ผลของความชื้นต่อคุณสมบัติทางกายของลูกเดือย Effect of moisture content on some physical properties of Job's Tears (Coix lacryma-jobi L.) . สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ธนัญญา เทียนไชย ธิติฏฐ์ วรวุฒิ วราพล ภูเม็ด วสันต์ อินทร์ตา
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยค่าความชื้นต่อคุณสมบัติทางกายภาพของลูกเดือย ลูกเดือยมีค่าความชื้นเริ่มต้น 9.6543%d.b. ในการศึกษา ได้มีการเพิ่มค่าความชื้นให้แก่ลูกเดือย 4 ระดับ เพิ่มขึ้นทีละ 3 %d.b. คือ 12.6543 , 15.6543 , 18.6543 และ 21.6543 %d.b. รวมระดับค่าความชื้นทั้งหมดมี 5 ดับ ระหว่าง 9.6543 - 21.6543 %d.b. พบว่าลูกเดือนมีค่าความกว้างระหว่าง 6.860 - 7.290 mm, ค่าความยาวระหว่าง 6.540 -6.208 mm, ค่าความหนาระหว่าง 4.660 5.110 mm, เส้นผ่านศูนย์กลางของลูกเดือยมีค่าระหว่าง 5.820 - 6.124 mm, น้ำหนัก 1,000 เม็ด มีค่าอยู่ระหว่าง 117.410 - 138.747 g, พื้นที่ภาพฉายมีค่าอยู่ระหว่าง 31.935 - 44.519 mm2, ค่าความเป็นทรงกลมของลูกเดือยมีค่าตั้งแต่ 92.60 - 98.80 %, ความหนาแน่นเชิง-ปริมาตรมีค่าระหว่าง 0.806 - 0.719 kgm-3 โดยมีค่าลดลง, ค่าความหนาแน่นเนื้อของลูกเดือยอยู่ระหว่าง 1.389 - 1.150 kgm-3 โดยมีค่าลดลง, ความพรุนของลูกเดือยมีค่าระหว่าง 41.995 - 37.364 % ซึ้งมีค่าลดลง , ค่าปริมาตร ต่อ 1 เม็ด ของลูกเดือยมีค่าระหว่าง 0.083 - 0.135 ml, ค่าความเร็วลมลอยตัวมีค่ามากขึ้นอยู่ระหว่าง 10.35 - 12.63 ms-1 , ค่ามุมตกอย่างอิสระโดยใช้วัสดุเป็นพื้นไม้ (23.90 - 21.60 องศา) พื้นอะลูมิเนียม (27.10 - 20.40 องศา) และ พื้นยาง (28.00 - 22.00 องศา)
บทนำ
ลูกเดือย (Job's Tears) ชื่อวิทยาศาสตร์ (Coix lacryma-jobi L. var. mayuen (Rorman.) Stapf) เป็นธัญพืช เป็นพืชตระกูลเดียวกับข้าว โดยมีลักษณะลำต้นและใบคล้ายข้าวโพด แต่ใบเล็กและผิวเรียบเนียนกว่าใบข้าวโพด แตกกอและออกรวงคล้ายข้าว เม็ดมีลักษณะกลม ๆ รี ๆ เมล็ดมีความยาว 8-12 มิลลิเมตร รสชาติออกมันเล็กน้อย ลูกเดือยเป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่งของจังหวัดเลย มีพื้นที่ปลูกคิดเป็นประมาณร้อยละ 95 ของพื้นที่ที่ปลูกทั้งประเทศไทย
สารอาหารในลูกเดือยประกอบด้วยโปรตีน 13.84% คาร์โบไฮเดรต 70.65% ไขมัน 5.03 % เส้นใย 0.23% แร่ธาตุต่างๆอีกมากมายเช่น ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 ซึ่งฟอสฟอรัสช่วยบำรุงกระดูก วิตามินเอบำรุงสายตา อีกทั้งวิตามินบี 1 ที่มีมากกว่าปริมาณข้าวกล้อง ซึ่งช่วยแก้โรคเหน็บชาด้วย นอกจากนี้ยังมีกรดอะมิโนทุกชนิดที่สูงกว่าความต้องการตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ยกเว้นเมทไธโอนีนและไลซีน (N3K.IN.TH สุขภาพและความงามเพื่อผู้หญิง, 2555)
ปัจจุบันลูกเดือยสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารได้หลายรูปแบบ เช่น ลูกเดือยเคลือบน้ำตาลอบแห้ง น้ำลูกเดือยเข้มข้น ลูกเดือยทอดสมุนไพร ข้าวเหนียวเปียกลูกเดือยมะพร้าว ข้าวต้มธัญพืช และอื่นๆอีกมากมาย นอกจากนี้ลูกเดือยยังมีสรรพคุณทางยา เช่นแก้ร้อนใน บำรุงไต ม้าม ปอด กระเพราะอาหาร รักษาโรคเหน็บชา (ชัยโยและคณะ, 2524) นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณในการยับยั้งการเจริญของเนื้องอกภายในร่างกาย
วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยค่าความชื้นที่มีผลต่อคุณสมบัติทางกายภาพของลูกเดือย เป็นการศึกษาเก็บข้อมูลเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสร้างเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม การขนส่ง การบรรจุผลิตภัณฑ์ รวมทั้งวิธีการเก็บรักษาลูกเดือยเพื่อให้เม็ดลูกเดือยมีความสมบูรณ์มากที่สุด และนำข้อมูลนี้ไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ
2. วัตถุดิบและวิธีการ
2.1 การเตรียมวัตถุดิบ
ในการศึกษานี้ ใช้ลูกเดือย ที่ซื้อมาจากผู้ขายส่ง ตลาดหัวตะเข้ บรรจุมาเป็นถุงเรียบร้อยแล้ว ซึ่งตัวอย่างที่นำมายังไม่ผ่านการคัดสรรเอาเม็ดที่แตกหัก หรือที่ไม่สมบูรณ์ออก แต่มีการคัดเอาสิ่งปลอกปลอมออกเสร็จเรียบร้อย ผู้ศึกษาจึงคัดเม็ดที่มีความสมบูรณ์มาใช้ในการทดลอง
2.2 การหาเปอร์เซ็นต์ความชื้น
ค่าความชื้นเริ่มต้นของเม็ดลูกเดือยสามารถหาได้จากแบ่งตัวอย่างออกเป็น 3 ชุดการทดลอง ชุดละประมาณ 5 g ชั่งน้ำหนักด้วยเครื่องชั่งไฟฟ้าที่มีค่าความละเอียดอยู่ที่ 0.0001 g เมื่อชั่งน้ำหนักได้ 5 g นำเม็ดลูกเดือยใส่ลงในถาดฟรอยด์ที่เตรียมไว้ 1 ชุดการทดลองต่อ 1 ถาด จากนั้นนำตัวอย่างทั้ง 3 ชุด เข้าตู้อบเพื่อหาความชื้นเริ่มต้น ที่อุณหภูมิ 105 ํC จนน้ำหนักคงที่ จากนั้นนำลูกเดือยที่อบเสร็จใส่ตู้ดูดความชื้นเพื่อให้มีอุณหภูมิที่เย็นลงและรักษาระดับความชื้นไม่ให้เพิ่มขึ้น จากนั้นนำตัวอย่างเม็ดทั้ง 3 ชุด มาชั่งน้ำหนักเพื่อคำนวณหาปริมาณความชื้นเริ่มต้นของเมล็ดคือพื้นฐานแห้งเฉลี่ย (d.b) สามารถคำนวณได้จากสมการที่ 1
2.3 การปรับความชื้น
เมื่อคำนวณหาเปอร์เซ็นต์ความชื้นเริ่มต้นแล้วนำลูกเดือยตัวอย่างจำนวน 1,000 เมล็ด ปรับค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้น โดยแบ่งเป็น 4 ระดับเพิ่มครั้งละ 3% ซึ่งความชื้นเริ่มต้นเป็น 9.6543 d.b% จากนั้นจะเป็นค่าความชื้นที่ 12.6543 d.b% , 15.6543 d.b% , 18.6543 d.b% และ 21.6543 d.b% ตามลำดับ โดยการคำนวณหาระดับปริมาณน้ำที่ต้องเติมเพื่อให้ได้ค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นที่ต้องการ โดยชั่งน้ำหนักเม็ดลูกเดือยของแต่ชุดก่อนนำมาปรับความชื้นคำควณหาน้ำในเม็ดลูกเดือย 1000 เม็ดที่ความชื้นเริ่มต้น 9.6543 d.b% โดยใช้การคำนวณจาก
จากนั้นคำควณหาน้ำที่ต้องเติมในเม็ดลูกเดือย ที่ความชื้นแต่ละระดับ เติมน้ำลงในถุงเก็บความชื้นพร้อมตัวอย่างในแต่ละ ชุดการทดลอง ปิดปากถุงโดยใช้ Vacuum seal ตามระดับความชื้นที่ปรับ จำนวน 4 ถุง ก่อนนำไปทดลองต้องเก็บไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 5˚C เป็นระยะเวลา 168 ชั่วโมง หรือ ประมาณ 7 วัน ในระหว่างที่เก็บในตู้เย็นต้องเขย่าถุงตัวอย่างทุกๆ 2 วัน เพื่อให้มีความชื้นสม่ำเสมอทั่วกันทุกเมล็ด
3.) หาขนาดมิติต่างๆ ของลูกเดือย นำลูกเดือย 100 เม็ดจากแต่ละระดับความชื้น หามิติของเม็ด ซึ่งประกอบด้วย ค่าความยาว (Length: L) ค่าความกว้าง (Width: W) และค่าความหนา (Thickness: T) โดยใช้เวอร์เนียร์คาร์ลิปเปอร์ ซึ่งค่า least count อยู่ที่ 0.05 cm
รูปที่1 การวัดขนาดในแนวแกน x,y,z ของลูกเดือย
4.) น้ำหนัก 1,000 เม็ด (M1000)
ทำการชั่งหาน้ำหนักมวล 1000 เม็ด (M1000) จากทุกความชื้น ชั่งบนเครื่องชั่งไฟฟ้าที่มีค่าความละเอียดอยู่ที่ 0.01 g
5.) เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเชิงเรขาคณิต และค่าความเป็น ทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเชิงเรขาคณิต และค่าความทรงกลม สมารถหาได้จากสมการความสัมพันธ์ ดังนี้
6.) พื้นที่ภาพฉาย (Ap, mm2)
พื้นที่ภาพฉาย ( Projected Area ) หาได้จาก นำเม็ดลูกเดือย 50 เม็ด วางบนกระดาษสีที่ตัดกับสีของเลือกเดือย และวาดช่องสี่เหลี่ยม ขนาด 1× 1 เซนติเมตร จากนั้นถ่ายรูปด้วยกล้องโทรศัพท์ มีความละเอียด 5 ล้านพิกเซล นำเข้าโปรแกรมตัดต่อภาพเพื่อดูว่าในพื้นที่ ขนาด 1× 1 เซนติเมตร และตัวเม็ดลูกเดือย มีความละเอียดกี่พิกเซล (Pixel) จากนั้นทำการเทียบโดย
ความละเอียด X พิกเซล มีพื้นที่ 100 mm2
ความละเอียด Y พิกเซล มีพื้นที่ Ap mm2
7.) ความหนาแน่นรวม ( gcm-3) ความหนาแน่นรวม (Bulk Density) หาได้โดยการกรอกเม็ดลูกเดือยลงภาชนะทรงกระบอก ทีทราบปริมาตรภาชนะ โดยการกรอกเมล็ดผ่านกรวยซึ้งมีระยะห่างจากปากภาชนะ 15 cm. แล้วปาดหน้าให้เรียบนำไปชั่งน้ำหนัก ซึ่งความหนาแน่นรวมหาได้จาก น้ำหนักเนื้อหารด้วยปริมาตรภาชนะน้ำหนักเนื้อ
(M) = น้ำหนักเม็ดรวมภาชนะ - น้ำหนักภาชนะ g
8.) ปริมาตรต่อ 1 เม็ด และความหนาแน่นจริง (True Density : Pt )
อัตราส่วนระหว่างมวลของลูกเดือย (mลูกเดือยรวม) หารปริมาณที่แท้จริงของเม็ดลูกเดือย (Vรวมลูกเดือย) ความหนาแน่นจริงสามารถหาโดยใช้วิธีการแทนที่เฮกเซนโดยใส่เฮกเซนในขวดพิคโนมิตเตอร์ (pycnometer) ที่ปริมาตรขวดเท่ากับ 50 ml. โดยเป็นวิธีการหาปริมาตรของเม็ดลูกเดือยทั้งหมด (Vรวมลูกเดือย) ที่ใส่ลงไป ซึ้งหาได้จากนำปริมาตรขวดพิคโนมิตเตอร์ลบปริมาตรเฮกเซน (Vเฮกเซน) ที่รวมอยู่กับเม็ดลูกเดือยที่ใส่ แล้วนำค่าที่ได้ไปหารด้วยจำนวนเม็ดลูกเดือยที่ใส่ (N) ได้ ปริมาตรต่อ 1 เม็ด (V) และนำมวลลูกเดือย ( mลูกเดือยรวม ) ที่ใส่ในขวดพิคโนมิตเตอร์หารด้วยปริมาตรรวมของเม็ดลูกเดือย (Vรวมลูกเดือย) ได้ค่าความหนาแน่นจริง (True Density)
ซึ่งปริมาตรเฮกเซน ที่รวมอยู่กับเม็ดลูกเดือย หาได้โดย หาความหนาแน่นของเฮกเซนก่อนจาก โดยเอามวลเฮกเซนที่ใส่ในขวดพิคโนมิเตอร์หารด้วยปริมาตรขวดพิคโนมิเตอร์ หามวลเฮกเซน (mเฮกเซน) = ( mขวด+mลูกเดือยรวม+mเฮกเซน) - (mขวด+ mเฮกเซน) ขั้นที่สาม หาปริมาตรเฮกเซน ที่รวมอยู่กับเม็ดลูกเดือย จากความสัมพันธ์ของความหนาแน่นของเฮกเซน
9.) ความพรุน ความพรุน ของเม็ดลูกเดือยที่ความชื้นต่างๆ คำนวณจากความหนาแน่นเฉลี่ย (Pb) และ ความหนาแน่นเนื้อ (Pt)
10.) ความเร็วสุดท้าย
คือ ค่าความเร็วของลมที่ทำให้เม็ดลูกเดือยลอยตัวอยู่ในท่อทรงกระบอกที่ระดับความสูงคงที่ที่อุณหภูมิห้อง ซึ้งท่อทรงกระบอกมีความสูง 1 m. ความสูงที่กำหนดให้ลอยตัวคงที่อยู่ที่ประมาณ 85 cm. ซึ้งค่าความเร็วลมมีหน่วยเป็น ms-1
รูปที่2 เครื่องใช้ทำการทดลองความเร็วสุดท้าย
11.) สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิต
สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิต (Coefficient of static friction) ของลูกเดือยจะวัดจากค่ามุมเอียง (องศา) ที่ทำให้เม็ดลูกเดือยเกิดการเคลื่อนที่มายังจุดสุดท้ายที่กำหนดไว้ ในการศึกษาได้ใช้พื้นผิววัสดุ 3 ชนิด คือ พื้นไม้ พื้นอะลูมิเนียม พื้นยาง ซึ้งศึกษาที่ระดับความชื้น 5 ระดับ คือ 9.6543 , 12.6543 , 15.6543 , 18.6543 และ 21.6543 % d.b
รูปที่3 เครื่องมือใช้ทำการทดลองสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิต
ผลการทดลองและวิจารณ์
1.) ความชื้น (%d.b.) เริ่มต้น
จากการหาค่าความชื้นเริ่มของลูกเดือยพบว่า มีค่าความชื้นเริ่มต้นเท่ากับ 9.6543 d.b.% และได้ทำการศึกษาโดยเพิ่มความชื้น ขึ้นอีก 4 ระดับ เป็น 12.6543 15.6543 18.6543 21.6543 d.b.% ตามลำดับ
2.) ความยาวของเม็ดลูกเดือย
จากกราฟความสัมพันธ์ของค่าความยาวกับค่าความชื้น (%d.b.) ของเม็ดลูกเดือย (รูปที่ 4) ที่วัดจากความชื้นละ 100 เม็ด พบว่าความยาวของเม็ดลูกเดือยจะลดลง ซึ้งมีค่าอยู่ระหว่าง 6.540 - 6.208 mm. เมื่อค่าความชื้น (%d.b.) เพิ่มขึ้นจาก 9.6543 - 21.6543 % (d.b.) เขียนเป็นสมการความสัมพันธ์ระหว่างค่าความยาวกับค่าความชื้น (%d.b.) ได้ดังนี้
L = -0.0266X + 6.7076 ( R2= 0.7385 ) ..... (8)
รูปที่4 Effect of moisture content on lengthof Jop's Tears.
3.) ความกว้างของเม็ดลูกเดือย
จากกราฟความสัมพันธ์ระหว่างค่าความกว้างกับค่าความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือย (รูปที่ 5) ที่วัดจากความชื้น (%d.b.) ละ 100 เม็ด พบว่าค่าความกว้างจะเพิ่มมากขึ้นจาก 6.860 - 7.290 mm. เมื่อความชื้น (%d.b.) เพิ่มขึ้นจาก 9.6543 - 21.6543 % (d.b.) ซึ้งมีแนวโน้มของกราฟเหมือนกับ I. Yal et al. (2007) for pea seed. , Mustafa (2007) for barbunia bean seed. , Pradhana et al. (2009) for jatropha fruit. , Dursun (2007) for caper seed. , Onder Kabas et al. (2005) for cactus pear. และสมารถเขียนสมการความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองค่าได้ ดังนี้
W = 0.0321X + 6.5662 (R2 = 0.9881 ) ..... (9)
รูปที่5 Effect of moisture content on width of Jop's Tears
4.) ความหนา
จากกราฟความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนากับค่าความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือย (รูปที่ 6) ที่วัดจากความชื้น (%d.b.) ละ 100 เม็ด พบว่าค่าความหนาจะเพิ่มมากขึ้นจาก 4.660 - 5.110 mm. เมื่อความชื้น (%d.b.) เพิ่มขึ้นจาก 9.6543 - 21.6543 % (d.b.) .) ซึ้งมีแนวโน้มของกราฟเหมือนกับ I. Yalc et al. (2007) for pea seed. , Mustafa . (2007) for barbunia bean seed. , Pradhana et al. (2009) for jatropha fruit. , Dursun (2007) for caper seed. , Onder Kabas et al. (2005) for cactus pear. และสมารถเขียนสมการความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนากับค่าความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือย ได้ดังนี้
T = 0.0418X + 4.2461 (R2 = 0.9369 ) ..... (10)
รูปที่6 Effect of moisture content on thickness of Jop's Tears.
5.) เส้นผ่านศูนย์กลางเม็ดลูกเดือย
จากกราฟความสัมพันธ์ระหว่างค่าเส้นผ่านศูนย์กลางกับค่าความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือย (รูปที่ 7) ที่วัดจากความชื้น (%d.b.) ละ 100 เม็ด พบว่าค่าเส้นผ่านศูนย์กลางจะเพิ่มมากขึ้นจาก 5.820 - 6.124 mm. เมื่อความชื้น (%d.b.) เพิ่มขึ้นจาก 9.6543 - 21.6543 % (d.b.) ซึ้งแสดงเป็นกราฟเชิงเส้นแบบเพิ่มขึ้น และสมารถเขียนสมการความสัมพันธ์ระหว่างค่าเส้นผ่านศูนย์กลางกับค่าความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือย ได้ดังนี้ Dg= 0.0256X + 5.5904 (R2 = 0.9545 ) ..... (11)
รูปที่7 Effect of moisture content on Geometric mean diameter.
6.) น้ำหนักมวล 1,000 เม็ด ของลูกเดือย
จากราฟความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนัก 1,000 เม็ด กับค่าความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือย (รูปที่ 8) พบว่า น้ำหนัก 1,000 เม็ด จะเพิ่มขึ้นจาก 117.410 - 138.747 g. ซึ้งสัมพันธ์กับความชื้น (%d.b.) ที่เพิ่มขึ้นจาก 9.65443 - 21.6543 % (d.b.) โดยมีแนวโน้มของกราฟเหมือนกับ เหมือนกับ I. Yalc et al. (2007) for pea seed. , Mustafa (2007) for barbunia bean seed. , Pradhana et al. (2009) for jatropha fruit. , Dursun (2007) for caper seed. , Onder Kabas et al. (2005) for cactus pear. ซึ้งเขียนสมการความสัมพันธ์ได้ ดังนี้ M1000 = 1.8487X + 98.883 (R2= 0.9896 ) ..... (13)
รูปที่8 Effect of moisture content on 1000 seed mass.
7.) ค่าความเป็นทรงกลมของเม็ดลูกเดือย
จากกราฟความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเป็นทรงกลมกับค่าความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือย (รูปที่ 9) ที่วัดจากความชื้น (%d.b.) ละ 100 เม็ด พบว่าค่าความเป็นทรงกลมจะเพิ่มมากขึ้นจาก 92.60 - 98.80 % ซึ้งสัมพันธ์กับ ค่าความชื้น (%d.b.) ที่เพิ่มขึ้นจาก 9.6543 - 21.6543 % (d.b.) ซึ้งแสดงเป็นกราฟเชิงเส้นแบบเพิ่มขึ้นที่เหมือนกับแนวโน้มของ เหมือนกับ I. Yalc et al. (2007) for pea seed. , Mustafa (2007) for barbunia bean seed. , Dursun (2007) for caper seed. , Onder Kabas et al. (2005) for cactus pear. สามารถเขียนสมการความ สัมพันธ์ระหว่างค่าความเป็นทรงกลมกับค่าความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือย ได้ดังนี้ ค่าความเป็นทรงกลม = 0.5487X + 87.527 (R2 = 0.9623 ) ..... (12)
รูปที่9 Effect of moisture content on sphericity.
8.) พื้นที่ภาพฉายของเม็ดลูกเดือย
ลูกเดือยมีคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบถึง 70.65% จึงสามารถดูดซับน้ำแล้วทำให้เกิดการพองตัวขึ้นซึ้งส่งผลต่อพื้นที่ภาพฉายของเม็ดลูกเดือยจากกราฟความสัมพันธ์ระหว่างค่าของพื้นที่ภาพฉายกับค่าความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือย (รูปที่ 10) ที่หาได้จากความชื้น (%d.b.) ละ 50 เม็ด พบว่าค่าของพื้นที่ภาพฉายจะเพิ่มมากขึ้นจาก 31.935 - 44.519 mm2 ซึ้งสัมพันธ์กับค่าความชื้น (%d.b.) ที่เพิ่มขึ้นจาก 9.6543 - 21.6543 % (d.b.) ซึ้งแสดงเป็นกราฟเชิงเส้นแบบเพิ่มขึ้น และซึ้งมีแนวโน้มของ เหมือนกับ I. Yalc et al. (2007) for pea seed. , Mustafa (2007) for barbunia bean seed. , Dursun (2007) for caper seed. , Onder Kabas et al. (2005) for cactus pear. สมารถเขียนสมการความสัมพันธ์ระหว่างค่าของพื้นที่ภาพฉายกับค่าความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือย ได้ดังนี้ Ap = 1.1256X + 21.282 (R2 = 0.9665 ) ..... (14)
รูปที่10 Effect of moisture content on projected area.
9.) ความหนาแน่นรวม
ความหนาแน่นรวมสามารถนำมาเป็นข้อมูลในการออกแบบถังเก็บ (ไซโล) เนื่องจากการเก็บในถังสามารถใช้ความสัมพันธ์ของความหนาแน่นรวมจากกราฟความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงปริมาตรกับค่าความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือย (รูปที่ 11) พบว่าค่าของความหนาแน่นเชิงปริมาตรจะลดลงจาก 0.806 - 0.719 kg.m-3 เมื่อค่าความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือย เพิ่มขึ้น จาก 9.6543 - 21.6543 % (d.b.) ซึ้งแนวโน้มของกราฟความหนาแน่นรวมกับค่าความชื้นเหมือนกับกราฟของ I. Yalc et al. (2007) for pea seed. , Dursun (2007) for caper seed. ซึ้งสมารถเขียนสมการความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงปริมาตรกับค่าความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือย ได้ดังนี้ Pb = -0.007X + 0.8649 (R2 = 0.9224 ) ..... (15)
รูปที่11 Effect of moisture content on Bulk Density.
10.) ความหนาแน่นเนื้อจริง
จากกราฟความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเนื้อกับค่าความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือย (รูปที่ 12) พบว่าค่าของความหนาแน่นเนื้อจะลดลงจาก 1.389 - 1.150 kg.m-3 เมื่อค่าความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือย เพิ่มมากขึ้นจาก 9.6543 - 21.6543 % (d.b.) ซึ้งมีแนวโน้มของกราฟเหมือนกับเหมือนกับ I. Yalc et al. (2007) for pea seed. , Mustafa Cetin (2007) for barbunia bean seed. , Dursun (2007) for caper seed. , Onder Kabas et al. (2005) for cactus pear. สมารถเขียนสมการความ สัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเนื้อกับค่าความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือย ได้ดังนี้
Pt = -0.0198X + 1.5602 (R2 = 0.965 ) ..... (16)
รูปที่12 Effect of moisture content on true density.
11.) ปริมาตรต่อ 1 เม็ด ของเม็ดลูกเดือย
ลูกเดือยมีส่วนประกอบเป็นคาร์โบไฮเดรตถึง 70.65% ซึ้งเป็นแป้ง เมื่อเป้งโดนน้ำจะจับตัวกับน้ำทำให้มีน้ำเข้ามาเป็นส่วนประกอบของเม็ดลูกเดือย จึงทำให้มีปริมาตรต่อ 1 เม็ดเพิ่มขึ้น จากกราฟความสัมพันธ์ระหว่างปริมารต่อ 1 เม็ด กับค่าความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือย (รูปที่ 13) พบว่าค่าปริมาตรต่อ 1 เม็ด จะเพิ่มมากขึ้นจาก 0.083 - 0.139 ml. เมื่อความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือยเพิ่มขึ้น จาก 9.6543 - 21.6543 % (d.b.) ซึ้งแสดงเป็นกราฟเชิงเส้นแบบเพิ่มขึ้น ซึ้งมีแนวโน้มของกราฟเหมือนกับเหมือนกับ I. Yalc et al. (2007) for pea seed. , Dursun (2007) for caper seed. , Onder Kabas et al. (2005) for cactus pear. และสมารถเขียนสมการความสัมพันธ์ ระหว่างค่าปริมาตรต่อ 1 เม็ด กับค่าความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือย ได้ดังนี้ V= 0.005X + 0.0361 (R2 = 0.9725 ) ...... (17)
รูปที่13 Effect of moisture content on volume a seed.
12.) ความพรุนของเม็ดลูกเดือย
ค่าความพรุนของลูกเดือยมีผลต่อการการแปรรูป เนื่องจากความพรุน คือ ช่องว่างอากาศในเนื้อเม็ด ซึ้งมีผลต่อการถ่ายเทความร้อนในกระบวนการแปรรูป และจากการทดลองได้ว่าเมื่อความชื้นเพิ่มมากขึ้น ความพรุนของลูกเดือยมีค่าลดลง ซึ้งมีความสัมพันธ์เหมือนกับ Pradhana et al. (2009) for jatropha fruit. , Dursun (2007) for caper seed.
จากกราฟความสัมพันธ์ระหว่างค่าความพรุนกับ ค่าความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือย (รูปที่ 14) พบว่าค่าความพรุน ลดลงน้อยลงจาก 41.995 - 37.364 % เมื่อความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือยเพิ่มขึ้นจาก 9.6543 - 21.6543 % (d.b.) ซึ้งแสดงเป็นกราฟเชิงเส้นแบบเพิ่มขึ้น และ สามารถเขียนสมการความสัมพันธ์ ระหว่างค่าความพรุน กับค่าความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือย ได้ดังนี้ Pf = -0.4015X + 45.743 (R2 = 0.9577 ) ..... (18)
รูปที่14 Effect of moisture content on porosity.
13.) ความเร็วสุดท้าย
ความเร็วสุดท้ายสามารถนำมาเป็นข้อมูลในการออกแบบความเร็วลมเพื่อใช้ในการขนส่งลูกเดือยตามท่อ หรืออาจใช้ความเร็วลมในการคัดแยกลูกเดือยที่มีความชื้นแตกต่างกัน จาการที่ลูกเดือยมีความชื้นเพิ่มมากขึ้นลูกเดือยจะมีค่าความพรุนลดน้อยลง และน้ำหนักต่อ 1 เม็ดจะเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ค่าความเร็วลมสุดท้ายเพิ่มมากขึ้น ผลจากการทดลองสำหรับความเร็วสุดท้ายของลูกเดือยความชื้นละ 10 เม็ด ที่ระดับความชื้นต่าง ๆ พบว่าความเร็วลมลอยตัวจะมีค่าเพิ่มมากขึ้นจาก 10.35 - 12.63 m.s-1เมื่อความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือยเพิ่มขึ้นจาก 9.6543 - 21.6543 % (d.b.) ซึ้งแสดงเป็นกราฟเชิงเส้น (รูปที่ 15) แบบเพิ่มขึ้นซึ้งมีแนวโน้มเหมือนกับ I. Yalc et al. (2007) for pea seed. , Mustafa (2007) for barbunia bean seed. , Dursun (2007) for caper seed. , Onder Kabas et al. (2005) for cactus pear.และสมารถเขียนสมการความสัมพันธ์ ระหว่างค่าความเร็วลมลอยตัว กับค่าความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือย ได้ดังนี้
Vt = 0.188X + 8.621 (R2 = 0.9928 ) ..... (19)
รูปที่15 Effect of moisture content on terminal velocity.
14.) สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิต
จากผลการทดลอง สรุปได้ว่ามุมตกอย่างอิสระสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตที่พื้นผิววัสดุ 3 ชนิด คือ พื้นไม้ พื้นอะลูมิเนียม พื้นยาง พบว่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตจะลดลง เมื่อความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือยเพิ่มขึ้น (รูปที่ 16) จาก 9.6543 - 21.6543 % (d.b.) ซึ้งสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตที่พื้นผิววัสดุคือพื้นไม้ จะมีค่าลดลงจาก 23.90 - 21.60 องศา สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตที่พื้นผิววัสดุคือพื้นอะลูมิเนียม จะมีค่าลดลงจาก 27.10 - 20.40 องศา สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตที่พื้นผิววัสดุคือพื้นยางจะมีค่าลดลงจาก 28.00 - 22.00 องศา ซึ้งเกิดจากความสัมพันธ์ของค่าความเป็นทรงกลมที่เพิ่มขึ้น กล่าวได้ว่าเมื่อค่าความเป็นทรงกลมเพิ่มมากขึ้นสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตจะมีค่าลดลง ซึ้งที่แนวโน้มของกราฟเหมือนกับ Onder Kabas et al. (2005) for cactus pear. และสมารถเขียนสมกาความสัมพันธ์ระหว่างสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตที่พื้นผิววัสดุ 3 ชนิด กับความชื้น (%d.b.) ของลูกเดือย ได้ดังนี้
รูปที่16 Effect of moisture content on static coefficient of friction.
สรุปผลการทดลอง
จากผลการทดลองความชื้นต่อคุณสมบัติทางกายภาพของลูกเดือย กล่าวได้ว่า ค่าความกว้าง ความยาว ความหนา จะมีความสัมพันธ์กับค่าเส้นผ่านศูนย์กลางและค่าความเป็นทรงกลม ค่าความเป็นทรงกลมมากจะทำให้มุมตกอย่างอิสระลดลง เมื่อความชื้นเพิ่มมากขึ้นจะส่งผลให้ค่า น้ำหนักของเม็ดลูกเดือย ค่าความเร็วลมลอยตัว พื้นที่ภาพฉาย และปริมาตรต่อ 1 เม็ดของลูกเดือยจะเพิ่มมากขึ้น ค่าความหนาแน่นเชิงปริมาตรกับค่าความหนาแน่นเนื้อจะมีผลกับค่าความพรุนของเม็ดลูกเดือย
ผลการทดลองนี้อาจมีผลความคลาดเคลื่อนเนื่องจากในการทำการทดลองได้เปิดถุงที่ใส่เม็ดลูกเดือยที่ผ่านการปรับความชื้นไว้ ซึ้งอาจทำให้ค่าความชื้นในขณะ นั้นเปลี่ยน ส่งผลให้ผลการทดลองเกิดความคลาดเคลื่อนได้ เอกสารอ้างอิง
IYalcım . (2007) . Physical properties of cowpea seed (Vigna sinensis L.) . Journal of Food Engineering. Pages (1405-1409)
I. Yalc,ın , C. O zarslan, T. Akbas. (2007) .Physical properties of pea (Pisum sativum) seed. Journal of Food Engineering. Pages (731 - 735)
Mustafa Cetin. (2007) . Physical properties of barbunia bean (Phaseolus vulgaris L. cv. 'Barbunia') seed. Journal of Food Engineering. Pages (353 - 358)
E. Dursun; I. Dursun. (2007) . Some Physical Properties of Caper Seed. Journal of Food Engineering. Pages (1426 - 1431)
R.C. Pradhana, S.N. Naika,, N. Bhatnagarb, V.K. Vijaya. (2009) .Moisture - dependent physicalof jatropha fruit. industrial crops and product 29 .Pages (341-347)
Onder Kabas, Aziz Ozmerzi, Ibrahim Akinci. (2005) . Physical properties of cactus pear (Opuntia ficus india L.) grown wild in Turkey. Journal of Food Engineering .Pages (1405-1409) [ออนไลน์].ปรากฎ : http://www. Sciencecedirect.com/science/article/pii/S0260877405000592 [ออนไลน์].ปรากฎ : http://th.wikipedia.org/wiki/ลูกเดือย
[ออนไลน์].ปรากฎ : http://www.n3k.in.th/สมุนไพร/ประโยชน์ลูกเดือย
[ออนไลน์].ปรากฎ : http://www.asoke. info/09Communication/ DharmaPublicize/Sanasoke/sa251/39.html
[ออนไลน์].ปรากฎ : http://campus.sanook.com/ลูกเดือยเม็ดเล็กแต่ประโยชน์ไม่เล็ก
นางสาวจรัสพรรณ ตัณหยง.2544.การพัฒนาผลิตภัณฑ์โจ๊กข้าวกล้องกึ่งสำเร็จรูป. ปริญญาวิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต (พัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร) สาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์