News and Articles

เครื่องคัดขนาดหอยแครงทุ่นแรงงานคน

เครื่องคัดขนาดหอยแครงทุ่นแรงงานคน


หมวดหมู่: เครื่องจักรอุปกรณ์แปรรูปอาหาร [เทคโนโลยีการอาหาร]
วันที่: 16 มกราคม พ.ศ. 2555

ข่าวนี้มาจาก ไทยโพสต์

ครูผู้น้อยว่าเป็นผลงานที่ดี จึงอยากนำมาประชาสัมพันธ์ต่อเป็นกำลังใจกับเยาวชนไทยผู้จะเป็นกำลังสำคัญของวงการอาหารไทย เรายังต้องการนวตกรรมดีๆ อีกมาก ต้องอาศัยกำลังเยาวชนสร้างชาตินะคะ ใครมีผลงานดีๆ อยากอวดก็ฝากผลงานมาได้กับ Foodnetworksolution ได้นะคะ ไปตั้งกระทู้ไว้ใน webbord ได้นะคะ

เครื่องคัดขนาดหอยแครงทุ่นแรงงานคน

หอยแครงเป็นหอยสองฝาที่นิยมบริโภคกันมาก ตั้งแต่ลวก เผา ย่าง จิ้มน้ำจิ้มแซ่บๆโอย หิวเชียวแหละค่ะ หอยแครงยังเอาไปแปรรูปด้วยการแช่แข็ง (freezing) การทำแห้ง (dehydration) เอาไปแกะเนื้อทำกระป๋อง (canning) ก็น่าจะไม่เลว หรือแกะเอาเนื้อมาทำซ้อสปรุงรส ก็น่าจะลองดู

ที่แน่ๆ ก่อนการขายสด หรือ การแปรรูป หอยแครงคงจะต้องคัดขนาด (sorting) เพื่อให้ได้ตัวเท่าๆ กัน ตัวใหญ่ขายสด ตัวกลาง แช่แข็ง ตัวเล็กทำซ้อส คือให้ใช้ประโยชน์ได้ทุกๆขนาดอย่างคุ้มค่า

ถ้าจะนับเครื่องคัดหอยแครงผลงานวิจัยของนายพรศักดิ์ จิตรอำไพ และนายยุทธพงษ์ ศรีทา นักศึกษาจากสาขาวิชาเครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มี ผศ.สุเมธ พลับพลา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ช่วยส่งเสริมทางด้านการเกษตรและการแข่งขันก็คงไม่ผิดหนัก แม้เจ้าของผลงานจะออกตัวว่าแรงบันดาลที่ให้คิดเครื่องคัดหอยแครงเกิดจากความต้องการที่จะช่วยทุ่นแรง ทุ่นเวลา ค่าใช้จ่ายของเกษตรกรเท่านั้นก็ตามตัวเครื่องถูกออกแบบมาอย่างแข็งแรง ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพื่อให้เหมาะกับเกษตรกร อีกทั้งผู้วิจัยยังเลือกใช้วัสดุที่แข็งแรง คงทน ทั้งน้ำหนัก แรงกระแทก และน้ำเค็ม ซึ่งเป็นจุดเด่นของผลงาน

เครื่องคัดขนาดหอยแครงทุ่นแรงงานคน

นักวิจัยและเครื่องคัดหอยแครงที่น่าภาคภูมิใจ

ที่มา http://www.phtnet.org/news52/view-news.asp?nID=541

ส่วนหลักการทำงานของเครื่อง เจ้าของงานวิจัยอธิบายว่า เครื่องนี้ทำงานด้วยสกรูลำเลียง (screw conveyor) และเพลากระรอก ซึ่งจะทำงานเป็นชุดเดียวกัน โดยสกรูจะทำหน้าที่ในการลำเลียงหอยแครงด้วยมอเตอร์ขนาดแรงม้าไปตามเพลากระรอก และเพลากระรอกจะเป็นตัวทำหน้าที่คัดขนาดของหอยแครงผ่านตะแกรง ซึ่งสามารถคัดได้ 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก (1.5 ซม.) ขนาดกลาง (2.5 ซม.) ขนาดใหญ่ (3 ซม.) ตลอดการทำงานเครื่องจะมีฝาปิด มีเพียงหอยแครงที่ถูกคัดแยกแล้วเท่านั้นที่ไหลออกมาตามช่องคัดแยก จึงมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้อย่างแน่นอนนายพรศักดิ์บอกว่า จุดประสงค์ในการประดิษฐ์เครื่องคัดหอยแครงนี้ขึ้นมาก็เพื่อต้องการให้เกษตรนำไปใช้งานได้จริง เพราะถ้าจะเทียบกันแล้วปกติหอยแครง 1 ตันจะใช้คนคัดประมาณ 7 คนใน 1 ชั่วโมง ถ้าใช้เครื่องที่ประดิษฐ์ขึ้นจะสามารถทำงานแทนคนได้โดยใช้แรงงานเพียงคนเดียว คือคนที่ต้องเทหอยแครงลงไปในเครื่องคัดแยก ก็จะสามารถแยกหอยได้ในปริมาณและเวลาเท่ากัน แต่ทุ่นแรงงานไป 6 คนทั้งนี้ การคัดหอยแครงมีความสำคัญไม่น้อย เพราะนอกจากจะนำไปกำหนดราคาตามขนาดแล้ว ยังสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคว่าได้หอยในขนาดที่ต้องการและเป็นธรรม หอยที่ถูกคัดออกมาหมายถึงมีขนาดเล็กเกินไป คือ ขนาดเล็กกว่า 1.5 ซม. ก็จะถูกนำไปปล่อยเพื่อขยายพันธุ์ต่อไปสำหรับกลุ่มเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจสามารถสอบถามปรึกษาของรายละเอียดๆ ได้ที่ ผศ.สุเมธ พลับพลา สาขาวิชาเครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มทร.ธัญบุรี โทร.08-1866-1005.

ใครมีผลงานดีๆ ที่มีประโยชน์สำหรับวงการอาหารก็อย่างเก็บไว้คนเดียว นำมาอวดกันได้นะคะ ยินดีเป็นคนกลาง ช่วยเผยแพร่และร่วมภาคภูมิใจกับผลงานดีๆ ของเยาวชนไทยทุกคน



ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
การอบแห้งลำไยด้วยแสงอินฟราเรด
ใช้แสง"อินฟราเรด"อบแห้งลำไย ย่นเวลาเท่าตัว-คุณภาพเต็มร้อย ที่มา http://www.aepd.doae.go.th/blog/?p=687 จากผลของการที่ประเทศ ไทยเป็นประเทศส่งออกลำไยใหญ่ที่สุดของโลก ทั้งในรูปของลำไยสดแช่แข็ง (freezing) ลำไยอบแห้ง (dehydration) และลำไยกระป๋อง (canning) โดยมีตลาดส่งออกหลักคือ จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย และบางประเทศในยุโรปนั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงฤดูกาลที่ลำไยออกสู่ตลาดจะเห็นว่าผลผลิตรวมของลำไยออกมาปริมาณมาก ทำให้ล้นตลาดและราคาตกต่ำ นั่นยังไม่นับการถูกกีดกันทางการค้าบางประการในการส่งออกไปขายยังต่างประเทศ แนวทางหนึ่งที่จะแก้ ปัญหาลำไยล้นตลาดและราคาตกต่ำคือ การพัฒนาคุณภาพการผลิตและการแปรรูป ซึ่งสอดคล้องกับ ผศ.ดร.กลอยใจ เชยกลิ่นเทศ นักวิจัยคณะเทคโนโลยีการเกษตร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่มีความตั้งใจจะพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผลไม้ไทยให้มีคุณภาพทัดเทียมกับต่าง ประเทศ อีกทั้งไม่ต้องกังวลต่อปัญหาการถูกกีดกันทางการค้าจากข้ออ้างการใช้สารเคมี ซึ่งในที่สุดก็ค้นพบการอบลำไยแห้งที่มีคุณภาพ แถมยังใช้เวลาน้อยมากอีกด้วย วิธีการอบแห้ง ที่ค้นพบ คือ "การอบลำไยด้วยไมโครเวฟร่วมกับอินฟราเรด ตามด้วยลมร้อน" เป็นวิธีการที่ใช้เวลาอบเพียง 5 ชั่วโมง 25 นาที ซึ่งนับว่าเร็วมากเมื่อเปรียบเทียบกับการอบลำไยที่ใช้วิธีอบทั่วไปใน ปัจจุบันที่ใช้เวลา 12 ชั่วโมง โดยประมาณ ผลิตผลลำไยอบแห้งที่ใช้แสงอินฟราเรด ผศ.ดร.กลอยใจเล่าว่า จากการศึกษาพบว่า เนื้อลำไยที่อบในไมโครเวฟ 400 วัตต์ ระยะเวลา 5 นาที ร่วมกับอินฟราเรดที่อุณหภูมิจากแหล่งกำเนิด 350 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 5 นาที พัก 5 นาที จำนวน 5 ครั้ง รวมเวลาทั้งหมด 75 นาที สามารถลดความชื้นในลำไยได้ประมาณ 1 ใน 3 ส่วน จากนั้นนำไปอบต่อด้วยลมร้อนอีก 13 ชั่วโมง ลำไยอบแห้งที่ได้มีลักษณะดี คือ คงรูปใกล้เคียงกับเนื้อลำไยที่คว้านเมล็ดออกใหม่ ไม่เหนียวติดมือ สีไม่คล้ำ เคี้ยวในปากนุ่มกว่าเนื้อลำไยแห้งที่อบด้วยลมร้อนอย่างเดียว ทดสอบความแห้ง นอกจากลดเวลาในการอบได้กว่าเท่าตัวแล้ว ผู้วิจัยยังเล่าว่า ในการอบแห้งโดยทั่วไปจะอาศัยแสงแดดและลมร้อนทำให้น้ำระเหยและไล่ความชื้นออก จากเนื้อลำไย ระยะเวลาในการอบแห้งขึ้นอยู่กับสภาวะและอุณหภูมิร่วมกับความเร็วของลมในการ ไล่อากาศชื้นออกจากเครื่องอบ มีการใช้สารละลายโพแทสเซียมเมตาไบซัลไฟต์ (potassium metabisulfite) ในอัตรา 0.5% (5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร) แช่เนื้อลำไยนาน 2 นาที ก่อนจะอบเพื่อป้องกันจุลินทรีย์และลดการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล (browning reaction) "แต่ในการอบแห้งลำไยด้วยวิธีการอบลำไยด้วยไมโครเวฟร่วมกับอินฟราเรด ตามด้วยลมร้อนนี้ จะไม่มีการเติมสารเคมีใดๆ ทำให้เนื้อลำไยที่ได้ไม่คล้ำ อีกทั้งยังไม่ต้องกังวลเรื่องการกีดกันทางการค้า (ด้วยเรื่องสารเคมี) จากต่างประเทศ หากเราส่งออกลำไยอบแห้ง ซึ่งการอบด้วยวิธีนี้ เชื่อว่าจะช่วยยกระดับการส่งออกลำไยอบแห้งได้ดีทีเดียว" ด้วยความสำเร็จจากการวิจัยนี้เอง ผศ.ดร.กลอยใจ เจ้าของไอเดียบอกว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจึงได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และบริษัท พรีม่าเอเชีย เทคโนโลยี จำกัด นำหลักการดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการคิดค้นประดิษฐ์เครื่องอบลำไย ด้วยฝีมือของคนไทย เพื่อออกมารองรับความต้องการของเกษตรกรที่กำลังประสบปัญหาลำไยสดล้นตลาดใน ปัจจุบัน ส่วนเกษตรกรคนใดสนใจองค์ความรู้หลักการอบแห้งลำไยเพื่อนำไปพัฒนา ผลิตภัณฑ์ของตน สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ผศ.ดร.กลอยใจ เชยกลิ่นเทศ ยินดีจะเปิดเผยเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนด้วยความเต็มใจยิ่ง ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก หน้าข่าว เกษตร/เกษตรคนเก่ง วันที่ 20 เมษายน 2553
Freezedry Technology
การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (freeze dehydration หรือ lyophilization) หมายถึงการทำแห้ง (dehydration) ด้วยการแช่เยือกแข็ง (freezing) ทำให้น้ำเปลี่ยนสถานะเป็นผลึกน้ำแข็งก่อน แล้วจึงลดความดันเพื่อให้ผลึกน้ำแข็งระเหิด (sublimation) เป็นไอ ด้วยการลดความดันให้ต่ำกว่าบรรยากาศปกติ ขณะควบคุมให้อุณหภูมิต่ำ (ที่อุณหภูมิ เท่ากับหรือ ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส น้ำแข็งระเหิดที่ความดันเท่ากับ 4.7 มิลลิเมตรปรอทหรือต่ำกว่า) ขั้นตอนการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง ขั้นตอนเบื้องต้นสำหรับการผลิตอาหารด้วยวิธีการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง ก็เหมือนกับการผลิตอาหารแห้งโดยทั่วไป คือเริ่มจาก ารเตรียมวัตถุดิบให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เช่น การล้าง การปอกเปลือก การลดขนาดจ ากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการหลักซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ ที่มา : http://www.thairefrig.or.th/download/thairefrig_or_th/lyophilization%20technology1.pdf 1. การแช่เยือกแข็ง (freezing) เป็นการลดอุณหภูมิของอาหารให้ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง (freezing point) เพื่อให้เกิดผลึกน้ำแข็ง (ice crystal formation) อัตราเร็วของการแช่เยือกแข็ง (freezing rate) ควรเป็นการแช่เยือกแข็งแบบเร็ว เพื่อให้เกิดผลึกและผลึกที่เกิดขึ้นจะมีขนาดเล็ก การแช่เยือกแข็งแบบเร็ว ที่นิยมใช้กันมีหลายวิธี เช่น การแช่เยือกแข็งแบบใช้ลมเย็นเป่า (air blast freezing) การแช่เยือกแข็งแบบไครโอเจน (cryogenic freezing) และการแช่เยือกแข็งแบบจุ่มในของเหลวเย็นจัด (immersion freezing) เป็นต้น 2. การทำแห้งขั้นต้น (primary drying) เป็นการลดปริมาณน้ำ (dehydration) โดยการระเหิด น้ำแข็งให้เป็นไอโดยการลดความดันบรรยากาศ เพื่อให้ผลึกน้ำแข็งที่อยู่ภายในเกิดการระเหิดเป็นไอ ออกไปจากผิวหน้าของผลิตภัณฑ์ ระดับของสุญญากาศ (vacuum) ควรอยู่ต่ำกว่า 132 Pa และ 132 mPa ตามลำดับ การระเหิดของผลึกน้ำแข็งจึงเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ การระเหิดของชั้นน้ำแข็ง (ice layer) จะเริ่มจากชั้นน้ำแข็งบริเวณผิวหน้าของผลิตภัณฑ์ ระเหิดไปเป็นไอ ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นชั้นแห้ง (dry layer) จากนั้น เป็นการระเหิดของชั้นน้ำแข็งที่อยู่ภายในผลิตภัณฑ์ ระเหิดผ่านชั้นแห้ง ออกไปสู่ผิวหน้าของผลิตภัณฑ์ ระยะเวลาการระเหิด ขึ้นอยู่กับ ขนาด รูปร่าง และโครงสร้างของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด 3. การทำแห้งขั้นที่สอง (secondary drying) เมื่อการทำแห้งขั้นต้นเสร็จสมบูรณ์ น้ำแข็งจะละลายไปหมด จะมีความชื้นที่หลงเหลืออยู่ จึงต้องมีการทำแห้งด้วยการเพื่ออุณหภูมิให้สูงขึ้น เพื่อดึงเอาความชื้นที่เหลืออยู่ออกถึงระดับความชื้นที่ปลอดภัยสำหรับการเก็บรักษา ข้อดีการการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง เป็นการทำแห้งขณะที่อาหารมีอุณภูมิต่ำจึงลดการสูญเสียของอาหารเนื่องจากความร้อน ลดการทำลายเนื้อเยื่อและโครงสร้างอาหาร ทำให้ได้อาหารแห้งที่ได้มีคุณภาพสูง มีการคืนตัว (rehydration) ที่ดี รักษาคุณภาพอาหารเช่น สี กลิ่น รสชาติ และเลักษณะนื้อสัมผัสของอาหารได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการทำแห้ง แบบอื่น เช่น การทำแห้งแบบพ่นละออง (spray drier) การทำแห้งด้วยลมร้อน เช่น ตู้อบลมร้อน (tray drier, carbinet drier) แต่มีค่าใช้จ่ายสูงเมื่อเปรียบเทียบกับการทำแห้งด้วยเครื่องทำแห้งที่ใช้ลมร้อนทั่วไป ที่มา : http://www.thairefrig.or.th/download/thairefrig_or_th/lyophilization%20technology1.pdf การประยุกต์การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งในอาหาร การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง เหมาะกับอาหารที่ไวต่อการสูญเสียคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการด้วยความร้อน เช่น ผักผลไม้สมุนไพรอาหารทะเลอาหารที่ต้องการรักษา และมีสมบัติในการคืนสภาพได้ดี อาหารเกือบทุกชนิดสามารถฟรีซดรายได้ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ อาหารสำเร็จรูป น้ำพริก ขนมหวาน เครื่องดื่ม ชา กาแฟ ฯลฯ ทำไมถึงต้องฟรีซดราย 1. สามารถรักษาคุณสมบัติของวัตถุดิบ ในด้าน สี กลิ่น รส และสัมผัสไว้ได้ดีกว่า2. เก็บรักษาไว้ได้นานหลายปี (25 ปี) 3. สามารถแปรรูปอาหารได้เกือบทุกชนิด4. อาหารที่ได้ยังคงมีคุณค่าทางโภชนาการสูง5. สามารถแปรรูปอาหารที่ไวต่อการสูญเสียด้วยความร้อน
3.3 ผลและวิจารณ์ผล
3.3 ผลและวิจารณ์ผล ผลการวิเคราะห์ปริมาณเกลือ จากปลาทูน่าแช่แข็ง 3 ช่วงน้ำหนัก คือ น้ำหนักต่ำกว่า 1.4 กิโลกรัม จำนวน 1 กลุ่มตัวอย่าง น้ำหนักระหว่าง 1.4-1.8 กิโลกรัม จำนวน 2 กลุ่มตัวอย่าง และน้ำหนักระหว่าง 1.8-2.5 กิโลกรัม จำนวน 1 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างละ 10 ตัว ได้ผลดังนี้ ตารางที่ 1 การเปลี่ยนแปลงปริมาณเกลือของปลาขนาดต่างๆ จากการวิเคราะห์ปริมาณเกลือก่อนการละลายปลาทูน่า 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก (น้อยกว่า 1.4 กิโลกรัม) ขนาดกลาง (1.4-1.8 กิโลกรัม) และขนาดใหญ่ (1.8-2.5 กิโลกรัม) พบว่า ปลาขนาดกลางมีปริมาณเกลือมากที่สุด โดยที่ปริมาณเกลือของขนาดกลางและขนาดใหญ่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ขนาดกลางและขนาดเล็ก ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เนื่องจากปลาขนาดใหญ่ มีการแพร่ของเกลือน้อยกว่าขนาดกลางและขนาดเล็ก ปลาขนาดใหญ่มีพื่นที่ผิวต่อปริมาตรน้อย การแพร่ของเกลือผ่านทางผิวเข้าไปในเนื้อซึ่งเป็นปริมาตรได้น้อยกว่า ปลาขนาดเล็กกว่าซึ่งมีพื่นที่ผิวต่อปริมาตรมาก การแพร่ของเกลือเข้าไปในเนื้อปลาได้มากกว่า รูปที่ 3.6 แผนภูมิแสดงการเปลี่ยนแปลงปริมาณเกลือ (%) ก่อนการละลาย หลังการละลายและหลังการละลายต่อขนาดปลา จากการวิเคราะห์ปริมาณเกลือหลังการละลายและหลังการนึ่งปลาทูน่า พบว่า ปลาขนาดกลางมีปริมาณเกลือมากที่สุด โดยที่ปริมาณเกลือของขนาดกลางแตกต่างจากขนาดเล็กและขนาดใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ปริมาณเกลือของขนาดเล็กและขนาดใหญ่ไม่แตกต่างกัน และตัวอย่างปลาทูน่าขนาดใหญ่และขนาดกลาง ปริมาณเกลือในเนื้อปลาลดลงมากที่สุดหลังการละลาย ลดลงเล็กน้อยกลังกระบวนการนึ่ง ส่วนตัวอย่างขนาดเล็ก ปริมาณเกลือในเนื้อลดลงมากที่สุดหลังการละลาย แต่หลังการนึ่งมีปริมาณเกลือเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเกิดความแปรปรวนในตัวอย่าง ซึ่งในแต่ละจุดของปลาทูน่ามีปริมาณเกลือไม่เท่ากัน ตารางที่ 2 การเปลี่ยนแปลงปริมาณเกลือ รูปที่ 3.7 แผนภูมิแสดงการเปลี่ยนแปลงปริมาณเกลือ (%) ก่อนการละลาย หลังการละลายและหลังการนึ่ง จากการทดลองละลายปลาทูน่า 3 ขนาดต่างกัน คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จะได้ข้อมูลของปริมาณเกลือก่อนการละลาย (Frozen fish) หลังการละลาย (After thawing) และหลังการนึ่ง (After steaming) โดยที่ก่อนการละลายมีปริมาณเกลือเฉลี่ยมากที่สุด แตกต่างจากหลังการละลายและหลังการนึ่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่หลังการละลายและหลังการนึ่งไม่แตกต่างกัน โดยหลังการละลายมีปริมาณเกลือลดลงจากก่อนการละลายมากกว่าช่วงหลังการละลายจนถึงหลังการนึ่ง ดังนั้น ช่วงก่อนการละลายและหลังการละลายจึงเป็นช่วงที่เลือกศึกษาการลดปริมาณเกลือ 3.4 สรุปผลการทดลอง จากการศึกษากระบวนการผลิตพบว่า การนำเกลือออกจากเนื้อปลาทูน่าต้องอาศัยตัวกลางในการพาเกลือออกจากเนื้อปลา ซึ่งการละลายโดยใช้น้ำเป็นตัวกลางเป็นขั้นตอนที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดที่สามารถลดปริมาณเกลือในเนื้อปลาทูน่าได้ โดยเลือกศึกษาปลาทูน่าพันธุ์ท้องแถบเนื่องจากปลาสายพันธุ์นี้ตรวจพบปริมาณเกลือในตัวอย่างมากเกินกว่ากำหนด นั่นคือ1.2% ขนาดกลางน้ำหนักระหว่าง 1.4 - 1.8 กิโลกรัม มีปริมาณเกลือมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดเล็กและขนาดใหญ่ โดยเลือกศึกษาเฉพาะในช่วงระหว่างก่อนการละลายและหลังการละลาย เนื่องจากปริมาณเกลือหลังการละลายลดลงจากช่วงก่อนการละลายมากกว่าช่วงหลังการละลายจนถึงหลังการนึ่ง และจากการทดลองดังกล่าวทำให้ทราบถึงข้อมูลพื้นฐานของปริมาณเกลือในปลาทูน่า เพื่อนำมาวิเคราะห์และวางแผนการทดลอง โดยเลือกใช้ตัวอย่างจากผลการทดลองในโรงงานและได้ศึกษาวิธีการเก็บตัวอย่าง การวิเคราะห์ปริมาณเกลือ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติในการทดลองต่อไป
มทร. ธัญบุรี คิดค้นเครื่องคัดขนาดกลีบกระเทียม ช่วยสถานประกอบการประหยัดเวลา และเพิ่มผลผลิต
มทร. ธัญบุรี คิดค้นเครื่องคัดขนาดกลีบกระเทียม ช่วยสถานประกอบการประหยัดเวลา และเพิ่มผลผลิต Posted by 89-5MHZ on มิถุนายน 10, 2011 in นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ · 0 Comment นายราชันทร์ หงส์โต ,นายอรรถกร จันทร์ชนะ และนายอาทิตย์ พูลทวี นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ร่วมกันคิด-ประดิษฐ์ เครื่องคัดขนาดกระเทียม เพื่อนำไปใช้ในงาน อุตสาหกรรม โดยมี ดร.จตุรงค์ ลังกาพินธุ์ เป็นที่ปรึกษาโครงการ โดย ดร.จตุรงค์ เปิดเผยว่า เครื่องคัดขนาดกระเทียม ที่นักศึกษาช่วยกันประดิษฐ์ขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานและลดเวลาในการคัดขนาดกลีบกระเทียม สำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเครื่องดังกล่าวก็ได้ถูกนำไปใช้จริงที่ โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปกระเทียม บริษัท อโกรไทย ยูเนี่ยน จำกัด ทั้งนี้ในส่วนของตัวเครื่องที่สร้างขึ้น ประกอบด้วยโครงสร้างชุดคัดขนาด ถังป้อนกลีบกระเทียม ช่องทางออกกลีบกระเทียม ระบบถ่ายทอดกำลัง และใช้มอเตอร์เป็นต้นกำลัง ส่วนหลักการทำงาน จะเริ่มจาก ผู้ทำงานป้อนกลีบกระเทียมลงในถังป้อน หลังจากนั้นกลีบกระเทียมจะถูกลำเลียงเข้าสู่ชุดคัดขนาด ที่จะทำการหมุนเพื่อร่อนให้กลีบกระเทียมที่มีขนาดเล็กกว่าไหลลงผ่านรูไปตามขนาดของรูตระแกรง และกลีบกระเทียมที่คัดขนาดแล้วก็จะออกมาทางช่องออก ทั้งนี้จากการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานพบว่า เครื่องทำงานได้ดีที่ความเร็วของชุดคัดขนาด 20 รอบต่อนาที สามารถทำงานได้ 167.8 กิโลกรัม / ชั่วโมง อัตราในการคัดขนาดคือ 80.7 เปอร์เซ็นต์ และอัตราในการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า 0.8 กิโลวัตต์/ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยตกอยู่ที่ 0.2 บาท/กิโลกรัม เวลาคืนทุน 1.06 ปี และจุดคุ้มทุน 557.1 ชั่วโมงต่อปี นับว่าเป็นผลงานที่น่าภูมิใจ และเป็นประโยชน์สำหรับ อุตสาหกรรมที่แท้จริง เพราะนอกจากจะสามารถเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพแล้วยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างจริงจัง ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี หมายเลขโทรศัพท์ 02549-3400 และ 0-2549-3560 ในวันและเวลาราชการ
สมัครสมาชิก

สนับสนุนโดย / Supported By

  • บริษ้ท มาเรล ฟู้ดส์ ซิสเท็ม จำกัด จัดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์การแปรรูปอาหาร เช่น ระบบการชั่งน้ำหนัก, การคัดขนาด, การแบ่ง, การตรวจสอบกระดูก และการประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พร้อมกับบริการ ออกแบบ ติดตั้ง กรรมวิธีการแปรรูปทั้งกระบวนการ สำหรับ ผลิตภัณฑ์ ปลา เนื้อ และ สัตว์ปีก โดยมีวิศวกรบริการและ สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเทพ มาเรล เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกของอุปกรณ์การแปรรูปอาหารที่ทันสมัย​​ครบวงจรทั้งระบบ สำหรับอุตสาหกรรม ปลา กุ้ง เนื้อ และสัตว์ปีก ต่างๆ เครื่องแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก Stork และ Townsend จาก Marel อยู่ในกลุ่มเครื่องที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดในอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ สามารถบริการครบวงจรตั้งแต่ต้นสายการผลิตจนเสร็จเป็นสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกความต้องการของลูกค้า ด้วยสำนักงานและบริษัทสาขามากกว่า 30 ประเทศ และ 100 เครือข่ายตัวแทนและผู้จัดจำหน่ายทั่วโลก ที่พร้อมทำงานเคียงข้างลูกค้าเพื่อขยายขอบเขตผลการแปรรูปอาหาร Marel Food Systems Limited. We are supply weighing, grading, portioning, bone detection and software applications as well as complete turn-key processing solutions for fish, meat and poultry. We have service engineer and office in Bangkok. Marel is the leading global provider of advanced food processing equipment, systems and services to the fish, meat, and poultry industries. Our brands - Marel, Stork Poultry Processing and Townsend Further Processing - are among the most respected in the industry. Together, we offer the convenience of a single source to meet our customers' every need. With offices and subsidiaries in over 30 countries and a global network of 100 agents and distributors, we work side-by-side with our customers to extend the boundaries of food processing performance.
  • We are well known for reliable, easy-to-use coding and marking solutions which have a low total cost of ownership, as well as for our strong customer service ethos. Developing new products and a continuous programme of improving existing coding and marking solutions also remain central to Linx's strategy. Coding and marking machines from Linx Printing Technologies Ltd provide a comprehensive solution for date and batch coding of products and packaging across manufacturing industries via a global network of distributors. In the industrial inkjet printer arena, our reputation is second to none. Our continuous ink jet printers, laser coders, outer case coders and thermal transfer overprinters are used on production lines in many manufacturing sectors, including the food, beverage, pharmaceutical, cosmetics, automotive and electronic industries, where product identification codes, batch numbers, use by dates and barcodes are needed. PTasia, THAILAND With more than 3,700 coding, marking, barcode, label applicator, filling, packing and sealing systems installed in THAILAND market. Our range is includes systems across a wide range of technologies. To select the most appropriate technology to suit our customers. An excellent customer service reputation, together with a reputation for reliability that sets standards in the industry, rounds off the PTAsia offering and provides customers with efficient and economical solutions of the high quality. Satisfyingcustomers inTHAILAND for 10 years Our 1,313 customers benefit from our many years of experience in the field, with our successful business model of continuous improvement. Our technical and service associates specialise in providing individual advice and finding the most efficient and practical solution to every requirment. PTAsia extends its expertise to customers in the food, beverage, chemical, personal care, pharmaceutical, medical device, electronics, aerospace, military, automotive, and other industrial markets.
  • วิสัยทัศน์ของบริษัท คือ การอยู่ในระดับแนวหน้า "ฟอร์ฟร้อนท์" ของเทคโนโลยีประเภทต่างๆ และนำเทคโนโลยีนั้นๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิตในประเทศไทย เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า บริษัท ฟอร์ฟร้อนท์ ฟู้ดเทค จำกัด เชื่อมั่นและยึดมั่นในอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจ กล่าวคือ จำหน่าย สินค้าและให้บริการที่มีคุณภาพสูง ซึ่งเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ด้วยความซื่อสัตย์และความตรงต่อเวลา เพื่อการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จร่วมกันระยะยาว Our vision is to be in the "forefront" of technology in its field and suitably apply the technology to industries and production in Thailand for customers' utmost benefits. Forefront Foodtech Co., Ltd. strongly believes in and is committed to our own business philosophy which is to supply high quality products and service appropriately to each customer's requirements with honesty and punctuality in order to maintain long term win-win business relationship. Forefront Foodtech Co., Ltd. is the agent company that supplies machinery and system, install and provide after sales service as well as spare parts. Our products are: Nock, made in Germany: manufacturer of skinning machines, membrane skinning machine, slicers and scale ice makers. Frey, made in Germany: manufacturer of vacuum stuffers and chain linking system. Kronen, made in Germany: manufacturer of washing, centrifuges and cutting machinery for vegetable and fruits. Bandall, made in Netherlands: manufacturer of banding machine. Emerson, made in Romania: smoke chamber. G.Mondini, made in Italy: manufacturer of top seal, skin pack, paper seal, slimfresh and slicefresh for ready meal, meat, petfood and etc. Dorit, made in Germany: manufacturer of tumblers and injectors. Cliptechnik, made in Germany: manufacturer of single and double clippers for table top use and standalone clipping machines. Firex, made in Italy: manufacturer of food-processing equipment for kitchen and commercial equipment. Orved, made in Italy: manufacturer of vacuum packing machine. Carsoe, made in Denmark: designs and produces products for the seafood and food processing industry Gernal, made in Belgium: manufacturer of food-processing equipment for industrial Mado, made in Germany: manufacturer of meat-processing industry