โดย
กัลยาณี ดีประเสริฐวงศ์
หัวหน้ากลุ่มควบคุม สนับสนุน และพัฒนาสถานที่ผลิตอาหาร
กองควบคุมอาหาร
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ความสำคัญของระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารตามมาตรฐาน ISO 22000 : 2005 |
ปัจจุบันธุรกิจต่างๆมีการแข่งขันสูง การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของลูกค้าและมีความปลอดภัยที่จะบริโภคกลายเป็นข้อกำหนดพื้นฐานสำหรับผู้ผลิต ดังนั้น การนำระบบการบริหาร คุณภาพที่มีประสิทธิภาพเข้ามาช่วยในการประกอบธุรกิจก็จะทำให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ซึ่งในอนาคตระบบ GMP/HACCP ไม่ใช่เป็นระบบพื้นฐานแล้วอาจกลายเป็น ISO 22000 ที่เป็นพื้นฐานการจัดการด้านคุณภาพ และความปลอดภัยของอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องในห่วงโซ่อาหาร ระบบนี้เข้ามาในประเทศไทยหลายปีแล้วแต่ผู้ประกอบการอาหารเริ่มตื่นตัวขอการรับรองระบบ เนื่องจากประเทศคู่ค้าให้ความสำคัญในการต้องการสินค้าที่มาจากประเทศที่มีโรงงานที่มีระบบ Food Safety ประกันความปลอดภัยของสินค้าตลอดระบบห่วงโซ่อาหารมากขึ้น ขณะนี้ประเทศไทยมีโรงงานที่ได้การรับรองระบบ ISO 22000 : 2005 จากหน่วยรับรอง (Certification body : CB) ซึ่งจากเอกชนประมาณ 20 ราย แต่ยังไม่พบข้อมูลจากภาครัฐ ISO 22000 เป็นระบบคุณภาพที่ต่อยอดในเรื่อง ความปลอดภัยอาหาร เป็นการรวมเอาระบบ GMP ซึ่งเป็นระบบพื้นฐานของอุตสาหกรรมอาหารกับระบบ HACCP ซึ่งเป็นระบบวิเคราะห์จุดอันตรายแต่ละขั้นตอนการผลิตและมีการผนวก ISO 9001 เข้าไปเสริมในเรื่องการจัดการและระบบเอกสารทำให้ระบบนี้เหมาะกับอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งนี้เพื่อให้อาหารที่ผลิตมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ข้อกำหนดของระบบมาตรฐานนี้ใช้สำหรับระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารสำหรับองค์กรต่างๆ ในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งต้อง จัดให้มีกลไกสามารถควบคุมอันตรายที่เกิดขึ้น เพื่อให้อาหารมีความปลอดภัยต่อการบริโภค ข้อกำหนดนี้สามารถประยุกต์ใช้กับทุกองค์กร โดยไม่จำกัดขนาด ซึ่งองค์กรนั้นจะเกี่ยวข้องในห่วงโซ่อาหาร และการนำไปใช้เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย เช่น โรงงานที่ผลิตภาชนะบรรจุ สารเคมี ผู้ขนส่ง ผู้ให้บริการจัดเก็บและการกระจายสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับห่วงโซ่อาหารก็สามารถนำระบบนี้ไปใช้ได้อย่างเหมาะสม |
ข้อกำหนดการจัดการความปลอดภัยของอาหาร ISO 22000 |
ข้อกำหนดทั้งหมดในระบบ ISO 22000 มี 8 หัวข้อ แต่หลักการสำคัญของมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร ISO 22000 ประกอบด้วย 4 หลักการสำคัญคือ
ขณะนี้ระบบ ISO 22000 ถูกกำหนดเป็นประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 3441 (พ.ศ.2548) เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร-ข้อกำหนดสำหรับองค์กรในห่วงโซ่อาหารมาตรฐานเลขที่ มอก 22000-2548 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2548 และทางสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม : สมอ. กำลังจะจัดทำเป็นคู่มือฉบับภาษาไทยให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องข้อกำหนด 8 ข้อ กำหนดในระบบ ISO 22000 : 2005 ได้แก่ ขอบข่าย เอกสารอ้างอิง บทนิยามระบบการจัดการความปลอดภัยในอาหาร ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร การจัดการทรัพยากร การวางแผนและการจัดทำผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย และการรับรองผลการตรวจสอบและการปรับปรุงระบบ ทั้ง 8ข้อกำหนด จะมี 5 หัวข้อสำคัญ ซึ่งจะขอสรุปประเด็นที่จะเป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้แก่ผู้ประกอบการ และผู้ตรวจประเมิน ดังต่อไปนี้ |
1. ระบบการจัดการความปลอดภัยในอาหาร (Food Safety management System) (ข้อกำหนดที่ 4) |
องค์กรต้องจัดทำเอกสาร (Document) ซึ่งประกอบด้วยเอกสารนโยบายและวัตถุประสงค์ ด้านความปลอดภัยอาหาร เอกสารขั้นตอนการดำเนินการ (Procedure) และบันทึกคุณภาพตามที่มาตรฐานนี้กำหนด (Record) และเอกสารอื่นๆที่จำเป็น เอกสารดังกล่าวต้องมี Procedure ควบคุม ซึ่งสอดคล้องกับ ISO 9001 : 2000 สรุป ข้อกำหนดนี้เน้นการจัดทำเอกสารและการควบคุมเอกสาร |
2. ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร (Management Responsibility) (ข้อกำหนดที่ 5) |
ผู้บริหารขององค์กรมีความมุ่งมั่นให้การสนับสนุนด้านความปลอดภัยอาหาร ผู้บริหารต้องกำหนดนโยบายเป็นเอกสาร (ตามข้อ 1) และสื่อสารภายในองค์กรให้รับทราบทั่วถึง ซึ่งนโยบายนี้ต้องเหมาะสมกับบทบาทขององค์กรในห่วงโซ่อาหาร ต้องสอดคล้องกับกฎหมาย หรือข้อบังคับและข้อตกลงด้านความปลอดภัยอาหารของลูกค้า
สรุป ข้อกำหนดนี้เน้นองค์กรและผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับการจัดทำระบบการวางแผน การทบทวน รวมทั้งเน้นเรื่องการสื่อสาร และการจัดการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยอาหาร |
3. การจัดการทรัพยากร (Resource management) (ข้อกำหนดที่ 6) |
องค์กรต้องมอบหมายทรัพยากรในการจัดทำ ถือปฏิบัติ ธำรงรักษา และปรับระบบการ จัดการความปลอดภัยอาหารให้ทันสมัยอย่างเพียงพอ ทีม Food Safety และบุคคลใดๆที่ดำเนินกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยอาหาร ต้องมีความสามารถ ผ่านการให้ความรู้ อบรม มีทักษะและประสบการณ์
สรุป องค์กรต้องมีทรัพยากรทั้งด้านวัสดุ สิ่งก่อสร้าง สิ่งแวดล้อมที่ดี รวมทั้งบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การดำเนินการทางด้านความปลอดภัยอาหารเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐาน |
4. การวางแผนและการจัดทำผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย (Planning and realization of safe products) (ข้อกำหนดที่ 7) |
องค์กรต้องมีโปรแกรมพื้นฐานด้านสุขลักษณะ (Pre-requisite programs) (PRPs) ซึ่งอาจจะเป็น GAP (Good Agricultural Practice) , GHP (Good Hygienic Practice) , GVP (Good Veterinarian Practice) , GDP (Good Distribution Practice) , GPP ( Good Production Practice) , GTP ( Good Trading Practice) และ GMP (Good Manufacturing Practice) ขึ้นอยู่กับประเภทผู้ประกอบการในห่วงโซ่อาหาร และต้องจัดทำเป็นเอกสาร องค์กรต้องมีระบบ HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) โดย
สรุป ข้อกำหนดนี้เป็นข้อหลักการที่เน้นจุดสำคัญของการควบคุมความปลอดภัย ของอาหาร คือ GMP/HACCP รวมถึงระบบการจัดการสินค้าเมื่อไม่สอดคล้องกับมาตรฐาน การสอบกลับสินค้า และการเรียกคืนสินค้า |
5. การรับรองผล การทวนสอบ และการปรับปรุงระบบความปลอดภัยอาหาร (Validation Verification and Improvement of FSMS) (ข้อกำหนดที่ 8) |
ก่อนการประยุกต์ใช้มาตรการควบคุมใน PRPs และแผน HACCP หรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ องค์กรต้องทำการรับรอง (Validate) เพื่อให้แสดงว่า มาตรการนั้นๆสามารถให้ผลค่าที่ตั้งไว้ในการควบคุมอันตราย มีประสิทธิภาพ และมีความสามารถเพื่อให้ผลิตภัณฑ์บรรลุตามที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย ต้องได้รับการปรับเปลี่ยนและประเมินใหม่
เนื่องจากระบบ ISO 22000 : 2005 เป็นระบบที่ประสานรวมกันระหว่างระบบ ISO 9001 และระบบ HACCP ซึ่งผู้เขียนได้จัดทำเป็นตารางเปรียบเทียบระหว่าง 3 ข้อมาตรฐาน ตามภาคผนวกในเอกสารแนบท้าย เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจในเรื่องระบบการบริหารคุณภาพและความสอดคล้องหรือความเชื่อมโยงกันในแต่ละระบบได้ชัดเจนยิ่งขึ้นดังนั้น องค์กรหรือหน่วยงานที่มีระบบคุณภาพอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว การที่จะพัฒนาโดยนำระบบ ISO 22000 มาดำเนินการ จะสามารถประยุกต์ใช้ได้ง่ายขึ้นและหากมีการทวนสอบรวมทั้งปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการผลิตสินค้าเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคอย่างยั่งยืนต่อไป สรุป องค์กรต้องมีการยืนยันค่าตัวเลขต่างๆที่ใช้ หรือมาตรฐานที่นำมาอ้างอิงว่าเหมาะสมกับองค์กร สามารถลดขจัดอันตราย มีการทวนสอบอุปกรณ์ เครื่องมือที่สำคัญๆ โดยการสอบเทียบ และมีการทวนสอบระบบ เช่น การตรวจประเมินภายใน เป็นต้น |
เอกสารอ้างอิง |
1. Food safety management systemRequirements for any organizations in the food chain :International standard ISO 22000 : First edition 2005 2. Codex Alimentarius Food Hygiene, Third edition, 2003 |