เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้เครื่องล้างผักในอุตสาหกรรมอาหาร ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมประเภทนี้ จึงกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องล้างผักขึ้นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ กำหนดขึ้นโดยอาศัยข้อมูลจากผู้ทำ และเอกสารต่อไปนี้เป็นแนวทาง
มอก. 513 - 2553 การจัดระดับชั้นการป้องกันของเปลือกหุ้มบริภัณฑ์ไฟฟ้า
มอก. 866 - 2550 มอเตอร์เหนี่ยวนำ
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องล้างผัก
1. ขอบข่าย
เป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อนเครื่องมีแรงดันไฟฟ้ามอเตอร์ต้นกำลังสำหรับหมุนใบกวนผสมที่กำหนดไม่เกิน 250 โวลต์ สำหรับเครื่องกวนผสมเฟสเดียว และไม่เกิน 480 โวลต์สำหรับเครื่องกวนผสมแบบให้ความร้อนอื่น1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ครอบคลุมเฉพาะเครื่องล้างผักชนิดใบที่มีลักษณะการทำงานแบบทำงานเป็นรอบ (batch type)หรือแบบทำงานต่อเนื่อง(continuous type)
2. บทนิยาม
ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ มีดังต่อไปนี้
2.1 เครื่องล้างผัก หมายถึง เครื่องจักรในอุตสาหกรรมอาหารที่ใช้สำหรับล้างสิ่งสกปรกออกจากผักชนิดใบ โดยผักที่ล้างจะแช่อยู่ในน้ำที่มีการเคลื่อนที่ด้วยอากาศ หรือการฉีดน้ำ ผักที่ผ่านกระบวนการล้างแล้วจะถูกนำออกจากเครื่องด้วยมือสำหรับเครื่องล้างผักแบบทำงานเป็นรอบ หรือถูกลำเลียงออกจากเครื่องโดยอัตโนมัติสำหรับเครื่องล้างผักแบบทำงานต่อเนื่อง
2.2 สิ่งสกปรก หมายถึง สิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผักที่นำมาล้าง เช่น เศษวัสดุ ฝุ่น ดิน หรือทราย
3. แบบ
เครื่องล้างผักแบ่งตามลักษณะการทำงานเป็น2แบบคือ
3.1 แบบทำงานเป็นรอบ
3.2 แบบทำงานต่อเนื่อง
4. ส่วนประกอบและการทำ
4.1 ส่วนประกอบ
เครื่องล้างผัก อย่างน้อยต้องมีส่วนประกอบหลัก ดังแสดงตามรูปที่ 1
ก)ตัวอย่างส่วนประกอบหลักของเครื่องล้างผักแบบทำงานเป็นรอบ
ข) ตัวอย่างส่วนประกอบหลักของเครื่องล้างผักแบบทำงานต่อเนื่อง
รูปที่ 1 ตัวอย่างส่วนประกอบหลักของเครื่องล้างผักแบบให้ความร้อน (ข้อ 4.1)
มือหมุนหรือไฮดรอลิกสำหรับหมุนถัง 4.2 3.1.1 ระบบการกวนผสม ทำหน้าที่ผสมวัตถุดิบให้ผสมคลุกเคล้ากันและมีการกระจายความร้อนได้ทั่วถึง
3.1.2 ถังกวนผสมหรือกระทะกวนผสม ทำหน้าที่บรรจุวัตถุดิบสำหรับผสม
3.1.3 อุปกรณ์ควบคุมสำหรับปรับรอบใบกวน ทำหน้าที่ปรับตั้งความเร็วรอบใบกวน
3.1.4 ใบกวนผสม ทำหน้าที่กวนผสมให้วัตถุดิบผสมเข้ากันและความร้อนกระจายตัวในวัตถุดิบทั่วถึง ใบกวนสามารถถอดเปลี่ยนได้เพื่อเลือกชนิดใบกวนให้เหมาะสมกับวัตถุดิบ
3.1.5 หัวแก๊สให้ความร้อน ทำหน้าที่ให้ความร้อนวัตถุดิบที่ด้านล่างถัง
3.1.6 ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ต้องเป็นดังนี้
3.1.6.1 โครงถังผสม
ต้องเป็นเหล็กกล้าไร้สนิมชั้นคุณภาพเทียบเท่ากับ AISI series 300 โดยต้องมีคุณลักษณะตามมาตรฐาน AISI หรือวัสดุชนิดอื่นที่มีคุณภาพเทียบเท่าหรือสูงกว่าที่กำหนดในมาตรฐานนี้
ผู้ทำต้องพิสูจน์หรือแสดงเอกสารรับรองคุณภาพหรือผลการวิเคราะห์คุณลักษณะของวัสดุว่าสามารถสัมผัสกับอาหารได้จากสถาบันหรือหน่วยงานที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยอมรับจากสถาบันหรือหน่วยงานที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยอมรับ
3.1.6.2 ใบกวนผสม
ต้องเป็นเหล็กกล้าไร้สนิมชั้นคุณภาพเทียบเท่ากับ AISI series 300โดยต้องมีคุณลักษณะตามมาตรฐาน AISI หรือวัสดุชนิดอื่นที่มีคุณภาพเทียบเท่าหรือสูงกว่าที่กำหนดในมาตรฐานนี้
ผู้ทำต้องพิสูจน์หรือแสดงเอกสารรับรองคุณภาพหรือผลการวิเคราะห์คุณลักษณะของวัสดุว่าสามารถสัมผัสกับอาหารได้จากสถาบันหรือหน่วยงานที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยอมรับ
3.1.6.3 มอเตอร์เกียร์ไฟฟ้า
ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเลขที่มอก.866และต้องเป็นไปตามการทดสอบข้อ 7.2
3.1.6.4 ตู้ควบคุมไฟฟ้า(อุปกรณ์ควบคุมสำหรับปรับรอบใบกวน)
มีระดับชั้นการป้องกันน้ำอย่างน้อยเป็นชนิดป้องกันน้ำสาด(IPX4)(หมายเหตุ:ระดับชั้นการป้องกันน้ำ ให้ดู มอก. 513)
4.2 การทำ
4.2.1 ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ต้องเป็นดังนี้
4.2.1.1 โครงเครื่อง
ทำด้วยเหล็กกล้าไร้สนิม อย่างน้อยชั้นคุณภาพ 304มีโครงสร้างแข็งแรง คงรูป ผิวเรียบ และสามารถทำความสะอาดได้ง่าย
การทดสอบให้ทำโดยการตรวจสอบใบรับรองและตรวจพินิจ
4.2.1.2 อ่างล้างผัก
ทำด้วยเหล็กกล้าไร้สนิม อย่างน้อยชั้นคุณภาพ 304มีโครงสร้างแข็งแรง คงรูป ผิวเรียบ และสามารถทำความสะอาดได้ง่ายไม่มีส่วนที่อาจเสี่ยงต่อการสะสมของจุลินทรีย์
การทดสอบให้ทำโดยการตรวจสอบใบรับรองและตรวจพินิจ
4.2.1.3 เครื่องสูบน้ำ
อยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัยต่อการทำงาน ไม่เป็นที่สะสมของฝุ่น
การทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ
4.2.1.4 หัวฉีด
ทำด้วยวัสดุชั้นคุณภาพใช้กับอาหาร (food grade)
การทดสอบให้ทำโดยการตรวจสอบใบรับรอง
4.2.1.5 ตะแกรงดักสิ่งสกปรก
ทำด้วยวัสดุชั้นคุณภาพใช้กับอาหาร
การทดสอบให้ทำโดยการตรวจสอบใบรับรอง
4.2.1.6 แผงอุปกรณ์ควบคุมการทำงาน (ถ้ามี)
มีระดับชั้นการป้องกันอย่างน้อย IPX4 (ชนิดป้องกันน้ำสาด) ตาม มอก. 513 และอยู่ในตำแหน่งที่ควบคุมการทำงานได้สะดวก
การทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ
4.2.1.7 อุปกรณ์ลำเลียง (กรณีเครื่องล้างผักแบบทำงานต่อเนื่อง)
ทำจากวัสดุชั้นคุณภาพใช้กับอาหารสามารถปรับความเร็วการลำเลียงได้
การทดสอบให้ทำโดยการตรวจสอบใบรับรองและตรวจพินิจ
4.2.1.8 มอเตอร์เหนี่ยวนำ (กรณีเครื่องล้างผักแบบทำงานต่อเนื่อง)
ควรเป็นไปตามมอก. 866และติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัยต่อการทำงาน ไม่เป็นที่สะสมของฝุ่นหรือสัมผัสโดนน้ำ
การทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ
4.2.2 ส่วนที่เป็นจุดหมุนหรือส่วนที่มีการเสียดสีระหว่างโลหะ ของเครื่องล้างผักแบบทำงานต่อเนื่อง มีส่วนที่สามารถให้สารหล่อลื่นได้โดยสะดวก
การทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ
4.2.3 ส่วนหรือบริเวณที่ต้องทำความสะอาดหรือบำรุงรักษาอยู่เสมอ อยู่ในตำแหน่งที่สามารถทำความสะอาดและบำรุงรักษาได้สะดวก
การทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ
4.2.4 มีอุปกรณ์ที่สามารถปรับความดันน้ำหรืออัตราการไหล เพื่อให้น้ำเกิดการหมุนเวียน
การทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ
5. คุณลักษณะที่ต้องการ
5.1 ลักษณะทั่วไป
5.1.1 เครื่องล้างผักต้องสามารถปรับปริมาณลมสำหรับการล้างผักที่แช่อยู่ในน้ำที่มีการเคลื่อนที่ด้วยอากาศ หรือปรับอัตราการไหลของน้ำสำหรับการล้างผักที่แช่อยู่ในน้ำที่มีการเคลื่อนที่ด้วยการฉีดน้ำ
5.1.2 เมื่อทดสอบตามข้อ 7.1 แล้วต้องเป็นดังนี้เครื่องล้างผักต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ เช่น
5.1.2.1 ชิ้นส่วนต่าง ๆ ต้องไม่มีขอบคม หรือปลายแหลม
5.1.1.2 การป้องกันการเข้าถึงส่วนที่มีไฟฟ้า
เครื่องล้างผักต้องสร้างและหุ้มเพื่อให้มีการป้องกันอย่างเพียงพอต่อการสัมผัสโดยบังเอิญกับส่วนที่มีไฟฟ้า
การทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ
5.2 สมรรถนะ
เมื่อทดสอบตามข้อ 8.1แล้วต้องเป็นดังนี้
5.2.1 ไม่เกิดเสียงผิดปกติไม่หยุดชะงักหรือติดขัดในการทำงาน
5.2.2 ไม่มีชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ใดชำรุดเสียหายและชิ้นส่วนที่ยึดให้ติดกันต้องไม่ร้าว หรือแยกออกจากกัน
5.2.3 ปริมาณสิ่งสกปรกที่ตกค้างไม่เกิน 1000mg/L
5.2.4 อัตราการทำงานของเครื่องล้างผัก ไม่น้อยกว่า 95% ของค่าที่ผู้ทำระบุ 4.1.4 ตลับลูกปืนต้องไม่ร้อนผิดปกติ เช่น เนื่องจากแกนเพลาไม่ได้แนว4.2 คุณลักษณะที่ต้องการทางไฟฟ้า
6. เครื่องหมายและฉลาก
6.1 ที่เครื่องล้างผักทุกเครื่อง อย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่ายชัดเจน และถาวร
(1) คำว่า "เครื่องล้างผัก"
(2) หมายเลขลำดับเครื่อง
(3) มิติของเครื่อง ความกว้างxความยาวxความสูง เป็นมิลลิเมตรxมิลลิเมตรxมิลลิเมตร
(4) พิกัดของมอเตอร์เหนี่ยวนำ(กรณีเครื่องล้างผักแบบทำงานต่อเนื่อง)
(5) อัตราการทำงานที่สัมพันธ์กับชนิดของผัก เป็น กิโลกรัมผักต่อ 1 รอบทำงานสำหรับเครื่องล้างผักแบบทำงานเป็นรอบหรือเป็น กิโลกรัมผักต่อชั่วโมงสำหรับเครื่องล้างผักแบบทำงานต่อเนื่อง
(6) ข้อควรระวัง
(7) เดือนปีที่ทำ หรือรหัสรุ่นที่ทำ
(8) ชื่อผู้ทำหรือโรงงานที่ทำ หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
6.2 เครื่องล้างผักทุกเครื่องต้องมีคู่มือแนะนำการใช้ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) คำว่า "เครื่องล้างผัก"
(2) หมายเลขลำดับเครื่อง
(3) มิติของเครื่อง ความกว้างxความยาวxความสูง เป็นมิลลิเมตรxมิลลิเมตรxมิลลิเมตร
(4) พิกัดของมอเตอร์เหนี่ยวนำ(กรณีเครื่องล้างผักแบบทำงานต่อเนื่อง)
(5) อัตราการทำงานที่สัมพันธ์กับชนิดของผัก เป็น กิโลกรัมผักต่อรอบทำงานสำหรับเครื่องล้างผักแบบทำงานเป็นรอบ หรือเป็น กิโลกรัมผักต่อชั่วโมงสำหรับเครื่องล้างผักแบบทำงานต่อเนื่อง
(6) ความดันน้ำ เป็น เมกะพาสคาล(กรณีน้ำมีการเคลื่อนที่ด้วยการฉีด)
(7) เวลาสำหรับการล้างผักที่สัมพันธ์กับชนิดของผัก เป็น นาที(กรณีเครื่องล้างผักแบบทำงานเป็นรอบ)
(8) รายชื่อและรูปแสดงส่วนประกอบ การประกอบ และการติดตั้ง
(9) คำแนะนำการใช้งาน
(9.1) คำแนะนำ เช่น ควรเปลี่ยนน้ำล้างผักเมื่อไม่สามารถล้างผักให้สะอาดได้ตามที่ต้องการ
(9.2) คำเตือนและข้อควรระวังที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน และ/หรือ ความเสียหายต่อเครื่องล้างผัก เช่น ห้ามยื่นอวัยวะเข้าไปในตัวเครื่องล้างผักขณะที่เครื่องกำลังทำงาน
(9.3) การดูแลรักษา เช่น วิธีทำความสะอาด ข้อปฏิบัติหลังทำความสะอาดข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้งาน
(10) เดือนปีที่ทำ หรือรหัสรุ่นที่ทำ
(11) ชื่อผู้ทำหรือโรงงานที่ทำ หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
7. การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน
7.1 รุ่นในที่นี้ หมายถึง เครื่องล้างผักแบบเดียวกันที่ทำหรือส่งมอบหรือซื้อขายในระยะเวลาเดียวกัน
7.2 การชักตัวอย่างและการตัดสิน ให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้ หรืออาจใช้แผนการชักตัวอย่างอื่นที่เทียบเท่ากันทางวิชาการกับแผนที่กำหนดไว้
7.2.1 การชักตัวอย่าง
ให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกันจำนวน 1 เครื่อง
7.2.2 เกณฑ์ตัดสิน
ตัวอย่างเครื่องล้างผักต้องเป็นไปตามข้อ 4.ข้อ 5.และข้อ 6.ทุกรายการจึงจะถือว่าเครื่องล้างผักรุ่นนั้นเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้
8. การทดสอบ
8.1 สมรรถนะ
8.1.1 ทั่วไป
8.1.1.1 ข้อกำหนดทั่วไปในการหาค่าต่าง ๆ และอุปกรณ์วัดในการทดสอบให้เป็นดังนี้
(1) เวลา
ใช้นาฬิกาจับเวลาที่มีความละเอียด 1 s
(2) มวล
(2.1) ใช้เครื่องชั่งที่ชั่งมวลได้ละเอียดถึง 100 g สำหรับชั่งมวลสิ่งสกปรกทดสอบ (ข้อ 8.1.2.2)และผักทดสอบ (ข้อ 8.1.2.3)
(2.2) ใช้เครื่องชั่งที่ชั่งมวลได้ละเอียดถึง 0.001 g สำหรับชั่งมวลสิ่งสกปรกตกค้าง (ข้อ 8.1.3.4และข้อ 8.1.3.6) และชั่งมวลกระดาษกรอง (ข้อ 8.1.3.5)
(2.3) ความยาวของผัก
ใช้เครื่องวัดที่มีความละเอียดถึง 1mm
8.1.2 การเตรียมการทดสอบ
8.1.2.1 การเตรียมเครื่องล้างผักทดสอบ
(1) ติดตั้งเครื่องเครื่องล้างผักทดสอบบนพื้นแข็งที่ได้ระดับ
(2) ปรับแต่งชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามที่ผู้ทำระบุ
8.1.2.2 การเตรียมสิ่งสกปรกทดสอบ
(1) นำทรายแห้งเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 4.75 mm (ขนาดทรายซึ่งร่อนผ่านตะแกรง 4 mesh) มีมวลที่เพียงพอที่จะผสมกับผักทดสอบในอัตราส่วน มวลผักทดสอบต่อมวลทรายแห้งเท่ากับ 10:1มร่อนด้วยตะแกรง 8 mesh (เส้นผ่านศูนย์กลางของสิ่งสกปรก 2.38 - 4.75 mm)และ 50 mesh (เส้นผ่านศูนย์กลางของสิ่งสกปรก 0.30 - 2.37 mm)
(2) ผสมทรายแห้งที่ร่อนผ่านตะแกรง 8meshและ 50 mesh เข้าด้วยกันในสัดส่วนโดยมวล ดังนี้
ทรายแห้งที่ไม่ผ่านตะแกรง 8 mesh 30% ทรายแห้งที่ไม่ผ่านตะแกรง 50 mesh40% และทรายแห้งที่ผ่านตะแกรง 50 mesh30%
(3) เตรียมดินโคลนทดสอบซึ่งได้จากผสมดินเหนียวกับน้ำในอัตราส่วน 1:1 เพื่อให้เกิดการยึดเกาะกันของสิ่งสกปรก
(4) ผสมทรายแห้งกับดินโคลนทดสอบในอัตราส่วน 5:1 เป็นสิ่งสกปรกทดสอบ
8.1.2.3 การเตรียมผักทดสอบ
(1) ผักที่ใช้ทดสอบต้องมีลักษณะทางกายภาพที่ดี ไม่ช้ำ ผ่านการล้างทำความสะอาดและสะเด็ดน้ำชนิดผักทดสอบ ได้แก่ผักชี (รวมราก) ความยาว (ไม่รวมราก)15cmถึง 25 cm สำหรับทดสอบเครื่องล้างผักแบบทำงานเป็นรอบ มวลที่เพียงพอกับการทดสอบตามอัตราการทำงานที่ผู้ทำระบุนำไปชั่งเป็นมวลผักทดสอบ (MVB)เป็น กิโลกรัม
(1.2) ผักกาดขาวแกะใบ สำหรับทดสอบเครื่องล้างผักแบบทำงานต่อเนื่องมวลที่เพียงพอกับการทดสอบที่อัตราการทำงานตามที่ผู้ทำระบุ เป็นเวลา 15 minนำไปชั่งเป็นมวลผักทดสอบ (MVC) เป็นกิโลกรัม
(2) คลุกเคล้าผักทดสอบกับสิ่งสกปรกทดสอบในอัตราส่วนมวลผักทดสอบต่อมวลสิ่งสกปรกทดสอบเท่ากับ 10:1 โดยคลุกเคล้าให้สิ่งสกปรกทดสอบกระจายให้ทั่วผักทดสอบ
8.1.3 วิธีทดสอบ
8.1.3.1 ให้เครื่องล้างผักล้างทำความสะอาดผักทดสอบเป็นเวลาตามที่ผู้ทำระบุสำหรับเครื่องล้างผักแบบทำงานเป็นรอบ หรือเป็นเวลา15 minสำหรับเครื่องล้างผักแบบทำงานต่อเนื่อง
หมายเหตุเวลาตามที่ผู้ทำระบุสำหรับเครื่องล้างผักแบบทำงานเป็นรอบ นับจากการเริ่มเดินเครื่องเมื่อใส่ผักทดสอบเรียบร้อยแล้ว จนหยุดการเดินเครื่อง เป็น นาที
8.1.3.2 สุ่มตัวอย่างผักทดสอบมวล 1000 g มาล้างทำความสะอาดด้วยน้ำปริมาตร 15 L
8.1.3.3 เก็บตัวอย่างน้ำล้างปริมาตร 200 ml นำไปกรองด้วยตะแกรง200 meshที่ทราบมวล (MS) เป็น มิลลิกรัมเพื่อแยกสิ่งสกปรกที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 0.075 mm
8.1.3.4 นำตะแกรงไปอบที่อุณหภูมิ 105 oC± 2 oCเป็นเวลา 3 h นำออกมาชั่งมวลตะแกรงกับมวลสิ่งสกปรกตกค้างที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 0.075 mm (MSP)เป็นมิลลิกรัม
8.1.3.5 กรองน้ำที่ผ่านตะแกรง 200 mesh ด้วยกระดาษกรอง ที่ทราบมวล (MF)เป็น มิลลิกรัมเพื่อแยกสิ่งสกปรกที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 0.011 mm
8.1.3.6 นำกระดาษกรองไปอบที่อุณหภูมิ 105 oC± 2 oCเป็นเวลา 3 h นำออกมาชั่งมวลกระดาษกรองกับมวลสิ่งสกปรกตกค้างที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง0.011 mm ถึง 0.075 mm (MFP)เป็น มิลลิกรัม
8.1.3.7 คำนวณปริมาณสิ่งสกปรกที่ตกค้าง(R)เป็น มิลลิกรัมต่อลิตร จากสูตร
R= A+B
เมื่อ A คือ ปริมาณสิ่งสกปรกตกค้างที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 0.075 mm
มีค่าเท่ากับ 5(MSP- MS)เป็น มิลลิกรัมต่อลิตร
B คือ ปริมาณสิ่งสกปรกตกค้างที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง0.011mmถึง 0.075 mm
มีค่าเท่ากับ 5(MFP- MF) เป็น มิลลิกรัมต่อลิตร
8.1.3.8 คำนวณอัตราการทำงาน
(1) เครื่องล้างผักแบบทำงานเป็นรอบ
อัตราการทำงาน = MVB/เวลาที่ใช้ในการล้าง 1 รอบการทำงาน
(2) เครื่องล้างผักแบบทำงานต่อเนื่อง
อัตราการทำงาน = 4MVC