News and Articles

การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 3

การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 3


หมวดหมู่: หนังสือบรรจุภัณฑ์อาหาร [บรรจุภัณฑ์อาหาร]
วันที่: 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ด้านการควบคุมคุณภาพโดยเฉพาะสำหรับวัสดุ ควรจะมีการอ้างอิงถึงวิธีการทดสอบตามมาตรฐานและทำการทดสอบเป็นครั้งคราวเพื่อหาค่าความเบี่ยงเบนที่อาจเกิดขึ้นว่าแตกต่างจากคุณลักษณะที่กำหนดไว้หรือไม่ ในการประเมินคุณภาพของสินค้า ควรเริ่มตั้งแต่การตรวจสอบโดยใช้สายตาเมื่อสินค้าได้ทำการส่งมอบ ตามด้วยหลักการสุ่มตัวอย่างและปฏิบัติการตามพื้นฐานของระบบการควบคุมคุณภาพ ในการทดสอบควรจะดำเนินการโดยองค์กรอิสระที่มีเครื่องหมายในการทดสอบพร้อม และค่าใช้จ่ายในการทดสอบไม่สูงมากนัก ส่วนการสุ่มตัวอย่างจากบรรจุภัณฑ์ / วัสดุที่ส่งเข้ามาเพื่อทำการตรวจสอบควรมีการทำงานเป็นระบบ ซึ่งระบบที่นิยมใช้กันเรียกว่า "การตรวจสอบปกติแบบสุ่มตัวอย่างเดี่ยว" ดังแสดงในตารางที่ 3.2 การสุ่มตัวอย่างในระบบนี้เป็นวิธีที่สร้างความมั่นใจว่าตัวอย่างที่นำออกไปทดสอบสามารถทำหน้าที่เป็นตัวแทนวัสดุทั้งหมดที่จัดส่ง พร้อมทั้งมาตรการในการยอมรับหรือไม่ยอมรับสินค้าที่ส่งมอบ

ตารางที่ 3.2 การตรวจสอบปกติแบบสุ่มตัวอย่างเดี่ยว

จำนวนใน 1 ล็อต (ชิ้น)

จำนวนตัวอย่าง (ชิ้น)

ระดับคุณภาพที่ยอมรับได้ (AQL)

0.1%

0.65%

1.0%

2.5%

4.0%

6.5%

Ac

Re

Ac

Re

Ac

Re

Ac

Re

Ac

Re

Ac

Re

50-1,200

80

0

1

1

2

2

3

5

6

7

8

10

11

1,201-3,200

125

0

1

2

3

3

4

7

8

10

11

14

15

3,201-10,000

200

0

1

3

4

5

6

10

11

14

15

21

22

10,001-35,000

315

1

2

5

6

7

8

14

15

21

22

21

22

35,001-150,000

500

1

2

7

8

10

11

21

22

21

22

21

22

150,001-500,000

800

2

3

10

11

14

15

21

22

21

22

21

22

มากกว่า 500,000

1250

3

4

14

15

21

22

21

22

21

22

21

22

AQL = เปอร์เซ็นต์สูงสุดของสินค้าเสียหายที่ยอมรับได้ใน 1 ล็อต

Ac = ล็อตที่ยอมรับ ถ้าจำนวนของชิ้นตัวอย่างที่พบว่าเสียหายไม่เกินกว่าตัวเลขที่กำหนด

Re= ล็อตที่ไม่ยอมรับ ถ้าจำนวนของชิ้นตัวอย่างที่พบเสียหายเท่ากับหรือเกินกว่าตัวเลขที่กำหนด

ที่มา : Ramsland, T. "Handbook on Procurement of Packaging" Prodec, Helsinki

ตามตารางที่ 3.2 จำนวนชิ้นตัวอย่างที่จะนำออกมาตรวจสอบ จะถูกจำกัดโดยจำนวนบรรจุภัณฑ์ที่ส่งมอบแต่ละล็อต ตัวอย่างเช่น ถ้าจำนวนในแต่ละล็อตถูกจำกัดให้เท่ากับการบรรทุกในรถบรรทุก 2 คัน คือ 30,000 ชื้น และระดับคุณภาพที่ยอมรับได้สำหรับความเสียหายระดับวิกฤติถูก เลือกที่ 1.0% ดังนั้นตารางนี้ จำนวนชิ้นตัวอย่างคือ 315 ชิ้นซึ่งหยิบมาจากกองต่างๆ ปรากฏว่ามีบรรจุภัณฑ์ที่เสียหายในระดับวิกฤติมากกว่า 7 ชิ้น เราจะไม่ยอมรับบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดในล็อตนี้

จะเห็นได้ว่าผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์เป็นผู้เดียวที่สามารถควบคุมคุณภาพได้ ในขณะที่ผู้ซื้อได้เพียงแต่ตรวจสอบว่ามีคุณภาพตรงตามที่ต้องการหรือไม่ ดังนั้นหน้าที่ของการควบคุมคุณภาพควรอยู่กับผู้ผลิตและผู้ผลิตทำการส่งข้อมูลทั้งหมดมายังผู้ซื้อ เพื่อทำการตัดสินใจที่จะยอมรับผลการทดสอบระหว่างผู้ซื้อและผู้ผลิต

เพื่อช่วยให้ผู้ผลิตผลิตสินค้าที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอและช่วยให้ผู้ซื้อลดการตรวจสอบสำหรับสินค้าที่ได้รับ International Organization for Standardization (ISO) ได้จัดพิมพ์มาตรฐานของการบริหารคุณภาพและการประกันคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000-9004 เมื่อปี พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายในการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจาก ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าผู้ผลิตได้ทำการตรวจสอบตามขั้นตอนที่กำหนดเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้าให้ดีสม่ำเสมอ

มาตรฐานของการจัดการระบบประกันคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 มาจากหลักการ 3 ข้อ คือ

1. ผู้ผลิตผลิตสินค้าตรงตามความต้องการของลูกค้า และยอมรับประกันคุณภาพ

2. ผู้บริหารต้องมีความรับผิดชอบในคุณภาพ ต้องให้แนวทางในการรับประกันคุณภาพในขั้นตอนของการดำเนินงานและต้องดำเนินการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของลูกค้า

3. ลูกค้ามั่นใจว่าสินค้าตรงตามความต้องการ และอยู่ในระดับของคุณภาพที่ตกลงกันไว้ ซึ่งผู้ผลิตต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบเกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพในองค์กรของตน

ชุดมาตรฐานของการจัดคุณภาพได้เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก เมื่อใดก็ตามที่จะมีการเซ็นสัญญาระหว่าง 2 บริษัท บ่อยครั้งที่ผู้ซื้อจะขอใบรับรอง ISO 9000 จากผู้ผลิตก่อนที่จะทำสัญญาการซื้อ ถ้าผู้ผลิตมีใบรับรอง ISO 9000 ผู้ซื้อก็มีความมั่นใจว่าผู้ผลิตได้ดำเนินการอย่างดีที่สุดที่จะให้ผู้ซื้อได้รับสินค้าที่ได้คุณภาพ ISO 9000 นี้แบ่งออกเป็น 5 เรื่อง คือ 9000 กล่าวถึงแนวทางการเลือกและการใช้ระบบบริหารงานคุณภาพ 9001 และ 9002 กล่าวถึงรูปแบบการประกันคุณภาพในการออกแบบพัฒนาการผลิต การติดตั้งและการบริการ 9003 กล่าวถึงข้อกำหนดระบบคุณภาพในการตรวจและทดสอบขั้นสุดท้าย และ 9004 กล่าวถึงแนวทางการใช้การบริหารงานคุณภาพและหัวข้อต่างๆ ในระบบคุณภาพ

สุดท้าย ทุกคนควรตระหนักว่าการมีข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะจะนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพของผู้ผลิตในด้านการผลิตเพราะมีการควบคุมคุณภาพก่อนการส่งสินค้า นอกจากนั้นยังอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ซื้อเมื่อทำการติดต่อกับผู้ผลิต

3.2 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อป้องกันการเสียหายทางกายภาพ

ผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับการคัดเลือกวัตถุดิบมาอย่างดีผ่านกระบวนการแปรรูปทำการบรรจุใส่ในบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาอย่างสวยงาม แต่เมื่อส่งไปยังจุดขายปรากฏว่าสินค้าแตกหักเสียหายขายไม่ได้ราคาย่อมเป็นสิ่งที่น่าเสียดายกับแรงงาน ความพยายาม และเงินทุนที่ได้ลงไป ด้วยเหตุนี้การออกแบบพัฒนาระบบบรรจุภัณฑ์เพื่อป้องกันความเสียหายทางกายภาพจึงมีความสำคัญมากในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์

3.2.1 สภาวะอันตรายระหว่างขนส่ง

ความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างการขนส่งนับเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมาแต่ดึกดำบรรพ์ ระดับความรุนแรงของความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นนั้นค่อนข้างจะประเมินได้ยาก เนื่องจากมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลาระหว่างการขนส่งดังแสดงไว้ในรูปที่ 3.3 อย่างไรก็ตามการออกแบบพัฒนาระบบบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการคือ ให้สามารถป้องกันอันตรายในระดับเฉลี่ย แต่ยอมให้เกิดความเสียหายบ้างจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากความไม่คุ้มทุนในการป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ในทางตรงกันข้าม การขนส่งสินค้าใดๆ ที่ไม่ประสบความเสียหายเลยในช่วงระยะเวลาเป็นเดือนๆ กลับเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ในทางธุรกิจ เนื่องจากเป็นการแสดงว่าบรรจุภัณฑ์มีระดับการป้องกันมากเกินไป (Overpackaging) อันตรายอันเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุน อาจแสดงได้จากรูปที่ 3.3 ณ จุด A ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพเพียงพอและจะมีโอกาสเกิดความเสียหายสูง แต่หากเพียงเพิ่มต้นทุนบรรจุภัณฑ์สูงขึ้นสักนิดในระดับจำนวน (ข) บาท ก็จะสามารถลดอัตราความเสียหายได้ในระดับ (ก) ถ้าต้องการที่จะลดอัตราความเสียหายให้น้อยลงไปอีกจากระดับที่ลดลงมาแล้ว โดยลดลงอีกเท่าหนึ่ง คือ เท่ากับ (ก) จะพบว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อลดความเสียหายเข้าใกล้เกือบเป็นศูนย์นั้น ณ จุด C จะเพิ่มขึ้นมาอีก (ค) บาท ซึ่งหากเปรียบเทียบกับต้นทุนกันแล้ว ต้นทุนบรรจุภัณฑ์ที่จ่ายเพิ่มขึ้นอาจแพงมากกว่าความเสียหายที่ลดลงไปมากหลายเท่าตัว ด้วยเหตุนี้ บรรจุภัณฑ์อาหารจุด B จึงเป็นจุดที่คุ้มทุนต่อการลงทุนบรรจุภัณฑ์ โดยมีการยอมรับโอกาสการสูญเสียบ้าง โดยเฉพาะจากสภาวะอันตรายดังต่อไปนี้

การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 3

รูปที่ 3.3 ความสัมพันธ์ระหว่างความเสียหายและต้นทุนบรรจุภัณฑ์

(1) อันตรายทางกายภาพ

สภาวะอันตรายระหว่างการขนส่งทางกายภาพสามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ อันตรายจากการขนถ่ายสินค้า (Loading and Unloading) อันตรายจากการขนส่ง และอันตรายจากการเก็บในคลังสินค้า ดังที่ได้แสดงไว้ในตารางที่ 3.3 และมีรายละเอียดต่อไปนี้

1. อันตรายจากการขนถ่ายสินค้า ระหว่างการขนถ่ายสินค้ามักจะเกิดการตกหล่น อาจเป็นการตกกระแทกพื้นหรือตกกระแทกลงบนวัสดุอย่างอื่นหรือตกลงบนบรรจุภัณฑ์อื่นๆ โดยปกติแล้วการตกกระแทกมักจะเกิดกับสินค้าที่มีน้ำหนักไม่เกิน 50 กิโลกรัม เนื่องจากน้ำหนักของสินค้าส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 10-25 กิโลกรัม ส่วนความสูงของการตกกระแทกนั้น จะแปรผันตามสภาวะการขนถ่ายสินค้า โดยปกติสินค้าที่ขนย้ายเพื่อการส่งออกไปต่างประเทศจะมีโอกาสได้รับอันตรายมากกว่าสินค้าที่ขนส่งภายในประเทศ เนื่องจากมีอาจได้รับการขนย้ายบ่อยครั้งกว่าและสภาวะของการขนย้ายในแต่ละจุดของแต่ละประเทศแตกต่างกัน

2. อันตรายจากการขนส่ง อันตรายที่เกิดสามารถแยกตามประเภทของการขนส่งได้ 4 ประเภท คือ

- ทางรถไฟ ระหว่างการขนส่งโดยรถไฟ โอกาสที่จะเกิดความเสียหายต่อสินค้านั้นอาจเกิดขึ้นได้ 3 โอกาสคือ ช่วงระหว่างการต่อตู้รถไฟ การออกรถไฟอย่างกระชาก หรือ การหยุดอย่างกะทันหัน และการสั่นสะเทือนระหว่างการขนส่ง การต่อตู้รถไฟอาจก่อให้เกิดการกระแทกอย่างรุนแรงและอันตรายที่มีต่อสินค้าและบรรจุภัณฑ์จะแปรผันตามวิธีการจัดเรียงสินค้าภายในตู้รถไปและการใช้วัสดุป้องกันการสั่นกระแทกภายในตู้รถไฟ ส่วนอันตรายที่เกิดจากการออกรถและหยุดรถนั้นจะแปรผันตามประเภทของหัวจักรและระบบเบรกที่ใช้ ส่วนโอกาสที่เกิดจากการสั่นสะเทือนนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นตลอดการขนส่ง ความรุนแรงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนจะแปรตามความเร็วและสภาพของรางรถไฟพร้อมทั้งชนิดของตู้รถไฟ

- ทางรถยนต์ อันตรายที่เกิดขึ้นมักจะเกิดจากการสั่นสะเทือนและกระแทก ซึ่งแปรตามสภาวะของถนนที่แล่นผ่าน ความรุนแรงของอันตรายจะแปรตามความถี่ของการสั่นสะเทือนที่เกิดจากตัวพาหะรถยนต์ ส่วนการสั่นสะเทือนมากน้อย (Amplitude) จะแปรตามสภาวะของถนนและความเร็วในการวิ่งของรถ

การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 3

รูปที่ 3.4 แหล่งทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของการขนส่งทางรถยนต์

- ทางน้ำ ความรุนแรงของอันตรายที่เกิดนั้นจะขึ้นกับสภาวะคลื่นและการจัดเรียงวางสินค้าบนเรือ โดยทางปฏิบัติทั่วไปสินค้าที่ขนส่งโดยเรือจะเรียงซ้อนสูง 6 - 10 เมตร และจะได้รับการสั่นสะเทือนที่ความถี่ต่ำอันเนื่องมาจากเครื่องยนต์เรือและใบพัดเรือ ส่วนการโยก (Pitching) และการโคลง (Roll) ของพาหนะเรือจะส่งผลให้สินค้าที่เรียงซ้อนทับอยู่ข้างล่างได้รับแรงเครียดมากขึ้น

- ทางอากาศ ในการขนส่งทางอากาศ สินค้ามักถูกจำกัดด้วยปริมาตรและน้ำหนักของสินค้า ส่วนอันตรายที่เกิดระหว่างการส่ง มักจะเกิดจากแรงสั่นสะเทือนที่มีความถี่สูงอันเป็นผลจากตัวเครื่อง นอกจากนี้สินค้าจะประสบกับความดันและอุณหภูมิต่ำระหว่างการเดินทาง โดยปกติสินค้าที่ขนส่งทางอากาศมักจะต้องได้รับการขนส่งร่วมกับการขนส่งวิธีอื่นๆ เช่น ทางรถยนต์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการขนส่งทางอากาศมักจะต้องแข็งแรงกว่าปกติ

ตารางที่ 3.3 อันตรายทางกายภาพระหว่างการขนส่ง

รูปแบบอันตราย

สภาวะอันตราย

การกระแทก

ก. ในแนวดิ่ง

1.

บรรจุภัณฑ์ตกลงพื้นระหว่างการบรรทุกและการขนถ่าย

2.

บรรจุภัณฑ์เลื่อนหรือไถลไปตกกระทบพื้นผิวอื่นๆ

3.

ตกจากสายพาน

4.

ผลจากการโยน

ข. ในแนวนอน

1.

การหยุด หรือการสตาร์ทของรถไฟหรือรถยนต์

2.

รถยกเครนที่แกว่งและไปกระทบผนังหรือวัสดุอื่นๆ

3.

การกระทบเนื่องจากการหยุดของสายพาน

4.

การกระทบเนื่องจากการที่บรรจุภัณฑ์หยุดเคลื่อนไหว

5.

ผลจากการโยน

การสั่นสะเทือน

1.

จากเครื่องมือในการขนถ่ายสินค้าในโรงงาน ,ท่าเรือ และอื่นๆ

2.

เครื่องยนต์และการสั่นสะเทือนในระหว่างเดินทาง

3.

การสั่นสะเทือนของรถไฟ

4.

การสั่นสะเทือนของเรือ

5.

เครื่องยนต์และการสั่นสะเทือนของเครื่องบิน

การกดทับ

1.

การจัดเรียงวางสินค้าในโรงงาน โกดังเก็บสินค้า และร้านค้า

2.

การกดทับชั่วครั้งชั่วคราวของสินค้าระหว่างการขนส่ง

3.

ระหว่างการขนย้าย เช่น รถเครน , ลวดสลิง , ตะขอยึด

4.

สาเหตุจากข้อจำกัดการทำงานอื่นๆ

การเสียรูปร่าง

1.

การวางบรรจุภัณฑ์บนพื้นผิวไม่เรียบในโรงงาน

2.

การยกบรรจุภัณฑ์โดยใช้เครื่องมือที่ไม่มีประสิทธิภาพ

การเจาะทะลุ , การฉีกขาด

สาเหตุจากการใช้ตะขอหรือวิธีการใช้เครื่องมือในการขนย้ายที่ไม่ถูกต้อง หรือเครื่องมือไม่ดี

3. อันตรายจากการเก็บในคลังสินค้า อันตรายที่เกิดขึ้นมักจะลดลง ถ้ามีการใช้หิ้งหรือชั้นในคลังสินค้า หรือมีการคำนวณความสามารถรับน้ำหนักได้ของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ อย่างไรก็ตามสำหรับสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์จึงต้องคำนึงถึงสภาวะคลังสินค้า ณ จุดหมายปลายทาง ปรากฏการณ์ที่พบประจำ คือ การจัดเรียงสินค้าในกล่องลูกฟูกบนกะบะ (รูปซ้ายมือ) แทนที่จะเป็นการไขว้กัน (รูปขวามือ) ดังแสดงในรูปที่ 3.5 เนื่องจากความสามารถในการรับแรงในแนวดิ่งของกล่องที่อยู่ 4 มุม ดังแสดงในรูปที่ 3.6

การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 3

รูปที่ 3.5 การจัดเรียงวางกล่องบนกะบะเป็นแบบแนวตรง (ซ้ายมือ) และแบบไขว้กัน (ขวามือ)

การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 3

รูปที่ 3.6 ความสามารถในการรับแรงของกล่องลูกฟูกอยู่ที่ 4 มุมของกล่อง

3.2.2 สภาวะอันตรายจากสภาพภูมิอากาศ

อันตรายที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศได้จัดแยกประเภทไว้ในตารางที่ 3.4 อันประกอบด้วยสภาวะอุณหภูมิ ความกดดันต่ำ แสง และสภาวะเปียกน้ำ เป็นต้น

ตารางที่ 3.4 อันตรายจากภูมิอากาศของการจัดจำหน่าย

รูปแบบอันตราย

สภาวะอันตราย

อุณหภูมิสูง

1.

ถูกแสงแดดโดยตรง

2.

การอยู่ใกล้กับความร้อน

3.

ถูกแสงแดดโดยทางอ้อมเนื่องจากการป้องกันความร้อนไม่ดีพอ

4.

สภาวะอากาศร้อนมาก

อุณหภูมิต่ำ

1.

โกดังที่ไม่มีความอบอุ่นเพียงพอในสภาวะอากาศหนาวมาก

2.

การขนส่งในสภาพที่ไม่มีความอบอุ่น

3.

การเก็บสินค้าในที่ที่ไม่ควบคุมระดับอุณหภูมิ

ความกดดันต่ำ

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โดยเฉพาะในเครื่องบิน

แสง

1.

กระทบกับแสงแดด

2.

กระทบกับรังสีอัลตราไวโอเล็ต

3.

กระทบกับแสงอื่นๆ

น้ำ ก. น้ำธรรมชาติ

ข. น้ำสกปรก

1.

น้ำฝนระหว่างการขนส่ง การบรรทุก

2.

น้ำท่วม

3.

การควบแน่นของน้ำและเหงื่อ

1.

ไอเกลือของน้ำทะเลมาเกาะติดเรือขนส่ง

2.

คราบของน้ำทะเลบนท่าเรือ

3.

มลพิษของน้ำจากโรงงานและสารเคมี

พายุ

การเผชิญกับพายุทำให้พบกับฝุ่น , หิน , ทราย

ไอน้ำ

ความชื้นของบรรยากาศทั้งธรรมชาติและความจงใจ (Artificial)

ระหว่างการขนส่ง บรรจุภัณฑ์อาจเกิดความเสียหายเนื่องจากฝน น้ำทะเล หรือการกลั่นตัวของหยดน้ำ (Condensation) การกลั่นตัวนี้จะแปรผันโดยตรงกับความชื้นสัมพัทธ์ และอุณหภูมิของสภาวะภูมิอากาศ ด้วยเหตุนี้สภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนจะมีผลกระทบโดยตรงต่อบรรจุภัณฑ์และสินค้าที่บรรจุอยู่ภายใน ความชื้นอาจส่งผลกระทบต่อสินค้าได้ 5 รูปแบบดังนี้

1. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ สินค้าบางชนิด เช่น เครื่องหนังอาจจะเกิดการแห้ง สินค้าที่ทำด้วยไม้อาจมีการปริแตกเกิดขึ้น ในกรณีที่เป็นอาหารขบเคี้ยวจะสูญเสียความกรอบได้ เป็นต้น

2. การเปลี่ยนแปลงทางเคมีฟิสิกส์ ตัวอย่างเช่น การจับเป็นก้อนของเกลือและน้ำตาลหรือการสูญเสียน้ำของสินค้า

3. การเปลี่ยนแปลงทางจุลชีวะ ได้แก่ การเกิดเชื้อราหรือบักเตรี ถ้าสินค้ามีความชื้นมากจนเกินไป

4. การเปลี่ยนแปลงทางเคมี ตัวอย่างเช่น การเกิดสนิมของโลหะ การกัดกร่อนของโลหะและการเกิด Browning ในผลิตภัณฑ์อาหาร

5. การเปลี่ยนแปลงเอนไซม์ (Enzyme) ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับสินค้าที่เป็นอาหาร ปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเกิดจากสภาวะความชื้นและอุณหภูมิที่แปรเปลี่ยนระหว่างขนส่ง

ความแปรปรวนของอุณหภูมิที่ร้อนมากหรือเย็นมาก ย่อมมีอันตรายต่ออาหารบางประเภทอุณหภูมิที่สูงอาจเกิดจากสภาพภูมิอากาศโดยตรงหรือการตากแดดเป็นเวลานานๆ หรือการวางไว้ใกล้ๆ สิ่งที่กำเนิดความร้อน เช่น เตาอบ ไอน้ำ เป็นต้น ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความแปรปรวนของอุณหภูมิ คือ อาหารแช่แข็ง



ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
พัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2
1.3 หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์อาหารแปรรูปมีความสอดคล้องกับวิทยาการ 2 ด้าน คือ ด้านเทคนิคและด้านการตลาด จำแนกได้ดังนี้ ด้านเทคนิค ด้านการตลาด การบรรจุใส่ การส่งเสริมการขาย การปกป้องคุ้มครอง การแสดงข้อมูลอาหาร การรักษาคุณภาพอาหาร การตั้งราคาขายได้สูงขึ้น การขนส่ง การเพิ่มปริมาณขาย การวางจำหน่าย ให้ความถูกต้องรวดเร็ว การรักษาสิ่งแวดล้อม การรณรงค์ หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์สามารถให้คำอธิบายเพิ่มเติมได้ดังนี้ - การทำหน้าที่บรรจุใส่ ได้แก่ ใส่-ห่อสินค้า ด้วยการชั่ง ตวง วัด นับ - การทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครอง ได้แก่ ป้องกันไม่ให้สินค้าเสียรูป แตกหัก ไหลซึม - การทำหน้าที่รักษาคุณภาพอาหาร ได้แก่ การใช้วัสดุที่ป้องกันอากาศซึมผ่าน ป้องกันแสง ป้องกันก๊าซเฉื่อยที่ฉีดเข้าไปชะลอปฏิกิริยาชีวภาพ ป้องกันความชื้นจากภายนอก - การทำหน้าที่ขนส่ง ได้แก่ กล่องลูกฟูก ลังพลาสติก ซึ่งบรรจุสินค้าหลายห่อหรือหน่วย เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและขนส่งสินค้าไปยังแหล่งผลิตหรือแหล่งขาย - การวางจำหน่าย คือ การนำบรรจุภัณฑ์ที่มีสินค้าอาหารแปรรูปอยู่ภายในวางจำหน่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องเห็นสินค้าเลย สามารถวางนอนหรือวางตั้งได้โดยสินค้าไม่ได้รับความเสียหาย ซึ่งควรคำนึงถึงขนาดที่เหมาะสมกับชั้นวางสินค้าด้วย - การรักษาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1. ใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ให้ปริมาณขยะน้อย เป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่าย ในกระบวนการผลิตจะไม่ใช้สารที่ทำลายชั้นบรรยากาศ เป็นต้น 2. นำบรรจุภัณฑ์เวียนใช้ใหม่หรือใช้ประโยชน์อื่นได้ เช่น ขวดเหล้า แก้วใส่แยม เป็นต้น 3. หมุนเวียนนำกลับมาผลิตใหม่ คือ นำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วไปหลอมหรือย่อยสลายเป็นวัตถุดิบสำหรับใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์หรือสินค้าอื่นได้ - ทำหน้าที่ส่งเสริมการขายเพราะบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบสวยงามสามารถใช้เป็นสื่อโฆษณาได้ด้วยตัวเอง รวมถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อใช้เฉพาะกาล เช่น มีการแนบของแถมไปกับบรรจุภัณฑ์ การนำรูปภาพดารา เครื่องหมายกีฬาที่ได้รับความนิยมมาพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ จะเป็นแนวทางหนึ่งในการเรียกความนิยมของสินค้า - ทำหน้าที่เป็นฉลากแสดงข้อมูลของอาหารแปรรูป ได้แก่ ข้อมูลทางด้านโภชนาการ ส่วนประกอบของอาหาร วันที่ผลิต วันที่หมดอายุ คำแนะนำ และเครื่องหมายเลขทะเบียนหรือเลขอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) - ทำให้ตั้งราคาขายได้สูงขึ้นเนื่องจากบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า สร้างความนิยมในสินค้า จากตราและเครื่องหมายการค้าทำให้เกิดความภักดี (Loyalty) ในตัวสินค้าส่งผลให้ขายราคาที่สูงขึ้นได้ หรือ ที่เรียกว่าสินค้าแบรนด์เนม (Brandname) - การเพิ่มปริมาณขาย ด้วยการรวมหน่วยขายปลีกในบรรจุภัณฑ์อีกชั้นหนึ่ง เช่น นมกล่อง 1 โหลในกล่องกระดาษลูกฟูกที่มีหูหิ้ว หรือการขายขวดน้ำยาทำความสะอาดพร้อมกับซองน้ำยาทำความสะอาดเพื่อใช้เติมใส่ในขวดเมื่อใช้น้ำยาในขวดหมดแล้ว เป็นต้น - ให้ความถูกต้องรวดเร็วในการขาย โดยการพิมพ์บาร์โค้ดบนบรรจุภัณฑ์ทำให้คนคิดเงินไม่จำเป็นต้องอ่านป้ายราคาบนบรรจุภัณฑ์แล้วกดเงินที่ต้องจ่าย แต่ให้เครื่องอ่านบาร์โค้ดทำหน้าที่แทน ทำให้รวดเร็วขึ้นและถูกต้อง - ร่วมมีบทบาทในการรณรงค์เรื่องต่างๆ เช่น สัญลักษณ์รีไซเคิล ฉลากเขียว กีฬา ท่องเที่ยว กินของไทยใช้ของไทย เป็นต้น 1.4 ประเภทของบรรจุภัณฑ์ ตามนิยามที่กล่าวมาแล้ว บรรจุภัณฑ์ทำหน้าที่เป็นพาหะนำผลผลิตจากกระบวนการผลิตผ่านการขนย้าย เก็บในคลังสินค้า ระบบการขนส่ง ระบบการจัดจำหน่าย เปิดโอกาสให้เลือกซื้อ เอื้ออำนวยความสะดวกในการบริโภคพร้อมทั้งกำจัดซากบรรจุภัณฑ์ได้ง่าย จากขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ การแยกประเภทของบรรจุภัณฑ์อาจแยกได้หลายลักษณะแล้วแต่จุดมุ่งหมายการแยกประเภท ดังแสดงในตารางที่ 1.2 ตารางที่ 1.2 : การแยกประเภทของบรรจุภัณฑ์ วิธีการ จุดมุ่งหมาย ประเภทของบรรจุภัณฑ์ 1 การออกแบบ 1.1 บรรจุภัณฑ์ชั้นในหรือปฐมภูมิ (Primary Packaging) 1.2 บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองหรือทุติยภูมิ (Secondary Packaging) 1.3 บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สามหรือตติยภูมิ (Tertiary Packaging) 2 วัสดุที่ใช้ผลิต 2.1 เยื่อและกระดาษ 2.2 พลาสติก 2.3 แก้ว 2.4 โลหะ 1.4.1 บรรจุภัณฑ์แบ่งตามการออกแบบ ด้วยหลักการในการออกแบบ สามารถจำแนกประเภทของบรรจุภัณฑ์ได้ 3 จำพวก คือ (1) บรรจุภัณฑ์ชั้นในหรือปฐมภูมิ (Primary Packaging) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ผู้ซื้อจะได้สัมผัสเวลาที่จะบริโภค บรรจุภัณฑ์นี้จะได้รับการโยนทิ้งเมื่อมีการเปิดและบริโภคสินค้าภายในจนหมด เช่น ซองบรรจุน้ำตาล เป็นต้น บรรจุภัณฑ์นี้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ชั้นในสุดติดกับตัวสินค้า ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นในมีปัจจัยที่ต้องพิจารณา 2 ประการคือ อันดับแรกจะต้องมีการทดสอบจนมั่นใจว่าอาหารที่ผลิตและบรรจุภัณฑ์ที่เลือกใช้จำต้องเข้ากันได้ (Compatibility) หมายความว่าตัวอาหารจะไม่ทำปฏิกิริยาต่อผลิตภัณฑ์ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนี้อาจจะเกิดจากการแยกตัวของเนื้อวัสดุบรรจุภัณฑ์เข้าสู่อาหาร (Migration) หรือการทำให้บรรจุภัณฑ์เปลี่ยนแปลงรูปทรงไปเช่นในกรณีการบรรจุอาหารใส่เข้าไปในบรรจุภัณฑ์ขณะที่อาหารยังร้อนอยู่ (Hot Filling) เมื่อเย็นตัวลงในสภาวะบรรยากาศห้อง จะทำให้รูปทรงของบรรจุภัณฑ์บูดเบี้ยวได้ เหตุการณ์นี้จะพบบ่อยมากในขวดพลาสติกทรงกระบอก ซึ่งแก้ไขได้โดยการเพิ่มร่องบนผิวทรงกระบอกหรือเปลี่ยนรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมมุมมน CPET บรรจุภัณฑ์ชั้นในสำหรับ บรรจุอาหารแช่เยือกแข็ง (freezing) และเข้าไมโครเวฟได้ นอกเหนือจากความเข้ากันได้ของอาหารและบรรจุภัณฑ์แล้ว ปัจจัยอันดับต่อมาที่ต้องพิจารณา คือ บรรจุภัณฑ์ชั้นในจะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่วางขายบนหิ้งหรือไม่ ในกรณีที่บรรจุภัณฑ์ชั้นในจำต้องวางขายแสดงตัวบนหิ้ง การออกแบบความสวยงาม การสื่อความหมายและภาพพจน์จะเริ่มเข้ามามีบทบาทในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ชั้นในที่ทำหน้าที่วางขายบนหิ้ง (2) บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองหรือทุติยภูมิ (Secondary Packaging) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่รวบรวมบรรจุภัณฑ์ชั้นแรกเข้าด้วยกัน เพื่อเหตุผลในการป้องกันหรือจัดจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น หรือด้วยเหตุผลในการขนส่ง บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองที่เห็นได้ทั่วไป เช่น กล่องกระดาษแข็งของหลอดยาสีฟัน ถุงพลาสติกใส่ซองน้ำตาล 50 ซอง เป็นต้น ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองนี้มักจะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ต้องวางแสดงบนหิ้ง ณ จุดขาย ดังนั้น การเน้นความสวยงามและภาพพจน์ของบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่น กล่องยาสีฟัน การออกแบบของหลอดยาสีฟันที่อยู่ภายในก็ไม่จำเป็นต้องออกแบบให้สอดสีหลายสี ในทางกลับกันถ้าบรรจุภัณฑ์ชั้นในได้รับการออกแบบอย่างสวยงาม ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองนี้อาจจะทำการเปิดเป็นหน้าต่างเพื่อให้เห็นถึงความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ชั้นในที่ออกแบบมาอย่างดีแล้ว ในกรณีของตัวอย่างถุงพลาสติกใส่ซองน้ำตาล 50 ซองนั้น ถุงพลาสติกที่เลือกใช้ไม่จำเป็นต้องช่วยรักษาคุณภาพของน้ำตาลมากเท่าซองชั้นใน เนื่องจากทำหน้าที่รวมซองน้ำตาล 50 ซองเข้าด้วยกันเพื่อการจัดจำหน่ายแต่ตัวถุงเองต้องพิมพ์สอดสีอย่างสวยงามเพราะเป็นถุงที่วางขายบนหิ้ง ณ จุดขาย บรรจุภัณฑ์ชั้นในหรือปฐมภูมิ (Primary Packaging) และบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองหรือทุติยภูมิ (Secondary Packaging) มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บรรจุภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายปลีก (Commercial Packaging) (3) บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สามหรือตติยภูมิ (Tertiary Packaging) หน้าที่หลักของบรรจุภัณฑ์นี้คือการป้องกันระหว่างการขนส่ง บรรจุภัณฑ์ขนส่งนี้ อาจแบ่งย่อยเป็น 3 ประเภท คือ - บรรจุภัณฑ์ที่ใช้จากแหล่งผลิตถึงแหล่งขายปลีกเมื่อสินค้าได้รับการจัดเรียงวางบนหิ้งหรือคลังสินค้าของแหล่งขายปลีกแล้ว บรรจุภัณฑ์ขนส่งก็หมดหน้าที่การใช้งาน บรรจุภัณฑ์เหล่านี้เช่น แคร่และกะบะ (Pallet) เป็นต้น - บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ระหว่างโรงงาน เป็นบรรจุภัณฑ์ที่จัดส่งสินค้าระหว่างโรงงาน ตัวอย่างเช่น ลังใส่ซองพริกป่น ถุงน้ำจิ้ม เป็นผลผลิตจากโรงงานหนึ่งส่งไปยังโรงงานอาหารสำเร็จรูปเพื่อทำการบรรจุไปพร้อมกับอาหารหลัก เป็นต้น - บรรจุภัณฑ์ที่ใช้จากแหล่งขายปลีกไปยังมือผู้อุปโภคบริโภค เช่น ถุงต่างๆ ที่ร้านค้าใส่สินค้าให้ผู้ซื้อ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สามนี้ จึงต้องคำนึงถึงความสามารถในการป้องกันสินค้าระหว่างการขนส่ง ส่วนข้อมูลรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ขนส่งจะช่วยในการจัดส่งเป็นไปอย่างสะดวกและถูกต้อง บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สามนี้จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Distribution Packaging) <<ย้อนกลับ พัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ ตอนที่1อ่านต่อ พัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ ตอนที่3 >> <<กลับสู่หน้าหลัก
3.3 ผลและวิจารณ์ผล
3.3 ผลและวิจารณ์ผล ผลการวิเคราะห์ปริมาณเกลือ จากปลาทูน่าแช่แข็ง 3 ช่วงน้ำหนัก คือ น้ำหนักต่ำกว่า 1.4 กิโลกรัม จำนวน 1 กลุ่มตัวอย่าง น้ำหนักระหว่าง 1.4-1.8 กิโลกรัม จำนวน 2 กลุ่มตัวอย่าง และน้ำหนักระหว่าง 1.8-2.5 กิโลกรัม จำนวน 1 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างละ 10 ตัว ได้ผลดังนี้ ตารางที่ 1 การเปลี่ยนแปลงปริมาณเกลือของปลาขนาดต่างๆ จากการวิเคราะห์ปริมาณเกลือก่อนการละลายปลาทูน่า 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก (น้อยกว่า 1.4 กิโลกรัม) ขนาดกลาง (1.4-1.8 กิโลกรัม) และขนาดใหญ่ (1.8-2.5 กิโลกรัม) พบว่า ปลาขนาดกลางมีปริมาณเกลือมากที่สุด โดยที่ปริมาณเกลือของขนาดกลางและขนาดใหญ่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ขนาดกลางและขนาดเล็ก ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เนื่องจากปลาขนาดใหญ่ มีการแพร่ของเกลือน้อยกว่าขนาดกลางและขนาดเล็ก ปลาขนาดใหญ่มีพื่นที่ผิวต่อปริมาตรน้อย การแพร่ของเกลือผ่านทางผิวเข้าไปในเนื้อซึ่งเป็นปริมาตรได้น้อยกว่า ปลาขนาดเล็กกว่าซึ่งมีพื่นที่ผิวต่อปริมาตรมาก การแพร่ของเกลือเข้าไปในเนื้อปลาได้มากกว่า รูปที่ 3.6 แผนภูมิแสดงการเปลี่ยนแปลงปริมาณเกลือ (%) ก่อนการละลาย หลังการละลายและหลังการละลายต่อขนาดปลา จากการวิเคราะห์ปริมาณเกลือหลังการละลายและหลังการนึ่งปลาทูน่า พบว่า ปลาขนาดกลางมีปริมาณเกลือมากที่สุด โดยที่ปริมาณเกลือของขนาดกลางแตกต่างจากขนาดเล็กและขนาดใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ปริมาณเกลือของขนาดเล็กและขนาดใหญ่ไม่แตกต่างกัน และตัวอย่างปลาทูน่าขนาดใหญ่และขนาดกลาง ปริมาณเกลือในเนื้อปลาลดลงมากที่สุดหลังการละลาย ลดลงเล็กน้อยกลังกระบวนการนึ่ง ส่วนตัวอย่างขนาดเล็ก ปริมาณเกลือในเนื้อลดลงมากที่สุดหลังการละลาย แต่หลังการนึ่งมีปริมาณเกลือเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเกิดความแปรปรวนในตัวอย่าง ซึ่งในแต่ละจุดของปลาทูน่ามีปริมาณเกลือไม่เท่ากัน ตารางที่ 2 การเปลี่ยนแปลงปริมาณเกลือ รูปที่ 3.7 แผนภูมิแสดงการเปลี่ยนแปลงปริมาณเกลือ (%) ก่อนการละลาย หลังการละลายและหลังการนึ่ง จากการทดลองละลายปลาทูน่า 3 ขนาดต่างกัน คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จะได้ข้อมูลของปริมาณเกลือก่อนการละลาย (Frozen fish) หลังการละลาย (After thawing) และหลังการนึ่ง (After steaming) โดยที่ก่อนการละลายมีปริมาณเกลือเฉลี่ยมากที่สุด แตกต่างจากหลังการละลายและหลังการนึ่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่หลังการละลายและหลังการนึ่งไม่แตกต่างกัน โดยหลังการละลายมีปริมาณเกลือลดลงจากก่อนการละลายมากกว่าช่วงหลังการละลายจนถึงหลังการนึ่ง ดังนั้น ช่วงก่อนการละลายและหลังการละลายจึงเป็นช่วงที่เลือกศึกษาการลดปริมาณเกลือ 3.4 สรุปผลการทดลอง จากการศึกษากระบวนการผลิตพบว่า การนำเกลือออกจากเนื้อปลาทูน่าต้องอาศัยตัวกลางในการพาเกลือออกจากเนื้อปลา ซึ่งการละลายโดยใช้น้ำเป็นตัวกลางเป็นขั้นตอนที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดที่สามารถลดปริมาณเกลือในเนื้อปลาทูน่าได้ โดยเลือกศึกษาปลาทูน่าพันธุ์ท้องแถบเนื่องจากปลาสายพันธุ์นี้ตรวจพบปริมาณเกลือในตัวอย่างมากเกินกว่ากำหนด นั่นคือ1.2% ขนาดกลางน้ำหนักระหว่าง 1.4 - 1.8 กิโลกรัม มีปริมาณเกลือมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดเล็กและขนาดใหญ่ โดยเลือกศึกษาเฉพาะในช่วงระหว่างก่อนการละลายและหลังการละลาย เนื่องจากปริมาณเกลือหลังการละลายลดลงจากช่วงก่อนการละลายมากกว่าช่วงหลังการละลายจนถึงหลังการนึ่ง และจากการทดลองดังกล่าวทำให้ทราบถึงข้อมูลพื้นฐานของปริมาณเกลือในปลาทูน่า เพื่อนำมาวิเคราะห์และวางแผนการทดลอง โดยเลือกใช้ตัวอย่างจากผลการทดลองในโรงงานและได้ศึกษาวิธีการเก็บตัวอย่าง การวิเคราะห์ปริมาณเกลือ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติในการทดลองต่อไป
เครื่องหมาย 3A: บทบาทต่อเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับผลิตอาหาร
ถาม 3-A คือ อะไร ทำไมเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับผลิตอาหารจึงควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมาย 3-A ? ตอบ เครื่องหมาย สามเอ หรือ ทริปเปิ้ลเอ (Triple A) คือ การกำหนดมาตรฐานทางด้านสุขอนามัยของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับผลิตอาหารและนมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ได้รับรองมาตรฐานคุณภาพ 3A จะเป็นหลักประกันความมั่นใจให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้งานได้ว่า ผลิตภัณฑ์นั้นมีความสะอาดปลอดภัยไร้การปนเปื้อน ไร้จุดตกค้าง ปลอดเชื้อ เหมาะที่จะนำไปใช้ในกระบวนการผลิตอาหาร นม เครื่องดื่ม โดยเฉพาะโรงงานที่เน้น GMP (หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต) และ HACCP (การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม) ผู้ที่จะติดเครื่องหมาย 3A ลงบนเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ได้นั้น ในขั้นต้นจะต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 9000 เสียก่อนจึงจะมีคุณสมบัติไปขอการรับรองมาตรฐาน 3-A ได้ ในขั้นตอนของการขอ 3-A ทางองค์การการจัดการและบริหารเครื่องหมายมาตรฐาน 3A แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (3-A Sanitary Standard Inc.) จะส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบวัตถุดิบและกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็นไปตามหลักการและมาตรฐานขององค์กรฯ ซึ่งองค์กรนี้จะประสานงานกับอีกหน่วยงานหนึ่งที่มีชื่อ The International Association of Food Industry Supplier (IAFIS) เพื่อพิจารณาออกใบรับรองมาตรฐาน 3-A (3-A CERTIFIED QUALITY) ให้กับผู้ผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองจะต้องถูกองค์กร 3-A เข้าตรวจสอบโรงงานและกระบวนการผลิตปีละครั้ง เพื่อให้คงมาตรฐาน 3-A ตลอดไป เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ได้รับเครื่องหมาย 3A เปรียบเสมือนผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับเครื่องหมาย อย. แหล่งข้อมูลอ้างอิง ศุภโชค เหลืองสุวิมล บริษัท เซอร์วิเทค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด จากหนังสือปั๊มสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและยา , บริษัท ฟูด เน็ทเวิร์ค โซลูชั่น จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ 1 (2551) หน้า 120
บรรจุภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 3 (บรรจุภัณฑ์กระดาษ)
(3) บรรจุภัณฑ์กระดาษที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร จะได้แจกแจงในรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. กล่องกระดาษแข็งแบบท่อ (Tube) ปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแข็ง คือ การเลือกโครงสร้างและการออกแบบการพิมพ์และตกแต่ง การพิจารณาโครงสร้างของกล่องกระดาษแข็งเกี่ยวเนื่องกับคุณสมบัติความแข็งแรงทางกายภาคที่จะช่วยปกป้องรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารในระหว่างการขนส่งและการวางจำหน่าย ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์อาหารหนึ่งๆ ต้องการแช่เย็นหรือแช่แข็ง กระบวนการแปรรูปจำต้องมีการเคลือบกล่องหรือกระดาษด้วยสารทนต่อน้ำและความชื้น เช่น ขี้ผึ้งหรือพลาสติก เป็นต้น กระดาษแข็งที่ใช้ในการแปรรูปเป็นกล่องมีอยู่หลากหลายและมีคุณสมบัติแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้บรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแข็งเลือกใช้กระดาษแข็งที่เหมาะสม ตารางที่ 2.3 ได้แยกเกณฑ์น้ำหนักของผลิตภัณฑ์อาหารและความหนาของกระดาษที่เหมาะสม ความหนามีหน่วยเป็นไมครอน (Microns) มีค่าเท่ากับ 0.001 มิลลิเมตร ดังนั้นกระดาษที่หนา 0.380 มิลลิเมตรก็คือ 380 ไมครอน ตารางที่ 2.3 น้ำหนักของผลิตภัณฑ์อาหารและความหนาของกระดาษแข็งที่เหมาะสม น้ำหนักโดยประมาณ (กรัม) ความหนาของกระดาษแข็ง (มิลลิเมตร) ไม่เกิน 200 กรัม 0.380 มม. ถึง 0.450 มม. 231 - 450 กรัม 0.500 มม. ถึง 0.600 มม. 451 - 900 กรัม 0.700 มม. ถึง 0.800 มม. มากกว่า 900 กรัม 0.900 มม. หรือพิจารณาใช้กระดาษลูกฟูกลอน E นอกเหนือจากความหนาของกระดาษที่มีอิทธิพลต่อความแข็งแรงของกล่องกระดาษแล้ว การจัดเรียงวางแนวเยื่อของกระดาษที่เรียกว่าเกรนของกระดาษที่มีผลต่อความแข็งแรงของกล่องกระดาษแบบท่อ ถ้าเกรนของกระดาษจัดวางผิดทิศจะทำให้กล่องนั้นโป่งพอง (Bulge) ได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเกิดกับผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นผง กล่องกระดาษแบบท่อส่วนใหญ่จะมีแนวเกรนไปตามแนวราบของกล่องเมื่อตั้งกล่องขึ้น ดังแสดงในรูปที่ 2.4 รูปที่ 2.4 การจัดแนวเกรนของกระดาษในแนวตั้งฉากกับเส้นทับของตัวกล่องเพื่อความแข็งแรงของกล่อง การเรียกมิติของกล่องนั้นมักจะเรียกโดยเริ่มจากความยาวตามด้วยความกว้างและความลึกหรือความสูง กล่าวโดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทใดๆ ความยาวและความกว้างของบรรจุภัณฑ์จะเริ่มจากบริเวณที่เปิดก่อน แม้ว่าความลึกหรือความสูงนั้นจะมีมิติมากกว่าความยาวของบริเวณที่เปิดก็ตาม กล่องในรูปที่ 2.5 ความสูงของกล่องอาจมีมิติมากที่สุดของมิติทั้งสาม แต่ความยาวของกล่องจะเริ่มจากมิติที่ยาวที่สุดของบริเวณฝาเปิดของกล่อง ตามด้วยมิติถัดไป คือ ความกว้าง และ มิติสุดท้าย คือ ความสูงหรือความลึกของกล่อง รูปที่ 2.5 ความยาวและความกว้างของกล่องมักวัดจากบริเวณเปิด ในการแปรรูปกล่องกระดาษแข็งแบบท่อ จะมีการทากาวตามแนวความลึกหรือความสูงของกล่องแล้ว ทำการพับตัวกล่องให้แบนราบเพื่อการจัดส่งไปยังผู้ใช้หรือผู้บรรจุ โดยมีวิธีการพับของกล่องดังแสดงในรูปที่ 2.6 การพับนี้มีความสำคัญมากที่รอยพับจะต้องไม่พับให้ตาย (Dead Fold) มิฉะนั้นการบรรจุสินค้าใส่กล่องโดยใช้เครื่องจักรจะไม่สามารถคลี่หรือตั้งกล่องกระดาษขึ้นได้ ทำให้ต้องหยุดเครื่อง เพื่อนำเอากล่องที่ถูกพับตายนั้นออกจากเครื่อง รูปที่ 2.6 เมื่อจัดส่งกล่องที่พับแบนราบ รอยพับของกล่องทั้ง 2 ด้านไม่ควรเป็นขอบที่ทากาวเพราะจะทำให้คลี่กล่องออกมาลำบาก ฝาปิดกล่องที่พบโดยทั่วไปมักจะเป็นฝาแบบสอดลิ้นเข้าไป ดังแสดงในรูปที่ 2.5 หรือฝาติดกาว เช่น กล่องผงซักฟอก เป็นต้น วิวัฒนาการทางด้านแปรรูปกล่องกระดาษแข็งได้มีการออกแบบฝาปิดกล่องแบบใหม่ๆ เช่น ฝาที่ล็อคเองได้ ดังแสดงในรูปที่ 2.7 ซึ่งเป็นฝากล่องที่ค่อนข้างจะได้รับความนิยมสำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักไม่เกิน 200 กรัมและเป็นชิ้น เช่น ขวดพลาสติก หรือ อาหารขบเคี้ยว เป็นต้น ส่วนฝาอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมเมื่อไม่นานมานี้ คือ ฝาแบบลิ้นล็อค ดังแสดงในรูปที่ 2.8 ซึ่งสามารถเก็บรักษาสินค้าไม่ให้หลุดออกจากกล่องได้ และยังสามารถรับน้ำหนักของผลิตภัณฑ์อาหารภายในกล่องได้มากขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการเพิ่มลิ้นล็อคนี้สูงขึ้นไม่มากนัก จึงทำให้เกิดความนิยมอย่างแพร่หลาย รูปที่ 2.7 กล่องที่สามารถล็อค (Lock Bottom) และขึ้นรูปฝากล่องได้เอง (Self-Erecting Cartons) รูปที่ 2.8 กล่องที่มีลิ้นล็อค 2. กล่องกระดาษแข็งแบบถาด นอกจากกล่องกระดาษแบบท่อตามที่ได้กล่าวมาแล้ว กล่องกระดาษแข็งอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก คือ กล่องแบบถาดซึ่งตั้งชื่อตามรูปแบบ กล่องแบบถาดนี้จะมีฐานด้านล่างรองรับอาหารเป็นด้านที่เต็มเรียบไม่มีรอยพับ และด้านข้างของกล่อง 2 ด้านซึ่งเป็นความลึกของถาด ส่วนด้านปลายอีก 2 ข้างที่ติดกับฐานประกบด้วยด้านข้างทั้งสี่ด้านด้วยวิธีทากาวหรือการล็อคเพื่อขึ้นรูปเป็นถาด หรือกล่องกระดาษแข็งแบบถาด กล่องแบบนี้สามารถแยกประเภทการใช้งานได้ 2 ประการ คือ - แบบที่พับได้ (Collapsible) และสามารถขึ้นรูปใช้งานได้ทันที เนื่องจากบริเวณลิ้นข้างกล่องมีการทากาวแล้วจากโรงงานผลิตกล่องกระดาษแข็ง ตัวอย่างเช่น กล่องในรูปที่ 2.9 - แบบที่ต้องพับสอดลิ้นกล่องก่อนจะขึ้นรูปเพื่อใช้งาน ตัวอย่างเช่น กล่องในรูปที่ 2.10 และ 2.11 (ก) ถาดกระดาษแบบสี่มุมพับได้ (Four Corner Collapsible Trays) ถาดกระดาษแบบนี้สามารถพับให้แบนราบได้เพื่อความประหยัดในการจัดส่ง นอกจากนี้ยังสามารถออกแบบให้ฝาปิดได้ ดังแสดงไว้ในรูปที่ 2.9 กล่องแบบนี้นิยมใช้ตามร้านค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ต เนื่องจากสามารถขึ้นรูปได้สะดวกเมื่อทำการบรรจุ รูปที่ 2.9 ถาดแบบสี่มุมพร้อมฝาและมีรอยพับทำให้กล่องพับแบนราบได้ (ข) ถาดกระดาษแบบขึ้นรูป ถาดกระดาษแบบขึ้นรูปมีหลายรูปแบบขึ้นกับความคิดริเริ่มของนักออกแบบ ถาดที่นิยมใช้มีอยู่ 3 รูปแบบ ดังแสดงไว้ในรูปที่ 2.10 และรูปที่ 2.11 ถาดในรูป 2.10 ด้านบนถาดแบบนี้เป็นถาดที่มีราคาถูกเนื่องจากออกแบบอย่างง่ายๆ และมีความแข็งแรงระดับหนึ่งจากการล็อคมุม ส่วนถาดอีกประเภทหนึ่งใช้วิธีพับด้านกว้างของถาดกลับเข้ามาในถาด (Pinch Lock) และมีปลายยื่นจากขอบนอกสุดเพื่อล็อคลงไปในช่องของพื้นด้านในถาดให้แน่น ถาดประเภทนี้จะมีความแข็งแรงมากขึ้นกว่าถาดแบบแรกและมีราคาสูงข้นเล็กน้อย ส่วนถาดแบบสุดท้ายในรูปที่ 2.11 เป็นถาดที่สร้างเป็นกรอบขึ้นมาทั้ง 4 ด้านเป็นถาดที่แข็งแรงมากที่สุดและสามารถเพิ่มคุณค่าของสินค้า ถ้ามีการออกแบบกราฟฟิกที่เหมาะสม รูปที่ 2.10 ถาดแบบขึ้นรูป ทางซ้ายมือด้านบนเป็นแผ่นกระดาษก่อนขึ้นรูปและขวามือเป็นกล่องที่ขึ้นรูปแล้วเป็นถาดที่เสริมมุมให้แข็งแรง ส่วนถาดรูปล่างเป็นการล็อคด้านข้างเพิ่มความแข็งแรงมากขึ้น รูปที่ 2.11 ถาดแบบมีกรอบ เป็นถาดที่ให้ความแข็งแรงและเพิ่มคุณค่าสินค้า ด้านซ้ายเป็นแผ่นกระดาษแผ่เรียบ และรูปขวาเป็นถากที่ขึ้นรูปแล้ว 3. กล่องกระดาษแข็งแบบคงรูป (Rigid Box) ตามที่ได้กล่าวมาแล้วกล่องประเภทนี้ไม่สามารถพับแบนเรียบระหว่างการขนส่ง แต่ยังคงเป็นที่นิยมใช้พอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล่องที่ใช้เป็นของขวัญ เป็นต้น ตัวอย่างกล่องกระดาษแข็งแบบคงรูปที่นิยมใช้ดังแสดงในรูปที่ 2.12 กล่องกระดาษแข็งแบบคงรูปจะมีมุมสี่เหลี่ยมที่พับขอบด้านข้างด้วยกัน กล่องของขวัญส่วนใหญ่จะห่อด้วยกระดาษ ผ้าไหม ผนังหรือกำมะหยี่ เช่น กล่องเครื่องเพชร เป็นต้น รูปที่ 2.12 ตัวอย่างกล่องแบบคงรูป 4. บรรจุภัณฑ์การ์ด (Carded Packing) การใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทนี้จะทำให้สามารถมองเห็นตัวสินค้าได้ง่าย เนื่องจากมักจะแขวน ณ จุดขายต่างๆ สินค้าจะดึงดูดผู้ซื้อด้วยตัวสินค้าเอง ในขณะเดียวกันก็สามารถทำหน้าที่ปกป้องสินค้าจากความเสียหายที่เกิดจากการขนส่งและการปนเปื้อน แผ่นกระดาษด้านหลังตัวสินค้าจะทำหน้าที่ปกป้องสินค้าชิ้นเล็กๆ จากการถูกขโมยหรือหลุดหาย และด้านหลังของแผ่นกระดาษนี้สามารถแสดงรายละเอียด ข้อแนะนำ ฯลฯ ของสินค้าได้ด้วย บรรจุภัณฑ์แบบนี้มี 2 ประเภท คือแบบบลิสเตอร์แพ็ค (Blister Pack) และแบบแนบผิว (Skin Pack) (ก) บรรจุภัณฑ์การ์ดแบบบลิสเตอร์ (Carded Blister Pack) บรรจุภัณฑ์แบบบลิสเตอร์ประกอบด้วยแผ่นกระดาษและแผ่นพลาสติกแข็งที่ขึ้นรูป โดยการให้ความร้อนจนอ่อนตัวแล้วขึ้นรูปตามแม่พิมพ์รูปทรงที่ต้องการ และขอบของพลาสติกขึ้นรูปนี้จะเชื่อมติดกับแผ่นกระดาษแข็งด้วยกาว (Adhesive) ที่ไวต่อความร้อน ดังแสดงไว้ในรูปที่ 2.13 พลาสติกที่นำมาทำบรรจุภัณฑ์บลิสเตอร์ได้แก่ - โพลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) มีลักษณะพิเศษ คือ นำไปใช้งานได้หลากหลาย โดยเฉพาะการใช้บรรจุสินค้าที่เก็บในอุณหภูมิต่ำ - ใช้วัสดุอื่นทดแทนได้โพลีเอสเตอร์ (PET) นิยมนำไปใช้มากขึ้น เนื่องจากมีต้นทุนที่สามารถแข่งขันกับบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่นได้ พร้อมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้มากมายและให้ความสวยงามกว่าเนื่องจากมีลักษณะใสเหมือนแก้วและมีความแวววาวเป็นประกาย - โพลิสไตรีน (PS) มีความใสมาก แต่มีข้อเสีย คือ แตกร้าวง่าย ไม่ทนต่อแรงกระแทก - เซลลูโลส อะซีเตท (Cellulose Acetates, และ Butyrates) ให้คุณสมบัติที่ดีในการขึ้นรูปและความใสที่ดีเยี่ยม แต่ไม่นิยมใช้กันเนื่องจากต้นทุนสูงและสามารถ รูปที่ 2.13 การขึ้นรูปของบรรจุภัณฑ์การ์ดแบบบลิสเตอร์ แผ่นกระดาษที่ใช้กับบรรจุภัณฑ์แบบบลิสเตอร์จะเลือกจากกระดาษที่จะต้องมีความหนาประมาณ 500 ไมครอน (0.500 มิลลิเมตร) จนถึง 800 ไมครอน (0.800 มิลลิเมตร) สำหรับสินค้าที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก บรรจุภัณฑ์การ์ดแบบบลิสเตอร์นี้นิยมใช้กันมากในอุตสาหกรรมยาชนิดแผง เช่น ยาคุมกำเนิด เนื่องจากเวลานำยาออกจากแผง ต้องกดแผ่นพลาสติกข้างบนให้เม็ดยาทะลุแผ่นกระดาษหรือแผ่นอะลูมิเนียม บรรจุภัณฑ์แบบนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บรรจุภัณฑ์กดทะลุ (Press-Through Packaging หรือ PTP) บรรจุภัณฑ์อาหารที่พบมากคือ ไส้กรอก แฮม และยังมีการนำมาใช้บรรจุลูกกวาด เป็นต้น (ข) บรรจุภัณฑ์การ์ดแบบแนบผิว (Skin Pack) บรรจุภัณฑ์แบบนี้ทำได้โดยวางสินค้าลงบนแผ่นกระดาษและแผ่นพลาสติก เมื่อพลาสติกถูกทำให้อ่อนนุ่มด้วยความร้อน ระบบสุญญากาศจะดูดแผ่นพลาสติกแนบติดกับสินค้าและสารเชื่อมที่เคลือบบนกระดาษ ด้วยเหตุนี้บรรจุภัณฑ์ประเภทนี้จึงได้ชื่อว่า บรรจุภัณฑ์แนบผิว พลาสติกจะแนบกับตัวสินค้าและแผ่นกระดาษที่มีสารเชื่อมติดเคลือบอยู่ดังแสดงในรูปที่ 2.14 รูปที่ 2.14 การขึ้นรูปของบรรจุภัณฑ์การ์ดแบบแนบผิว บรรจุภัณฑ์แบบแนบผิวนี้จะประหยัดกว่าแบบบลิสเตอร์ เนื่องจากไม่ต้องการแม่พิมพ์สำหรับขึ้นรูปโดยสินค้าจะแนบติดกับกระดาษ ขั้นตอนการทำงานจึงสั้นกว่าหรือกล่าวในอีกแง่หนึ่งคือผลผลิตได้มากกว่า หีบห่อแบบแนบผิวยังสามารถออกแบบให้สินค้าสามารถแยกชิ้นออกจากกันบนกระดาษ ซึ่งลักษณะดังกล่าวทำให้สามารถบริโภคสินค้าแต่ละชิ้นได้โดยสินค้าที่เหลือไม่ถูกปนเปื้อน ฟิล์มที่ใช้กับบรรจุภัณฑ์แบบแนบผิว จะนิยมใช้พลาสติกโพลิเอทธิลีนหรือไอโอโนเมอร์ ซึ่งพลาสติกแต่ละชนิดมีคุณสมบัติดังนี้ - ไอโอโนเมอร์ มีความใสสูง เหนียว และการคืนตัวสูง - โพลิเอทธิลีน มีราคาถูก แต่ไม่ค่อยใส เกิดรอยถลอกได้ง่าย หรือไม่ทนต่อการเสียดสี อีกทั้งต้องใช้ความร้อนสูงในการผลิต และมีอัตราการหดตัวสูงกว่าฟิล์มชนิดอื่นๆ กระดาษที่ใช้กับบรรจุภัณฑ์แบบแนบผิวต้องมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะไม่เกิดการบิดหรือโค้งงอและชั้นกระดาษจะต้องไม่แยกตัวหลังจากทำการแนบผิวไปแล้ว ความหนาของกระดาษที่ใช้ควรอยู่ประมาณ 450 - 635 ไมครอน การเลือกระหว่างการเคลือบแบบบลิสเตอร์แพ็คและแบบสกินแพ็คนี้ในหลายต่อหลายครั้งเป็นสิ่งยากที่จะตัดสินใจว่าจะเลือกบรรจุภัณฑ์ประเภทไหน โดยปกติแล้ว ถ้าสินค้ามีขนาดเล็ก เมื่อติดอยู่บนแผ่นกระดาษขนาดใหญ่ก็สมควรจะใช้แบบ บลิสเตอร์ มิฉะนั้นจะเปลืองฟิล์มมากถ้าเลือกใช้แบบสกิน ยกเว้นสินค้านั้นมีขนาดใหญ่เกือบเท่าตัวกระดาษ แบบสกินจะคุ้มทุนมากกว่า นอกจากนี้ตัวสินค้าที่เคลื่อนที่ได้ง่าย เช่น ลูกทรงกลมจะเหมาะใช้แบบบลิสเตอร์มากกว่าเพราะขณะที่ทำการบรรจุห่อด้วยสกิน ลูกทรงกลมอาจเคลื่อนย้ายไปตำแหน่งใดๆ ก็ได้ 5. กล่องกระดาษลูกฟูก ตัวแผ่นกระดาษลูกฟูกที่ใช้งานกันทั่วไปประกอบด้วยแผ่นปะหน้า 2 แผ่น และมีลอนกระดาษลูกฟูกอยู่ตรงกลาง กระดาษลูกฟูกแบบนี้มีชื่อสามัญเรียกกันทั่วไปว่า แผ่นลูกฟูก 3 ชั้น หรือ Single Wall กระดาษลูกฟูกที่แข็งแรงเพิ่มขึ้นมาขั้นหนึ่ง คือ แผ่นกระดาษลูกฟูก 5 ชั้น หรือ Double Wall ซึ่งเพิ่มลอนกระดาษลูกฟูกอีกชั้นหนึ่งและแผ่นปะหน้าอีกแผ่นหนึ่ง รายละเอียดโครงสร้างของกระดาษลูกฟูกที่นิยมใช้ทั้ง 2 แบบ แสดงไว้ในรูปที่ 2.15 รูปที่ 2.15 โครงสร้างของกระดาษลูกฟูกแบบ 3 ชั้น (ทางซ้ายมือ) และกระดาษลูกฟูกแบบ 5 ชั้น (ทางขวามือ) ลอนกระดาษลูกฟูกมาตรฐานที่ใช้อยู่มี 5 ประเภท คือ ลอน A,B,C,E และไมโคร (Micro Flute) ตัวอักษร A,B,C และ E นี้ไม่ได้แสดงการเรียงตามคุณสมบัติและขนาด ในความเป็นจริง ลอน A เป็นลอนใหญ่ ลอน B จะเป็นลอนเล็ก และลอน C จะเป็นลอนขนาดกลางระหว่าง A และ B ส่วนลอน E นั้นรู้จักกันในนามของลอนจิ๋ว การเรียกโครงสร้างของลอนกระดาษลูกฟูกจะเรียกตามน้ำหนักของกระดาษ เป็นกรัมต่อตารางเมตรและต่อด้วยประเภทของลอน ยกตัวอย่างเช่น 150/112C/125 หมายความว่ากระดาษลูกฟูกนี้ประกอบด้วย แผ่นกระดาษปะหน้าข้างนอก= 150 กรัมต่อตารางเมตร ลอนลูกฟูก = 112 กรัมต่อตารางเมตร เป็นลอน C แผ่นกระดาษปะหน้าข้างใน= 125 กรัมต่อตารางเมตร ตารางที่ 2.4 มาตรฐานของลอนกระดาษลูกฟูก ชื่อลอน ชื่อไทย จำนวนลอนต่อความยาวเป็นเมตร ความสูงของลอน (มิลลิเมตร) A ใหญ่ 105 - 125 4.5 -4.7 มม. B เล็ก 150 - 185 2.1 - 2.9 มม. C กลาง 120 - 145 3.5 - 3.7 มม. E จิ๋ว 290 - 320 1.1 - 1.2 มม. Micro ไมโคร 400 - 440 0.7 - 0.8 มม. คุณสมบัติของกระดาษลูกฟูกที่พึงระวังเป็นอย่างยิ่ง คือ ความสามารถดูดและคายความชื้นสู่บรรยากาศ แม้กระดาษแข็งที่กล่าวมาแล้วก็คือคุณสมบัติเดียวกันนี้ แต่กระดาษแข็งเป็นกระดาษเพียงชิ้นเดียว และมักจะมีการเคลือบด้านหนึ่งเพื่อการพิมพ์ ดังนั้นอิทธิพลของความชื้นที่มีต่อกระดาษแข็งจึงไม่มากเท่ากระดาษลูกฟูกที่เป็นกระดาษหนาถึง 3 หรือ 5 ชั้น เมื่อกระดาษดูดความชื้นเข้ามาในเยื่อ กระดาษจะขยายตัว และเมื่อคายความชื้นออกสู่บรรยากาศกระดาษจะหดตัวในช่วงความชื้นสัมพัทธ์ 0% - 90% กระดาษสามารถเปลี่ยนมิติหรือความยาวในทิศแนวเครื่องจักร (MD หรือ Machine Direction) ได้มากถึง 0.8% ส่วนในทิศแนวตั้งฉากของแนวกระดาษที่วิ่งออกจากเครื่อง (CD หรือ Cross Machine Direction) จะสามารถแปรเปลี่ยนมิติหรือความกว้างได้สูงถึง 16% (ก) มิติของกล่องกระดาษลูกฟูก ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในการเรียกมิติของกล่องกระดาษแข็ง กล่องกระดาษลูกฟูกยังคงใช้หลักการเดียวกัน ด้วยการเรียกมิติที่ยาวที่สุดของบริเวณที่เปิดเป็นความยาว และด้านถัดมาเป็นความกว้าง และด้านที่เหลือเป็นความสูงหรือความลึก มีสิ่งแตกต่างกัน คือ กล่องลูกฟูกจะวัดมิติภายในของกล่อง ดังแสดงในรูปที่ 2.16 การเลือกใช้กล่องกระดาษลูกฟูก เริ่มต้นจากการเลือกลอนกระดาษลูกฟูกที่ต้องการใช้ ลอนจิ๋วและลอนไมโครนั้นไม่ค่อยจะใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ขนส่ง แต่มักใช้แทนที่กล่องกระดาษแข็งที่บรรจุใส่สินค้าที่มีน้ำหนักหรือต้องการการป้องกันพิเศษ ด้วยเหตุนี้บรรจุภัณฑ์ขนส่งจึงมักใช้ลอน A,B หรือ C และพบว่าลอน B และ C จะนิยมใช้มากที่สุด ส่วนลอน A จะใช้น้อยที่สุดในการทำกล่องลูกฟูก แต่ว่าลอน A จะมีความหนามากกว่าลอนอื่นๆ จึงเหมาะในการทำไส้กล่องและแผ่นรองในกล่อง คุณสมบัติของลอนลูกฟูกในการใช้งานสรุปไว้ในตารางที่ 2.5 รูปที่ 2.16 ขนาดของกล่องลูกฟูกจะวัดมิติภายในโดยเริ่มจากความยาว กว้างและสูง ตารางที่ 2.5 การเปรียบเทียบคุณสมบัติของลอนกระดาษลูกฟูก คุณสมบัติ ลอน A (ใหญ่) ลอน B (เล็ก) ลอน C (กลาง) ลอน E (จิ๋ว) การรับแรงในการเรียง ซ้อน (Compression) คุณภาพในการพิมพ์ คุณภาพในการอัดตัด (Die Cut) ความต้านทานต่อกา ทิ่มทะลุ (Puncture) การใช้งานในการเก็บ คงคลัง การทับเส้น/การพับ การป้องกันการสั่น และกระแทก การดันทะลุ (Flat Crush) ดีมาก เลว เลว ดี ดีมาก เลว ดีมาก เลว พอใช้ ดี ดี พอใช้ ดี ดี พอใช้ ดี ดี พอใช้ พอใช้ ดีมาก พอใช้ พอใช้ ดี พอใช้ เลว ดีมาก ดีมาก เลว เลว ดีมาก เลว พอใช้ (ข) ประเภทของกล่องกระดาษลูกฟูก รูปแบบของกล่องลูกฟูกที่เลือกใช้ อาจแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ - กล่องประเภทดั้งเดิม (Conventional Box) เป็นกล่องที่ผลิตโดยการใช้ลูกกลิ้งในการทับเส้นและเซาะร่องให้เป็นกล่องซึ่งใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำและเป็นที่นิยมมากที่สุด กล่องประเภทนี้ยังแบ่งได้อีกหลายแบบ ดังแสดงไว้ในตารางที่ 2.6 และรูปที่ 2.17 แต่แบบที่นิยมมากที่สุด คือ แบบ 0201 หรือที่รู้จักกันในนาม RSC (Regular Slotted Container) ดังแสดงไว้ในรูปที่ 2.18 กล่องแบบ RSC นี้มีความกว้างของฝาทั้งสี่บนและล่างเท่ากันหมด โดยความกว้างของฝานี้มีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของความกว้างของกล่อง และมีลิ้นทางด้านซ้ายที่เรียกว่า Manufacturing Joint เป็นลิ้นต่อกับอีกด้านเป็นตัวกล่อง ลิ้นนี้อาจใช้กาวติดหรือเย็บตะเข็บลวด กล่องประเภทนี้ถ้ามีอัตราส่วนความยาวต่อความกว้างต่อความสูงของกล่องใกล้เคียงกับอัตราส่วน 2:1:2 มากเท่าไรจะทำให้กล่องใช้พื้นที่ผิวของกระดาษน้อยมากเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าจะมีค่าต้นทุนต่ำที่สุดเนื่องจากใช้พื้นผิวกระดาษน้อยกว่า รูปที่ 2.17 รูปแบบของกล่องแบบดั้งเดิม รูปที่ 2.18 กล่องหมายเลข 0201 หรือที่เรียกกันว่ากล่อง RSC ตารางที่ 2.6 กล่องประเภทดั้งเดิมที่นิยมใช้ ชื่อหมายเลข ชื่อกล่อง 0201 Regular Slotted Container (RSC) 0203 กล่องที่มีฝาใหญ่ปิดมิดชิด (Full Overlap Slotted Container) 0204 กล่องที่มีฝาทุกฝาปิดมิดชิด (All Flaps Meeting Slotted Container) 0312 กล่องฝาสวมครึ่งหนึ่ง (Half Slotted Container) ชุด 04 กล่องพับ (Folder) - กล่องประเภทอัดตัดขึ้นรูป (Die Cut) เป็นกล่องที่ต้องใช้รูปแบบในการอัดขึ้นรูปทีละกล่อง สามารถออกแบบใช้งานได้ตามประสงค์ ตัวอย่างกล่องประเภทนี้ที่คุ้นตา ได้แก่ กล่องบรรจุนมกล่องแบบอิฐจำนวน 12 กล่องโดยมีหูหิ้ว กล่องใส่ลูกไก่ เป็นต้น กล่องประเภทอัดตัดขึ้นรูปยังใช้ในการผลิตกล่องประเภทปิดทากาวบริเวณ Manufacturing Joint ที่เรียกว่ากล่องแบบ Wraparound ซึ่งใช้เครื่องจักรในการบรรจุและทากาวภายในเครื่องเดียวกัน - กล่องประเภทออกแบบพิเศษ กล่องประเภทนี้อาจประกอบด้วยกระดาษหลายๆ ชั้น เพื่อทำการเสริมความแข็งแรงและป้องกันอันตรายต่างๆ จากการขนส่ง ดังแสดงไว้ในรูปที่ 2.19 รูปที่ 2.19 ประเภทของกล่องประเภทอัดตัดขึ้นรูป (2 รูปบน) และกล่องประเภทออกแบบพิเศษ (4 รูปล่าง) <<ย้อนกลับ บรรจุภัณฑ์อาหาร
สมัครสมาชิก

สนับสนุนโดย / Supported By

  • บริษ้ท มาเรล ฟู้ดส์ ซิสเท็ม จำกัด จัดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์การแปรรูปอาหาร เช่น ระบบการชั่งน้ำหนัก, การคัดขนาด, การแบ่ง, การตรวจสอบกระดูก และการประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พร้อมกับบริการ ออกแบบ ติดตั้ง กรรมวิธีการแปรรูปทั้งกระบวนการ สำหรับ ผลิตภัณฑ์ ปลา เนื้อ และ สัตว์ปีก โดยมีวิศวกรบริการและ สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเทพ มาเรล เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกของอุปกรณ์การแปรรูปอาหารที่ทันสมัย​​ครบวงจรทั้งระบบ สำหรับอุตสาหกรรม ปลา กุ้ง เนื้อ และสัตว์ปีก ต่างๆ เครื่องแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก Stork และ Townsend จาก Marel อยู่ในกลุ่มเครื่องที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดในอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ สามารถบริการครบวงจรตั้งแต่ต้นสายการผลิตจนเสร็จเป็นสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกความต้องการของลูกค้า ด้วยสำนักงานและบริษัทสาขามากกว่า 30 ประเทศ และ 100 เครือข่ายตัวแทนและผู้จัดจำหน่ายทั่วโลก ที่พร้อมทำงานเคียงข้างลูกค้าเพื่อขยายขอบเขตผลการแปรรูปอาหาร Marel Food Systems Limited. We are supply weighing, grading, portioning, bone detection and software applications as well as complete turn-key processing solutions for fish, meat and poultry. We have service engineer and office in Bangkok. Marel is the leading global provider of advanced food processing equipment, systems and services to the fish, meat, and poultry industries. Our brands - Marel, Stork Poultry Processing and Townsend Further Processing - are among the most respected in the industry. Together, we offer the convenience of a single source to meet our customers' every need. With offices and subsidiaries in over 30 countries and a global network of 100 agents and distributors, we work side-by-side with our customers to extend the boundaries of food processing performance.
  • We are well known for reliable, easy-to-use coding and marking solutions which have a low total cost of ownership, as well as for our strong customer service ethos. Developing new products and a continuous programme of improving existing coding and marking solutions also remain central to Linx's strategy. Coding and marking machines from Linx Printing Technologies Ltd provide a comprehensive solution for date and batch coding of products and packaging across manufacturing industries via a global network of distributors. In the industrial inkjet printer arena, our reputation is second to none. Our continuous ink jet printers, laser coders, outer case coders and thermal transfer overprinters are used on production lines in many manufacturing sectors, including the food, beverage, pharmaceutical, cosmetics, automotive and electronic industries, where product identification codes, batch numbers, use by dates and barcodes are needed. PTasia, THAILAND With more than 3,700 coding, marking, barcode, label applicator, filling, packing and sealing systems installed in THAILAND market. Our range is includes systems across a wide range of technologies. To select the most appropriate technology to suit our customers. An excellent customer service reputation, together with a reputation for reliability that sets standards in the industry, rounds off the PTAsia offering and provides customers with efficient and economical solutions of the high quality. Satisfyingcustomers inTHAILAND for 10 years Our 1,313 customers benefit from our many years of experience in the field, with our successful business model of continuous improvement. Our technical and service associates specialise in providing individual advice and finding the most efficient and practical solution to every requirment. PTAsia extends its expertise to customers in the food, beverage, chemical, personal care, pharmaceutical, medical device, electronics, aerospace, military, automotive, and other industrial markets.
  • วิสัยทัศน์ของบริษัท คือ การอยู่ในระดับแนวหน้า "ฟอร์ฟร้อนท์" ของเทคโนโลยีประเภทต่างๆ และนำเทคโนโลยีนั้นๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิตในประเทศไทย เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า บริษัท ฟอร์ฟร้อนท์ ฟู้ดเทค จำกัด เชื่อมั่นและยึดมั่นในอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจ กล่าวคือ จำหน่าย สินค้าและให้บริการที่มีคุณภาพสูง ซึ่งเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ด้วยความซื่อสัตย์และความตรงต่อเวลา เพื่อการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จร่วมกันระยะยาว Our vision is to be in the "forefront" of technology in its field and suitably apply the technology to industries and production in Thailand for customers' utmost benefits. Forefront Foodtech Co., Ltd. strongly believes in and is committed to our own business philosophy which is to supply high quality products and service appropriately to each customer's requirements with honesty and punctuality in order to maintain long term win-win business relationship. Forefront Foodtech Co., Ltd. is the agent company that supplies machinery and system, install and provide after sales service as well as spare parts. Our products are: Nock, made in Germany: manufacturer of skinning machines, membrane skinning machine, slicers and scale ice makers. Frey, made in Germany: manufacturer of vacuum stuffers and chain linking system. Kronen, made in Germany: manufacturer of washing, centrifuges and cutting machinery for vegetable and fruits. Bandall, made in Netherlands: manufacturer of banding machine. Emerson, made in Romania: smoke chamber. G.Mondini, made in Italy: manufacturer of top seal, skin pack, paper seal, slimfresh and slicefresh for ready meal, meat, petfood and etc. Dorit, made in Germany: manufacturer of tumblers and injectors. Cliptechnik, made in Germany: manufacturer of single and double clippers for table top use and standalone clipping machines. Firex, made in Italy: manufacturer of food-processing equipment for kitchen and commercial equipment. Orved, made in Italy: manufacturer of vacuum packing machine. Carsoe, made in Denmark: designs and produces products for the seafood and food processing industry Gernal, made in Belgium: manufacturer of food-processing equipment for industrial Mado, made in Germany: manufacturer of meat-processing industry