News and Articles

อุตสาหกรรมอาหาร กับ Green productivity

อุตสาหกรรมอาหาร กับ Green productivity


หมวดหมู่: ข่าวการตลาด [ข่าวในวงการอาหาร]
วันที่: 16 มกราคม พ.ศ. 2555

ก.อุตสาหกรรม เร่งยกระดับโรงงานอาหารทั่วประเทศเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สศอ. จับมือ สถาบันอาหาร ผุดโครงการ Green Productivity ต่อเนื่อง

กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ร่วมกับสถาบันอาหาร จัด"โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตให้อุตสาหกรรมอาหารไทยสู่หลักการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการผลิตและรักษาระบบ Green Productivity เพื่อการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน" ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 หลังบรรจุอยู่ในแผนแม่บท (Productivity) อุตสาหกรรมอาหารของประเทศ หนุนโรงงานที่ต้องการลดต้นทุนการผลิต และมีระบบการบริหารจัดการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ดี เผยมีโรงงานเข้าร่วมแล้ว 90 แห่ง ปี 2554 พร้อมเดินหน้าต่อเป็นปีที่ 4 หวังเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่ภาคการผลิต ทั้งลดต้นทุน ลดใช้ทรัพยากร และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชี้ทุกภาคส่วนต้องช่วยรณรงค์ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมจังหวัดต่างๆ เพราะเป็นโครงการสมัครใจไม่มีกฎหมายบังคับ โดยสถาบันอาหารจะร่วมมือกับกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เตรียมผลักดันโครงการไปยังโรงงานที่เป็นสมาชิกอีกทางหนึ่ง หวังเพิ่มศักยภาพการผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยในระยะยาวและยั่งยืนสู้ตลาดโลก

นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมหลักที่รัฐบาลให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีส่วนช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรมตระหนักถึงสภาวะการแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรงทั้งภายในและต่างประเทศ รวมถึงประเด็นการกีดกันทางการค้าที่ยังคงเป็นปัญหาแก่ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะปีที่ผ่านมามีการแข่งขันอย่างรุนแรงในภูมิภาคเอเชีย อาทิเช่น ประเทศ จีน มาเลเซีย เวียดนาม อินเดีย อินโดนีเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่ผลิตอาหารส่งออกจำนวนที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย Green Productivity เป็นระบบการจัดการที่สำคัญที่จะทำให้ไทยพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารในด้านต่าง ๆ ได้อย่างรุดหน้า และสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกอย่างยั่งยืน ด้วยวิธีเพิ่มมูลค่าสินค้า และลดต้นทุนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และสถาบันอาหาร ตระหนักถึงความสำคัญ และความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการผลักดันให้ผู้ประกอบการอาหารตระหนักและใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อม จึงเร่งดำเนินการให้บริการและช่วยเหลือ รวมทั้งการสนับสนุนในด้านต่างๆให้กับผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายหลักอันสำคัญคือการสร้างความมั่นคงแก่ผู้ประกอบการ ความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค อีกทั้งสร้างความเข้มแข็งและศักยภาพเชิงแข่งขันในตลาดโลก

"นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการจัดทำระบบ Green Productivity ต่อไปโรงงานอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทยซึ่งมีอยู่ประมาณ 50,000 แห่งทั่วประเทศ เช่น โรงงานผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ โรงงานแปรรูปและถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ โรงงานแปรรูปผลไม้และผัก โรงงานผลิตน้ำมันพืชและน้ำมันจากสัตว์และไขมันจากสัตว์ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นม โรงงานผลิตภัณฑ์อบแห้ง โรงงานผลิตน้ำตาล โรงงานผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด และโรงสีข้าว จะได้รับการผลักดันและส่งเสริมจากอุตสาหกรรมจังหวัดนั้น ๆ โดยรณรงค์ให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารใส่ใจ และร่วมมือกันลดต้นทุนการผลิตและปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อสังคม และสิ่งแวดล้อมอันจะเป็นผลดีกับประเทศไทยอย่างยั่งยืน" นายชัยวุฒิ กล่าว

นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า "โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารไทยสู่หลักการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการผลิตและรักษาระบบ Green Productivity เพื่อการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน Best Practice on Green Productivity and Continuous Improving เป็นกิจกรรมความร่วมมือของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันอาหาร ภายใต้แผนแม่บท (Productivity) อุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้รับมอบหมาย เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนการผลิตในโรงงาน ลดการใช้ทรัพยากรโดยเฉพาะการใช้น้ำและพลังงาน ลดปริมาณของสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต การใช้วัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ และมีระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานที่ดี เป็นการลดภาระที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตของโรงงานลดลงและเพิ่มผลกำไรให้กับตัวบริษัทเอง ตลอดจนเป็นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับภาคธุรกิจให้สามารถแข่งขันในตลาดสากลได้ และสร้างความแข่งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมไทยในภาพรวม อีกทั้งบุคลากรมีความรู้ด้านหลักการปฏิบัติที่เป็นเลิศและสามารถนำไปปฏิบัติในองค์กร นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมโรงงานให้นำไปสู่การปรับปรุงโรงงานเข้าสู่มาตรฐาน ISO 14000 และ Carbon Footprint ต่อไป"

ด้านนายเพ็ชร ชินบุตร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวถึงรายละเอียดในการดำเนินโครงการฯ ว่า ในปี 2553 มีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมอาหารที่เข้าร่วมโครงการ Best Practice on Green Productivity กับสถาบันอาหาร รวม 35 โรงงาน โดยมีกลุ่มประเภทอาหารกระป๋อง อาหารแช่เยือกแข็ง (freezing) และแช่เย็น นม น้ำผลไม้พร้อมดื่ม แป้ง ผลิตภัณฑ์อบแห้ง เครื่องปรุงรสและอื่นๆ กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศคือ ภาคเหนือ 6 โรงงาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 โรงงาน ภาคกลาง 13 โรงงาน ภาคตะวันออก 2 โรงงาน ภาคตะวันตก 4 โรงงาน และภาคใต้ 5 โรงงาน ซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่ ตามวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมเพื่อความยั่งยืนในการผลิตของกระทรวงอุตสาหกรรม

ในการดำเนินงานโครงการดังกล่าว สถาบันอาหาร ได้ส่งนักวิชาการเข้าไปดำเนินงานให้คำปรึกษารวมถึงแนะนำให้โรงงานจัดตั้งทีมงาน Green Productivity โดยการคัดเลือกบุคลากรของโรงงาน ที่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับเรื่องสิ่งแวดล้อม และฝ่ายผลิต นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องการนำ Green Productivity มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตให้แก่เจ้าหน้าที่และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จากนั้นทำการสำรวจและเก็บข้อมูลที่ได้จากการผลิตสาเหตุหลักของปัญหาที่โรงงานกำลังประสบ และต้องแก้ไข แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลและแนวทางเพิ่มศักยภาพของโรงงาน เพื่อคัดเลือกแนวทางที่เหมาะสมที่สุดไปปฏิบัติ นอกจากนั้นยังมีการติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อจัดทำแนวทางในการพัฒนาระบบ Green Productivity ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจนเป็นผลสำเร็จ

การดำเนินโครงการในปี 2553 พบว่า 35 โรงงาน ที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ทุกโรงงาน อาทิเช่นการลดการสูญเสียไอน้ำในระบบ การดึงน้ำกลับมาใช้ใหม่ การพัฒนาระบบ Bio Gas มาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งพบว่ามีการเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นและมีมูลค่าในการลดต้นทุนการผลิตทั้งโครงการมวลรวมถึง 50 ล้านบาท และสามารถลดปริมาณการเกิดก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 6,000 ตันต่อปี ผลสืบเนื่องที่ตามมาอย่างยั่งยืนคือการที่โรงงานที่เข้าร่วมโครงการมีแผนและระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน เช่น การทำระบบ ISO 14000 การจัดการด้านพลังงาน การทำ Carbon footprint หรือ Carbon label เพื่อเพิ่มขีดความสามารถได้อย่างมีแบบแผน

"เนื่องจากการนำระบบการจัดการด้าน Green productivity มาประยุกต์ใช้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ได้ผลผลิตมากขึ้นในขณะที่ต้นทุนลดลง ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารในระดับสากล ซึ่งการนำ Green productivity มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารจะเป็นการสร้างความยั่งยืนของกระบวนการผลิตต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะพัฒนา Green Productivity ให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน ผู้บริหารของโรงงานอุตสาหกรรมอาหารจะต้องมีความมุ่งมั่น ตระหนักถึงความสำคัญและมีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดความสำเร็จตามผลที่คาดหวัง

การที่จะก้าวขึ้นไปสู่ศักยภาพ ในฐานะ World leader in Food ของประเทศไทยต่อการที่จะเป็นผู้นำด้านอาหารโลก มี 4 ปัจจัยหลักที่สำคัญคือ Safety Security Sustainability และ Standardization ระบบการจัดการ Green Productivity จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารและจะสามารถทำให้ Thailand Competitiveness Ranking สูงขึ้นได้อย่างมั่นใจ " นายเพ็ชร กล่าว

ที่มา http://www.ryt9.com/s/prg/981311



ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
เครื่องคัดขนาดกุ้งความเที่ยงตรงสูง
โดย : คุณสรยุทธ อุจจภูรีSale & Service Directorsorayut.ujjaphuree@marel.comwww.marel.com เครื่องคัดขนาดกุ้งความเที่ยงตรงสูง ในสายการผลิตสินค้า อาทิเช่น กุ้ง จะต้องมีการคัดขนาดเพื่อที่สามารถนำไปเลือกผลิตสินค้าตามความต้องการในการผลิตสินค้าแต่ละชนิด การคัดขนาดกุ้งแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ การคัดขนาดตามขนาดกุ้งโดยปกติ โดยจะใช้ Roller Grader ซึ่งหลักการคัดขนาดกุ้งโดยแยกตามขนาดของกุ้ง ซึ่งจะได้ขนาดกุ้งออกมาค่อนข้างหยาบ และการคัดขนาดด้วยน้ำหนักกุ้งโดยใช้เครื่องชั่งมาคัดซึ่งจะได้ความเที่ยงตรงที่สูงกว่ามาก ผลประโยชน์ที่ได้จากการคัดขนาดกุ้งโดยแยกตามน้ำหนักกุ้งมีดังนี้1. ได้กุ้งขนาดที่เท่ากันทุกตัวในการบรรจุที่สวยงาม สามารถยกระดับสินค้าเป็น Premium product2. ลด Give away ได้มากในการผลิตสินค้าเช่น ชูชิ เพราะการผลิตชูชิต้องนำกุ้งมาตัดออกให้ได้ขนาดที่ต้องการ หากนำกุ้งขนาดใหญ่มาตัดออกมากก็จะเสียเนื้อกุ้งมาก ดังนั้นหากคัดขนาดกุ้งมาดีมากๆ ก็จะตัดกุ้งออกเพียงเล็กน้อยเพื่อตกแต่งให้ได้ขนาดพอดีในแต่ล่ะขนาด3. การต้มกุ้งที่คัดขนาดมาดี จะทำให้ได้ผลความสุกที่เท่ากันหลังการผ่านความร้อน เช่นถ้าหากลวกหรือต้มในเวลาที่เท่ากันและที่อุณหภูมิเดียวกัน กุ้งขนาดต่างกันเพียงแค่ 3-4 กรัม ก็จะได้ผลความสุกของกุ้งที่ต่างกัน และที่สำคัญการต้มหรือลวกกุ้งที่ขนาดเท่ากันทำไห้สามารถกำหนดเวลาและอุณหภูมิการลวกหรือต้มที่เหมาะสมคงที่เพื่อรักษา Yield ในตัวสินค้าให้ได้มากที่สุด4. ในการผลิตสินค้าจำพวก Value added product โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่นซึ่งต้องการสินค้าคุณภาพสูง สวยดูดี น่ารับประทาน การได้กุ้งขนาดที่เท่ากันมาผลิตจึงมีความจำเป็นมาก นอกจากนี้ผลประโยชน์ที่ได้จากคัดขนาดกุ้งมีอีกมากมายตามแต่วิธีการผลิตในแต่ล่ะชนิดสินค้าและในปัจจุบันเทรนการคัดขนาดกุ้งแบบกรัมต่อชิ้นมีความจำเป็นมากขึ้นเพื่อการผลิตเป็นสินค้าต่างๆ ดังนั้นบริษัท Marel Carnitech (Thailand) Co.,ltd (เดิมชื่อ Carnitech Asia Co.,Ltd) จึงออกแบบเครื่องคัดขนาดกุ้ง ซึ่งที่เป็นหนึ่งในกลุ่มเครื่องจักรของ Marel ซึ่งเป็นผู้นำและเชี่ยวชาญด้านการคัดขนาดสินค้าต่างๆด้วยน้ำหนัก มีความเทียงตรงที่สูงถึง 0.2 กรัม ที่ 95% ขึ้นไป เช่นหากต้องการกุ้งขนาด 14-15 กรัมต่อตัว จะได้กุ้งที่ผ่านการคัดขนาดจากเครื่องที่ 13.8-15.2 กรัม ที่มากกว่า 95 ตัวขึ้นไปใน100 ตัว ระบบเครื่องชั่งนี้ออกแบบมาเพื่อคัดขนาดกุ้งโดยเฉพาะ ซึ่งใช้ระบบ Static Loadcell และอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง ดังนั้นจึงไห้ความแม่นยำสูง ทนทานและ Maintenance cost ต่ำ และตัวเครื่องมีระบบ Software ต่อไปยัง Computer เพื่อสั่งงานและแสดงผลต่างๆเช่น น้ำหนักและจำนวนชิ้นรวม, น้ำหนักและจำนวนชิ้นในแต่ละขนาด, เวลาทำงานของเครื่อง และที่สำคัญสามารถดูประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแต่ล่ะคนได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการใช้เครื่องคัดขาดกุ้งนี้สามารถเพิ่ม Productivity ได้เพิ่มขึ้นประมาณ 300% เมื่อเทียบกับการคัดแบบใช้ Scale
อุตสาหกรรมอาหาร กับ เทคโนโลยีสะอาด
อุตสาหกรรมอาหาร กับ เทคโนโลยีสะอาด (CT) จากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ปัญหาโลกร้อน อันตรายต่างๆ ปนเปื้อนกับสิ่งแวดล้อม ทุกทิศทุกทาง ทั้ง ดิน น้ำ อากาศ ทำให้ทั่วโลกจำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อร่วมกัน ป้องกัน ร่วมกันใช้ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน ที่มีอยู่อย่างจำกัด อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า มากที่สุดไว้ให้ลูกหลาน เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด (Cleaner Technology : CT) อาจเรียกว่า การผลิตเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Productivity) หมายถึง การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือผลิตภัณฑ์ เพื่อให้การใช้ วัตถุดิบ พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้เปลี่ยนเป็นของเสียน้อยที่สุด หรือไม่มีเลย (Waste Minimization) จึงเป็นการลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด (Pollution Prevention) ทั้งนี้ รวมถึงการเปลี่ยนวัตถุดิบ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนในการผลิตไปพร้อมกัน เทคโลโลยีการผลิตที่สะอาดจึง เป็นแนวทางหนึ่งของการจัดการสิ่งแวดล้อมในลักษณะของการป้องกันมลพิษ ที่มีการประยุกต์และผสมผสานกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมของภาคการผลิต ให้มีการป้องกันหรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพในการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดเป็นการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดการใช้วัตถุดิบ พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยทำให้เกิดของเสียน้อยที่สุดหรือไม่มีเลยรวมถึงการเปลี่ยนวัตถุดิบ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ จึงเป็นการลดมลพิษ ที่แหล่งกำเนิดช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์และลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการบำบัดหรือกำจัดของเสีย จึงเกิดประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้า อุตสาหกรรมอาหาร เป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ที่นำวัตถุดิบจากการเกษตร เช่น ผัก ผลไม้ เมล็ดธัญพืช เนื้อสัตว์ซึ่งได้จากธรรมชาติ มาผ่านการแปรรูป เพื่อให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการถนอมอาหาร ยืดอายุการเก็บรักษา และสะดวกในการรับประทาน ซึ่งกระบวนการแปรรูปอาหารตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบจนถึง การแปรรูปอาหารด้วยกรรมวิธีต่างๆ เช่น การแปรรูปอาหารความร้อน การแช่เยือกแข็ง การทำแห้งจำเป็นต้องใช้พลังงานสูง และทำให้เกิดของเสียเป็นจำนวนมาก ทั้งขยะจากเศษอาหารน้ำล้าง น้ำทิ้ง ซึ่งมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และยังเกิดการปนเปื้อนไปยังอาหารที่ผลิต ทำให้เกิดอันตรายทางอาหาร (food hazard) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผู้ผลิตอาหารโดยตรง นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์อาหาร ยังมีการใช้ บรรจุภัณฑ์เป็นจำนวนมาก ซึ่งต้องการพลังงานทั้งไฟฟ้า น้ำมัน และพลังงงานอื่นๆ ในการผลิต และยังก่อให้เกิด "ขยะ" ปริมาณมหาศาล ประเภทของพลังงานที่ใช้ในการผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ 1 ตัน (หน่วย 106 Joules, หรือ MJ) วัสดุบรรจุภัณฑ์ ไฟฟ้า น้ำมัน พลังงานอื่นๆ แก้ว 1,304 8,471 5,919 กระป๋อง 3 ชิ้น (450 ซี.ซี.) 10,531 16,802 28,993 กระป๋องอะลูมิเนียม (450 ซี.ซี.) 79,625 76,829 57,276 กระดาษแข็ง 9,350 25,630 16,630 ขวด LDPE (50,000 ขวด) 6,720 36,820 - ขวด HDPE (50,000 ขวด) 6,890 37,910 - ขวด PP (50,000 ขวด) 3,340 40,390 - ขวด PET (50,000 ขวด) 18,660 - - แหล่งที่มา : Boustead, Hancock "Energy and Packaging http://www.foodnetworksolution.com/control/knowledge_edit_content/142 ดังนั้นเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด จึงเป็นเครื่องมือเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพสำหรับอุตสหาหรรมอาหาร เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน นำไปสู่มาตรฐาน การจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 ซึ่งเป็นที่ยอมรับ ในวงการค้า ในโลกปัจจุบันด้วย วิธีการของเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด ต้องมีการค้นหาแหล่งกำเนิดของเสียหรือมลพิษ และวิเคราะห์หาสาเหตุว่าของเสียหรือมลพิษเหล่านั้นเกิดอย่างไร การลดมลพิษสามารถทำได้โดย 1) การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ (Product Reformulation) เป็นการปรับปรุงในรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดการเกิดสารมลพิษ โดยพัฒนาการออกแบบให้มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด เช่น น้ำผลไม้เข้มข้น ซึ่งนำไปผสมน้ำให้เป็นผลไม้พร้อมดื่ม อาหารแห้ง เช่นเครื่องดื่มผงชงดื่มชาเขียวบรรจุซองชา ใช้ชงดื่มแทนการบรรจุขวดพร้อมดื่มเพื่อลดจำนวนบรรจุภัณฑ์ใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ง่าย หรือ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น กระดาษ วัสดุจากธรรมชาติรวมทั้งยกเลิกหีบห่อที่ไม่จำเป็น 2) การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต (Process Change) สามารถดำเนินการได้ ดังนี้ 2.1) การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ (Input Material Change) เป็นการเลือกใช้วัตถุดิบที่สะอาด มีการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรก วัตถุอันตรายทางการเกษตรให้น้อยที่สุดโดยใช้มาตรการGood Agricultural Practice หรือGAPหากเป็นไปได้ควรมีการกำจัดสิ่งปนเปื้อน เช่น ดิน ทราย กิ่งไม้วัชพืช ออกตั้งแต่แหล่งที่มาก่อนที่จะเข้าสู่โรงงานหรือเข้าสู่กระบวนการผลิตเพื่อลดปริมาณน้ำที่ใช้เพื่อการล้าง 2.2) การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี (Technology Improvement) โดยการปรับเปลี่ยนวิธีการ กลไกในกระบวนการผลิต หรือปรับปรุงอุปกรณ์ในสายการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหรือลดการ สูญเสีย เปลี่ยนการออกแบบใหม่ เพิ่มระบบอัตโนมัติเข้าช่วย ปรับปรุงข้อจำกัดในการปฏิบัติงานและการใช้เทคโนโลยี เป็นต้น ทำได้โดยการออกแบบใหม่ เพิ่มระบบอัตโนมัติ เข้าช่วยปรับปรุง คุณภาพของอุปกรณ์ และแสวงหาเทคโนโลยีใหม่มาใช้ เช่น ปรับ ตำแหน่งการวางอุปกรณ์ หรือระบบท่อไอน้ำ เข้าสู่ เครื่องจักรและอุปกรณ์แปรรูปอาหาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการสูญเสีย ใช้อุปกรณ์การขนถ่ายวัสดุ (conveyor) ที่เหมาะสมในการผลิตอาหาร เพื่อลดพลังงานในการขนส่ง ขนถ่ายอาหาร ปรับปรุงการดำเนินการผลิต เพื่อลดปริมาณ น้ำล้าง น้ำทิ้ง เช่น ในอุตสาหกรรมปลาทูน่ากระป๋อง อาจหาวิธีการประหยัดน้ำเพื่อการละลายปลาทูน่า ก่อนเข้ากระบวนการผลิต การหาการนำประโยชน์จากน้ำทิ้ง จากการนึ่งปลา เป็นต้น ปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์แปรรูปอาหารให้การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเครื่องจักรที่ต้องใช้พลังงานสูงเช่น เครื่องระเหย (evaporator) เครื่องอบแห้ง (drier) หม้อฆ่าเชื้อ (retort) เครื่องแช่เยือกแข็ง (freezer) เครื่องทอดโดยการใช้ ระบบอัตโนมัติ หรือ ใช้ อุปกรณ์ ควบคุม อุณหภูมิ ความดัน เพื่อตัดการทำงาน เมื่อสิ้นสุดกระบวนการ ในการผสมอาหาร มีการติดตั้ง ติดตั้งมอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ และควบคุมความเร็วของมอเตอร์ เครื่องผสมเพื่อลดการสิ้นเปลืองพลังงาน ลดผลผลิตที่ด้อยคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน 3) การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน (Operational Improvement) โดยการปรับปรุงการบริหารระบบการวางแผนและควบคุมการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพของกระบวนการผลิตให้สามารถลดต้นทุนการผลิตและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิผล เช่น มีกระบวนการทำงานและขั้นตอนการบำรุงรักษาที่ชัดเจน มีการบริหารการปฏิบัติงาน มีการฝึกอบรม มีวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง มีระบบการจัดเก็บในโกดัง ชั้นเก็บของ ใช้ระบบ First in - First out เพื่อลดการสูญเสียจากคุณภาพของผลิตภัณฑ์ มีการวางแผนซ่อมบำรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ หลีกเลี่ยงการรวมของเสียต่างชนิดเข้าด้วยกันแยกของเสียที่เกิดขึ้นในขั้นตอนต่างๆ อย่างเหมาะสม การใช้ซ้ำ (Reuse) หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เป็นต้น ประโยชน์จากนำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร ของไทย ต้องตระหนักถึงบทบาทของการมีส่วนร่วมสำคัญเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อม ผลดีที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีสะอาด เริ่มต้นที่ตัวท่านเองก่อน เพราะเทคโนโลยีสะอาด เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ในการสร้างการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารอย่างยั่งยืน ทำให้สามารถรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการพัฒนา อุตสาหกรรมของประเทศ ผลของการใช้ เทคโนโลยีสะอาด สามารถช่วยให้ ลดอันตรายในอาหาร เพิ่มความปลอดภัยทางอาหาร ของเสียจากการผลิต และประหยัดค่าใช้จ่าย ในการจัดการของเสีย ลดค่าใช้จ่ายในการผลิต เพราะใช้วัตถุดิบ น้อย ลง แต่ประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้น เพิ่มผลการผลิต และเพิ่มคุณภาพอาหาร ประหยัดพลังงาน ลดความเสี่ยงและอุบัติเหตุ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และทำให้ภาพพจน์ขององค์กรดีขึ้น เป็นไปตามกฎหมาย ด้านสิ่งแวดล้อมของทางราชการ นำไปสู่มาตรฐาน การจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 ซึ่งเป็นที่ยอมรับ ในวงการค้า ในโลกปัจจุบัน Refernces http://www.sme.go.th/SiteCollectionDocuments/วิจัยSMEs/FATและผลกระทบ/เตรียมรับมาตรการ/doc (5) .pdf
บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่ 5
7.5.2 ความเป็นมาและกฎหมายเกี่ยวกับฉลากสิ่งแวดล้อมจากนานาประเทศ (1) ประเทศเยอรมัน วิวัฒนาการของฉลากสิ่งแวดล้อม เริ่มต้นจากประเทศในแถบยุโรปโดยมีประเทศเยอรมันเป็นหัวหอกและนับประเทศแรกที่เอาจริงเอาจังในการพัฒนาโครงการฉลากสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ใช้ฉลากที่เรียกว่า นางฟ้าสีฟ้า (Blue Angel) ในการรณรงค์ปกป้องสิ่งแวดล้อมด้วยจุดมุ่งหมาย 3 ประการคือ (ก.) ชี้แนะให้ผู้บริโภคซื้อเฉพาะแต่สินค้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด (ข.) ส่งเสริมให้ผู้ผลิตพัฒนาสินค้าที่รักษาสิ่งแวดล้อม (ค.) รณรงค์ให้ฉลากนางฟ้าสีฟ้าเป็นสัญลักษณ์ในการส่งเสริมการจำหน่าย สิบสี่ปีให้หลังในปี 2535 ปรากฏว่ามีโรงงานเข้าร่วมโครงการนี้ 814 โรงและมีสินค้า 3,325 ชนิดได้รับฉลากนางฟ้าสีฟ้า ในแง่ของผู้บริโภค ปรากฏว่าชาวเยอรมันกว่าร้อยละ 80 ทราบเรื่องฉลาก และเข้าใจหลักการของฉลากมากกว่าร้อยละ 70 ตัวฉลากนางฟ้าสีฟ้า ได้เริ่มจากการใช้คำว่า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Umweltfreundlich (Environment Friendly) มาแก้ไขเป็น ฉลากสิ่งแวดล้อม หรือ Umweltzeichen (Environment Label) ในปี พ.ศ. 2531 เพื่อหลีกเลี่ยงคำโฆษณาต่างๆ ที่มักใช้ประโยคว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รูปที่ 7.7 ฉลากนางฟ้าสีฟ้าในยุคแรก ความนิยมจากนางฟ้าสีฟ้า คงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ได้มีการพัฒนาระบบมหภาคในการจัดเก็บซากบรรจุภัณฑ์กลับมาผลิตใหม่ โดยมีการเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบจากแหล่งขายปลีก แหล่งชุมชน ตามถนนหนทาง โดยมีการพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาผลิตใหม่โดยใช้ชื่อว่าจุดเขียว (Green Point หรือ Der Grune Punkt) ซึ่งในสหรัฐอเมริกาเรียกว่า Green Dot บริษัทที่รับผิดชอบนี้มีชื่อว่า Duales System Deustschland (DSD) จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยสมาคมผลิตเครื่องจักรบรรจุและผู้ประกอบการบรรจุภัณฑ์ พร้อมกับได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลส่วนกลาง ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อจัดการระบบการเก็บกลับซากบรรจุภัณฑ์และนำมาผลิตใหม่ให้เป็นประโยชน์ ปรากฏว่าระบบ DSD นี้ ได้ล้มลุกคลุกคลานในตอนแรกๆ พร้อมทั้งรัฐบาลกลางต้องจัดสรรงบประมาณแผ่นดินถึง 3 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐต่อปีในการสนับสนุนระบบนี้ให้สำเร็จ และในที่สุดระบบนี้ก็ได้รับความสำเร็จชนิดที่ประเทศอื่นๆ ต้องเลียนแบบและนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศของตน (2) กลุ่มสหภาพยุโรป (The European Union - EU) โครงการฉลากสิ่งแวดล้อมของกลุ่มสหภาพยุโรปเริ่มในปี พ.ศ. 2531 ใช้ชื่อว่า European Flower โดยกำหนดไว้ใน Council Regulation (EEC) No. 880/92 ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าและให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้บริโภคถึงผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ฉลากของ EU จะมีระบบตรงข้ามกับฉลากนางฟ้าสีฟ้าที่ว่า ฉลากของ EU จะไม่ใช้เป็นเครื่องหมายแสดงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ EU ตั้งเป้าหมายไว้ว่าผลิตภัณฑ์ในตลาด EU อย่างต่ำร้อยละ 40 ควรได้รับฉลากภายใน 2 - 3 ปี ฉลาก European Flower มิได้มีข้อกำหนดที่เป็นเอกภาพเช่นเดียวกับทุกประเทศ หากแต่เปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกสามารถออกข้อกำหนดที่เข้มงวดกว่าของ EU ไปประยุกต์ใช้ในแต่ละประเทศ (3) ญี่ปุ่น โครงการฉลากสิ่งแวดล้อมในญี่ปุ่นได้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2529 หลังจากใช้เวลา 2 ปีกว่าในการศึกษาและเตรียมการ จึงได้เริ่มรณรงค์อีโค มาร์ค (Eco Mark) ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค และสนับสนุนให้ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยหันมาเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรการในการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า วัตถุประสงค์หลักของ Eco Mark นั้น ต้องการที่จะให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคว่า สินค้านี้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ตราสัญลักษณ์โครงการมีความหมายว่า Friendly to the Earth) เป็นการปกป้องโลกผ่านสองมือของผู้บริโภค แต่ Eco Mark ไม่มีความพยายามที่จะสร้างมาตรฐานใหม่หรือเพื่อปกป้องผู้บริโภคในแง่ของการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือความปลอดภัยซึ่งจะแตกต่างจาก Blue Angel ผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลาก Eco Mark นั้น จะจำหน่ายได้ภายในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น บริษัทต่างชาติที่จำหน่ายสินค้าในญี่ปุ่นก็สามารถขอใช้ฉลาก Eco Mark ได้ เป็นสิ่งที่น่าสังเกตว่าสินค้า Eco Mark ได้รับความนิยมในหมู่คนรุ่นใหม่มากกว่าคนรุ่นเก่า รูปที่ 7.9 ฉลากอีโค มาร์ค (Eco Mark) (4) สหรัฐอเมริกา โครงการฉลากสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกานั้น มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ Federal Trade Commission (FTC) แต่มิได้แสดงบทบาทอย่างจริงจังต่อฉลากสิ่งแวดล้อม (Green Labeling) ปล่อยให้บริษัทเอกชนอีก 2 แห่ง คือ UL (Underwriters Laboratories Inc.) ที่ใช้ฉลาก Green Seal และบริษัท Scientific Certification System Inc. ที่มีชื่อบริษัทในเครือชื่อ Green Cross Certification Company ใช้ฉลาก Green Cross Certificate ต่างแข่งขันกันสร้างการยอมรับจากผู้บริโภคโดยหวังว่า ในอนาคตอันใกล้ FTC จะยอมรับตราของบริษัทใดบริษัทหนึ่งใช้เป็นฉลากสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ทั้งประเทศ 7.5.3 ความเป็นมาของฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย โครงการฉลากสิ่งแวดล้อมของไทย ได้จัดตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD) เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2536 เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้บริโภคหันมาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดในกลุ่มของผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน โครงการฉลากสีเขียวต้องการผลักดันให้ผู้ผลิตคิดหาวิธี หรือขั้นตอนการผลิตที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและก่อให้เกิดมลพิษน้อยลง เพื่อลดมลภาวะโดยรวมที่เกิดจากการขยายตัวของเมืองและจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ฉลากเขียวยังเปรียบเสมือนเป็นรางวัลสำหรับผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมด้วย (1) ฉลากเขียว เป็นฉลากที่ออกให้กับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าซึ่งได้ผ่านการประเมิน และตรวจสอบแล้วว่าได้มาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อม หลักการทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นแนวทางการดำเนินโครงการฉลากเขียวและเป็นพื้นฐานแนวทางนำไปสู่การคัดเลือกกลุ่มสินค้าและการออกข้อกำหนดต่างๆ ได้แก่ (ก) การสนับสนุนให้มีการจัดการทรัพยากร ทั้งทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Renewable Resources) และทรัพยากรที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Nonrenewable Resources) อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (ข) การส่งเสริมให้มีการลดมลภาวะโดยรวมในประเทศโดยเฉพาะมลภาวะทางอากาศ มลภาวะทางน้ำและขยะ (ค) การส่งเสริมให้มีการผลิต การขนส่งและการกำจัดผลิตภัณฑ์ทางเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ (ง) การสนับสนุนให้มีการปกป้องรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ในประเทศ ฉลากเขียวจะเป็นโครงการสมัครใจของผู้ผลิตและผู้จำหน่ายที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์ หลักการโครงการฉลากเขียว ได้มาจากแนวความคิดและความต้องการที่จะให้ประเทศไทยมีการพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development) ยึดในหลักการการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม เป้าหมายของโครงการฉลากสีเขียวมีด้วยกันสามประการคือ 1. ลดมลภาวะโดยรวมในประเทศ 2. ให้ข้อมูลที่เป็นกลางต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย 3. ผลักดันให้ผู้ผลิตนำเทคโนโลยีและวิธีการผลิตที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาใช้ ซึ้งวัตถุประสงค์ข้อนี้จะส่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจแก่ผู้ผลิตเองด้วย หลักการในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ 1. เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่ออุปโภคบริโภคทั่วไปในชีวิตประจำวัน 2. คำนึงถึงผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และคุณประโยชนทางสิ่งแวดล้อมที่ได้รับเมื่อผลิตภัณฑ์นั้นถูกจำหน่ายออกสู่ตลาด 3. วิธีการตรวจสอบที่ไม่ยุ่งยากและไม่เสียค่าใช้จ่ายในการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์สิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนด 4. เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตมีทางเลือกอื่นในการผลิตที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า (2) การสมัครขอใช้ฉลากเขียว การขอใช้ฉลากเขียวเป็นความสมัครของผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย หรือผู้ให้บริการที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกฎหมายบังคับ ผู้ประสงค์จะขอใช้ฉลากเขียว สามารถขอรับเอกสารเพื่อกรอกข้อความได้ที่สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจะตรวจสอบเอกสารและหลักฐาน และจัดทำสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฉลากเขียวในการโฆษณาและติดที่ผลิตภัณฑ์ เมื่อผลิตภัณฑ์ผ่านการตรวจสอบตามข้อกำหนดแล้ว ผู้สมัครจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการใช้ฉลากเขียวและต่อสัญญาใช้ตามอายุที่กำหนด (3) ความสำคัญของฉลากเขียวต่อการค้าระหว่างประเทศ การกำหนดมาตรฐานฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมนับว่าเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งและมีปัญหามากด้วยเช่นกัน เพราะในหลายประเทศได้จัดทำโครงการฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมมานานแล้ว มาตรฐาน ISO ในอนุกรม 14000 ก็ได้กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมด้วย คือ Environmental Labelling วัตถุประสงค์ของการกำหนดมาตรฐานในระดับโลกเพื่อให้มีการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับสภาวะด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ แต่อย่างไรก็ตามแต่ละโครงการก็มีวิธีปฏิบัติในเรื่องนี้แตกต่างกันออกไป และมีการนำไปโฆษณาที่ผิดจากความเป็นจริง โดยอุตสาหกรรมจำนวนมากต่างก็อ้างว่าผลิตภัณฑ์ของตน "เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม" รูปที่ 7.10 ฉลากเขียว ประเทศในกลุ่มตลาดร่วมยุโรป (EC) ได้ออกมาตรการเกี่ยวกับภาระบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วให้ผู้ส่งออกต้องดำเนินการเป็นสองทางเลือก คือ โกยนำกลับประเทศหรือเสียค่าใช้จ่ายให้กับประเทศผู้นำเข้าดำเนินการกำจัดเอง โดยประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ประกาศใช้มาตรการภาระกำจัดมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ สรุปได้ดังนี้ (ก) ผู้ส่งออกต้องรับภาระขนส่งบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วทุกชนิดกลับประเทศ หรือ (ข) ต้องจ่ายเงินค่ากำจัดมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ให้กับประเทศผู้นำเข้าดำเนินการเองตามจำนวนมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ ตามหลักการของกฎหมายบรรจุภัณฑ์ของประชาคมยุโรป (EC Directive on Packaging and Packaging Waste) ส่วนที่เกี่ยวกับระบบมัดจำและเรียกคืนบรรจุภัณฑ์ได้นำเอามาตรการหลีกเลี่ยงมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ (The Ordinance on the Avoidance of Packaging Waste) ที่มีชื่อเสียงของเยอรมันมาเป็นแนวทาง ซึ่งอาจสรุปหลักการของกฎหมายข้างต้นบางส่วนดังนี้ 1. กฎหมายบรรจุภัณฑ์ของประชาคมยุโรป (1) ตั้งเป้าหมายในการเรียกคืนบรรจุภัณฑ์และมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ (2) ตั้งเป้าหมายในการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์และมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ (3) ตั้งข้อกำหนดในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (4) ส่งเสริมระบบการนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ซ้ำ (5) ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ (6) กำกับสัญลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ 2. มาตรการการหลีกเลี่ยงมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ (1) กำหนดคุณลักษณะทั่วไปของบรรจุภัณฑ์ว่าจะต้องผลิตจากวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำหรือรีไซเคิล ต้องออกแบบให้มีขนาดและน้ำหนักน้อยที่สุด พร้อมทั้งสนับสนุนให้ใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดเติม (Refill) (2) กำหนดขอบเขตบังคับของกฎหมายกับผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายรวมทั้งการจำหน่ายสินค้าทางไปรษณีย์ แต่ไม่รวมบรรจุภัณฑ์สำหรับวัตถุอันตรายที่มีกฎหมายเฉพาะ (3) แยกบรรจุภัณฑ์ทั่วไปออกเป็น 3 ประเภทคือ - บรรจุภัณฑ์บริโภคหรือบรรจุภัณฑ์ชั้นแรก (Primary Packaging) - บรรจุภัณฑ์ชั้นนอกหรือบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สอง (Secondary Packaging) - บรรจุภัณฑ์ขนส่ง (Transport Packaging) (4) แยกความหมายของบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มออกต่างหากจากบรรจุภัณฑ์ทั่วไป (5) ให้ความหมายของบรรจุภัณฑ์เรียกคืนเป็นการนำกลับมาใช้ซ้ำ (6) กำหนดหน้าที่ของผู้ผลิตและผู้จำหน่ายต้องรับคืนบรรจุภัณฑ์ขนส่งที่ใช้แล้วเพื่อนำมาใช้ซ้ำหรือรีไซเคิล (7) กำหนดหน้าที่ของผู้จัดจำหน่ายต้องแยกบรรจุภัณฑ์ชั้นนอกออกจากสินค้า หรือต้องจัดให้มีภาชนะรองรับบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม (8) กำหนดหน้าที่ของผู้จัดจำหน่ายต้องรับคืนบรรจุภัณฑ์ชั้นในที่นำมาจำหน่าย โดยจัดภาชนะรองรับ ณ จุดขายหรือจุดที่ใกล้จุดขาย (9) กำหนดหน้าที่ผู้จำหน่ายเครื่องดื่มในบรรจุภัณฑ์ปะเภทใช้แล้วทิ้งต้องเรียกเก็บมัดจำจากผู้ซื้อเป็นรายชิ้น และจะคืนมัดจำให้เมื่อมีการนำบรรจุภัณฑ์มาคืน (10) บรรจุภัณฑ์ซักล้างและทำความสะอาด และบรรจุภัณฑ์สีทาบ้านอยู่ในข่ายที่ต้องเรียกเก็บมัดจำเช่นเดียวกันกับบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม ยกเว้น บรรจุภัณฑ์ชนิดเติม เพื่อสนับสนุนการใช้บรรจุภัณฑ์ซ้ำ (11) มีข้อยกเว้นหน้าที่ของผู้จัดจำหน่ายที่ไม่ประสงค์จะรับคืนบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มของตน โดยกฎหมายให้ทางเลือกในการเข้าร่วมกับระบบซึ่งมีประกันที่เก็บรวบรวมบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วจากผู้บริโภค รัฐจะทำหน้าที่กำหนดเป้าหมายการเรียกคืน และถ้าอัตราการเรียกคืนต่ำกว่าเป้าหมายก็ต้องกลับมาใช้ระบบมัดจำตามเดิม (12) กำหนดมาตรการป้องกันบรรจุภัณฑ์ในเขตที่ได้รับยกเว้นการมัดจำที่มีระบบจัดเก็บโดยเอกชนอยู่แล้วข้ามไปยังเขตที่ใช้ระบบมัดจำและคืนบรรจุภัณฑ์อันจะทำให้การรวบรวมในเขตไม่ได้ปริมาณตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ (13) กฎหมายเปิดให้ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และผู้จัดจำหน่ายทางไปรษณีย์ที่มีหน้าที่ สามารถมอบหมายบุคคลอื่นดำเนินการในหน้าที่ที่กฎหมายกกำหนดแทนได้ หรืออาจใช้เครื่องอัตโนมัติในการรับคืนบรรจุภัณฑ์และคืนเงินมัดจำได้ รูปที่ 7.8 ฉลาก EU <<ย้อนกลับ บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่4อ่านต่อ บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่6 >> <<กลับสู่หน้าหลัก
บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่ 4
7.4.2 ตัวอย่างการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างที่ 1 : การเปรียบเทียบขนาดของขวดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในแง่ของพลังงานขนย้ายและการผลิต ขวดบรรจุน้ำอัดลมที่มีขายอยู่ในตลาด สามารถนำมาวิเคราะห์ว่าขนาดเท่าใดจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่ากัน ยกตัวอย่างเช่น ขวด PET สำหรับน้ำอัดลมและน้ำดื่มซึ่งกำลังเป็นที่นิยมด้วยขนาด 1 , 2 และ 3 ลิตร สมมุติว่าขวดทั้ง 3 ขนาด ใช้ฝาขนาดเดียวกัน รูปทรงเหมือนกัน เนื้อพลาสติกแบบเดียวกัน แต่ความหนาไม่เท่ากันเนื่องจากขนาดบรรจุที่แตกต่างกัน ถ้ามองอย่างผิวเผินคงจะเดาว่าขวดขนาด 3 ลิตรน่าจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า เพราะสามารถบรรจุปริมาตรน้ำดื่มได้มากกว่าหน่วยบรรจุ ถ้ามีการจัดหน่วยบรรจุภัณฑ์ขนส่งเป็น 6 ลิตร ขวด 3 ลิตรจะใช้เพียง 2 ขวด ในขณะที่ขวดขนาด 2 ลิตรและ 1 ลิตร จะต้องใช้ 3 ขวดและ 6 ขวดตามลำดับ และยังต้องใช้จำนวนฝาที่มากขึ้นต่อหน่วยบรรจุภัณฑ์ขนส่ง จากการศึกษาพลังงานที่ใช้ในการขนย้ายของบรรจุภัณฑ์ทั้ง 3 ขนาดพบว่า พลังงานที่ใช้ขนย้ายน้ำดื่มและการผลิตของน้ำดื่ม 1,000 แกลลอน ขวดขนาด 2 ลิตร ใช้พลังงานใกล้เคียงกับ 3 ลิตร คือ 20.1 ล้าน BTU กับ 19.7 ล้าน BTU ตามลำดับ ส่วนขวด 1 ลิตร จะใช้พลังงานต่อหน่วยสินค้ามากที่สุด 27.4 ล้าน BTU ดังแสดงในรูปที่ 7.2 ความได้เปรียบเสียเปรียบของขวดทั้ง 3 ขนาด ในแง่ของปริมาตรของขวดเมื่อทิ้งในขยะมูลฝอยมีความคล้ายคลึงกับการใช้พลังงานตามที่แสดงไว้ในรูปที่ 7.3 กล่าวคือ ขวดขนาด 1 ลิตร ใช้ปริมาตรในการกำจัดมูลฝอยมากกว่าอีก 2 ขนาด สรุปได้ว่าจากการศึกษานี้พบว่าขวดขนาด 2 และ 3 ลิตรจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าการศึกษาไม่ได้แสดงว่าไม่ควรผลิตหรือจำหน่ายน้ำดื่มขนาด 1 ลิตร เพราะต้องคำนึงว่าขวดขนาด 1 ลิตรจะเหมาะกับครอบครัวขนาดเล็ก และมีตลาดใหญ่พอสมควร ปัญหาอยู่ที่ว่าผู้ผลิตสามารถสร้างจิตสำนึกในการช่วยลดพลังงานให้แก่ผู้บริโภคหันมาซื้อขวดขนาด 2 และ 3 ลิตรได้อย่างไร รูปที่ 7.2 พลังงานที่ขนย้ายขวดน้ำดื่ม PET รูปที่ 7.3 ปริมาตรของขยะมูลฝอยของขวด PET เมื่อทิ้งในขยะ ตัวอย่างที่ 2 : การออกแบบกล่องกระดาษลูกฟูกที่ประหยัดพื้นที่ กล่องกระดาษลูกฟูกที่ออกแบบ จะมีความกว้างของฝาที่ปิดพบกันที่จุดกึ่งกลางของด้านที่ปิดของกล่องพอดี การออกแบบกล่องจะสามารถออกแบบให้มีฝาเปิด (Panel) อยู่บนด้านใดด้านหนึ่งทั้ง 3 ด้านของกล่อง นอกจากนี้ยังสามารถออกแบบให้ฝาด้านนอกนั้นแตกต่างกันตามแนวความกว้างหรือความยาวของฝา ตัวอย่างที่ยกมาให้พิจารณาทั้ง 3 แบบนั้น แบบ (ก) ออกแบบให้เปิดอยู่ด้านที่ใหญ่ที่สุด ส่วนแบบ (ข) และ (ค) มีบริเวณเปิดอยู่ด้านที่เล็กที่สุดของกล่อง โดยที่แบบ (ข) มีฝาที่เปิดอยู่ตามแนวความกว้างของด้านที่เปิด ส่วนแบบ (ค) นั้นมีฝาอยู่ตามแนวความยาวของด้านที่เปิด เมื่อนำเอากล่องที่ออกแบบมาคลี่ออกในแนวแบนราบ (Blank Sheet) จะพบว่าบริเวณฝาที่เปิดปิดมีส่วนทำให้ใช้กระดาษเปลืองมากน้อยแตกต่างกัน ย่อมเห็นได้อย่างชัดเจนว่ากล่องแบบ (ค) ใช้พื้นผิวที่น้อยที่สุด เพราะว่าใช้กระดาษมาทำฝาน้อยกว่ากล่องอื่นๆ กล่องลูกฟูกแบบ (ค) นี้มีชื่อเรียกว่า Regular Slotted Container (RSC) เปิดปลาย (End Openning) ตามที่ได้แนะนำในบทที่ 2 แล้วว่า กล่องประเภทนี้ถ้าสามารถจัดเรียงสินค้าภายใน ให้กล่องมีความยาวต่อความกว้างต่อความสูงเป็นอัตราส่วน 2:1:2 จะเป็นกล่องที่ต้นทุนน้อยที่สุด การออกแบบบรรจุภัณฑ์นอกจากจะออกแบบให้ใช้พื้นที่ผิวน้อยต่อหน่วยปริมาตรสินค้าเดียวกัน ดังตัวอย่างที่ 2 อย่างไรก็ตาม หน้าที่สำคัญของบรรจุภัณฑ์คือ ปกป้องสินค้าที่อยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ ดังนั้นตัวอย่างที่ 3 แสดงถึงแนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สามารถป้องกันแรงกดทับในแนวดิ่ง ซึ่งมักจะพบภัยอันตรายนี้จากการวางซ้อนสินค้าในคลังสินค้า การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจึงต้องคำนึงถึงความสามารถในการป้องกันสินค้าด้วย มิฉะนั้นแล้วสินค้าที่ส่งไปยังจุดหมายปลายทางจะไม่สามารถจำหน่ายได้เนื่องจากการแตกหักชำรุดเสียหาย และย่อมเป็นการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติในการผลิต การขนส่งของสินค้าและบรรจุภัณฑ์นั้นๆ ด้วย รูปที่ 7.4 กล่องลูกฟูก 3 แบบ ห่อสินค้าขนาดเดียวกัน (พื้นที่ที่แรเงาไว้เป็นพื้นที่ของฝา) ตัวอย่างที่ 3 : การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อป้องกันการแตกหักเสียหายและประหยัดต้นทุน ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับบรรจุขวดแบบ HDPE ซึ่งแบ่งบรรจุ ในกล่องกระดาษแข็งอีกชั้นหนึ่งจำนวนกล่องละ 12 ขวด จำนวนทั้งสิ้น 12 กล่องต่อการบรรจุในกล่องกระดาษลูกฟูก 1 กล่อง จะพบว่า กล่องกระดาษลูกฟูกนี้จะมีโอกาสถูกกดทับโดยน้ำหนักรวมทั้งหมดถึง 300 กิโลกรัม การออกแบบกล่องกระดาษลูกฟูกและกล่องกระดาษแข็งพร้อมขวด จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สามารถจัดส่งถึงผู้บริโภคโดยไม่มีการบอบช้ำเสียหายด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด การออกแบบทั่วๆ ไป อาจเริ่มจากการออกแบบกล่องลูกฟูกเปล่าๆ สามารถรับแรงกดได้ 300 กิโลกรัม แต่ถ้าพิจารณาอย่างลึกซึ้งพบว่า จำต้องเอาความสามารถในการรับแรงกดของกล่องกระดาษแข็งและขวดเข้ามาพิจารณาด้วย รูปที่ 7.5 แสดงความสามารถในการรับแรงกดของบรรจุภัณฑ์แต่ละชั้นเป็นกราฟแท่ง ความสามารถในการรับแรงกดของขวดแบบ HDPE และกล่องกระดาษแข็งมีค่า 100 และ 50 กิโลกรัม ตามลำดับ ในกรณี (ก) กล่องกระดาษลูกฟูกที่ใช้สามารถรับแรงกดได้ 120 กิโลกรัม เมื่อรวมความสามารถในการรับแรง ระบบบรรจุภัณฑ์แบบ (ก) = 270 กิโลกรัม ย่อมไม่สามารถปกป้องสินค้าได้ (Under Packaging) กล่องที่ออกแบบตามกรณี (ข) จะสามารถรับแรงกดได้ตามต้องการ ส่วนกรณีของ (ค) นั้น เป็นการป้องกันเกินความต้องการหรือที่เรียกว่า Over Packaging บรรจุภัณฑ์ที่มีใช้อยู่ทั่วไปมักจะเป็นกรณี (ค) ซึ่งมีโอกาสที่จะลดค่าใช้จ่ายลงได้ ดังนี้ ลองพิจารณาในแง่ของค่าใช้จ่ายหรือต้นทุน รูปที่ 7.6 แสดงความสามารถรับแรงกดที่เท่ากันของระบบบรรจุภัณฑ์ 3 ประเภท (ก) คือ 300 กิโลกรัม แต่มีการออกแบบระบบบรรจุภัณฑ์ของแต่ละประเภทแตกต่างกัน โดยแบบ (ข) เป็นแบบมาตรฐานใช้ขวดแบบ HDPE ส่วนแบบ (ง) นั้นใช้ขวด PET ที่รับแรงกดได้สูงถึง 200 กิโลกรัม พร้อมทั้งใช้กล่องกระดาษแข็งที่แข็งแรงกว่ารับแรงกดได้ถึง 100 กิโลกรัม แต่แทนที่จะบรรจุในกล่องกระดาษแข็งจะใช้ฟิล์มหดแทน ส่วนแบบ (จ) เป็นแบบที่ใช้ขวด PE ธรรมดารับแรงกดได้เพียง 50 กิโลกรัม บรรจุในกล่องกระดาษแข็งที่แข็งแรงมากสามารถรับแรงกดได้ถึง 150 กิโลกรัม แล้วบรรจุในกล่องกระดาษลูกฟูกที่ใช้กระดาษบางหน่อยและมีราคาถูกรับแรงกดได้เพียง 100 กิโลกรัม ส่วนใน ตารางที่ 7.9 แสดงค่าใช้จ่ายของระบบบรรจุภัณฑ์แต่ละแบบค่าใช้จ่ายนี้คิดเป็นราคาบาทต่อความสามารถในการรับแรงกด 100 กิโลกรัม ผลปรากฏว่าระบบ ข และ ง มีค่าใช้จ่ายเท่ากัน ดังนั้นพิจารณาจากความได้เปรียบของขวด PE ที่มีโอกาสนำกลับมาย่อยสลายได้ง่ายกว่า เพราะมีระบบเก็บกลับมา Recycle ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด คือ ระบบบรรจุภัณฑ์แบบ ง รูปที่ 7.5 ระบบบรรจุภัณฑ์ที่รับแรงกดได้แตกต่างกัน รูปที่ 7.6 ระบบบรรจุภัณฑ์ที่รับแรงกดได้ตามต้องการ ตารางที่ 7.9 : ค่าใช้จ่ายของระบบบรรจุภัณฑ์แต่ละประเภท ต้นทุนค่าใช้จ่าย (บาท) ต่อความสามารถในการรับแรงกด 100 กิโลกรัม ต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ (บาท) แบบ ข แบบ ง แบบ จ ขวด 1. HDPE 1.80 1.80 - - 2. PET 4.00 - 8.00 - 3. PE 1.60 - - 0.80 กล่องกระดาษแข็ง 10.00 5.00 10.00 15.00 กล่องกระดาษลูกฟูก 8.00 12.00 - 8.00 ฟิล์มหด - - 0.80 0 ค่าใช้จ่ายรวมของระบบบรรจุภัณฑ์ 18.80 18.80 23.80 7.5 ฉลากสิ่งแวดล้อม 7.5.1 ความหมายและการเรียกชื่อฉลากสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันนี้ มีประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากกว่า 20 ประเทศ ได้จัดตั้งองค์กรในแต่ละประเทศรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมดังแสดงไว้ในตารางที่ 7.10 พร้อมกันนี้แต่ละองค์กรได้ออกแบบสัญลักษณ์หรือฉลากใช้กำกับสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด สัญลักษณ์นี้ช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีความใส่ใจในการซื้อหาสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คำจำกัดความ : ฉลากสิ่งแวดล้อม หมายถึง การใช้ฉลากในการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคว่าผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากนี้มีมาตรฐานเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า ฉลากสิ่งแวดล้อมในแต่ละประเทศมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน และมีมาตรการในการพิจารณาและแบ่งประเภทของสินค้าที่พิจารณาให้แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น สิงคโปร์จะเน้นในเรื่องกระดาษ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษเขียน กระดาษชำระ และกระดาษใช้ในสำนักงาน ส่วนประเทศที่มีวิวัฒนาการทางด้านฉลากสิ่งแวดล้อมจะครอบคลุมสินค้าได้มากกว่า เช่น ECO-MARK ของญี่ปุ่น จะพิจารณารวมถึงสินค้าไม้ พลาสติก ยางพารา แก้ว วัสดุสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น สิ่งที่คล้ายคลึงกันในทุกๆ ประเทศ คือ ฉลากสิ่งแวดล้อมนี้จะดำเนินการด้วยองค์กรอิสระ ดำรงไว้ซึ่งมีความยุติธรรมในการพิจารณาโดยมุ่งหวังต่อการรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมของสินค้าประเภทต่างๆ เป็นสำคัญ ตารางที่ 7.10 : รายชื่อฉลากสิ่งแวดล้อมในประเทศต่างๆ ที่ ประเทศ ชื่อฉลากสิ่งแวดล้อม ปี 1 EC Environmental Choice 1991 2 กลุ่มประชาคมยุโรป (EU) European Flower ไม่ระบุ 3 กรีซ ASAOS* ไม่ระบุ 4 เกาหลีใต้ Cleaner and Greener 1992 5 แคนาดา Environmental Choice 1989 6 โครเอเชีย Environmental Friendly ไม่ระบุ 7 ญี่ปุ่น Eco-Mark 1989 8 ไต้หวัน Green Mark 1992 9 ไทย Green Label 1993 10 นิวซีแลนด์ Environmental Choice 1990 11 เนเธอร์แลนด์ Stiching Milieuukeur 1992 12 บราซิล Selo Verde ไม่ระบุ 13 ฝรั่งเศส NF Environment 1992 14 ยุโรปเหนือ (Nordic Council : นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์) Miljomarket (Nordic Swan) 1989 15 เยอรมัน Blue Angel (Umwelt Zeichen) 1978 16 ลักเซมเบอร์ก Ministere de Environment* ไม่ระบุ 17 สเปน AENOR* ไม่ระบุ 18 สิงคโปร์ Green Labeling 1992 19 สหรัฐอเมริกา Green Seal 1993 20 ออสเตรเลีย Environmental Choice 1991 21 ออสเตรีย Eco-label (Umwelt Zeichen) 1990 22 อังกฤษ European Union Ecolabel Award ไม่ระบุ 23 อินเดีย Eco-Mark 1992 24 อิสราเอล Green Label Program ไม่ระบุ * หมายถึงชื่อขององค์กรที่รับผิดชอบ แหล่งที่มา : 1. สำนักงานสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, "ISO 14020 ECOLABELLING : ฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมกับอนาคตอุตสาหกรรมส่งออกไทย", 2539 : p.6 2. China External Trade Development Council "Green Design : We Just Have One Earth" 1994 : p.219-220 <<ย้อนกลับ บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่3อ่านต่อ บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่5 >> <<กลับสู่หน้าหลัก
สมัครสมาชิก

สนับสนุนโดย / Supported By

  • บริษ้ท มาเรล ฟู้ดส์ ซิสเท็ม จำกัด จัดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์การแปรรูปอาหาร เช่น ระบบการชั่งน้ำหนัก, การคัดขนาด, การแบ่ง, การตรวจสอบกระดูก และการประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พร้อมกับบริการ ออกแบบ ติดตั้ง กรรมวิธีการแปรรูปทั้งกระบวนการ สำหรับ ผลิตภัณฑ์ ปลา เนื้อ และ สัตว์ปีก โดยมีวิศวกรบริการและ สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเทพ มาเรล เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกของอุปกรณ์การแปรรูปอาหารที่ทันสมัย​​ครบวงจรทั้งระบบ สำหรับอุตสาหกรรม ปลา กุ้ง เนื้อ และสัตว์ปีก ต่างๆ เครื่องแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก Stork และ Townsend จาก Marel อยู่ในกลุ่มเครื่องที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดในอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ สามารถบริการครบวงจรตั้งแต่ต้นสายการผลิตจนเสร็จเป็นสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกความต้องการของลูกค้า ด้วยสำนักงานและบริษัทสาขามากกว่า 30 ประเทศ และ 100 เครือข่ายตัวแทนและผู้จัดจำหน่ายทั่วโลก ที่พร้อมทำงานเคียงข้างลูกค้าเพื่อขยายขอบเขตผลการแปรรูปอาหาร Marel Food Systems Limited. We are supply weighing, grading, portioning, bone detection and software applications as well as complete turn-key processing solutions for fish, meat and poultry. We have service engineer and office in Bangkok. Marel is the leading global provider of advanced food processing equipment, systems and services to the fish, meat, and poultry industries. Our brands - Marel, Stork Poultry Processing and Townsend Further Processing - are among the most respected in the industry. Together, we offer the convenience of a single source to meet our customers' every need. With offices and subsidiaries in over 30 countries and a global network of 100 agents and distributors, we work side-by-side with our customers to extend the boundaries of food processing performance.
  • วิสัยทัศน์ของบริษัท คือ การอยู่ในระดับแนวหน้า "ฟอร์ฟร้อนท์" ของเทคโนโลยีประเภทต่างๆ และนำเทคโนโลยีนั้นๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิตในประเทศไทย เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า บริษัท ฟอร์ฟร้อนท์ ฟู้ดเทค จำกัด เชื่อมั่นและยึดมั่นในอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจ กล่าวคือ จำหน่าย สินค้าและให้บริการที่มีคุณภาพสูง ซึ่งเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ด้วยความซื่อสัตย์และความตรงต่อเวลา เพื่อการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จร่วมกันระยะยาว Our vision is to be in the "forefront" of technology in its field and suitably apply the technology to industries and production in Thailand for customers' utmost benefits. Forefront Foodtech Co., Ltd. strongly believes in and is committed to our own business philosophy which is to supply high quality products and service appropriately to each customer's requirements with honesty and punctuality in order to maintain long term win-win business relationship. Forefront Foodtech Co., Ltd. is the agent company that supplies machinery and system, install and provide after sales service as well as spare parts. Our products are: Nock, made in Germany: manufacturer of skinning machines, membrane skinning machine, slicers and scale ice makers. Frey, made in Germany: manufacturer of vacuum stuffers and chain linking system. Kronen, made in Germany: manufacturer of washing, centrifuges and cutting machinery for vegetable and fruits. Bandall, made in Netherlands: manufacturer of banding machine. Emerson, made in Romania: smoke chamber. G.Mondini, made in Italy: manufacturer of top seal, skin pack, paper seal, slimfresh and slicefresh for ready meal, meat, petfood and etc. Dorit, made in Germany: manufacturer of tumblers and injectors. Cliptechnik, made in Germany: manufacturer of single and double clippers for table top use and standalone clipping machines. Firex, made in Italy: manufacturer of food-processing equipment for kitchen and commercial equipment. Orved, made in Italy: manufacturer of vacuum packing machine. Carsoe, made in Denmark: designs and produces products for the seafood and food processing industry Gernal, made in Belgium: manufacturer of food-processing equipment for industrial Mado, made in Germany: manufacturer of meat-processing industry
  • We are well known for reliable, easy-to-use coding and marking solutions which have a low total cost of ownership, as well as for our strong customer service ethos. Developing new products and a continuous programme of improving existing coding and marking solutions also remain central to Linx's strategy. Coding and marking machines from Linx Printing Technologies Ltd provide a comprehensive solution for date and batch coding of products and packaging across manufacturing industries via a global network of distributors. In the industrial inkjet printer arena, our reputation is second to none. Our continuous ink jet printers, laser coders, outer case coders and thermal transfer overprinters are used on production lines in many manufacturing sectors, including the food, beverage, pharmaceutical, cosmetics, automotive and electronic industries, where product identification codes, batch numbers, use by dates and barcodes are needed. PTasia, THAILAND With more than 3,700 coding, marking, barcode, label applicator, filling, packing and sealing systems installed in THAILAND market. Our range is includes systems across a wide range of technologies. To select the most appropriate technology to suit our customers. An excellent customer service reputation, together with a reputation for reliability that sets standards in the industry, rounds off the PTAsia offering and provides customers with efficient and economical solutions of the high quality. Satisfyingcustomers inTHAILAND for 10 years Our 1,313 customers benefit from our many years of experience in the field, with our successful business model of continuous improvement. Our technical and service associates specialise in providing individual advice and finding the most efficient and practical solution to every requirment. PTAsia extends its expertise to customers in the food, beverage, chemical, personal care, pharmaceutical, medical device, electronics, aerospace, military, automotive, and other industrial markets.