ไอโอดีน-131 (iodine-131) เป็นไอโซโทป (isotope) ที่ได้จากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี Uranium-235 ที่ใช้ในโรงผลิตกระแสไฟฟ้า ในปฏิกิริยาการแตกตัวของ Uranium-235 จะได้ไอโซโทปออกมา ประมาณ 61 ตัว แต่ไอโซโทปที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์โดยตรง คือ ไอโอดีน-131 ซึ่งจะมีประมาณ 2.8% ไอโอดีน-131 เป็นสารกัมมันตรังสี มีค่าครึ่งชีวิต (half life) ประมาณ 8 วัน และปล่อยรังสีแกมมาและรังสีบีตาซึ่งเป็น ionizing radiation มีค่าครึ่งชีวิตประมาณ 8 วัน
การปนเปื้อนของไอโอดีน-131ในอาหาร
การปนเปื้อนของไอโดดีน-131 ในสิ่งแวดล้อมจากอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ เมื่อแพร่กระจายออกมา จะเกิดการปนเปื้อนในอาหารได้ โดยตกค้างใน สิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ พืช สัตว์ และจะแพร่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์และสัตว์ได้ทางห่วงโซ่อาหาร ด้วยการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อน
การวัดค่าและปริมาณไอโอดีน-131 มาตรฐานในอาหาร
การวัดปริมาณจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีมีหน่วยในระบบ SI เป็นเบคเคอเรล (Becquerel, Bq) หมายถึงจำนวนนิวเคลียสของสารกัมมันตรังสีที่แตกตัวในหนึ่งวินาที (decays per second)
อย.กำหนดให้ตรวจปริมาณการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีในอาหาร 3 ชนิดคือ ไอโอดีน-131 (Iodine -131) ซีเซียม-137 (Cesium-137) และซีเซียม-134 (Cesium-134) หน่วยวัดปริมาณสารกัมมันตรังสีใน เครื่องดื่มหรือของเหลวจะใช้หน่วย "เบคเคอเรลต่อลิตร" ส่วนอาหารหรือของแข็งจะมีหน่วยเป็น "เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม"
เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดคือ อาหารต้องมีไอโอดีน-131 ไม่เกิน 100 เบคเคอเรล ต่อกิโลกรัม ซีเซียม-134 และซีเซียม-137 รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม
อันตรายจากไอโอดีน-131
ไอโอดีน-131 เป็นอันตรายทางอาหาร (food hazard) ประเภทอันตรายทางเคมี (chemical hazard) เมื่อได้รับเข้าไปทางร่างกายจากการหายใจ และจากอาหาร จะถูกดูดซึมผ่านลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด ไปยังต่อมไทรอยด์ ซึ่งมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ และปล่อยรังสีแกมมาและรังสีบีตา จึงอาจทำอันตรายต่อต่อมไทรอยด์ได้ โดยอาจก่อให้เกิดการอักเสบของต่อมไทรอยด์ หรือเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ในระยะยาวได้
ไอโอดีน-131 เป็นกัมมันภาพรังสีที่เคยรั่วเมื่อสมัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล และพบว่าทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ถึง 6,000-7,000 ราย
Reference