หนึ่งหน่วยบริโภค หมายถึง ปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคที่ระบุในฉลากโภชนาการเป็นปริมาณอาหารที่ผู้ผลิตแนะนำให้ผู้บริโภครับประทานผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ในแต่ละครั้ง หรือเรียกว่า "กินครั้งละ" นั่นเอง ปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคนี้กำหนดได้จากปริมาณ "หนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิง" ซึ่งเป็นค่าปริมาณอาหารโดยน้ำหนักหรือปริมาตรของการรับประทานแต่ละครั้งที่ประมวลได้จากการสำรวจ พฤติกรรมการบริโภคและข้อมูลจากผู้ผลิตเป็นเกณฑ์ ทั้งนี้ปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคดังกล่าวอาจไม่ เท่ากับปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงก็ได้ แต่จะต้องเป็นค่าที่ใกล้เคียงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในหนึ่งหน่วยภาชนะบรรจุ กลุ่มของอาหาร ในการแสดง "หนึ่งหน่วยบริโภค" ในฉลากโภชนาการ จึงกำหนดปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงของ ผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ โดยจัดเป็น 7 กลุ่ม ตามลักษณะของผลิตภัณฑ์หรือลักษณะการบริโภคผลิตภัณฑ์ได้แก่ 1 กลุ่มนมและผลิตภัณฑ์ (Dairy product s) 2 กลุ่มเครื่องดื่ม (พร้อมดื่ม) (Beverages) 3 กลุ่มอาหารขบเคี้ยวและขนมหวาน (Snack food and desserts) 4 กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป (Semi- processed foods) 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมอบ (Bakery products) 6 กลุ่มธัญพืชและผลิตภัณฑ์ (Cereal grain products) 7 กลุ่มอื่น ๆ (Miscellaneous 1 กลุ่มนม และผลิตภัณฑ์นม (milk and dairy product) 1. นมและผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม 200 มล. 2. นมข้นไม่หวาน (นมข้นจืด) (condensed, evaporated, undiluted) 15 มล. 3. นมข้นหวาน (sweetened condensed milk) 20 ก. 4. โยเกิร์ตชนิดครึ่งแข็งครึ่งเหลว 150 ก. 5. โยเกิร์ตชนิดพร้อมดื่ม 150 มล. 6. โยเกิร์ตแช่แข็ง 80 ก. 7. ครีมและครีมเทียม (เหลว) 15 มล. 8. ครีมและครีมเทียม (ผง) 3 ก. 9. ครีมเปรี้ยว 30 ก. 10. ครีมพร่องมันเนย (half & half) 30 มล. 11. ครีมชีสและชีสสเปรด 30 ก. 12. เนยแข็งชนิดคอตเตจ (cottage cheese) 110 ก 13. เนยแข็งชนิดริคอตตาและคอตเตจชนิดแห้ง 55 ก. 14. เนยแข็งชนิดพาร์มีซาน โรมาโน 5 ก. 15. เนยแข็งชนิดอื่น 30 ก. 2 กลุ่มเครื่องดื่ม (พร้อมดื่ม) (Beverage) 1 น้ำผลไม้ 200 มล. 2. เครื่องดื่มจากพืช ผัก และธัญพืช รวมทั้งนมถั่วเหลือง 200 มล. 3. เครื่องดื่มที่มีหรือไม่มีกาซผสมอยู่ (รวมทั้งน้ำบริโภคและน้ำแร่) 200 มล. 4. ชา กาแฟ และเครื่องดื่มอื่น ๆ 200 มล 3 กลุ่มอาหารขบเคี้ยวและขนมหวาน (Snack food and desserts) 2. ถั่วและนัต (เช่น ถั่วอบเกลือ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์อบเกลือ) 30 ก. 3. ช็อกโกแลตและขนมโกโก้ 40 ก. 4. คัสตาร์ด พุดดิ้ง 140 ก. 5. ขนมหวานไทย เช่น สังขยา วุ้น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด 80 ก. 6. วุ้นสำเร็จรูปและขนมเยลลี่ 20 ก. 7. ไอศกรีมนม ไอศกรีมดัดแปลง ไอศกรีมผสม รวมทั้งส่วนเคลือบและกรวย 80 ก. 8. ไอศกรีมหวานเย็น น้ำผลไม้แช่แข็ง 80 ก. 9. ไอศกรีมซันเดย์ 80 ก. 10. ลูกอม ลูกกวาด ทอฟฟี่ อมยิ้ม มาร์ชแมลโลว์ 6 ก. 11. หมากฝรั่ง 3 ก. 12. ขนมที่ทำจากธัญพืช ถั่ว นัต และน้ำตาลเป็นหลัก (Grain-based bars) ทั้งชนิดที่มีและไม่มีไส้หรือเคลือบ เช่น Granola bars, rice cereal bars กระยาสารท ถั่วตัด ข้าวพอง ข้าวแตน นางเล็ด 40 ก. 4 กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป (Semi- processed foods) 1. อาหารเส้น กึ่งสำเร็จรูป 50 ก. ได้แก่ 2. ข้าวต้ม โจ๊ก 50 ก. 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมอบ (Bakery products) 2. บราวนี 30 ก. 3. คุกกี้ 30 ก. 4. เค้ก (cake) - ชนิดหนัก เช่น ชีสเค้ก (cheese cake) เค้กผลไม้ (fruit cake) ซึ่งมีส่วนผสมของผลไม้นัต ตั้งแต่ 35% ขึ้นไป 80 ก. - คัพเค้ก เอแคลร์ ครีมพัฟ ชิฟฟอน สปันจ์เค้กที่มีหรือไม่มีไอซิ่งหรือไส้ 55 ก. 5. เค้กกาแฟ โดนัต และมัฟฟิน 55 ก. 6. ขนมปังกรอบ แครกเกอร์ เวเฟอร์ บิสกิต 30 ก. 7. แครกเกอร์ที่เป็นกรวยไอศกรีม 15 ก. 8. แพนเค้ก 110 ก. 9. วอฟเฟิล 85 ก. 10. พาย เพสตรี้ ทั้งชนิดที่มีและไม่มีไส้ 55 ก. 6 กลุ่มธัญพืชและผลิตภัณฑ์ (Cereal grain products) 1. อาหารเช้าจากธัญพืช (Breakfast cereal) (พร้อมบริโภค) - ที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 20 กรัมต่อ 1 ถ้วย 15 ก. - ที่มีน้ำหนักระหว่าง 20 กรัมถึงน้อยกว่า 43 กรัมต่อ 1 ถ้วย 30 ก. - ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 43 กรัมขึ้นไปต่อ 1 ถ้วย 55 ก. 2. รำข้าว (Bran) หรือจมูกข้าวสาลี (Wheat germ) 15 ก. 3. แป้งสาลี แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งท้าวยายม่อม และ Cornmeal 30 ก. 4. แป้งข้าวโพด แป้งมันสำปะหลัง แป้งมันฝรั่ง 10 ก. 5. พาสต้า (มะกะโรนี สปาเกตตี และอื่น ๆ) 55 ก. (ดิบ) 140 ก. (ต้มสุก) 25 ก. (ทอดกรอบ) 6. ข้าวเจ้า ข้าวบาร์เล่ย์ 50 ก. (ดิบ) 130 ก. (สุก) 7 กลุ่มอื่น ๆ (Miscellaneous - เนื้อสัตว์ ปลา หอย ในน้ำ น้ำมัน น้ำเกลือ (ไม่รวมของเหลว) 55 ก. - เนื้อสัตว์ ปลา หอย ในซอส เช่น ซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศ 85 ก. - เนื้อสัตว์ ปลา หอย ทอดแล้วบรรจุแบบแห้ง เช่น ปลาเกล็ดขาวทอดกรอบ 25 ก. - เนื้อสัตว์ ปลา หอย ทอดแล้วบรรจุกับของเหลว เช่น หอยลาย ผัดพริก ปลาดุกอุยสามรส 85 ก. - ปลาแอนโชวี 15 ก. - ผัก (ไม่รวมของเหลว) เช่น ถั่วฝักยาวในน้ำเกลือ ข้าวโพดอ่อนในน้ำเกลือ 130 ก. - ผักหรือถั่วในซอส 130 ก. - ผลไม้ (รวมของเหลว) 140 ก. - ซุปพร้อมบริโภคและแกงต่าง ๆ 200 ก. - ซุปสกัด 40 มล. - น้ำกะทิพร้อมบริโภค 80 มล. 2. เบคอน 15 ก. 3. ไส้กรอกที่มีอัตราส่วนความชื้น : โปรตีน น้อยกว่า 2 : 1 เช่น กุนเชียง เปปเปอโรนี รวมทั้งเนื้อสวรรค์ หมูสวรรค์ 40 ก. 4. ไส้กรอกชนิดอื่น ๆ และหมูยอ 55 ก. 5. เนื้อสัตว์แห้ง เช่น หมูหยอง เนื้อทุบ 20 ก. 6. เนื้อสัตว์ดอง รมควัน 55 ก. 7. ผักแช่อิ่มหรือดอง (ไม่รวมของเหลว) 20 ก. 8. ผลไม้แช่อิ่มหรือดอง (ไม่รวมของเหลว) 30 ก. 9. ผลไม้แห้งและผลไม้กวน 30 ก. 10. เนย มาการีน น้ำมัน และไขมันบริโภค 1 ชต. 11. มายองเนส แซนด์วิชสเปรด สังขยาทาขนมปัง เนยถั่ว น้ำพริกเผา 15 ก. 12. น้ำสลัดชนิดต่าง ๆ 30 ก. 13. ซอสสำหรับจิ้ม เช่น ซอสมัสตาร์ด 1 ชต. 14. ซอสที่ใช้กับอาหารเฉพาะอย่าง (entrée sauce) - ซอสสปาเกตตี 125 ก. - ซอสพิซซ่า 30 ก. - น้ำจิ้มสุกี้ 30 ก. - น้ำจิ้มไก่ น้ำจิ้มสะเต๊ะ หน้าตั้ง น้ำปลาหวาน 50 ก. 15. เครื่องปรุงรส - น้ำส้มสายชู น้ำปลา น้ำเกลือปรุงอาหาร 1 ชต. - ซอสมะเขือเทศ ซีอิ๊ว ซอสพริก ซอสมะละกอ ซอสแป้ง ซีอิ๊วหวาน เต้าเจี้ยว 1 ชต. - ซอสเปรี้ยว 1 ชช. - น้ำพริกคลุกข้าว เช่น น้ำพริกตาแดง น้ำพริกสวรรค์ 1 ชต. 16. น้ำผึ้ง แยม เยลลี่ 1 ชต. 17. น้ำเชื่อม เช่น เมเปิลไซรัปและผลิตภัณฑ์ราดหน้าขนมต่าง ๆ 30 มล. 18. น้ำตาล 4 ก. 19. เกลือ (รวมทั้งวัตถุทดแทนเกลือ เกลือปรุงรส) 1 ก.
1. ข้าวเกรียบ ข้าวโพดคั่ว มันฝรั่งทอด ขนมกรอบ กล้วยฉาบ และ extruded snack ต่าง ๆ 30 ก.
1. ขนมปัง (Bread) 50 ก. 1. อาหารที่บรรจุกระป๋อง ขวดแก้วที่ปิดสนิท ซองอลูมิเนียมฟอยล์ retort pouch
4.1 วิธีการกำหนดปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภค
(1) ใช้หน่วยวัดทั่วไป ได้แก่ ถ้วย แก้ว ชต. (ช้อนโต๊ะ) ชช. (ช้อนชา) ตามความเหมาะสม
ของอาหาร แล้วกำกับด้วยน้ำหนักหรือปริมาตรในระบบเมตริกไว้ในวงเล็บด้วย เช่น "หนึ่งหน่วยบริโภค :
1 ขวด (250 มล.) " เว้นแต่ถ้าไม่สามารถใช้หน่วย ถ้วย แก้ว ชต. ชช. จึงจะใชห้ นว่ ย แผ่น ถาด ขวด ชิ้น ผล
ลูก หัว หรืออื่น ๆ แล้วแต่กรณี หรือเศษส่วนแทนได้ เช่น ขนมปังชนิดแผ่นใช้ "หนึ่งหน่วยบริโภค : 2 แผ่น
(46 กรัม) " อย่างไรก็ตามถ้าไม่สามารถระบุตามปริมาณดังกล่าวข้างต้นได้ หรือผลิตภัณฑ์ที่โดยธรรมชาติมี
ขนาดแตกต่างกัน เช่น ปลาทั้งตัว ให้แจ้งน้ำหนักโดยการประมาณขนาดของผลิตภัณฑ์ให้ใกล้เคียงกับ
ปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงที่สุด เช่น "หนึ่งหน่วยบริโภค : ประมาณ 1/2 ตัว (80 กรัมรวมซอส) "
(2) ถ้าอาหารในภาชนะบรรจุนั้นสามารถบริโภคได้หมดใน 1 ครั้ง ให้ใช้ปริมาณทั้งหมด
เช่น "หนึ่งหน่วยบริโภค : 1 กล่อง (200 กรัม) "
(3) อาหารที่เป็นหน่วยใหญ่และจะต้องแบ่งรับประทานเป็นชิ้น ๆ (เช่น เค้กพิซซ่า
นมเปรี้ยวขนาด 1,000 มล.) ปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคให้ระบุเป็นเศษส่วนของอาหาร โดยใช้ค่าเศษส่วนที่มี
น้ำหนักหรือปริมาตรใกล้เคียงกับปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงที่สุด เศษส่วนที่อนุญาตให้ใช้ คือ 1/2 1/3
1/4 1/5 1/6 1/8 ตัวอย่างเช่น เค้ก "หนึ่งหน่วยบริโภค : 1/8 อัน (60 กรัม) "
(4) อาหารที่แยกเป็นชิ้นแต่บรรจุรวมกันในภาชนะบรรจุใหญ่ เช่น ขนมปังแผ่นหรือลูกอม
โดยแต่ละชิ้นจะมีภาชนะบรรจุแยกจากกันหรือไม่ก็ตาม ปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคที่แสดงบนฉลากของ
ภาชนะบรรจุใหญ่ให้กำหนดดังนี้
- ถ้าผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น มีน้ำหนักน้อยกว่า 50% ของปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิง
ให้ระบุจำนวนหน่วยที่รวมแล้วได้น้ำหนักใกล้เคียงกับปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงที่สุด
- ถ้าผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น มีน้ำหนักมากกว่า 50% แต่น้อยกว่า 200% ของปริมาณ
หนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงแต่สามารถรับประทานได้ใน 1 ครั้ง ให้ถือว่า 1 ชิ้นเป็น 1 หน่วยบริโภคได้
- ถ้าผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น มีน้ำหนักเท่ากับหรือมากกว่า 200% ของปริมาณหนึ่งหน่วย
บริโภคอ้างอิง แต่สามารถรับประทานได้ใน 1 ครั้ง ให้ถือว่า 1 ชิ้นเป็น 1 หน่วยบริโภค หากไม่สามารถ
รับประทานหมดใน 1 ครั้งให้ใช้เกณฑ์ตามข้อ 4.1 (3) แทน
(5) อาหารที่มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น แป้ง น้ำตาล หน่วยวัดที่ใช้ต้องเหมาะสม
เพื่อให้ปริมาณที่วัดได้ใกล้เคียงกับปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงมากที่สุด เช่น หนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิง
ของน้ำตาลเปน็ 4 กรัม ควรวัดด้วยช้อนชาเพื่อให้ได้น้ำหนักใกล้เคียงกับ 4 กรัมมากที่สุด
(6) อาหารที่บรรจุในน้ำ น้ำเกลือ น้ำมัน หรือของเหลวอื่นที่ปกติไม่ได้รับประทาน
ปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคจะคิดจากส่วนที่เป็นเนื้ออาหาร (drained solid) เท่านั้น
4.2 การปัดเศษของหน่วยวัดทั่วไป เพื่อกำหนดปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภค
ถ้วยตวง - ปรับส่วนที่เพิ่มเป็น 1/4 หรือ 1/3 ถ้วย ถ้าส่วนที่เพิ่มมากกว่าหรือเท่ากับ
2 ชต. แต่น้อยกว่า 1/4 ถ้วย ให้แจ้งส่วนที่เพิ่มเป็นจำนวน ชต. ตัวอย่างเช่น "หนึ่งหน่วยบริโภค : 1 ถ้วย
3 ชต. (255 กรัม) "
ช้อนโต๊ะ - ถ้าส่วนที่เพิ่มมากกว่าหรือเท่ากับ 1 ชช. แต่น้อยกว่า 1 ชต. ให้แจ้งส่วนที่เพิ่ม
เป็นจำนวน ชช.
- ระหว่าง 1-2 ชต. สามารถแจ้งส่วนที่เพิ่มเป็น 1 1 1/3 1 1/2 2/3 2 ชต.
ช้อนชา - ส่วนเพิ่มน้อยกว่า 1 ชช. ให้แจ้งเพิ่มครั้งละ 1/4 ชช.
หมายเหตุ กรณีที่ตวงวัดได้ค่ากึ่งกลางพอดี เช่น 2.5 ชต. (อยู่กึ่งกลางระหว่าง 2 กับ 3 ชต.) สามารถ
ปัดขึ้นเป็น 3 ชต. หรือปัดลงเป็น 2 ชต. ก็ได้
1 ถ้วย = 14 ชต. (ของแข็ง) หรือ 16 ชต. (ของเหลว)
1 ชต. = 3 ชช.
4.3 วิธีกำหนดปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคในระบบเมตริก
(1) อาหารเป็นของเหลวให้ใช้หน่วยเป็น มล. (มิลลิลิตร) หรือ ซม.3 (ลูกบาศก์เซนติเมตร)
สำหรับอาหารที่มีลักษณะอื่นให้ใช้หน่วยน้ำหนักเป็นกรัม โดยการชั่ง ตวง วัด จริง
(2) การปัดเศษปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคในระบบเมตริก
- ค่ามากกว่า 5 - ให้ใช้เลขจำนวนเต็ม โดยการปัดเศษให้เป็นเลขจำนวนเต็มที่ใกล้เคียง เช่น
น้อยกว่าหรือเท่ากับ 15.5 มล. ปัดเป็น 15 มล.
มากกว่า 15.5 มล. ปัดเป็น 16 มล.
- ค่าตั้งแต่ 2-5 - ให้ปัดเศษได้ครั้งละ 0.5 เช่น 2.3 กรัม ปัดเป็น 2.5 กรัม หรือ 2.1 กรัม ปัดเป็น
2 กรัม
- ค่าน้อยกว่า 2 - ให้ปัดเศษได้ครั้งละ 0.1
(3) ถ้าผลิตภัณฑ์สามารถบริโภคได้หมดภายใน 1 ครั้ง ปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคใน
ระบบเมตริก คือ น้ำหนักหรือปริมาตรสุทธิของผลิตภัณฑ์ที่ระบุในฉลากด้านหน้า
4.4 วิธีการกำหนดจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ โดยทั่วไปแล้วคำนวณจากการหาร
ปริมาณส่วนที่รับประทานได้ทั้งหมดในภาชนะบรรจุนั้นด้วยปริมาณของหนึ่งหน่วยบริโภค ซึ่งกำหนดได้ตาม
วิธีในข้อ 4.1 4.2 และ 4.3 ที่กล่าวแล้ว
(1) วิธีการปัดเศษของจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ
- กรณีค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 2-5 ให้แจ้งจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ โดยปัด
เศษทีละ 0.5 ที่ใกล้เคียง เช่น 2 2.5 3 .....
- กรณีค่าที่ได้มากกว่า 5 ให้ปัดเศษเป็นเลขจำนวนเต็ม เช่น 6 7 8 ..... หากค่าที่ได้
อยู่กึ่งกลางพอดี เช่น 7.5 ให้ปัดเป็น 7 เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค
ทั้งนี้หากมีการปัดเศษขึ้นหรือลงให้เพิ่มข้อความ "ประมาณ" กำกับ เช่น ปัดจาก 3.6
เป็น 3.5 ให้ใช้จำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุเป็น "ประมาณ 3.5"
(2) ถ้าอาหารทั้งภาชนะบรรจุรวมแล้วมีน้ำหนักน้อยกว่า 50% ของปริมาณหนึ่งหน่วย
บริโภคอ้างอิง ให้ระบุจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุเป็น 1
(3) ถ้าอาหารทั้งภาชนะบรรจุรวมแล้วมากกว่า 150% แต่น้อยกว่า 200% ของปริมาณ
หนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิง โดยที่ปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงมีค่า 100 ก. (หรือ 100 มล.) หรือมากกว่า
ผู้ผลิตสามารถระบุจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุเป็น 1 หรือ 2 ได้ เช่น โยเกิร์ตชนิดครึ่งแข็ง-ครึ่งเหลว
กำหนดปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงเป็น 150 ก. ถ้าผลิตภัณฑ์บรรจุ 250 ก. ผลิตภัณฑ์นี้อาจระบุ
จำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุเป็น 1 หรือ 2 ก็ได้
4.5 รูปแบบการแสดงปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคและจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะ
บรรจุ อาหารใดมีการกำหนดปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงไว้แล้วตามบัญชีข้างต้น หรือมิได้กำหนด
ปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงไว้โดยตรง แต่มีลักษณะการบริโภคใกล้เคียงกับอาหารในบัญชีดังกล่าว
ให้แสดงปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคโดยใช้หน่วยวัดทั่วไป แล้วกำกับด้วยปริมาณในระบบเมตริก
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
หนึ่งหน่วยบริโภค : 1 กล่อง (200 มล.)
จำนวนหน่วยบริโภคต่อกล่อง : 1
สำหรับอาหารที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ข้างตน้ ให้ยกเวน้ การแสดงปริมาณอาหารหนึ่งหนว่ ยบริโภค
และจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ และให้แสดงข้อความ "คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 ก." หรือ
"คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 มล." แทนข้อความ "คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค"
1. หนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงคือ 30 กรัม
2. ชั่งข้าวเกรียบให้ได้น้ำหนักใกล้เคียง 30 ก.แล้วนับจำนวนชิ้นได้ 64 ชิ้น
3. ดังนั้นหนึ่งหน่วยบริโภค : 64 ชิ้น (30 กรัม)
4. หาค่าจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ โดยหารน้ำหนักสุทธิ 75 กรัม ด้วยปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภค 30 กรัม
ได้ดังนี้ 75 / 30 = 2.5
ดังนั้นจำนวนหน่วยบริโภคต่อถุงเป็น 2.5
5. แสดงข้อมูลบนฉลากดังนี้
หนึ่งหน่วยบริโภค : 64 ชิ้น (30 กรัม)
จำนวนหน่วยบริโภคต่อถุง : 2.5
- อาหารนี้ไม่สามารถใช้หน่วยถ้วย แก้ว หรือ ชต. ชช. ได้ จึงใช้หน่วยชิ้นแทน
1. หนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงคือ 1 ชต.
2. ตวงซีอิ๊วขาว 1 ชต. ได้ปริมาตร 15 มล.
3. ดังนั้น
หนึ่งหน่วยบริโภค : 1 ชต. (15 มล.)
4. หาค่าจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ โดยหาร
ปริมาตรสุทธิ 700 มล. ด้วยปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภค
15 มล.
ได้ดังนี้ 700 / 15 = 46.6
ดังนั้นจำนวนหน่วยบริโภคต่อขวดเป็น 47
5. แสดงข้อมูลบนฉลากดังนี้
หนึ่งหน่วยบริโภค : 1 ชต. (15 มล.)
จำนวนหน่วยบริโภคต่อขวด : ประมาณ 47
- บัญชีหมายเลข 2 ข้อ 3.7 ลำดับที่ 15
- ค่าที่ได้มากกว่า 5 ให้ปัดเศษเป็นเลข
จำนวนเต็ม โดยเพิ่มข้อความ "ประมาณ"
กำกับด้วย (บัญชีหมายเลข 2 ข้อ 4.4 (1) )
ตัวอย่างที่ 2
ซีอิ๊วขาวบรรจุขวดแก้วปริมาตร 700 มิลลิลิตร
5. ตัวอย่างการกำหนดปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคและจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ
ตัวอย่างที่ 1
ข้าวเกรียบกุ้งบรรจุถุงพลาสติก น้ำหนักสุทธิ 75 กรัม
4. วิธีการกำหนดปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคและจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ
3.1 กลุ่มนมและผลิตภัณฑ์ (Dairy products)
ลำดับที่ ชนิดอาหาร หนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิง
3. ตารางปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงของผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ
เพื่อประโยชน์
2. จำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ
หมายถึง จำนวนครั้งของการบริโภคอาหารนั้นที่มี
วิธีการกำหนดปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคกับจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ
1. หนึ่งหน่วยบริโภค
หมายถึง ปริมาณอาหารที่คนไทยปกติทั่วไปรับประทานได้หมดใน