ผลของความชื้นต่อคุณสมบัติทางกายภาพของกานพลู (Effect of moisture content on some physical properties of Clove Tree) สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ชลลดา จีระสมบูรณ์ยิ่ง ณัฐวุฒิ สุขพัฒน์ พิชญ์พิมล จันทร์กระจ่าง วสันต์ อินทร์ตา บทคัดย่อ การศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของกานพลู โดยทำการวัดระดับความชื้นเริ่มทำการทดลองมีค่า 4.877 % ผลที่ได้จากการศึกษามีดังนี้ ค่าความสูง ความกว้าง ความหนา ความกว้าง ความหนา และความสูง เฉลี่ย คือ 1.476 ± 0.090 เซนติเมตร0.231 ± 0.017 เซนติเมตร0.287 ± 0.028 เซนติเมตร0.405 ± 0.041 เซนติเมตร 0.434 ± 0.401 เซนติเมตร 0.435 ± 0.031 เซนติเมตรตามลำดับความเป็นทรงกลมของดอกกานพลู (Ø) คือ 0.961 ± 0.039 ค่าน้ำหนัก 1,000 ก้าน คือ 57.239 ± 0.907 กรัม ค่าความหนาแน่นรวม (Bulk Density) คือ 0.391 ± 0.015 กรัม/มิลลิลิตร ค่าความหนาแน่นจริง (True Density) คือ 1.076 ± 0.009 กรัม/มิลลิลิตร ค่าพื้นที่ภาพฉาย (Projected Area) คือ 0.426 ± 0.050 ตารางเซนติเมตร ค่าความเร็วสุดท้าย (Terminal Velocity) คือ 8.010 ± 0.190 m.s-1 ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน (Static coefficient of friction) วัดด้วยพื้นยาง พื้นไม้และพื้นอะลูมิเนียมคือ 0.875 ± 0.127, 0.919 ± 0.107, 0.824 ± 0.067 และค่าความพรุน (Porosity) คือ 63.668 % 1.บทนำ กานพลู (Syzygiumaromaticum (L.) Merr.&L.M.Perry) ชื่อสามัญ: Clove Tree วงศ์:Myrtaceaeกานพลูเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ นำไปปลูกในเขตร้อนทั่วโลก ในประเทศไทยนำมาปลูกบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ฟกานพลูเป็นพรรณไม้ยืนต้นทรงพุ่ม ขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูง ราว9-15 เมตร ผิวของมันเป็นสีเหลืองน้ำตาล โดยส่วนที่นำมาใช้คือ ดอก โดยมีลักษณะ เป็นสีเขียวอมแดงเลือดหมู หรือสีขาวอมเขียว ดอกจะออกเป็นกระจุก หรือเป็นช่อ ประมาณ 15-20 ดอก คล้ายดอกขจรเมื่อแก่มีสีแดงเข้มตามใบกานพลูจะมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก นิยมเก็บมาเป็นเครื่องเทศและมีคุณภาพดีคือช่วงที่ดอกตูมกำลังจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นแดง (ประมาณมิถุนายน-กุมภาพันธ์) ซึ่งหลังจากที่เก็บมาแล้วต้องนำไปตากแดดให้แห้งจนกระทั่งเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มจึงจะนำมาใช้ได้น้ำมันหอมระเหย ที่กลั่นจากดอกกานพลูเรียกว่า น้ำมันกานพลู (clove oil) มีส่วนประกอบสำคัญเป็น eugenolซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่นอกจากนี้ยังพบ methyl salicylate, flavonoid, kaempferolและ sitosterols ดอกกานพลูมีรสเผ็ดช่วยกระจายเสมหะ แก้เสมหะเหนียว แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ปวดฟัน ดับกลิ่นปาก แก้หืด เป็นยาฆ่าเชื้อสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด แก้ปวดท้อง แก้ลม แก้เหน็บชา แก้พิษโลหิต พิษน้ำเหลือง แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืด แก้จุกเสียด แก้ท้องเสียแก้ซางต่างๆ ขับระดูระงับการเกิด ตะคริว น้ำมันกานพลู (Clove oil) เป็นยาชาเฉพาะที่ แก้ปวดฟัน โดยใช้สำสีชุบนำมาอุดที่ฟัน กานพลูใช้แต่งกลิ่นอาหารจำพวกเนื้อ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ขนมเค้ก และ ลูกกวาด และใช้ในการประกอบอาหาร โดยจะนำมาคั่ว เพื่อให้มีกลิ่นหอมและมีรสเผ็ด ถ้าใส่ในพริกแกงจะต้องป่นก่อน เช่น แกงมัสมั่น แกงบุ่มไบ๋เป็นต้น ถ้าใส่ในต้มเนื้อจะต้องใส่ทั้งดอกเพื่อศึกษาความชื้นที่มีผลกับสมบัติทางกายภาพของกานพลูได้แก่ ขนาดความเป็นเชิงเส้น ความเป็นทรงกลมของดอกตูม น้ำหนัก 1,000 ดอก พื้นที่ภาพฉาย ความหนาแน่นรวม ความหนาแน่นจริง ความพรุน ความเร็วสุดท้ายค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานคงที่ของวัสดุที่แตกต่างกันซึ่งได้จากการทดลอง สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกับกระบวนการแปรรูปอาหาร การควบคุมและออกแบบเครื่องจักรการทำงานของเครื่องจักรในอุตสาหกรรมอาหาร 2.วัตถุดิบและวิธีการทดลอง กานพลูที่นำมาใช้ในการทดลองนี้ นำมาจากบริษัท เอสเอโอ การเกษตร จำกัด ศูนย์ตัวแทนจำหน่ายที่รามอินทรา 28 กรุงเทพมหานคร จำนวนกานพลูที่ใช้ในการทดลองนั้นใช้เพียง 1 กิโลกรัมเนื่องจากกานพลูมีขนาดเล็ก ลักษณะของกานพลูค่อนข้างจะหลากหลาย ไม่มีขนาดที่เป็นมาตรฐาน โดยใช้ทั้งส่วนหัวและส่วนก้านในการทำการทดลอง 2.1 การปรับความชื้น การหาความชื้นเริ่มต้นโดยการนำกานพลูมาชั่งให้ได้ 3-5 กรัม จากนั้น นำเข้าตู้อบที่อุณหภูมิ105 เป็นเวลา 2 ชั่วโมง แล้วนำน้ำหนักก่อนอบและ หลังอบ มาคำนวณหาความชื้นจาก 2.2 การวัดขนาด (size) และความเป็นทรงกลมด ใช้เวอร์เนียคาลิปเปอร์วัดขนาดความสูง (L) ของกานพลูทั้งหมด ความกว้าง (W) ความหนา (T) ของส่วนก้านกานพลู และความสูง (L) ความกว้าง (W) ความหนา (T) ของส่วนหัวกานพลู โดยทำการทดลองวัดกานพลูจำนวน 100 ก้าน นำขนาดส่วนหัวมาหาความเป็นทรง โดยหาค่าความเป็นทรงกลมจากสมการ 2.3น้ำหนัก1,000ก้าน นำกานพลูจำนวน 1,000ก้านของแต่ละความชื้น โดยก่อนการชั่งจะต้องนำกานพลูมาพักไว้ให้อุณหภูมิอยู่ที่อุณหภูมิห้อง (ประมาณ 30 นาที) แล้วน้ำไปชั่งที่เครื่องชั่งดิจิตอล 4 ตำแหน่ง 2.4 ความพรุน การหาความพรุนเป็นการหาความสัมพันธ์ของความหนาแน่นรวมกับความหนาแน่นจริง โดยใช้หาได้จากสมการ 2.5 ความหนาแน่นรวม ความหนาแน่นรวมหาโดยการนำกานพลูบรรจุลงในกระบอกตวงโดยเทผ่านกรวยเหล็ก ให้กรวยเหล็กห่างจากกระบอกตวง 15 cm. จากนั้นปาดกระบอกตวงให้เรียบ นำไปชั่งกับเครื่องชั่งดิจิตอล 4 ตำแหน่ง ทำการหาความหนาแน่นของทุกความชื้น ความชื้นละ 3 ครั้ง โดยสามารถคำนวณหาค่าความหนาแน่นรวมได้จาก สมการ 2.6 ความหนาแน่นจริง หาความหนาแน่นสำหรับส่วนแก่นเนื้อ ใช้ขวด Pycnometer ซึ่งเป็นขวดที่ทราบปริมาตรแน่นอน ชั่งน้ำหนักขวดเปล่าหาค่าความหนาแน่นของของเหลวโดยการเติมของเหลวจนเต็มขวดชั่งน้ำหนักของเหลว โดยของเหลวที่ใช้คือ เฮกเซน (Hexane) มาใช้แทนน้ำคำนวณความหนาแน่นเฮกเซนจากสูตร ความหนาแน่น = มวล/ปริมาตร ใส่กานพลูประมาณ 50 ก้านลงไปในในขวด Pycnometer ที่มีเฮกเซนบรรจุจนเต็มแล้วชั่งน้ำหนักพร้อมขวด เราจะทราบปริมาตรของกานพลูโดยนำปริมาตรของขวด Pycnometer ลบกับปริมาตรของเฮกเซน จึงนำปริมาตรของกานพลูไปคำควณหาความหนาแน่น ซึ่งคำนวณได้จาก ความหนาแน่น = มวล/ปริมาตร 2.6 พื้นที่ภาพฉาย นำกานพลูที่มีความสมบูรณ์ จำนวน 50 ก้าน มาจัดวางบนกระดาษ A4 สีขาว เพื่อถ่ายภาพจากมุมสูงโดยถ่ายขนานกับแผ่นกระดาษ ใช้โปรแกรม PhotoshopCS3 เพื่อหาพื้นที่ (ตารางเซนติเมตร) ของกานพลู 1 ก้าน เทียบกับหน่วยพิกเซล (Pixel) แล้วนำค่าที่ได้ทั้งหมดมาหาค่าเฉลี่ย โดยทำทุกๆความชื้น 2.7 ความเร็วสุดท้าย คัดกานพลูจำนวน 10 เมล็ด โดยการนำกานพลูไปเป่าลมจากเครื่องเป่าลม โดยวัดความเร็วสุดท้ายจากความเร็วลม เราสามารถปรับความเร็วลมจากเครื่องปรับความถี่ โดยปรับให้กานพลูลอยอย่างคงที่ที่ปลายกระบอก ทำเช่นนี้ทุกความชื้น 2.8 ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน การหาค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของกานพลูแต่ละพื้นผิว ได้แก่ ยาง อะลูมิเนียม และไม้ โดยการนำกานพลูจำนวน 10 ก้าน วางบนพื้นแบบต่างแล้วหามุมที่กานพลูเริ่มกลิ้งลงจากด้านบนพื้น สามารถคำนวณค่าสัมประสิทธิ์จากสมการ 3.ผลการทดลอง จากการทดลองค่าสมบัติทางกายภาพของกานพลูกับความชื้น (ฐานเปียก) ระดับต่างๆผลการทดลองที่ได้แสดงในรูปของกราฟ ดังนี้ รูปที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้น (ฐานเปียก) กับความสูงกานพลู รูปที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้น (ฐานเปียก) กับขนาดส่วนก้านกานพลู รูปที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้น (ฐานเปียก) กับขนาดส่วนหัวกานพลู จากกราฟความชื้น (ฐานเปียก) มีความสัมพันธ์เป็นแบบโพลีโนเมียลกับความสูงกานพลู ขนาดส่วนหัว และความหนาส่วนก้านของกานพลู และมีความสัมพันธ์แบบลอกการิทึมกับความกว้างส่วนก้านของกานพลู รูปที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้น (ฐานเปียก) กับความเป็นทรงกลม จากกราฟความชื้น (ฐานเปียก) มีความสัมพันธ์เป็นแบบโพลีโนเมียลกับความเป็นทรงกลม รูปที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้น (ฐานเปียก) กับน้ำหนัก 1,000 ก้าน จากกราฟความชื้น (ฐานเปียก) มีความสัมพันธ์เป็นแบบโพลีโนเมียลกับน้ำหนัก 1,000 ก้าน รูปที่ 6 ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้น (ฐานเปียก) กับความพรุน จากกราฟความชื้น (ฐานเปียก) มีความสัมพันธ์เป็นแบบเชิงเส้นกับความพรุน รูปที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้น (ฐานเปียก) กับความหนาแน่นรวม จากกราฟความชื้น (ฐานเปียก) มีความสัมพันธ์เป็นแบบโพลีโนเมียลกับความหนาแน่นรวม รูปที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้น (ฐานเปียก) กับความหนาแน่นจริง จากกราฟความชื้น (ฐานเปียก) มีความสัมพันธ์เป็นแบบโพลีโนเมียลกับความหนาแน่นจริง รูปที่ 9 ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้น (ฐานเปียก) กับพื้นที่ภาพฉาย จากกราฟความชื้น (ฐานเปียก) มีความสัมพันธ์เป็นแบบโพลีโนเมียลกับพื้นที่ภาพฉาย รูปที่ 10 ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้น (ฐานเปียก) กับความเร็วสุดท้าย จากกราฟความชื้น (ฐานเปียก) มีความสัมพันธ์เป็นแบบโพลีโนเมียลกับความเร็วสุดท้าย รูปที่ 11 ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้น (ฐานเปียก) กับค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน จากกราฟความชื้น (ฐานเปียก) มีความสัมพันธ์เป็นแบบโพลีโนเมียลกับพื้นเอียงประเภทพื้นอะลูมิเนียม และ พื้นไม้ และมีความสัมพันธ์เป็นแบบเชิงเส้นกับพื้นเอียงประเภทพื้นยาง 4.สรุปผลการทดลอง จากการทดลองจะเห็นว่า จากการวาดกราฟซึ่งได้จากผลการทดลองสมบัติทางกายภาพทางกานพลูพบว่าโดยภาพรวมแล้ว จะมีความเป็นเชิงเส้นหรือเป็นเส้นตรงน้อย ทั้งนี้เนื่องจากกานพลูที่ไม่มีขนาดที่ไม่เป็นมาตรฐาน และเมื่อนำกานพลูไปปรับความชื้นเพื่อทำการทดลอง ผลปรากฏว่าโดยส่วนมากของกานพลูที่นำไปปรับความชื้นลักษณะภายนอกของกานพลูค่อนข้างไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ จึงทำให้ค่าคุณสมบัติทางกายภาพโดยรวมออกมาเป็นความสัมพันธ์ในรูปของโพลีเมียล -ความสูงของกานพลูขนาดของส่วนหัวของกานพลูความหนาของส่วนก้านกานพลูจะมีค่าไม่คงที่ เมื่อความชื้น (ฐานเปียก) มีค่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกานพลูแต่ละก้านมีขนาดที่ไม่แน่นอน จึงทำให้ค่าทีวัดได้เกิดความคลาดเคลื่อนซึ่งเป็นกราฟโพลิโนเมียล -ความกว้างของส่วนก้านกานพลู จะมีความสัมพันธ์กับความชื้น (ฐานเปียก) ในรูปแบบกราฟล็อกกาลิทึม -ความเป็นทรงกลม มีความสัมพันธ์เป็นกราฟโพลิโนเมียล กับ ความชื้น (ฐานเปียก) ของกานพลู -น้ำหนัก 1,000 ก้านจะมีความสัมพันธ์กับความชื้น (ฐานเปียก) ในรูปแบบกราฟลิโนเมียล -ความพรุน แปรผันกับความชื้น (ฐานเปียก) ซึ่งได้กราฟเป็นกราฟเส้นตรง โดยความพรุนจะเพิ่มขึ้นเมื่อความชื้นเพิ่มขึ้น - ความหนาแน่นจริง และความหนาแน่นรวม มีค่าไม่คงที่ เนื่องจากกานพลูที่นำไปใช้หาค่าความหนาแน่นมีขนาดที่ไม่สม่ำเสมอและลักษณะภายนอกไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด ขนาดของกานพลูยังคงมีขนาดใกล้เคียงกับก่อนการปรับความชื้นจึงเกิดความคลาดเคลื่อน ซึ่งกราฟที่ได้เป็นความสัมพันธ์แบบโพลีโนเมียล - พื้นที่ภาพฉาย มีความสัมพันธ์เป็นกราฟโพลีโนเมียล กับ ความชื้น (ฐานเปียก) ของกานพลู - ความเร็วสุดท้าย แปรผันตรงกับความชื้น (ฐานเปียก) ซึ่งได้กราฟเป็นกราฟเส้นตรง โดยเมื่อความชื้นเพิ่มขึ้น ความเร็วลมก็จะเพิ่มขึ้นด้วย -ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน พื้นเอียงประเภทไม้ มีความสัมพันธ์เป็นกราฟโพลีโนเมียล กับ ความชื้น (ฐานเปียก) พื้นเอียงประเภทอะลูมิเนียม มีความสัมพันธ์เป็นกราฟโพลิโนเมียล กับ ความชื้น (ฐานเปียก) พื้นเอียงประเภทยาง แปรผันตรงกับความชื้น (ฐานเปียก) ซึ่งได้กราฟเป็นกราฟเส้นตรง โดยเมื่อความชื้นเพิ่ม สัมประสิทธิ์ความเสียดทานจะเพิ่มขึ้นด้วย 5. เอกสารอ้างอิง Food wiki network solution. กานพลู.เวปไซต์ : http://www.foodnetworksolution.com/wiki/wordcap/กานพลู OK Nation. กานพลู ......ไม้ป่ายืนต้นสมุนไพร.เวปไซต์ : http://www.oknation.net/blog/ION/2008/04/06 /entry-1 วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. กานพลู.เวปไซต์: http://th.wikipedia.org/wiki/กานพลู