News and Articles

แหล่งรวมเหล่าร้าย : แบคทีเรียมหาภัยกับอาหารเป็นพิษ

แหล่งรวมเหล่าร้าย : แบคทีเรียมหาภัยกับอาหารเป็นพิษ


หมวดหมู่: คุณภาพด้านจุลินทรีย์ [คุณภาพและ มาตรฐานอาหาร]
วันที่: 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

โรคอาหารเป็นพิษ (food poisoning) ที่มีสาเหตุมาจากจุลินทรีย์ที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Food borne illnessเป็นโรคที่หลายคนเคยประสพพบเจอกันมาแล้ว เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน หรือมีสารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้น อาการพื้นฐานก็มีตั้งแต่ ปวดท้อง ท้องเสีย เวียนศีรษะอาเจียร อาการอาจเกิดขึ้นแล้วหายเองได้ บางอาการก็เป็นอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้ ผู้ประกอบการผลิตอาหาร ไม่ว่าจะเป็นรายเล็ก หรืออุตสาหกรรม ควรทำความรู้จักว่าโรคเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เราจะป้องกันอาหารที่เราผลิตให้ห่างไกลจากโรคอาหารเป็นพิษ ได้อย่างไร อาหารไทยจะได้มีชื่อเสียงทั้งด้านความอร่อย และสะอาดปลอดภัยค่ะ

แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ มีอยู่ตามรายการด้านล่าง ท่านสามารถ click linkเข้าไปดู รูปร่างหน้าตา อาหารที่เกี่ยวข้องและวิธีการป้องกันได้เลยค่ะ

Bacillus cereus

Campylobacter jejuni

Clostridium botulinum

Clostridium perfringens

Eshericia coli

Listeria monocytogenes

Salmonella spp.

Shigella spp.

Staphylococcus aureus

Vibrio spp.

Yersinia enterocolitica



ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา หน่วยบริการด้านความปลอดภัยและตรวจสอบคุณภาพอาหาร (USDA FSIS) เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของ 3เอ็ม
USDA FSIS Chooses 3M USDA Food Safety and Inspection Service Chooses 3M for Salmonella and Listeria monocytogenes Testing. 3M Food Safety is honored to announce that following rigorous performance evaluations against other commercially available rapid methods, the United States Department of Agriculture’s Food Safety and Inspection Service (USDA FSIS) has chosen 3M™ Molecular Detection System as the primary method to be used for the detection of Salmonella and Listeria monocytogenes: two major pathogenic organisms continually threatening food production and processing. Read the updated USDA FSIS Microbiology Laboratory Guidebook (MLG) methods for pathogen detectionRead MLG 4.10 |Read MLG 8.11 |Find the entire MLG For over 150 years, the United States Department of Agriculture has worked to improve the lives of Americans through many facets, including transportation and production of food. The U.S. Department of Agriculture’s Food Safety and Inspection Service (USDA FSIS) is devoted to their mission statement: “Protecting the public’s health by ensuring the safety of meat, poultry, and processed egg products,” and 3M Food Safety is proud to diligently work with them on this. “Protecting food, consumers and businesses with innovative and reliable technologies has been at the core of everything we do, so the USDA FSIS’ selection of 3M as a partner is validation of the science and the spirit of our work,” said Polly Foss, 3M Food Safety Global Vice President. “The 3M™ Molecular Detection System has proven to be a highly accurate and efficient tool for many food producers globally.” Pathogen Testing for Salmonella Salmonella can infect the digestive tracts of humans, warm and cold-blooded animals (this includes your beloved pets), and the environment. Salmonella is known to be a significant problem in the poultry industry throughout the world and is tightly regulated.Poultryand meat-associatedproducts are recognized as a recurrent vehicle for Salmonella outbreaks.According to the U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC),every year Salmonellosis results in around 19,000 Salmonella-induced hospitalizations. 3M Food Safety is assisting the food and beverage industries to detect this dangerous pathogen through the use of the 3M™ Molecular Detection Assay 2 – Salmonella and the 3M™ Petrifilm™ Salmonella Express System. Pathogen Testing forListeria Listeria is a ubiquitous and hardy bacterium. It can survive acidic, higher salt, or refrigerated conditions. Because of this, it poses a unique challenge to the food industry. But, not all species are pathogenic to humans and animals. L. monocytogenes, one of the species considered a pathogen may result in Listeriosis if ingested. In the United States, the CDC estimates that 1600 people are infected with Listeriosis annually. L. monocytogenes has a higher mortality rate (20%) when compared to Salmonella (1%). Unlike Salmonella the population at greatest risk for Listeriosis are pregnant women and their fetuses, newborns, elderly, and the immune-compromised. Demand for increased preventions and controls are being placed in the food industry; making it crucial to have a detection method that you can trust. The 3M™ Molecular Detection Assay 2 – Listeria and the 3M™ Molecular Detection Assay 2 – Listeria monocytogenes help you detect this harmful pathogen. Advanced Technology, Enhanced Reliability Regardless of the pathogen being tested, a reliable testing method is vital. Our complete portfolio of pathogen testing products feature the instruments, assays, and accessories you need to quickly and reliably testfor major pathogens. The3M™ Molecular Detection Systemcombines novel technologies – isothermal DNA amplification and bioluminescence detection – resulting in a fast, accurate, easy-to-use application that overcomes certain limitations of PCR (Polymerase Chain Reaction) pathogen testing methods. It simultaneously accommodates individual, pathogen-specific assays, enabling users in meat, poultry and other food and beverage categories to run up to 96 different tests concurrently for a range of organisms and across various food and environmental samples. The next generation 3M™ Molecular Detection Assays have been consistently validated by leading scientific validation organizations throughout the world (AOAC® INTERNATIONAL, AFNOR, Health Canada, MAPA) for a comprehensive variety of sample types. REQUEST A DEMO Contact Detail: 3M Food Safety Department 3M Thailand Limited 159 Asokemontri Rd., Klongtoey Nue, Wattana, Bangkok 10110 | Thailand Tel: 0 2260 8577, M: 098-582 4428 Ms. Narisara Wanigorn E-Mail: [email protected] Ms. Masinee Likhitrattanapaiboon E-Mail: [email protected] Ms. Narunras (Kavisra) BhuyothinE-Mail: [email protected] กระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา หน่วยบริการด้านความปลอดภัยและตรวจสอบคุณภาพอาหาร (USDA FSIS) เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของ 3เอ็ม หน่วยบริการด้านความปลอดภัยและตรวจสอบคุณภาพอาหารของ USDA (USDA FSIS) เลือกวิธีของ 3เอ็ม ในการทดสอบ เชื้อซาลโมเนลล่า และเชื้อลิสทีเรีย โมโนไซโตจิเนส 3เอ็ม รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับการรับรองในการประเมินประสิทธิภาพของ 3M™ Molecular Detection System กับวิธีการที่รวดเร็วอื่นๆ ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด โดยหน่วยบริการความปลอดภัยและตรวจสอบอาหารของกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (USDA FSIS) ซึ่งได้เลือกชุดทดสอบเชื้อก่อโรคระดับโมเลกุล 3M™ Molecular Detection System เป็นวิธีหลักในการตรวจหาเชื้อซาลโมเนลล่าและเชื้อลิสทีเรีย โมโนไซโตจิเนส ซึ่งเป็นสองเชื้อก่อโรคสำคัญที่คุกคามการผลิตและการแปรรูปอาหารมาอย่างต่อเนื่อง อ่านคู่มือวิธีปฏิบัติการด้านจุลชีววิทยาของ USDA FSIS ฉบับปรับปรุง (MLG) สำหรับวิธีการตรวจหาเชื้อก่อโรค อ่าน MLG 4.10 | อ่าน MLG 8.11 | ค้นหา MLG ทั้งหมด กว่า 150 ปีที่กระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาความเป็นอยู่ของชาวอเมริกันในหลากหลายด้าน ซึ่งรวมถึงการขนส่งและการผลิตอาหาร หน่วยบริการความปลอดภัยและตรวจสอบอาหารของกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (USDA FSIS) อุทิศตนให้กับพันธกิจของพวกเขา: “การปกป้องสุขภาพของประชาชนด้วยการรับรองความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เนื้อ, ผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากไข่” ซึ่งแผนกผลิตภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยด้านอาหารของ 3เอ็ม มีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำงานร่วมกับพวกเขาในเรื่องนี้ “การปกป้องอาหาร ผู้บริโภค และธุรกิจด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และน่าเชื่อถือเป็นหัวใจหลักของทุกสิ่งที่เราทำ ดังนั้นการที่ USDA FSIS เลือก 3เอ็ม ในฐานะพันธมิตร เป็นการตอกย้ำคุณค่าของวิทยาศาสตร์ และจิตวิญญาณในการทำงานของพวกเรา” Polly Foss, รองประธานฝ่ายความปลอดภัยด้านอาหารของ 3เอ็ม กล่าว "ชุดทดสอบเชื้อก่อโรคระดับโมเลกุล 3M™ Molecular Detection System ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นเครื่องมือที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพสูงเหมาะสำหรับผู้ผลิตอาหารในทั่วทุกมุมโลก” การทดสอบเชื้อก่อโรคสำหรับ เชื้อซาลโมเนลล่า เชื้อซาลโมเนลล่า สามารถติดเชื้อได้ทั้งในทางเดินอาหารของมนุษย์ สัตว์เลือดอุ่นและสัตว์เลือดเย็น (รวมถึงสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รักของคุณ) และในสิ่งแวดล้อม เป็นที่รู้กันดีว่า เชื้อซาลโมเนลล่า เป็นปัญหาสำคัญในอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ปีกทั่วโลกและถูกควบคุมอย่างเข้มงวด สัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ถือเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนชั้นดีที่ทำให้เกิดการระบาดของ เชื้อซาลโมเนลล่า ซ้ำแล้วซ้ำอีก จากรายงานของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) พบว่าในทุกๆ ปีจะมีผู้ป่วยติดเชื้อที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อซาลโมเนลล่าประมาณ 19,000 ราย ความปลอดภัยด้านอาหารของ 3เอ็ม กำลังช่วยเหลืออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในการตรวจสอบเชื้อก่อโรคที่เป็นอันตรายนี้ โดยผ่านชุดทดสอบเชื้อก่อโรคสำหรับ เชื้อซาลโมเนลล่า 3M™ Molecular Detection Assay 2 –Salmonella และชุดทดสอบ เชื้อซาลโมเนลล่า แบบรวดเร็ว 3M™ Petrifilm™ Salmonella Express System การทดสอบเชื้อก่อโรคสำหรับ เชื้อลิสทีเรีย เชื้อลิสทีเรีย เป็นแบคทีเรียที่พบโดยทั่วไป และมีความทนต่อสภาวะแวดล้อมเป็นอย่างมาก สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในสภาวะกรด ความเค็มสูง หรืออุณหภูมิต่ำเช่น ในตู้เย็น ด้วยเหตุนี้ถือเป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับวงการอุตสาหกรรมอาหาร แต่ไม่ใช่ทุกสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคกับมนุษย์และสัตว์ เชื้อลิสทีเรีย โมโนไซโตจิเนส หนึ่งในสายพันธุ์ที่ถือว่าเป็นเชื้อก่อโรค ซึ่งหากรับประทานเข้าไปอาจทำให้เกิดโรคติดเชื้อลิสทีเรีย CDC ประมาณการว่าทุกๆ ปีจะมีผู้ป่วยโรคติดเชื้อลิสทีเรียถึง 1,600 คนในประเทศสหรัฐอเมริกา เชื้อลิสทีเรีย โมโนไซโตจิเนส ก่อให้เกิดอัตราการตายที่สูงกว่า (20%) เมื่อเปรียบเทียบกับ เชื้อซาลโมเนลล่า(1%) ประชากรที่มีความเสี่ยงมากที่สุดในการเกิดโรคติดเชื้อลิสทีเรีย คือหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ทารกแรกเกิด ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งแตกต่างจาก เชื้อซาลโมเนลล่า ความต้องการในการป้องกันและการควบคุมที่เพิ่มขึ้นเป็นที่ต้องการในวงการอุตสาหกรรมอาหาร ทำให้จำเป็นต้องมีวิธีการตรวจจับที่คุณสามารถเชื่อถือได้ ชุดทดสอบเชื้อก่อโรคสำหรับเชื้อลิสทีเรีย 3M™ Molecular Detection Assay 2 – Listeria และชุดทดสอบเชื้อก่อโรคสำหรับเชื้อลิสทีเรีย โมโนไซโตจิเนส 3M™ Molecular Detection Assay 2 – Listeria monocytogenes จะช่วยคุณในการตรวจจับเชื้อก่อโรคที่เป็นอันตรายนี้ เทคโนโลยีขั้นสูง เพิ่มความน่าเชื่อถือ วิธีการทดสอบที่เชื่อถือได้นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะคำนึงถึงเชื้อก่อโรคที่จะทำการทดสอบหรือไม่ก็ตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ทดสอบเชื้อก่อโรคทั้งหมดของเรามีเครื่องมือ ชุดตรวจ และอุปกรณ์เสริมที่คุณต้องการ เพื่อทดสอบเชื้อก่อโรคที่สำคัญอย่างรวดเร็วและเชื่อถือได้ ชุดทดสอบเชื้อก่อโรค 3M™ Molecular Detection System รวบรวมเทคโนโลยีที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอแบบวนลูปโดยใช้อุณหภูมิเดียว และการตรวจสอบการเรืองแสง ทำให้ได้ผลการทดสอบที่รวดเร็ว ถูกต้อง และง่ายต่อการใช้งาน ซึ่งสามารถเอาชนะข้อจำกัดบางอย่างของวิธีการทดสอบเชื้อก่อโรค วิธี PCR หรือเทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (Polymerase Chain Reaction) ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน การตรวจสอบเชื้อก่อโรคที่เฉพาะเจาะจงทำให้ผู้ใช้งานในหมวดเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และอาหารอื่นๆ รวมทั้งเครื่องดื่ม สามารถทำการทดสอบที่แตกต่างกันได้ถึง 96 แบบพร้อมกัน ทั้งนี้สามารถใช้ทดสอบสิ่งมีชีวิตได้หลากหลาย รวมถึงตัวอย่างอาหารและตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ชุดทดสอบเชื้อก่อโรค 3M™ Molecular Detection System รุ่น 2 นี้ ได้รับการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องโดยองค์กรตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ชั้นนำทั่วโลก (AOAC® INTERNATIONAL, AFNOR, Health Canada, MAPA) เพื่อให้ครอบคลุมตัวอย่างหลากหลายประเภทมากยิ่งขึ้น ติดต่อเราเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมว่านวัตกรรมความปลอดภัยด้านอาหารของ 3เอ็ม ช่วยคุณได้อย่างไร สนใจทดลองผลิตภัณฑ์ รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ แผนกผลิตภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety) บริษัท 3เอ็ม ประเทศไทย จำกัด ชั้น 12 อาคารเสริมมิตรทาวเวอร์ 159 ถนนอโศกมนตรี แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์: 0 2260 8577, 098-582 4428 คุณนริสรา วานิกร อีเมล์: [email protected] คุณเมสิณี ลิขิตรัตนไพบูลย์ อีเมล์: [email protected] คุณณรัณรัชต์ ภู่โยธิน อีเมล์: [email protected]
การหาจุดที่ร้อนช้าที่สุดในบรรจุภัณฑ์ปิดสนิทขณะฆ่าเชื้อด้วยความร้อน
การหาจุดที่ร้อนช้าที่สุด (Cold point) ของอาหารในภาชนะปิดสนิทขณะฆ่าเชื้อด้วยความร้อน ผศ.ดร. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ ในการฆ่าเชื้ออาหารด้วยความร้อน (thermal processing) ที่บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท (hermectically sealed container) เช่น กระป๋อง ขวดแก้ว ถุงอ่อนตัว ซึ่งความร้อนแทรกตัวจากผนังของบรรจุภัณฑ์เข้าสู่อาหารที่บรรจุอยู่ภายใน อาหารในจุดที่ร้อนช้าที่สุด ใช้เป็นตัวแทนของอาหารทั้งภาชนะ โดยถือว่า หากความร้อนแทรกตัวเข้ามาและทำลายเชื้อบริเวณดังกล่าวให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยแล้ว จะทำให้มั่นใจว่าทุกส่วนของอาหารในบรรจุภัณฑ์ก็ได้รับความร้อนอย่างเพียงพอเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารพวกกรดต่ำ (low acid food) ยิ่งต้องระมัดระวังให้มาก เพราะหากสปอร์ของ Clostridium botulinum ศัตรูตัวร้ายของวงการอาหารกระป๋อง ถ้ารอดมาได้ละก็เดือดร้อนเป็นแถว สปอร์ของ Clostridium botulinum ในทางปฏิบัติก่อนการหาเวลาในการฆ่าเชื้ออาหาร ด้วยการทำ heat penetration test เราจะต้องหาจุดที่ร้อนช้าที่สุดก่อน โดยอาจจะเจาะบรรจุภัณฑ์เพื่อเสียบปลายของเทอร์โมคัปเปิล ไปยังบริเวณที่ตำแน่งที่คาดว่าน่าจะเป็น จุดร้อนช้าที่สุด 3 จุด แล้ว ซึ่งต้องวัดระยะเพื่อกำหนดตำแหน่งให้แน่นอน จากนั้น จึงบันทึกอุณหภูมิของอาหารระหว่างการให้ความร้อน ณ. จุดที่เราทราบตำแหน่ง เพื่อเปรียบเทียบเส้นกราฟของอุณหภูมิ ที่ได้ อาจทำการทดลองซ้ำ เพื่อหาจุดที่แน่นอนอีกครั้ง ทั้งนี้ไม่แนะนำให้เจาะบรรจุภัณฑ์มากกว่า 3 จุด เพราะ เทอร์โมคัปเปิล จำนวนมากที่อยู่ภายใน จะไปทำให้อุณหภูมิของอาหารที่วัดได้ผิดพลาดจากความเป็นจริง สำหรับจุดร้อนช้าที่สุดของอาหาร มีข้อแนะนำเบื้องต้นตามรูป a อาหารที่เป็นของแข็ง บรรจุแน่น ที่มีการถ่ายเทความร้อนแบบการนำความร้อนจุดที่ร้อนช้าที่สุดจะอยู่ที่กึ่งกลางกระป๋องโดยประมาณ b อาหารที่เป็นของเหลว ที่มีการถ่านเทความร้อนแบบการพา จุดร้อนช้าที่สุดจะอยู่ประมาณ บริเวณ 1/3 ของความสูงของกระป๋อง รูปแสดตำแหน่งปลายเทอร์โมคัปเปิลที่จุดร้อนช้าที่สุด กรณีที่อาหารมีชิ้นเนื้อปนอยู่ด้วย ให้ใช้ปลายเทอร์โมคับเปิ้ลเสียบร้อย (เหมือนเสียบลูกชิ้นล่ะค่ะ) โดยให้ปลายของเทอโมคัปเปิลเสียบ อยู่ภายในชิ้นอาหารเช่น ถ้าเป็นแกงเขียวหวานลูกชิ้น ก็เอาลูกชิ้นนั่นแหละมาเสียบกับปลายเทอร์โมคัปเปิ้ล ระวังอย่างให้ปลายโผล่ออกมานอกลูกชิ้น เพราะอุณหภูมิที่วัดจะเป็นอุณหภูมิน้ำแกงไม่ใช่อุณหภูมิจุดที่ร้อนช้า สำหรับอาหารที่มีความหนืดสูง เช่น น้ำกะทิที่ใส่วัตถุเจือปนอาหาร (food additive) หลายประเภท การถ่ายเทความร้อนจะหนักไปทางการนำความร้อนมากกว่าการพา จุดร้อนช้าที่สุดอยู่เกือบจะกลางกระป๋อง แล้วก็อย่าลืมว่า เราบรรจุอาหารแล้ว มี head space ต้องเอามาพิจารณาด้วยนะ อย่างไรก็ตามแนะนำให้หาตำแหน่งให้ได้ก่อน อย่าวู่วามเสียบ เดี๋ยววัดแล้วเสียของ ต้องมานั่งปวดหัวภายหลัง เอื้อเฟื้อภาพจาก พามาลิน มาเก็ตติ้งจำกัด
Clostridium botulinum
แบคทีเรียตัวร้าย ที่ผลิตสารพิษ ที่เป็นอันตรายถึงตาย เป็นศัตรูสำคัญของผู้ผลิตอาหารกระป๋อง ประเภทกรดต่ำ (low acid food) เรียนรู้จักไว้จะได้ป้องกันได้ถูกต้องค่ะ ลักษณะทั่วไป เป็นอันตรายถึงตายได้เชียวนะ แต่ก็นับว่าเป็นโชคดีของเราที่ถึงแม้ว่าสารพิษของเชื้อนี้เป็นอันตรายร้ายแรงถึงตายได้ แต่สารพิษนี้ไม่ทนร้อน (heat labile) เราสามารถทำลายได้ด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 80 C นานเกิน 10 นาที แหล่งที่พบ พบทั่วไปในธรรมชาติ ในดิน ห้วย หนอง คลองบึง ทะเล โคลน เลน จึงมักพบใน ลำไส้ เหงือก ของปลาทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ลำไส้ของสัตว์เลือดอุ่น นก ในพืชผัก ที่ปลูกในดิน โดยเฉพาะส่วนที่เอามากินอยู่ใต้ดิน มีดินติดเยอะๆ ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ และเนื่องจากเชื้อสร้างสปอร์ซึ่งทนความแห้งแล้งได้ดี สปอร์จึงพบได้ทั่วไปในฝุ่น ควัน และปะปนมากับอาหารแห้ง และ เครื่องเทศ ได้ รวมๆแล้วอาจกล่าวได้ว่าพบทุกหนทุกแห่ง สภาพแวดล้อมที่มีผลกับการเจริญเติบโต อากาศ เป็นแบคทีเรียที่ไม่ต้องการอากาศ (anarobic bacteria) จึงมักพบว่าเป็นปัญหาของอาหารกระป๋อง เพราะว่าภายในกระป๋องไม่มีอากาศไงจ๊ะ pH ต่ำกว่า 4.5 ก็สามารถยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อร้ายนี้ได้ ดังนั้นจึงไม่พบเชื้อนี้ในอาหารที่มีรสเปรียว ในอาหารกระป๋อง กลุ่ม acid food แต่จะพบในอาหารที่มี pH สูงกว่า 4.5 ที่เรียกว่า low acid food เช่น เนื้อสัตว์ ปลา อาหารทะเลผัก นม aw (water activity) อาหารที่ต่ำๆ ก็สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อได้เช่นกัน จึงมักพบในอาหารแห้ง อาหารที่มีเกลือหรือน้ำตาลสูงๆ aw โรคและอาการของโรค ทำให้เกิดโรค botulism โรคที่เกิดจากร่างกายได้รับพิษ ที่ Clostridium botulinum สร้างขึ้นสารพิษนี้มีผลต่อระบบประสาท โดยจะไปยับยั้งเซลล์ประสาทไม่ให้มีการปล่อยสารสื่อประสาทออกมายั้งปลายประสาท (Neuromuscular junctive) เป็นผลให้ไม่มีการกระตุ้นเส้นใยกล้ามเนื้อ จึงไม่มีการหดตัวของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้สารพิษนี้ยังก่อให้เกิดอาการทางระบบทางเดินอาหารได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก เป็นต้น โดยผู้ป่วยมักมีอาการหลังได้รับสารพิษเฉลี่ย 18-36 ชั่วโมง อาการของผู้ป่วยมักเริ่มด้วยอาการอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ ตาพร่ามัวมองเห็นภาพซ้อน หนังตาตก กลืนลำบาก ปวดท้อง ตามด้วยอาการกล้ามเนื้อเป็นอัมพาต มักเริ่มจากกล้ามเนื้อบนใบหน้า ตามด้วยแขนขาทั้งสองข้าง และกล้ามเนื้อกระบังลมเป็นผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถหายใจเองได้ โดยผู้ป่วยมักไม่มีไข้และความรู้สึกตอบสนองยังดีอยู่ โรคโบทูลิซึม ชื่อแปลกๆนี้มาจากภาษาลาตินเชียวนะ จากคำว่า botulus ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า sausageแปลเป็นไทยให้อีกทีว่า ไส้กรอก บอกเป็นในๆว่า ต้องเคยพบแรกๆในใส้กรอกนั่นเอง บางคนอาจสงสัยว่าทำไมต้องไส้กรอก ก็น่าจะเป็นเพราะไส้กรอกมันก็คือเนื้อบดที่กรอกแน่นอยู่ในไส้ ทำให้มีอากาศอยู่ภายในน้อย เป็นสภาวะที่เหมาะสมกับเจ้าเชื้อนี้เชียวล่ะ แต่ไม่ต้องกังวลมากนะเดี๋ยวจะกลัวจนไม่กล้ากินไส้กรอก ไส้กรอกที่ผลิตอยู่ทุกวันนี้เขาใส่สารที่เรียกว่า เกลือไนไตรท์ ซึ่งจริงๆ ใส่เพื่อให้ไส้กรอกสีชมพูสวย แต่มาพบว่าเกลือไนไตรท์ ช่วยยับยั้งการงอกของสปอร์ Clostridium botulinum ได้ด้วย โชคดีไป โรคโบทูลิซึม ที่รู้จักมีอยู่ 7ชนิด (A, B, C, D, E, Fและ G) แบ่งตามที่มาของประเภทสารพิษที่ Clostridium botulinum สร้างขึ้น ชนิด A, B, Eและ F เป็นสาเหตุของโรคโบทูลิซึมที่พบในคน (human botulism) ชนิด Cและ Dเป็นสาเหตุของโรคโบทูลิซึมที่พบในสัตว์ สัตว์ที่พบเป็นโรคนี้ มีทั้งสัตว์เลี้ยง เช่น หมา แมว ม้า วัว ควาย สัตว์ปีก รวมทั้งในปลาบางชนิด และสัตว์ป่าก็พบเช่นกัน ชนิด Gเคยแยกได้จากดินของประเทศอาเยนจิน่าน แต่ยังไม่พบเป็นสาเหตุการเกิดโรค ก็ขอให้อย่าเป็นตลอดไป สาธุ อาหารที่เกี่ยวข้อง อาหารกระป๋องประเภทกรดต่ำ (low acid canned food) คือมี pH มากกว่า 4.6 เช่น ปลา อาหารทะเล หน่อไม้ ถั่ว ผัก เห็ด ข้าวโพด แครอท นอกจากนี้ยังพบในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก แฮม การป้องกัน ในแง่ของผู้ผลิตอาหาร โดยเฉพาะอาหารกระป๋องที่เป็นกรดต่ำ ต้องระวังมากเป็นพิเศษ คือขั้นตอนการฆ่าเชื้อ อาหารกลุ่มนี้จะต้องฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิมากกว่า 100 C ด้วยหม้อฆ่าเชื้อ (retort) หรือถ้าเป็นอาหารเหลว อาจฆ่าเชื้อด้วยระบบยูเอชที (Ultra High Temperature) ซึ่งต้องใช้อุณหภูมิและเวลาให้เหมาะสมและเพียงพอที่จะทำลายสปอร์ของเชื้อนี้ให้อยู่ในระดับที่เรียกว่าการทำให้ปลอดเชื้อเพื่อการค้า (commercial sterilization) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าอาหารของเราปลอดภัย สำหรับอาหารปรับกรด (acidified food) คืออาหารที่เดิมไม่ได้เป็นกรด แต่มีการเติมกรด เช่น น้ำส้มสายชู กรดซิตริก เพื่อให้เป็นpHต่ำกว่า 4.6จะได้ยับยั้งการงอกของสปอร์ Clostridium botulinumและก็ต้องระมัดระวังมากเช่นกัน เพราะต้องทำให้ความเป็นกรดด่าง (pH) ของอาหารหลังปรับกรดแล้วเข้าสู่ภาวะสมดุลให้เร็ว และ ต้องแน่ใจว่าอาหารทุกส่วนมี pHตามที่ต้องการอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง การควบคุมคุณภาพวัตถุดิบและกระบวนการผลิตก็สำคัญไม่น้อยกว่าการฆ่าเชื้อ วัตถุดิบที่สะอาด จากแหล่งผลิตที่ดี ผ่านกระบวนการคัดคุณภาพ ล้างทำความสะอาดอย่างพิถีพิถัน โดยเฉพาะวัตถุดิบที่มีความเสี่ยงที่จะมีเชื้อมาก เช่น พืชหัวต้องล้างดินออกให้หมดถ้าเป็นสัตว์ ก็ระวังหลังฆ่าแล้วก็รีบเอาตับไตไส้พุงออก แล้วแยกซะ อย่าให้ปนกับส่วนที่เป็นเนื้อจะช่วยควบคุมปริมาณจุลินทรีย์เริ่มต้นให้มีปริมาณน้อย ทำให้ความเสี่ยง ที่เชื้อจะหลงเหลือหลังการฆ่าเชื้อลดลงได้มากทีเดียว ในแง่ของผู้บริโภค ก็นับว่ายังเป็นโชคดีของเราที่ถึงแม้ว่าสารพิษของเชื้อนี้เป็นอันตรายร้ายแรงถึงตายได้ แต่สารพิษนี้ไม่ทนร้อน (heat labile) เราสามารถทำลายได้ด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 80 C นานเกิน 10 นาที จึงแนะนำว่าการรับประทานอาหารกระป๋องประเภทที่เป็นกรดต่ำควรอุ่นให้เดือดเลยยิ่งดี ซัก 10 นาทีก็จะแน่ใจว่าปลอดภัย แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้นผู้ผลิต ควรผลิตให้ปลอดภัย โดยการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิและเวลาเหมาะสม ผู้บริโภคจะได้อร่อยสะดวก สบาย มั่นใจค่ะ
การตรววัดปริมาณจุลินทรีย์ในสมุนไพร ด้วย วิธีการใช้ Rapid method
โครงการพัฒนาการผลิตชาสมุนไพรคุณภาพสูงระดับ SME "Rapid Method in Aerobic plate count Food Testing" โดย คุณดาว และเพื่อนๆ คุณดาว และเพื่อนๆ ในกลุ่มวิจัย การผลิตชาสมุนไพรคุณภาพสูง ได้มีโอกาสฟังการบรรยายจากทีมงาน Sr.Product Speciallist บริษัท 3เอ็ม ประเทศไทย จำกัด ในหัวข้อ วิธีการตรวจเชื้อจุลชีววิทยาทางอาหารด้วยวิธีการตรวจสอบที่รวดเร็ว (rapid method) โดยการใช้ แผ่น 3M PetrifilmTM Plates เพื่อตรวจหาปริมาณ Aerobic plate countรวมทั้งColiform และ Eschericia coliซึ่งคุณดาวจะขออนุญาติเล่าให้ฟัง เพื่อแชร์ความรู้และประสพการณ์ค่ะ ความสำคัญของการตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ในอาหาร เชื้อจุลินทรีย์ที่มีความสำคัญในอาหาร ซึ่งพวกเราชาววิศวกรรมอาหารก็คงจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีความสำคัญด้านอาหร ได้แก่ รา ยีสต์ และแบคทีเรีย พบได้ทั่วไปจากสิ่งแวดล้อม ในดิน อากาศ น้ำ และพบมีการปนเปื้อนได้ในวัตถุดิบพืชสมุนไพร ที่เราจะใช้เพื่อการผลิตชาสมุนไพรในโครงการนี้ คือ ดอกอัญชัน ตะไคร้ ใบเตย และขมิ้น ปริมาณจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์อาหาร บ่งชี้ คุณภาพของวัตถุดิบ สุขอนามัยในการผลิต สุขลักษณะส่วนบุคคลความสะอาดบริเวณสถานที่ประกอบการ ส่งผลกระทบต่อ คุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร อายุการเก็บรักษาและที่สำคัญคือความเสี่ยงต่อการพบเชื้อก่อโรค (Pathogen) ซึ่งจัดเป็นเป็นอันตรายทางอาหาร (biological hazard) พี่ๆทีมงาน 3 M แนะนำเราให้รู้จักจุลินทรีย์ก่อโรค หลายชนิดที่มีบทบาทสำคัญในอาหาร เช่น Listeria, S.aureus, Salmonella, E.coli (0157) , Vibrio, Shigella, Bacillus, Clostridium , Yersinia เป็นต้น ซึ่งเชื้อก่อโรคเหล่านี้หากร่างกายได้รับเข้าไปก็จะเป็นอันตรายทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษเช่น ท้องเดิน ปวดท้อง อาเจียร และบางชนิด อาจเป็นอันตรายขั้นร้ายแรงถึงชีวิตได้ การล้างจะเป็นการลดปริมาณจุลินทรีย์ปนเปื้อน ซึ่งมีทั้งแบคทีเรียและสปอร์ของแบคทีเรีย (bacterial spore) ที่เป็นสาเหตุของการเสื่อมเสีย (microbial spoilage) เชื้อที่ใช้เป็นดัชนีชี้วัดในเรื่องของคุณภาพอาหาร (Indicator microorganisms) ซึ่งได้แก่ แบคทีเรียในวงศ์ Enterobacteriaceae กลุ่ม Coliform, E.coli, , Streptococcus feacalis ช่วยลดปริมาณจุลินทรีย์ก่อโรค มาถึงในเรื่องของการตรวจสอบคุณภาพทางจุลชีววิทยา โดยจะแบ่งเป็นการตรวจเชิงคุณภาพ (3M TecraTM VIA) ที่ใช้ในการตรวจหาว่ามีหรือไม่มีเชื้อนั้น ๆ ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร ซึ่งมักใช้ตรวจ หาเชื้อก่อโรค และในส่วนของการตรวจเชิงปริมาณ (3M PetrifilmTM Plate) จะเป็นการตรวจหาจำนวนเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร ที่มักใช้ตรวจหาเชื้อดัชนีคุณภาพอาหาร โดยจะมีการรายงานผลของเชื้อเป็นจำนวนที่นับได้ทั้งหมด มีหน่วยเป็น CFU/ml หรือ CFU/g ......หรือกล่าวง่าย ๆ ว่า เชิงคุณภาพ ก็จะบอกว่า มีหรือไม่มี เชื้อนั้นอยู่ แต่ถ้าเป็นเชิงปริมาณแล้วล่ะก็ต้องเน้น ๆ แบบว่าให้เห็นตัวเลขกันชัด ๆ ไปเลยค่ะว่า ที่มีน่ะมีเท่าไร โดยชนิดของแผ่นเพาะเลี้ยงเชื้อ 3M PetrifilmTM นั้นก็มีหลายชนิด ได้แก่ Aerobic Count Plate / Yeast & Mold Count Plate / Coliform Count Plate / Rapid Coliform Count Plate / High Sensitivity Coliform Count Plate / E.coli/Coliform Count Plate / Enterobacteriaceae Count Plate / Staph Express Count Plate / Environmental Listeria Count Plate ทำไมต้องตรวจสอบคุณภาพทางจุลชีววิทยา การตรวจสอบทุกสิ่งทุกอย่างก็เพื่อความปลอดภัยในทุก ๆ ด้าน นั่นแหละค่ะ สิ่งสำคัญของการตรวจสอบคุณภาพทางจุลชีววิทยา พวกพี่ ๆ 3M เขาบอกว่าก็เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัย และสามารถเก็บรักษาได้ในสภาวะและช่วงเวลาที่กำหนด (Shelf-life) รวมถึงเพื่อให้แน่ใจว่าวัตถุดิบ ส่วนประกอบในอาหาร และผลิตภัณฑ์สุดท้ายนั้น มีจำนวนจุลินทรีย์อยู่ในช่วงที่กำหนด (microbiological criteria) และก็เพื่อทวนสอบ (verification) และรับรอง (validation) แนวปฏิบัติและวิธีการที่ใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตในขั้นตอนต่าง ๆ ว่ายังอยู่ภายใต้การควบคุมตามข้อกำหนดนั้น ๆ โดยเฉพาะในการทวนสอบ รับรอง เฝ้าระวังและการควบคุมจุดวิกฤติ รวมถึงวิธีการแก้ไขด้วยเช่นเดียวกัน ประวัติความเป็นมา เจ้าแผ่นนี่ก็ได้ถูกคิดค้นขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ที่ได้บังเอิญเห็นตัวเทปกาวชนิดใสแล้วก็เกิดเป็นไอเดียในการต่อยอดพัฒนาเป็นแผ่นตรวจเชื้อ 3M PetrifilmTM Plates นี่แหละค่ะ ส่วนประกอบและคุณลักษณะ เอาล่ะค่ะเรามาทราบกันดีกว่าว่า 3M PetrifilmTM Plates เนี่ยมันคืออะไรกันนะ พี่ 3M เขาบอกว่า Petrifilm มันเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อสำเร็จรูป โดยมีลักษณะเป็นผงแห้งที่เคลือบอยู่บนแผ่นฟิล์มพลาสติก สำหรับใช้วิเคราะห์หาจำนวนของเชื้อแบคที่เรียและเชื้อยีสต์รา ในส่วนของส่วนประกอบหลัก ๆ ของ 3M PetrifilmTM ก็จะประกอบด้วยแผ่นพลาสติกสองแผ่นที่ประกบกันอยู่ โดยแผ่นบนเป็นแผ่นฟิล์มพลาสติกใสที่แบ่งย่อยออกเป็นอีกสามชั้นที่เคลือบอยู่ ดังนี้ ชั้นบนสุดเป็นแผ่นฟิล์มพลาสติก รองลงมา จะเป็นชั้นของ กาว+สารบ่งชี้ และชั้นล่างจะเป็นเจลละลายในน้ำเย็น ในส่วนของแผ่นล่างนั้นก็จะประกอบด้วยชั้นย่อย ๆ อีกสามชั้นเช่นกัน ชั้นบนสุดเป็นชั้นของอาหารเลี้ยงเชื้อ (Agar) รองลงมาเป็นชั้นของกาว และชั้นล่างสุดของแผ่นล่างจะเป็นแผ่นพลาสติกพิมพ์ลาย ....เห็นแผ่นบางแค่นี้เองแต่ส่วนประกอบนี่เยอะมากเลยที่เดียว (ดูภาพอธิบายด้านล่างนะคะ) 3M PetrifilmTM Aerobic Count Plate (PAC) โดยส่วนประกอบของแผ่นตรวจนั้นตัวสารบ่งชี้ที่ใช้ในแผ่นตรวจชนิดนี้จะเป็น สีไตรเฟนนิล เตทตระโซเลียม คลอไรด์ (Triphenyl Tetrazolium Chloride-TTC) และในส่วนของอาหารเลี้ยงเชื้อนั้นจะเป็น Plate Count Agar ที่แบคทีเรียทั่วไปสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยมีสารที่ทำให้อาหารเลี้ยงเชื้อแข็งตัวคือ เจลที่ละลายในน้ำเย็น ข้อแตกต่างจากวิธีการทดสอบแบบดั้งเดิม เอ๊...แล้ว 3M PetrifilmTM เนี่ย แตกต่างกับวิธีทดสอบแบบดั้งเดิม และทำให้ทดสอบได้ง่ายขึ้นยังไงกันนะ เรามาดูกันในส่วนของวิธีการแบบดั้งเดิมกันก่อนเลยค่ะ โดยวิธีการแบบดั้งเดิมนั้นต้องมีการเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อกันอย่างมากมายหลายขั้นตอน เริ่มจากการชั่ง จากนั้นนำไปผสมน้ำ วัดค่า pH ทำออโต้เคท ที่ความดัน 15 lb จากนั้นก็ต้องมีการอบฆ่าเชื้อที่อุปกรณ์ ด้วย Hot air อุณหภูมิ 180 นาน 2-3 ชั่วโมง จานเพาะเลี้ยงเชื้อหรืออุปกรณ์ต่างๆ ก็ต้องมีการมาล้างทำความสะอาด เมื่อทดลองมาก ๆ อุปกรณ์เหล่านี้ก็ต้องมากเช่นเดียวกัน ทั้งเสียเวลาและเปลืองพื้นที่ในการเก็บ เห็นมั๊ยล่ะคะว่าขั้นตอนเยอะมาก ๆ แล้วแผ่น 3M PetrifilmTM นี้ล่ะมันดียังไงกัน พวกพี่ ๆ 3M ก็ได้บอกว่า 3M PetrifilmTM Plates เนี่ยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้ได้ผลการตรวจสอบที่มีความแม่นยำ เป็นวิธีการที่รวดเร็ว ซึ่งก็จะส่งผลต่อการลดค่าใช้จ่ายโดยรวมได้ด้วย ประหยัดทั้งเงิน ประหยัดทั้งเวลา....แหม มันน่าใช้ซะจริงเชียว !!! มาตรฐานของการตรวจสอบ มาถึงในส่วนของวิธีมาตรฐาน (Standard Method) ก็ได้มีการบอกถึงมาตรฐานต่างที่เราสามารถใช้อ้างอิงได้ในการตรวจสอบ อันได้แก่ International Standards : ISO National Standards : TIS, BS, DIN, EPA, BAM Internationally recognized organizations : AOAC, ICUMSA, IOB, IP, ICMSF Nationally recognized organizations : EPA, USFDA, BAM, APHA ว้าว...เยอะแยะมากมายหลายหน่วยงาน แต่ที่พวกพี่ ๆ ได้นำมาเสนอก็จะเป็นหน่วยงานของ AOAC ซึ่ง AOAC = Association of Official Agricultural Chemist เป็นหน่วยงานพิสูจน์ความถูกต้องของวิธีทดสอบ โดยก่อตั้งขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ได้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ทั้งอเมริกา แถบยุโรป และเอเชีย เลยทีเดียว การพิสูจน์ความถูกต้องของวิธีทดสอบ (Validation) โดยมีกระบวนการตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ว่าวิธีทดสอบมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ และเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ ได้แก่ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของประเทศหรือระหว่างประเทศ (regulation) การควบคุณคุณภาพสินค้านำเข้าและส่งออก (import/export control) การขอรับรองคุณภาพห้องปฏิบัติการ (in accredited laboratories) เป็นต้น ขั้นตอนการทดสอบ การทดสอบปริมาณจุลินทรีย์ในอาหาร การเตรียมตัวอย่าง ขั้นตอนของการทดสอบ พี่ ๆ ก็ได้บอกให้พวกเราได้ตั้งใจฟังกันให้ดี เริ่มจากในส่วนของการเจือจางตัวอย่างอาหาร สามารถทำได้โดย ขั้นแรกชั่งตัวอย่างอาหารหนัก 50 กรัมใส่ถุงพลาสติก จากนั้นเติมบัพเฟอร์ ปราศจากเชื้อ (Buffered Peptone Water, Butterfield's phosphate- Buffered) 450 ml ลงไป นำไปตีบดโดยใช้ Stomacher หรือ Blender เป็นเวลา 2 นาที เราก็จะได้ตัวอย่างอาหารที่เจือจางในอัตราส่วน 1:10เอ๊...แล้วเชื้อในผลิตภัณฑ์มีการกระจายตัวแบบไหน คำตอบก็คือการกระจายตัวของจุลินทรีย์ดังภาพ B โดยเชื้อมักจะมีการกระจายเป็นกลุ่มก้อน ส่วนในภาพ A นั้นจะเป็นการกระจายตัวของสาร การเจือจางตัวอย่าง มาต่อกันในเรื่องของการเจือจางตัวอย่างอาหาร โดยวิธีการคือ เราจะดูดตัวอย่างที่ความเจือจาง 1:10 ปริมาตร 1 ml ผสมกับ บัพเฟอร์ 9 ml จะได้ตัวอย่างที่มีความเจือจาง 1:100 เรียกว่า Ten-fold dilution แล้วเราก็จะทำการเจือจางต่อไปจนกว่าจะถึงความเข้มข้นที่ต้องการ การเจือจางตัวอย่างนั้นเราทำเพื่อลดความหนาแน่นของจุลินทรีย์ให้อยู่ในระดับที่ให้ผลการวิเคราะห์ที่เชื่อถือได้ โดยทั่วไปมักทำให้ตัวอย่างเจือจางลงครั้งละ 10 เท่า ดูด หยด บีบ บ่ม ค่ะในส่วนของขั้นตอนต่อไปนี้เราจะมาดูวิธีการสาธิตการทดสอบการใช้แผ่นเพาะเลี้ยงเชื้อ 3M PetrifilmTM อย่างมีประสิทธิภาพกันนะคะ ก็จะเริ่มจาก วางแผ่น Petrifilm บนระนาบเรียบ หยดตัวอย่าง 1 ml ลงบนแผ่นอาหารเลี้ยงเชื้อด้านล่าง จากนั้นค่อย ๆ ปล่อยแผ่นฟิล์มด้านบนลงมา ขั้นตอนนี้ต้องระวังอย่าให้เกิดฟองอากาศ วางตัวกดพลาสติก (Spreader) บนแผ่นฟิล์มด้านบนแล้วออกแรงกด รอให้เจลแข็งตัวประมาณ 1นาที ก่อนทำการเคลื่อนย้ายแผ่น จากนั้นนำแผ่นไปบ่มที่อุณหภูมิ และระยะเวลาตามที่กำหนด จากนั้นนำไปบ่มเชื้อที่อุณหภูมิ 35ซเป็นเวลา 48 3 ชั่วโมง ในตู้บ่ม (incubator) โดยการวางแผ่นตรวจในเครื่องบ่มเชื้อนั้น สามารถวางซ้อนกันได้ไม่เกิน 20 แผ่น และก็นำมาอ่านผลเมื่อครบเวลา ในการอ่านผล Aerobic Bacteria จะทำการนับโคโลนีที่มีสีแดงทั้งหมดที่อยู่ในพื้นที่วงกลม 20 ตารางเชนติเมตร การทดสอบปริมาณจุลินทรีย์ในอากาศ ในส่วนของการทดสอบสิ่งแวดล้อมมาดูการตรวจอากาศ (Air test) กันก่อนเลยค่ะ ขั้นแรกก็หยดบัพเฟอร์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วปริมาตร 1 ml ลงบนแผ่น Petrifilm แล้ววางทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 1 ชั่วโมง เปิดแผ่นฟิล์มด้านบนทิ้งไว้บริเวณที่ต้องการทดสอบนาน 15 นาที จากนั้นนำไปบ่มตามอุณหภูมิและระยะเวลาตามแต่ชนิดของ Petrifilm โดยสามารถเก็บแผ่นที่เตรียมแล้วได้นานถึง 7 วัน ส่วนการทดสอบพื้นผิวโดยตรง (direct contact) สามารถทำได้โดยหยดบัพเฟอร์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วปริมาตร 1 ml ลงบนแผ่น Petrifilm วางทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 1 ชั่วโมง เปิดแผ่นฟิล์มด้านบน จากนั้นนำแผ่นฟิล์มด้านบนไปแปะลงบนพื้นผิวที่ต้องการทดสอบ แล้วใช้นิ้วลูบบนแผ่นฟิล์มด้านหลังเบา ๆเพื่อให้เนื้อเจลสัมผัสกับพื้นผิวอย่างทั่วถึง ทำการปิดแผ่นฟิล์มด้านบนลง ให้ประกบกันดังเดิม จากนั้นนำไปบ่มตามอุณหภูมิและระยะเวลา ตามแต่ชนิดของ Petrifilm ค่ะ การตรวจนับและรายงานผล3M PetrifilmTM Aerobic Count Plate (PAC) พื้นที่วงกลม 20 ตารางเชนติเมตร โดยสเกล 1 ช่องนั้นจะเท่ากับ 1 ตารางเซนติเมตร จะนับที่โคโลนีมีสีแดง ซึ่งช่วงที่เหมาะสมในการนับโคโลนีจะอยู่ในช่วง 30-300 โคโลนีต่อแผ่น เราสามารถที่จะใช้การอ่านข้อมูลแบบประมาณได้หากว่าเชื่อที่เกิดขึ้นนั้นมีปริมาณมาก โดยการนับจำนวนจุลินทรีย์ในช่องที่มีการกระจายตัวของเชื้อดีที่สุด จากนั้นก็นำค่าที่นับได้ใน 1 ช่องคูณกับ 20 ก็จะได้ค่าประมาณของเชื้อทั้งหมดค่ะ สุดท้ายนี้พวกเราก็ขอบอบคุณพี่ ๆ 3M นะคะที่มาให้ความรู้ใหม่ ๆ ในเรื่องของการตรวจเชื้อ ขอบคุณอาจารย์ส้มที่คอยเสริมเพิ่มเติมความรู้ต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากนี้ และขอบคุณเพื่อน ๆ โปรเจคทุก ๆ คนที่ต่างก็ตั้งใจฟังกันเป็นอย่างดี ขอบคุณมากค่ะ
สมัครสมาชิก

สนับสนุนโดย / Supported By

  • บริษ้ท มาเรล ฟู้ดส์ ซิสเท็ม จำกัด จัดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์การแปรรูปอาหาร เช่น ระบบการชั่งน้ำหนัก, การคัดขนาด, การแบ่ง, การตรวจสอบกระดูก และการประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พร้อมกับบริการ ออกแบบ ติดตั้ง กรรมวิธีการแปรรูปทั้งกระบวนการ สำหรับ ผลิตภัณฑ์ ปลา เนื้อ และ สัตว์ปีก โดยมีวิศวกรบริการและ สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเทพ มาเรล เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกของอุปกรณ์การแปรรูปอาหารที่ทันสมัย​​ครบวงจรทั้งระบบ สำหรับอุตสาหกรรม ปลา กุ้ง เนื้อ และสัตว์ปีก ต่างๆ เครื่องแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก Stork และ Townsend จาก Marel อยู่ในกลุ่มเครื่องที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดในอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ สามารถบริการครบวงจรตั้งแต่ต้นสายการผลิตจนเสร็จเป็นสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกความต้องการของลูกค้า ด้วยสำนักงานและบริษัทสาขามากกว่า 30 ประเทศ และ 100 เครือข่ายตัวแทนและผู้จัดจำหน่ายทั่วโลก ที่พร้อมทำงานเคียงข้างลูกค้าเพื่อขยายขอบเขตผลการแปรรูปอาหาร Marel Food Systems Limited. We are supply weighing, grading, portioning, bone detection and software applications as well as complete turn-key processing solutions for fish, meat and poultry. We have service engineer and office in Bangkok. Marel is the leading global provider of advanced food processing equipment, systems and services to the fish, meat, and poultry industries. Our brands - Marel, Stork Poultry Processing and Townsend Further Processing - are among the most respected in the industry. Together, we offer the convenience of a single source to meet our customers' every need. With offices and subsidiaries in over 30 countries and a global network of 100 agents and distributors, we work side-by-side with our customers to extend the boundaries of food processing performance.
  • วิสัยทัศน์ของบริษัท คือ การอยู่ในระดับแนวหน้า "ฟอร์ฟร้อนท์" ของเทคโนโลยีประเภทต่างๆ และนำเทคโนโลยีนั้นๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิตในประเทศไทย เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า บริษัท ฟอร์ฟร้อนท์ ฟู้ดเทค จำกัด เชื่อมั่นและยึดมั่นในอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจ กล่าวคือ จำหน่าย สินค้าและให้บริการที่มีคุณภาพสูง ซึ่งเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ด้วยความซื่อสัตย์และความตรงต่อเวลา เพื่อการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จร่วมกันระยะยาว Our vision is to be in the "forefront" of technology in its field and suitably apply the technology to industries and production in Thailand for customers' utmost benefits. Forefront Foodtech Co., Ltd. strongly believes in and is committed to our own business philosophy which is to supply high quality products and service appropriately to each customer's requirements with honesty and punctuality in order to maintain long term win-win business relationship. Forefront Foodtech Co., Ltd. is the agent company that supplies machinery and system, install and provide after sales service as well as spare parts. Our products are: Nock, made in Germany: manufacturer of skinning machines, membrane skinning machine, slicers and scale ice makers. Frey, made in Germany: manufacturer of vacuum stuffers and chain linking system. Kronen, made in Germany: manufacturer of washing, centrifuges and cutting machinery for vegetable and fruits. Bandall, made in Netherlands: manufacturer of banding machine. Emerson, made in Romania: smoke chamber. G.Mondini, made in Italy: manufacturer of top seal, skin pack, paper seal, slimfresh and slicefresh for ready meal, meat, petfood and etc. Dorit, made in Germany: manufacturer of tumblers and injectors. Cliptechnik, made in Germany: manufacturer of single and double clippers for table top use and standalone clipping machines. Firex, made in Italy: manufacturer of food-processing equipment for kitchen and commercial equipment. Orved, made in Italy: manufacturer of vacuum packing machine. Carsoe, made in Denmark: designs and produces products for the seafood and food processing industry Gernal, made in Belgium: manufacturer of food-processing equipment for industrial Mado, made in Germany: manufacturer of meat-processing industry
  • We are well known for reliable, easy-to-use coding and marking solutions which have a low total cost of ownership, as well as for our strong customer service ethos. Developing new products and a continuous programme of improving existing coding and marking solutions also remain central to Linx's strategy. Coding and marking machines from Linx Printing Technologies Ltd provide a comprehensive solution for date and batch coding of products and packaging across manufacturing industries via a global network of distributors. In the industrial inkjet printer arena, our reputation is second to none. Our continuous ink jet printers, laser coders, outer case coders and thermal transfer overprinters are used on production lines in many manufacturing sectors, including the food, beverage, pharmaceutical, cosmetics, automotive and electronic industries, where product identification codes, batch numbers, use by dates and barcodes are needed. PTasia, THAILAND With more than 3,700 coding, marking, barcode, label applicator, filling, packing and sealing systems installed in THAILAND market. Our range is includes systems across a wide range of technologies. To select the most appropriate technology to suit our customers. An excellent customer service reputation, together with a reputation for reliability that sets standards in the industry, rounds off the PTAsia offering and provides customers with efficient and economical solutions of the high quality. Satisfyingcustomers inTHAILAND for 10 years Our 1,313 customers benefit from our many years of experience in the field, with our successful business model of continuous improvement. Our technical and service associates specialise in providing individual advice and finding the most efficient and practical solution to every requirment. PTAsia extends its expertise to customers in the food, beverage, chemical, personal care, pharmaceutical, medical device, electronics, aerospace, military, automotive, and other industrial markets.