Food Cookbook

ค้นหา 99 ตำรับอาหาร

���������������������������������������������

���������������������������������������������


ข้าวซอย

14 เมษายน พ.ศ. 2556
ข้าวซอยไก่ เป็นอาหารจานเดียวของภาคเหนือ ข้าวซอยต้นตำรับของภาคเหนือ จะใช้เส้นทำจากแป้งที่ได้จากการนำข้าวมาทำให้เป็นแผ่นบาง ๆ แล้วซอยเป็นเส้น ๆ จึงเรียกว่า ข้าวซอย ปัจจุบันนี้ได้ดัดแปลงใช้เส้นบะหมี่แทนเส้นข้าวซอย เนื้อสัตว์ที่ใช้นิยมใช้เนื้อไก่ น้ำกะทิจะมีสีเหลืองของขมิ้น รสเข้มข้นกลมกล่อม และหวานมันจากกะทิ เวลารับประทานตักน้ำแกงราดบนเส้นข้าวซอยทอด รับประทานกับเครื่องเคียง เช่น หอมแดง ขิง ผักกาดดอง พริกป่นผัดน้ำมัน และมะนาวผ่าซีก

น้ำพริกอ่อง

23 มกราคม พ.ศ. 2556
น้ำพริกอ่อง จะมีลักษณะเด่น คือ ใช้น้ำพริกผัดกับหมูสับ และมะเขือเทศ ปรุงรสเค็มนำ ไม่ใช่น้ำตาล น้ำพริกชนิดนี้จะได้รสหวานจากมะเขือเทศ และรสเปรี้ยวจากมะเขือส้ม คือ มะเขือเทศผลเล็ก นอกจากนี้ ชาวเหนือยังนิยมใช้ถั่วเน่าคือ ถั่วเหลืองหมักตากแห้ง ใช้แทนกะปิ ช่วยให้มีรสเค็ม

น้ำพริกหนุ่ม

23 มกราคม พ.ศ. 2556
น้ำพริกหนุ่ม มีรสเผ็ด นิยมรับประทานกับแคบหมู หรือผักพื้นบ้าน ทั้งผักสด ต้ม หรือลวก ก็สามารถรับประทานได้ พริกหนุ่มมีลักษณะเมล็ดยาวเรียว มีสีเขียวอมเหลือง รสเผ็ด ปลูกในภาคเหนือ น้ำพริกหนุ่มมีลักษณะข้น เปียกเป็นเส้นของเนื้อพริกย่าง โขลกรวมกับหอมแดงย่าง กระเทียมย่าง มะเขือเทศสีดาและอื่น ๆ ปรุงรสเผ็ด เค็ม หวาน กลมกล่อม

ไส้อั่ว

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ไส้อั่วเป็นอาหารเหนือ ประเภทย่าง รมควัน รับประทานเล่นกับข้าวเหนียว รับประทานคู่กับขิงอ่อนสด พริกขี้หนูสด หอมแดง และมะนาว ไส้อั่วที่อร่อยจะมีรสเผ็ดเล็กน้อย ทำจากเนื้อหมูสับผสมกับน้ำพริกแกงคั่ว ปรุงรสเค็มนำ มีกลิ่นหอมของใบมะกรูด ลักษณะของไส้อั่วจะเป็นไส้กรอกชนิดหนึ่ง มีลักษณะขดเป็นวงกลมก้นหอย ซ้อนกันเป็นวงกลม

จิ้นปิ้ง ตับปิ้ง

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นอาหารปิ้งย่างของชาวเหนือ ใช้เนื้อวัว เนื้อหมู ตับวัวหรือตับหมูเท่านั้น นำมาหั่นหรือแล่เป็นชิ้นใหญ่ หมักกับเครื่องปรุงรส นำไปปิ้งหรือย่างโดยใช้ไม้ไผ่เหลายาว 1 ฟุต กว้าง ? เซนติเมตร มาผ่าตามยาวเป็น 2 ซีก ไม่ให้ขาดออกจากกัน ใส่เนื้อสัตว์ที่หมักไว้ เรียงกันหลายชิ้น มัดปลายไม้ด้วยตอกหรือลวด ปิ้งจนสุก รับประทานกับน้ำพริกต่าง ๆ

แกงแค

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ในสมัยก่อน คนโบราณมักปรุงแกงแคด้วยผักและเนื้อสัตว์หลาย ๆ ชนิดรวมกัน แต่ปัจจุบันใช้เนื้อสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนผักที่มักเลือกใช้ ได้แก่ ชะอม หน่อไม้ ใบชะพลู

แกงโฮะ

23 มกราคม พ.ศ. 2556
แกงโฮะ เป็นอาหารที่ปรุงจากผักหลายชนิด มีลักษณะแห้งคล้ายผัดใส่วุ้นเส้น

แกงขนุนอ่อน (ภาคเหนือ)

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ชาวเหนือเรียกขนุนว่า บะหนุน หรือ บ่าหนุน กินได้ตั้งแต่ยอดอ่อน ใบอ่อน เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ขนุนอ่อนลูกเล็ก นำมาทำแกงขนุน ใส่ซี่โครงหมู เนื้อหมู น้ำพริกแกง และมะเขือส้ม มีรสเปรี้ยว เค็ม

ข้าวกั้นจิ้น หรือ จิ้มส้มเงี้ยว

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นอาหารของชาวไทยใหญ่ มักขายคู่กับขนมจีนน้ำเงี้ยว มีส่วนผสมของข้าวสุก เคล้ากับน้ำเลือด เกลือ และหมูสับ จากนั้นนำไปห่อใบตองเป็นรูปสามเหลี่ยม มัดด้วยเชือก แล้วนำไปนึ่งจนสุก ก่อนรับประทานโรยกระเทียมเจียว หอมซอย มะนาว และพริกทอด

น้ำพริกปลาจี่

23 มกราคม พ.ศ. 2556
น้ำพริกปลาจี่ เป็นอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือ ใช้ปลาดุกย่างโขลกรวมกับพริกชี้ฟ้า หอม กระเทียมเผา แล้วใส่เครื่องปรุงอื่น ๆ และมะกอก รับประทานกับผักนึ่ง เช่น มะเขือยาว ถั่วฝักยาว หน่อไม้ไร่ และมะลิดไม้ (ฝักลิ้นฟ้า หรือเพกา มีลักษณะฝักยาว แบน ฝักอ่อน ทำให้สุก กินกับน้ำพริก)

ขนมจีนน้ำเงี้ยว

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นอาหารจานเดียวประเภทหนึ่งของภาคเหนือ น้ำแกงมีมันลอยหน้าสีแดงข้นจากหมูสับ ซี่โครงหมูสับ และเลือดหมู ปรุงรสเค็มเล็กน้อย สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ดอกงิ้ว ซึ่งเป็นดอกนุ่มที่ตากแห้ง มีกลิ่นหอม เวลารับประทานตักน้ำเงี้ยวราดบนเส้นขนมจีน โรยด้วยต้นหอมซอย ผักชีซอย กระเทียมเจียวกับถั่วงอกสด ผักกาดดองหั่นฝอย แคบหมู และพริกขี้หมูทอดกรอบ

น้ำพริกกระเทียม

23 มกราคม พ.ศ. 2556
นิยมรับประทานในช่วงฤดูร้อน โดยนำพริกหนุ่มเผา กระเทียมเผา โขลกรวมกับกะปิเผา ปรุงรสเผ็ด เค็ม รับประทานกับผักสด ผักนึ่ง และไข่ต้ม

แกงอ่อมเครื่องในหมู

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นแกงที่ประกอบไปด้วยเนื้อหมู เครื่องในหมู ใส่ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า เพื่อดับกลิ่นคาว

น้ำพริกแคบหมู

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นเครื่องจิ้มที่ใช้รับประทานคู่กับผักสดหรือผักลวก

น้ำพริกมะเขือส้ม

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เครื่องจิ้มเป็นเครื่องจิ้มที่มีรสเค็ม เผ็ด เปรี้ยว มะเขือส้ม รับประทานคู่กับผักสด ผักลวก

น้ำพริกหมู

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นเครื่องจิ้มที่มีรสเค็ม เผ็ด รับประทานคู่กับผักสด ผักลวก

น้ำพริกปลา

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นเครื่องจิ้มที่ใช้รับประทานคู่กับผักสด หรือผักลวกมีรสเค็ม เผ็ด

แจ่วบอง

23 มกราคม พ.ศ. 2556
แจ่วบอง เป็นเครื่องจิ้ม ที่มีรสชาติเข้มข้น และแห้งกว่าแจ่วธรรมดา เพื่อให้เก็บไว้กินได้นาน โดยการเผาเครื่องปรุงให้สุก รับประทานกับผักตามหนองน้ำ เถียงไร่ เถียงนา เช่น ผักบุ้ง ผักแว่น ผักตับเต่า เป็นต้น

ส้มตำไทย

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นอาหารว่างของชาวภาคกลาง ที่มีพื้นเพมาจากภาคอีสาน รสชาติของส้มตำไทย จะไม่ออกรสเค็มเหมือนส้มตำปูปลาร้า แต่จะออกรสหวาน เปรี้ยว เค็ม 3 รส

ส้มตำปู

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ตำ เป็นอาหารที่ปรุงจากผัก หรือผลไม้ โดยโขลกพริกและกระเทียม แล้วใส่เครื่องที่จะตำคือ มะละกอ ซึ่งนำไปสับเป็นเส้น ๆ ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำปลาร้า สำหรับตำปู จะใช้ปูเค็ม แกะเป็นชิ้น ๆ ตำพร้อมมะละกอ เวลาปรุงรสเค็มควรชิมก่อน

ลาบหมู

23 มกราคม พ.ศ. 2556
วิธีทำเหมือนลาบวัว เพียงแต่เปลี่ยนเนื้อวัวเป็นเนื้อหมูแทน

แจ่วฮ้อน

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ลักษณะการรับประทานคล้ายสุกี้ยากี้ บางคนเรียกแจ่วฮ้อนว่า “สุกี้อีสาน” เครื่องปรุงจะมีเนื้อหมู พร้อมเครื่องใน (หรือเนื้อวัวก็ได้) หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ พอดีคำ หมักด้วยซีอิ้วขาว พริกไทยป่น ไข่ไก่ สำหรับน้ำซุปกระดูกหมู จะใส่ตะไคร้ ใบมะกรูด เกลือ น้ำปลา พอเดือดใส่ใบโหระพา เวลารับประทานนำเนื้อหมูที่หมักไว้ ลวกลงในน้ำซุป จากนั้นจิ้มกับน้ำจิ้ม ซึ่งปรุงมาจากพริกป่น ข้าวคั่วป่น น้ำปลา น้ำมะนาว น้ำมะขามเปียก โรยต้นหอมหั่นฝอย สำหรับผักที่ใช้รับประทานคู่กัน ได้แก่ ผักบุ้งจีน ผักกาดขาว ขึ้นฉ่าย อาจมีวุ้นเส้นด้วยก็ได้

น้ำตกหมู

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ใช้เนื้อหมูติดมัน นำไปย่างไฟ พอให้สุก (มีน้ำไหลออกจากเนื้อบ้าง) หั่นพอดีคำ ปรุงรสด้วยพริกป่น ข้าวคั่ว หอมแดงซอย น้ำปลา น้ำมะนาว ชิมรส ก่อนรับประทานโรยด้วยต้นหอมซอย ใบสะระแหน่

ตับหวานหมู

23 มกราคม พ.ศ. 2556
วิธีทำเหมือนน้ำตกหมู เพียงแต่เปลี่ยนเนื้อหมู เป็นตับหมู โดยแล่เป็นชิ้นหนาประมาณฝ่ามือ นำไปย่างพอสุก แล้วหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ พอดีคำ ปรุงรสเช่นเดียวกับน้ำตกหมู

ไก่ย่าง

23 มกราคม พ.ศ. 2556
นำไก่สับเป็นชิ้นหนาขนาดฝ่ามือ แล้วนำไปคลุกกับเครื่องที่โขลกคือ กระเทียม ตะไคร้ เกลือป่น ปรุงรสด้วยน้ำปลา ซีอิ้วขาว พริกไทย หมักทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที นำไปย่างบนเตาถ่านให้สุก ควรใช้ไฟอ่อน ๆ ในการย่าง เพราะจะทำให้เนื้อไก่ไม่ไหม้ก่อนสุก และเนื้อไก่นุ่มด้วย รับประทานกับน้ำจิ้ม ที่ทำจากพริกป่น กระเทียม น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ และน้ำมะนาว

ไส้กรอกอีสาน

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นอาหารหมัก มีรสเปรี้ยว ทำจากเนื้อหมูบด ผสมข้าวเหนียวนึ่ง (แช่น้ำ) คลุกเคล้าด้วยพริกไทย กระเทียม รากผักชีที่โขลกละเอียด นวดให้เข้ากัน ยัดใส่ในไส้หมู มัดเป็นปล้อง ๆ ตามขนาดที่ต้องการ นำไปตากแดด 1 วัน (แดดจัด) เวลาจะรับประทานนำไปทอด หรือย่าง รับประทานกับขิงซอย พริกขี้หนูสด

ซุปหน่อไม้

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ทำจากผัก นำมาต้มหรือเผาไฟ แล้วทำซุปโดยใส่เครื่องปรุง ได้แก่ งา ข้าวคั่ว ผักที่มีกลิ่นหอม เช่น ใบสะระแหน่ รับประทานกับผัก สำหรับซุปหน่อไม้ ใช้หน่อไม้สดไผ่รวก นำไปเผาไฟแล้วขูดเป็นเส้น ๆ หรือใช้หน่อไม้ดองที่ไสเป็นเส้นยาว ๆ ต้มกับน้ำใบย่านางพอสุก (สังเกตจากน้ำใบย่านางเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีคล้ำ) ตักหน่อไม้ใส่ครก เติมพริกป่น ข้าวคั่ว งาขาว น้ำปลา น้ำปลาร้าต้ม น้ำมะนาว ต้นหอมซอย หอมแดงซอย ผักชีฝรั่งซอย ตำเบา ๆ เวลารับประทานโรยด้วยใบสะระแหน่

ต้มยำไก่บ้าน

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ใช้ไก่บ้านสับเป็นชิ้นพอประมาณ ต้มโดยใส่ใบมะกรูด ตะไคร้ ข่า หอมแดง และเกลือ เคี่ยวจนเนื้อไก่นุ่ม ใส่มะเขือเทศ ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว น้ำมะขามเปียก เวลารับประทานโรยต้นหอม ผักชี (ตะไคร้ ข่า หอมแดง ควรนำไปย่างไฟก่อน จะทำให้หอมยิ่งขึ้น)

ต้มเปรอะ (แกงหน่อไม้ใส่ใบย่านาง)

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นอาหารที่ทำได้ง่ายในฤดูฝน เพราะหน่อไม้และใบย่านางหาได้ง่าย โดยนำหน่อไม้สดสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มน้ำทิ้ง แล้วนำไปต้มกับน้ำใบย่านาง ใส่ตะไคร้ทุบ และพริกที่โขลกกับหอมแดง ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า น้ำปลาก่อนยกลงใส่ใบแมงลัก อาจเพิ่มเห็ด ยอดชะอม ฟักทอง

แกงอ่อมไก่

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ใช้เนื้อไก่สับเป็นชิ้นพอประมาณ ใส่เครื่องแกงอ่อม (พริก กระเทียม) ตั้งไฟ ใส่ผักต่าง ๆ เช่น ฟักทอง มะเขือ ฯลฯ ปรุงรสด้วยผักที่มีกลิ่นหอม เช่น ผักชีลาว

แกงอ่อมหมูใส่ฟักทอง

23 มกราคม พ.ศ. 2556
วิธีทำเช่นเดียวกับอ่อมไก่ เพียงแต่เปลี่ยนเป็นเนื้อหมู หั่นเป็นชิ้นพอคำ การคั่วเนื้อหมูก่อน จะทำให้แกงมีรสหอม และไม่มีกลิ่นคาว

น้ำพริกปลาร้า

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ถือว่าเป็นอาหารหลักของชาวอีสาน ใช้รับประทานกับผักสด หรือผักลวกก็ได้ ให้นำพริกชี้ฟ้า หอมแดง กระเทียม ไปย่างไฟก่อน และใช้ปลาช่อนต้มกับน้ำปลาร้า พอสุก แกะเนื้อปลาไว้ ส่วนน้ำปลาร้านำไปใส่ในเครื่องที่โขลก แล้วปรุงรส

ก้อยเนื้อ

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ใช้ข่าอ่อนหั่นละเอียด ผสมลงไปในเนื้อวัวสับละเอียด เพื่อดับกลิ่นคาว จากนั้นบีบมะนาวคลุกเคล้า แล้วบีบน้ำออก นำน้ำไปตั้งไฟพอเดือด ใส่เนื้อลงไปรวนให้สุก ปรุงรส

แกงขนุนอ่อน (ภาคอีสาน)

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ใช้ขนุนอ่อน ต้มพอสุก นำซี่โครงหมูคลุกกับพริกสดโขลกกับข้าวเบือพอแหลก ใส่น้ำใบย่านาง น้ำปลาร้า น้ำปลา เกลือ ตั้งไฟพอเดือด ใส่ขนุน บวบ ชะอม ใบแมงลัก

นึ่งปลาช่อน

23 มกราคม พ.ศ. 2556
นึ่งปลาช่อน ต่างกับนึ่งไก่ ตรงที่ใช้ใบแมงลักรองก้นรังถึง แล้ววางปลาที่หมักไว้ จากนั้นนำไปนึ่งให้สุก เพื่อดับกลิ่นคาว จากนั้นใส่ผัก นึ่งต่อ รับประทานกับน้ำจิ้ม

ข้าวปุ้นน้ำยาปลาร้า

23 มกราคม พ.ศ. 2556
คล้ายน้ำยาป่าของภาคกลาง ทำง่าย รสชาติเค็ม เผ็ด มีรสหวานจากกระเทียมดอง อาจบุบพริกสดใส่ลงไปในน้ำยาก็ได้

ข้าวปุ้นน้ำยาลาว

23 มกราคม พ.ศ. 2556
น้ำยาลาว เป็นน้ำยาที่ใช้ปลาทำ คล้ายน้ำยาป่าของภาคกลาง เพียงแต่ใช้น้ำปลาร้าปรุงรส

หมกไก่ใส่หัวปลี

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ใช้ไก่บ้านสับเป็นท่อน ๆ ส่วนหัวปลีเลือกเฉพาะส่วนที่อ่อน หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แช่ในน้ำสะอาด บีบมะนาวเพื่อไม่ให้สีคล้ำ ปรุงรสเช่นเดียวกับหมกกบ นำไปนึ่งจนสุก

ข้าวต้มหัวหงอก

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นของหวาน ใช้ข้าวเหนียวและถั่ว แช่น้ำอย่างน้อย 1 ชั่วโมง แล้วนำมาห่อบนใบตอง ใส่ไส้กล้วยตรงกลาง มัดด้วยตอกให้แน่น นึ่งจนสุก เวลารับประทานหั่นเป็นชิ้นพอคำ โรยหน้าด้วยน้ำตาลทรายและมะพร้าวขูด

ข้าวโพดห่อกาบ

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นของหวานอีกชนิดหนึ่งของภาคอีสาน โดยนำข้าวโพดฝานบาง ๆ โขลกรวมกับข้าวเหนียวแช่น้ำ ใส่น้ำตาลทราย เกลือ คลุกให้เข้ากัน นำไปห่อด้วยกาบเปลือกข้าวโพด นึ่งจนสุก

แกงส้มหน่อไม้ดอง (แกงเหลืองหน่อไม้ดอง)

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นแกงที่รับประทานคู่กับข้าวสวย และผักเหนาะ หน่อไม้ที่ใช้นิยมใช้หน่อไม้ไผ่ตงดอง แกงคู่กับปลา อาจเป็นปลากระพง ปลากระบอก ปลาสำลี หรือปลาชนิดอื่นก็ได้ น้ำพริกแกงประกอบด้วยขมิ้น กระเทียม พริกขี้หนูสด หรือพริกขี้หนูแห้ง เกลือป่น และกะปิ ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว หรือน้ำมะขามเปียก

แกงพริกกระดูกหมู

23 มกราคม พ.ศ. 2556
แกงพริกกระดูกหมู นิยมใช้กระดูกหมูส่วนซี่โครง น้ำพริกแกง ประกอบด้วย พริกขี้หนูแห้ง พริกไทยเม็ด ขมิ้น ตะไคร้ หอมแดง กระเทียม เกลือ และกะปิ ปรุงรสด้วยเกลือและน้ำตาลปี๊บ เป็นแกงที่มีลักษณะน้ำขลุกขลิก รสชาติเผ็ดพริกขี้หนูและพริกไทย เสริฟคู่กับผักเหนาะ

แกงหมูกับลูกเหรียง หรือแกงคั่วหมูกับลูกเหรียง

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นแกงกะทิ รับประทานกับข้าวสวย และผักเหนาะ รสชาติเผ็ดพริกไทยและพริกขี้หนู ลูกเหรียงมีลักษณะคล้ายถั่วงอกหัวโต แต่หัวจะโตกว่าถั่วงอกและมีสีเขียว กลิ่นฉุน ใช้เป็นผักเหนาะหรือประกอบอาหารได้หลายชนิด

ขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้

23 มกราคม พ.ศ. 2556
น้ำยาปักษ์ใต้มีลักษณะสีเหลือง ข้นด้วยเนื้อปลาโขลกละเอียด รับประทานคู่กับขนมจีน พร้อมผักเหนาะ นิยมรับประทานในมื้อกลางวัน แต่บางจังหวัดนิยมรับประทนตั้งแต่มื้อเช้า กลางวัน และเย็น

น้ำพริกโจร

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นน้ำพริกไม่ใช้วิธีโขลก ส่วนผสมเหมือนน้ำพริกชนิดอื่น แต่จะใช้วิธีซอยส่วนผสมแทน เช่น พริกขี้หนูซอย หอมแดงซอย กุ้งสดต้มสุกหั่น ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำตาลปี๊บ เสริฟพร้อมผักเหนาะ

ไก่ต้มขมิ้น

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นต้มที่มีน้ำสีเหลืองของขมิ้น ส่วนประกอบอื่นมีตะไคร้ทุบหั่นเป็นท่อน ข่าทุบ ขมิ้นบุบพอแตก หอมแดงบุบ กระเทียมบุบ ปรุงรสด้วยเกลือป่น และน้ำตาลเล็กน้อย นิยมใช้ไก่บ้าน

ต้มส้มปลากระบอก

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นต้มที่มีน้ำสีเหลืองของขมิ้น มีรสเปรี้ยวนำ รสเปรี้ยวนิยมใช้ส้มแขก หรือน้ำส้มลูกโหนด (น้ำส้มตาลโหนด) ซึ่งได้จากการเอาน้ำตาลจากต้นตาลมาหมักทิ้งไว้จนมีรสเปรี้ยว จึงนำมาใช้ประกอบอาหาร

กุ้งต้มหวาน / กุ้งต้มน้ำผึ้ง

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นอาหารที่รับประทานคู่กับแกงส้ม หรือแกงไตปลา รสชาติจะหวานนำ และเค็มเล็กน้อย ส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ กุ้ง น้ำตาลแว่น และเกลือ

ลูกเห็ดทอด

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ลูกเห็ดทอดคือ ทอดมันของภาคใต้แต่ไม่ใส่เนื้อปลา รับประทานกับข้าวสวย หรือทานเป็นของว่าง ลูกเห็นทอดมีส่วนประกอบของน้ำพริกแกง แป้งข้าวเจ้า มะพร้าวขูด ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำตาลปี๊บ ปั้นเป็นก้อนทอดให้สุก

ปลาทอดขมิ้น

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ปลาทอดขมิ้นจะใช้ปลาอะไรก็ได้เช่น ปลาทู ปลาสำลี ปลาทรายแดง ปลาช่อน ปลาดุก ฯลฯ รับประทานคู่กับข้าวสวย ส่วนประกอบที่สำคัญที่ใช้คลุกตัวปลา ได้แก่ ขมิ้น เกลือป่น กระเทียม โขลกให้ละเอียด คลุกดัวปลาไว้ 10-15 นาที แล้วนำไป

ผัดสะตอใส่กะปิ

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นอาหารที่รับประทานคู่กับข้าวสวย มีรสเค็ม หวาน และเปรี้ยว เนื้อสัตว์ที่ใช้อาจเป็นกุ้ง หรือหมูก็ได้ ส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ พริกขี้หนู หอมแดง กะปิ โขลกให้เข้ากัน เครื่องปรุงรสได้แก่ น้ำปลา น้ำตาลทราย น้ำมะนาว

ข้าวยำ

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ข้าวยำ เป็นอาหารจานเดียวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน และเกลือแร่ ข้าวยำประกอบด้วยข้าวสวยเป็นหลัก คลุกเคล้ากับผักนานาชนิด ผลไม้ที่ให้รสเปรี้ยว เช่น มะม่วงดิบสับ ส้มโอ กุ้งแห้งป่น มะพร้าวคั่ว พริกขี้หนูแห้งป่น ราดด้วยน้ำบูดูชนิดหวาน

ข้าวยำคลุก

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ข้าวยำคลุก เป็นอาหารจานเดียวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ประกอบด้วยข้าวสวยเป็นหลัก คลุกเคล้ากับเครื่องแกงโขลกละเอียด ใส่กุ้งแห้งป่นหรือปลาย่าง และผักหั่นฝอย

ผัดเผ็ดสะตอ

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นอาหารที่มีน้ำขลุกขลิก เนื้อสัตว์ที่ใช้อาจเป็นหมูหรือกุ้ง น้ำพริกแกงประกอบด้วย พริกแห้งเม็ดใหญ่ พริกขี้หนูแห้ง เกลือป่น พริกไทยเม็ด ตะไคร้ ข่า ผิวมะกรูด ขมิ้น หอมแดง กระเทียม กะปิ ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลปี๊บ

ปลาหมึกต้มหวาน

23 มกราคม พ.ศ. 2556
นิยมใช้ปลาหมึกกล้วย และต้มทั้งตัว น้ำต้มมีรสหวานนำเค็มตาม และมีสีขุ่นคล้ำ ถ้าไม่ต้องการให้น้ำต้มมีสีขุ่นคล้ำ ให้ดึงถุงหมึกออก

ขนมโค

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ขนมโค จัดเป็นของว่าง หรือของหวานก็ได้ ทำจากแป้งข้าวเหนียว ไส้ใช้น้ำตาลแว่น หั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า นำไปต้มให้สุก แล้วคลุกมะพร้าวทึนทึกขูดฝอยที่ผสมเกลือ อาจจะโรยด้วยถั่วเขียวเลาะเปลือกคั่ว

แกงไตปลา

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ป็นแกงที่มีลักษณะน้ำข้น สีน้ำตาลเข้ม มีส่วนผสมหลักของไตปลาและน้ำพริกแกงคั่ว นิยมใช้ไตปลาช่อน ไตปลาทู ใส่ผักหลายชนิดเป็นส่วนประกอบ ปรุงรสด้วยส้มแขก รับประทานคู่กับข้าวสวย หรืออาจใช้รับประทานกับขนมจีน มีรสเผ็ดเค็มและเปรี้ยวเล็กน้อย

ขนมขี้มอด

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นขนมที่มีลักษณะคล้ายทรายละเอียด มีส่วนผสมหลักคือ ข้าวคั่ว มะพร้าวคั่ว น้ำตาล และเกลือ ผสมรวมกัน นิยมรับประทานเป็นขนมกินเล่น เป็นขนมพื้นบ้านโบราณ

ขนมมด

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เหมือนขนมหัวล้าน แต่ทำให้สุกโดยวิธีทอด และไม่ราดกะทิ

ขนมหัวล้าน

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นขนมต้มคล้ายขนมโค แต่ลูกจะโตกว่าและมีไส้ขนม ถ้าเป็นไส้เค็มจะใส่ถั่วกวนพริกไทย ทำให้มีรสเผ็ดเล็กน้อย ส่วนไส้หวานจะใช้มะพร้าวทึนทึกกวนกับน้ำตาลจนเหนียว ทำให้ขนมสุกโดยการนึ่ง รองด้วยใบตองและราดหัวกะทิเมื่อสุก

ปลาทูต้มส้มแขก

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นอาหารที่ประกอบไปด้วยปลาทู ปรุงรสให้เปรี้ยวด้วยส้มแขก และดับกลิ่นคาวปลาด้วยหอมแดงบุบและกระเทียมบุบ

ขนมถั่วแปบ

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ขนมถั่วแปบ เป็นขนมไทยพื้นบ้านที่หารับประทานได้ง่าย ทำจากแป้งข้าวเหนียว มีไส้ทำจากถั่วเขียวเลาะเปลือกต้มสุก คลุกกับมะพร้าวทึนทึกขูดฝอย เวลารับประทานโรยด้วยน้ำตาลทรายและงาคั่ว

ขนมหยกมณี

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ขนมหยกมณี ทำจากสาคูเม็ดเล็กกวนกับน้ำและน้ำตาล รับประทานคู่กับมะพร้าวทึนทึกขูดฝอย แต่เดิมนิยมใช้สีเขียวจากใบเตย จึงเรียกว่า ขนมหยกมณี ปัจจุบันมีการปรุงแต่งสีต่าง ๆ เช่น สีชมพู สีม่วง สีเหลือง เป็นต้น ถ้ามีหลายสีอาจใช้ชื่อเรียกตามสีที่ใส่หรือตั้งชื่อให้ไพเราะ

ถั่วกวน

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ถั่วกวน ทำจากถั่วเขียวเลาะเปลือกต้มสุก บดละเอียด กวนกับกะทิและน้ำตาล จนแห้ง อัดใส่พิมพ์ให้สวยงาม รับประทานเป็นขนมหวาน ส่วนผสมถั่วกวนสามารถประยุกต์ใช้กับขนมลูกชุบ เม็ดขนุนได้

ถั่วเขียวต้มน้ำตาล

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ทำจากถั่วเขียวต้มสุก ปรุงรสด้วยน้ำตาลทราย และน้ำตาลทรายแดง มีรสหวานนำ ปรุงแต่งรสเค็มเล็กน้อย ก่อนนำถั่วเขียวมาต้มควรคั่วถั่วพอหอมเสียก่อน จะช่วยเพิ่มกลิ่นให้กับขนม เทคนิคในการต้ม เมื่อเมล็ดถั่วเริ่มพองตัว

ไก่ห่อใบเตย

23 มกราคม พ.ศ. 2556
จัดเป็นอาหารคาวประเภททอด รับประทานเป็นกับข้าวหรือรับประทานเล่น ปรุงรสเค็มหวาน ห่อด้วยใบเตย แล้วนำไปทอดจนสุก จะได้เนื้อไก่ที่นุ่ม มีรสกลมกล่อม

ต้มโคล้งปลากรอบ

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นอาหารประเภทแกง น้ำพริกแกงใส่หอมเผา ปลาย่าง และใบมะขามอ่อน ช่วยให้เกิดรสเปรี้ยว ปรุงรสเปรี้ยวจัด เค็ม และเผ็ดจากพริกแห้งเผา

แกงต้มส้มปลาทู

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นอาหารคาวประเภทแกงสามรส มีรสหวานนำ ปรุงแต่งกลิ่นรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลปี๊บ และขิงอ่อน จะใช้เนื้อปลาอื่นแทนก็ได้ เช่น ปลาเนื้ออ่อน ปลาช่อน ปลาหมอ ฯลฯ ถ้าไม่ชอบปลาใช้เนื้อไก่แทนได้

เต้าเจี้ยวหลน

23 มกราคม พ.ศ. 2556
จัดอยู่ในอาหารประเภทเครื่องจิ้ม มีส่วนประกอบของกะทิ ทำให้น้ำข้น ปรุงรสเปรี้ยว เค็ม หวาน รับประทานคู่กับผักสด เช่น แตงกวา มะเขือชนิดต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากจะใช้เต้าเจี้ยวในการทำหลนแล้ว ยังสามารถใช้เครื่องปรุงที่มีรสเค็มเช่น ปลาร้า ปลาเค็ม ปูเค็ม แทนได้ เต้าเจี้ยวหลนที่มีรสอร่อยต้องเลือกเต้าเจี้ยวที่หมักได้ที่ เมล็ดถั่วเหลืองจะนุ่ม มีกลิ่นหอม เนื้อเต้าเจี้ยวจะเป็นเนื้อเดียวกันเมื่อโขลก นำมาผสมกับกะทิและหมูบดจะเข้ากันได้ดี

ปลาดุกฟู

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ปลาดุกฟู ทำจากปลาดุกย่าง ยีเอาเนื้อมาทอดให้สุก จะกรอบร่วน เกาะกันเป็นแพ ปลาดุกฟูสามารถนำมาทำเป็นอาหารได้หลายชนิดเช่น ทำยำปลาดุกฟู หรือรับประทานเป็นเครื่องเคียงกับเครื่องจิ้มและน้ำพริก

แสร้งว่ากุ้ง

23 มกราคม พ.ศ. 2556
จัดเป็นอาหารประเภทเครื่องจิ้ม มีส่วนผสมของกุ้งต้มสุก คลุกกับขิงอ่อน ตะไคร้ ปรุงรสเปรี้ยว เค็ม หวาน

แกงเขียวหวานไก่

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นอาหารประเภทแกง ใส่น้ำพริกแกงเขียวหวาน ซึ่งแตกต่างจากน้ำพริกแกงเผ็ดคือ ใช้พริกสดสีเขียวและพริกขี้หนูสีเขียว แกงมีสีเขียว มีมันลอยหน้า มีกลิ่นหอมของพริก มีรสหวานนำเค็มตาม

กล้วยเชื่อม

23 มกราคม พ.ศ. 2556
กล้วยที่นิยมนำมาเชื่อม ได้แก่ กล้วยหักมุก กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า ลักษณะของกล้วยเชื่อมที่ดีควรมองดูใสเป็นเงา ถ้าเป็นกล้วยไข่ต้องไม่พอง ยืดออก แต่น้ำตาลควรรัดแตกลายงา กล้วยน้ำว้าเชื่อมน้ำตาลปี๊บต้องมีสีแดงเข้ม เนื้อกล้วยเชื่อมทุกชนิดควรนุ่มเหนียว มีรสหวาน ถ้าราดน้ำกะทิจะเพิ่มความมัน และเค็ม ทำให้มีรสกลมกล่อม

วุ้นกะทิ

23 มกราคม พ.ศ. 2556
วุ้น เป็นขนมหวานไทยที่หารับประทานง่าย ราคาไม่แพง สามารถปรุงแต่งรสชาติด้วยกลิ่นรสต่าง ๆ เช่น วุ้นกาแฟ วุ้นลาย วุ่นสังขยา วุ้นกะทิ เป็นต้น วุ้นกะทิเป็นขนมที่ทำจากวุ้นที่ได้รับความนิยม ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ตัววุ้น และหน้ากะทิ มีรสหวาน มัน เค็มเล็กน้อย

แกงส้มผักรวม

23 มกราคม พ.ศ. 2556
แกงส้ม สามารถใช้ผักได้หลายชนิด มีชื่อเรียกตามชนิดของผักที่ใช้ แกงส้มผักกระเฉด แกงส้มผักบุ้ง แกงส้มถั่วฝักยาว เป็นต้น ถ้าใส่ผักหลายชนิดจึงใช้ชื่อเรียกรวมกันว่า แกงส้มผักรวม แกงส้มเป็นแกงเผ็ดชนิดหนึ่ง ใส่ผักเป็นหลัก เนื้อสัตว์ที่ใช้อาจเป็นกุ้ง ปลาชนิดต่าง ๆ มีรสเผ็ดนำ เปรี้ยว เค็มตาม

สังขยา

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นขนมที่ทำจากไข่ ได้รับการถ่ายทอดมาจากชาวต่างชาติ ส่วนผสมหลักของขนม คือ ไข่เป็ด ผสมรวมกับกะทิและน้ำตาลปี๊บ นำไปนึ่งจนสุก อาจมีการปรุงแต่งด้วยขนุน เผือก มะพร้าวอ่อน เป็นต้น

ข้าวคลุกกะปิ

23 มกราคม พ.ศ. 2556
จัดเป็นอาหารคาว รับประทานเป็นอาหารกลางวัน ประกอบด้วยข้าวคลุกกะปิ ผัดพอหอม รับประทานคู่กับหมูหวาน กุ้งแห้งทอด หอมซอย มะม่วงซอย ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน ตามชอบ

ผัดพริกขิงหมูถั่วฝักยาว

23 มกราคม พ.ศ. 2556
มีส่วนประกอบของถั่วฝักยาว เนื้อหมู และน้ำพริกแกงคั่ว ผัดให้มีน้ำขลุกขลิก ปรุงรสเผ็ด เค็ม หวาน มีน้ำมันสีแดง เวลาฝัดไม่ควรให้ผักสุกเกินไปจะไม่น่ารับประทาน

ขนมบัวลอยเผือก

23 มกราคม พ.ศ. 2556
จัดอยู่ในประเภทแกงบวด บัวลอยที่มีรสชาติดี น้ำกะทิต้องข้น ไม่แตกมัน มี 3 รสคือ หวาน มัน และเค็มเล็กน้อย ขนมบัวลอยสามารถแต่งรสด้วยส่วนผสมชนิดอื่นเช่น ฟักทอง ใบเตย เป็นต้น

ฟักทองแกงบวด

23 มกราคม พ.ศ. 2556
จัดอยู่ในประเภทแกงบวด ฟักทองแกงบวดที่มีรสชาติดี ต้องใช้ฟักทองเนื้อหนา เหนียว กะทิข้นไม่แตกมัน รสหวาน มัน เค็ม อุดมด้วยวิตามินเอ

แกงคั่วสับปะรดกับกุ้ง

23 มกราคม พ.ศ. 2556
จัดอยู่ในประเภทแกงคั่วมี 3 รส นิยมใช้สับปะรดที่มีรสเปรี้ยวนำ เนื้อสัตว์ที่ใช้ อาจใช้หอยแมลงภู่ เนื้อหมู หรือกุ้งได้ตามชอบ

เมี่ยงปลาทู

23 มกราคม พ.ศ. 2556
จัดอยู่ในประเภทยำ ใช้ปลาทูนึ่งสุก ผสมกับเครื่องยำ รับประทานคู่กับผักสด ควรเลือกปลาทูตัวใหญ่ จะมีเนื้อมาก ปรุงรสจัด เวลาประกอบอาหารไม่ควรผสมไว้นานจะทำให้มีน้ำออกมามากจะแฉะ

หมูไข่พะโล้

23 มกราคม พ.ศ. 2556
จัดอยู่ในประเภทแกง มี 2 รสคือ เค็ม หวานกลมกล่อม น้ำแกงมีสีน้ำตาลเข้มด้วยการทำน้ำตาลเคี่ยวไหม้ และซีอิ้วดำ พะโล้ที่มีรสชาติดีควรจะเคี่ยวน้ำให้นาน เพื่อให้รสชาติซึมเข้าไปในส่วนผสม

น้ำพริกกะปิ

23 มกราคม พ.ศ. 2556
น้ำพริกกับผักและปลา เป็นอาหารหลักของคนไทย น้ำพริกที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่งคือ น้ำพริกปลาทู รับประทานคู่กับปลาทูทอด และผักสด ผักทอด ผักต้ม

สาคูเปียกมะพร้าวอ่อน

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นขนมหวานไทยอีกประเภทหนึ่ง ทำง่ายและต้นทุนต่ำ สาคูเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งมันสำปะหลัง เมื่อนำมาต้มกับน้ำจะพองตัว ปรุงรสด้วยน้ำตาลทราย อาจใส่ส่วนผสมอื่นเช่น เผือก ลำไย ข้าวโพด เป็นต้น

ยำกุ้งสด

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นอาหารประเภทยำที่ใช้เนื้อสัตว์หลายชนิด เช่น กุ้ง ปลา ปลาหมึก หอย ฯลฯ ผสมกับผักเช่น หอมใหญ่ ใบคึ่นช่าย ปรุงรสด้วยพริกขี้หนู น้ำปลา น้ำมะนาว มีรสเผ็ด เปรี้ยว เค็ม และหวาน จากเนื้อสัตว์ที่ใช้

ยำหมูย่าง

23 มกราคม พ.ศ. 2556
จัดอยู่ในประเภทยำ โดยการนำเนื้อหมูไปย่างพอสุก นำมาผสมกับเครื่องยำ ไม่ควรย่างให้หมูสุกมาก เนื้อจะแห้งมากไม่อร่อย เวลาผสมแล้ว รับประทานเลย

แกงจืดหน่อไม้ไก่

23 มกราคม พ.ศ. 2556
จัดอยู่ในประเภทแกงจืด ปรุงรสเค็มด้วยน้ำปลา นิยมใช้หน่อไม้ไผ่ตงอ่อน ต้มให้หายขม เนื้อสัตว์ที่ใช้อาจใช้ซี่โครงหมู หรือไก่ได้ เคี่ยวไฟอ่อนให้น้ำซุปใน ปรุงรสเค็มและหวานจากน้ำซุป

ยำมะม่วง

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ใช้มะม่วงดิบที่มีรสเปรี้ยวนำ ผสมกับเครื่องยำ ปรุงรสให้จัด ใช้สำหรับรับประทานคู่กับเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น ปลาทอด หรือรับประทานเป็นเครื่องเคียงคู่กับอาหารคาว

แกงเลียง

23 มกราคม พ.ศ. 2556
แกงเลียง เป็นแกงที่มีกลิ่นรสเฉพาะของใบแมงลัก น้ำพริกแกงมีส่วนผสมของพริกไทย หอม กะปิ และกุ้งแห้ง ใช้ผักหลายชนิดเช่น ฟักทอง บวบ หัวปลี เป็นต้น น้ำแกงมีลักษณะข้น

พะแนงไก่

23 มกราคม พ.ศ. 2556
จัดเป็นอาหารคาวประเภทแกง รับประทานคู่กับข้าว เนื้อสัตว์ที่ใช้เคี่ยวกับหางกะทิพอนุ่ม ผัดกับน้ำพริกแกง ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บและน้ำปลา น้ำแกงข้นขลุกขลิก น้ำกะทิมีมันลอยหน้าสีแดง มีกลิ่นหอมของใบมะกรูดซอยละเอียด

พล่ากุ้ง

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ทำจากกุ้งลวกพอสุก ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำปลา ใส่ตะไคร้ พริกขี้หนู หอมแดง และใบมะกรูด รับประทานกับใบสะระแหน่

ยำถั่วพู

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นยำผักราดด้วยกะทิ ทำจากถั่วพูต้มสุก คลุกกับหอมแดงเจียว ถั่วลิสงคั่ว พริกแห้ง ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว น้ำตาลทราย มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน

ยำวุ้นเส้น

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นยำที่มีรสเปรี้ยวนำ มีส่วนประกอบของวุ้นเส้นลวกสุก ผสมกับเนื้อสัตว์ เช่น หมูสับ กุ้งสด ฯลฯ และผักเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ หัวหอม ใบคึ่นฉ่าย ปรุงรสด้วยน้ำปรุง 3 รส ประกอบด้วย น้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาลทราย และพริกขี้หนู มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน

ต้มข่าไก่

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นอาหารไทยที่ได้รับความนิยมประเภทหนึ่ง มีรสเปรี้ยว เค็ม หวานจากน้ำกะทิ แตกต่างจากต้มยำคือ การใช้น้ำกะทิแทนน้ำซุป ต้มกับข่าอ่อน ช่วยให้ต้มข่ามีกลิ่นหอม รับประทานร้อน ๆ

ต้มยำกุ้ง

23 มกราคม พ.ศ. 2556
เป็นอาหารไทยยอดนิยม ส่วนมากใช้กุ้งก้ามกราม ต้มกับน้ำซุป ใส่ตะไคร้ ใบมะกรูด ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว และพริกขี้หนู

ข้าวตังหน้าตั้ง

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ข้าวตังทอดกรอบ รับประทานคู่กับหน้าตั้ง ซึ่งมีส่วนผสมของเนื้อหมูสับและกุ้งสับเคี่ยวกับกะทิ แต่งกลิ่นด้วยกระเทียม พริกไทย รากผักชี และพริกแห้ง ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล

แกงจืดสามกษัตริย์

23 มกราคม พ.ศ. 2556
น้ำซุปที่ใช้อาจใช้น้ำต้มกระดูก ปรุงรสเค็มเล็กน้อย ใช้เนื้อสัตว์ 3 ชนิดคือ หมู ไก่ กุ้ง นำมามัดรวมกันด้วยหัวผักกาดเค็มตัดเป็นเส้นเล็ก ๆ ต้มกับน้ำซุปพอสุก จะได้รสเค็ม หวาน จากหัวผักกาดเค็ม โรยหน้าด้วยพริกไทย และผักชี

แกงฮังเล

23 มกราคม พ.ศ. 2556
ได้รับวัฒนธรรมของแกงมีน้ำขลุกขลิก ไม่ใส่กะทิ มีมันสีน้ำตาลลอยหน้า มี 3 รสคือ เปรี้ยว เค็ม หวาน

สมัครสมาชิก

สนับสนุนโดย / Supported By

  • บริษ้ท มาเรล ฟู้ดส์ ซิสเท็ม จำกัด จัดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์การแปรรูปอาหาร เช่น ระบบการชั่งน้ำหนัก, การคัดขนาด, การแบ่ง, การตรวจสอบกระดูก และการประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พร้อมกับบริการ ออกแบบ ติดตั้ง กรรมวิธีการแปรรูปทั้งกระบวนการ สำหรับ ผลิตภัณฑ์ ปลา เนื้อ และ สัตว์ปีก โดยมีวิศวกรบริการและ สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเทพ มาเรล เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกของอุปกรณ์การแปรรูปอาหารที่ทันสมัย​​ครบวงจรทั้งระบบ สำหรับอุตสาหกรรม ปลา กุ้ง เนื้อ และสัตว์ปีก ต่างๆ เครื่องแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก Stork และ Townsend จาก Marel อยู่ในกลุ่มเครื่องที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดในอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ สามารถบริการครบวงจรตั้งแต่ต้นสายการผลิตจนเสร็จเป็นสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกความต้องการของลูกค้า ด้วยสำนักงานและบริษัทสาขามากกว่า 30 ประเทศ และ 100 เครือข่ายตัวแทนและผู้จัดจำหน่ายทั่วโลก ที่พร้อมทำงานเคียงข้างลูกค้าเพื่อขยายขอบเขตผลการแปรรูปอาหาร Marel Food Systems Limited. We are supply weighing, grading, portioning, bone detection and software applications as well as complete turn-key processing solutions for fish, meat and poultry. We have service engineer and office in Bangkok. Marel is the leading global provider of advanced food processing equipment, systems and services to the fish, meat, and poultry industries. Our brands - Marel, Stork Poultry Processing and Townsend Further Processing - are among the most respected in the industry. Together, we offer the convenience of a single source to meet our customers' every need. With offices and subsidiaries in over 30 countries and a global network of 100 agents and distributors, we work side-by-side with our customers to extend the boundaries of food processing performance.
  • วิสัยทัศน์ของบริษัท คือ การอยู่ในระดับแนวหน้า "ฟอร์ฟร้อนท์" ของเทคโนโลยีประเภทต่างๆ และนำเทคโนโลยีนั้นๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิตในประเทศไทย เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า บริษัท ฟอร์ฟร้อนท์ ฟู้ดเทค จำกัด เชื่อมั่นและยึดมั่นในอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจ กล่าวคือ จำหน่าย สินค้าและให้บริการที่มีคุณภาพสูง ซึ่งเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ด้วยความซื่อสัตย์และความตรงต่อเวลา เพื่อการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จร่วมกันระยะยาว Our vision is to be in the "forefront" of technology in its field and suitably apply the technology to industries and production in Thailand for customers' utmost benefits. Forefront Foodtech Co., Ltd. strongly believes in and is committed to our own business philosophy which is to supply high quality products and service appropriately to each customer's requirements with honesty and punctuality in order to maintain long term win-win business relationship. Forefront Foodtech Co., Ltd. is the agent company that supplies machinery and system, install and provide after sales service as well as spare parts. Our products are: Nock, made in Germany: manufacturer of skinning machines, membrane skinning machine, slicers and scale ice makers. Frey, made in Germany: manufacturer of vacuum stuffers and chain linking system. Kronen, made in Germany: manufacturer of washing, centrifuges and cutting machinery for vegetable and fruits. Bandall, made in Netherlands: manufacturer of banding machine. Emerson, made in Romania: smoke chamber. G.Mondini, made in Italy: manufacturer of top seal, skin pack, paper seal, slimfresh and slicefresh for ready meal, meat, petfood and etc. Dorit, made in Germany: manufacturer of tumblers and injectors. Cliptechnik, made in Germany: manufacturer of single and double clippers for table top use and standalone clipping machines. Firex, made in Italy: manufacturer of food-processing equipment for kitchen and commercial equipment. Orved, made in Italy: manufacturer of vacuum packing machine. Carsoe, made in Denmark: designs and produces products for the seafood and food processing industry Gernal, made in Belgium: manufacturer of food-processing equipment for industrial Mado, made in Germany: manufacturer of meat-processing industry
  • We are well known for reliable, easy-to-use coding and marking solutions which have a low total cost of ownership, as well as for our strong customer service ethos. Developing new products and a continuous programme of improving existing coding and marking solutions also remain central to Linx's strategy. Coding and marking machines from Linx Printing Technologies Ltd provide a comprehensive solution for date and batch coding of products and packaging across manufacturing industries via a global network of distributors. In the industrial inkjet printer arena, our reputation is second to none. Our continuous ink jet printers, laser coders, outer case coders and thermal transfer overprinters are used on production lines in many manufacturing sectors, including the food, beverage, pharmaceutical, cosmetics, automotive and electronic industries, where product identification codes, batch numbers, use by dates and barcodes are needed. PTasia, THAILAND With more than 3,700 coding, marking, barcode, label applicator, filling, packing and sealing systems installed in THAILAND market. Our range is includes systems across a wide range of technologies. To select the most appropriate technology to suit our customers. An excellent customer service reputation, together with a reputation for reliability that sets standards in the industry, rounds off the PTAsia offering and provides customers with efficient and economical solutions of the high quality. Satisfyingcustomers inTHAILAND for 10 years Our 1,313 customers benefit from our many years of experience in the field, with our successful business model of continuous improvement. Our technical and service associates specialise in providing individual advice and finding the most efficient and practical solution to every requirment. PTAsia extends its expertise to customers in the food, beverage, chemical, personal care, pharmaceutical, medical device, electronics, aerospace, military, automotive, and other industrial markets.