News and Articles

บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่ 2

บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่ 2


หมวดหมู่: หนังสือบรรจุภัณฑ์อาหาร [บรรจุภัณฑ์อาหาร]
วันที่: 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ตารางที่ 7.4 ปริมาณเถ้าถ่านที่เหลือจากการเผาไหม้โดยไม่ทำปฏิกิริยา (Inert Residue) ค่าของพลังงานที่ได้จากการเผาและปริมาณซัลเฟอร์จาก 1 ตันของบรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ

บรรจุภัณฑ์

Inert Residue

(%)

พลังงาน

(บีทียู/ปอนด์)

เปอร์เซ็นต์ซัลเฟอร์

โดยน้ำหนักที่แห้ง

กระดาษแข็ง

4

7,841

0.14

กระดาษอื่นๆ

8

7,793

0.12

โลหะ

91

742

0.01

แก้ว

99

84

0.00

ไม้

3

8,236

0.11

ฟิล์มพลาสติก

7

13,846

0.07

พลาสติกต่างๆ

20

9,049

0.55

แหล่งที่มา : Darnay, A. and Franklin, W.E. "The Role of Packaging in Solid Waste Management 1996 to 1976."

คุณสมบัติอย่างอื่นที่ต้องพิจารณาคือ ค่าของพลังงานที่ได้จากการเผา (BTU Content) ปริมาณของซัลเฟอร์ และโอกาสที่จะทำให้เตาเผาเสียหาย ค่าของพลังงานที่ได้จากการเผาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเลือกเตาเผา เพราะว่าพลังงานที่ได้จากการเผาสามารถนำไปใช้ได้ใหม่ ส่วนปริมาณซัลเฟอร์ที่ได้นั้นสามารถใช้เป็นดรรชนีในการวัดความเป็นพิษของขยะและซากบรรจุภัณฑ์ที่ได้จากการเผาไหม้ ในตารางที่ 7.4 พบว่าซากบรรจุภัณฑ์ที่เผาไหม้ก่อให้เกิดปริมาณซัลเฟอร์ค่อนข้างน้อย กล่าวคือ ใน 1 ตันของบรรจุภัณฑ์จะมีปริมาณซัลเฟอร์ไม่มากกว่า 1 กิโลกรัม สำหรับอากาศที่จะทำความเสียหายให้แก่เตาเผานั้น บรรจุภัณฑ์แก้วมีโอกาสมากที่สุด เนื่องจากเมื่อแก้วหลอมละลายแล้ว น้ำแก้วมีโอกาสติดหลงเหลืออยู่ตามผนังของเตาเผาจะทำให้ผนังของเตาเผาแตกได้ ถ้าเผาถึงอุณหภูมิ 700°C พลาสติกบางประเภทที่อยู่ในรูปของถาดและขวดหนาๆ อาจก่อให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน เพราะเมื่อหลอมละลายแล้วมีโอกาสแข็งตัวและอุดช่องทางออกจากเตาเผาเมื่อสัมผัสกับอากาศในบรรยากาศพลาสติกที่มีผิวบางและฟิล์มไม่ค่อยประสบปัญหาในการทำความเสียหายให้แก่เตาเผา

การทำให้บรรจุภัณฑ์เสื่อมสลายโดยวิธีการทางชีวภาคนั้น การกำจัดซากบรรจุภัณฑ์วิธีสุดท้ายที่เริ่มได้รับความนิยมคือ Biodegradation วิธีนี้จะประยุกต์ใช้ได้เฉพาะสารอินทรีย์ ดังนั้นจึงใช้ได้เฉพาะบรรจุภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากกระดาษ ไม้และสิ่งทอ ซากบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุเหล่านี้จะเสื่อมสลายทางชีวภาคช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับความหนา หรือส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ที่เคลือบด้วยสารที่ไม่เสื่อมสลายได้ (Nondegradable) ซากบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการย่อยสลายทางชีวภาคนี้แล้วจะกลายเป็นสารอินทรีย์ที่ไม่ทำปฏิกิริยา (Inert Organic Materials) ซึ่งมักจะใช้ประโยชน์เป็นสารปรับคุณภาพของดิน (Soil Conditioning) ในการประยุกต์เทคโนโลยีทางชีวภาคมาใช้ในการย่อยสลายซากบรรจุภัณฑ์จำต้องคำนึงความสามารถที่จะย่อยสลายด้วยบักเตรี และพิจารณาถึงผลที่ได้จากการย่อยสลายว่าจะนำไปใช้ประโยชน์อะไรต่อไปได้

จากความรู้ของวจรบรรจุภัณฑ์และวิธีการกำจัดซากบรรจุภัณฑ์อาหารดังกล่าว ย่อมเป็นแนวทางให้ผู้ออกแบบบรรจุภัณฑ์สามารเลือกประเภทวัสดุที่มีวงจรชีวิตสั้นและสามารถกำจัดได้ง่ายหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือมีโอกาสเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

7.2 สถานะของวัสดุบรรจุภัณฑ์ต่อสิ่งแวดล้อม

สถานะของวัสดุบรรจุภัณฑ์แต่ละประเภทที่มีต่อการใช้งานและผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมสามารถแยกตามประเภทของวัสดุได้ดังนี้

7.2.1 บรรจุภัณฑ์ผลิตจากเยื่อและกระดาษ

การเวียนมาผลิตใหม่เป็นคุณสมบัติเด่นของวัสดุเยื่อและกระดาษ เยื่อเส้นใยยาวเป็นเยื่อที่เหมาะสมในการนำมาผลิตใหม่มากที่สุด โดยปกติจะนำมาผลิตใหม่ได้ 4 ครั้ง จากนั้นแล้วคุณภาพของเยื่อจะเริ่มเสื่อมคุณภาพ กระดาษที่นำกลับมาผลิตใหม่อาจแบ่งเป็น กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษเหนียวสีน้ำตาลดังรูปสัญลักษณ์ที่แสดงไว้ในรูป (ก) หน้า 228 และกล่องกระดาษแข็งที่ผิวด้านหลังเป็นสีขาว มีสิ่งที่น่าสังเกตในแง่ของพลังงานที่ใช้ในการผลิตแปรรูปบรรจุภัณฑ์กระดาษซึ่งมีค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับพลังงานที่ใช้ในการผลิต กล่าวคือการใช้พลังงานในการผลิตบรรจุภัณฑ์จะใช้ประมาณร้อยละ 5ของพลังงานที่ใช้ในการผลิตกระดาษ

ในปี พ.ศ. 2539 คนไทยใช้กระดาษรวมโดยเฉลี่ยคนละ 37 กิโลกรัมต่อปี หรือประมาณ 2,000,000 ตันต่อปี มีอัตราการเพิ่มขึ้นจากปี 2537 ประมาณร้อยละ 15 และมีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในกระบวนการผลิตกระดาษ 1 ตันต้องใช้ต้นไม้ประมาณ 1.2 - 2.2 ตัน (น้ำหนักอบแห้ง) กระแสไฟฟ้า 1,000 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ใช้น้ำมัน 300 ลิตร ใช้น้ำ 20 ลูกบาศก์เมตร ในขณะเดียวกันมีการนำเข้าเศษกระดาษ โดยในปี 2535 มีการนำเข้า 342,700 ตัน และในปี 2540 มีการนำเข้า 460,596 ตัน จากปริมาณดังกล่าวนี้ย่อมแสดงว่าความพยายามในการนำเอาเศษกระดาษกลับมารีไซเคิลของประเทศไทยจะสามารถการนำเข้าของเศษกระดาษได้ ทั้งยังช่วยลดการใช้ทรัพยากรป่าไม้ ลดปริมาณมูลฝอย ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า รวมถึงค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต

7.2.2 บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติก

เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1835 เป็นต้นมา พลาสติกได้รับการค้นพบด้วยวิธีการผลิตเชิงพาณิชย์ ในปัจจุบันนี้วัสดุพลาสติกมีใช้ในวงการบรรจุภัณฑ์ประมาณร้อยละ 30 - 40 โดยมีปริมาณการใช้ คือร้อยละ 50 ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกอ่อนตัว (Flexible Packaging) อีกร้อยละ 40 ใช้ในบรรจุภัณฑ์เป่าเป็นขวด ส่วนที่เหลือใช้เป็นกาวหรือสารยึดติด พลาสติกที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ได้แก่ PE PP PS PVC และ PET ในประเทศแถบยุโรป บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่พบในกองขยะตามบ้านปรากฏว่ามีประเภทของบรรจุภัณฑ์พลาสติกแยกได้ดังนี้

ตารางที่ 7.5 ปริมาณบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่พบในขยะตามบ้านของประเทศแถบยุโรป

ประเภทพลาสติก

ปริมาณที่พบในขยะ (ร้อยละ)

PE + PP

65

PS + EPS

15

PVC

10

PET

5

อื่นๆ

5

แหล่งที่มา : Michaeli, Greif, Kanfmann, Vosseburger, 1992

พลาสติกแต่ละประเภทมีคุณสมบัติแตกต่างกันและจำต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสินค้า ในแง่ของการรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อม พลาสติกแต่ละประเภทมีบทบาทต่อสิ่งแวดล้อมดังต่อไปนี้

PET มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ในระดับหนึ่ง แต่ทนต่อการกระแทกได้ดีและมีความแวววาว คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งคือ ทนต่อการซึมผ่านของก๊าซได้เป็นอย่างดี ทำให้ขวด PET เป็นบรรจุภัณฑ์ชนิดเดียวกับที่ใช้น้ำอัดลมได้ ด้วยคุณสมบัติเด่นดังกล่าวจึงได้รับการยอมรับใช้งานอย่างกว้างขวางในการบรรจุเครื่องดื่มประเภทต่างๆและเครื่องชูรสอาหารอื่นๆ เฉพาะในสหรัฐอเมริกามีปริมาณการใช้ขวด PET ถึง 1.6 พันล้านปอนด์ต่อปี ขวด PET ที่ใช้แล้วสามารถแปรรูปเป็นวัตถุดิบ ในการผลิตเป็นพรม เสื้อผ้า และตุ๊กตา เป็นต้น และเป็นพลาสติกที่มีการนำกลับมาผลิตใหม่มากที่สุด

ในเมืองไทยเริ่มมีการนำขวด PET ที่ใช้แล้วมารีไซเคิลเป็นพรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 โดยใช้เทคโนโลยีจากญี่ปุ่น ซึ่งมีความสามารถรองรับขวด PET ที่บดละเอียดแล้ว 400 ตันต่อเดือนและสามารถทอเป็นพรมได้ 1,000,000 ตารางเมตรต่อเดือน ความสามารถในการนำขวด PET กลับมาผลิตใหม่เป็นพรมนั้นจะใช้ขวด PET จำนวน 7 - 8 ขวด (ขึ้นกับขนาดของขวด) มาทอเป็นพรมได้ 1 ตารางเมตร โดยรับซื้อจากแหล่งต่างๆ 15 แห่งทั่วทั้งราชอาณาจักร นับว่าเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีรีไซเคิล ซึ่งมีเพียงไม่กี่ประเทศในโลกนี้ที่สามารถนำ PET มาผลิตเป็นสินค้าอย่างอื่น

PVC เป็นพลาสติกที่ได้รับความนิยมลดลงมาเรื่อย สืบเนื่องจากมีสารตกค้างของ Vinyl Chloride แม้ว่าจะมีจำนวนน้อยจนไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพก็ตาม การใช้ PVC ในวงการบรรจุภัณฑ์อาจแยกเป็นร้อยละ 60 ใช้กับอาหารและยา และร้อยละ 40 ใช้ในบรรจุภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ

การนำพลาสติกกลับมาผลิตใหม่นี้คงจะได้รับการรณรงค์ส่งเสริมมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมทั้งควรจะมีกฎข้อบังคับให้ระวังรักษาความปลอดภัยในการนำพลาสติกกลับมาผลิตหรือใช้ใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำกลับมาบรรจุอาหารนั้นมีความเสี่ยงสูงมาก ในปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการนำบรรจุภัณฑ์พลาสติกกลับมาผลิตใหม่ดังนี้

ตารางที่ 7.6 บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่นำกลับมาผลิตใหม่จากขยะตามบ้านในสหรัฐอเมริกา

ประเภทของบรรจุภัณฑ์

การนำกลับมาผลิตใหม่ (ร้อยละ)

ขวดน้ำดื่ม

65

ขวดน้ำยาทำความสะอาด

50

ขวดประเภทอื่นๆ

10

ฟิล์มบรรจุภัณฑ์

5

เฉลี่ยพลาสติกชนิดต่างๆ

30

แหล่งที่มา : R.G. Saba and W.E. Pearson "Curbside Recycling Infrastructure : A Pragmatic Approach" American Chemical Society Washington D.C. (1995)

7.2.3 บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากโลหะ

บรรจุภัณฑ์โลหะโดยเฉพาะกระป๋องได้รับความนิยมใช้อย่างกว้างขวางตั้งแต่โบราณกาล บรรจุภัณฑ์โลหะที่เป็นเหล็กได้วิวัฒนาการมาใช้อะลูมิเนียมทั้งในรูปแบบกระป๋อง และเปลวอะลูมิเนียมที่นำมาผลิตเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์อ่อนนุ่ม

(1) กระป๋องเหล็ก

ปัญหาการเก็บมาผลิตใหม่ของบรรจุภัณฑ์กระป๋อง คือ สารที่ใช้เคลือบภายในกระป๋อง ซึ่งได้มีการรณรงค์การทำให้หลอมละลายด้วยความร้อนได้ง่าย และต้องทำการแยกสารที่ใช้เคลือบนี้ในเตาหลอมแยกต่างหากก่อน ข้อดีของกระป๋องออกมาได้ สำหรับกระป๋อง 3 ชิ้นแบบเก่าที่ใช้น้ำประสานทองในการเชื่อมตัวกระป๋องเข้าด้วยกันและกระป๋องที่มีเนื้อดีบุกผสมอยู่ การนำกลับมาใช้ผลิตใหม่ต้องแยกเอาดีบุกและโลหะหนักออกมาก่อนแม้ว่าจะมีปริมาณเพียงร้อยละ 0.01 เพราะสารที่ตกค้างอยู่นี้จะก่อให้เกิดปัญหาในการรีดเหล็กเมื่อนำเหล็กไปหลอมใหม่

(2) กระป๋องอะลูมิเนียม

บรรจุภัณฑ์อะลูมิเนียมที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันนี้คือ กระป๋องอะลูมิเนียมบรรจุน้ำอัดลมและเครื่องดื่มประเภทต่างๆ นอกเหนือจากเปลวอะลูมิเนียมที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์อ่อนนุ่ม

สืบเนื่องจากบรรจุภัณฑ์อะลูมิเนียมที่ผลิตจากอะลูมิเนียมที่มีความบริสุทธิ์ถึงร้อยละ 99 โอกาสที่จะนำบรรจุภัณฑ์อะลูมิเนียมกลับมาใช้ใหม่จึงให้ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจสูง แม้ว่าแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาผลิตเป็นอะลูมิเนียมนั้น เชื่อกันว่ามีอยู่ในโลกนี้มากเป็นอันดับสามก็ตาม แต่แร่ที่ใช้กันมากที่สุด คือ Bauxite 4 กิโลกรัมสามารถผลิตเป็นเปลวอะลูมิเนียมได้เพียง 1 กิโลกรัมเท่านั้น กระป๋องอะลูมิเนียมที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำอัดลมในประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการนำกลับมาผลิตใหม่ร้อยละ 95 และอะลูมิเนียมที่ได้จากการนำกลับมาผลิตใหม่นี้กว่าร้อยละ 90 จะนำมาผลิตเป็นกระป๋อง ส่วนที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 10 ใช้ผลิตเป็นสินค้าอะลูมิเนียมชนิดอื่นๆ

ในกระบวนการนำบรรจุภัณฑ์อะลูมิเนียมกลับมาผลิตใหม่นั้น โดยทั่วไปจะใช้หลักความแตกต่างของความหนาแน่นของบรรจุภัณฑ์กระป๋องอะลูมิเนียมเป็นมาตรฐานในการแยกออกจากกองขยะหรือบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่นๆ หรือใช้ระบบกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่า Eddy Current โดยการสร้างสนามไฟฟ้า ทำการผลักเอากระป๋องอะลูมิเนียมออกจากกองขยะ ด้วยเหตุนี้ การนำอะลูมิเนียมกลับมาหลอมเหลวใหม่ จะสามารถประหยัดพลังงานจากการนำกระป๋องอะลูมิเนียมกลับมาผลิตใหม่ได้มากกว่าประเทศทางยุโรป

7.2.4 บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากแก้ว

บรรจุภัณฑ์แก้วนับเป็นบรรจุภัณฑ์ชนิดเดียวที่สามารถผลิตได้ครบกระบวนการผลิตภายในโรงงานเดียวกัน ส่งผลให้เศษแก้วที่ได้จากการผลิตสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ภายในโรงงานได้อีก นอกจากนี้ ความจำเป็นในการผลิตที่ต้องใช้เศษแก้วผสมในเตาหลอมแก้วทำให้มีความจำเป็นต้องนำขวดแก้วที่ใช้แล้วกลับเข้าสู่โรงงานผลิตแก้ว ทำให้มีการนำแก้วกลับคืนจากผู้บริโภคร้อยละ 25 ของเศษแก้วที่ต้องใช้ในโรงแก้ว การนำขวดแก้วกลับมาหลอมละลายใช้ใหม่จำเป็นต้องมีการแยกสีของขวดก่อน

นอกเหนือจากการนำมาผลิตใหม่แล้ว บรรจุภัณฑ์แก้วยังมีการนำกลับมาใช้ใหม่มากที่สุดในจำนวนบรรจุภัณฑ์ทั้งหลาย ตัวอย่างเช่น ขวดน้ำอัดลมสมัยเก่า หรือขวด Return Bottle เคยมีการนำกลับมาบรรจุใหม่ได้หลายสิบครั้ง การนำกลับมาบรรจุใหม่นี้ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว จำนวนครั้งของขวดเบียร์จะมีการนำกลับมาใช้ใหม่โดยเฉลี่ยประมาณ 8 ครั้ง จากการศึกษาในประเทศสวีเดน พบว่าถ้ามีการนำขวดแก้วกลับมาใช้ได้ถึง 50 ครั้งจะสามารถลดพลังงานที่ใช้ในการผลิตแก้วใหม่ได้ถึงร้อยละ 50 นอกเหนือจากการเปรียบเทียบพลังงานที่ใช้ในการผลิตแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสุขลักษณะของบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่โดยจำเป็นต้องผ่านการทำความสะอาดอย่างถูกต้อง

ในประเทศไทยมีการนำขวดแก้วกลับมาใช้ใหม่ คิดเป็นปริมาณได้ 155,916.60 ตัน หรือประมาณร้อยละ 23 ของขวดแก้วที่ผลิต และเป็นสิ่งที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 2536 บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด ได้ริเริ่มโครงการรณรงค์หมุนเวียนการใช้เศษแก้วในโรงเรียนต่างๆ โดยมีการนำเศษแก้วหรือขวดแก้วที่เหลือใช้จากครัวเรือน โดยแยกออกจากขยะและรวบรวมนำมาทิ้งในถังเก็บเศษแก้วที่โรงเรียน ผลปรากฏว่ามีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการนี้เกือบ 200 โรงเรียน และสามารถนำกลับมาผลิตใหม่ได้มากถึง 1,000 ตันในปี 2540

จากอดีตที่ผ่านมา 30 ปี กระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วได้วิวัฒนาการอย่างมากมาย ทำให้ได้บรรจุภัณฑ์แก้วที่บางลงแต่แข็งแรงเท่าๆ กับบรรจุภัณฑ์แก้วในอดีต ส่งผลให้พลังงานที่ใช้ลดลง นอกจากนี้ เศษแก้วที่นำกลับมายังสามารถนำไปใช้กับอุตสาหกรรมอื่น เช่น การผลิตอิฐแก้ว การผลิตใยสังเคราะห์ เป็นต้น

<<ย้อนกลับ บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่1อ่านต่อ บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่3 >>

<<กลับสู่หน้าหลัก



ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่ 1
บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ในสังคมปัจจุบัน ผู้อุปโภคบริโภคให้ความสนใจต่อบรรจุภัณฑ์มากเป็นทวีคูณ ผู้บริโภคนอกจากจะมีความต้องการความสวยงามภายนอกของตัวบรรจุภัณฑ์แล้ว ยังต้องการบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การออกแบบบรรจุภัณฑ์จำต้องพิจารณาถึงความสามารถในการลดปริมาณบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วในขยะ ความต้องการดังกล่าวนี้ได้ก่อให้เกิดกระแสทางสังคมในประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่งผลให้สินค้าที่ส่งไปจัดจำหน่ายประเทศเหล่านี้จำต้องสอดคล้องกับกฎข้อบังคับทางด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศนั้นๆ ด้วย มีการเปรียบเทียบบทบาทของบรรจุภัณฑ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เม็กซิโก ในฐานะประเทศที่กำลังพัฒนา จะพบว่าปริมาณขยะโดยเฉลี่ยของชาวเม็กซิโกมีมากกว่าชาวอเมริกันถึงร้อยละ 40 เนื่องจากชาวเม็กซิโกใช้ปริมาณบรรจุภัณฑ์น้อยกว่า ส่งผลให้มีปริมาณขยะและอาหารเน่าเสียมากกว่า ในขณะเดียวกัน การศึกษาในยุโรปพบว่าปริมาณของซากบรรจุภัณฑ์ที่พบในขยะทิ้งตามบ้านมีปริมาณลดลงในระหว่างปี ค.ศ. 1971 - 1981 โดยมีประมาณร้อยละ 32 ใน ค.ศ. 1971 ลดลงมาประมาณร้อยละ 25.2 ในปี ค.ศ. 1978 และลดลงร้อยละ 22.4 ในปี ค.ศ. 1981 จากรายงานดังกล่าวนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าบรรจุภัณฑ์มีส่วนในการลดปริมาณขยะและซากบรรจุภัณฑ์ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วมีแนวโน้มที่จะลดลงเรื่อยๆ 7.1 บรรจุภัณฑ์กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความหมายของสิ่งแวดล้อมในที่นี้ครอบคลุมถึงผลกระทบที่เกิดจากวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อโลกที่เราอยู่ ดังประโยคที่ว่า We Just Have One Earth รวมกระทั่งถึงผลกระทบที่มีต่อมนุษยชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งหมด อันได้แก่ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งน้ำ พลังงาน อากาศและบรรยากาศที่อยู่เหนือโลก ในอดีต วงการอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไม่ค่อยคำนึงถึงการกำจัดบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว แต่เน้นด้านต้นทุนมากกว่า ดังนั้นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในสมัยก่อนจึงมุ่งสู่การป้องกันรักษาคุณภาพและทำหน้าที่ส่งเสริมการจำหน่ายและการตลาด แต่ด้วยแรงกดดันจากกระแสสังคมที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การออกแบบบรรจุภัณฑ์สมัยนี้จึงต้องคำนึงถึงความสะดวกในการกำจัดซากบรรจุภัณฑ์และการรักษาปริมาณทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในโลกนี้ด้วย พัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ทรัพยากรธรรมชาติในโลกที่มีอยู่นี้มีปริมาณจำกัด มนุษย์เราได้ใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างไม่บันยะบันยังซึ่งนำไปสู่วิกฤติการณ์ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการรณรงค์ให้นำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Renewable) ตัวอย่างเช่น การนำเอากล่องกระดาษแข็งนำกลับมาใช้ใหม่ในประเทศเยอรมัน ผู้บริโภคจะนำเฉพาะบรรจุภัณฑ์ชั้นใน เช่น ขวดที่บรรจุสินค้ากลับบ้าน ส่วนตัวกล่องชั้นนอกจะให้ผู้ขายนำกลับไปใช้ใหม่ โครงการนำกลับมาใช้ซึ่งค่อนข้างใหม่นี้ย่อมช่วยกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติไม่ให้หมดไปในระยะเวลาอันใกล้ 7.1.1 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหมายถึง การเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ปัจจุบันสร้างเป็นสิ่งแวดล้อมใหม่ขึ้นมา และสภาพสิ่งแวดล้อมใหม่ที่สร้างขึ้นอาจก่อผลด้านบวกหรือด้านลบต่อสภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ได้ บรรจุภัณฑ์ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรงได้แก่ การทำให้ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอลง นอกจากวัตถุดิบต่างๆ ที่ใช้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ เช่น น้ำมัน โลหะ และทราย อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ยังเป็นแหล่งใช้พลังงานต่างๆ รวมทั้งใช้อากาศและน้ำในกระบวนการผลิตและแปรรูป สารบางประเภทที่ใช้ เช่น CFC (Chlorofluorocarbons) ยังทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศแต่ผลกระทบที่ได้รับการเพ่งเล็งมากที่สุด คือ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วที่ก่อให้เกิดขยะตามถนนหนทาง (1) พลังงานที่ใช้ในการผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ ปริมาณของพลังงานที่ใช้ในการผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ นอกจากจะแปรผันตามวิวัฒนาการทาเทคโนโลยีของกระบวนการผลิตวัสดุแต่ละประเภทแล้ว ยังแปรผันตามประเภทของพลังงานที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่ออกแบบด้วย จากตารางที่ 7.1 จะพบว่าการผลิตอะลูมิเนียมจะใช้พลังงานมากกว่าวัสดุบรรจุภัณฑ์อื่นๆ เป็นเท่าตัว แต่ถ้านำอะลูมิเนียมที่ใช้แล้วมาหลอมละลายใหม่จะใช้พลังงานเพียงร้อยละ 10 ของพลังงานที่ใช้ในการผลิตวัสดุใหม่ (Virgin Material) ส่วนกระดาษนั้นจะใช้พลังงานน้ำค่อนข้างจะมาก พิจารณาจากประเภทของพลังงานที่ใช้ แหล่งพลังงานหลักที่ใช้ คือ กระแสไฟฟ้าและน้ำมัน อะลูมิเนียมใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ในการหลอมละลายแร่บอกไซด์ (Bauxite) แต่ใช้น้ำมันมากในการแปรรูปเป็นกระป๋อง แม้ว่าน้ำหนักของกระป๋องอะลูมิเนียมเมื่อเทียบกับกระป๋องโลหะขนาดเดียวกันจะมีน้ำหนักเพียงครึ่งเดียวของกระป๋องโลหะ แต่พลังงานที่ใช้กลับมากกว่าเป็นเท่าตัว ส่วนกระดาษและพลาสติกนั้นจะใช้พลังงานจากน้ำมันมากกว่าจากกระแสไฟฟ้าประมาณ 6 เท่าตัว รายละเอียดของประเภทพลังงานที่ใช้ทั้งหมดเริ่มจากแหล่งแร่รวมทั้งการขนส่งของบรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ แสดงไว้ในตารางที่ 7.2 ซึ่งถ้าพิจารณาในแง่มุมของปริมาณและประเภทของพลังงานที่ใช้ แก้วจะใช้พลังงานน้อยที่สุด เนื่องจากการผลิตอย่างต่อเนื่องภายในโรงงานเดียวไม่มีค่าขนส่งเข้ามาเกี่ยวข้อง ตารางที่ 7.1 : ปริมาณพลังงานที่ใช้ในการผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ วัสดุ ปริมาณพลังงาน (MJ/กิโลกรัม) ปริมาณอากาศ (1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อกิโลกรัม) ปริมาณน้ำ (ลูกบาศก์เมตรต่อกิโลกรัม) แก้ว นำกลับมาผลิตใหม่ 56.2% นำกลับมาผลิตใหม่ 100% กระดาษ กระดาษแข็ง กระดาษลูกฟูก อะลูมิเนียม (ใช้แหล่งพลังงานน้ำ + ไฟฟ้า) ไม่มีการนำกลับมาผลิตใหม่ มีการนำกลับมาผลิตใหม่ 100% พลาสติก LDPE PP PET PVC PS 7.5 5.9 33.1 16.3 126.1 12.6 47.4 50.0 69.5 42.5 56.2 293.0 165.4 381.4 186.1 2,611.0 300.7 231.2 331.5 692.4 669.0 675.9 1.3 1.1 948.3 136.9 638.6 1.9 107.3 122.2 119.7 307.2 60.2 แหล่งข้อมูล : BUWAL, Switzerland (1990) ตารางที่ 7.2 : ประเภทของพลังงานที่ใช้ในการผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ 1 ตัน (หน่วย 106 Joules, หรือ MJ) วัสดุบรรจุภัณฑ์ ไฟฟ้า น้ำมัน พลังงานอื่นๆ แก้ว 1,304 8,471 5,919 กระป๋องโลหะ 3 ชิ้น (450 ซี.ซี.) 10,531 16,802 28,993 กระป๋องอะลูมิเนียม (450 ซี.ซี.) 79,625 76,829 57,276 กระดาษแข็ง 9,350 25,630 16,630 ขวด LDPE (50,000 ขวด) 6,720 36,820 - ขวด HDPE (50,000 ขวด) 6,890 37,910 - ขวด PP (50,000 ขวด) 3,340 40,390 - ขวด PET (50,000 ขวด) 18,660 - - แหล่งที่มา : Boustead, Hancock "Energy and Packaging" (2) ขยะ บรรจุภัณฑ์มักจะถูกประณามว่าเป็นบ่อเป็นบ่อเกิดของปริมาณขยะที่ทิ้งตามบ้านและทำให้เกิดปัญหาในการกำจัด สืบเนื่องจากการหาที่ดินในการฝังกลบขยะนั้นยากขึ้น ในขณะเดียวกันการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการกำจัดขยะต้องใช้การลงทุนที่สูง ในสภาพความเป็นจริง ปริมาณของซากบรรจุภัณฑ์ในขยะนั้นมีประมาณเศษหนึ่งส่วนสามโดยน้ำหนัก ประเทศที่พัฒนาแล้วปริมาณซากบรรจุภัณฑ์ในขยะมีปริมาณโดยน้ำหนักลดน้อยลง เนื่องจากวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีของการผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ การรณรงค์ลดปริมาณของซากบรรจุภัณฑ์ในขยะนั้น ควรเริ่มต้นจากการลดปริมาณของบรรจุภัณฑ์ที่ทิ้งในขยะ ด้วยการนำส่งบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วนั้นกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) แล้วจึงคิดวิธีนำกลับมาผลิตใหม่ (Recycling) ท้ายที่สุดจึงค่อยคำนึงถึงการนำมาเผาผลาญเอาพลังงานมาใช้เป็นประโยชน์ ผลกระทบของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการใช้พลังงานและก่อให้เกิดขยะแล้ว กระบวนการผลิตต่างๆ ยังมีส่วนทำให้เกิดมลภาวะทางด้านน้ำเสียและอากาศเป็นพิษ ซึ่งทางหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องได้ทำการควบคุมอย่างใกล้ชิด การผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์แต่ละประเภทมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยแปรผันตามประเภทของวัสดุ เช่น การผลิตกระดาษจะมีน้ำเสียที่มีส่วนผสมของสารอินทรีย์อยู่มาก ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณ BOD (Biochemical Oxygen Demand) ในน้ำเสียก่อนระบายน้ำทิ้ง ส่วนพลาสติกจะปล่อยควันและไอที่มีสารอนินทรีย์ออกสู่อากาศซึ่งมีปัญหามากกว่าการปล่อยน้ำเสียจากการผลิตกระดาษ นอกจากนี้ ในการแปรรูปและงานพิมพ์ยังมีการใช้สารเคมีที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ตัวทำละลาย (Solvent) ที่มีอยู่ในหมึกพิมพ์และกาว ซึ่งควรจะมีการรณรงค์ให้ใช้หมึกและกาวฐานน้ำ (Water - Based) แทนที่ฐานตัวทำละลาย (Solvent - Based) (3) การทำลายชั้นโอโซน ประมาณกลางปี พ.ศ. 2523 นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบรูรั่วเหนือทวีปแอนตาร์กติกที่เกิดจาการทำลายของสาร CFC (Chlorofluorocarbon) หลังจากนั้นอีก 16 ปีได้มีการตกลงระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วให้ยุติการผลิตสาร CFC สารนี้ที่มีใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เป็นสารขับดัน (Propellant) ในกระป๋องสเปรย์นั้น ทางสหรัฐอเมริกาได้มีกฎห้ามใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 นอกจากกระป๋องสเปรย์ สาร CFC ยังใช้เป็นสารพองตัวในการผลิตโฟม และทางสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎยกเลิกการใช้เมื่อปี พ.ศ. 2533 ทำให้ถาดโฟมที่ใช้ในภัตตาคารประเภทอาหารจานด่วน (Fast Food) ได้ถูกแทนที่ด้วยถาดกระดาษภายในระยะเวลาอันสั้น ผลกระทบหลักที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ทั้ง 3 ประเภทดังกล่าว ก่อให้เกิดกระแสรณรงค์รักษ์สิ่งแวดล้อม มีผลทำให้วงการอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ทั่วทั้งโลกต้องปรับกระบวนการผลิตและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อย่างรีบเร่ง รูปที่ 7.1 วงจรของบรรจุภัณฑ์จากผู้ผลิตไปยังแหล่งกำจัดซากบรรจุภัณฑ์ แหล่งที่มา : Darnay, A. and Franklin, W.E. "The Role of Packaging in Solid Waste Management 1996 to 1976." 7.1.2 วงจรบรรจุภัณฑ์และการกำจัดซากบรรจุภัณฑ์ วงจรบรรจุภัณฑ์เริ่มต้นจากผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ที่มักจะมีแผนกกำจัดของเสียที่เกิดจากสายงานการผลิตภายในโรงงาน เมื่อนำของเสียเหล่านี้กลับมาใช้งานใหม่หรือจำหน่ายแบบตกเกรดหรือแบบไม่ได้มาตรฐาน ส่วนบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปเสร็จสมบูรณ์แล้วจะนำไปยังโรงงานที่บรรจุอาหาร ในการส่งมอบบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ อาจมีบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตแล้วไม่ได้ตามข้อกำหนดที่ได้ตกลงไว้ (Specification) และถูกตีกลับคืนไปยังร้านค้าที่สั่งซื้อมาหรือส่งคืนกลับไปยังโรงงานโดยเพื่อผลิตใหม่ ในกรณีที่บรรจุภัณฑ์ผ่านการยอมรับในการส่งมอบแล้วนำไปใช้งาน กระบวนการบรรจุย่อมมีโอกาสเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ เช่น บรรจุไม่ได้น้ำหนักหรือปริมาตรที่กำหนด หรือปิดฉลากไม่ถูกต้อง เป็นต้น บรรจุภัณฑ์ที่เสียหายจากการบรรจุนี้อาจนำกลับไปใช้งานใหม่หรือกำจัดทิ้งภายในโรงงาน ส่วนบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุได้เรียบร้อยสมบูรณ์จะถูกส่งไปจัดจำหน่ายผ่านผู้ขาย เมื่อผลิตภัณฑ์อาหารได้รับการบริโภคแล้วตัวบรรจุภัณฑ์จะถูกทิ้งไป การลดความเสียหายของบรรจุภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในรูปที่ 7.1 จะแปรผันตามประสิทธิภาพในการผลิตและการสื่อสารระหว่างผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์และผู้บรรจุ (ผู้ใช้บรรจุภัณฑ์) เพื่อการยอมรับตัวบรรจุภัณฑ์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 3 หัวข้อ ข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ และหัวข้อ Acceptable Quality Level ส่วนความเสียหายที่อาจเกิดจากสายงานการบรรจุขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาเครื่องจักร การจัดการโรงงานโดยพยายามที่จะลดความเสียหายให้น้อยที่สุดเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการบรรจุและการใช้บรรจุภัณฑ์ เมื่ออาหารได้รับการบริโภคและบรรจุภัณฑ์ถูกทิ้งไปในรูปที่ 7.1 แสดงให้เห็นว่าก่อนที่บรรจุภัณฑ์จะถูกกำจัดทิ้ง จะสามารถเคลื่อนย้ายได้หลายวงจรหลังจากถูกใช้งานแล้ว ความยากลำบากในการนำซากบรรจุภัณฑ์ไปกำจัดทิ้งจะแปรตามปริมาตรและประเภทของบรรจุภัณฑ์ ปริมาตรดังกล่าวนี้แปรผันตามองค์ประกอบต่างๆ ของตัวบรรจุภัณฑ์ เช่น รูปทรง ขนาด น้ำหนัก และโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดซากแต่ละประเภทย่อมแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น กล่องนมหรือกระป๋อง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยของระยะทางที่จะนำไปกำจัดซากหรือนำกลับไปผลิตใหม่/ใช้ใหม่ การกำจัดด้วยการนำมาทำลายหรือการนำกลับมาใช้ใหม่หรือผลิตใหม่ มีองค์ประกอบที่ต้องพิจารณาดังนี้ (1) การลดการทิ้งบรรจุภัณฑ์หลังบริโภค บรรจุภัณฑ์เมื่อได้รับการตัดสินใจซื้อและบริโภคอาหารที่อยู่ข้างในจนหมดนั้น อาจจะใช้เวลาเป็นแรมเดือนหรือแรมปีกว่าจะบริโภคหมดแล้วโยนทิ้ง และมีหลายครั้งที่บรรจุภัณฑ์เปล่าเหล่านี้แทนที่จะถูกทิ้งทันทีกลับถูกนำไปใช้ใหม่ เช่น ขวดกาแฟนำไปใส่น้ำตาล ถังนำไปใช้เป็นถังน้ำ เป็นต้น การนำบรรจุภัณฑ์เปล่านี้ไปใช้ใหม่มีจำนวนไม่มากนักและใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นเวลาไม่ช้าหรือเร็วก็จะมีการรวบรวมขายให้กับคนรับรองซื้อของเก่าซาเล้งเข้าสู่วงจรของบรรจุภัณฑ์ต่อไป น้ำอัดลมในสมัยเก่าเมื่อมีการนำกลับไปบริโภคหรือซื้อขาดจะมีค่าวางมัดจำ ระบบการวางมัดจำนี้ได้นำกลับมาใช้ใหม่ในประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นขวดหรือกล่อง ระบบวางมัดจำนี้ส่งผลให้บรรจุภัณฑ์เปล่าที่บริโภคอาหารแล้วสามารถนำเก็บกลับไปบรรจุใหม่ (Refill) หรือนำกลับมาผลิตใหม่ด้วยต้นทุนที่ต่ำและเก็บกลับได้ด้วยปริมาณเพียงพอที่คุ้มต่อการกำจัดทิ้งหรือใช้ใหม่ ความพยายามในการเก็บข้อมูลของขยะที่ทิ้งไม่เป็นที่เป็นทางนั้น มีการศึกษาหนึ่งที่ได้รับการอ้างถึงอยู่เสมอ คือ การศึกษาประเภทของขยะที่ถูกทิ้งบนทางด่วน (Highway) ในรัฐแคนซัส (Kansas) ประเทศสหรัฐอเมริกา ดังแสดงในตารางที่ 7.3 การศึกษาพบว่าเพียงระยะทาง 1 ไมล์ของถนนที่ขับไปกลับด้านละ 2 ช่องทางบนทางด่วน (Two - Lane Highway) นั้น 88% ของขยะที่พบสองข้างถนนจะเป็นบรรจุภัณฑ์ ซึ่งบรรจุภัณฑ์ที่พบมากที่สุดคือ ถ้วยกระดาษมีจำนวนมากถึง 770 ใบ จากการศึกษานี้พอจะสรุปได้ว่าวิธีการที่จะลดขยะตามท้องถนนควรแก้ไขที่ผู้บริโภคมากกว่าที่จะโทษบรรจุภัณฑ์เพียงฝ่ายเดียว ตารางที่ 7.3 การสำรวจปริมาณขยะบนทางด่วนระยะทาง 1 ไมล์ในรัฐแคนซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน ประเภท จำนวน ประเภท 770 ถ้วยกระดาษ 20 แผนที่ 730 กล่องบุหรี่เปล่า 16 กระป๋องกาแฟเปล่า 590 กระป๋องเบียร์ 10 เสื้อผ้า 130 ขวดน้ำอัดลม 10 ยางรถยนต์เก่า 120 ขวดเบียร์ 11 ถุงพลาสติก 110 ขวดเหล้า 4 รองเท้า (ไม่เป็นคู่) 90 กล่องเบียร์เปล่า 4 ชิ้นส่วนรถยนต์ 90 กระป๋องน้ำมัน 2 เสื้อชั้นในผู้ชาย 50 ถุงใส่อาหาร 2 หนังสือการ์ตูน 30 กล่องกระดาษแข็ง 2 สปริง 26 วารสาร 270 ขยะอื่นๆ แหล่งที่มา : Darnay, A. and Franklin, W.E. "The Role of Packaging in Solid Waste Management 1966 to 1976." (2) การเก็บบรรจุภัณฑ์กลับ (Collectability) องค์ประกอบสำคัญของความสามารถที่จะนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วรวบรวมนำกลับมาใช้ใหม่มี 2 ประการคือ ความหนาแน่นและความสามารถในการกดอัดให้แบนของตัวบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ใช้แล้วที่มีปริมาตรน้อยย่อมเก็บกลับได้ง่ายกว่าบรรจุภัณฑ์ที่มีปริมาตรมาก ปริมาตรความจุของรถเก็บขยะหรือรถซาเล้งซื้อของเก่าคือข้อจำกัดในการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วและทำให้ค่าใช้จ่ายในเก็บกลับสูงขึ้น ในกรณีที่บรรจุภัณฑ์มีปริมาตรเท่ากัน แต่ผลิตจากวัสดุด้วยรูปทรงที่สามารถกดอัดทับให้แบนได้ง่ายย่อมมีโอกาสได้รับการเก็บกลับมากกว่า ประเภทของวัสดุที่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์เป็นอีกองค์ประกอบที่ต้องพิจารณาถึงความสามารถในการเก็บกลับ ตามที่ทราบกันมาแล้วว่าบรรจุภัณฑ์อาหารอาจจะผลิตจากกระดาษ โลหะ แก้ว พลาสติก ไม้ และสิ่งทอรวมกันได้เป็นร้อยเป็นพันรูปแบบ ด้วยเหตุนี้การทิ้งบรรจุภัณฑ์ลงไปยังถังขยะที่แยกประเภทจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บกลับ เพื่อการใช้หรือผลิตใหม่ได้ดีมากยิ่งขึ้น ในประเภทที่พัฒนาแล้ว ผู้บริโภคที่มีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงแต่จะทิ้งขยะเป็นที่เป็นทางแล้ว ยังช่วยทิ้งบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วในถังที่แยกประเภทไว้ นอกจากนี้ก่อนจะทิ้งยังมีการใช้อุปกรณ์ช่วยในการกดอัดบรรจุภัณฑ์ให้แบนราบ วิธีการที่จะนำเอาบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วกลับมาโดยความร่วมมืออย่างดีของผู้บริโภคจะเป็นวิธีที่ประหยัดที่สุดและได้ผลที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารที่เพิ่งบริโภคหมดใหม่ๆ จะมั่นใจว่าถูกสุขลักษณะไม่มีการปนเปื้อนกับสิ่งที่สกปรกหรือเป็นพิษ บรรจุภัณฑ์เปล่าที่ทิ้งในขยะที่แยกประเภทจะมีโอกาสสะอาดกว่าบรรจุภัณฑ์ที่ทิ้งเป็นขยะตามทาง อาจจะเป็นเพราะจิตใต้สำนึกของคนทิ้งที่ทราบว่าบรรจุภัณฑ์ที่ทิ้งในถังขยะที่แยกประเภทนั้นจะมีการนำกลับไปใช้ใหม่หรือผลิตใหม่ (3) เทคโนโลยี ในอดีตขยะต่างๆ ถูกกำจัดด้วยการฝังดินหรือการเผา การกำจัดด้วยการเผานั้นไม่เป็นที่นิยมเท่าใด เนื่องจากในขณะที่เผาจะก่อให้เกิดก๊าซออกมาส่วนหนึ่งซึ่งผสมเข้าไปในบรรยากาศทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศ การฝังดินจึงนับเป็นวิธีการที่นิยมมากที่สุด เพราะว่าแม้จะมีการเผาทำลายไปแล้ว เถ้าถ่านที่เหลือก็จะต้องนำไปฝังดินเช่นกัน แม้ว่าในบางประเทศอาจจะมีการนำขยะไปถมทะเลแต่ยังมีน้อยอยู่ เนื่องจากต้องคอยควบคุมไม่ให้เกิดมลภาวะทางน้ำจากขยะที่ถมลงทะเล การฝังดินนั้นอาจจะกระทำได้ 2 วิธี คือ การเทขยะทั่วบริเวณโดยไม่มีการกดอัด หรือกลบด้วยดินที่เรียกว่าแบบเปิด (Open Dumping) วิธีการนี้มักจะต้องทำในที่ไกลจากชุมชน ไม่เป็นที่อุจาดตาและต้องไม่อยู่เหนือลมที่จะส่งกลิ่นไปรบกวนชาวบ้านใกล้เคียง ส่วนอีกวิธีหนึ่งเป็นวิธีที่ใช้หลักวิชาการมากขึ้น กล่าวคือ ขยะมีการเทให้ทั่วแล้วทำการกดอัด ท้ายที่สุดกลบด้วยดินหรือสารที่ไม่ทำปฏิกิริยา (Inert Fill Materials) การฝังดินแบบหลังนี้มีชื่อว่า การฝังอย่างถูกสุขลักษณะ (Sanitary Landfilling) และเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เทคโนโลยีการกำจัดขยะและซากบรรจุภัณฑ์ที่เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์และเป็นเทคโนโลยีที่มีมานานแล้ว คือ การเผาหรือเรียกเป็นศัพท์เฉพาะว่า Incineration การเผาขยะด้วยเตาเผาสมัยใหม่นับเป็นการกำจัดขยะที่มีประสิทธิผลที่ดีที่สุดในการลดปริมาตรและน้ำหนักของขยะและซากบรรจุภัณฑ์โดยสามารถลดปริมาตรลงได้ 70 - 80% และลดน้ำหนักได้ 60 - 80% คุณสมบัติของขยะและซากบรรจุภัณฑ์ที่จะใช้การกำจัดด้วยวิธีนี้ คือ ความสามารถติดไฟได้ สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารที่มีใช้อยู่ จะมีแต่บรรจุภัณฑ์แก้วและโลหะที่ต้องใช้ความร้อนที่สูงมากในการเผา ส่วนบรรจุภัณฑ์อื่นๆ สามารถเผาไหม้ แม้ว่าจะมีอัตราการเผาไหม้ได้แตกต่างกัน เช่น กระดาษและไม้จะติดไฟได้ดีและเร็วกว่าพลาสติก คุณสมบัติประการถัดมาของขยะและซากบรรจุภัณฑ์ที่ต้องพิจารณาเลือกเพื่อการกำจัดด้วยวิธีการเผา คือ เศษเถ้าถ่านที่เหลือจากการเผาโดยไม่ทำปฏิกิริยา (Inert Residue) จากข้อมูลที่แสดงไว้ในตารางที่ 7.4 จะพบว่าแก้วและโลหะจะมีเศษเถ้าถ่านเหลือจากการเผาไหม้มากที่สุด ดังนั้นในการเผากำจัดขยะจึงมักจะต้องคัดแก้วและโลหะออก เพื่อความสะดวกในการกำจัดเศษเถ้าถ่านที่เหลือจากเตาเผา <<กลับสู่หน้าหลักอ่านต่อบรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่ 2>>
บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่ 3
7.3 สถานะและแนวทางแก้ปัญหา แนวทางในการแก้ปัญหาอาจจะเริ่มจากการออกแบบซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดเฉพาะเจาะจงในหัวข้อต่อไปนี้ พร้อมทั้งตัวอย่างในการออกแบบ ส่วนในหัวข้อนี้จะพิจารณาจากวงจรของบรรจุภัณฑ์ที่จะใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา 7.3.1 การลดปริมาณของบรรจุภัณฑ์ (1) การลดปริมาณของเสีย (Reduce) เป็นมาตรการอันดับแรกที่ควรพิจารณาถึงเพราะการใช้บรรจุภัณฑ์ต่อหน่วยบรรจุให้น้อยลง ไม่เพียงแต่ลดปริมาณซากบรรจุภัณฑ์ที่ทิ้งในขยะ แต่ยังลดการผลิตและการขนส่ง ในเวลาเดียวกันต้องคำนึงถึงบทบาทและหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ด้วย เช่น การรักษาคุณภาพ การปกป้องสินค้า เป็นต้น มิฉะนั้นแล้วการแตกหักเสียหายหรือการเน่าเสียของสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ไม่ดีพอ กลับจะก่อให้เกิดปริมาณขยะที่มากกว่าเดิม แนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมย่อมต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ตั้งแต่ผู้ผลิตจนกระทั่งถึงผู้อุปโภคบริโภค ตัวอย่างการลดขยะโดยทิ้งที่กระป๋องพร้อมที่เปิดและการลดน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์แสดงในรูป (ก) และ (ข) หน้า 227 (2) การนำกลับมาใช้ใหม่หรือใช้ซ้ำ (Reuse) ปรากฏการณ์นี้คล้ายคลึงกับการลดปริมาณการใช้ เพราะว่ามีบรรจุภัณฑ์หลายประเภทได้รับการนำกลับมาใช้หรือบรรจุใหม่ ตัวอย่างเช่น ขวดเบียร์มาใช้บรรจุเต้าเจี้ยว ขวดซีอิ๊ว ขวดเหล้ามาบรรจุน้ำปลา เป็นต้น ปรากฏการณ์ที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น คือการเก็บบรรจุภัณฑ์ไว้เช่นเดิม แล้วซื้อสินค้าใหม่ที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์เบาบางกว่า เช่น ถุง หรือ ซองที่เรียกว่า Refill Package แล้วนำกลับมาบรรจุเองในบรรจุภัณฑ์เก่าที่ใช้สินค้าหมดแล้ว เช่น น้ำยาซักเสื้อผ้า น้ำยาล้างจาน เป็นต้น (3) การเวียนทำใหม่ (Recycle) คำว่ารีไซเคิลนี้ได้รับการกล่าวขวัญกันมาตลอด การทำรีไซเคิลขยะที่ได้ผลนั้นจำต้องมีการแยกประเภทตั้งแต่ตอนทิ้ง และมีการเก็บกลับอย่างมีระบบด้วยปริมาณมากพอในการนำกลับมาผลิตด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด การร่วมมือด้วยวิธีอาสาสมัคร (Volunteer) จากผู้บริโภคนับเป็นวิธีการที่ประหยัดและมีประสิทธิผลมากที่สุด ในสหรัฐอเมริกาปริมาณขยะที่สามารถนำกลับไปผลิตใหม่สูงถึงร้อยละ 22 โดยมีกลุ่มอาสาสมัคร 1,000 กลุ่มในปี ค.ศ. 1978 เพิ่มมาเป็น 7,000 กลุ่มในปี ค.ศ. 1981 ส่งผลให้มีอัตราการนำกลับมาผลิตใหม่ของบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้ ตารางที่ 7.7 อัตราการนำกลับมาผลิตใหม่ของวัสดุบรรจุภัณฑ์ในสหรัฐ วัสดุ อัตราการนำกลับมาผลิตใหม่ (ร้อยละ) กระดาษและบรรจุภัณฑ์เยื่อและกระดาษ โลหะ (เหล็กและเหล็กผสม) อะลูมิเนียม แก้ว พลาสติก 40 37 30 7 1 แหล่งที่มา : R.A Pert, A. Golovny and S.S. Labana "Automotive Recycling" ขั้นตอนการทำงานในการแยกบรรจุภัณฑ์ออกจากขยะในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น สถานที่ใช้ในการรวบรวมขยะกลับมาผลิตใหม่มีชื่อเรียกว่า MRF (Material Recovery Facilities) ซึ่งสามารถรองรับขยะได้อย่างน้อยที่สุด 100 - 500 ตันต่อวัน ในขณะที่กรุงเทพมหานครมีปริมาณขยะในปี 2537 สูงถึง 7,000 ตันต่อวัน การทำงานในการแยกบรรจุภัณฑ์ออกจากขยะมีขั้นตอนดังนี้ วัสดุที่นำกลับมาผลิตใหม่ ใช้มือคัดกระดาษ แยก กระดาษหนังสือพิมพ์,กล่อง,วารสาร ใช้ระบบแม่เหล็ก แยก กระป๋องโลหะ ใช้ระบบกระแสไฟฟ้า แยก กระป๋องอะลูมิเนียม ใช้มือคัดขวดแก้ว แยก แก้วใส,แก้วสีอำพัน,แก้วเขียว ใช้มือคัดพลาสติก แยก PET ใส, PET สี , PE และอื่นๆตามสัญลักษณ์ ที่ปรากฏอยู่ ภายใต้ผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างของขบวนการเผาในการแยกโลหะและอโลหะจากขยะดังแสดงในรูป (ค) หน้า 228 สำหรับประเทศไทย การกำจัดมูลฝอยส่วนใหญ่ใช้วิธีการกำจัดไม่ถูกสุขลักษณะเป็นแบบเปิด (Open Dunping) ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการปนเปื้อนน้ำใต้ดิน ปัญหาเฉพาะหน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การจัดหาสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยรวมซึ่งเป็นสถานที่สำหรับรองรับและกำจัดขยะมูลฝอยจากกรุงเทพฯ และปริมณฑลให้ได้พอเพียง ในปี พ.ศ. 2540 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีปริมาณมูลฝอยประมาณ 10,000 ตันต่อวัน และคาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2545) จะเพิ่มเป็น 12,800 ตันต่อวัน มีการประเมินว่าองค์ประกอบของวัสดุที่มีศักยภาพที่จะนำกลับมาใช้ใหม่ (Potential Recycling) มีอยู่ระหว่างร้อยละ 32.58 ถึง 58.68 และอัตราการนำมูลฝอยและวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่จริงๆ ในเชิงพาณิชย์โดยคนคุ้ยขยะจากกองขยะ พนักงานเก็บขนและรถเร่รับซื้อของเก่าประมาณร้อยละ 8.49 (หรือร้อยละ 10.19 หากรวมปริมาณจากโรงงานอุตสาหกรรม) ของปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั้งหมดทั่วประเทศ (ทั้งที่นำมาใช้ได้และไม่ได้ทั้งหมด) ดังแสดงในตารางที่ 7.8 ตารางที่ 7.8 ปริมาณวัสดุเหลือใช้ที่รวบรวมโดยตัวกลางต่างๆ เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ตัวกลาง ปริมาณ (ตันต่อวัน) คนคุ้ยขยะที่กองขยะ 271.56 พนักงานเก็บขน 616.70 รถเร่รับซื้อของเก่า 2491.90 ปริมาณที่รวบรวมได้ทั้งหมดผ่านร้านรับซื้อของเก่า 3,380.16 โรงงานอุตสาหกรรม (ปริมาณของเสียหรือวัสดุเหลือใช้) 680.00 รวมปริมาณวัสดุเหลือใช้ 4,060.16 แหล่งข้อมูล : กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม "ทิศทางรีไซเคิลของประเทศไทย" 7.3.2 การใช้สัญลักษณ์เพื่อแยกประเภทบรรจุภัณฑ์ สำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกซึ่งมีความหลากหลาย เป็นการยากมากที่จะให้ผู้บริโภคทั่วไปสามารถทราบถึงพลาสติกของบรรจุภัณฑ์ สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกแห่งสหรัฐอเมริกา (Society of the Plastics Industry,SPI) ได้ริเริ่มการใช้สัญลักษณ์บ่งบอกชนิดพลาสติกไว้ภายใต้บรรจุภัณฑ์พลาสติก เพื่อช่วยในการแยกประเภทของพลาสติกในปี พ.ศ. 2532 และได้รับการยอมรับทั่วโลก สัญลักษณ์ใช้ตัวเลขแทนที่ประเภทของพลาสติกล้มรอบด้วยหัวลูกศรรูปสามเหลี่ยมเพื่อใช้แทนพลาสติกแต่ละประเภท ดังต่อไปนี้ 1. PET (Polyethylene Terephthalate) 2. HDPE (High Density Polyethylene) 3. PVC (Polyvinyl Chloride) 4. LDPE (Low Density Polyethylene) 5. PP (Polypropylene) 6. PS (Polyprostyrene) 7. Other พลาสติกผสม ในกรณีของพลาสติกหลายชั้น ถ้ามีส่วนผสมหลักของพลาสติกที่สามารถนำไปย่อยสลายได้โดยไม่จำเป็นต้องแยกชั้นให้ใส่หมายเลขของพลาสติกหลักนั้น เช่น ขวดซอสมะเขือเทศที่ประกอบด้วย PP/EVOH/PP โดยมี PP อยู่ถึงร้อยละ 98.5 จะใช้สัญลักษณ์หมายเลข 5 ของ PP สำหรับบรรจุภัณฑ์นี้ เนื่องจากนำมาผลิตใหม่ได้โดยไม่จำเป็นต้องแยกชั้นจึงไม่ใช้สัญลักษณ์หมายเลข 7 ที่เป็นพลาสติกผสม 7.3.3 การรณรงค์และส่งเสริมการใช้สินค้าที่ผลิตจากบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว จากการสำรวจแบบสอบถามในงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ "สินค้าไทยรีไซเคิล ครั้งที่ 1" ระหว่างวันที่ 3 - 7 เมษายน 2539 ที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ บางกะปิ กรุงเทพฯ จำนวน 3,883 ชุด พบว่า ประชาชนผู้เข้าชมงานยินดีใช้สินค้ารีไซเคิลร้อยละ 95.5 มีเพียงร้อยละ 0.2 ที่ไม่ยินดีและร้อยละ 3.9 ไม่ตอบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหากมีการรณรงค์และส่งเสริมการใช้สินค้าผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้และบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วอย่างจริงจัง จะทำให้ประชาชนหันมาสนใจและซื้อสินค้าอย่างแน่นอน การรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพคงไม่ใช้การรณรงค์ประชาสัมพันธ์กันอย่างเดียว แต่ต้องมีเครือข่ายเชื่อมต่อกันระหว่างผู้ผลิตขยะมูลฝอย (ประชาชนหรือผู้บริโภค) ร้านผู้จำหน่ายและภาคอุตสาหกรรมผู้ผลิต รวมทั้งรัฐบาลซึ่งเป็นผู้กำกับกระบวนการนี้ทั้งหมด 7.4 การออกแบบบรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม แนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม อาจมีหลากหลายรูปแบบและวิธีการ ขึ้นอยู่กับวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่หาได้ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับวิธีการผลิตและแปรรูปบรรจุภัณฑ์ พร้อมทั้งข้อจำกัดของกระบวนการผลิตและการบรรจุของบรรจุภัณฑ์แต่ละประเภท 7.4.1 แนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม (1) การลดการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ ความสามารถในการออกแบบและควบคุมการพิมพ์ให้มีความเสียหายน้อยที่สุดเป็นองค์ประกอบแรกที่จะสามารถช่วยการรณรงค์สภาวะสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการลดวัตถุดิบนำไปสู่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิผล ความคิดริเริ่มในการออกแบบย่อมมีผลต่อการลดหมึกพิมพ์และวัสดุประกอบต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ เช่น บรรจุภัณฑ์ถาดกระดาษในรูป (ค) หน้า 227 ในประเทศที่พัฒนาแล้ว วัสดุพลาสติกที่มีการใช้ความดันให้ขยายตัว เช่น EPS (Expanded Polystyrene) EPU (Expanded Polyurethane) มักจะได้รับการทดแทนโดยการใช้กระดาษ โดยมีเป้าหมายใช้กระดาษแทนให้มากถึงร้อยละ 70 - 90 นอกจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกจำพวกขยายตัว ยังมีการห้ามใช้ขบวนการผลิตที่ใช้สารมีพิษในการผลิตเช่น สีที่ใช้ควรใช้สีฐานน้ำ (Water - Based) เป็นต้น สารเคลือบเงาที่นิยมใช้หลังการพิมพ์ได้แก่ OPP และ PVA วาร์นิชที่แห้งตัวด้วยรังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV) การเคลือบด้วย OPP ซึ่งคล้ายกับการเคลือบไข เพื่อป้องกันการเสียดสีและกันน้ำ พร้อมทั้งสามารถเคลือบสิ่งพิมพ์บางๆ ได้ ส่วน PVA เป็นกาวที่มีส่วนผสมของ PVC ใช้กับสิ่งตีพิมพ์ที่มีความหนาแน่น 250 กรัมต่อตารางเมตร จึงเหมาะกับการเคลือบพวกบรรจุภัณฑ์ ส่วน UV เป็นวิธีการเคลือบเงาที่นิยมมากเนื่องจากทำงานได้เร็ว ไม่จำกัดความหนาของสิ่งตีพิมพ์ แต่ไม่เหมาะกับบรรจุภัณฑ์อาหาร ในปัจจุบันสารเคลือบเงา UV ที่เป็นส่วนผสมของน้ำเริ่มมีการประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยลดมลภาวะแต่ยังมีต้นทุนสูง (2) การเลือกใช้วัสดุที่นำกลับมาใช้งานและผลิตใหม่ได้ การเลือกใช้วัสดุที่ผลิตจากวัสดุใหม่ (Virgin Material) ย่อมเป็นการลดทรัพยากรธรรมชาติโดยตรง ดังนั้นการเลือกวัสดุที่ใช้แล้วย่อมมีส่วนในการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดพลังงานในการผลิตวัตถุดิบ หรือการใช้วัสดุธรรมชาติอย่างอื่น (3) การลดการใช้งานของวัสดุที่มีหลายชั้น วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่มีหลายชั้นและเคลือบให้เป็นเนื้อเดียวกันโดยจะก่อให้เกิดปัญหาในการแยกและย่อยสลายเพื่อนำมาใช้ใหม่ ด้วยเหตุนี้ผู้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ในปัจจุบันมักจะใช้วัสดุที่เป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการแยกขยะและสามารถนำกลับมาผลิตใช้ใหม่ เช่น การเลือกใช้ขวดพลาสติกที่มีฝาและฉลากเป็นพลาสติกชนิดเดียวกันดังแสดงในรูป (ง) หน้า 227 และกล่องในรูป (ข) หน้า 228 (4) การออกแบบโดยไม่ใช้บรรจุภัณฑ์ จากการพิจารณาถึงหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์อย่างถ่องแท้ มักจะพบว่าสามารถลดบรรจุภัณฑ์บางชั้นออกไปได้ สินค้าบางประเภทในตลาด เช่น รถยนต์ ก็เป็นสินค้าที่ไม่จำเป็นต้องใช้บรรจุภัณฑ์ ในกรณีที่หลีกเลี่ยงการไม่มีบรรจุภัณฑ์ไม่ได้ ก็พยายามลดหรือเปลี่ยนใช้บรรจุภัณฑ์ให้น้อยลง บางกรณีอาจพิจารณาใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์บางชนิดมาแทนที่วัสดุเดิม เช่น ใช้ถาดพร้อมฟิล์มหดรัดรูปมาแทนที่กล่องกระดาษลูกฟูกทั้งกล่อง เป็นต้น (5) การเพิ่มความเข้มข้นหรือความหนาแน่นของสินค้า สินค้าที่มีความเข้มข้นสูงย่อมส่งผลให้การใช้ปริมาณของบรรจุภัณฑ์ต่อหน่วยสินค้าน้อยลง ตัวอย่างเช่น น้ำสูตรเข้มข้น หรือยาที่มีสูตรเข้มข้นย่อมก่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้บริโภคเพราะมีปริมาณน้อยลง (6) การใช้วัสดุที่ได้จากธรรมชาติ แนวความคิดที่ใช้วัสดุที่ผลิตจากธรรมชาติย่อมเป็นวิถีทางในการป้องกันสิ่งแวดล้อมได้ดีที่สุด เช่น ตัวอย่างของไอศกรีมโคน เป็นตัวอย่างของบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรับประทานได้ ในสมัยหนึ่งก็มีลูกกวาดที่ใช้ห่อด้วยกระดาษที่รับประทานได้ ตัวอย่างทั้งสองนี้ ย่อมเป็นวิธีการลดบรรจุภัณฑ์ได้ด้วยการบริโภคบรรจุภัณฑ์พร้อมอาหาร กระดาษเป็นตัวอย่างที่ดีในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากการใช้กระดาษจำต้องใช้เยื่อจากไม้ถึงร้อยละ 90 และคิดเป็นปริมาณของไม้ที่ต้องตัดร้อยละ 10 ของปริมาณของไม้ที่ใช้ทั่วโลก ดังนั้นการทดแทนเยื่อจากไม้ด้วยชานอ้อย ใยของสำลี เยื่อจากต้นสา เป็นต้น ย่อมมีส่วนช่วยปกป้องรักษาปริมาณไม้ในโลกนี้ แต่ปัญหาคือคุณภาพของกระดาษที่ทำจากวัสดุดังกล่าว อีกตัวอย่างหนึ่งที่เริ่มเกิดขึ้นในเมืองไทย คือ การใช้กระดาษสังเคราะห์มาทำเป็นกระดาษธนบัตรซึ่งสามารถยืดอายุการใช้งานของธนบัตรย่อมเป็นอีกวิธีหนึ่งในการลดการเผาผลาญทรัพยากรธรรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องเป็นกระดาษ อีกตัวอย่างหนึ่งที่มักพบจากหนังสือพิมพ์จากต่างประเทศ คือ หนังสือที่มีพิมพ์ว่า This book is printed on acid - free paper คำว่า "acid - free" นี้หมายความว่าใช้เยื่อที่ใช้แล้วและไม่ผ่านการฟอกด้วยกรดย่อมเป็นการช่วยลดมลภาวะจากการใช้กระดาษปลอดกรด วิวัฒนาการทางด้านบรรจุภัณฑ์ที่ได้ใช้แป้งที่ทำจากพืชมาผลิตเป็นถาด จาน ชาม ดังรูป (ง) ในหน้า 228 เพื่อแทนที่โฟม หรือการพัฒนาใช้ใบกล้วยอัดเป็นภาชนะต่างๆ ย่อมเป็นแนวทางของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ในวงการพลาสติกยังได้พัฒนาเม็ดพลาสติกที่สามารถย่อยเสื่อมสลายได้ด้วยปฏิกิริยาทางชีววิทยาหรือแสง เป็นต้น (7) การรวมกลุ่มของสินค้าต่อหน่วยบรรจุภัณฑ์ หน่วยสินค้ายิ่งมากย่อมมีโอกาสลดค่าใช้จ่ายรวมของบรรจุภัณฑ์ในแง่ของต้นทุนบรรจุภัณฑ์และค่าขนส่ง นอกจากนี้ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นในให้ลดปริมาตรที่ไม่จำเป็น เช่น การออกแบบบรรจุภัณฑ์บริเวณปากขวดบานออกเพื่อซ้อนได้ย่อมเป็นการลดปริมาตรและพื้นที่ผิวของบรรจุภัณฑ์ขนส่ง ซึ่งหมายถึง การลดต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ในการขนส่ง นอกจากนี้ ยังคงความแข็งแรงในการเรียงซ้อนของบรรจุภัณฑ์ชั้นในอีกด้วย (8) การลดจำนวนสีที่ใช้พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ การลดจำนวนสีที่พิมพ์ย่อมเป็นการลดค่าใช้จ่ายของบรรจุภัณฑ์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์สมัยใหม่จำต้องออกแบบให้พิมพ์สีน้อยที่สุด เช่น สีเดียวและใช้ความสามารถในการออกแบบสร้างความเด่นและความเป็นเอกภาพของตัวบรรจุภัณฑ์ นอกจากสีที่ใช้แล้ววัสดุเสริมต่างๆ ที่ใช้กับบรรจุภัณฑ์ เช่น สารยึดติดหรือกาวจะต้องไม่มีส่วนผสมของโลหะหนักจำพวก Cadmium (Cd) , Arsenic (As) , Stibium (Sb) , Scandium (Sc) , Barium (Ba) , Copper (Cu) , Zinc (Zn) หรือใช้ผงเงิน ผงทองในการพิมพ์ แนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวมาแล้วทั้ง 8 แนวทางนั้น การลดปริมาณการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์นับเป็นแนวทางที่ได้ผลมากที่สุด ในประเทศที่พัฒนาแล้วได้กำหนดให้ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์และผู้ใช้ ต้องลดปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์ต่อหน่วยสินค้าไม้น้อยกว่า 10% ต่อปี ส่วนการเลือกใช้วัสดุที่นำกลับมาใช้หรือผลิตใหม่นั้นจะแปรตามกลไกในการนำเอาซากบรรจุภัณฑ์กลับมา จะคุ้มกับการใช้วัสดุที่ผลิตจากวัสดุที่ผลิตใหม่หรือไม่นั้น เป็นสิ่งที่ต้องทำการศึกษากันต่อไป ทั้ง 2 แนวทางดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องให้รัฐบาลเข้ามาช่วยส่งเสริมและกำหนดเป็นนโยบาย ส่วนแนวทางอื่นๆ แต่ละบุคคลสามารถดำเนินการได้เอง ถ้าสามารถปลูกจิตสำนึกให้มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม <<ย้อนกลับ บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่2 อ่านต่อ บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่4 >> <<กลับสู่หน้าหลัก
บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่ 4
7.4.2 ตัวอย่างการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างที่ 1 : การเปรียบเทียบขนาดของขวดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในแง่ของพลังงานขนย้ายและการผลิต ขวดบรรจุน้ำอัดลมที่มีขายอยู่ในตลาด สามารถนำมาวิเคราะห์ว่าขนาดเท่าใดจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่ากัน ยกตัวอย่างเช่น ขวด PET สำหรับน้ำอัดลมและน้ำดื่มซึ่งกำลังเป็นที่นิยมด้วยขนาด 1 , 2 และ 3 ลิตร สมมุติว่าขวดทั้ง 3 ขนาด ใช้ฝาขนาดเดียวกัน รูปทรงเหมือนกัน เนื้อพลาสติกแบบเดียวกัน แต่ความหนาไม่เท่ากันเนื่องจากขนาดบรรจุที่แตกต่างกัน ถ้ามองอย่างผิวเผินคงจะเดาว่าขวดขนาด 3 ลิตรน่าจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า เพราะสามารถบรรจุปริมาตรน้ำดื่มได้มากกว่าหน่วยบรรจุ ถ้ามีการจัดหน่วยบรรจุภัณฑ์ขนส่งเป็น 6 ลิตร ขวด 3 ลิตรจะใช้เพียง 2 ขวด ในขณะที่ขวดขนาด 2 ลิตรและ 1 ลิตร จะต้องใช้ 3 ขวดและ 6 ขวดตามลำดับ และยังต้องใช้จำนวนฝาที่มากขึ้นต่อหน่วยบรรจุภัณฑ์ขนส่ง จากการศึกษาพลังงานที่ใช้ในการขนย้ายของบรรจุภัณฑ์ทั้ง 3 ขนาดพบว่า พลังงานที่ใช้ขนย้ายน้ำดื่มและการผลิตของน้ำดื่ม 1,000 แกลลอน ขวดขนาด 2 ลิตร ใช้พลังงานใกล้เคียงกับ 3 ลิตร คือ 20.1 ล้าน BTU กับ 19.7 ล้าน BTU ตามลำดับ ส่วนขวด 1 ลิตร จะใช้พลังงานต่อหน่วยสินค้ามากที่สุด 27.4 ล้าน BTU ดังแสดงในรูปที่ 7.2 ความได้เปรียบเสียเปรียบของขวดทั้ง 3 ขนาด ในแง่ของปริมาตรของขวดเมื่อทิ้งในขยะมูลฝอยมีความคล้ายคลึงกับการใช้พลังงานตามที่แสดงไว้ในรูปที่ 7.3 กล่าวคือ ขวดขนาด 1 ลิตร ใช้ปริมาตรในการกำจัดมูลฝอยมากกว่าอีก 2 ขนาด สรุปได้ว่าจากการศึกษานี้พบว่าขวดขนาด 2 และ 3 ลิตรจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าการศึกษาไม่ได้แสดงว่าไม่ควรผลิตหรือจำหน่ายน้ำดื่มขนาด 1 ลิตร เพราะต้องคำนึงว่าขวดขนาด 1 ลิตรจะเหมาะกับครอบครัวขนาดเล็ก และมีตลาดใหญ่พอสมควร ปัญหาอยู่ที่ว่าผู้ผลิตสามารถสร้างจิตสำนึกในการช่วยลดพลังงานให้แก่ผู้บริโภคหันมาซื้อขวดขนาด 2 และ 3 ลิตรได้อย่างไร รูปที่ 7.2 พลังงานที่ขนย้ายขวดน้ำดื่ม PET รูปที่ 7.3 ปริมาตรของขยะมูลฝอยของขวด PET เมื่อทิ้งในขยะ ตัวอย่างที่ 2 : การออกแบบกล่องกระดาษลูกฟูกที่ประหยัดพื้นที่ กล่องกระดาษลูกฟูกที่ออกแบบ จะมีความกว้างของฝาที่ปิดพบกันที่จุดกึ่งกลางของด้านที่ปิดของกล่องพอดี การออกแบบกล่องจะสามารถออกแบบให้มีฝาเปิด (Panel) อยู่บนด้านใดด้านหนึ่งทั้ง 3 ด้านของกล่อง นอกจากนี้ยังสามารถออกแบบให้ฝาด้านนอกนั้นแตกต่างกันตามแนวความกว้างหรือความยาวของฝา ตัวอย่างที่ยกมาให้พิจารณาทั้ง 3 แบบนั้น แบบ (ก) ออกแบบให้เปิดอยู่ด้านที่ใหญ่ที่สุด ส่วนแบบ (ข) และ (ค) มีบริเวณเปิดอยู่ด้านที่เล็กที่สุดของกล่อง โดยที่แบบ (ข) มีฝาที่เปิดอยู่ตามแนวความกว้างของด้านที่เปิด ส่วนแบบ (ค) นั้นมีฝาอยู่ตามแนวความยาวของด้านที่เปิด เมื่อนำเอากล่องที่ออกแบบมาคลี่ออกในแนวแบนราบ (Blank Sheet) จะพบว่าบริเวณฝาที่เปิดปิดมีส่วนทำให้ใช้กระดาษเปลืองมากน้อยแตกต่างกัน ย่อมเห็นได้อย่างชัดเจนว่ากล่องแบบ (ค) ใช้พื้นผิวที่น้อยที่สุด เพราะว่าใช้กระดาษมาทำฝาน้อยกว่ากล่องอื่นๆ กล่องลูกฟูกแบบ (ค) นี้มีชื่อเรียกว่า Regular Slotted Container (RSC) เปิดปลาย (End Openning) ตามที่ได้แนะนำในบทที่ 2 แล้วว่า กล่องประเภทนี้ถ้าสามารถจัดเรียงสินค้าภายใน ให้กล่องมีความยาวต่อความกว้างต่อความสูงเป็นอัตราส่วน 2:1:2 จะเป็นกล่องที่ต้นทุนน้อยที่สุด การออกแบบบรรจุภัณฑ์นอกจากจะออกแบบให้ใช้พื้นที่ผิวน้อยต่อหน่วยปริมาตรสินค้าเดียวกัน ดังตัวอย่างที่ 2 อย่างไรก็ตาม หน้าที่สำคัญของบรรจุภัณฑ์คือ ปกป้องสินค้าที่อยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ ดังนั้นตัวอย่างที่ 3 แสดงถึงแนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สามารถป้องกันแรงกดทับในแนวดิ่ง ซึ่งมักจะพบภัยอันตรายนี้จากการวางซ้อนสินค้าในคลังสินค้า การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจึงต้องคำนึงถึงความสามารถในการป้องกันสินค้าด้วย มิฉะนั้นแล้วสินค้าที่ส่งไปยังจุดหมายปลายทางจะไม่สามารถจำหน่ายได้เนื่องจากการแตกหักชำรุดเสียหาย และย่อมเป็นการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติในการผลิต การขนส่งของสินค้าและบรรจุภัณฑ์นั้นๆ ด้วย รูปที่ 7.4 กล่องลูกฟูก 3 แบบ ห่อสินค้าขนาดเดียวกัน (พื้นที่ที่แรเงาไว้เป็นพื้นที่ของฝา) ตัวอย่างที่ 3 : การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อป้องกันการแตกหักเสียหายและประหยัดต้นทุน ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับบรรจุขวดแบบ HDPE ซึ่งแบ่งบรรจุ ในกล่องกระดาษแข็งอีกชั้นหนึ่งจำนวนกล่องละ 12 ขวด จำนวนทั้งสิ้น 12 กล่องต่อการบรรจุในกล่องกระดาษลูกฟูก 1 กล่อง จะพบว่า กล่องกระดาษลูกฟูกนี้จะมีโอกาสถูกกดทับโดยน้ำหนักรวมทั้งหมดถึง 300 กิโลกรัม การออกแบบกล่องกระดาษลูกฟูกและกล่องกระดาษแข็งพร้อมขวด จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สามารถจัดส่งถึงผู้บริโภคโดยไม่มีการบอบช้ำเสียหายด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด การออกแบบทั่วๆ ไป อาจเริ่มจากการออกแบบกล่องลูกฟูกเปล่าๆ สามารถรับแรงกดได้ 300 กิโลกรัม แต่ถ้าพิจารณาอย่างลึกซึ้งพบว่า จำต้องเอาความสามารถในการรับแรงกดของกล่องกระดาษแข็งและขวดเข้ามาพิจารณาด้วย รูปที่ 7.5 แสดงความสามารถในการรับแรงกดของบรรจุภัณฑ์แต่ละชั้นเป็นกราฟแท่ง ความสามารถในการรับแรงกดของขวดแบบ HDPE และกล่องกระดาษแข็งมีค่า 100 และ 50 กิโลกรัม ตามลำดับ ในกรณี (ก) กล่องกระดาษลูกฟูกที่ใช้สามารถรับแรงกดได้ 120 กิโลกรัม เมื่อรวมความสามารถในการรับแรง ระบบบรรจุภัณฑ์แบบ (ก) = 270 กิโลกรัม ย่อมไม่สามารถปกป้องสินค้าได้ (Under Packaging) กล่องที่ออกแบบตามกรณี (ข) จะสามารถรับแรงกดได้ตามต้องการ ส่วนกรณีของ (ค) นั้น เป็นการป้องกันเกินความต้องการหรือที่เรียกว่า Over Packaging บรรจุภัณฑ์ที่มีใช้อยู่ทั่วไปมักจะเป็นกรณี (ค) ซึ่งมีโอกาสที่จะลดค่าใช้จ่ายลงได้ ดังนี้ ลองพิจารณาในแง่ของค่าใช้จ่ายหรือต้นทุน รูปที่ 7.6 แสดงความสามารถรับแรงกดที่เท่ากันของระบบบรรจุภัณฑ์ 3 ประเภท (ก) คือ 300 กิโลกรัม แต่มีการออกแบบระบบบรรจุภัณฑ์ของแต่ละประเภทแตกต่างกัน โดยแบบ (ข) เป็นแบบมาตรฐานใช้ขวดแบบ HDPE ส่วนแบบ (ง) นั้นใช้ขวด PET ที่รับแรงกดได้สูงถึง 200 กิโลกรัม พร้อมทั้งใช้กล่องกระดาษแข็งที่แข็งแรงกว่ารับแรงกดได้ถึง 100 กิโลกรัม แต่แทนที่จะบรรจุในกล่องกระดาษแข็งจะใช้ฟิล์มหดแทน ส่วนแบบ (จ) เป็นแบบที่ใช้ขวด PE ธรรมดารับแรงกดได้เพียง 50 กิโลกรัม บรรจุในกล่องกระดาษแข็งที่แข็งแรงมากสามารถรับแรงกดได้ถึง 150 กิโลกรัม แล้วบรรจุในกล่องกระดาษลูกฟูกที่ใช้กระดาษบางหน่อยและมีราคาถูกรับแรงกดได้เพียง 100 กิโลกรัม ส่วนใน ตารางที่ 7.9 แสดงค่าใช้จ่ายของระบบบรรจุภัณฑ์แต่ละแบบค่าใช้จ่ายนี้คิดเป็นราคาบาทต่อความสามารถในการรับแรงกด 100 กิโลกรัม ผลปรากฏว่าระบบ ข และ ง มีค่าใช้จ่ายเท่ากัน ดังนั้นพิจารณาจากความได้เปรียบของขวด PE ที่มีโอกาสนำกลับมาย่อยสลายได้ง่ายกว่า เพราะมีระบบเก็บกลับมา Recycle ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด คือ ระบบบรรจุภัณฑ์แบบ ง รูปที่ 7.5 ระบบบรรจุภัณฑ์ที่รับแรงกดได้แตกต่างกัน รูปที่ 7.6 ระบบบรรจุภัณฑ์ที่รับแรงกดได้ตามต้องการ ตารางที่ 7.9 : ค่าใช้จ่ายของระบบบรรจุภัณฑ์แต่ละประเภท ต้นทุนค่าใช้จ่าย (บาท) ต่อความสามารถในการรับแรงกด 100 กิโลกรัม ต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ (บาท) แบบ ข แบบ ง แบบ จ ขวด 1. HDPE 1.80 1.80 - - 2. PET 4.00 - 8.00 - 3. PE 1.60 - - 0.80 กล่องกระดาษแข็ง 10.00 5.00 10.00 15.00 กล่องกระดาษลูกฟูก 8.00 12.00 - 8.00 ฟิล์มหด - - 0.80 0 ค่าใช้จ่ายรวมของระบบบรรจุภัณฑ์ 18.80 18.80 23.80 7.5 ฉลากสิ่งแวดล้อม 7.5.1 ความหมายและการเรียกชื่อฉลากสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันนี้ มีประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากกว่า 20 ประเทศ ได้จัดตั้งองค์กรในแต่ละประเทศรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมดังแสดงไว้ในตารางที่ 7.10 พร้อมกันนี้แต่ละองค์กรได้ออกแบบสัญลักษณ์หรือฉลากใช้กำกับสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด สัญลักษณ์นี้ช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีความใส่ใจในการซื้อหาสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คำจำกัดความ : ฉลากสิ่งแวดล้อม หมายถึง การใช้ฉลากในการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคว่าผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากนี้มีมาตรฐานเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า ฉลากสิ่งแวดล้อมในแต่ละประเทศมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน และมีมาตรการในการพิจารณาและแบ่งประเภทของสินค้าที่พิจารณาให้แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น สิงคโปร์จะเน้นในเรื่องกระดาษ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษเขียน กระดาษชำระ และกระดาษใช้ในสำนักงาน ส่วนประเทศที่มีวิวัฒนาการทางด้านฉลากสิ่งแวดล้อมจะครอบคลุมสินค้าได้มากกว่า เช่น ECO-MARK ของญี่ปุ่น จะพิจารณารวมถึงสินค้าไม้ พลาสติก ยางพารา แก้ว วัสดุสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น สิ่งที่คล้ายคลึงกันในทุกๆ ประเทศ คือ ฉลากสิ่งแวดล้อมนี้จะดำเนินการด้วยองค์กรอิสระ ดำรงไว้ซึ่งมีความยุติธรรมในการพิจารณาโดยมุ่งหวังต่อการรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมของสินค้าประเภทต่างๆ เป็นสำคัญ ตารางที่ 7.10 : รายชื่อฉลากสิ่งแวดล้อมในประเทศต่างๆ ที่ ประเทศ ชื่อฉลากสิ่งแวดล้อม ปี 1 EC Environmental Choice 1991 2 กลุ่มประชาคมยุโรป (EU) European Flower ไม่ระบุ 3 กรีซ ASAOS* ไม่ระบุ 4 เกาหลีใต้ Cleaner and Greener 1992 5 แคนาดา Environmental Choice 1989 6 โครเอเชีย Environmental Friendly ไม่ระบุ 7 ญี่ปุ่น Eco-Mark 1989 8 ไต้หวัน Green Mark 1992 9 ไทย Green Label 1993 10 นิวซีแลนด์ Environmental Choice 1990 11 เนเธอร์แลนด์ Stiching Milieuukeur 1992 12 บราซิล Selo Verde ไม่ระบุ 13 ฝรั่งเศส NF Environment 1992 14 ยุโรปเหนือ (Nordic Council : นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์) Miljomarket (Nordic Swan) 1989 15 เยอรมัน Blue Angel (Umwelt Zeichen) 1978 16 ลักเซมเบอร์ก Ministere de Environment* ไม่ระบุ 17 สเปน AENOR* ไม่ระบุ 18 สิงคโปร์ Green Labeling 1992 19 สหรัฐอเมริกา Green Seal 1993 20 ออสเตรเลีย Environmental Choice 1991 21 ออสเตรีย Eco-label (Umwelt Zeichen) 1990 22 อังกฤษ European Union Ecolabel Award ไม่ระบุ 23 อินเดีย Eco-Mark 1992 24 อิสราเอล Green Label Program ไม่ระบุ * หมายถึงชื่อขององค์กรที่รับผิดชอบ แหล่งที่มา : 1. สำนักงานสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, "ISO 14020 ECOLABELLING : ฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมกับอนาคตอุตสาหกรรมส่งออกไทย", 2539 : p.6 2. China External Trade Development Council "Green Design : We Just Have One Earth" 1994 : p.219-220 <<ย้อนกลับ บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่3อ่านต่อ บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่5 >> <<กลับสู่หน้าหลัก
พัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2
1.3 หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์อาหารแปรรูปมีความสอดคล้องกับวิทยาการ 2 ด้าน คือ ด้านเทคนิคและด้านการตลาด จำแนกได้ดังนี้ ด้านเทคนิค ด้านการตลาด การบรรจุใส่ การส่งเสริมการขาย การปกป้องคุ้มครอง การแสดงข้อมูลอาหาร การรักษาคุณภาพอาหาร การตั้งราคาขายได้สูงขึ้น การขนส่ง การเพิ่มปริมาณขาย การวางจำหน่าย ให้ความถูกต้องรวดเร็ว การรักษาสิ่งแวดล้อม การรณรงค์ หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์สามารถให้คำอธิบายเพิ่มเติมได้ดังนี้ - การทำหน้าที่บรรจุใส่ ได้แก่ ใส่-ห่อสินค้า ด้วยการชั่ง ตวง วัด นับ - การทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครอง ได้แก่ ป้องกันไม่ให้สินค้าเสียรูป แตกหัก ไหลซึม - การทำหน้าที่รักษาคุณภาพอาหาร ได้แก่ การใช้วัสดุที่ป้องกันอากาศซึมผ่าน ป้องกันแสง ป้องกันก๊าซเฉื่อยที่ฉีดเข้าไปชะลอปฏิกิริยาชีวภาพ ป้องกันความชื้นจากภายนอก - การทำหน้าที่ขนส่ง ได้แก่ กล่องลูกฟูก ลังพลาสติก ซึ่งบรรจุสินค้าหลายห่อหรือหน่วย เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและขนส่งสินค้าไปยังแหล่งผลิตหรือแหล่งขาย - การวางจำหน่าย คือ การนำบรรจุภัณฑ์ที่มีสินค้าอาหารแปรรูปอยู่ภายในวางจำหน่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องเห็นสินค้าเลย สามารถวางนอนหรือวางตั้งได้โดยสินค้าไม่ได้รับความเสียหาย ซึ่งควรคำนึงถึงขนาดที่เหมาะสมกับชั้นวางสินค้าด้วย - การรักษาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1. ใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ให้ปริมาณขยะน้อย เป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่าย ในกระบวนการผลิตจะไม่ใช้สารที่ทำลายชั้นบรรยากาศ เป็นต้น 2. นำบรรจุภัณฑ์เวียนใช้ใหม่หรือใช้ประโยชน์อื่นได้ เช่น ขวดเหล้า แก้วใส่แยม เป็นต้น 3. หมุนเวียนนำกลับมาผลิตใหม่ คือ นำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วไปหลอมหรือย่อยสลายเป็นวัตถุดิบสำหรับใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์หรือสินค้าอื่นได้ - ทำหน้าที่ส่งเสริมการขายเพราะบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบสวยงามสามารถใช้เป็นสื่อโฆษณาได้ด้วยตัวเอง รวมถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อใช้เฉพาะกาล เช่น มีการแนบของแถมไปกับบรรจุภัณฑ์ การนำรูปภาพดารา เครื่องหมายกีฬาที่ได้รับความนิยมมาพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ จะเป็นแนวทางหนึ่งในการเรียกความนิยมของสินค้า - ทำหน้าที่เป็นฉลากแสดงข้อมูลของอาหารแปรรูป ได้แก่ ข้อมูลทางด้านโภชนาการ ส่วนประกอบของอาหาร วันที่ผลิต วันที่หมดอายุ คำแนะนำ และเครื่องหมายเลขทะเบียนหรือเลขอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) - ทำให้ตั้งราคาขายได้สูงขึ้นเนื่องจากบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า สร้างความนิยมในสินค้า จากตราและเครื่องหมายการค้าทำให้เกิดความภักดี (Loyalty) ในตัวสินค้าส่งผลให้ขายราคาที่สูงขึ้นได้ หรือ ที่เรียกว่าสินค้าแบรนด์เนม (Brandname) - การเพิ่มปริมาณขาย ด้วยการรวมหน่วยขายปลีกในบรรจุภัณฑ์อีกชั้นหนึ่ง เช่น นมกล่อง 1 โหลในกล่องกระดาษลูกฟูกที่มีหูหิ้ว หรือการขายขวดน้ำยาทำความสะอาดพร้อมกับซองน้ำยาทำความสะอาดเพื่อใช้เติมใส่ในขวดเมื่อใช้น้ำยาในขวดหมดแล้ว เป็นต้น - ให้ความถูกต้องรวดเร็วในการขาย โดยการพิมพ์บาร์โค้ดบนบรรจุภัณฑ์ทำให้คนคิดเงินไม่จำเป็นต้องอ่านป้ายราคาบนบรรจุภัณฑ์แล้วกดเงินที่ต้องจ่าย แต่ให้เครื่องอ่านบาร์โค้ดทำหน้าที่แทน ทำให้รวดเร็วขึ้นและถูกต้อง - ร่วมมีบทบาทในการรณรงค์เรื่องต่างๆ เช่น สัญลักษณ์รีไซเคิล ฉลากเขียว กีฬา ท่องเที่ยว กินของไทยใช้ของไทย เป็นต้น 1.4 ประเภทของบรรจุภัณฑ์ ตามนิยามที่กล่าวมาแล้ว บรรจุภัณฑ์ทำหน้าที่เป็นพาหะนำผลผลิตจากกระบวนการผลิตผ่านการขนย้าย เก็บในคลังสินค้า ระบบการขนส่ง ระบบการจัดจำหน่าย เปิดโอกาสให้เลือกซื้อ เอื้ออำนวยความสะดวกในการบริโภคพร้อมทั้งกำจัดซากบรรจุภัณฑ์ได้ง่าย จากขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ การแยกประเภทของบรรจุภัณฑ์อาจแยกได้หลายลักษณะแล้วแต่จุดมุ่งหมายการแยกประเภท ดังแสดงในตารางที่ 1.2 ตารางที่ 1.2 : การแยกประเภทของบรรจุภัณฑ์ วิธีการ จุดมุ่งหมาย ประเภทของบรรจุภัณฑ์ 1 การออกแบบ 1.1 บรรจุภัณฑ์ชั้นในหรือปฐมภูมิ (Primary Packaging) 1.2 บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองหรือทุติยภูมิ (Secondary Packaging) 1.3 บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สามหรือตติยภูมิ (Tertiary Packaging) 2 วัสดุที่ใช้ผลิต 2.1 เยื่อและกระดาษ 2.2 พลาสติก 2.3 แก้ว 2.4 โลหะ 1.4.1 บรรจุภัณฑ์แบ่งตามการออกแบบ ด้วยหลักการในการออกแบบ สามารถจำแนกประเภทของบรรจุภัณฑ์ได้ 3 จำพวก คือ (1) บรรจุภัณฑ์ชั้นในหรือปฐมภูมิ (Primary Packaging) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ผู้ซื้อจะได้สัมผัสเวลาที่จะบริโภค บรรจุภัณฑ์นี้จะได้รับการโยนทิ้งเมื่อมีการเปิดและบริโภคสินค้าภายในจนหมด เช่น ซองบรรจุน้ำตาล เป็นต้น บรรจุภัณฑ์นี้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ชั้นในสุดติดกับตัวสินค้า ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นในมีปัจจัยที่ต้องพิจารณา 2 ประการคือ อันดับแรกจะต้องมีการทดสอบจนมั่นใจว่าอาหารที่ผลิตและบรรจุภัณฑ์ที่เลือกใช้จำต้องเข้ากันได้ (Compatibility) หมายความว่าตัวอาหารจะไม่ทำปฏิกิริยาต่อผลิตภัณฑ์ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนี้อาจจะเกิดจากการแยกตัวของเนื้อวัสดุบรรจุภัณฑ์เข้าสู่อาหาร (Migration) หรือการทำให้บรรจุภัณฑ์เปลี่ยนแปลงรูปทรงไปเช่นในกรณีการบรรจุอาหารใส่เข้าไปในบรรจุภัณฑ์ขณะที่อาหารยังร้อนอยู่ (Hot Filling) เมื่อเย็นตัวลงในสภาวะบรรยากาศห้อง จะทำให้รูปทรงของบรรจุภัณฑ์บูดเบี้ยวได้ เหตุการณ์นี้จะพบบ่อยมากในขวดพลาสติกทรงกระบอก ซึ่งแก้ไขได้โดยการเพิ่มร่องบนผิวทรงกระบอกหรือเปลี่ยนรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมมุมมน CPET บรรจุภัณฑ์ชั้นในสำหรับ บรรจุอาหารแช่เยือกแข็ง (freezing) และเข้าไมโครเวฟได้ นอกเหนือจากความเข้ากันได้ของอาหารและบรรจุภัณฑ์แล้ว ปัจจัยอันดับต่อมาที่ต้องพิจารณา คือ บรรจุภัณฑ์ชั้นในจะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่วางขายบนหิ้งหรือไม่ ในกรณีที่บรรจุภัณฑ์ชั้นในจำต้องวางขายแสดงตัวบนหิ้ง การออกแบบความสวยงาม การสื่อความหมายและภาพพจน์จะเริ่มเข้ามามีบทบาทในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ชั้นในที่ทำหน้าที่วางขายบนหิ้ง (2) บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองหรือทุติยภูมิ (Secondary Packaging) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่รวบรวมบรรจุภัณฑ์ชั้นแรกเข้าด้วยกัน เพื่อเหตุผลในการป้องกันหรือจัดจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น หรือด้วยเหตุผลในการขนส่ง บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองที่เห็นได้ทั่วไป เช่น กล่องกระดาษแข็งของหลอดยาสีฟัน ถุงพลาสติกใส่ซองน้ำตาล 50 ซอง เป็นต้น ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองนี้มักจะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ต้องวางแสดงบนหิ้ง ณ จุดขาย ดังนั้น การเน้นความสวยงามและภาพพจน์ของบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่น กล่องยาสีฟัน การออกแบบของหลอดยาสีฟันที่อยู่ภายในก็ไม่จำเป็นต้องออกแบบให้สอดสีหลายสี ในทางกลับกันถ้าบรรจุภัณฑ์ชั้นในได้รับการออกแบบอย่างสวยงาม ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองนี้อาจจะทำการเปิดเป็นหน้าต่างเพื่อให้เห็นถึงความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ชั้นในที่ออกแบบมาอย่างดีแล้ว ในกรณีของตัวอย่างถุงพลาสติกใส่ซองน้ำตาล 50 ซองนั้น ถุงพลาสติกที่เลือกใช้ไม่จำเป็นต้องช่วยรักษาคุณภาพของน้ำตาลมากเท่าซองชั้นใน เนื่องจากทำหน้าที่รวมซองน้ำตาล 50 ซองเข้าด้วยกันเพื่อการจัดจำหน่ายแต่ตัวถุงเองต้องพิมพ์สอดสีอย่างสวยงามเพราะเป็นถุงที่วางขายบนหิ้ง ณ จุดขาย บรรจุภัณฑ์ชั้นในหรือปฐมภูมิ (Primary Packaging) และบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองหรือทุติยภูมิ (Secondary Packaging) มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บรรจุภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายปลีก (Commercial Packaging) (3) บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สามหรือตติยภูมิ (Tertiary Packaging) หน้าที่หลักของบรรจุภัณฑ์นี้คือการป้องกันระหว่างการขนส่ง บรรจุภัณฑ์ขนส่งนี้ อาจแบ่งย่อยเป็น 3 ประเภท คือ - บรรจุภัณฑ์ที่ใช้จากแหล่งผลิตถึงแหล่งขายปลีกเมื่อสินค้าได้รับการจัดเรียงวางบนหิ้งหรือคลังสินค้าของแหล่งขายปลีกแล้ว บรรจุภัณฑ์ขนส่งก็หมดหน้าที่การใช้งาน บรรจุภัณฑ์เหล่านี้เช่น แคร่และกะบะ (Pallet) เป็นต้น - บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ระหว่างโรงงาน เป็นบรรจุภัณฑ์ที่จัดส่งสินค้าระหว่างโรงงาน ตัวอย่างเช่น ลังใส่ซองพริกป่น ถุงน้ำจิ้ม เป็นผลผลิตจากโรงงานหนึ่งส่งไปยังโรงงานอาหารสำเร็จรูปเพื่อทำการบรรจุไปพร้อมกับอาหารหลัก เป็นต้น - บรรจุภัณฑ์ที่ใช้จากแหล่งขายปลีกไปยังมือผู้อุปโภคบริโภค เช่น ถุงต่างๆ ที่ร้านค้าใส่สินค้าให้ผู้ซื้อ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สามนี้ จึงต้องคำนึงถึงความสามารถในการป้องกันสินค้าระหว่างการขนส่ง ส่วนข้อมูลรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ขนส่งจะช่วยในการจัดส่งเป็นไปอย่างสะดวกและถูกต้อง บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สามนี้จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Distribution Packaging) <<ย้อนกลับ พัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ ตอนที่1อ่านต่อ พัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ ตอนที่3 >> <<กลับสู่หน้าหลัก
สมัครสมาชิก

สนับสนุนโดย / Supported By

  • บริษ้ท มาเรล ฟู้ดส์ ซิสเท็ม จำกัด จัดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์การแปรรูปอาหาร เช่น ระบบการชั่งน้ำหนัก, การคัดขนาด, การแบ่ง, การตรวจสอบกระดูก และการประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พร้อมกับบริการ ออกแบบ ติดตั้ง กรรมวิธีการแปรรูปทั้งกระบวนการ สำหรับ ผลิตภัณฑ์ ปลา เนื้อ และ สัตว์ปีก โดยมีวิศวกรบริการและ สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเทพ มาเรล เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกของอุปกรณ์การแปรรูปอาหารที่ทันสมัย​​ครบวงจรทั้งระบบ สำหรับอุตสาหกรรม ปลา กุ้ง เนื้อ และสัตว์ปีก ต่างๆ เครื่องแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก Stork และ Townsend จาก Marel อยู่ในกลุ่มเครื่องที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดในอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ สามารถบริการครบวงจรตั้งแต่ต้นสายการผลิตจนเสร็จเป็นสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกความต้องการของลูกค้า ด้วยสำนักงานและบริษัทสาขามากกว่า 30 ประเทศ และ 100 เครือข่ายตัวแทนและผู้จัดจำหน่ายทั่วโลก ที่พร้อมทำงานเคียงข้างลูกค้าเพื่อขยายขอบเขตผลการแปรรูปอาหาร Marel Food Systems Limited. We are supply weighing, grading, portioning, bone detection and software applications as well as complete turn-key processing solutions for fish, meat and poultry. We have service engineer and office in Bangkok. Marel is the leading global provider of advanced food processing equipment, systems and services to the fish, meat, and poultry industries. Our brands - Marel, Stork Poultry Processing and Townsend Further Processing - are among the most respected in the industry. Together, we offer the convenience of a single source to meet our customers' every need. With offices and subsidiaries in over 30 countries and a global network of 100 agents and distributors, we work side-by-side with our customers to extend the boundaries of food processing performance.
  • We are well known for reliable, easy-to-use coding and marking solutions which have a low total cost of ownership, as well as for our strong customer service ethos. Developing new products and a continuous programme of improving existing coding and marking solutions also remain central to Linx's strategy. Coding and marking machines from Linx Printing Technologies Ltd provide a comprehensive solution for date and batch coding of products and packaging across manufacturing industries via a global network of distributors. In the industrial inkjet printer arena, our reputation is second to none. Our continuous ink jet printers, laser coders, outer case coders and thermal transfer overprinters are used on production lines in many manufacturing sectors, including the food, beverage, pharmaceutical, cosmetics, automotive and electronic industries, where product identification codes, batch numbers, use by dates and barcodes are needed. PTasia, THAILAND With more than 3,700 coding, marking, barcode, label applicator, filling, packing and sealing systems installed in THAILAND market. Our range is includes systems across a wide range of technologies. To select the most appropriate technology to suit our customers. An excellent customer service reputation, together with a reputation for reliability that sets standards in the industry, rounds off the PTAsia offering and provides customers with efficient and economical solutions of the high quality. Satisfyingcustomers inTHAILAND for 10 years Our 1,313 customers benefit from our many years of experience in the field, with our successful business model of continuous improvement. Our technical and service associates specialise in providing individual advice and finding the most efficient and practical solution to every requirment. PTAsia extends its expertise to customers in the food, beverage, chemical, personal care, pharmaceutical, medical device, electronics, aerospace, military, automotive, and other industrial markets.
  • วิสัยทัศน์ของบริษัท คือ การอยู่ในระดับแนวหน้า "ฟอร์ฟร้อนท์" ของเทคโนโลยีประเภทต่างๆ และนำเทคโนโลยีนั้นๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิตในประเทศไทย เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า บริษัท ฟอร์ฟร้อนท์ ฟู้ดเทค จำกัด เชื่อมั่นและยึดมั่นในอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจ กล่าวคือ จำหน่าย สินค้าและให้บริการที่มีคุณภาพสูง ซึ่งเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ด้วยความซื่อสัตย์และความตรงต่อเวลา เพื่อการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จร่วมกันระยะยาว Our vision is to be in the "forefront" of technology in its field and suitably apply the technology to industries and production in Thailand for customers' utmost benefits. Forefront Foodtech Co., Ltd. strongly believes in and is committed to our own business philosophy which is to supply high quality products and service appropriately to each customer's requirements with honesty and punctuality in order to maintain long term win-win business relationship. Forefront Foodtech Co., Ltd. is the agent company that supplies machinery and system, install and provide after sales service as well as spare parts. Our products are: Nock, made in Germany: manufacturer of skinning machines, membrane skinning machine, slicers and scale ice makers. Frey, made in Germany: manufacturer of vacuum stuffers and chain linking system. Kronen, made in Germany: manufacturer of washing, centrifuges and cutting machinery for vegetable and fruits. Bandall, made in Netherlands: manufacturer of banding machine. Emerson, made in Romania: smoke chamber. G.Mondini, made in Italy: manufacturer of top seal, skin pack, paper seal, slimfresh and slicefresh for ready meal, meat, petfood and etc. Dorit, made in Germany: manufacturer of tumblers and injectors. Cliptechnik, made in Germany: manufacturer of single and double clippers for table top use and standalone clipping machines. Firex, made in Italy: manufacturer of food-processing equipment for kitchen and commercial equipment. Orved, made in Italy: manufacturer of vacuum packing machine. Carsoe, made in Denmark: designs and produces products for the seafood and food processing industry Gernal, made in Belgium: manufacturer of food-processing equipment for industrial Mado, made in Germany: manufacturer of meat-processing industry