เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.54 นางมาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมเจ้าหน้าที่กองสุขาภิบาลอาหารและกองควบคุมโรคติดต่อ ตรวจป้องกันการแพร่ระบาดเชื้ออีโคไล ซึ่งกำลังเป็นข่าว การระบาดหนักในยุโรปขณะนี้ณ ตลาดบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย
เชื้ออีโคไล (Escherichia coliซึ่งเรียกย่อๆ ว่าE.coli) ซึ่งเป็นแบคทีเรีย ชนิดแบคทีเรียแกรมลบ (gram negative bacteria) มีรูปร่างเป็นท่อน เป็นเชื้อที่อยู่ในลำไส้ของมนุษย์ อยู่ในกลุ่ม coliform ซึ่งใช้เป็นดัชนีชี้ สุขาภิบาลอาหาร พบในลำใส้ของสัตว์เลือดอุ่นเจริญได้ดีที่อุณภูมิห้อง (mesophilic bacteria) เจริญได้ทั้งสภาวะที่มีออกซิเจน และไม่มีออกซิเจน (facultative anaerobe) ไม่ทนร้อน ไม่สร้างสปอร์ (non spore forming bacteria) ซึ่งพบได้ในอาหารหลายชนิด เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ นม
สายพันธุ์ อี.โคไลที่ก่อโรค (pathogen) ในชาวยุโรป เริ่มจากที่ประเทศเยอรมัน และระบาดไปยังประเทศต่างๆ เป็นการติดเชื้อจากการปนเปื้อนมากับอาหาร เป็น เชื้อ อี.โคไล ที่กลายพันธุ์ จากสายพันธุ์ เดิม กลายเป็นสายพันธุ์ใหม่ ที่ไม่เคยพบมาก่อน
สายพันธุ์นี้ สามารถ ผลิตสารพิษ เรียกว่า เอสทีอีซี (STEC-Shiga toxin-producing Escherichia coli) หรือ E.coli O 104 เป็นเชื้อก่อโรคที่มีความรุนแรงกว่าเดิม โดยเชื้อดังกล่าวจะไปสร้างสารพิษทำลายลำไส้ ทำให้ลำไส้มีเลือดออก และอุจจาระเป็นเลือด ขณะเดียวกันยังส่งผลให้เม็ดเลือดแดงแตกในกระแสเลือด อาจลุกลามไปทำลายไต ก่อให้เกิดไตวาย และหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จะเสียชีวิตในที่สุด
วัตถุประสงค์การตรวจของกทม. เพื่อ เฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้ออีโคไล สร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค โดยกทม.ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังอย่างเข้มงวด พร้อมแนะวิธีป้องกัน และให้ความรู้เรื่องเชื้ออีโคไลแก่ประชาชน เพื่อไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนก
จากการสอบทราบว่ายังไม่พบการแพร่ระบาดของเชื้อ แต่ทางกทม.จะได้ตรวจติดตามเชื้อนี้ในทุกเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครค่ะ เบาใจได้
ข้อแนะนำเบื้องต้น เพื่อการป้องกันอันตรายจากเชื้อ Escherichia coli
ารจะป้องกันก็คงต้องทราบสภาวะที่ อีโคไลเจริญได้ pH ที่เจริญได้อยู่ในช่วง 4-9 อุณหภูมิที่พบการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 6.5-50 องศาเซียลเซียส
ปริมาณเกลือแกง (โซเดียมคลอไรด์) มากกว่า 6.5 % สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตได้ ค่าวอเตอร์แอคทิวิตี้ (water activity) ต่ำสุดที่สามารถเจริญได้คือ 0.95
วิธีการป้องกันเบื้องต้นคือ
- เก็บอาหารสดที่อุณหภูมิต่ำ (cold storage) หลีกเลี่ยงการเก็บอาหารช่วงอุณหภูมิที่เป็นอันตราย คือ 4-55 ซ
- หุง ต้ม ผัด อาหาร ให้ร้อนจัด อุ่นให้เดือด และเก็บอาหารที่ทำให้สุกแล้วที่อุณหภูมิต่ำ
- การแปรรูปอาหารด้วยความร้อน (thermal processing) ระดับพาสเจอรไรซ์ (pasteurization) ทำลายเชื้อนี้ได้
- ควบคุมให้พนักงาน หรือบุคคล ที่สัมผัสกับอาหาร มีสุขอนามัยที่ดี (personal hygiene)
- ป้องกันการเกิดปนเปื้อนข้าม (cross contamination) โดยเฉพาะอาหารที่ปรุงสุก อาหารพร้อมรับประทาน กับอาหารดิบ
- ผลิตอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ตามหลัก GMP (Good Manufacturing Practice) ,HACCP
ติดตามข้อมูลได้ที่ face book
HealthDepartment Bma