแผ่นบางได้โดยไม่ขาดง่าย
2. 2 การแบ่งโดว์ (dough dividing) หมายถึง กระบวนการแบ่งก้อนโดว์ออกเป็นชิ้น เพื่อแบ่งโดว์ให้มีขนาดตามต้องการ
2.3 การโรยแป้ง (dusting) หมายถึง กระบวนการโรยแป้งสาลีลงบนโดว์หรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรเพื่อป้องกันไม่ให้โดว์ติดกันเองและติดกับชิ้นส่วนของเครื่องจักร
2.4 แป้ง สาลีชนิดทำขนมปัง (แป้งสาลีชนิดโปรตีนสูง)หมายถึงแป้งสาลีที่มีปริมาณโปรตีนอยู่ระหว่าง 11% - 14 %
3. ประเภท และแบบ
เครื่องแบ่งโดว์แบ่งออกเป็น2 ประเภท ตามลักษณะการทำงานของเครื่องแบ่งโดว์ คือ
3.1 ประเภททำงานต่อเนื่องด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ
3.2 ประเภท ทำงานเป็นรอบใช้กลไกการแบ่งโดว์ด้วยใบมีดตัด (cutting press divider) แบ่งออกเป็น 2 แบบตามต้นกำลังในการทำงาน คือ
3.2.1 แบบทำงานด้วยแรงคน
3.2.2 แบบทำง านด้วยไฟฟ้า
4. วัสดุ ส่วนประกอบและการทำ
4.1 วัสดุ
4.1.1 ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่สัมผัสหรือมีโอกาสสัมผัสกับอาหาร (product zone) คือ พื้นผิวของส่วนประกอบของเครื่องจักรที่มีโอกาสสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงพื้นผิวที่อาจเกิดหยดน้ำจากการกลั่นตัวและหยดลงบนผลิตภัณฑ์ หรือวัตถุแปลกปลอมที่อาจตกลงไปปนเปื้อนกับผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ถังป้อนโดว์ ชุดหัวแบ่ง ใบมีดแบ่งโดว์แผ่นรองโดว์กลไกโรยแป้ง กลไกหล่อลื่นโดว์ และกลไกแขนโยกตัด ต้องทำจากวัสดุชั้นคุณภาพใช้กับอาหาร
4.1.2 ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ไม่สัมผัสอาหาร (non product zone) คือ ส่วนประกอบของเครื่องจักรที่ไม่มีโอกาสสัมผัสหรือปนเปื้อนกับผลิตภัณฑ์ ได้แก่ โครงเครื่อง สวิตซ์ปิด-เปิด ไฟแสดงสถานะการทำงานต้องทำจากวัสดุที่ทนการกัดกร่อน หรือวัสดุที่ผ่านการเคลือบผิวหรือพ่นสีเพื่อป้องกันการกัดกร่อน โดยผิวเคลือบหรือสีที่พ่นต้องมีสารตะกั่วไม่เกิน 0.06% ของมวลสารเคลือบ
การทดสอบทำโดยตรวจสอบตามใบรับรองหรือ การตรวจพินิจ
4.2 ส่วนประกอบ
4.2.1 เครื่องแบ่งโดว์ประเภททำงานต่อเนื่องด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ อย่างน้อยต้องมีส่วนประกอบดังแสดงใน รูปที่ 1
การทดสอบทำโดยการตรวจพินิจ
4.2.2 เครื่องแบ่งโดว์ประเภททำงานเป็นรอบใช้กลไกการแบ่งโดว์ด้วยใบมีดตัดแบบทำงานด้วยแรงคน อย่างน้อยต้องมีส่วนประกอบหลักดังแสดงในรูปที่ 2
การทดสอบทำโดยการตรวจพินิจ
4.2.3 เครื่องแบ่งโดว์ประเภททำงานเป็นรอบใช้กลไกการแบ่งโดว์ด้วยใบมีดตัดแบบทำงานด้วยไฟฟ้า อย่างน้อยต้องมีส่วนประกอบหลักดังแสดงในรูปที่ 3
การทดสอบทำโดยการตรวจพินิจ
4.3 การทำ
ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ของส่วนประกอบของเครื่องแบ่งโดว์ต้องเป็นดังนี้
4.3.1 ถังป้อนโดว์ (สำหรับเครื่องแบ่งโดว์ประเภททำงานต่อเนื่องด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ)
พื้นผิวของถังป้อนโดว์ต้องเรียบ กรณีมีการต่อแผ่นโลหะเข้าด้วยกันต้องเป็นการเชื่อมแบบต่อชนและขัดแต่งรอยเชื่อมให้เรียบเสมอกับผิวโลหะโดยรอบ กรณีที่เป็นการต่อโลหะสองชิ้นเข้าด้วยกันด้วยสกรูเกลียวพื้นผิวระหว่างรอยต่อทั้งสองจะต้องประกบเข้ากันสนิทและแน่นหนา
การทดสอบทำโดยการตรวจพินิจ
4.3.2 ชุดหัวแบ่งโดว์ (สำหรับเครื่องแบ่งโดว์ประเภททำงานต่อเนื่องด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ)
ชุดหัวแบ่งโดว์จะต้องสามารถถอดล้างทำความสะอาดได้โดยง่ายกรณีมีการต่อแผ่นโลหะเข้าด้วยกันต้องเป็นการเชื่อมแบบต่อชนและขัดแต่งรอยเชื่อมให้เรียบเสมอกับผิวโลหะโดยรอบ กรณีที่เป็นการต่อโลหะสองชิ้นเข้าด้วยกันด้วยสกรูและเกลียว พื้นผิวระหว่างรอยต่อทั้งสองจะต้องประกบเข้ากันสนิทและแน่นหนา
การทดสอบทำโดยการตรวจพินิจ
4.3.3 กลไกโรยแป้ง (ถ้ามี)
4.3.3.1 พื้นผิวของกล่องสำหรับโรยแป้งโดยเฉพาะภายในต้องเรียบและส่วนหรือบริเวณที่ต่อให้ติดกันด้วยการเชื่อมต้องเรียบและสม่ำเสมอ ไม่มีส่วนที่อาจเสี่ยงต่อการสะสมของจุลินทรีย์และสามารถล้างทำความสะอาดได้
4.3.3.2 กล่องบรรจุแป้งสำหรับโรยจะต้องมีฝาปิดมิดชิด และกลไกการโรยแป้งจะต้องถอดล้างหรือทำความสะอาดได้ง่าย หากใช้กลไกการโรยแป้งแบบอื่นนอกจากกล่องโรยแป้งต้องออกแบบสร้างในลักษณะที่สามารถถอดล้างหรือทำความสะอาดได้ง่าย
การทดสอบทำโดยการตรวจพินิจ
4.3.4 กลไกหล่อลื่นโดว์ (ถ้ามี)
4.3.4.1 กลไกของชุดหล่อลื่นก้อนโดว์ต้องแยกออกจากระบบหล่อลื่นกลไกเครื่องจักรต้องมีอ่างเก็บสารหล่อลื่นก้อนโดว์ที่อยู่ในระยะเอื้อมถึงและถอดล้างทำความสะอาดได้โดยง่าย ระบบท่อสารหล่อลื่น วาล์ว จะต้องสามารถทำความสะอาดได้โดยง่าย
4.3.4.2 กลไกของชุดหล่อลื่นก้อนโดว์ต้องมีการป้องกันการรั่วไหลของสารหล่อลื่น และต้องอยู่ในตำแหน่งที่สารหล่อลื่นจะไม่รั่ว หยด หรือพุ่งใส่เข้าไปในเขตทำงาน
การทดสอบทำโดยการตรวจพินิจ
4.3.5 โครงเครื่อง
4.3.5.1 วัสดุที่ใช้ทำโครงเครื่องต้องทำจากเหล็กกล้าไร้สนิมหรือวัสดุที่ไม่เป็นสนิม กรณีทำจากเหล็กต้องทาสีหรือเคลือบผิวเพื่อป้องกันสนิมเพื่อป้องกันการกัดกร่อน โดยผิวเคลือบหรือสีที่พ่นต้องมีสารตะกั่วไม่เกิน 0.06 % ของมวลสารเคลือบ
4.3.5.2 แท่นฐานของเครื่องแบ่งโดว์ที่วางติดกับพื้นต้องวางแนบสนิทกับพื้น หรือต้องมีช่องว่างห่างจากพื้นไม่น้อยกว่า 150 mm วัดจากขอบต่ำที่สุดของเครื่องจักรโดยอาจวางบนแท่นรองรับหรือล้อเพื่อความสะดวกในการทำความสะอาด
การทดสอบทำโดยตรวจพินิจ และตรวจสอบตามใบรับรอง
4.3.6 แผ่นรองโดว์ (สำหรับเครื่องแบ่งโดว์ประเภททำงานเป็นรอบใช้กลไกการแบ่งโดว์ด้วยใบมีดตัด) ต้องขึ้นรูปจากวัสดุชิ้นเดียวกัน วางอยู่ในตำแหน่งที่แน่นอนระหว่างการทำงาน สามารถถอดออกได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ เพื่อนำโดว์ที่แบ่งแล้วออกหรือนำชิ้นส่วนอุปกรณ์ออกมาล้างทำความสะอาด
การทดสอบทำโดยการตรวจพินิจ
4.3.7 ชุดใบมีดแบ่งโดว์ (สำหรับเครื่องแบ่งโดว์ประเภททำงานเป็นรอบใช้กลไกการแบ่งโดว์ด้วยใบมีดตัด)
4.3.7.1 ต้องมีลักษณะเป็นชิ้นเดียวกัน สามารถถอดล้างทำความสะอาดได้โดยง่าย กรณีที่ทำโดยการต่อโลหะเข้าด้วยกัน ต้องเป็นการเชื่อมแบบต่อชนและขัดแต่งรอยเชื่อมให้เรียบเสมอกับผิวโลหะโดยรอบ
4.3.7.2 ต้องมีระบบป้องกันความเสียหายของชุดใบมีดในกรณีที่มีของแข็งปลอมปนเข้าไปกับโดว์ โดยอาจเป็นระบบกลไก หรือระบบไฟฟ้า หรือทั้งสองอย่าง หรือติดตั้งสวิทช์ฉุกเฉินสำหรับหยุดเครื่องในกรณีฉุกเฉิน ต้องติดตั้งให้ง่ายต่อการเข้าถึง มองเห็นสะดวก
การทดสอบทำโดยการตรวจพินิจ
4.3.8 ระบบหล่อลื่นสำหรับกลไกการทำงานเครื่องแบ่งโดว์ (machine lubrication system) (ถ้ามี)
ต้องถูกออกแบบสร้างในลักษณะที่ป้องกันการรั่วไหลของสารหล่อลื่น และต้องอยู่ในตำแหน่งที่สารหล่อลื่นจะไม่รั่ว หยด หรือพุ่งใส่เข้าไปในเขตทำงาน
การทดสอบทำโดยการตรวจพินิจ
4.3.9 กลไกการกดตัด (สำหรับเครื่องแบ่งโดว์ประเภทประเภททำงานเป็นรอบใช้กลไกการแบ่งโดว์ด้วยใบมีดตัด)
ต้องมีช่องเปิด ฝาปิดหรือประตู ที่สามารถถอดออกหรือหมุนเปิดได้ เพื่อใช้ในการตรวจสอบพื้นผิวที่สัมผัสผลิตภัณฑ์ ช่องเปิดจะต้องมีขนาดเพียงพอต่อการทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสผลิตภัณฑ์
การทดสอบทำโดยการตรวจพินิจ
4.3.10 มอเตอร์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำเป็นต้นกำลังสำหรับกลไกการแบ่งโดว์ (ถ้ามี)
4.3.10.1 มอเตอร์ควรเป็นไปตาม มอก.866
4.3.10.2 ควรติดตั้งอยู่ในบริเวณหรือพื้นที่ที่มีระดับชั้นการป้องกันน้ำ
4.3.11 เต้าเสียบ (ถ้ามี)
เต้าเสียบต้องเป็นไปตาม มอก. 166และ มอก.2162
การทดสอบทำโดยตรวจสอบตามใบรับรอง
4.3.12 สายไฟฟ้า
สายไฟต้องเป็นไปตาม มอก. 11
การทดสอบทำโดยตรวจสอบตามใบรับรอง
4.3.13 สวิทซ์ปิด-เปิด
4.3.13.1 ติดตั้งในตำแหน่งที่ผู้ใช้งานสามารถ ปิด-เปิด ได้อย่างสะดวก
4.3.13.2 สวิทซ์เป็นไปตามมอก. 2593
การทดสอบทำโดยการตรวจพินิจ และตรวจสอบตามใบรับรอง
5. คุณลักษณะที่ต้องการ
5.1 คุณลักษณะทั่วไป
5.1.1 เครื่องแบ่งโดว์ต้องไม่ก่ออันตรายต่อผู้ใช้ เช่น ต้องไม่มีขอบคมหรือปลายแหลมมีการป้องกันอย่างเพียงพอเพื่อไม่ให้ผู้ใช้สัมผัสกับส่วนที่มีกระแสไฟฟ้า
การทดสอบทำโดยการตรวจพินิจ
5.1.2 โครงเครื่องต้องแข็งแรงเพียงพอที่จะรับภาระสูงสุดได้ขณะใช้งาน
การทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ
5.2 คุณลักษณะด้านความปลอดภัย
ให้เป็นไปตามมอก. 1998
5.3 สมรรถนะ
เมื่อทดสอบเครื่องแบ่งโดว์ตามข้อ 8.3 แล้วต้องเป็นดังนี้
5.3.1 ในกรณีทำงานด้วยไฟฟ้า อัตราการใช้พลังงาน (energy input rate) ไม่เกิน 5% ของค่าพลังงานที่ผู้ทำระบุ
5.3.2 การใช้งาน
5.3.2.1 กำลังการผลิต มีความคลาดเคลื่อน (c) ไม่เกิน1% และมวลโดแต่ละก้อนที่ถูกแบ่งโดยเครื่องแบ่งโดว์ (M_ai) จะต้องมีความคลาดเคลื่อน eiไม่เกิน 5%
5.3.2.2 เกณฑ์การชักตัวอย่างและเกณฑ์การตัดสินใจสำหรับการทดสอบความผิดพลาดในการแบ่งโดว์ให้เป็นไปตาม มอก. 465 เล่ม 1 แผนการชักตัวอย่างเชิงเดี่ยว ระดับการตรวจสอบแบบปกติ และขีดจำกัดคุณภาพที่ยอมรับ (acceptance quality limit, AQL) 6. 5โดยใช้ระดับการตรวจสอบทั่วไป II และขนาดตัวอย่างให้กำหนดเป็นตัวอักษรรหัสดังตารางที่ 1 เพื่อนำไปใช้ในตารางที่ 2
5.3.2.3 กรณีการทดสอบแรงที่ใช้ในการกดเครื่องแบ่งโดว์ประเภททำงานเป็นรอบใช้กลไกการแบ่งโดว์ด้วยใบมีดตัด แบบทำงานด้วยแรงคน ก้อนโดว์ทุกก้อนจะต้องถูกแบ่งออกจากกันอย่างสมบูรณ์โดยใช้แรงในการกดที่บริเวณมือจับด้ามกดไม่เกิน 200 N
5.3.3.3 กลไกการโรยแป้ง (ถ้ามี) สามารถโรยแป้งได้ต่อเนื่องในปริมาณที่ผู้ทำระบุไว้ โดยไม่เกิดการอุดตันในระหว่างการทำงานและต้องมีความคลาดเคลื่อน (P) จากปริมาณที่ผู้ทำระบุไม่เกิน5%
6. เครื่องหมายและฉลาก
6.1 เครื่องแบ่งโดว์อย่างน้อยต้องมีตัวเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ ให้เห็นง่าย ชัดเจน และถาวร
(1) คำว่า "เครื่องแบ่งโดว์" และระบุประเภทและแบบ ของเครื่องแบ่งโดว์
(2) แบบรุ่น (model)
(3) หมายเลขลำดับเครื่อง (serial number)
(4) มิติของเครื่อง ระบุ ความกว้าง x ความยาว x ความสูง หน่วยเป็น mm x mm x mm
(5) กำลังการผลิต ระบุเป็น เป็น กิโลกรัมต่อชั่วโมงหรือ กรัมต่อชั่วโมง หรือ กิโลกรัมต่อรอบการทำงาน หรือ ชิ้นต่อชั่วโมง หรือ ชิ้นต่อรอบการทำงาน
(6) กำลังไฟฟ้าที่ภาวะโหลดสูงสุด หน่วยเป็น วัตต์
(7) กระแสไฟฟ้า หน่วยเป็น แอมแปร์ แรงดันไฟฟ้า หน่วยเป็น โวลต์ ความถี่หน่วยเป็น เฮิรตซ์ และเฟส
(8) ข้อควรระวัง
(9) เดือนปีที่ผลิต หรือรหัสรุ่นที่ผลิต
(10) ชื่อผู้ผลิต หรือโรงงานที่ผลิต หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
(11) น้ำหนักของเครื่อง หน่วยเป็น กิโลกรัม
6.2 เครื่องแบ่งโดว์ทุกเครื่องต้องมีคู่มือแนะนำการใช้งาน ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) คำว่า "เครื่องแบ่งโดว์" และระบุประเภทและแบบของเครื่องแบ่งโดว์
(2) แบบรุ่น
(3) มิติของเครื่อง ระบุ ความกว้าง x ความยาว x ความสูง หน่วยเป็น mm x mm x mm
(4) กำลังการผลิต ระบุเป็น กิโลกรัมต่อชั่วโมง หรือ กรัมต่อชั่วโมง หรือ กิโลกรัมต่อรอบการทำงาน หรือ ชิ้นต่อชั่วโมง หรือ ชิ้นต่อรอบการทำงาน
(5) กำลังไฟฟ้าที่ภาวะโหลดสูงสุด หน่วยเป็น วัตต์
(6) กระแสไฟฟ้า หน่วยเป็น แอมแปร์ แรงดันไฟฟ้า หน่วยเป็น โวลต์ ความถี่ หน่วยเป็น เฮิรตซ์ และเฟส
(7) ข้อควรระวัง
(8) คำแนะนำการใช้งาน
(8.1) วิธีการติดตั้ง และถอดประกอบเครื่องและอุปกรณ์แบ่งโดว์
(8.2) ความจุหรือมวลโดว์สูงสุดที่สามารถบรรจุในถังรับโดว์หรือถาดรองโดว์ในแต่ละรอบการทำงาน
(8.3) ปริมาณการใช้แป้งสำหรับโรย เป็นกิโลกรัมต่อชั่วโมง
(8.4) วิธีการใช้งานเครื่องแบ่งโดว์
(8.4.1) ขั้นตอนการทำงานของเครื่องจักรอย่างละเอียด โดยอาจมีภาพประกอบให้เข้าใจได้ง่าย
(8.4.2) การปรับตั้งอุปกรณ์ปรับเปลี่ยนขนาดก้อนโดว์ที่แบ่งได้ (ถ้ามี)
(8.4.3) มีการระบุข้อควรระวังและข้อห้ามในการปฏิบัติงานกับเครื่องแบ่งโดว์ในแต่ละขั้นตอน
(8.4.4) วิธีการทำความสะอาดเครื่องแบ่งโดว์และอุปกรณ์
(8.4.5) การตรวจสอบ และบำรุงรักษาเครื่องเบื้องต้น
(9) รายการอะไหล่และชิ้นส่วนอุปกรณ์ของเครื่อง
(10) ชื่อผู้ผลิต หรือโรงงานที่ผลิต หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
7. การชักตัวอย่างและการตัดสินใจ
7.1 รุ่น (lot) หมายถึง เครื่องแบ่งโดว์แบบเดียวกัน หรือประเภทเดียวกันทำจากวัสดุ และผ่านกรรมวิธีทางการผลิตอย่างเดียวกัน และทำต่อเนื่องคราวเดียวกัน หรือส่งมอบ หรือซื้อขายในระยะเวลาเดียวกัน
7.2 การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน
ให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้
7.2.1 การชักตัวอย่าง
ให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกันจำนวน 1 เครื่อง
7.2.2 เกณฑ์ตัดสิน
ตัวอย่างเครื่องแบ่งโดว์ต้องเป็นไปตามหัวข้อ 4 5 และ 6 ทุกรายการจึงจะถือว่าเครื่องแบ่งโดว์รุ่นนั้นเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้
8. การทดสอบ
การทดสอบสมรรถนะของเครื่องแบ่งโดว์ให้เป็นไปตามที่กำหนดต่อไปนี้ หรืออาจใช้การทดสอบที่เทียบเท่ากันทางวิชาการกับการทดสอบสมรรถนะที่กำหนดไว้
8.1 ทั่วไป
ข้อกำหนดทั่วไปในการหาค่าต่าง ๆ และอุปกรณ์วัดในการทดสอบให้เป็นดังนี้
8.1.1 กำลังไฟฟ้า
ใช้เครื่องวัดกำลังไฟฟ้าชนิด watt meter ที่มีความละเอียด 1 w
8.1.2 มวล
ใช้เครื่องชั่งมวลที่มีความละเอียด 0.1 g
8.1.3 เวลา
ใช้นาฬิกาจับเวลาที่มีความละเอียด 1 sec
8.2 การเตรียมการทดสอบ
8.2.1 การเตรียมเครื่องแบ่งโดว์สำหรับทดสอบ
8.2.1.1 ติดตั้งเครื่องแบ่งโดว์บนพื้นเรียบแข็งที่ได้ระดับ
8.2.1.2 ประกอบและติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องแบ่งโดว์ตามคู่มือการใช้งาน
8.2.2 เงื่อนไขการทดสอบ
การเตรียมตัวอย่างสำหรับการทดสอบเป็นดังนี้
8.2.2.1 ตัวอย่างโดว์สำหรับทดสอบ (ขนมปังอิตาเลียน) มีส่วนผสมประกอบด้วย แป้งสาลีชนิดทำขนมปัง 61% น้ำ 37% เกลือ (table salt) 1% และยีสต์ผง (instant dry yeast) สำหรับทำขนมปังจืด 1% (% โดยมวล) ในการชั่งมวลส่วนผสมให้ใช้เครื่องชั่งมวลตามข้อ 8.1.2
8.2.2.2 วิธีการเตรียมโดว์ทดสอบใช้เครื่องผสมแบบสองแขนผสม (double arm mixer) โดยมีขั้นตอนดังนี้
1) ร่อนแป้งด้วยตะแกรงร่อนแป้งสแตนเลส แบบกรองละเอียด 60 mesh (60 ช่องต่อนิ้ว)
2) เปิดเครื่องผสม จากนั้นผสมของแห้งเข้าด้วยกันในอ่างผสมโดยเริ่มจากใส่แป้งสาลี ตามด้วยเกลือ แล้วจึงเติมยีสต์ลงไป
3) ค่อย ๆ เติมน้ำจนหมด นวดต่อให้เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่ติดขอบอ่างผสมและเมื่อทดสอบดึงโดว์สามารถดึงเป็นแผ่นบางๆ โดยไม่ขาด
4) ปิดเครื่องผสม นำโดว์ที่ได้ไปทดสอบสมรรถนะ
8.3 สมรรถนะ
8.3.1 การทดสอบกำลังไฟฟ้า
ให้วัดกำลังไฟฟ้าของเครื่องแบ่งโดว์ที่ภาวะโหลดสูงสุดตามที่ผู้ทำระบุ
8.3.2 การทดสอบการใช้งาน
8.3.2.1 วิธีการทดสอบเครื่องแบ่งโดว์ประเภททำงานต่อเนื่องด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (ข้อ 3.1)
1) เตรียมโดว์ทดสอบให้มีมวลเท่ากับ จำนวนที่ต้องการทดสอบ เป็นไปตามตารางที่กำหนดจำนวนที่ต้องการทดสอบ ตามหัวข้อ 5.3.2.2
2) นำโดทดสอบใส่ในถังรับโดว์ เริ่มเดินเครื่องทำงาน จับเวลาเมื่อเครื่องแบ่งโดว์เริ่มทำงาน และหยุดจับเวลาเมื่อก้อนโดว์ก้อนสุดท้ายออกมาจากเครื่องแบ่งโดว์ ในระหว่างจับเวลาให้ชักตัวอย่างก้อนโดว์ โดยใช้วิธีการชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสินสำหรับการทดสอบความผิดพลาดในการแบ่งโดว์ให้เป็นไปตามข้อ 5.3.2.2
3) คำนวณกำลังการผลิตของเครื่องแบ่งโดว์จากสมการ (1) คำนวณเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนของกำลังการผลิต (c) ตามสมการ (2) และคำนวณเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนของมวลก้อนโดว์แต่ละก้อนได้จากสมการ (3)
4) บันทึกข้อมูล
5) ทดสอบทั้งหมด 3 ครั้งโดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของการทดสอบทั้งสามครั้ง
8.2.2.2 วิธีการทดสอบเครื่องแบ่งโดว์ประเภททำงานเป็นรอบใช้กลไกการแบ่งโดว์ด้วยใบมีดตัด (ข้อ 3.2)
1) นำโดว์ทดสอบที่เตรียมไว้มาชั่งมวลด้วยเครื่องชั่งให้ได้มวลโดว์เท่ากับจำนวนที่ต้องการทดสอบ เป็นไปตามตารางที่กำหนดจำนวนที่ต้องการทดสอบ ตามหัวข้อ 5.3.2.2 แต่ในการทดสอบต้องทำให้เต็มจำนวนก้อนที่สามารถทำได้ในแต่ละรอบ แล้วจึงสุ่มตามจำนวนที่กำหนดตามหัวข้อ 5.3.2.2
2) ใส่โดว์ลงในเครื่องแบ่งก้อนโดว์ จากนั้นเริ่มเดินเครื่องทำงาน
3) ชั่งมวลโดว์ที่ถูกแบ่งแล้วทุกก้อน บันทึกค่ามวล
4) คำนวณกำลังการผลิตที่สามารถทำได้ในแต่ละรอบได้จากสมการ (5) และคำนวณเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนของก้อนโดว์แต่ละก้อนคำนวณได้จากสมการ (6)
5) บันทึกข้อมูล
6) การทดสอบทำทั้งหมด 3 ครั้ง โดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของการทดสอบทั้งสามครั้ง
8.3.2.3 วิธีการทดสอบแรงที่ใช้ในการกดเครื่องแบ่งโดว์ประเภททำงานเป็นรอบใช้กลไกการแบ่งโดว์ด้วยใบมีดตัดแบบทำงานด้วยแรงคน (ข้อ 3.2.1)
1) นำโดว์ทดสอบที่เตรียมไว้มาชั่งมวลด้วยเครื่องชั่งให้ได้มวลโดว์เท่ากับจำนวนที่ต้องการทดสอบ เป็นไปตามตารางที่กำหนดจำนวนที่ต้องการทดสอบ ตามหัวข้อ 5.3.2.2 แต่ในการทดสอบต้องทำให้เต็มจำนวนก้อนที่สามารถทำได้ในแต่ละรอบ แล้วจึงสุ่มตามจำนวนที่กำหนดตามหัวข้อ 5.3.2.2
2) ใส่โดว์ลงในเครื่องแบ่งก้อนโดว์ จากนั้นถ่วงก้อนมวลที่มีมวลรวมกัน 20 kg (เทียบเท่ากับแรงกด 200 N) ที่บริเวณมือจับของด้ามกดของเครื่องแบ่งก้อนโดว์
3) ปลดก้อนมวลออกและตรวจสอบโดว์ที่ถูกแบ่ง
4) บันทึกจำนวนก้อนโดว์ที่ไม่ขาดออกจากกันอย่างสมบูรณ์
5) การทดสอบทำทั้งหมด 3 ครั้ง โดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของการทดสอบทั้งสามครั้ง