News and Articles

เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 1

เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 1


หมวดหมู่: หนังสือบรรจุภัณฑ์อาหาร [บรรจุภัณฑ์อาหาร]
วันที่: 13 มกราคม พ.ศ. 2555

เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์

ผู้ประกอบการทางด้านแปรรูปอาหาร ย่อมจะต้องมีเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ใช้อยู่ไม่มากก็น้อยเนื่องจากเมื่อมีการแปรรูปอาหารเสร็จแล้ว ย่อมต้องใช้บรรจุภัณฑ์ทำหน้าที่ส่งสินค้าไปยังจุดขายและเครื่องบรรจุภัณฑ์ย่อมเข้ามามีบทบาทในการทำหน้าที่บรรจุและปิดผนึก ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ โดยทั่วไปมักจะนึกถึงเครื่องบรรจุใส่ขวด เครื่องห่อ เครื่องปิดซองพลาสติก เครื่องปิดกระป๋อง เป็นต้น

ในสภาพความเป็นจริง นอกจากเครื่องบรรจุและเครื่องปิดผนึกสำหรับอาหารประเภทต่างๆ ดังกล่าวแล้ว เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ยังรวมถึงเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องปั๊มกล่อง เครื่องเป่าพลาสติก เครื่องเป่าขวดแก้ว เป็นต้น นอกจากนี้เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารเป็นอีกประเภทหนึ่งที่นับได้ว่าเป็นเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ประเภทสุดท้าย คือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบบรรจุภัณฑ์ เริ่มจากอุปกรณ์ง่ายๆ เช่น ตาชั่งเพื่อใช้ชั่งน้ำหนักมาตรฐาน หรืออุปกรณ์วัดความหนาของวัสดุบรรจุภัณฑ์ จนถึงเครื่องจักรที่ใช้ในการทดสอบขนาดใหญ่ เช่น เครื่องวัดแรงกดของกล่องกระดาษลูกฟูก ซึ่งเป็นเครื่องขนาดใหญ่สามารถวัดแรงกดของสินค้าที่เรียงวางบนกะบะทั้งหมดโดยมีขนาดความกว้างและความยาวของกะบะประมาณเมตรครึ่ง สรุปได้ว่าเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์นั้นมีถึง 3 ประเภทด้วยกัน คือ เครื่องจักรผลิตบรรจุภัณฑ์ เครื่องบรรจุต่างๆ และเครื่องทดสอบ

สาระในบทนี้จะบรรยายถึงเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการบรรจุหีบห่อเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร

8,1 การเลือกเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์

ปริมาณของบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตหรือบรรจุได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งมักจะเป็นคำถามที่ตั้งขึ้นในการจัดหาเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ปริมาณที่ต้องการผลิตหรือบรรจุได้นี้ ไม่ใช่ปริมาณความต้องการในปัจจุบันเท่านั้น แต่ต้องประเมินถึงความต้องการในอนาคตด้วย การเลือกเครื่องจักรที่จะลงทุนให้สามารถรองรับการผลิตในอนาคตได้นานแค่ไหน ย่อมขึ้นอยู่กับงบประมาณและเครื่องจักรที่มีอยู่ในตลาดเท่าที่จะจัดหาได้

ตามที่บรรยายมาก่อนในเรื่องพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เมื่อกล่าวถึงเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์จะมีศัพท์ที่ว่าความเข้ากันได้กับเครื่อง (Machinability) ความหมายคือเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ต้องทำงานร่วมกับวัสดุบรรจุภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี

คำจำกัดความ "ความเข้ากันได้กับเครื่อง (Machinability) " คือ ความสามารถของเครื่องจักรที่จะสามารถทำการป้อน ขนถ่าย ตัด ขึ้นรูป บรรจุ หรือหน้าที่อื่นๆที่กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ถูกต้องด้วยความรวดเร็วที่ได้กำหนดและความผิดพลาดน้อยที่สุด

คำจำกัดความดังกล่าวเปรียบเทียบกับความเข้าใจของคนทั่วไปจะพบว่าการใช้เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์นอกเหนือจากความเร็วแล้ว จำต้องพิจารณาถึงความผิดพลาดที่จะก่อให้เกิดการหยุดเครื่อง (Downtime) ของเครื่องจักร นอกจากนี้ยังต้องพิจารณางานที่ทำได้ตามกำหนดของเครื่องจักร เช่น เครื่องบรรจุสามารถบรรจุได้ปริมาตรมากน้อยแค่ไหน และบรรจุใส่ขวดความสูงความกว้างตามที่กำหนดของเครื่อง สำหรับวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมนั้นจำต้องรู้ข้อกำหนดลักษณะของบรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้งานกับเครื่องจักรดังกล่าว

8.1.1 องค์ประกอบในการพิจารณาเครื่องจักร

องค์ประกอบที่ใช้ในการพิจารณาเครื่องจักรมีอยู่มากมาย แต่องค์ประกอบหลักประกอบด้วยความเร็ว สถานที่ติดตั้ง ระบบการควบคุม ค่าใช้จ่าย และการบริการ นอกจากนี้การพิจารณาจัดหาเครื่องจักรเครื่องเดียว และการพิจารณาจัดหาเครื่องจักรสำหรับกระบวนการผลิตทั้งหมดก็มีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน องค์ประกอบที่สำคัญที่พิจารณาก่อนมักจะเป็นความเร็วหรือประสิทธิผลของกระบวนการผลิตทั้งหมด

(1) ความเร็ว

ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว องค์ประกอบแรกของเครื่องจักรที่คนทั่วไปมักคิดถึง คือ ความเร็วโดยเปรียบเทียบกับเงินที่ต้องลงทุน ตัวเครื่องจักรมีความเร็วที่สามารถวิ่งได้ตามที่ออกแบบเรียกว่า Mechanical Speed แต่ในขณะที่เดินเครื่องจริงในการใช้งาน ความเร็วนี้จะแปรตามปัจจัยที่เข้ามาประกอบ อันได้แก่ วัสดุหรือบบรรจุภัณฑ์ ตัวสินค้า การควบคุมเครื่อง และปัจจัยอื่นๆ ดังนั้น จึงต้อพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ด้วยในการเลือกซื้อเครื่องจักร ความเร็วต่างๆ อาจแบ่งเป็น ความเร็วที่วิ่งเครื่องเพียงอย่างเดียว ความเร็วที่วิ่งโดยมีบรรจุภัณฑ์ป้อนผ่าน ความเร็วที่วิ่งได้เมื่อมีการบรรจุสินค้าใส่ในบรรจุภัณฑ์ ความเร็วต่างๆที่กล่าวมานี้ เป็นความเร็วที่ต้องทดลองก่อนที่จะตัดสินใจซื้อเครื่อง ในสภาวะการทำงานจริงๆ ถ้าเครื่องใช้งานอยู่ประจำสามารถวิ่งได้ 80% ของความเร็วที่ทดสอบจริงพร้อมสินค้าและบรรจุภัณฑ์ก็นับได้ว่ามีประสิทธิภาพที่ดี

ในกรณีที่พิจารณากำลังสินการผลิตขอสายงานการบรรจุ ตัวอย่างเช่น เริ่มตั้งแต่การบรรจุสินค้าใส่ในบรรจุภัณฑ์ มีการปิดฉลาก จนกระทั่งถึงการวางเรียงบนกะบะ ถ้าในกระบวนการบรรจุนี้ต้องการประสิทธิผลในการทำงาน 100 หน่วย เครื่องบรรจุในขั้นตอนแรกสุดควรจะมีความสามารถบรรจุได้ 120 หน่วย ในขณะที่เครื่องจักรขั้นตอนสุดท้ายคือ การเรียงวางบนกะบะควรมีความสามารถทำงานได้ 140 หน่วย ถ้ามีการเผื่อความเร็วไว้ดังนี้ เวลาการทำงานจริงจะสามารถเดินเครื่องทั้งหมดในกระบวนการบรรจุได้ 100 หน่วยตามต้องการ เพราะได้สำรองความเสียหายที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอน ในสายงานการบรรจุนี้ยังต้องมีเครื่องจักรหรือบริเวณที่รองรับเก็บสินค้าระหว่างการผลิต ถ้าเครื่องจักรเครื่องใดเครื่องหนึ่งในกระบวนการผลิตต้องหยุดและเครื่องที่เหลือในกระบวนการผลิตยังเดินเครื่องอยู่ บริเวณที่รองรับนี้ควรจะมีความสามารถรองรับได้ 1 เท่าครึ่งของเวลาที่คาดว่าจะหยุด เช่นความเร็วในการผลิตของทั้งกระบวนการผลิต คือ 100 หน่วยต่อนาที และคาดว่าเครื่องปิดฉลากจะหยุดใน 10 นาทีในการใส่ฉลากใหม่ บริเวณที่จะรองรับก่อนถึงเครื่องปิดฉลากควรจะรองรับได้ 100 x 10 x 1.5 = 1500 หน่วย สถานที่รองรับนี้ เมื่อมีการนำสินค้าเข้าไปเก็บจำต้องมีอุปกรณ์ที่จะส่งสินค้าออกไปสู่เครื่องต่อไปเมื่อเดินเครื่องใหม่ การประเมินความเร็วของเครื่องจักในกระบวนการผลิตดังแสดงในรูปที่ 8.1

รูปที่ 8.1 แสดงการประเมินความเร็วของเครื่องจักรในกระบวนการผลิต

(2) สถานที่ติดตั้งเครื่องจักร

การจัดเรียงวางเครื่องจักรมีผลต่อประสิทธิภาพในการผลิต/บรรจุ การจัดเรียงวางของเครื่องจักรเป็นแนวเส้นตรงมักจะเป็นการจัดเรียงวางที่นิยมมากที่สุด ส่วนการจัดเรียงวางเป็นรูปตัวยู (U) มักจะจัดเรียงวางเมื่อมีพื้นที่จำกัดและเหมาะสำหรับกระบวนการผลิตที่ไม่เร็วมากนัก เนื่องจากความสะดวกที่นำวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิตและนำสินค้าสำเร็จรูปกลับเข้าสู่คลังสินค้าด้วยระยะทางที่ไม่ห่างไกลกันนักเนื่องจากเป็นรูปตัวยู ถ้าสถานที่ติดตั้งเครื่องมีไม่มากพอนัก ย่อมมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจจัดหาเครื่องจักรใดๆ จำต้องพิจารณาพื้นที่ที่ต้องใช้ของเครื่องจักรให้รอบคอบ

(3) การควบคุม

ระบบการทำงานของเครื่องจักรที่สามารถควบคุมและใช้งานได้ง่ายย่อมเป็นที่นิยม ระบบการควบคุมของเครื่องจักรอาจจะควบคุมได้หลายวิธี เช่น ควบคุมด้วยเชิงกล (Mechanical) ควบคุมด้วยไฟฟ้า ควบคุมด้วยลม ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น หรือการผสมผสานกันหลายๆระบบเข้าด้วยกัน ระบบควบคุมด้วยไฟฟ้าและเชิงกลเป็นระบบที่ใช้กันมานานและดูแลง่ายด้วยความรู้พื้นฐานของช่างทั่วไป ระบบคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นและจำต้องมีช่างเฉพาะสาขาช่วยในการซ่อมแซมดูแลรักษา ส่วนการซ่อมแซมของระบบคอมพิวเตอร์เป็นได้ลำบากนอกจากว่าจะเปลี่ยนทั้งแผง ส่วนระบบลมนั้นเป็นระบบใหม่ที่ใช้ง่ายและสะดวก แต่อาจจะไม่คงทนนักและต้องคอยปรับบ่อยๆ ระบบลมจะเหมาะสำหรับสภาวะแวดล้อมการทำงานที่กลัวการเกิดประกายไฟ

(4) การติดตั้ง การบำรุงรักษา และการบริการหลังการขาย

บริการต่างๆ เหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญในการเลือกเครื่องจักร เริ่มจากการติดตั้งและการสอนให้ใช้เครื่องจักร บทเริ่มต้นนี้เป็นการปูทางให้มีการใช้และบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างถูกต้อง การเริ่มต้นที่ดีอาจตีมูลค่าครึ่งหนึ่งของค่าเครื่องจักร เพราะเป็นพื้นฐานการคุมเครื่องให้ได้ประสิทธิผล และลดค่าใช้จ่ายของอะไหล่ เนื่องจากบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้อง

เครื่องจักรที่ออกแบบมาดีสามารถทำการบำรุงรักษาได้ง่าย กล่าวคือ การบำรุงรักษาทำได้ทุกวันอย่างง่ายดายด้วยการกดปุ่มเพียงปุ่มเดียว โดยไม่จำเป็นต้องหยุดเครื่อง เป็นต้น การซ่อมแซมรักษาจึงต้องกระทำได้อย่างสะดวกและควรจะมีไฟแจ้งบอกบริเวณที่ติดขัดบนแผงควบคุมพร้อมทั้งเข้าถึงจุดต่างๆ ภายในเครื่องได้ง่าย และสามารถเปลี่ยนชิ้นส่วนได้เร็วและสามารถหาอะไหล่เปลี่ยนได้ง่าย

(5) ค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่ายที่แท้จริงของเครื่องจักรใดๆ ไม่ใช่เฉพาะเงินที่ใช้จ่ายในการซื้อเครื่องจักรเท่านั้น อันดับแรกที่ต้องพิจารณาคือ ค่าดอกเบี้ย การลงทุนซื้อเครื่องจักรเหมือนกับการลงทุนอื่นๆที่ต้องมีดอกเบี้ยเกิดขึ้น มิฉะนั้นเอาเงินที่จะลงทุนไปฝากธนาคารกินดอกเบี้ยดีกว่า ด้วยเหตุนี้การลงทุนในเครื่องจักรจะต้องมีผลผลิตที่ขายได้กำไรมากพอจ่ายดอกเบี้ยตามเวลาที่กำหนดจะใช้เครื่องจักรนั้นๆ

การเดินเครื่องย่อมมีค่าใช้จ่ายและค่าใช้จ่ายนี้สูงมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเครื่องเก่าลง ค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องเป็นค่าใช้จ่ายที่มีปริมาณมากพอสมควร เช่น ค่าแรง ค่าไฟฟ้า ค่าวัสดุที่สูญเสีย เป็นต้น และค่าใช้จ่ายที่สำคัญก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องจักรใดๆ คือ ค่าอะไหล่ด้วยเหตุนี้ค่าใช้จ่ายรวม คือ ค่าเครื่องจักรที่รวมดอกเบี้ยแล้วบวกกับค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่อง รูปที่ 8.2 แสดงถึงอัตราค่าใช้จ่ายของเครื่องจักรแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา สิ่งที่น่าสังเกตคือ ค่าใช้จ่ายรวมจะลดลงต่ำที่สุดเมื่อถึงปีที่ 5 แต่เครื่องจักรยังคงใช้งานได้ ณ จุดนี้ควรเริ่มพิจารณาหาเครื่องใหม่มาทดแทน เนื่องจากค่าใช้จ่ายรวมเริ่มทวีมากขึ้น และเมื่อไรก็ตามที่ค่าใช้จ่ายรวมมากกว่าค่าใช้จ่ายของเครื่องใหม่เมื่อนั้นย่อมเป็นเวลาที่ต้องสั่งซื้อเครื่องใหม่

รูปที่ 8.2 ค่าใช้จ่ายที่แปรเปลี่ยนตามเวลา

ตารางที่ 8.1 แสดงการพิจารณาเลือกเครื่องจักรบรรจุกระป๋อง 3 รุ่นโดยใช้องค์ประกอบต่างๆ 14 องค์ประกอบ แต่ละองค์ประกอบมีน้ำหนักหรือความสำคัญไม่เท่ากัน คะแนนรวมของความสำคัญมีค่าเท่ากับ 100 คะแนน แต่ละองค์ประกอบให้คะแนน 3 ระดับ คือ 1 , 2 และ 3 คะแนน คะแนนที่ให้ในแต่ละองค์ประกอบคูณด้วยน้ำหนักหรือความสำคัญ จะเป็นคะแนนรวมของแต่ละองค์ประกอบ เมื่อรวมคะแนนทั้งหมดก็จะทราบว่า เครื่องจักร ค. เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด ส่วนเครื่องจักร ข. ได้คะแนนรวมไม่ห่างจากเครื่องจักร ค. มากเท่าไรนัก แต่เครื่องจักร ก. นั้นได้คะแนนรวมต่ำจนแทบไม่ต้องพิจารณาเลย

ตารางที่ 8.1 แสดงการเลือกเครื่องจักรโดยใช้องค์ประกอบต่างๆ

ที่

องค์ประกอบ (หน่วย)

น้ำ

หนัก

ผู้ผลิต

เครื่องจักร ก.

เครื่องจักร ข.

เครื่องจักร ค.

ผล

คะ

แนน

รวม

ผล

คะ

แนน

รวม

ผล

คะ

แนน

รวม

1.

2.

3.

4.

5.

6.

7.

8.

9.

10.

11.

12.

13.

14.

ราคา (x1000 บาท)

ระยะส่งเครื่อง (เดือน)

ความเร็ว (หน่วย/นาที)

ความละเอียดในการบรรจุ

โดยน้ำหนัก (กรัม)

พื้นที่ที่ใช้ (ตร.ม.)

ความสูงของเครื่อง (เมตร)

การเดินเครื่อง

ประสิทธิภาพรวมในการบรรจุ

เวลาใช้ในการเปลี่ยนขนาด (ชม.)

การออกแบบเครื่อง

ระบบควบคุม

ชื่อเสียงผู้ผลิต

การบริการ

ระบบการต่อกับเครื่องอื่น

2

4

10

13

9

9

10

14

2

9

7

2

2

7

428

6

300

+1.1

3.8

1.2

ดี

ปานกลาง

4

เลว

ดี

ปานกลาง

ปานกลาง

ดี

2

2

1

3

1

1

3

2

2

1

3

2

2

3

4

8

10

39

9

9

30

28

4

9

21

4

4

21

408

4

320

+1.1

2.5

1.0

ดี

ปานกลาง

4

ปานกลาง

ปานกลาง

เลว

ปานกลาง

เลว

3

3

2

3

3

2

3

2

2

2

2

1

2

1

6

12

20

39

27

18

30

28

4

18

14

2

4

7

427

8

360

+1.2

3.0

1.0

ดี

ดี

4

ดี

ปานกลาง

ดี

ปานกลาง

ปานกลาง

2

2

3

1

2

2

3

3

2

3

2

3

2

2

4

8

30

13

18

18

30

42

4

27

14

6

4

14

รวมคะแนน

100

เครื่องจักร ก.

200

เครื่องจักร ข.

229

เครื่องจักร ค.

232

8.2 ระบบการบรรจุ

หัวข้อต่อไปนี้จะกล่าวถึงระบบการบรรจุของเครื่องจักรอุปกรณ์และประเภทของบรรจุภัณฑ์เป็นพื้นฐานโดยทั่วไปก่อนเพื่อเสริมความเข้าใจ แล้วจึงกล่าวถึงเครื่องจักรอุปกรณ์แต่ละชนิดต่อไป

ระบบการบรรจุแบ่งตามประเภทของผลิตภัณฑ์ ดังนั้น การเลือกระบบบรรจุจึงต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญต่างๆ ของสินค้า และขอบเขตของงานที่ใช้บรรจุ

8.2.1 ประเภทของผลิตภัณฑ์อาหาร

สำหรับการแบ่งประเภทของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่เด่นชัด คือ การแบ่งตามกายภาพ อันได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหารแห้งและของเหลว

(1) ผลิตภัณฑ์ของแห้ง

ผลิตภัณฑ์ของแห้งจะครอบคลุมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นชิ้น เป็นเม็ด เป็นก้อนหรือเป็นแผ่น ซึ่งสามารถทำการนับได้ ผลิตภัณฑ์ของแห้งนี้รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นเกล็ดที่สามารถไหลตกด้วยตัวเอง คุณสมบัติที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การมีความเหนียวแน่นคงที่ซึ่งทำให้สะดวกและแน่นอนในการบรรจุ การชั่งตวง

ส่วนผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่สามารถไหลตกได้ด้วยตัวเองอย่างอิสระและมีลักษณะจับเป็นกลุ่มหรือเป็นก้อนหรือเป็นผงละเอียด ทำให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีความหนาแน่นไม่คงที่ จึงไม่สามารถบรรจุโดยใช้แรงโน้มถ่วงได้ แต่ต้องอาศัยระบบเกลียวช่วยในการส่งผ่านสู่ท่อบรรจุ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่เป็นแผ่นชิ้น เช่นมันฝรั่งทอด ซึ่งมีคุณลักษณะแตกหักง่าย การใช้ระบบบรรจุป้อนแบบสั่นสะเทือนและบรรจุแบบน้ำหนักสุทธิจะเป็นการบรรจุที่เหมาะสมกว่า

(2) ผลิตภัณฑ์ของเหลว

ผลิตภัณฑ์ที่มีความเหนียวข้นต่ำซึ่งสามารถไหลตกด้วยตนเองจะบรรจุได้ง่าย ส่วนผลิตภัณฑ์ของเหลวที่มีความเหนียวข้นสูงจำเป็นต้องออกแบบเครื่องจักรบรรจุให้ช่วยอัดหรือดันทำให้บรรจุยากกว่า ในการบรรจุขึ้นกับองค์ประกอบอื่นๆ ของผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นอาหารเหลว เช่น อุณหภูมิในการบรรจุ แนวโน้มที่จะรวมตัวกับอากาศ ความตึงที่ผิวหน้า เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์อาหารบางประเภทจะมีส่วนผสมของอาหารและมวลแขวนลอยต่างๆ กัน เช่น ซุปสำเร็จรูป จะมีผักหลายชนิด พร้อมทั้งเนื้ออบแห้งและน้ำซุปผสมอยู่ ซึ่งไม่สามารถจะทำการบรรจุครั้งเดียวด้วยระบบบรรจุเดียวกันที่ทำให้ส่วนผสมมีสัดส่วนเหมาะสมตามต้องการ เนื่องจากว่าอาหารแต่ละอย่างจะแยกกัน ตามความหนาแน่นและขนาด พร้อมทั้งความสามารถในการไหลตกอย่างอิสระ ดังนั้น ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ จึงต้องทำการแยกกันบรรจุ สำหรับส่วนผสมของอาหารแต่ละประเภท เช่น การบรรจุถั่วกระป๋อง ต้องทำการบรรจุแยกเป็นสองส่วน คือ ส่วนหนึ่งทำการบรรจุพวกของแข็ง และอีกส่วนหนึ่งทำการบรรจุส่วนผสมที่เป็นน้ำ

8.2.2 ประเภทบรรจุภัณฑ์

เมื่อพิจารณาถึงคุณสมบัติทางกายภาพของบรรจุภัณฑ์ เราสามารถแบ่งบรรจุภัณฑ์ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ บรรจุภัณฑ์แข็งตัว บรรจุภัณฑ์กึ่งแข็งตัว และบรรจุภัณฑ์อ่อนนุ่ม

(1) บรรจุภัณฑ์แข็งตัว (Rigid Packaging)

บรรจุภัณฑ์ประเภทแข็งตัว ได้แก่ แก้ว กระป๋องโลหะ และพลาสติกแข็งตัว ส่วนมากเป็นพลาสติกฉีด บรรจุภัณฑ์ชนิดนี้มีความแข็งแรง คงรูปได้ดี ลำเลียงบนสายพานได้สะดวก สามารถใช้กับเครื่องบรรจุของเหลวระบบสุญญากาศและระบบใช้ความดันได้ และทำการบรรจุได้เร็วกว่า

(2) บรรจุภัณฑ์กึ่งแข็งตัว (Semi-Rigid Packaging)

บรรจุภัณฑ์ประเภทกึ่งแข็งตัว เช่น ขวดพลาสติกแบบขึ้นรูปด้วยการเป่า ถาดโฟม ถ้วยไอศกรีมขึ้นรูปด้วยความร้อนและสุญญากาศ บรรจุภัณฑ์ชนิดนี้มีข้อจำกัดการรับแรงอัดและแรงดันจึงบรรจุแบบสุญญากาศไม่ได้

(3) บรรจุภัณฑ์อ่อนนุ่ม (Flexible Packaging)

บรรจุภัณฑ์ประเภทอ่อนนุ่ม เช่น ซองและถุง ไม่สามารถรักษามิติและรูปทรงได้ จึงต้องมีอุปกรณ์ช่วยในระหว่างการบรรจุ และมักใช้ระบบการบรรจุแบบกระบอกสูบอัดใส่ในถุงบรรจุภัณฑ์

<<กลับสู่หน้าหลัก อ่านต่อ เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2>>



ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 1
การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหารมีมูลค่าแตกต่างกันมาก ตั้งแต่เนื้อวัวโคขุนชิ้นละเป็นร้อยเป็นพันบาท จนกระทั่งถึงลูกหยีเม็ดละไม่ถึงบาท การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เอื้ออำนวยระดับการป้องกันจึงแตกต่างกันในเรื่องของค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ ถึงแม้ว่าบรรจุภัณฑ์จะสามารถป้องกันอันตรายจากภายนอก เช่น แสงแดด ฝน หรือทนต่อการโยน การกระแทกกันระหว่างการขนส่งได้ แต่ถ้าบรรจุภัณฑ์ไม่สามารถรักษาคุณภาพของอาหารได้โดยปล่อยให้สินค้าที่อยู่ภายในเน่าเสีย บรรจุภัณฑ์นั้นย่อมใช้งานไม่ได้ ด้วยเหตุผลนี้จึงพอสรุปได้ว่า หัวใจสำคัญของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ คือ การป้องกันและรักษาคุณภาพอาหารด้วยต้นทุนที่เหมาะสม เมื่อบรรจุภัณฑ์สามารถทำหน้าที่เป็นพาหะนำส่งไปยังจุดขายด้วยโครงสร้างที่ออกแบบมาอย่างดี ณ สถานที่จัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ต้องแปลงกายทำอีกหน้าที่หนึ่ง คือ การช่วยส่งเสริมการขาย ณ จุดขาย ซึ่งอาจเป็นตลาดในหมู่บ้าน ในเมือง หรืออาจจะไปขายถึงซุปเปอร์มาร์เก็ต ความสามารถที่จะช่วยชักชวนเชื้อเชิญอย่างเงียบอย่างเงียบๆ ให้ผู้ซื้อตัดสินใจซื้อสินค้านี้เป็นบทบาทของการออกแบบกราฟฟิกของบรรจุภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ จึงแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. โครงสร้าง เป็นการออกแบบทางด้านเทคนิคและทางกายภาพของบรรจุภัณฑ์ โดยเน้นกระบวนการบรรจุใส่ การรักษาคุณภาพด้วยการประเมินอายุของอาหาร (Shelf Life) และการป้องกันที่เหมาะสมต่อการขนส่งและการกระจายสินค้า 2. กราฟฟิก เป็นการออกแบบรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างแรงจูงใจในการซื้อและสื่อความหมายให้แก่ผู้บริโภค พร้อมทั้งสามารถโน้มน้าวให้เกิดการสั่งซื้อ การออกแบบกราฟฟิกจะเน้นในเรื่องของการตกแต่งรูปลักษณ์ด้วยภาพพจน์ที่สร้างความประทับใจซึ่งจะกล่าวถึงในบทต่อไป 3.1 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เป็นงานที่ต้องทำอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากไม่มีบรรจุภัณฑ์ใดในโลกนี้จะสามารถใช้ได้ตลอดกาล สาเหตุเพราะการเปลี่ยนแปลงทางด้านการตลาด และเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยมของผู้บริโภค รวมทั้งระบบการจัดจำหน่ายที่พัฒนาขึ้นและเทคโนโลยีต่างๆ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องทางด้านบรรจุภัณฑ์ จำต้องตื่นตัวอยู่เสมอและพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับต้นทุน ตลาด ภาพพจน์ กราฟฟิก การใช้งานและความต้องการในการรักษาสิ่งแวดล้อม 3.1.1 มูลเหตุที่ต้องมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ มูลเหตุที่ต้องมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์มีหลายประการ มูลเหตุหลักเกิดจากมูลเหตุทางด้านการตลาดและการผลิต ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) ดังแสดงในรูปที่ 3.1 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นแนะนำผลิตภัณฑ์ (Introduction) 2) ขั้นตลาดเจริญเติบโต (growth) 3) ขั้นตลาดอิ่มตัว (maturity) 4) ขั้นตลาดตกต่ำ (decline) รูปที่ 3.1 ขั้นตอนวัฏจักรของผลิตภัณฑ์ http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Product_life_cycle.png สถานะของส่วนผสมทางการตลาดในแต่ละขั้นตอนของวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์สามารถสรุปอย่างสั้นๆ ได้ด้วยตารางที่ 3.1 ตารางที่ 3.1 สถานะของส่วนผสมทางการตลาดในแต่ละขั้นตอนของวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ส่วนผสมทางการตลาด ขั้นตอนวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ 1. แนะนำ 2. เติบโต 3. อิ่มตัว 4. ตกต่ำ ก.ผลิตภัณฑ์ ชนิดเดียว หลายชนิด แข่งขัน เหลือน้อยราย ข. การจัดส่ง เลือกระบบ ที่เหมาะสม หลายระบบ ระบบที่จำเป็น ค. การส่งเสริม แนะนำ เร่งเร้า ทุกรูปแบบ แยกประเภท ง. ราคา เจาะตลาด สูงสุด ตัดราคา ลดสุดๆ พิจารณามูลเหตุของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ อาจสืบเนื่องมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้ (1) มูลเหตุจากภายนอกองค์กร เริ่มจากผลิตภัณฑ์อันเป็นส่วนผสมการตลาดอันดับแรก มูลเหตุภายนอกองค์กรที่ทำให้ต้องมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์มักจะเกิดจากสภาวะคู่แข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการเติบโตหรือขั้นตอนการแข่งขันวัฏจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนที่จะถึงขั้นตกต่ำ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่มักจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อดึงหรือยืดขั้นอิ่มตัวให้ยาวออกไปอีกระยะหนึ่งแม้ว่ากำไรจะเลยสูงสุดไปแล้วก็ตาม การเปลี่ยนช่องทางการจัดจำหน่าย เช่น การเข้าสู่ระบบการขายจำพวกไฮเปอร์มาร์เก็ตย่อมมีความจำเป็นต้องพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสม เช่น การรวมกลุ่มสินค้าต่อหน่วยขนส่ง การเปลี่ยนระบบการจัดส่ง เช่น การขนไปยังศูนย์รวมการจัดส่งหรือที่เรียกว่า Distribution Center หรือ D.C. ของคู่ค้า บรรจุภัณฑ์ที่ใช้จำต้องได้รับการพัฒนาใหม่ให้เหมาะสมกับการทำงาน ณ D.C ของคู่ค้า มูลเหตุสำคัญภายนอกอีกประการหนึ่ง คือ กฎหมาย เมื่อไรก็ตามที่มีการออกกฎข้อบังคับใหม่เกี่ยวกับฉลากและบรรจุภัณฑ์ย่อมต้องมีการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการออกกฎให้แสดงคุณค่าทางโภชนาการ (nutrition label) บนบรรจุภัณฑ์อาหาร ย่อมต้องมีการออกแบบฉลากอาหารใหม่ เป็นต้น ตัวอย่างที่ยกมานี้มีเพียงบางตัวอย่างที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ปัจจัยที่นำไปสู่การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ยังมีอีกมากมายขึ้นอยู่กับผู้บริหารว่าจะนำเอาบรรจุภัณฑ์มาเป็นกลยุทธ์ทางด้านการตลาดมากน้อยแค่ไหน (2) มูลเหตุจากภายในองค์กร จากหลักการวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ สินค้าแต่ละอย่างมีโอกาสเข้าสู่ขั้นตอนการตกต่ำและหายไปจากตลาด ด้วยเหตุนี้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมอาหารจึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องสรรหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาด ดังนั้นปัจจัยภายในองค์กรอันดับแรกในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ คือ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าใหม่ ในการออกแบบควรคำนึงถึงแต่ละขั้นตอนของวัฏจักรชีวิตและควรจะมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์เตรียมเอาไว้ล่วงหน้า เมื่อส่วนผสมการตลาดมีการเปลี่ยนแปลง แนวทางการพัฒนามักจะเป็นการเสริมหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เช่น การปรับปรุงพัฒนาความสวยงาม การปรับปรุงเพื่อยกระดับการป้องกันสินค้า การปรับปรุงเพื่อเพิ่มสมรรถนะการใช้งานและเอื้ออำนวยความสะดวกของบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น (3) มูลเหตุจากด้านเทคโนโลยี กระแสโลกานุวัติของโลกธุรกิจ วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์มีเกิดขึ้นเสมอ ตัวอย่างเช่น การใช้สัญลักษณ์รหัสแท่ง (bar code) ที่จะนำไปสู่การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การใช้ระบบการพิมพ์แบบไร้สัมผัส (Non-Contact) การบรรจุภายใต้สภาวะปลอดเชื้อ (Aseptic packaging) เป็นต้น วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีเหล่านี้ล้วนมีบทบาทต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ควรจะพัฒนาให้เกิดผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว ผลกระทบในระยะสั้น คือ การส่งผลให้ยอดขายพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว แผลกระทบในระยะยาวเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าและเป็นสิ่งที่พิสูจน์อย่างแท้จริงว่าการพัฒนาบรรจุภัณฑ์นั้นสำเร็จหรือไม่ คือ ความสามารถในการดึงให้ผู้บริโภคและกลุ่มเป้าหมายมาซื้อซ้ำอยู่เรื่อยๆ 3.1.2 ปัจจัยที่ต้องพิจารณา ข้อมูลเบื้องต้นที่ต้องคำนึงในการออกแบบ คือ (1) สินค้านั้นคืออะไร การออกแบบต้องเริ่มต้นด้วยมีข้อมูลทางด้านสินค้าอย่างเพียงพอ ได้แก่ ประเภทของสินค้า คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี ขนาด รูปทรง ปริมาตร ส่วนประกอบหรือส่วนผสม คุณค่าทางโภชนาการ กระบวนการผลิตหรือกรรมวิธีการแปรรูปอาหาร การตรวจสอบคุณภาพ ข้อแนะนำในการบริโภค และสินค้าจะเสื่อมคุณภาพจากปฏิกิริยาอะไรเพื่อจะได้นำมาออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ให้ลวดลายสีสันอย่างเหมาะสม สร้างการยอมรับจากผู้ซื้อ และที่สำคัญที่สุด คือ การสร้างจุดขายของสินค้า (Unique Selling Point) ด้วยเหตุนี้ คุณสมบัติของสินค้าที่ต้องพิจารณาจึงมีดังต่อไปนี้ 1. คุณสมบัติทางกายภาพ ประกอบด้วยของแข็ง ของเหลว ผู้ออกแบบต้องทราบความเหนียวข้นในกรณีที่เป็นของเหลว และต้องรู้น้ำหนัก / ปริมาตรหรือความหนาแน่นสำหรับสินค้าที่เป็นของแห้ง 2. คุณสมบัติทางเคมี คือ สาเหตุที่ทำให้สินค้าอาหารเน่าเสีย (food spoilage) หรือเสื่อมคุณภาพจนไม่เป็นที่ยอมรับได้ และปฏิกิริยาอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น 3. คุณสมบัติพิเศษอื่น ๆ เช่น กลิ่น การแยกตัว เป็นต้น คุณสมบัติดังกล่าวทั้ง 3 ข้อเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของสินค้าที่จำเป็นต้องทราบเพื่อเริ่มต้นเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม (2) ประโยชน์และความต้องการของผู้บริโภค การกำหนดเป้าหมายของผู้บริโภคและการวิจัยตลาดย่อมสามารถประเมินว่าจุดขายของสินค้าสามารถสนองความต้องการของผู้บริโภค นอกจากนี้ยังต้องทราบถึงปริมาณการบริโภคแต่ละครั้ง การนำไปปรุงร่วมกับอาหารชนิดอื่น และโอกาสในการบริโภคหรือฤดูในการเลือกซื้อ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้สามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค เช่น การบรรจุรวมห่อ การออกแบบบรรจุภัณฑ์และลวดลายให้สอดคล้องกับเทศกาล การออกแบบให้เป็นของกำนัล เป็นต้น เพื่อเป็นการสนองความต้องการของผู้ซื้อ และทำให้สินค้าของเรามีความแตกต่างหรือสร้างคุณประโยชน์มากกว่าคู่แข่งขันไม่ว่าในแง่ของคุณค่าอาหารหรือความสะดวกในการบริโภค ปัจจัยในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวหากนำมาเปรียบกับเรื่องใกล้ตัว ก็คงคล้ายคลึงกับการจ้างช่างตัดเสื้อผ้าตัดเย็บเสื้อผ้าให้ การตัดเย็บเสื้อผ้าเริ่มจากการวัดตัวซึ่งก็คือการเก็บข้อมูลของสินค้าของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การที่คนบางคนแพ้ผ้าบางอย่างก็คงเหมือนกับการทดสอบความเข้ากันได้ (Compatibility) ของผลิตภัณฑ์อาหารกับวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่นักออกแบบหรือช่างตัดเสื้อจำต้องทราบ เมื่อผ่านขั้นตอนการวัดตัวแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือจะออกแบบเสื้อผ้าใส่ในงานอะไร เช่น ชุดกลางคืนสำหรับงานราตรีสโมสร ชุดกลางวันสำหรับทำงาน เป็นต้น ขั้นตอนนี้เหมือนกับการเก็บข้อมูลความต้องการของผู้บริโภคในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารขั้นตอนต่อไปจึงเป็นการออกแบบเสื้อผ้าหรือตัวบรรจุภัณฑ์ (3) บรรจุภัณฑ์ จากปัจจัยทั้ง 2 ดังกล่าวมาแล้ว ปัจจัยที่สาม คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ คุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องพิจารณามีดังนี้ 1. พิจารณาตามหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ การป้องกัน การรักษาคุณภาพ ความสะดวกในการใช้งาน ความประหยัดในการขนส่ง การออกแบบกราฟฟิกให้สอดคล้องกับความต้องการ การใช้ฉลากและส่วนประกอบของฉลาก โดยแบ่งเป็น - บรรจุภัณฑ์ชั้นใน (primary packaging) พิจารณาความเข้ากันได้ระหว่างสินค้าและบรรจุภัณฑ์ (Compatibilty) ความสามารถในการดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค - บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สอง (secondary packaging) ความจำเป็นในการรวมกลุ่มบรรจุภัณฑ์ชั้นในเข้าด้วยกัน ความจำเป็นในการนำบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองวางขาย ณ จุดขาย - บรรจุภัณฑ์ขนส่ง (distribution packaging) ความสามารถในการป้องกันสินค้า ข้อมูลที่พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ที่จะช่วยให้ถึงจุดมุ่งหมายปลายทางด้วยความลอดภัย 2. พิจารณาถึงคุณสมบัติทางกายภาพของบรรจุภัณฑ์ สามารถแบ่งบรรจุภัณฑ์ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ บรรจุภัณฑ์แข็งตัว (Rigid packaging) บรรจุภัณฑ์กึ่งแข็ง (Semi-rigid packaging) และบรรจุภัณฑ์อ่อนนุ่ม (Flexible packaging) ดังมีรายละเอียดดังนี้ - บรรจุภัณฑ์แข็งตัว (Rigid Packaging) เช่น แก้ว กระป๋องโลหะ (can) และขวด พลาสติก ส่วนมากเป็นพลาสติกฉีด บรรจุภัณฑ์ชนิดนี้มีความแข็งแรง คงรูปได้ดี ลำเลียงบนสายพาน (conveyor) ได้สะดวก จึงเหมาะสำหรับการใช้งานกับเครื่องบรรจุของเหลวด้วยระบบสุญญากาศ และระบบที่ใช้ความดันได้ - บรรจุภัณฑ์กึ่งแข็ง (Semi-Rigid Packaging) เช่น ขวดพลาสติกแบบขึ้นรูปด้วยการเป่า ถาดโฟม ถ้วยไอศกรีม ขึ้นรูปด้วยความร้อนและสุญญากาศ บรรจุภัณฑ์ชนิดนี้มีข้อจำกัดในการรับแรงอัดและแรงดันจึงบรรจุแบบกระบอกสูบอัดใส่ในถุงบรรจุภัณฑ์ - บรรจุภัณฑ์อ่อนนุ่ม (Flexible Packaging) เช่น ซองและถุง บรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ไม่สามารถรักษามิติหรือรูปทรงได้จึงต้องมีอุปกรณ์ช่วยในระหว่างทำการบรรจุของเหลว และมักใช้ระบบการบรรจุแบบกระบอกสูบอัดใส่ในถุงบรรจุภัณฑ์ นอกจากปัจจัยหลัก 3 ปัจจัยดังกล่าวมาแล้ว ปัจจัยอื่นๆ ที่พิจารณาประกอบได้แก่ (4) การตลาด การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สนองกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย จำต้องวิเคราะห์จุดยืนของสินค้าและบรรจุภัณฑ์เทียบกับคู่แข่งขันที่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน ฝ่ายการตลาดหน้าที่เป็นผู้หาข้อมูลดังกล่าวและป้อนให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลของปริมาณสินค้าที่จะบรรจุ ขนาด จำนวน บรรจุภัณฑ์ต่อหน่วยขนส่ง อาณาเขตของตลาด เป็นต้น (5) ระบบขนส่งสินค้าและคลังสินค้า ศึกษาวิธีและอุปกรณ์การขนย้ายและการเก็บคงคลัง เช่น การใช้กะบะเป็นพาหนะสำหรับใช้ในระบบการขนย้าย ความจำเป็นในการใช้สัญลักษณ์รหัสแท่งบนบรรจุภัณฑ์ขนส่ง เป็นต้น (6) กฎหมาย การออกแบบกราฟฟิกของผลิตภัณฑ์อาหารเป็นไปตามข้อบังคับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องสอดคล้องกับข้อบังคับของสำนักงานอาหารและยา (อย.) นอกจากนี้ยังต้องศึกษาการใช้สัญลักษณ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น (7) ปัจจัยอื่นๆ สภาวะคู่แข่งขันรวมกระทั่งถึงการเคลื่อนไหวของคู่แข่ง สถานะของผลิตภัณฑ์ตามวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ เป็นต้น 3.1.3 องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรทุกแห่งจะประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ ที่แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกัน ในองค์กรใหญ่อาจจะมีฝ่ายบริหารเป็นผู้รับผิดชอบ ในขณะที่องค์กรเล็กอาจจะเป็นหัวหน้าหรือเจ้าของกิจการทำหน้าที่ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ องค์กรและหน่วยงานต่างๆ มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ 1) ฝ่ายบริหาร ตัวประธานฝ่ายบริหารหรือเจ้าของกิจการย่อมมีส่วนในการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบไปขัดกับกฎหมายบ้านเมือง ตัวประธานฝ่ายบริหารอาจจะต้องรับผิดชอบ สาเหตุที่ฝ่ายบริหารต้องมาเกี่ยวข้องเพราะว่าบรรจุภัณฑ์เป็นตัวเชื่อมระหว่างองค์กรและลูกค้า ในบริษัทใหญ่ๆ ของไทยเริ่มมีบุคลากรเชี่ยวชาญเฉพาะมาดูแลรับผิดชอบทางด้านบรรจุภัณฑ์มากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงของฝ่ายบริหารและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เป็นกลยุทธ์ทางด้านการตลาด 2) ฝ่ายการตลาด บทบาทของการตลาดเป็นการสนองความต้องการของผู้บริโภคด้วยสินค้าที่จำหน่าย โดยมีบรรจุภัณฑ์เป็นอาวุธสำคัญในการโน้มน้าวให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบการตลาดสมัยใหม่ การส่งเสริมการจำหน่าย ณ จุดขายก็ต้องใช้บรรจุภัณฑ์เป็นหัวหอกสำคัญ ฝ่ายการตลาดจะพิจารณาบรรจุภัณฑ์เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะให้บรรลุถึงจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ 3) ฝ่ายผลิต สินค้าที่บรรจุเสร็จเรียบร้อยในบรรจุภัณฑ์จะมีต้นทุนต่ำหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของฝ่ายผลิต นอกจากนี้ยังเป็นหน่วยงานที่จะควบคุมคุณภาพให้คงที่สม่ำเสมอ ในการทำงานฝ่ายผลิตมักจะมีความเห็นขัดแย้งกับฝ่ายการตลาด ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่จะหาทางออกที่ดีที่สุดระหว่างขั้นตอนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ฝ่ายผลิตจะร่วมวิเคราะห์เรื่องความเข้ากันได้ระหว่างบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบกับเครื่องจักรที่จะใช้ในการบรรจุ เพื่อช่วยกำหนดคุณภาพและความเร็วของสินค้าที่จะผลิตได้ 4) ฝ่ายบัญชีและการเงิน ฝ่ายนี้ต้องคอยติดตามผลประกอบการขององค์กรพร้อมทั่งรักษาสถานะทางการเงินให้อยู่ในสภาวะที่มั่นคง หน้าที่ของฝ่ายบัญชีและการเงินจะพยายามลดต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งตรงข้ามกับฝ่ายการตลาดที่พยายามจะลงทุนบรรจุภัณฑ์เพื่อปกป้องให้สินค้าดีขึ้น และช่วยในการเพิ่มยอดขาย 5) ฝ่ายจัดซื้อและจัดส่ง หน้าที่หลักที่เกี่ยวกับฝ่ายจัดซื้อ คือ การจัดหาบรรจุภัณฑ์ให้ได้ตามคุณภาพ จำนวน เวลา และราคาที่กำหนดไว้ ในขณะที่ฝ่ายจัดส่งพยายามลำเลียงสินค้าที่ผลิตเสร็จไปสู่ผู้ขายด้วยจำนวนที่ถูกต้องภายในเวลาและสถานที่ที่กำหนด จะพบกิจกรรมทางด้านนี้เป็นตัวเชื่อมระหว่างฝ่ายผลิตและฝ่ายตลาดเข้าด้วยกัน และเริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้นเนื่องจากการแข่งขันเพื่อการลดต้นทุนพร้อมการบริการที่สะดวกมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น <<กลับสู่หน้าหลัก อ่านต่อ การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2>>
บรรจุภัณฑ์ผักและผลไม้สดเพื่อการส่งออก(ตอนที่ 1)
บรรจุภัณฑ์ผักและผลไม้สดเพื่อการส่งออก (ตอนที่ 1) 1. บทนำ พืชผักและผลไม้เป็นอาหารที่มีความสำคัญต่อการบริโภคของมนุษย์ เนื่องจากพืชผักและผลไม้มีคุณค่าด้านโภชนาการ นอกจากเป็นแหล่งของวิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ด้วยตัวเองแล้ว ผักและผลไม้ยังเป็นอาหารที่มีเยื่อ (Fiber) ช่วยในการขับถ่าย ปริมาณน้ำที่แฝงอยู่ภายในผักและผลไม้หลายชนิดทำให้ผู้บริโภครู้สึกสดชื่นจากความกรอบ หอม หวาน เมื่อรับประทานสด ในโลกนี้มีผักผลไม้หลากหลายประเภท โดยอาจแบ่งตามพฤกษศาสตร์ ตามปริมาณน้ำที่อยู่ในผักผลไม้ ตามองค์ประกอบ ตามแหล่งที่ปลูก ตามประโยชน์ ตามลักษณะที่นำมาประกอบอาหารหรือแปรรูป เป็นต้น ในแง่ของการศึกษาบรรจุภัณฑ์เพื่อปกป้องและรักษาคุณภาพของผักและผลไม้ จะแบ่งประเภทของผักผลไม้ตามอัตราการหายใจ (Respiration Intensity) เพื่อพยายามรักษาคุณภาพของผักและผลไม้เพื่อยืดอายุให้สดพอดี ในขณะที่นำมารับประทาน ในประเทศไทยมูลค่าโดยรวมของพืชผักผลไม้ที่ปลูกเมื่อเทียบกับผลผลิตทางการเกษตรโดยรวม (Agricultural Commodities) คิดเป็นเปอร์เซ็นประมาณ 20% จัดอยู่ในอันดับ 2 ของผลผลิตทางการเกษตร โดยเป็นรองเพียงแต่ข้าวที่มีสัดส่วนมูลค่าคิดได้ประมาณ 30% ของผลผลิตทางการเกษตรโดยรวม2 แต่ถ้ามองจากการส่งออกสินค้าจำนวนพวกผลไม้มีปริมาณการส่งออกสูงในช่วงปี พ.ศ. 2541 - 2543 มีอัตราเฉลี่ต่อปีเพิ่มสูงถึง 30% และประเมินว่าในปีนี้จะมีมูลค่าการส่งออกของผลไม้สูงถึง 9 พันล้านบาท สำหรับผักผลไม้สดยังมีการส่งออกน้อยกว่า แม้ว่าจะมีผลผลิตโดยรวมในปี พ.ศ.2538 - 2539 เกือบ 5 ล้านบาทต่อปี3 ในกรณีที่ต้องการส่งเสริมการส่งออกของผักสดจำต้องรณรงค์การปลูกผักที่ปลอดสารพิษ พร้อมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม รวมทั้งปรับปรุงระบบบรรจุภัณฑ์ให้ดีขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า 2. คำจำกัดความและคุณลักษณะ ผักผลไม้สดที่ค้าขายกันในเวทีการค้าระหว่างประเทศสามารถแบ่งทั้งผักและผลไม้ออกเป็น 2 ประเภทเหมือนกัน คือ 1) ผักสามารถแบ่งประเภทเป็น - ผักสดเมืองหนาว (Temperate) เช่น มะเขือเทศ และมันเทศ เป็นต้น - ผักเมืองร้อน (Tropical & Subtropical) เช่น มันสำปะหลัง และผักบุ้ง เป็นต้น 2) ผลไม้ แบ่งได้เป็น - ผลไม้เมืองหนาว (Temperate fruit) เช่น แอปเปิ้ล และองุ่น เป็นต้น - ผลไม้เมืองร้อน (Tropical fruit& Subtropical fruit) ได้แก่ กล้วย สับปะรด และมะม่วง เป็นต้น ผักและผลไม้ที่จำแนกเป็นประเภทเมืองร้องนี้ไม่สามารถปลูกในประเทศที่หนาวเย็นในแถบยุโรปและอเมริกาเหนือ จึงจำเป็นต้องนำเข้าจากประเทศที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร สืบเนื่องจากระยะทางที่เดินทางไกล ความสำเร็จในการส่งออกนอกเหนือจากการใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวแล้ว บรรจุภัณฑ์ยังมีบทบาทมากต่อการยืดความสดของผักผลไม้ด้วยการควบคุมบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์ให้ปริมาณของออกซิเจนต่ำ นอกจากนี้ความจำเป็นที่ต้องขนส่งภายใต้สภาวะการเก็บที่เย็นจะช่วยลดอัตราการหายใจของสินค้าสดเหล่านี้ ดังแสดงในตาราง 2.1 ตารางที่ 2.1 อัตราการหายใจของผักผลไม้บางประเภทภายใต้สภาวะบรรยากาศและภายใต้สภาวะออกซิเจน 3% ประเภทของผักและผลไม้ เปรียบเทียบอัตราการหายใจ ที่ 10 ̊C ในบรรยากาศ อัตราการหายใจในบรรยากาศ เกิด CO2 (ml/kg/hr) ในสภาวะ O2 3% 0 ̊C 10 ̊C 20 ̊C 0 ̊C 10 ̊C 20 ̊C หัวหอม (Onion) ต่ำ < 10 2 4 5 1 2 2 ผักกะหล่ำ (Cabbage) 2 4 11 1 3 6 หัวผักกาดหวาน (Beet) 2 6 11 3 4 6 ผักขึ้นฉ่ายฝรั่ง (Celery) 4 6 19 3 5 12 แตงกวา (Cucumber) 3 7 8 3 4 6 มะเขือเทศ (Tomato) 3 8 17 2 3 7 พริกตุ้ม / ยักษ์ (Pepper) ปานกลาง 10 - 20 4 11 20 5 7 9 หัวผักกาดแดง (Carrot) - 12 26 - - - มันฝรั่ง (Potato) - 14 33 - - - มะม่วง (Mango) - 15 61 - - - ผักกาดหอม (Lettuce) 8 17 42 8 13 25 ดอกกะหล่ำ (Cauliflower) สูง 40 -60 10 24 71 7 24 34 กะหล่ำปลีบรัสเซล (Brussel Sprouts) 9 27 51 7 19 40 สตรอเบอร์รี่ (Strawberry) 8 28 72 6 24 49 ผลเบอร์รี่ดำ (Blackberry) 11 33 88 8 27 71 หน่อไม้ฝรั่ง (Asparagus) 14 34 72 13 24 42 ผักขม (Spinach) สูงมาก 40 - 60 25 43 85 26 46 77 วอเตอร์เครส (Watercress) 9 43 117 5 38 95 ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) 16 48 119 14 32 68 ราสเบอร์รี่ (Raspberry) 12 49 113 11 30 73 เห็ด (Mushrooms) สูงพิเศษ > 60 - 67 191 - - - ถั่วในฝัก (Peas in Pod) 20 69 144 15 45 90 บรอคโคลี่ (Broccoli) 39 91 240 33 61 121 3. การขนส่งผักผลไม้สด เมื่อผู้บริโภคในโลกนี้มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นและพยายามแสวงหาอาหารใหม่ๆที่มีรสชาติและคุณประโยชน์มารับประทาน ตัวอย่างเช่น ผลไม้ที่ไม่เคยบริโภคในอดีตและเริ่มได้รับความนิยมในหมู่คนไทย เช่น แก้วมังกร ผลกีวี เป็นต้น ความต้องการของผักผลไม้สดเหล่านี้ส่งผลให้การขนส่งผักผลไม้สดไปยังประเทศที่ห่างไกลเพิ่มมากขึ้นเรื่อย และไม่แปลกเลยที่ค่าขนส่งมีมูลค่ามากกว่าตัวสินค้าผักผลไม้สด ด้วยเหตุนี้การกำหนดมาตรฐานต่างๆ (Standardization) มีความจำเป็นมากขึ้น เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายการขนส่งและลดโอกาสที่สินค้าจะเสียหายระหว่างการขนส่ง สำหรับผู้ส่งออกมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าใจถึงลักษณะและวิธีการขนส่ง รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ ขนาดบรรจุ รูปแบบบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ครอบคลุมไปถึงกฎข้อบังคับที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ขั้นตอนการเดินทางในการจัดส่งสินค้าผักผลไม้สดแบ่งเป็นขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1) จัดเตรียมสินค้าบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ ณ ประเทศกำเนิด (Country of Origin) 2) จัดส่งสินค้าไปยังสถานที่ที่ใช้ส่งออก ซึ่งอาจเป็นสถานบินหรือท่าเรือ 3) ทำการขนส่งไปยังประเทศจุดหมายปลายทาง 4) ดำเนินการพิธีทางศุลกากรและขนถ่ายสินค้าออกจากท่า 5) เคลื่อนย้ายสินค้าไปเก็บในคลังสินค้าพร้อมที่จะส่งต่อไปให้ผู้ค้าส่ง 6) จัดส่งสินค้าไปยังผู้ค้าปลีกในประเทศที่พัฒนาแล้ว สินค้าปลีกส่วนใหญ่ 60 - 90% จะเป็นร้านค้าแบบช่วยตัวเอง (Shelf - Service) กลับสู่เมนูหลัก
เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2
8.2.3 ระบบการบรรจุ - เติม (1) การบรรจุผลิตภัณฑ์เหลวโดยปริมาตรคงที่ - ระดับคงที่ การบรรจุของเหลวลงในบรรจุภัณฑ์สามารถบรรจุได้ 2 ประเภทดังรูปที่ 8.3 รูปที่ 8.3 การบรรจุของเหลวแบบระดับคงที่และแบบปริมาตรคงที่ 1. การบรรจุแบบระดับคงที่ จะใช้กับผลิตภัณฑ์ของเหลวที่มีราคาต่ำจนถึงราคาปานกลางตัวอย่างเช่น น้ำอัดลม เบียร์ และซอส ซึ่งปริมาตรที่ถูกต้องไม่มีสาระสำคัญนัก การบรรจุแบบระดับคงที่นี้สามารถสังเกตโดยใช้สายตาวัดระดับ ในขณะเดียวกัน ภาชนะบรรจุจะมีปริมาตรบรรจุไม่คงที่ เนื่องจากความหนาของผนังภาชนะบรรจุไม่สม่ำเสมอ ถ้าทำการบรรจุแบบปริมาตรคงที่ ก็จะทำให้ระดับความสูงในการบรรจุแตกต่างกันไป ในขณะที่ผู้บริโภคพอใจที่จะซื้อภาชนะที่บรรจุในระดับเดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงต้องเอาใจลูกค้าโดยการบรรจุให้ระดับคงที่ แม้ว่าการบรรจุแบบระดับคงที่จะไม่คำนึงถึงปริมาตรจริง การบรรจุแบบระดับคงที่จะใช้วิธีแรงโน้มถ่วง สุญญากาศ ความดัน หรือการใช้ทั้งความดันและสุญญากาศ ส่วนการควบคุมให้ระดับคงที่โดยการนำของเหลวส่วนเกินออก เมื่อถึงระดับที่ต้องการโดยการใช้อิเล็กทรอนิกส์ หรือการควบคุมแบบนิวเมติกวาล์วช่วยในการบรรจุดังแสดงในรูปบนหน้า 272 2. การบรรจุแบบปริมาตรคงที่ ปริมาตรที่ถูกต้องของอาหารจะถูกบรรจุในภาชนะบรรจุ โดยใช้กระบอกสูบหรือระบบการตวง ชั่ง อย่างอื่น ดังนั้นระบบการบรรจุแบบปริมาตรคงที่จะใช้กับ - ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูง - ผลิตภัณฑ์ที่ขายตามน้ำหนัก - ผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคขั้นสุดท้ายต้องการน้ำหนักหรือปริมาตรที่ถูกต้อง (ยกตัวอย่างเช่น แม่สีของสีกระป๋อง) - ผลิตภัณฑ์ทางยาหรือสารเคมีที่ต้องการปริมาณการบริโภคและการใช้ที่ถูกต้อง - ผลิตภัณฑ์ที่มีความเหนียวข้นและไม่สามารถไหลได้ด้วยตนเอง 2. วิธีการบรรจุเติม ถ้าพิจารณาจากการเคลื่อนตัวของภาชนะและท่อบรรจุ (Nozzle) สามารถแบ่งเป็น 2 วิธี คือ วิธีให้ภาชนะเคลื่อนที่ลง และวิธีให้ท่อเติมเคลื่อนที่ขึ้น ดังแสดงในรูปที่ 8.4 รูปที่ 8.4 วิธีการบรรจุของเหลวโดยพิจารณาจากการเคลื่อนที่ของภาชนะบรรจุและท่อบรรจุของเหลว 1. วิธีให้ภาชนะเคลื่อนที่ เริ่มจากการสอดท่อบรรจุของเหลวในคอของภาชนะบรรจุจนถึงระดับหนึ่ง แล้วจึงปล่อยผลิตภัณฑ์ของเหลวให้ไหลลงไปที่ก้นภาชนะ หรือให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลวนั้นกระจายไปทางด้านข้างของภาชนะบรรจุ เพื่อให้ของเหลวนั้นค่อยๆ ไหลลงตามผนังภาชนะ ซึ่งจะช่วยลดความแรงของการไหลของผลิตภัณฑ์และลดการรวมตัวกับอากาศจนเกิดเป็นฟองอากาศ 2. วิธีให้ท่อบรรจุเคลื่อนที่ ทำโดยการใส่ท่อหรือท่อบรรจุลงไปถึงก้นของภาชนะบรรจุ แล้วปล่อยผลิตภัณฑ์ของเหลวให้ไหลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ วิธีการนี้จะช่วยลดการเกิดฟองอากาศในผลิตภัณฑ์และหลีกเลี่ยงการระเหยกลายเป็นไอของผลิตภัณฑ์ การออกแบบท่องบรรจุของเครื่องบรรจุสามารถออกแบบทรงแข็งหรือแบบอ่อนนุ่ม ถ้าหัวเติมเป็นแบบทรงแข็ง เวลาที่ทำการบรรจุตัวบรรจุภัณฑ์จะถูกยกขึ้น แล้วเลื่อนต่ำลงในขณะที่ทำการบรรจุไปเรื่อยๆ ส่วนท่อบรรจุแบบอ่อนนุ่มจะทำงานแตกต่างกัน กล่าวคือ เมื่อสอดท่อบรรจุเข้าไปข้างในบรรจุภัณฑ์แล้ว ตัวท่อนั้นจะค่อยๆ เลื่อนสูงขึ้นในขณะบรรจุ (3) ระบบการบรรจุผลิตภัณฑ์ของเหลว การเติมของเหลวมีหลายระบบ ได้แก่ ระบบสุญญากาศ ระบบแรงโน้มถ่วง ระบบความดัน ระบบความดันผสมสุญญากาศและระบบกระบอกสูบ ซึ่งมีการทำงานของระบบต่างๆ พอสังเขป ดังต่อไปนี้ 1. การบรรจุระบบสุญญากาศ เมื่อใส่หัวเติมหรือปลายท่อบรรจุและท่อสุญญากาศเข้าแค่ระดับคอของบรรจุภัณฑ์แล้วผนึกให้สนิทด้วยวงแหวน แล้วทำการดูดอากาศออกจากบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นผลให้ความดันของอากาศในถังจ่ายผลิตภัณฑ์ของเหลวสูงกว่าความดันในบรรจุภัณฑ์ ของเหลวในถังจ่ายจะถูกดันด้วยแรงดันบรรยากาศเข้าสู่บรรจุภัณฑ์ เมื่อของเหลวเติมในบรรจุภัณฑ์ถึงระดับปลายท่อ หัวเติมจะดูดของเหลวที่อยู่เหนือระดับปลายท่อไหลออกไปยังถังน้ำล้น ทำให้ของเหลวไม่สูงขึ้นเกินระดับที่ต้องการบรรจุ ส่วนอากาศในบรรจุภัณฑ์ก็จะถูกดูดผ่านปั๊มสุญญากาศปล่อยทิ้งไป การบรรจุระบบสุญญากาศนี้ ใช้สำหรับการบรรจุผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลวที่สามารถไหลได้ด้วยตนเองลงในบรรจุภัณฑ์ประเภทแข็งตัว ซึ่งเป็นวิธีการที่รวดเร็ว ยืดหยุ่น และการลงทุนต่ำ อย่างไรก็ตามวิธีนี้จะจำกัดเฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่คงรูปแข็งตัว และต้องใช้วิธีการบรรจุแบบระดับคงที่เท่านั้น นอกจากนี้ สิ่งที่ควรระวัง คือ บริเวณปากบรรจุภัณฑ์จะต้องไม่บิ่นหรือแตก เนื่องจากจะทำให้การดึงสุญญากาศออกจากบรรจุภัณฑ์ไม่สัมฤทธิผล รูปที่ 8.5 การบรรจุระบบสุญญากาศ 2. การบรรจุระบบแรงโน้มถ่วง หัวบรรจุจะเป็นแบบที่มีสปริงกดและมีห่วงยางด้วย มีขนาดพอเหมาะที่สามารถกดลงบนปากขวดได้พอดี เมื่อทำการกดหัวยางลงปากท่อด้วยสปริงก็จะเป็นจังหวะที่ไปเปิดวาล์ว ของเหลวก็จะไหลจากถังจ่ายที่ตั้งอยู่ตอนบนลงในถังบรรจุภัณฑ์ ระดับที่เติมจะถูกกำหนดด้วยระดับของท่อน้ำล้น การบรรจุเติมของเหลวด้วยแรงโน้มถ่วงนี้ จะไม่เกิดปัญหาเรื่องการหยดก่อนและหลังบรรจุ แต่จะทำงานช้ากว่าระบบบรรจุแบบสุญญากาศ ด้วยเหตุนี้ ระบบนี้จึงไม่เหมาะกับผลิตภัณฑ์ประเภทของเหลวที่มีความหนืดสูงซึ่งจะไหลช้ามาก รูปที่ 8.6 การบรรจุระบบแรงโน้มถ่วง 3. การบรรจุระบบความดัน มีการทำงานคล้ายคลึงกับระบบบรรจุการบรรจุระบบแรงโน้มถ่วง โดยใช้ปั๊มเป็นตัวส่งแรงให้เคลื่อนผลิตภัณฑ์ วิธีการนี้ทำให้ไม่จำเป็นต้องยกถังเก็บขึ้นสูง และมีผลทำให้การไหลของผลิตภัณฑ์ไปได้เร็วขึ้น ระบบการบรรจุระบบใช้ความดันนี้เหมาะที่จะใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีความเหนียวข้น รูปที่ 8.7 การบรรจุระบบความดัน 4. การบรรจุระบบผสมความดันและสุญญากาศ ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นฟองและมีความเหนียวข้นและส่วนใหญ่ใช้บรรจุในภาชนะบรรจุพลาสติก ความดันจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ไหลไปได้เร็ว และสุญญากาศจะช่วยเร่งความเร็วในการบรรจุ ระบบนี้ยังช่วยป้องกันสภาวะการบรรจุเกินโดยการดูดกลับไปยังถังน้ำล้น ทุกระบบของการบรรจุที่กล่าวมาข้างต้น จำเป็นต้องมีห่วงยางบนปากขวดของภาชนะบรรจุและท่อดูดผลิตภัณฑ์ส่วนเกิน ท่อน้ำล้นนี้สามารถใช้ระบบนิวเมติกควบคุมระดับการเติมของเหลว ระบบนิวเมติกนี้จะทำให้อากาศที่มีความดันต่ำ ช่วยดันของเหลวไหลผ่านท่อภายในท่อบรรจุ เมื่อถึงระดับความสูงที่ต้องการของเหลวในภาชนะบรรจุจะก่อให้เกิดความดันย้อนกลับ และทำให้ระบบนิวเมติกหยุดระบบการเติมของเหลว รูปที่ 8.8 การบรรจุระบบผสมความดันและสุญญากาศ 5. การบรรจุระบบกระบอกลูกสูบ ระบบนี้ประกอบด้วยกระบอกลูกสูบพร้อมแกนลูกสูบและวาล์ว ผลิตภัณฑ์จะไหลจากถังเก็บเมื่อลูกสูบเลื่อนมาข้างหลังและถูกบังคับให้ไหลลงในบรรจุภัณฑ์เมื่อลูกสูบเลื่อนมาข้างหน้า การบรรจุระบบกระบอกสูบเป็นระบบที่มีวิธีการทำอย่างง่าย สะดวกต่อการบำรุงรักษา นับเป็นระบบบรรจุที่น่าสนใจสำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่บรรจุผลิตภัณฑ์ที่สามารถไหลได้ง่ายและสะดวกด้วย คุณลักษณะของตัวผลิตภัณฑ์เองดังแสดงในรูปบนสุดหน้า 271 6. การบรรจุระบบการตวง วัด โดยใช้ปั๊มวัด (Metering Pumps) ระบบการบรรจุแบบตวงวัดจะใช้ปั๊มชนิดเคลื่อนที่ได้ไปติดตั้งตรงบริเวณที่ต้องการปั๊มจะทำงานโดยการตั้งจำนวนรอบไว้ล่วงหน้า และหยุดการจ่ายเมื่อครบรอบที่ตั้งไว้แล้ว ระบบการบรรจุแบบปั๊มมักจะใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารเหลวซึ่งไม่มีของเหลวแขวนลอยหรือตกตะกอน เช่น น้ำดื่ม ซอส เป็นต้น (4) ระบบการบรรจุผลิตภัณฑ์ของแห้ง ระบบการบรรจุผลิตภัณฑ์ของแห้งโดยทั่วไปมี 4 วิธีหลักๆ คือ 1. การบรรจุโดยปริมาตรระบบถ้วยตวง รูปแบบที่ง่ายที่สุดของเครื่องจักรในการบรรจุแบบปริมาตรจะประกอบด้วยจานแผ่นเรียบที่มีถ้วยตวงวางตั้ง ซึ่งหมุนไปจนเมื่อบรรจุแต่ละถ้วยเสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อหมุนมาถึงอีกด้านหนึ่งจะปล่อยผลิตภัณฑ์ออกจากถ้วยตวง วิธีการนี้เป็นวิธีการลงทุนไม่สูงและมีค่าใช้จ่ายในการดูแลต่ำ 2. การบรรจุโดยปริมาตรระบบใช้เกลียว ระบบนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการบรรจุแบบปริมาตรซึ่งเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่ไหลได้ด้วยตนเองลำบาก ตัวอย่างเช่น น้ำตาลทรายแดง จึงจำเป็นต้องมีเกลียวในถังเก็บผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยในการจ่ายผลิตภัณฑ์ลงไปในบรรจุภัณฑ์ ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่จ่ายจะแปรตามความเร็วในการหมุนของเกลียว และช่องว่างระหว่างแต่ละเกลียวที่นำส่งผลิตภัณฑ์ รูปที่ 8.9 การบรรจุแบบใช้ถ้วยตวงวัด รูปที่ 8.10 การบรรจุแบบใช้เกลียว 3. การบรรจุระบบน้ำหนักสุทธิ ระบบนี้มีหน่วยชั่งน้ำหนักเพื่อชั่งน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ก่อนบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ โดยทั่วไปแต่ละสถานีของเครื่องบรรจุระบบชั่งน้ำหนักสุทธิจะมีความเร็วไม่เกิน 20 - 22 ครั้งต่อนาที 4. การบรรจุระบบนับจำนวน การบรรจุระบบนับจำนวนมีหลายวิธีการ เช่น - การนับแบบใช้ตาไฟฟ้าจะเหมาะกับผลิตภัณฑ์ประเภทขนมปัง ขนมขบเคี้ยว หรือสินค้าชิ้นใหญ่ - การนับโดยใช้แผ่นดิสก์ที่เจาะรู (Rotating Perforated Disc) เป็นวิธีการที่ง่ายและไม่แพง จึงเหมาะสมที่จะใช้กับการนับผลิตภัณฑ์จำพวกลูกกวาด - การนับโดยใช้ราง (Chute) และท่อ (Channel) ซึ่งเป็นวิธีการนับที่นิยมมากที่สุด สำหรับลูกอมแบบแข็งซึ่งมีขนาดคงที่ ผลิตภัณฑ์จะเดินทางผ่านช่องรางซึ่งมีการตวง วัด จำนวนที่ถูกต้องจากระยะทางที่ลูกอมเรียงกันตามช่องรางก่อนบรรจุในบรรจุภัณฑ์ การบรรจุทั้งระบบของเหลวและระบบแบบแห้งดังที่กล่าวมาแล้วนี้ สามารถนำมาใช้กับบรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ กันได้ เช่น กระป๋อง ขวดแก้ว ขวดพลาสติก และซอง เป็นต้น ความสลับซับซ้อนของเครื่องบรรจุแปรผันตามความเร็วที่ต้องการใช้ในการบรรจุและรูปทรงของภาชนะบรรจุ เช่น รูปทรงกลม ทรงเหลี่ยมหรือเป็นแบบซอง 8.3 เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ 8.3.1 เครื่องบรรจุเติม เครื่องบรรจุประเภทนี้แบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามแนวการเคลื่อนที่ของบรรจุภัณฑ์ คือ เครื่องบรรจุเส้นตรงและแบบโรตารี่ดังแสดงในรูปที่ 8.11 รูปที 8.11 เครื่องบรรจุแบบเส้นตรงและแบบโรตารี่ (1) เครื่องบรรจุแบบเส้นตรง ตัวบรรจุภัณฑ์จะเรียงเข้าสู่หัวบรรจุเป็นแนวเส้นตรง เครื่องบรรจุประเภทนี้สะดวกในการเปลี่ยนขนาดและเพิ่มหัวบรรจุเมื่อมีความต้องการเพิ่มความเร็วในการบรรจุ (2) เครื่องบรรจุแบบโรตารี่ เป็นเครื่องที่ใช้ในอุตสาหกรรมขนาดกลางและใหญ่ที่มีการบรรจุโดยใช้บรรจุภัณฑ์ขนาดเดียวกันตลอด โดยไม่ค่อยเปลี่ยนขนาดเนื่องจากต้องเสียเวลาในการเปลี่ยนจานป้อนเข้าและออกพร้อมทั้งเปลี่ยนหัวบรรจุ ในกรณีของเครื่องบรรจุซอง มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากบรรจุภัณฑ์อื่น เนื่องจากมีการออกแบบเครื่องจักรสำหรับซองโดยเฉพาะ ตัวเครื่องจะทำการขึ้นรูปซองเองจากฟิล์มเป็นม้วน แล้วบรรจุโดยใช้ระบบ การบรรจุตามที่กล่าวมาแล้วไม่ว่าจะเป็นแบบแห้งหรือแบบเหลว จากนั้นตัวเครื่องจะทำการปิดผนึกเสร็จในเครื่อง ด้วยเหตุนี้เครื่องประเภทนี้จึงมีชื่อย่อว่า FFS ซึ่งย่อมาจาก Form - Fill - Seal (ขึ้นรูปภาชนะบรรจุสินค้า - ปิดผนึก - ห่อ) รูปที่ 8.12 เครื่อง FFS บรรจุซองแบบแนวดิ่ง รูปที่ 8.13 เครื่อง FFS บรรจุซองแบบแนวราบ เครื่องจักร FFS แบ่งตามทิศทางการเคลื่อนที่ของซอง โดยแบ่งเป็นแบบแนวดิ่งและแนวราบ ดังแสดงในรูปที่ 8.12, รูปที่ 8.13 และรูปล่างในหน้า 271 เครื่องจักรในแนวดิ่งจะดิ่งมีความสลับซับซ้อนน้อยกว่า เครื่องจักร FFS ดังกล่าวทั้ง 2 ประเภทโดยทั่วไปจะมีความเร็วไม่เกิน 200 ซองต่อนาที ต่อหัวบรรจุ 1 หัว นอกจากในกรณีที่ต้องการความเร็วสูงๆ ต้องใช้ระบบโรตารี่เข้าช่วย ซึ่งอาจมีความเร็วสูงถึง 1,000 ซองต่อนาที โดยแยกส่วนขึ้นรูปซองออกจากส่วนบรรจุ 8.3.2 เครื่องบรรจุสุญญากาศ (Vacuum Packing Machine) ตามที่อธิบายในหัวข้อของการถนอมอาหารว่าปริมาณออกซิเจนที่มีอยู่ในบรรจุภัณฑ์เป็นสาเหตุที่ทำให้อาหารเน่าเสียได้ง่าย ดังนั้นจึงมีการปรับสภาวะภายในภาชนะบรรจุอาหารโดยการดูดเอาอากาศออก เพื่อลดปริมาณออกซิเจนในภาชนะบรรจุ เป็นการยืดอายุของผลิตภัณฑ์อาหาร จากการดูดเอาอากาศออกย่อมส่งผลให้ตัวบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะแบบซองหดตัวไปตามรูปแบบอาหาร ทำให้มีภาพลักษณ์ที่ไม่ชวนมอง ดังนั้น จึงมีการฉีดก๊าซเฉื่อยเข้าไปแทนที่กลายเป็นบรรจุภัณฑ์ปรับสภาวะบรรยากาศ (Modified Atmosphere Packaging หรือ MAP) เครื่องจักรที่ใช้ในระบบนี้แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบกึ่งอัตโนมัติและแบบอัตโนมัติ (1) เครื่องสุญญากาศแบบกึ่งอัตโนมัติ ส่วนใหญ่มักใช้ถุงหรือถาดที่ทำมาสำเร็จรูปแล้ว โดยการบรรจุสินค้าลงไปก่อนนำเข้าสู่เครื่อง แล้วนำซองหรือถาดวางในตัวเครื่องโดยมีบริเวณส่วนเปิดของบรรจุภัณฑ์วางอยู่ในรอยแนวปิดผนึกของเครื่องตามรูป (ก) ของรูปที่ 8.14 ส่วนตัวเครื่องมีลักษณะคล้ายกระเป๋าเอกสารมีฝาเปิดปิดในแนวดิ่ง เมื่อจัดเรียงวางบรรจุภัณฑ์ภายในเครื่องเสร็จแล้วปิดฝา ตัวเครื่องจะทำงานอย่างอัตโนมัติ โดยการดูดเอาสุญญากาศภายในตัวเครื่องรูป (ข) เมื่อเครื่องดูดสุญญากาศได้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้เครื่องจะปิดผนึกในรูป (ง) แล้วปล่อยอากาศเข้าไปในเครื่องพร้อมกับเปิดฝาออกในรูป (จ) ถ้าต้องการทำเป็นระบบบรรจุภัณฑ์ปรับสภาวะ หลังจากการดูดสุญญากาศออกแล้ว ตัวเครื่องจะทำงานต่ออีกขั้นหนึ่ง คือ การฉีดก๊าซในอัตราส่วนที่ต้องการเข้าไปในเครื่องหรือเข้าไปในบรรจุภัณฑ์แล้วแต่การออกแบบของเครื่องเมื่อฉีดได้ตามปริมาณที่ต้องการแล้ว ค่อยปิดผนึกและหยุดการทำงานของเครื่องจักร ขั้นตอนการทำงานของการฉีดก๊าซดังแสดงในรูปที่ 8.14 รูป (ค) รูปที่ 8.14 ขั้นตอนการทำงานของเครื่องบรรจุสุญญากาศ ปัจจัยสำคัญพึงสังเกตของเครื่องสุญญากาศแบบกึ่งอัตโนมัตินี้คือ มิติของความยาว ความกว้างและความสูงของเครื่อง ความยาวของรอยปิดผนึก ความสามารถของปั๊มในการดูดสุญญากาศระบบการควบคุมและระบบการผสมก๊าซที่ต้องการ (2) เครื่องสุญญากาศแบบอัตโนมัติ เครื่องจักรแบบอัตโนมัตินี้มักป้อนฟิล์มพลาสติกในลักษณะเป็นม้วน จึงมีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า Rollstock Machine .ในกรณีที่ต้องการทำเป็นถุงจะประกอบด้วยฟิล์ม 2 ม้วน ม้วนหนึ่งอยู่ด้านล่างและม้วนหนึ่งอยู่ด้านบน ม้วนล่างจะรองรับสินค้าที่จะบรรจุ ในกรณีที่ต้องการทำเป็นถาด ม้วนล่างจะเป็นม้วนที่ถูกความร้อนทำให้นิ่มและขึ้นเป็นรูปถาด เมื่อบรรจุสินค้าเรียบร้อยแล้ว ทั้งฟิล์มม้วนล่างและม้วนบนจะเคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณสถานีที่ทำการดูดสุญญากาศและฉีดก๊าซพร้อมทั้งปิดผนึก แล้วจึงทำการตัดออกมาเป็นถาดหรือซองตามต้องการ ตัวเครื่องแสดงในรูปกลางหน้า 271 ปัจจัยในการพิจารณาเลือกใช้เครื่องจักร คือความกว้างของเครื่องที่สามารถผลิตบรรจุภัณฑ์ได้ตามที่ต้องการ วิธีการขึ้นรูปเป็นถาดและถุง ระบบการควบคุมการดึงสุญญากาศและการผสมก๊าซที่จะฉีด จังหวะการเคลื่อนบนสายพานเพื่อนำส่งซองหรือถาด ปริมาณการสูญเสียจากการตัดขอบทั้ง 2 ข้าง หัวใจสำคัญของเครื่องแบบอัตโนมัติ คือ ตัวโมลด์ที่ใช้ขึ้นรูปถาด นอกจากจะขึ้นรูปได้ตามความสูงที่ต้องการแล้ว ความหนาบางของบริเวณมุมถาดเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้บรรจุภัณฑ์ถาดคงรูปภายใต้สภาวะความเป็นสุญญากาศหรือการปรับสภาวะเนื่องจากความดันอากาศภายในถาดต่ำ 8.3.3 เครื่องห่อ (Wrapping Machine) (1) การห่อแบบบิด (Twist Wrap) เมื่อต้องการห่อผลิตภัณฑ์จำนวนมากอย่างต่อเนื่อง เช่น ลูกอม ย่อมมีความจำเป็นต้องพิจารณาใช้เครื่องห่ออัตโนมัติเข้ามาแทนที่คน ส่งผลให้ความเร็วในการห่อเพิ่มมากขึ้น และห่อของเล็กๆได้อย่างง่ายดาย เมื่อนำแผ่นวัสดุที่ตัดเป็นแผ่นมาพันรอบผลิตภัณฑ์ที่ต้องการห่อ แล้วบิดปลายทั้งสองข้างเป็นเกลียวที่เรียกว่า Twist Wrap ดังแสดงในรูปที่ 8.15 ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับการห่อลูกกวาดนั้น สามารถห่อได้เร็วถึง 600 ชิ้นต่อนาที (2) การห่อของที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า การห่อของที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าใช้วิธีการห่อของแบบปกติด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์แบบต่างๆ ที่สามารถเลือกใช้ตามขนาดและจัดให้เหมาะกับรูปร่างของสิ่งของที่ต้องการห่อตามวิธีการดังนี้ ตัดวัสดุที่จะห่อให้เป็นแผ่นยาวที่ต้องการ วางของที่ต้องการลงบนห่อนั้น พับตามรอยของที่ต้องการจนปลายมาทับซ้อนกันประมาณ ¼ นิ้วหรือ 1 นิ้ว แบบปลายเปิดทั้งสองข้าง จากนั้นพับบิดปลายทั้งสองข้างให้เข้าที่ การห่อของที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าอย่างชัดเจน เช่น ซองบุหรี่ แสดงดังรูปที่ 8.16 มีขั้นตอนการห่อดังนี้ เริ่มด้วยการพับขอบปลายข้างหนึ่งก่อน (หมายเลข 1) เหลือปลายอีกข้างวิ่งผ่านไปตามรางจะถูกพับปิด (หมายเลข 2) ปลายที่เหลืออีกสองข้าง (หมายเลข 3) จะถูกพับด้านล่างและด้านบนต่อไป (หมายเลข 3 และ 4) รูปที่ 8.16 การห่อของที่มีลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า (3) การห่อของที่มีขนาดไม่คงที่ - ลักษณะนุ่ม ถ้าต้องการห่อของที่มีขนาดไม่คงที่หรือมีลักษณะนุ่ม การยึดติดปลายทั้งสองข้างจะต้องมีความแน่นอนแม่นยำมากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถพับเรียงไปตามลำดับได้ เช่น การห่อก้อนขนมปังปอนด์ การห่อของดังที่กล่าวมาโดยใช้เครื่องจักรช่วยห่อ จำเป็นจะต้องดึงวัสดุห่อออกจากม้วน แล้วตัดเพื่อนำมาห่อของอีกครั้ง ถ้าวัสดุห่อนั้นบางมากและไม่คงตัวก็จะยุ่งยากในการทำงาน มีดที่จะใช้ตัดก็ต้องตัดปรับให้เหมาะสม การใช้ตัวจับดึงวัสดุออกมาจึงเหมาะสมกว่าดันสินค้าผ่านวัสดุที่ออกจากม้วน จากนั้นผนึกปลายด้วยฉลาก กาว หรือปิดผนึกด้วยความร้อน การติดฉลากด้วยกาวทีละชิ้นนั้นไม่เหมาะกับความเร็วสูง โดยปกติมักใช้ฉลากที่ต้องป้อนมาเป็นม้วน โดยมีข้างหนึ่งเคลือบด้วยกาวแบบเดียวกับสติกเกอร์แล้วแตะสัมผัสสินค้า ฉลากสติกเกอร์นั้นก็จะถูกส่งผ่านจากม้วนลงไปติดตำแหน่งที่ต้องการ รูปที่ 8.17 การห่อสินค้าที่นุ่ม เช่น ขนมปังปอนด์ <<ย้อนกลับ เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 1 อ่านต่อ เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 3 >> <<กลับสู่หน้าหลัก
พัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2
1.3 หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์อาหารแปรรูปมีความสอดคล้องกับวิทยาการ 2 ด้าน คือ ด้านเทคนิคและด้านการตลาด จำแนกได้ดังนี้ ด้านเทคนิค ด้านการตลาด การบรรจุใส่ การส่งเสริมการขาย การปกป้องคุ้มครอง การแสดงข้อมูลอาหาร การรักษาคุณภาพอาหาร การตั้งราคาขายได้สูงขึ้น การขนส่ง การเพิ่มปริมาณขาย การวางจำหน่าย ให้ความถูกต้องรวดเร็ว การรักษาสิ่งแวดล้อม การรณรงค์ หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์สามารถให้คำอธิบายเพิ่มเติมได้ดังนี้ - การทำหน้าที่บรรจุใส่ ได้แก่ ใส่-ห่อสินค้า ด้วยการชั่ง ตวง วัด นับ - การทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครอง ได้แก่ ป้องกันไม่ให้สินค้าเสียรูป แตกหัก ไหลซึม - การทำหน้าที่รักษาคุณภาพอาหาร ได้แก่ การใช้วัสดุที่ป้องกันอากาศซึมผ่าน ป้องกันแสง ป้องกันก๊าซเฉื่อยที่ฉีดเข้าไปชะลอปฏิกิริยาชีวภาพ ป้องกันความชื้นจากภายนอก - การทำหน้าที่ขนส่ง ได้แก่ กล่องลูกฟูก ลังพลาสติก ซึ่งบรรจุสินค้าหลายห่อหรือหน่วย เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและขนส่งสินค้าไปยังแหล่งผลิตหรือแหล่งขาย - การวางจำหน่าย คือ การนำบรรจุภัณฑ์ที่มีสินค้าอาหารแปรรูปอยู่ภายในวางจำหน่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องเห็นสินค้าเลย สามารถวางนอนหรือวางตั้งได้โดยสินค้าไม่ได้รับความเสียหาย ซึ่งควรคำนึงถึงขนาดที่เหมาะสมกับชั้นวางสินค้าด้วย - การรักษาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1. ใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ให้ปริมาณขยะน้อย เป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่าย ในกระบวนการผลิตจะไม่ใช้สารที่ทำลายชั้นบรรยากาศ เป็นต้น 2. นำบรรจุภัณฑ์เวียนใช้ใหม่หรือใช้ประโยชน์อื่นได้ เช่น ขวดเหล้า แก้วใส่แยม เป็นต้น 3. หมุนเวียนนำกลับมาผลิตใหม่ คือ นำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วไปหลอมหรือย่อยสลายเป็นวัตถุดิบสำหรับใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์หรือสินค้าอื่นได้ - ทำหน้าที่ส่งเสริมการขายเพราะบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบสวยงามสามารถใช้เป็นสื่อโฆษณาได้ด้วยตัวเอง รวมถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อใช้เฉพาะกาล เช่น มีการแนบของแถมไปกับบรรจุภัณฑ์ การนำรูปภาพดารา เครื่องหมายกีฬาที่ได้รับความนิยมมาพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ จะเป็นแนวทางหนึ่งในการเรียกความนิยมของสินค้า - ทำหน้าที่เป็นฉลากแสดงข้อมูลของอาหารแปรรูป ได้แก่ ข้อมูลทางด้านโภชนาการ ส่วนประกอบของอาหาร วันที่ผลิต วันที่หมดอายุ คำแนะนำ และเครื่องหมายเลขทะเบียนหรือเลขอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) - ทำให้ตั้งราคาขายได้สูงขึ้นเนื่องจากบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า สร้างความนิยมในสินค้า จากตราและเครื่องหมายการค้าทำให้เกิดความภักดี (Loyalty) ในตัวสินค้าส่งผลให้ขายราคาที่สูงขึ้นได้ หรือ ที่เรียกว่าสินค้าแบรนด์เนม (Brandname) - การเพิ่มปริมาณขาย ด้วยการรวมหน่วยขายปลีกในบรรจุภัณฑ์อีกชั้นหนึ่ง เช่น นมกล่อง 1 โหลในกล่องกระดาษลูกฟูกที่มีหูหิ้ว หรือการขายขวดน้ำยาทำความสะอาดพร้อมกับซองน้ำยาทำความสะอาดเพื่อใช้เติมใส่ในขวดเมื่อใช้น้ำยาในขวดหมดแล้ว เป็นต้น - ให้ความถูกต้องรวดเร็วในการขาย โดยการพิมพ์บาร์โค้ดบนบรรจุภัณฑ์ทำให้คนคิดเงินไม่จำเป็นต้องอ่านป้ายราคาบนบรรจุภัณฑ์แล้วกดเงินที่ต้องจ่าย แต่ให้เครื่องอ่านบาร์โค้ดทำหน้าที่แทน ทำให้รวดเร็วขึ้นและถูกต้อง - ร่วมมีบทบาทในการรณรงค์เรื่องต่างๆ เช่น สัญลักษณ์รีไซเคิล ฉลากเขียว กีฬา ท่องเที่ยว กินของไทยใช้ของไทย เป็นต้น 1.4 ประเภทของบรรจุภัณฑ์ ตามนิยามที่กล่าวมาแล้ว บรรจุภัณฑ์ทำหน้าที่เป็นพาหะนำผลผลิตจากกระบวนการผลิตผ่านการขนย้าย เก็บในคลังสินค้า ระบบการขนส่ง ระบบการจัดจำหน่าย เปิดโอกาสให้เลือกซื้อ เอื้ออำนวยความสะดวกในการบริโภคพร้อมทั้งกำจัดซากบรรจุภัณฑ์ได้ง่าย จากขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ การแยกประเภทของบรรจุภัณฑ์อาจแยกได้หลายลักษณะแล้วแต่จุดมุ่งหมายการแยกประเภท ดังแสดงในตารางที่ 1.2 ตารางที่ 1.2 : การแยกประเภทของบรรจุภัณฑ์ วิธีการ จุดมุ่งหมาย ประเภทของบรรจุภัณฑ์ 1 การออกแบบ 1.1 บรรจุภัณฑ์ชั้นในหรือปฐมภูมิ (Primary Packaging) 1.2 บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองหรือทุติยภูมิ (Secondary Packaging) 1.3 บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สามหรือตติยภูมิ (Tertiary Packaging) 2 วัสดุที่ใช้ผลิต 2.1 เยื่อและกระดาษ 2.2 พลาสติก 2.3 แก้ว 2.4 โลหะ 1.4.1 บรรจุภัณฑ์แบ่งตามการออกแบบ ด้วยหลักการในการออกแบบ สามารถจำแนกประเภทของบรรจุภัณฑ์ได้ 3 จำพวก คือ (1) บรรจุภัณฑ์ชั้นในหรือปฐมภูมิ (Primary Packaging) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ผู้ซื้อจะได้สัมผัสเวลาที่จะบริโภค บรรจุภัณฑ์นี้จะได้รับการโยนทิ้งเมื่อมีการเปิดและบริโภคสินค้าภายในจนหมด เช่น ซองบรรจุน้ำตาล เป็นต้น บรรจุภัณฑ์นี้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ชั้นในสุดติดกับตัวสินค้า ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นในมีปัจจัยที่ต้องพิจารณา 2 ประการคือ อันดับแรกจะต้องมีการทดสอบจนมั่นใจว่าอาหารที่ผลิตและบรรจุภัณฑ์ที่เลือกใช้จำต้องเข้ากันได้ (Compatibility) หมายความว่าตัวอาหารจะไม่ทำปฏิกิริยาต่อผลิตภัณฑ์ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนี้อาจจะเกิดจากการแยกตัวของเนื้อวัสดุบรรจุภัณฑ์เข้าสู่อาหาร (Migration) หรือการทำให้บรรจุภัณฑ์เปลี่ยนแปลงรูปทรงไปเช่นในกรณีการบรรจุอาหารใส่เข้าไปในบรรจุภัณฑ์ขณะที่อาหารยังร้อนอยู่ (Hot Filling) เมื่อเย็นตัวลงในสภาวะบรรยากาศห้อง จะทำให้รูปทรงของบรรจุภัณฑ์บูดเบี้ยวได้ เหตุการณ์นี้จะพบบ่อยมากในขวดพลาสติกทรงกระบอก ซึ่งแก้ไขได้โดยการเพิ่มร่องบนผิวทรงกระบอกหรือเปลี่ยนรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมมุมมน CPET บรรจุภัณฑ์ชั้นในสำหรับ บรรจุอาหารแช่เยือกแข็ง (freezing) และเข้าไมโครเวฟได้ นอกเหนือจากความเข้ากันได้ของอาหารและบรรจุภัณฑ์แล้ว ปัจจัยอันดับต่อมาที่ต้องพิจารณา คือ บรรจุภัณฑ์ชั้นในจะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่วางขายบนหิ้งหรือไม่ ในกรณีที่บรรจุภัณฑ์ชั้นในจำต้องวางขายแสดงตัวบนหิ้ง การออกแบบความสวยงาม การสื่อความหมายและภาพพจน์จะเริ่มเข้ามามีบทบาทในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ชั้นในที่ทำหน้าที่วางขายบนหิ้ง (2) บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองหรือทุติยภูมิ (Secondary Packaging) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่รวบรวมบรรจุภัณฑ์ชั้นแรกเข้าด้วยกัน เพื่อเหตุผลในการป้องกันหรือจัดจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น หรือด้วยเหตุผลในการขนส่ง บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองที่เห็นได้ทั่วไป เช่น กล่องกระดาษแข็งของหลอดยาสีฟัน ถุงพลาสติกใส่ซองน้ำตาล 50 ซอง เป็นต้น ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองนี้มักจะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ต้องวางแสดงบนหิ้ง ณ จุดขาย ดังนั้น การเน้นความสวยงามและภาพพจน์ของบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่น กล่องยาสีฟัน การออกแบบของหลอดยาสีฟันที่อยู่ภายในก็ไม่จำเป็นต้องออกแบบให้สอดสีหลายสี ในทางกลับกันถ้าบรรจุภัณฑ์ชั้นในได้รับการออกแบบอย่างสวยงาม ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองนี้อาจจะทำการเปิดเป็นหน้าต่างเพื่อให้เห็นถึงความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ชั้นในที่ออกแบบมาอย่างดีแล้ว ในกรณีของตัวอย่างถุงพลาสติกใส่ซองน้ำตาล 50 ซองนั้น ถุงพลาสติกที่เลือกใช้ไม่จำเป็นต้องช่วยรักษาคุณภาพของน้ำตาลมากเท่าซองชั้นใน เนื่องจากทำหน้าที่รวมซองน้ำตาล 50 ซองเข้าด้วยกันเพื่อการจัดจำหน่ายแต่ตัวถุงเองต้องพิมพ์สอดสีอย่างสวยงามเพราะเป็นถุงที่วางขายบนหิ้ง ณ จุดขาย บรรจุภัณฑ์ชั้นในหรือปฐมภูมิ (Primary Packaging) และบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองหรือทุติยภูมิ (Secondary Packaging) มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บรรจุภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายปลีก (Commercial Packaging) (3) บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สามหรือตติยภูมิ (Tertiary Packaging) หน้าที่หลักของบรรจุภัณฑ์นี้คือการป้องกันระหว่างการขนส่ง บรรจุภัณฑ์ขนส่งนี้ อาจแบ่งย่อยเป็น 3 ประเภท คือ - บรรจุภัณฑ์ที่ใช้จากแหล่งผลิตถึงแหล่งขายปลีกเมื่อสินค้าได้รับการจัดเรียงวางบนหิ้งหรือคลังสินค้าของแหล่งขายปลีกแล้ว บรรจุภัณฑ์ขนส่งก็หมดหน้าที่การใช้งาน บรรจุภัณฑ์เหล่านี้เช่น แคร่และกะบะ (Pallet) เป็นต้น - บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ระหว่างโรงงาน เป็นบรรจุภัณฑ์ที่จัดส่งสินค้าระหว่างโรงงาน ตัวอย่างเช่น ลังใส่ซองพริกป่น ถุงน้ำจิ้ม เป็นผลผลิตจากโรงงานหนึ่งส่งไปยังโรงงานอาหารสำเร็จรูปเพื่อทำการบรรจุไปพร้อมกับอาหารหลัก เป็นต้น - บรรจุภัณฑ์ที่ใช้จากแหล่งขายปลีกไปยังมือผู้อุปโภคบริโภค เช่น ถุงต่างๆ ที่ร้านค้าใส่สินค้าให้ผู้ซื้อ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สามนี้ จึงต้องคำนึงถึงความสามารถในการป้องกันสินค้าระหว่างการขนส่ง ส่วนข้อมูลรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ขนส่งจะช่วยในการจัดส่งเป็นไปอย่างสะดวกและถูกต้อง บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สามนี้จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Distribution Packaging) <<ย้อนกลับ พัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ ตอนที่1อ่านต่อ พัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ ตอนที่3 >> <<กลับสู่หน้าหลัก
สมัครสมาชิก

สนับสนุนโดย / Supported By

  • บริษ้ท มาเรล ฟู้ดส์ ซิสเท็ม จำกัด จัดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์การแปรรูปอาหาร เช่น ระบบการชั่งน้ำหนัก, การคัดขนาด, การแบ่ง, การตรวจสอบกระดูก และการประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พร้อมกับบริการ ออกแบบ ติดตั้ง กรรมวิธีการแปรรูปทั้งกระบวนการ สำหรับ ผลิตภัณฑ์ ปลา เนื้อ และ สัตว์ปีก โดยมีวิศวกรบริการและ สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเทพ มาเรล เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกของอุปกรณ์การแปรรูปอาหารที่ทันสมัย​​ครบวงจรทั้งระบบ สำหรับอุตสาหกรรม ปลา กุ้ง เนื้อ และสัตว์ปีก ต่างๆ เครื่องแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก Stork และ Townsend จาก Marel อยู่ในกลุ่มเครื่องที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดในอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ สามารถบริการครบวงจรตั้งแต่ต้นสายการผลิตจนเสร็จเป็นสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกความต้องการของลูกค้า ด้วยสำนักงานและบริษัทสาขามากกว่า 30 ประเทศ และ 100 เครือข่ายตัวแทนและผู้จัดจำหน่ายทั่วโลก ที่พร้อมทำงานเคียงข้างลูกค้าเพื่อขยายขอบเขตผลการแปรรูปอาหาร Marel Food Systems Limited. We are supply weighing, grading, portioning, bone detection and software applications as well as complete turn-key processing solutions for fish, meat and poultry. We have service engineer and office in Bangkok. Marel is the leading global provider of advanced food processing equipment, systems and services to the fish, meat, and poultry industries. Our brands - Marel, Stork Poultry Processing and Townsend Further Processing - are among the most respected in the industry. Together, we offer the convenience of a single source to meet our customers' every need. With offices and subsidiaries in over 30 countries and a global network of 100 agents and distributors, we work side-by-side with our customers to extend the boundaries of food processing performance.
  • We are well known for reliable, easy-to-use coding and marking solutions which have a low total cost of ownership, as well as for our strong customer service ethos. Developing new products and a continuous programme of improving existing coding and marking solutions also remain central to Linx's strategy. Coding and marking machines from Linx Printing Technologies Ltd provide a comprehensive solution for date and batch coding of products and packaging across manufacturing industries via a global network of distributors. In the industrial inkjet printer arena, our reputation is second to none. Our continuous ink jet printers, laser coders, outer case coders and thermal transfer overprinters are used on production lines in many manufacturing sectors, including the food, beverage, pharmaceutical, cosmetics, automotive and electronic industries, where product identification codes, batch numbers, use by dates and barcodes are needed. PTasia, THAILAND With more than 3,700 coding, marking, barcode, label applicator, filling, packing and sealing systems installed in THAILAND market. Our range is includes systems across a wide range of technologies. To select the most appropriate technology to suit our customers. An excellent customer service reputation, together with a reputation for reliability that sets standards in the industry, rounds off the PTAsia offering and provides customers with efficient and economical solutions of the high quality. Satisfyingcustomers inTHAILAND for 10 years Our 1,313 customers benefit from our many years of experience in the field, with our successful business model of continuous improvement. Our technical and service associates specialise in providing individual advice and finding the most efficient and practical solution to every requirment. PTAsia extends its expertise to customers in the food, beverage, chemical, personal care, pharmaceutical, medical device, electronics, aerospace, military, automotive, and other industrial markets.
  • วิสัยทัศน์ของบริษัท คือ การอยู่ในระดับแนวหน้า "ฟอร์ฟร้อนท์" ของเทคโนโลยีประเภทต่างๆ และนำเทคโนโลยีนั้นๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิตในประเทศไทย เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า บริษัท ฟอร์ฟร้อนท์ ฟู้ดเทค จำกัด เชื่อมั่นและยึดมั่นในอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจ กล่าวคือ จำหน่าย สินค้าและให้บริการที่มีคุณภาพสูง ซึ่งเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ด้วยความซื่อสัตย์และความตรงต่อเวลา เพื่อการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จร่วมกันระยะยาว Our vision is to be in the "forefront" of technology in its field and suitably apply the technology to industries and production in Thailand for customers' utmost benefits. Forefront Foodtech Co., Ltd. strongly believes in and is committed to our own business philosophy which is to supply high quality products and service appropriately to each customer's requirements with honesty and punctuality in order to maintain long term win-win business relationship. Forefront Foodtech Co., Ltd. is the agent company that supplies machinery and system, install and provide after sales service as well as spare parts. Our products are: Nock, made in Germany: manufacturer of skinning machines, membrane skinning machine, slicers and scale ice makers. Frey, made in Germany: manufacturer of vacuum stuffers and chain linking system. Kronen, made in Germany: manufacturer of washing, centrifuges and cutting machinery for vegetable and fruits. Bandall, made in Netherlands: manufacturer of banding machine. Emerson, made in Romania: smoke chamber. G.Mondini, made in Italy: manufacturer of top seal, skin pack, paper seal, slimfresh and slicefresh for ready meal, meat, petfood and etc. Dorit, made in Germany: manufacturer of tumblers and injectors. Cliptechnik, made in Germany: manufacturer of single and double clippers for table top use and standalone clipping machines. Firex, made in Italy: manufacturer of food-processing equipment for kitchen and commercial equipment. Orved, made in Italy: manufacturer of vacuum packing machine. Carsoe, made in Denmark: designs and produces products for the seafood and food processing industry Gernal, made in Belgium: manufacturer of food-processing equipment for industrial Mado, made in Germany: manufacturer of meat-processing industry