News and Articles

บรรจุภัณฑ์ผักและผลไม้สดเพื่อการส่งออก(ตอนที่ 3)

บรรจุภัณฑ์ผักและผลไม้สดเพื่อการส่งออก(ตอนที่ 3)


หมวดหมู่: รวมบทความบรรจุภัณฑ์อาหาร [บรรจุภัณฑ์อาหาร]
วันที่: 26 มกราคม พ.ศ. 2554

ก) กล่องกระดาษลูกฟูกขนาด 60 x 40 ซม. ในยุโรปมักนิยมใช้ขนส่งผลไม้จำพวกองุ่น กล้วย มะเขือเทศ และผักกาดหอม (Lettuce) เป็นต้น ส่วนรูปแบบของกล่องมักจะนิยมแบบกล่องสวม (Telescopic) ซึ่งอาจจะเป็นแบบสวมฝาหรือกล่องสวมทั้งใบ (Full telescopic)

ข) กล่องกระดาษลูกฟูกขนาด 60 x 40 ซม. กล่องกระดาษลูกฟูกขนาดนี้นับเป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่งของกล่องแบบแรก (Halved ISO Module) นับได้ว่าเป็นขนาดกล่องที่นิยมใช้มากสำหรับผลไม้ที่มีขนาดเล็กในตารางที่ 4.4.2 ได้รวบรวมกล่องขนาด 40 x 30 ซม. ที่ใช้ขนส่งผลไม้ประเภทต่างๆในแถบประเทศยุโรป

ค) กล่องกระดาษลูกฟูก 30 x 20 ซม. ขนาดของกล่องนับเป็นเศษหนึ่งส่วนสีของกล่องแบบใหญ่ที่สุดมีปริมาณการใช้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากมีต้นทุนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับสินค้าปริมาณนิดเดียวที่ใช้ขนส่งต่อหน่วยบรรจุผลไม้ที่ยังคงใช้บรรจุในกล่องขนาดนี้มักจะเป็นผลไม้ที่มีมูลค่าสูง ตัวอย่างเช่น ลิ้นจี่ เป็นต้น

นอกจากกล่องกระดาษลูกฟูกที่มักจะใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง กระแสรณรงค์ให้รักษาสิ่งแวดล้อมได้เริ่มหันมาใช้บรรจุภัณฑ์ขนส่งที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้ (RTC _ Round Trip Carrier) ดังแสดงไว้ในรูปที่ 4.4.5 บรรจุภัณฑ์ขนส่งแบบ RTC ที่นิยมใช้จะเป็นถาดพลาสติกที่สามารถใช้ซ้ำได้ถึง 10 - 15 เที่ยว หลังจากการขนส่งจะสามารถพับด้านข้างทั้ง 4 ด้านลงทำให้สามารถลดปริมาตรในการส่งกลับได้มากถึง 80%

2) ถาดหรือลังพลาสติก กระแสสังคมที่เรียกร้องให้ใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นมาเรื่อย ชื่อของบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้นอกจาก RTC (Round Trip Carrier) ที่นิยมใช้ในประเทศแถบยุโรปแล้ว ทางประเทศสหรัฐอเมริกาก็มีการรณรงค์ให้ใช้บรรจุภัณฑ์ ที่นำกลับมาใช้ใหม่ด้วยเหมือนกัน ทางประเทศสหรัฐอเมริกาใช้ชื่อรวมว่า RPC (Reusable Pallet Carrier) สำหรับบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่นั้นต่างพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกเหมือนกัน เนื่องจากใช้งานได้สะดวกและคงทน

ลักษณะการใช้งานของถาดหรือลังพลาสติกในประเทศที่พัฒนาแล้วมักเป็นการใช้งานแบบร่วมกัน (Pool System) เริ่มต้นจากสวนผลไม้ เช่าถาดหรือลังจากศูนย์รวบรวมถาดในท้องถิ่นมาใช้งานเพื่อขนส่งผลไม้ไปยังผู้ค้าปลีก หลังจากจัดจำหน่ายแล้วผู้ค้าปลีกจะรวบรวมถาดส่งคืนให้แก่ศูนย์รวบรวมถาด ณ จุดหมายปลายทางเพื่อทำการล้าง ซ่อมแล้วเก็บคงคลังเพื่อให้ผู้ประกอบการรายอื่นเช่าต่อไป หรืออาจส่งไปยังศูนย์เก็บรวบรวมในสาขาอื่นๆ ที่มีผู้ต้องการเช่าใช้ สืบเนื่องจากความสามารถที่พับได้ของถาดหรือลังพลาสติกทำให้ได้ขยายขอบข่ายการใช้งานแบบร่วมกันนี้ไปยังการขนส่งระหว่างทวีป เช่น มีการจัดส่งผลไม้บรรจุใน RTC จากประเทศบราซิลไปยังผู้ค้าปลีกในกลุ่มประเทศอียู เป็นต้น

4.4 หน่วยขนส่ง (Unit Load)

การขนส่งสินค้าผักผลไม้บนกระบะเพื่อใช้เป็นหน่วยขนส่งมีบทบาทสำคัญมากในการลดโอกาสที่ผักผลไม้บอบช้ำเสียหายในระหว่างการขนส่ง ขนาดของกระบะที่นิยมใช้มากที่สุดสำหรับการขนส่งผลไม้ระหว่างประเทศคือ กระบะขนาด 1200 x 1000 มม. ซึ่งเป็นขนาดที่รับรองโดย ISO และอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระบะใช้ขนส่งทางทะเล (Sea Pallet)

ข้อดีของกระบะขนาดดังกล่าวมีดังนี้

  • สามารถจัดเรียงบรรจุภัณฑ์บนกระบะได้ง่ายและประหยัด
  • สามารถจัดเรียงแบบซ้อนในแนวเดียวกัน (Column Stacking) หรือจัดเรียงวางแบบไขว้กัน (Interlock Stacking)
  • มีพื้นที่รองรับบนผิวได้มากพอ ส่วนความสูงของการเรียงซ้อนแนะนำให้อย่าเรียงซ้อนเกินกว่า 2 เมตร

วิธีการเรียงซ้อนของบรรจุภัณฑ์แนะนำให้เรียงซ้อนเป็นแถวตรงในแนวดิ่ง (Column Stacking) แม้ว่าการเรียงซ้อนแบบนี้จะมีโอกาสที่กล่องจะตกหล่นลงมาหรือล้มได้ง่ายกว่าการเรียงซ้อนแบบไขว้ แต่จะสามารถรับแรงกดจากการเรียงซ้อนได้ดีกว่า การทำให้บรรจุภัณฑ์ขนส่งบนกระบะมีความมั่นคง ในกรณีที่ต้องการปกป้องเป็นพิเศษ แนะนำให้ใช้กระดาษแข็งเข้ามุม (Corner Pad) ยึดมุมทั้งสี่ของหน่วยขนส่งแล้วรัดในแนวราบด้วยสายคาดพลาสติกหรือโลหะ (Straps)

ในอุตสาหกรรมอื่นๆ การจัดส่งสินค้าของหน่วยขนส่งมักจะนิยมใช้วิธีการรัดสินค้าโดยฟิล์มพลาสติกยืด (Stretch Film) หรือฟิล์มหด (Shrink Film) สำหรับสินค้าผักผลไม้ไม่แนะนำให้ใช้ฟิล์มดังกล่าว เนื่องจากฟิล์มที่รัดจะบดบังการถ่ายเทอากาศระหว่างการขนส่งทำให้มีโอกาสเน่าเสียได้ง่ายหรือเร็วขึ้น

5. การพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์

รายละเอียดที่พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์จะช่วยให้การไหลเวียนของสินค้าได้ถูกต้องและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้สิ่งที่ตีพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ยังช่วยทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ผลไม้ที่บรรจุอยู่ภายในอีกด้วย รายละเอียดที่พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ควรอ่านได้ชัดเจน (Clear) สื่อความหมายได้ตามต้องการ (Informative) และดูแล้วสบายตา (Friendly Appearance)

ผักผลไม้ที่ส่งไปยังประเทศในแถบยุโรป ควรมีข้อมูลอย่างน้อยที่สุดประกอบด้วยรายละเอียดต่อไปนี้

  • ชื่อและที่อยู่ของผู้ปลูกหรือผู้บรรจุหรือผู้จัดส่ง
  • คุณลักษณะของผักผลไม้
  • ประเภทหรือสายพันธุ์ของผักผลไม้
  • ตราสินค้า (ถ้ามี)
  • ระดับคุณภาพหรือเกรด
  • ขนาด
  • น้ำหนักและจำนวนที่บรรจุ

สัญลักษณ์ (Marks) ที่พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ขนส่งแบ่งได้ 3 แบบ คือ

  • 1) สัญลักษณ์สำหรับการขนส่ง (Shipping Marks) เป็นรายละเอียดที่พิมพ์เพื่อให้มีการจัดส่งอย่างถูกต้อง

สัญลักษณ์ประเภทนี้ประกอบด้วยตราและชื่อย่อของผู้ซื้อสินค้า หมายเลขที่ตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย อาจเป็นหมายเลขของใบสั่งซื้อหรือสัญญาซื้อขาย เป็นต้น จุดหมายปลายทางที่ส่งสินค้า พร้อมทั้งหมายเลขประจำตัวบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดที่จัดส่ง

สัญลักษณ์สำหรับการขนส่งมักพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์อย่างน้อยที่สุด 2 ด้าน ดังแสดงไว้ในรูปที่ 4.4.7 โดยพิมพ์อยู่ตรงกลางของแต่ละด้าน

  • 2) สัญลักษณ์ที่เกี่ยงข้องกับรายละเอียดสินค้า ได้แก่ สายพันธุ์ ระดับคุณภาพ ขนาด ปริมาณ และน้ำหนัก
  • 3) สัญลักษณ์สำหรับการข้นย้าย (Handling Marks) เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นภาพ (Pictorial Form) ได้รับการ

ยอมรับกันทั่วโลก สัญลักษณ์ภาพนี้จะช่วยทำให้ขนย้ายบรรจุภัณฑ์ทำได้อย่างถูกต้อง บริษัทประกันหลายแห่งจะไม่ยอมชดใช้ความสูญเสียที่เกิดจากการขนย้าย ถ้าไม่ได้พิมพ์สัญลักษณ์ภาพเหล่านี้บนบรรจุภัณฑ์ขนส่ง

สัญลักษณ์สำหรับการขนย้ายที่คุ้นเคยบางสัญลักษณ์แสดงอยู่ในรูปที่ 5.1

ตำแหน่งการพิมพ์ของสัญลักษณ์ทั้ง 3 แบบ แบ่งเป็น

ส่วนที่ 1 เป็นรายละเอียดของผู้รับมีขนาดตัวอักษรประมาณ 2 นิ้ว บริเวณบรรทัดสุดท้ายของส่วนนี้ได้แจ้งหมายเลขบรรจุภัณฑ์ต่อด้วยจำนวนบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด

ส่วนที่ 2 เป็นรายละเอียดของผู้จัดส่ง ใช้ตัวอักษรขนาดเล็กกว่าส่วนที่ 1

ส่วนที่ 3 เป็นบริเวณที่ใช้พิมพ์สัญลักษณ์สำหรับการขนย้าย

6. มาตรฐานของ สมอ. ที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์

รายละเอียดของมาตรฐานต่างๆที่พิมพ์เผยแพร่โดย สมอ. เป็นแหล่งความรู้อย่างดีที่ใช้เป็นบรรทัดฐานในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ของสมอ. มีดังต่อไปนี้

ลำดับที่

เลขที่ มอก.

รายชื่อ

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

286 - 2521

296 - 2522

321 - 2522

550 - 2528

587 - 2528

588 - 2528

589 - 2528

619 - 2529

685 - เล่ม 2 - 2530

923 - 2533

924 - 2533

925 - 2533

1027 - 2534

1116 - 2535

1136 - 2536

1175 - 2536

1254 - 2537

ศ.5 - 2527

ศ.7 - 2532

การทำภาพเครื่องหมายเพื่อการยกขนพัสดุหรือสินค้า : สัญลักษณ์ทั่วไป

บรรยากาศสำหรับปรับสภาพและทดสอบและอุณหภูมิอ้างอิงที่เป็นมาตรฐาน

กระดาษทำลูกฟูก

กล่องกระดาษลูกฟูก

ขนาดตู้ขนส่งสินค้า

ไม้รองรับสินค้า

ขนาดหีบห่อผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อการขนส่ง

แถบกระดาษกาวย่น

ภาชนะบรรจุและฉลาก

แถบกระดาษกาวในตัว

แถบพลาสติกกาวในตัว : โอเรียนเทคโพลิโพรพิลีน

แผ่นรองรับสินค้า

ถุงพลาสติกสำหรับบรรจุอาหาร

ถุงพลาสติกหิ้วรูปตัวยู

ฟิล์มยืดหุ้มห่ออาหาร

สัญลักษณ์รหัสแท่งสำหรับแสดงข้อมูลสินค้า

ถุงพลาสติกแบบกดปิด

ศัพท์บัญญัติผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมพลาสติก

ศัพท์บัญญัติผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกาว

7. บทสรุป

ผักและผลไม้กลายมาเป็นสินค้าส่งออกเป้าหมายของรัฐบาลนายกทักษิณ ทาง WTO ของสหประชาชาติได้ตีพิมพ์บทความ "Export Product Profile Fresh Fruit and Vegetable" ช่วยส่งเสริมให้ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายใช้เป็นแนวทางในการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออก ซึ่งบทความนี้ได้เป็นเอกสารหลักในการเรียบเรียงเป็นบทความภาษาไทย ตอนท้ายของบทได้แนบรายละเอียดมาตรฐานของ สมอ. ที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ เพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์

กลับสู่เมนูหลัก



ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
บรรจุภัณฑ์ผักและผลไม้สดเพื่อการส่งออก(ตอนที่ 2)
3.1 การขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางอากาศเป็นระบบการขนส่งที่นิยมมากที่สุดในการจัดส่งผักผลไม้สด เนื่องจากความรวดเร็วในการขนส่ง รวมทั้งความสามารถในการกำหนดเวลาที่แน่นอนในการขนส่งให้ถึงมือผู้บริโภค ทำให้สามารถตระเตรียมผักผลไม้ให้สุกพอดีเมื่อถึงมือผู้บริโภคมีผลให้สินค้าขายได้ราคาดี การขนส่งทางอากาศจะมีจุดด้อยตรงที่มีค่าระหว่างการขนส่งสูงและจำกัดปริมาณในการขนส่งแต่ละเที่ยว ที่มา http://www.multifruitusa.com/html/transportation.html ตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้จัดส่งสินค้าทางอากาศที่นิยมใช้มีอยู่ 2 แบบ คือแบบ LD 3 และแบบ LD 7 ดังแสดงในรูป ตู้คอนเทนเนอร์ทั้ง 2 แบบ ล้วนสามารถจัดเก็บไว้ในชั้นล่าง (Lower Deck) ของเครื่องบินพาณิชย์ทั่วไป (747, DC10, A300, A310 และ B737 3F) ตู้คอนเทนเนอร์ทั้ง 2 แบบดังกล่าวมักจะใช้กระบะ (Pallet) เพื่อรองสินค้าให้เคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว กระบะที่ใช้ล้วนมีความยาวที่เท่ากัน 3.4 ซม. แต่ความกว้างมีให้เลือก 3 ขนาด คือ 139 210 และ 230 ซม. ส่วนความสูงของสินค้าที่จัดเรียงไม่ควรสูงเกิน 160 ซม. น้ำหนักที่เรียงบนกระบะแต่ละขนาดมีกำหนดไว้ดังแสดงในตาราง 3.1 ตารางที่ 3.1 ขนาดของกระบะและน้ำหนักที่รองรับสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ LD7 และ LD3 ขนาดกระบะ (ซม.) ความสูง (ซม.) น้ำหนักที่รองรับ (กก.) 139 x 304 210 x 304 230 x 304 160 160 160 3060 6700 6700 สำหรับเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ เช่น เครื่องจัมโบ้ (Jumbo) จะใช้ตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ขึ้นยาว 10 ฟุต หรือ 20 ฟุต พร้อมทั้งใช้กระบะขนาด 230 x 592 ซม. และสามารถรองรับสินค้าได้มากถึง 10800 กิโลกรัม 3.2 การขนส่งทางเรือ ผู้ประกอบการที่เลือกใช้วิธีการขนส่งทางเรือจะเป็นแบบสุดขั้ว กล่าวคือ ถ้าไม่เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่จริงๆ ก็จะเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กไปเลย สำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กสามารถกันจัดส่งเป็น คอนเทนเนอร์ที่รวมสินค้าผักผลไม้สดหลายประเภทภายในตู้แช่เย็นเดียวกัน สำหรับผู้ประกอบการขนาดใหญ่การเลือกใช้วิธีการขนส่งจะช่วยประหยัดค่าขนส่งได้มากเมื่อขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมากกว่า 1000 ตันต่อครั้ง ผักและผลไม้ที่นิยมขนส่งทางเรือมักเป็นผลไม้ที่มีมูลค่าต่ำ เช่น ผลไม้จำพวกกล้วยและส้ม เป็นต้น ตู้คอนเทนเนอร์มาตรฐานที่นิยมใช้กับการขนส่งทางทะเลมี 2 ขนาด คือ ขนาด 20 ฟุต และ 40 ฟุต ดังแสดงในรูป พร้อมทั้งมีระบบให้ความเย็นตลอดระยะเวลาการเดินทางที่อุณหภูมิในช่วง -25 ̊C ถึง +25̊C ขนาดความจุของตู้คอนเทนเนอร์แปรผันตามขนาดของกระบะที่ใช้ สำหรับตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต ที่ใช้กระบะขนาดมาตรฐานของยุโรปนั้นจะสามารถเรียงกระบะได้ 23 กระบะ คำนวณเปอร์เซ็นต์การใช้พื้นที่ได้ 80% ตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ขนส่งทางทะเลมีความสะดวกในแง่ที่สามารถขนถ่ายสินค้าต่อได้ทันที ไม่ว่าจะใช้หัวรถลากตู้คอนเทนเนอร์ไปตามเส้นทางทางบกหรือการขนส่งทางรถไฟ ทำให้ช่วยลดการสูญเสียระหว่างการขนส่ง ลดเวลาในการถ่ายสินค้า ส่งผลให้สินค้าผักผลไม้สดที่ได้รับ ณ ปลายทางอยู่ในสภาพที่ดี 4. บรรจุภัณฑ์ ผักผลไม้สดเป็นสินค้าที่ยังมีชีวิตอยู่และหายใจตลอดเวลาจนกว่าจะถูกบริโภค อายุขัยของผักผลไม้สามารถยืดขยายให้ยาวนานขึ้นด้วยการควบคุมกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ (Physical) ทางสรีระวิทยา (Physiological) และทางโรควิทยา (Pathological) บรรจุภัณฑ์ที่เลือกใช้เริ่มปฏิบัติหน้าที่ปกป้องผักผลไม้สดจากจุดต้นกำเนิดสินค้าตลอดระยะทางระหว่างการขนส่ง จนกระทั่งถึงจุดขายและได้รับการเปิดบรรจุภัณฑ์เพื่อบริโภค หลังการบริโภคแล้วบรรจุภัณฑ์ที่ยังไม่สามารถปลดเกษียณได้ เพราะบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ยังต้องมีคุณสมบัติที่ถูกทำลายได้ง่ายโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินเหตุ รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดมลภาวะตามที่ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ให้ความสำคัญในเรื่องมลภาวะนี้มากขึ้นเรื่อยๆ 4.1 บรรจุภัณฑ์ชั้นใน บรรจุภัณฑ์ชั้นในเป็นบรรจุภัณฑ์ชั้นที่อยู่ติดกันหรือสัมผัสกับผักผลไม้แต่ละหน่วย แม้ว่าบรรจุภัณฑ์ชั้นนี้จะมีโอกาสปกป้องสินค้าได้จากอันตรายทางกายภาพแต่มีผลทำให้ต้นทุนสูงขึ้นโดยใช่เหตุเมื่อเปรียบเทียบกับระดับการป้องกันสินค้าที่เอื้ออำนวยให้ ดังนั้น หน้าที่ปกป้องอันตรายทางกายภาพของบรรจุภัณฑ์มักจะไปเน้นที่บรรจุภัณฑ์ขนส่ง นอกจากนี้วัสดุชั้นในบางประเภทยังทำหน้าที่เป็นฉนวนต่อระบบการให้ความเย็นอีกด้วย ทำให้ผักผลไม้ไม่ได้รับความเย็นเท่าที่ควร ด้วยเหตุนี้บรรจุภัณฑ์ชั้นในนี้จึงได้รับความนิยมน้อยส่วนมากจะใช้กับผลไม้ที่ราคาแพงและเสียหายได้ง่าย เช่น องุ่นไร้เม็ดขนาดยักษ์ เป็นต้น ความจำเป็นที่ต้องมีบรรจุภัณฑ์ชั้นใน จะแปรผันตามความแข็งแรงของเปลือกหรือผิวของผลไม้ ในตารางที่ 4.1 ได้แสดงถึงความคงทนต่ออันตรายทางกายภาพของผลไม้ ซึ่งประกอบด้วยความคงทนต่อแรงกด (Compression) ความคงทนต่อการกระแทก (Impact) และความคงทนต่อการสั่นสะเทือน (Vibration) ส่วนคุณสมบัติของผลไม้ที่มีความคงทนต่ออันตรายทางกายภาพสามารถแยกเป็น 3 ระดับ คือ 1) ระดับทนได้ดีหรือ "ท" (Resistant) 2) ระดับทนได้ปานกลางหรือ "ก" (Intermediate) 3) ระดับอ่อนแอหรือ "อ" (Susceptible) ตารางที่ 4.1 ความคงทนของผลไม้ที่มีต่ออันตรายทางกายภาพ ประเภทของผลไม้ ประเภทของอันตรายทางกายภาพ แรงกด กระแทก สั่นสะเทือน แอปเปิ้ล อ อ ก แอปปริคอต ก ก อ กล้วย (ดิบ) ก ก อ กล้วย (สุก) อ อ อ แตงหวาน (Cantaloupe) อ ก ก องุ่น ท ก อ ลูกท้อ ก ก อ ลูกพีช (Peach) อ อ อ ลูกแพร์ (Pear) ท ก อ ลูกพลัม (Plum) ท ท อ สตรอเบอร์รี่ อ ก ท มะเขือเทศ (สีเขียว) อ ก ก มะเขือเทศ (สีส้ม) อ อ ก แหล่งที่มา : R.Gillou "Orderly Development of Produce Containers" Proceedings Fruit and Vegetable Perishable Handling Conference UC Davis, 23-5 March 1964 4.2 บรรจุภัณฑ์หน่วยขาย บรรจุภัณฑ์หน่วยขาย "Unit Packaging" เป็นศัพท์ที่ใช้ค่อนข้างเฉพาะกับวงการผักผลไม้ ในขณะที่สินค้าประเภทอื่นที่มีการรวมกลุ่มเพื่อเป็นหน่วยขายปลีก อาจเรียกเป็นชื่ออื่น เช่น บรรจุภัณฑ์หน่วยขายปลีก (Retail Pack) หรือ บรรจุภัณฑ์ห่อรวมกลุ่มไว้ล่วงหน้า (Prepackaging) เป็นต้น การขายผลไม้ในอดีตมักจะเรียงเป็นกองแล้วให้บริโภคมีโอกาสเลือกผลที่ถูกใจด้วยจำนวนตามต้องการ ในระบบช่องทางการจัดจำหน่ายในปัจจุบันจะนิยมใช้บรรจุภัณฑ์หน่วยขายเพื่อลดโอกาสที่ผักผลไม้จะกระทบกระแทกระหว่างการถูกคัดเลือกหรือลดโอกาสตกลงสู่พื้น ณ จุดขาย ด้วยเหตุนี้ในระบบการขายแบบช่วยตัวเอง (Self - Service) จึงเริ่มทำการบรรจุผลไม้เป็นหน่วยขาย เพื่อลดโอกาสการเลือกให้น้อยลงและเพิ่มโอกาสที่จะขายผลไม้ได้หมดโดยไม่มีผลเน่าเสียเหลือทิ้งไว้จากการคัดเลือก พร้อมทั้งลดค่าใช้จ่ายของพนักงานในการชั่งและปิดราคาผลไม้ที่ผู้ซื้อคัดเลือกเอง รูปแบบของบรรจุภัณฑ์หน่วยขายที่นิยมใช้แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ 1) ถุงพลาสติก เป็นบรรจุภัณฑ์หน่วยขายที่นิยมที่สุดส่วนใหญ่จะเป็นถุงโพลิเอทิลีน (Polyethylene) เพราะมีราคาต่อหน่วยความแข็งแรง (Cost to Strength Ratio) ดีกว่าพลาสติกชนิดอื่นๆ แม้ว่าเนื้อถุงจะขุ่นเล็กน้อยก็ตาม การปิดถุงอาจจะเป็นการปิดผนึกด้วยความร้อน (Heat Seal) หรือใช้ลวดหมุนรัด (Tying Wires) เป็นต้น สาเหตุที่ถุงได้รับความนิยมเพราะมีราคาถูก ใช้งานได้ง่าย เวลาบรรจุผลไม้ที่มีอัตราการหายใจสูง อาจมีการเจาะรูบนผิวเพื่อเปิดช่องให้ถ่ายเทอากาศได้สะดวกขึ้น นอกจากพลาสติกที่ทำเป็นแผ่นยังมีการนำเอาเน็ตพลาสติกมาขึ้นรูปเป็นถุง (Net Bag) ซึ่งระบายอากาศได้อย่างดีและนิยมใช้บรรจุสินค้าจำพวกส้ม มันเทศ หอมหัวใหญ่ เป็นต้น net bag 2) ถาด บรรจุภัณฑ์หน่วยขายที่นิยมรองจากถุง วัสดุที่ผลิตเป็นถาดอาจเป็นโฟมหรือถาดพลาสติกใสที่ผลิตจากพลาสติกจำพวก PS (Polystyrene) ในบางประเทศที่มีกระแสรักษ์สิ่งแวดล้อม จะนิยมใช้ถาดที่ขึ้นรูปจากเยื่อกระดาษ (Moulded Pulp) โดยปกติถาดต่างๆที่ใช้จะทำหน้าที่รองรับสินค้าทำให้การรวมกลุ่มสินค้าได้อย่างแน่นหนา ส่วนบนของบรรจุภัณฑ์จะห่อหุ้มด้วยฟิล์มพลาสติกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนและต้องมีคุณสมบัติที่ใสพร้อมทั้งรัดได้แน่นพอสมควรเพื่อป้องกันการกระแทกของผลไม้ซึ่งกันและกันภายในถาด ฟิล์มที่ใช้ห่อรัดนี้นิยมใช้อยู่ 2 แบบ คือ ฟิล์มหดและฟิล์มยืด ส่วนใหญ่จะผลิตจากฟิล์ม LDPE และ PVC โดยที่ LDPE มีการยืดตัวหรือหดรัดได้แน่นกว่า แต่ความใสจะสู้ฟิล์มที่ผลิตจาก PVC ไม่ได้ คุณสมบัติของฟิล์มพลาสติกที่นิยมใช้ในวงการผักผลไม้รวบรวมอยู่ในภาคผนวกที่ 2 สำหรับบรรจุภัณฑ์หน่วยขายที่ปิดบรรจุภัณฑ์สนิทแน่น (Hermetic) ได้นำเอาเทคโนโลยีการปรับสภาวะบรรยากาศ (MAP - Modified Atmosphere Packaging) มาใช้ในการยืดอายุของผักผลไม้สด เมื่อเก็บผักผลไม้ในสภาวะที่มีปริมาณออกซิเจน 3% จะช่วยลดอัตราการหายใจลงได้ ดังนั้นบรรจุภัณฑ์หน่วยขายที่ปิดสนิทสามารถปรับแต่งบรรยากาศภายในที่เหมาะสมด้วยการปรับสัดส่วนของ CO2 และ O2 ภายในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท 3) ปลอก (Sleeve) มีรูปลักษณะคล้ายปลอกหมอนข้างหรือรูปทรงเป็นท่อยาวรัดห่อหุ้มผลไม้ไว้ภายใน รูปแบบบรรจุภัณฑ์แบบนี้พบได้น้อยในเมืองไทย ที่พอมีใช้อยู่บ้าง คือ ถุงเน็ตที่ใช้บรรจุส้ม นอกเหนือจากการใช้เน็ตแล้วยังสามารถใช้ฟิล์มหดและตาข่ายที่ผลิตจากโฟม จำนวนผลไม้ที่บรรจุภายในปลอกอาจจะบรรจุผลเดี่ยว เช่น พวกแตงหวาน (Cantaloupe) หรือกล้วยเป็นหวี เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วจะบรรจุผลไม้มากกว่า 2 ผลขึ้นไป เพื่อลดต้นทุนและก่อให้เกิดความสะดวกในการบริโภค เนื่องจากเมื่อมีการเปิดบรรจุภัณฑ์เพื่อบริโภคแล้วผลที่เหลืออยู่ในบรรจุภัณฑ์จะยังคงรูปร่างในปลอกเหมือนเดิม ในกรณีที่มีผลไม้ผลใดผลหนึ่งเน่าเสียจะลามไปยังผลข้างเคียง 2 ผลเท่านั้นแทนที่จะลามไปยังผลอื่นๆ ทั้งหมดภายในบรรจุภัณฑ์ ดังเช่น บรรจุภัณฑ์ถุงและบรรจุภัณฑ์ถาดดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้การบรรจุภัณฑ์แบบปลอกเรียงเป็นแถวเดียวยังช่วยประหยัดพื้นที่ในการเรียงภายในบรรจุภัณฑ์ขนส่งเมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์หน่วยขายที่เป็นถุงและถาด 4.3 บรรจุภัณฑ์ขนส่ง บรรจุภัณฑ์ขนส่งใดๆ ที่ใช้เป็นพาหนะในการนำสินค้าต้องสามารถทนต่อสภาวะการขนส่งที่มีอันตราย ในแง่ของความสามารถรับแรงกดในแนวดิ่งจำต้องทนต่อการเรียงซ้อนของบรรจุภัณฑ์ขนส่งได้สูงถึง 2.5 เมตร นอกจากนี้การขนส่งผักผลไม้ที่มีการหายใจอยู่ตลอด บรรจุภัณฑ์ขนส่งจำต้องเจาะรูหรือช่องช่วยระบบอากาศและความเย็นได้เป็นอย่างดี ในช่องทางการจัดจำหน่ายผักผลไม้สดโดยส่วยใหญ่บรรจุภัณฑ์ขนส่งที่ใช้มักจะนำไปจัดเรียงวาง ณ จุดขายทำให้บรรจุภัณฑ์ขนส่งทำหน้าที่เป็นบรรจุภัณฑ์บริโภคอีกโสดหนึ่ง ด้วยเหตุนี้บรรจุภัณฑ์ขนส่งที่ทำหน้าที่เป็นบรรจุภัณฑ์ ณ จุดขายจึงถูกำหนดเป็นมิติที่เข้าชุดด้วยกัน (Rationalise) และบรรจุภัณฑ์ขนส่งขนาดเดียวกันมักใช้กับผักผลไม้มากประเภทที่สุดที่จะมากได้เพื่อความสะดวกในการจัดส่งและลดเปอร์เซ็นต์ของความเสียหายด้วยการเรียงซ้อนเป็นแนวตรง (Column Stacking) ทาง ISO 3394 แนะนำมิติของบรรจุภัณฑ์ที่มีมิติเป็นหน่วยประกอบกันเป็นสัดส่วนหรือโมดุล (Module) เริ่มต้นจากมิติที่ใหญ่ที่สุดขนาด 60 x 40 ซม. บรรจุภัณฑ์ที่มีมิติเล็กลงเป็นหน่วยประกอบหรือโมดุลมีอีก 2 ขนาด คือ ขนาดสัดส่วนครึ่งหนึ่ง 40 x 30 ซม. และขนาดสัดส่วนเศษหนึ่งส่วนสี่เหลี่ยม 30 x 20 ซม. ดังแสดงไว้ในรูป จากการออกแบบบรรจุภัณฑ์ขนส่งเป็นโมดุลเมื่อจัดเรียงบรรจุภัณฑ์ 3 ขนาดดังกล่าว ลงบนกระบะที่นิยมใช้ในธุรกิจการขนส่งระหว่างประเทศ อันประกอบด้วยกระบะตามมาตรฐานของยุโรป (Euro pallet) ที่มีขนาด 120 x 100 ซม. พบว่าสามารถใช้พื้นที่เต็มกระบะได้ 100 เปอร์เซ็นต์เต็มดังแสดงไว้ในรูป รูปการจัดเรียงบรรจุภัณฑ์ที่กำหนดโดย ISO บนกระบะที่นิยมใช้ โดยบรรจุภัณฑ์ที่ใช้มีขนาด 60 x 40 ซม. และ 40 x 30 ซม.
บรรจุภัณฑ์ผักและผลไม้สดเพื่อการส่งออก(ตอนที่ 1)
บรรจุภัณฑ์ผักและผลไม้สดเพื่อการส่งออก (ตอนที่ 1) 1. บทนำ พืชผักและผลไม้เป็นอาหารที่มีความสำคัญต่อการบริโภคของมนุษย์ เนื่องจากพืชผักและผลไม้มีคุณค่าด้านโภชนาการ นอกจากเป็นแหล่งของวิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ด้วยตัวเองแล้ว ผักและผลไม้ยังเป็นอาหารที่มีเยื่อ (Fiber) ช่วยในการขับถ่าย ปริมาณน้ำที่แฝงอยู่ภายในผักและผลไม้หลายชนิดทำให้ผู้บริโภครู้สึกสดชื่นจากความกรอบ หอม หวาน เมื่อรับประทานสด ในโลกนี้มีผักผลไม้หลากหลายประเภท โดยอาจแบ่งตามพฤกษศาสตร์ ตามปริมาณน้ำที่อยู่ในผักผลไม้ ตามองค์ประกอบ ตามแหล่งที่ปลูก ตามประโยชน์ ตามลักษณะที่นำมาประกอบอาหารหรือแปรรูป เป็นต้น ในแง่ของการศึกษาบรรจุภัณฑ์เพื่อปกป้องและรักษาคุณภาพของผักและผลไม้ จะแบ่งประเภทของผักผลไม้ตามอัตราการหายใจ (Respiration Intensity) เพื่อพยายามรักษาคุณภาพของผักและผลไม้เพื่อยืดอายุให้สดพอดี ในขณะที่นำมารับประทาน ในประเทศไทยมูลค่าโดยรวมของพืชผักผลไม้ที่ปลูกเมื่อเทียบกับผลผลิตทางการเกษตรโดยรวม (Agricultural Commodities) คิดเป็นเปอร์เซ็นประมาณ 20% จัดอยู่ในอันดับ 2 ของผลผลิตทางการเกษตร โดยเป็นรองเพียงแต่ข้าวที่มีสัดส่วนมูลค่าคิดได้ประมาณ 30% ของผลผลิตทางการเกษตรโดยรวม2 แต่ถ้ามองจากการส่งออกสินค้าจำนวนพวกผลไม้มีปริมาณการส่งออกสูงในช่วงปี พ.ศ. 2541 - 2543 มีอัตราเฉลี่ต่อปีเพิ่มสูงถึง 30% และประเมินว่าในปีนี้จะมีมูลค่าการส่งออกของผลไม้สูงถึง 9 พันล้านบาท สำหรับผักผลไม้สดยังมีการส่งออกน้อยกว่า แม้ว่าจะมีผลผลิตโดยรวมในปี พ.ศ.2538 - 2539 เกือบ 5 ล้านบาทต่อปี3 ในกรณีที่ต้องการส่งเสริมการส่งออกของผักสดจำต้องรณรงค์การปลูกผักที่ปลอดสารพิษ พร้อมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม รวมทั้งปรับปรุงระบบบรรจุภัณฑ์ให้ดีขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า 2. คำจำกัดความและคุณลักษณะ ผักผลไม้สดที่ค้าขายกันในเวทีการค้าระหว่างประเทศสามารถแบ่งทั้งผักและผลไม้ออกเป็น 2 ประเภทเหมือนกัน คือ 1) ผักสามารถแบ่งประเภทเป็น - ผักสดเมืองหนาว (Temperate) เช่น มะเขือเทศ และมันเทศ เป็นต้น - ผักเมืองร้อน (Tropical & Subtropical) เช่น มันสำปะหลัง และผักบุ้ง เป็นต้น 2) ผลไม้ แบ่งได้เป็น - ผลไม้เมืองหนาว (Temperate fruit) เช่น แอปเปิ้ล และองุ่น เป็นต้น - ผลไม้เมืองร้อน (Tropical fruit& Subtropical fruit) ได้แก่ กล้วย สับปะรด และมะม่วง เป็นต้น ผักและผลไม้ที่จำแนกเป็นประเภทเมืองร้องนี้ไม่สามารถปลูกในประเทศที่หนาวเย็นในแถบยุโรปและอเมริกาเหนือ จึงจำเป็นต้องนำเข้าจากประเทศที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร สืบเนื่องจากระยะทางที่เดินทางไกล ความสำเร็จในการส่งออกนอกเหนือจากการใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวแล้ว บรรจุภัณฑ์ยังมีบทบาทมากต่อการยืดความสดของผักผลไม้ด้วยการควบคุมบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์ให้ปริมาณของออกซิเจนต่ำ นอกจากนี้ความจำเป็นที่ต้องขนส่งภายใต้สภาวะการเก็บที่เย็นจะช่วยลดอัตราการหายใจของสินค้าสดเหล่านี้ ดังแสดงในตาราง 2.1 ตารางที่ 2.1 อัตราการหายใจของผักผลไม้บางประเภทภายใต้สภาวะบรรยากาศและภายใต้สภาวะออกซิเจน 3% ประเภทของผักและผลไม้ เปรียบเทียบอัตราการหายใจ ที่ 10 ̊C ในบรรยากาศ อัตราการหายใจในบรรยากาศ เกิด CO2 (ml/kg/hr) ในสภาวะ O2 3% 0 ̊C 10 ̊C 20 ̊C 0 ̊C 10 ̊C 20 ̊C หัวหอม (Onion) ต่ำ < 10 2 4 5 1 2 2 ผักกะหล่ำ (Cabbage) 2 4 11 1 3 6 หัวผักกาดหวาน (Beet) 2 6 11 3 4 6 ผักขึ้นฉ่ายฝรั่ง (Celery) 4 6 19 3 5 12 แตงกวา (Cucumber) 3 7 8 3 4 6 มะเขือเทศ (Tomato) 3 8 17 2 3 7 พริกตุ้ม / ยักษ์ (Pepper) ปานกลาง 10 - 20 4 11 20 5 7 9 หัวผักกาดแดง (Carrot) - 12 26 - - - มันฝรั่ง (Potato) - 14 33 - - - มะม่วง (Mango) - 15 61 - - - ผักกาดหอม (Lettuce) 8 17 42 8 13 25 ดอกกะหล่ำ (Cauliflower) สูง 40 -60 10 24 71 7 24 34 กะหล่ำปลีบรัสเซล (Brussel Sprouts) 9 27 51 7 19 40 สตรอเบอร์รี่ (Strawberry) 8 28 72 6 24 49 ผลเบอร์รี่ดำ (Blackberry) 11 33 88 8 27 71 หน่อไม้ฝรั่ง (Asparagus) 14 34 72 13 24 42 ผักขม (Spinach) สูงมาก 40 - 60 25 43 85 26 46 77 วอเตอร์เครส (Watercress) 9 43 117 5 38 95 ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) 16 48 119 14 32 68 ราสเบอร์รี่ (Raspberry) 12 49 113 11 30 73 เห็ด (Mushrooms) สูงพิเศษ > 60 - 67 191 - - - ถั่วในฝัก (Peas in Pod) 20 69 144 15 45 90 บรอคโคลี่ (Broccoli) 39 91 240 33 61 121 3. การขนส่งผักผลไม้สด เมื่อผู้บริโภคในโลกนี้มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นและพยายามแสวงหาอาหารใหม่ๆที่มีรสชาติและคุณประโยชน์มารับประทาน ตัวอย่างเช่น ผลไม้ที่ไม่เคยบริโภคในอดีตและเริ่มได้รับความนิยมในหมู่คนไทย เช่น แก้วมังกร ผลกีวี เป็นต้น ความต้องการของผักผลไม้สดเหล่านี้ส่งผลให้การขนส่งผักผลไม้สดไปยังประเทศที่ห่างไกลเพิ่มมากขึ้นเรื่อย และไม่แปลกเลยที่ค่าขนส่งมีมูลค่ามากกว่าตัวสินค้าผักผลไม้สด ด้วยเหตุนี้การกำหนดมาตรฐานต่างๆ (Standardization) มีความจำเป็นมากขึ้น เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายการขนส่งและลดโอกาสที่สินค้าจะเสียหายระหว่างการขนส่ง สำหรับผู้ส่งออกมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าใจถึงลักษณะและวิธีการขนส่ง รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ ขนาดบรรจุ รูปแบบบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ครอบคลุมไปถึงกฎข้อบังคับที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ขั้นตอนการเดินทางในการจัดส่งสินค้าผักผลไม้สดแบ่งเป็นขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1) จัดเตรียมสินค้าบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ ณ ประเทศกำเนิด (Country of Origin) 2) จัดส่งสินค้าไปยังสถานที่ที่ใช้ส่งออก ซึ่งอาจเป็นสถานบินหรือท่าเรือ 3) ทำการขนส่งไปยังประเทศจุดหมายปลายทาง 4) ดำเนินการพิธีทางศุลกากรและขนถ่ายสินค้าออกจากท่า 5) เคลื่อนย้ายสินค้าไปเก็บในคลังสินค้าพร้อมที่จะส่งต่อไปให้ผู้ค้าส่ง 6) จัดส่งสินค้าไปยังผู้ค้าปลีกในประเทศที่พัฒนาแล้ว สินค้าปลีกส่วนใหญ่ 60 - 90% จะเป็นร้านค้าแบบช่วยตัวเอง (Shelf - Service) กลับสู่เมนูหลัก
กฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 1
กฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์นับวันมีบทบาทมากยิ่งขึ้น เนื่องจากความตื่นตัวของผู้บริโภคและกระแสโลกานุวัตรกระตุ้นให้รัฐต้องออกกฎหมายมาควบคุม ในบทนี้จะได้บรรยายกฎหมายและข้อบังคับที่มีความสำคัญต่อวงการบรรจุภัณฑ์ พร้อมทั้งแหล่งที่จะค้นคว้ารายละเอียดข้อมูลเหล่านี้ 9.1 กฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ 9.1.1 พระราชบัญญัติ มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466 พ.ร.บ. ฉบับนี้ร่างขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้บริโภคสินค้าตามปริมาณที่กำหนด ซึ่งจะได้ผลดีเพียงใดอยู่กับความร่วมมือของผู้ประกอบการในการดูแลเอาใจใส่ในการบรรจุสินค้าของตัวเองให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยครอบคลุมสินค้าที่ผลิตและจัดจำหน่ายภายในประเทศ และยังรวมถึงสินค้าหีบห่อที่นำเข้ามาหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร ดังนั้น อุปกรณ์หรือเครื่องจักรใดๆ ที่ใช้ในการชั่ง ตวงวัด จะต้องได้ใบรับรอง ส่วนหน่วยที่แสดงปริมาณของสินค้าตามมาตราชั่งตวงวัด ควรใช้ระบบเมตริกและตัวเลขที่ใช้สามารถใช้ตัวเลขอารบิคหรือตัวเลขไทยได้ ขนาดของตัวเลขและตัวอักษรที่ต้องใช้ไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร นอกจากนี้ในประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับล่าสุดคือ ฉบับที่ 13 ปี พ.ศ. 2539 ได้กำหนดให้สินค้าบางประเภทบรรจุตามปริมาณที่กำหนด ผลิตภัณฑ์อาหารที่กำหนดให้บรรจุตามปริมาณที่กำหนดระบุอยู่ในท้ายประกาศดังกล่าวประกอบด้วย อาหารปรุงแต่ง เครื่องดื่มและน้ำส้มสายชู โดยมีรายละเอียดดังนี้ - น้ำปลาขนาดบรรจุเป็นมิลลิลิตร (มล.) มีขนาด 100 , 200 , 300 , 530 , 700 , 750 ส่วนขนาดบรรจุต่ำกว่า 100 มล. และสูงกว่า 750 มล. ไม่กำหนดขนาดบรรจุ - น้ำซีอิ๊วขนาดบรรจุเป็นมิลลิลิตร (มล.) มีขนาด 100 , 200 , 250 , 300 , 500 , 530 , 620 ขนาดต่ำกว่า 100 มล. และขนาดสูงกว่า 620 มล. ไม่กำหนดขนาดบรรจุ - น้ำซอส ขนาดบรรจุเป็นมิลลิลิตร (มล.) มีขนาด 100 , 150 , 200 , 300 , 600 , 700 ขนาดต่ำกว่า 100 มล. และขนาดต่ำกว่า 700 มล. ไม่กำหนดขนาดบรรจุ - น้ำส้มสายชู ขนาดบรรจุเป็นมิลลิลิตร (มล.) มีขนาด 100 , 200 , 300 , 530 , 700 , 750 ขนาดต่ำกว่า 100 มล. และขนาดสูงกว่า 750 มล. ไม่กำหนดขนาดบรรจุ 9.1.2 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 สาระสำคัญในพระราชบัญญัติฉบับนี้สามารถแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การขึ้นทะเบียนตำรับอาหารและฉลากอาหาร (1) การขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าซึ่งอาหารควบคุมเฉพาะ ต้องนำอาหารนั้นมาขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหารก่อน เมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนแล้วจึงผลิตหรือนำเข้าเพื่อจำหน่ายได้หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ประเภทอาหารที่ต้องขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1. อาหารควบคุมเฉพาะ มี 39 ประเภท 2. อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานมี 9 ประเภท 3. อาหารที่กำหนดให้เป็นอาหารที่ต้องมีฉลากมี 2 กลุ่มคือ 3.1 กลุ่มอาหารที่ต้องส่งมอบฉลากให้คณะกรรมการอาหารและยา (อย) พิจารณาก่อนนำใช้ 3.2 กลุ่มอาหารที่ไม่ต้องส่งมอบให้คณะกรรมการอาหารและยา (อย) พิจารณา (2) การขอขึ้นทะเบียนฉลากอาหาร อาหารควบคุมเฉพาะที่กำหนดคุณภาพและที่กำหนดให้มีฉลากต้องขึ้นทะเบียนอาหารและขออนุญาตใช้ฉลาก เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงทำการผลิต อาหารที่ต้องขออนุญาตใช้ฉลากมี 4 กลุ่มคือ 1. อาหารควบคุมเฉพาะที่ผลิตจากสถานที่ผลิตที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน คือ มีเครื่องจักรตั้งแต่ 5 แรงม้า หรือ คนงาน 7 คนขึ้นไป ฉลากอาหารที่ใช้ของกลุ่มนี้จะเริ่มต้นด้วยตัวอักษร "ผ" ดังแสดงในรูปที่ 9.1 โดยที่ "นป" หมายถึง น้ำปลา และ "ช" หมายถึงน้ำส้มสายชูซึ่งเป็นอาหารควบคุมเฉพาะใน 39 ประเภท ในกรณีที่ผลิตจากผู้ผลิตในประเทศไม่เข้าข่ายโรงงานอุตสาหกรรมจะใช้อักษรย่อ "ฉผ" หมายถึงฉลากผลิต ดังนั้นบนทะเบียนฉลากอาหารจะกลายเป็น "ฉผนป" และ"ฉผช" ตามลำดับ ส่วนหมายเลขที่ตาม คือ หมายเลขที่และปีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนฉลากอาหารนั้นๆ ส่วนอาหารที่นำเข้าจะใช้อักษร "ส" แทน "ผ" และ "ฉผ" ในปีพ.ศ. 2536 กระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดของแต่ละที่ได้ ดังนั้นจึงเกิดอักษรตัวย่อของจังหวัดนำหน้าอักษรรหัส เช่น การขอขึนทะเบียนฉลากอาหารที่นครปฐม จะมีตัวย่อ นฐ. ระบุไว้ในเครื่องหมาย อย. ด้วยดังแสดงในรูปที่ 9.1 รูปที่ 9.1 ตัวอย่างฉลากพร้อมเครื่องหมาย อย. 2. อาหารที่ถูกกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน 3. อาหารที่ถูกนำเข้าประเทศเพื่อจำหน่ายซึ่งไม่ใช่อาหารควบคุมเฉพาะ 4. อาหารอื่นที่มีการจำหน่ายและรัฐมนตรีออกประกาศกำหนดให้เป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก คือ อาหารประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 และบางส่วนของประเภทที่ 4 ตามที่ประกาศกำหนดต้องมีฉลากที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาซึ่งต้องมีข้อมูลดังนี้ 4.1 เครื่องหมายเลขทะเบียนหรือเลขอนุญาตใช้ฉลากอาหารพร้อมปีที่ให้อนุญาตซึ่งอาจเขียนเต็ม เช่น 2541 หรือเขียนย่อ เช่น 41 ก็ได้ ผู้ที่ได้รับใบสำคัญการใช้ฉลากแล้วให้แสดงเลขที่อนุญาตในฉลากอาหารด้วยตัวอักษรไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตรในกรอบพื้นที่สีขาวโดยสีของกรอบให้ตัดกับสีพื้นของฉลาก 4.2 น้ำหนักสุทธิหรือปริมาณสุทธิ ซึ่งหมายถึงน้ำหนักหรือปริมาตรของอาหารที่ไม่รวมภาชนะบรรจุ ส่วนน้ำหนักอีกประเภทหนึ่งที่ให้แสดงคือ น้ำหนักเนื้ออาหาร (Drained Weight) ซึ่งเป็นน้ำหนักของอาหารที่เป็นเนื้อหรือของแข็งโดยได้กรองส่วนที่เป็นของเหลวแยกออกแล้ว 4.3 ชื่อภาษาไทย กำหนดให้ใช้อักษรสีเดียวกัน ซึ่งอาจมีชื่อได้ 2 ส่วน คือ (ก) ชื่อตามกฎหมายที่กำหนดให้เรียกผลิตภัณฑ์ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (ข) ชื่อทางการค้า (Brand Name) 4.4 ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณ การระบุส่วนประกอบนี้ต้องระบุปริมาณเป็นร้อยละของน้ำหนักและเรียงจากปริมาณมาไปหาน้อย 4.5 การระบุส่วนประกอบหรือวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร ส่วนประกอบของอาหารบางประเภทที่ใช้เติมลงในอาหารอาจเป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดอาการแพ้ในผู้บริโภคบางกลุ่ม ดังนั้น จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องแจ้งชนิดหรือปริมาณของส่วนประกอบหรือวัตถุปรุงแต่งรสอาหารต่างๆ เช่น การใช้ผงชูรส การใช้วัตถุกันเสีย การเจือสี การแต่งรสหรือกลิ่น เป็นต้น 4.6 ระบุวันที่ผลิตหรือวันที่หมดอายุ โดยปกติอาหารที่มีอายุการเก็บยาวนาน เช่น อาหารกระป๋อง มักจะระบุวันที่ผลิต ในทางตรงกันข้าม อาหารที่มีอายุการเก็บสั้น เช่น อาหารนม เป็นต้น จะระบุวันที่หมดอายุหรือวันที่ควรบริโภคก่อน 4.7 ชื่อผู้ผลิต ผู้จำหน่าย หรือผู้นำเข้าพร้อมที่อยู่ 4.8 คำแนะนำในการเก็บรักษาและในการปรุงอาหาร หรือการเตรียมเพื่อบริโภค เช่น อาหารบางจำพวกอาจต้องเก็บในสภาพเย็น หรืออาหารที่ใช้อุ่นในไมโครเวฟจำต้องบอกวิธีการปรุง คำแนะนำสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นมากในการที่ผู้บริโภคจะสามารถบริโภคอาหารที่มีคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการตามที่ได้คาดหวังไว้ 4.9 ข้อควรระวังหรือคำเตือนและวิธีการป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) คำเตือนเหล่านี้พบได้จากอาหารที่ทานแล้วทำให้อยากทานอีกเช่น เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน เป็นต้น 4.10 สัญลักษณ์รหัสแท่ง รายละเอียดเรื่องนี้จะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อที่ 9.4 9.1.3 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ถือได้ว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกของประเทศไทยที่มีการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐบาลเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคโดยตรง เนื่องจากกฎหมายอื่นๆ ที่บัญญัติขึ้นควบคุมผู้ที่ประกอบธุรกิจนั้นเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคทางอ้อม ผู้บริโภคจึงไม่อาจใช้สิทธิในการฟ้องร้องผู้ประกอบธุรกิจต่อศาลอาญาได้ ส่วนการดำเนินทางแพ่งก็เป็นภาระและเสียค่าใช้จ่ายมากทั้งผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่อยู่ในฐานะที่จะดำเนินคดีด้วยตนเอง วิธีการดำเนินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติให้องค์กรของรัฐมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุม การดูแล และประสานการปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เพื่อให้ความคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งเป็นหน่วยงานที่ให้ผู้บริโภคได้ใช้สิทธิร้องเรียนเพื่อขอให้ได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหายเมื่อถูกผู้ประกอบธุรกิจละเมิดสิทธิของผู้บริโภค (1) สิทธิของผู้บริโภค ผู้บริโภคมีสิทธิจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 4 ข้อดังนี้ 1. สิทธิที่ได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ 2. สิทธิที่ตะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าและบริการ โดยปราศจากการผูกขาด 3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ 4. สิทธิที่จะได้รับการชดเชยความเสียหายจากการใช้สินค้าหรือบริการ (2) องค์กรของรัฐตาม พ.ร.บ องค์กรคุ้มครองของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคทั้ง 4 ข้อข้างต้นนี้คือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มีการแบ่งการคุ้มครองผู้บริโภคเป็น 2 ด้านใหญ่ๆ คือ ด้านโฆษณา (มีคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา) และด้านฉลาก (มีคณะกรรมการว่าด้วยเรื่องฉลาก) และต่างก็มีคณะอนุกรรมการย่อยลงไปอีกเพื่อสอดส่องดูแล รับเรื่องร้องงทุกข์พิจารณาความผิดที่เกิดขึ้นทั้งในกรุงเทพและจังหวัดอื่นๆ (3) การคุ้มครองผู้บริโภคด้วยฉลากสินค้า ความหมายของฉลากสินค้าตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มีดังนี้ คือคำว่า ฉลาก ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 กำหนดให้หมายถึงรูป รอยประดิษฐ์ กระดาษหรือสิ่งอื่นใดที่ทำให้ปรากฏข้อความเกี่ยวกับสินค้าซึ่งแสดงไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุหีบห่อบรรจุสินค้า หรือสอดแทรกหรือรวมไว้กับสินค้าหรือภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสินค้า และหมายความรวมถึงเอกสารหรือคู่มือสำหรับใช้ประกอบสินค้าพร้อมทั้งป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุหีบห่อที่บรรจุสินค้านั้น ส่วนสินค้าควบคุมฉลากจากต่างประเทศที่นำเข้ามาขายในประเทศไทย ต้องทำฉลากเป็นข้อความภาษาไทยมีความหมายตรงกับข้อความในภาษาต่างประเทศ โดยระบุชื่อพร้อมสถานที่ประกอบการของผู้ได้รับใบอนุญาตให้นำสินค้าเข้านั้นและต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าตามประกาศที่คณะกรรมการว่าด้วยฉลากกำหนดไว้ในแต่ละประเภทของสินค้า สินค้าที่กำหนดให้เป็นสินค้าควบคุมฉลากมีดังนี้ 1. สินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายหรือจิตใจเนื่องจากการใช้สินค้าหรือโดยสภาพของสินค้านั้น เช่น ภาชนะพลาสติก เต้ารับ-เต้าเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้า หลอดฟลูออเรสเซนต์ เครื่องตัดวงจรไฟฟ้า เป็นต้น 2. สินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้เป็นประจำซึ่งการกำหนดของฉลากสินค้านั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค เพื่อจะได้ทราบข้อเท็จจริงในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้านั้น เช่น สีผสมอาหาร สมุด ปากกาลูกลื่น ภาชนะกระดาษที่ใช้กับอาหาร กระดาษเช็ดหน้า กระดาษชำระ เป็นต้น 3. สินค้าที่ยังไม่มีกฎหมายอื่นใดมาควบคุม 9.1.4 พระราชบัญญัติมาตรฐานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือที่รู้จักกันในนามของ "สมอ" เป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยได้รับการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 จึงนับได้ว่า สมอ. เป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ โดยที่หน้าที่หลัก คือ การกำหนมาตรฐานผลิตอุตสาหกรรม (มอก.) การรับรองระบบคุณภาพและรับรองความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบ นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่เป็นสื่อกลางกับองค์กรที่เกี่ยวข้องทั่วทั้งโลก เช่น องค์การค้าระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (International Organization for Standardization) หรือที่รู้จักกันแพร่หลายว่า ISO องค์การโลก (World Trade Organization หรือ WTO) และองค์กรอื่นๆ การจัดหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีอยู่มากมายนั้น ทางสมอ. มีระบบการจัดหมวดหมู่เป็นไปตามที่ ISO ได้พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า International Classification for Standards หรือเรียกย่อว่า ICS และประกาศใช้ในปีแรก พ.ศ. 2535 โดยแยกหมวดหมู่สาขาวิชาออกเป็น 40 สาขาแต่หมายเลขไม่ได้เรียงกัน โดยมีสาขาการบรรจุหีบห่อและการแจกจ่ายสินค้าอยู่ที่สาขา 55 ส่วนเทคโนโลยีอาหารอยู่ในสาขาที่ 67 (1) ความหมายของมาตรฐานอุตสาหกรรม มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคือ ข้อกำหนดทิศทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ประกอบธุรกิจในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมแก่การใช้งานมากที่สุด เครื่องหมายมาตรฐานเหล่านี้จะเป็นหลักฐานทางราชการและเป็นเครื่องพิสูจน์หรือบ่งชี้ว่า สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทำขึ้นได้ตามมาตรฐาน เครื่องหมายมาตรฐานจะช่วยเพิ่มความเชื่อถือในสินค้าและธุรกิจ ข้อสำคัญที่สุดก็คือ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่กำหนดในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นจะอยู่ในระดับที่เหมาะสมเป็นที่ยอมรับ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สม่ำเสมอได้ตลอด สำนักงานมาตรฐานผลิตอุตสาหกรรมดำเนินการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ประกอบธุรกิจให้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน อันเป็นการเพิ่มความเชื่อถือในคุณภาพของสินค้าไทยทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ และเพื่อประหยัดทรัพยากร พร้อมทั้งลดต้นทุนการผลิต (2) วัตถุประสงค์ของการมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สามารถจำแนกได้ดังนี้ 1. เพื่อสร้างความเชื่อถือผลิตภัณฑ์ที่ทำในประเทศด้วยการปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น 2. เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการซื้อขาย ขจัดปัญหาและอุปสรรคทางการค้าต่างๆ 3. เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตแลทรัพย์สินของประชาชน 4. เพื่อให้เกิดการประหยัดทรัพยากรและค่าใช้จ่ายในการใช้งานและผลิต 5. เพื่อเป็นสื่อเชื่อมโยงในอุตสาหกรรมต่อเนื่องและประสานกันได้พอดี เมื่อผู้ประกอบธุรกิจรายใดที่ต้องการแสดงเครื่องหมายมาตรฐานหรือเครื่องหมายรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาต เมื่อสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตรวจสอบโรงงานและผลิตภัณฑ์แล้วว่าสามารถทำได้ตามมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ จะอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานที่ผลิตได้ตามรูปที่ 9.2 ซึ่งมี 2 แบบดังนี้ 1. เครื่องหมายมาตรฐาน เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ทั่วไป เช่น เครื่องอุปโภคบริโภค เป็นต้น 2. เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ ผลิตภัณฑ์ใดที่กำหนดไว้ว่าเป็นมาตรฐานบังคับ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายจะต้องผลิตนำเข้า และจำหน่ายเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามมาตรฐานเท่านั้น โดยเครื่องหมายมาตรฐานบังคับแสดง เช่น ผงซักฟอก ถังก๊าซปิโตรเลียม บัลลาสต์สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เป็นต้น รูปที่ 9.2 เครื่องหมายมาตรฐานทั้ง 2 แบบ <<กลับสู่หน้าหลัก อ่านต่อกฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2>>
บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่ 5
7.5.2 ความเป็นมาและกฎหมายเกี่ยวกับฉลากสิ่งแวดล้อมจากนานาประเทศ (1) ประเทศเยอรมัน วิวัฒนาการของฉลากสิ่งแวดล้อม เริ่มต้นจากประเทศในแถบยุโรปโดยมีประเทศเยอรมันเป็นหัวหอกและนับประเทศแรกที่เอาจริงเอาจังในการพัฒนาโครงการฉลากสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ใช้ฉลากที่เรียกว่า นางฟ้าสีฟ้า (Blue Angel) ในการรณรงค์ปกป้องสิ่งแวดล้อมด้วยจุดมุ่งหมาย 3 ประการคือ (ก.) ชี้แนะให้ผู้บริโภคซื้อเฉพาะแต่สินค้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด (ข.) ส่งเสริมให้ผู้ผลิตพัฒนาสินค้าที่รักษาสิ่งแวดล้อม (ค.) รณรงค์ให้ฉลากนางฟ้าสีฟ้าเป็นสัญลักษณ์ในการส่งเสริมการจำหน่าย สิบสี่ปีให้หลังในปี 2535 ปรากฏว่ามีโรงงานเข้าร่วมโครงการนี้ 814 โรงและมีสินค้า 3,325 ชนิดได้รับฉลากนางฟ้าสีฟ้า ในแง่ของผู้บริโภค ปรากฏว่าชาวเยอรมันกว่าร้อยละ 80 ทราบเรื่องฉลาก และเข้าใจหลักการของฉลากมากกว่าร้อยละ 70 ตัวฉลากนางฟ้าสีฟ้า ได้เริ่มจากการใช้คำว่า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Umweltfreundlich (Environment Friendly) มาแก้ไขเป็น ฉลากสิ่งแวดล้อม หรือ Umweltzeichen (Environment Label) ในปี พ.ศ. 2531 เพื่อหลีกเลี่ยงคำโฆษณาต่างๆ ที่มักใช้ประโยคว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รูปที่ 7.7 ฉลากนางฟ้าสีฟ้าในยุคแรก ความนิยมจากนางฟ้าสีฟ้า คงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ได้มีการพัฒนาระบบมหภาคในการจัดเก็บซากบรรจุภัณฑ์กลับมาผลิตใหม่ โดยมีการเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบจากแหล่งขายปลีก แหล่งชุมชน ตามถนนหนทาง โดยมีการพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาผลิตใหม่โดยใช้ชื่อว่าจุดเขียว (Green Point หรือ Der Grune Punkt) ซึ่งในสหรัฐอเมริกาเรียกว่า Green Dot บริษัทที่รับผิดชอบนี้มีชื่อว่า Duales System Deustschland (DSD) จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยสมาคมผลิตเครื่องจักรบรรจุและผู้ประกอบการบรรจุภัณฑ์ พร้อมกับได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลส่วนกลาง ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อจัดการระบบการเก็บกลับซากบรรจุภัณฑ์และนำมาผลิตใหม่ให้เป็นประโยชน์ ปรากฏว่าระบบ DSD นี้ ได้ล้มลุกคลุกคลานในตอนแรกๆ พร้อมทั้งรัฐบาลกลางต้องจัดสรรงบประมาณแผ่นดินถึง 3 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐต่อปีในการสนับสนุนระบบนี้ให้สำเร็จ และในที่สุดระบบนี้ก็ได้รับความสำเร็จชนิดที่ประเทศอื่นๆ ต้องเลียนแบบและนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศของตน (2) กลุ่มสหภาพยุโรป (The European Union - EU) โครงการฉลากสิ่งแวดล้อมของกลุ่มสหภาพยุโรปเริ่มในปี พ.ศ. 2531 ใช้ชื่อว่า European Flower โดยกำหนดไว้ใน Council Regulation (EEC) No. 880/92 ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าและให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้บริโภคถึงผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ฉลากของ EU จะมีระบบตรงข้ามกับฉลากนางฟ้าสีฟ้าที่ว่า ฉลากของ EU จะไม่ใช้เป็นเครื่องหมายแสดงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ EU ตั้งเป้าหมายไว้ว่าผลิตภัณฑ์ในตลาด EU อย่างต่ำร้อยละ 40 ควรได้รับฉลากภายใน 2 - 3 ปี ฉลาก European Flower มิได้มีข้อกำหนดที่เป็นเอกภาพเช่นเดียวกับทุกประเทศ หากแต่เปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกสามารถออกข้อกำหนดที่เข้มงวดกว่าของ EU ไปประยุกต์ใช้ในแต่ละประเทศ (3) ญี่ปุ่น โครงการฉลากสิ่งแวดล้อมในญี่ปุ่นได้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2529 หลังจากใช้เวลา 2 ปีกว่าในการศึกษาและเตรียมการ จึงได้เริ่มรณรงค์อีโค มาร์ค (Eco Mark) ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค และสนับสนุนให้ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยหันมาเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรการในการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า วัตถุประสงค์หลักของ Eco Mark นั้น ต้องการที่จะให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคว่า สินค้านี้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ตราสัญลักษณ์โครงการมีความหมายว่า Friendly to the Earth) เป็นการปกป้องโลกผ่านสองมือของผู้บริโภค แต่ Eco Mark ไม่มีความพยายามที่จะสร้างมาตรฐานใหม่หรือเพื่อปกป้องผู้บริโภคในแง่ของการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือความปลอดภัยซึ่งจะแตกต่างจาก Blue Angel ผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลาก Eco Mark นั้น จะจำหน่ายได้ภายในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น บริษัทต่างชาติที่จำหน่ายสินค้าในญี่ปุ่นก็สามารถขอใช้ฉลาก Eco Mark ได้ เป็นสิ่งที่น่าสังเกตว่าสินค้า Eco Mark ได้รับความนิยมในหมู่คนรุ่นใหม่มากกว่าคนรุ่นเก่า รูปที่ 7.9 ฉลากอีโค มาร์ค (Eco Mark) (4) สหรัฐอเมริกา โครงการฉลากสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกานั้น มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ Federal Trade Commission (FTC) แต่มิได้แสดงบทบาทอย่างจริงจังต่อฉลากสิ่งแวดล้อม (Green Labeling) ปล่อยให้บริษัทเอกชนอีก 2 แห่ง คือ UL (Underwriters Laboratories Inc.) ที่ใช้ฉลาก Green Seal และบริษัท Scientific Certification System Inc. ที่มีชื่อบริษัทในเครือชื่อ Green Cross Certification Company ใช้ฉลาก Green Cross Certificate ต่างแข่งขันกันสร้างการยอมรับจากผู้บริโภคโดยหวังว่า ในอนาคตอันใกล้ FTC จะยอมรับตราของบริษัทใดบริษัทหนึ่งใช้เป็นฉลากสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ทั้งประเทศ 7.5.3 ความเป็นมาของฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย โครงการฉลากสิ่งแวดล้อมของไทย ได้จัดตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD) เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2536 เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้บริโภคหันมาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดในกลุ่มของผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน โครงการฉลากสีเขียวต้องการผลักดันให้ผู้ผลิตคิดหาวิธี หรือขั้นตอนการผลิตที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและก่อให้เกิดมลพิษน้อยลง เพื่อลดมลภาวะโดยรวมที่เกิดจากการขยายตัวของเมืองและจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ฉลากเขียวยังเปรียบเสมือนเป็นรางวัลสำหรับผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมด้วย (1) ฉลากเขียว เป็นฉลากที่ออกให้กับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าซึ่งได้ผ่านการประเมิน และตรวจสอบแล้วว่าได้มาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อม หลักการทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นแนวทางการดำเนินโครงการฉลากเขียวและเป็นพื้นฐานแนวทางนำไปสู่การคัดเลือกกลุ่มสินค้าและการออกข้อกำหนดต่างๆ ได้แก่ (ก) การสนับสนุนให้มีการจัดการทรัพยากร ทั้งทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Renewable Resources) และทรัพยากรที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Nonrenewable Resources) อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (ข) การส่งเสริมให้มีการลดมลภาวะโดยรวมในประเทศโดยเฉพาะมลภาวะทางอากาศ มลภาวะทางน้ำและขยะ (ค) การส่งเสริมให้มีการผลิต การขนส่งและการกำจัดผลิตภัณฑ์ทางเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ (ง) การสนับสนุนให้มีการปกป้องรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ในประเทศ ฉลากเขียวจะเป็นโครงการสมัครใจของผู้ผลิตและผู้จำหน่ายที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์ หลักการโครงการฉลากเขียว ได้มาจากแนวความคิดและความต้องการที่จะให้ประเทศไทยมีการพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development) ยึดในหลักการการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม เป้าหมายของโครงการฉลากสีเขียวมีด้วยกันสามประการคือ 1. ลดมลภาวะโดยรวมในประเทศ 2. ให้ข้อมูลที่เป็นกลางต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย 3. ผลักดันให้ผู้ผลิตนำเทคโนโลยีและวิธีการผลิตที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาใช้ ซึ้งวัตถุประสงค์ข้อนี้จะส่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจแก่ผู้ผลิตเองด้วย หลักการในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ 1. เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่ออุปโภคบริโภคทั่วไปในชีวิตประจำวัน 2. คำนึงถึงผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และคุณประโยชนทางสิ่งแวดล้อมที่ได้รับเมื่อผลิตภัณฑ์นั้นถูกจำหน่ายออกสู่ตลาด 3. วิธีการตรวจสอบที่ไม่ยุ่งยากและไม่เสียค่าใช้จ่ายในการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์สิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนด 4. เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตมีทางเลือกอื่นในการผลิตที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า (2) การสมัครขอใช้ฉลากเขียว การขอใช้ฉลากเขียวเป็นความสมัครของผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย หรือผู้ให้บริการที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกฎหมายบังคับ ผู้ประสงค์จะขอใช้ฉลากเขียว สามารถขอรับเอกสารเพื่อกรอกข้อความได้ที่สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจะตรวจสอบเอกสารและหลักฐาน และจัดทำสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฉลากเขียวในการโฆษณาและติดที่ผลิตภัณฑ์ เมื่อผลิตภัณฑ์ผ่านการตรวจสอบตามข้อกำหนดแล้ว ผู้สมัครจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการใช้ฉลากเขียวและต่อสัญญาใช้ตามอายุที่กำหนด (3) ความสำคัญของฉลากเขียวต่อการค้าระหว่างประเทศ การกำหนดมาตรฐานฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมนับว่าเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งและมีปัญหามากด้วยเช่นกัน เพราะในหลายประเทศได้จัดทำโครงการฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมมานานแล้ว มาตรฐาน ISO ในอนุกรม 14000 ก็ได้กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมด้วย คือ Environmental Labelling วัตถุประสงค์ของการกำหนดมาตรฐานในระดับโลกเพื่อให้มีการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับสภาวะด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ แต่อย่างไรก็ตามแต่ละโครงการก็มีวิธีปฏิบัติในเรื่องนี้แตกต่างกันออกไป และมีการนำไปโฆษณาที่ผิดจากความเป็นจริง โดยอุตสาหกรรมจำนวนมากต่างก็อ้างว่าผลิตภัณฑ์ของตน "เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม" รูปที่ 7.10 ฉลากเขียว ประเทศในกลุ่มตลาดร่วมยุโรป (EC) ได้ออกมาตรการเกี่ยวกับภาระบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วให้ผู้ส่งออกต้องดำเนินการเป็นสองทางเลือก คือ โกยนำกลับประเทศหรือเสียค่าใช้จ่ายให้กับประเทศผู้นำเข้าดำเนินการกำจัดเอง โดยประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ประกาศใช้มาตรการภาระกำจัดมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ สรุปได้ดังนี้ (ก) ผู้ส่งออกต้องรับภาระขนส่งบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วทุกชนิดกลับประเทศ หรือ (ข) ต้องจ่ายเงินค่ากำจัดมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ให้กับประเทศผู้นำเข้าดำเนินการเองตามจำนวนมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ ตามหลักการของกฎหมายบรรจุภัณฑ์ของประชาคมยุโรป (EC Directive on Packaging and Packaging Waste) ส่วนที่เกี่ยวกับระบบมัดจำและเรียกคืนบรรจุภัณฑ์ได้นำเอามาตรการหลีกเลี่ยงมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ (The Ordinance on the Avoidance of Packaging Waste) ที่มีชื่อเสียงของเยอรมันมาเป็นแนวทาง ซึ่งอาจสรุปหลักการของกฎหมายข้างต้นบางส่วนดังนี้ 1. กฎหมายบรรจุภัณฑ์ของประชาคมยุโรป (1) ตั้งเป้าหมายในการเรียกคืนบรรจุภัณฑ์และมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ (2) ตั้งเป้าหมายในการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์และมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ (3) ตั้งข้อกำหนดในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (4) ส่งเสริมระบบการนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ซ้ำ (5) ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ (6) กำกับสัญลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ 2. มาตรการการหลีกเลี่ยงมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ (1) กำหนดคุณลักษณะทั่วไปของบรรจุภัณฑ์ว่าจะต้องผลิตจากวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำหรือรีไซเคิล ต้องออกแบบให้มีขนาดและน้ำหนักน้อยที่สุด พร้อมทั้งสนับสนุนให้ใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดเติม (Refill) (2) กำหนดขอบเขตบังคับของกฎหมายกับผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายรวมทั้งการจำหน่ายสินค้าทางไปรษณีย์ แต่ไม่รวมบรรจุภัณฑ์สำหรับวัตถุอันตรายที่มีกฎหมายเฉพาะ (3) แยกบรรจุภัณฑ์ทั่วไปออกเป็น 3 ประเภทคือ - บรรจุภัณฑ์บริโภคหรือบรรจุภัณฑ์ชั้นแรก (Primary Packaging) - บรรจุภัณฑ์ชั้นนอกหรือบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สอง (Secondary Packaging) - บรรจุภัณฑ์ขนส่ง (Transport Packaging) (4) แยกความหมายของบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มออกต่างหากจากบรรจุภัณฑ์ทั่วไป (5) ให้ความหมายของบรรจุภัณฑ์เรียกคืนเป็นการนำกลับมาใช้ซ้ำ (6) กำหนดหน้าที่ของผู้ผลิตและผู้จำหน่ายต้องรับคืนบรรจุภัณฑ์ขนส่งที่ใช้แล้วเพื่อนำมาใช้ซ้ำหรือรีไซเคิล (7) กำหนดหน้าที่ของผู้จัดจำหน่ายต้องแยกบรรจุภัณฑ์ชั้นนอกออกจากสินค้า หรือต้องจัดให้มีภาชนะรองรับบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม (8) กำหนดหน้าที่ของผู้จัดจำหน่ายต้องรับคืนบรรจุภัณฑ์ชั้นในที่นำมาจำหน่าย โดยจัดภาชนะรองรับ ณ จุดขายหรือจุดที่ใกล้จุดขาย (9) กำหนดหน้าที่ผู้จำหน่ายเครื่องดื่มในบรรจุภัณฑ์ปะเภทใช้แล้วทิ้งต้องเรียกเก็บมัดจำจากผู้ซื้อเป็นรายชิ้น และจะคืนมัดจำให้เมื่อมีการนำบรรจุภัณฑ์มาคืน (10) บรรจุภัณฑ์ซักล้างและทำความสะอาด และบรรจุภัณฑ์สีทาบ้านอยู่ในข่ายที่ต้องเรียกเก็บมัดจำเช่นเดียวกันกับบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม ยกเว้น บรรจุภัณฑ์ชนิดเติม เพื่อสนับสนุนการใช้บรรจุภัณฑ์ซ้ำ (11) มีข้อยกเว้นหน้าที่ของผู้จัดจำหน่ายที่ไม่ประสงค์จะรับคืนบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มของตน โดยกฎหมายให้ทางเลือกในการเข้าร่วมกับระบบซึ่งมีประกันที่เก็บรวบรวมบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วจากผู้บริโภค รัฐจะทำหน้าที่กำหนดเป้าหมายการเรียกคืน และถ้าอัตราการเรียกคืนต่ำกว่าเป้าหมายก็ต้องกลับมาใช้ระบบมัดจำตามเดิม (12) กำหนดมาตรการป้องกันบรรจุภัณฑ์ในเขตที่ได้รับยกเว้นการมัดจำที่มีระบบจัดเก็บโดยเอกชนอยู่แล้วข้ามไปยังเขตที่ใช้ระบบมัดจำและคืนบรรจุภัณฑ์อันจะทำให้การรวบรวมในเขตไม่ได้ปริมาณตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ (13) กฎหมายเปิดให้ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และผู้จัดจำหน่ายทางไปรษณีย์ที่มีหน้าที่ สามารถมอบหมายบุคคลอื่นดำเนินการในหน้าที่ที่กฎหมายกกำหนดแทนได้ หรืออาจใช้เครื่องอัตโนมัติในการรับคืนบรรจุภัณฑ์และคืนเงินมัดจำได้ รูปที่ 7.8 ฉลาก EU <<ย้อนกลับ บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่4อ่านต่อ บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่6 >> <<กลับสู่หน้าหลัก
สมัครสมาชิก

สนับสนุนโดย / Supported By

  • บริษ้ท มาเรล ฟู้ดส์ ซิสเท็ม จำกัด จัดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์การแปรรูปอาหาร เช่น ระบบการชั่งน้ำหนัก, การคัดขนาด, การแบ่ง, การตรวจสอบกระดูก และการประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พร้อมกับบริการ ออกแบบ ติดตั้ง กรรมวิธีการแปรรูปทั้งกระบวนการ สำหรับ ผลิตภัณฑ์ ปลา เนื้อ และ สัตว์ปีก โดยมีวิศวกรบริการและ สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเทพ มาเรล เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกของอุปกรณ์การแปรรูปอาหารที่ทันสมัย​​ครบวงจรทั้งระบบ สำหรับอุตสาหกรรม ปลา กุ้ง เนื้อ และสัตว์ปีก ต่างๆ เครื่องแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก Stork และ Townsend จาก Marel อยู่ในกลุ่มเครื่องที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดในอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ สามารถบริการครบวงจรตั้งแต่ต้นสายการผลิตจนเสร็จเป็นสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกความต้องการของลูกค้า ด้วยสำนักงานและบริษัทสาขามากกว่า 30 ประเทศ และ 100 เครือข่ายตัวแทนและผู้จัดจำหน่ายทั่วโลก ที่พร้อมทำงานเคียงข้างลูกค้าเพื่อขยายขอบเขตผลการแปรรูปอาหาร Marel Food Systems Limited. We are supply weighing, grading, portioning, bone detection and software applications as well as complete turn-key processing solutions for fish, meat and poultry. We have service engineer and office in Bangkok. Marel is the leading global provider of advanced food processing equipment, systems and services to the fish, meat, and poultry industries. Our brands - Marel, Stork Poultry Processing and Townsend Further Processing - are among the most respected in the industry. Together, we offer the convenience of a single source to meet our customers' every need. With offices and subsidiaries in over 30 countries and a global network of 100 agents and distributors, we work side-by-side with our customers to extend the boundaries of food processing performance.
  • We are well known for reliable, easy-to-use coding and marking solutions which have a low total cost of ownership, as well as for our strong customer service ethos. Developing new products and a continuous programme of improving existing coding and marking solutions also remain central to Linx's strategy. Coding and marking machines from Linx Printing Technologies Ltd provide a comprehensive solution for date and batch coding of products and packaging across manufacturing industries via a global network of distributors. In the industrial inkjet printer arena, our reputation is second to none. Our continuous ink jet printers, laser coders, outer case coders and thermal transfer overprinters are used on production lines in many manufacturing sectors, including the food, beverage, pharmaceutical, cosmetics, automotive and electronic industries, where product identification codes, batch numbers, use by dates and barcodes are needed. PTasia, THAILAND With more than 3,700 coding, marking, barcode, label applicator, filling, packing and sealing systems installed in THAILAND market. Our range is includes systems across a wide range of technologies. To select the most appropriate technology to suit our customers. An excellent customer service reputation, together with a reputation for reliability that sets standards in the industry, rounds off the PTAsia offering and provides customers with efficient and economical solutions of the high quality. Satisfyingcustomers inTHAILAND for 10 years Our 1,313 customers benefit from our many years of experience in the field, with our successful business model of continuous improvement. Our technical and service associates specialise in providing individual advice and finding the most efficient and practical solution to every requirment. PTAsia extends its expertise to customers in the food, beverage, chemical, personal care, pharmaceutical, medical device, electronics, aerospace, military, automotive, and other industrial markets.
  • วิสัยทัศน์ของบริษัท คือ การอยู่ในระดับแนวหน้า "ฟอร์ฟร้อนท์" ของเทคโนโลยีประเภทต่างๆ และนำเทคโนโลยีนั้นๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิตในประเทศไทย เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า บริษัท ฟอร์ฟร้อนท์ ฟู้ดเทค จำกัด เชื่อมั่นและยึดมั่นในอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจ กล่าวคือ จำหน่าย สินค้าและให้บริการที่มีคุณภาพสูง ซึ่งเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ด้วยความซื่อสัตย์และความตรงต่อเวลา เพื่อการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จร่วมกันระยะยาว Our vision is to be in the "forefront" of technology in its field and suitably apply the technology to industries and production in Thailand for customers' utmost benefits. Forefront Foodtech Co., Ltd. strongly believes in and is committed to our own business philosophy which is to supply high quality products and service appropriately to each customer's requirements with honesty and punctuality in order to maintain long term win-win business relationship. Forefront Foodtech Co., Ltd. is the agent company that supplies machinery and system, install and provide after sales service as well as spare parts. Our products are: Nock, made in Germany: manufacturer of skinning machines, membrane skinning machine, slicers and scale ice makers. Frey, made in Germany: manufacturer of vacuum stuffers and chain linking system. Kronen, made in Germany: manufacturer of washing, centrifuges and cutting machinery for vegetable and fruits. Bandall, made in Netherlands: manufacturer of banding machine. Emerson, made in Romania: smoke chamber. G.Mondini, made in Italy: manufacturer of top seal, skin pack, paper seal, slimfresh and slicefresh for ready meal, meat, petfood and etc. Dorit, made in Germany: manufacturer of tumblers and injectors. Cliptechnik, made in Germany: manufacturer of single and double clippers for table top use and standalone clipping machines. Firex, made in Italy: manufacturer of food-processing equipment for kitchen and commercial equipment. Orved, made in Italy: manufacturer of vacuum packing machine. Carsoe, made in Denmark: designs and produces products for the seafood and food processing industry Gernal, made in Belgium: manufacturer of food-processing equipment for industrial Mado, made in Germany: manufacturer of meat-processing industry