ผลของความชื้นต่อคุณสมบัติทางกายภาพของเมล็ดมะรุม ส่วนทั้งเมล็ดและเมล็ดใน (Effect of moisture content on some physical properties of Moringa seed and kernel) สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรณ์อัฐชญา วีณุตตรานนท์ มาริสา คงเอื้อสิริกุล รุ่งนภา กองทุ่งมน วสันต์ อินทร์ตา บทคัดย่อ การศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของเมล็ดมะรุม เป็นการศึกษาคุณลักษณะของเมล็ดส่วนทั้งเมล็ด และ เมล็ดใน เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การใช้งานเพื่อการขนส่ง การเก็บเกี่ยวที่ดี และบรรจุหีบห่อ ซึ่งได้พิจารณาจากปริมาณความชื้นฐานเปียกที่เมล็ดมะรุมได้รับ มีการกำหนดความหลากหลายของความชื้นทั้งหมด 5 ระดับ ในส่วนทั้งเมล็ด ตั้งแต่ 8.32-20.32 %wb. และในส่วนเมล็ดใน ตั้งแต่ 6.58 - 18.58 %wb. โดยคุณสมบัติที่ได้ทำการศึกษากับช่วงระยะความชื้นนั้น ได้แก่ ค่าเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเรขาคณิต, ความเป็นทรงกลม, มวล 100 เมล็ด, พื้นที่ภาพฉาย, ความหนาแน่นรวม, ความหนาแน่นเนื้อ, ความพรุน, ปริมาตรต่อหนึ่งเมล็ด, ความเร็วสุดท้าย และสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิต ซึ่งในส่วนทั้งเมล็ดมีค่า 1.2391 - 1.2690 เซนติเมตร, 0.8947-0.9267 %, 24.23-27.71 กรัม, 1.6030-1.4571 ตารางเซนติเมตร, 0.1969-0.1654 กรัมต่อมิลลิลิตร, 3.7638 - 2.6763 กรัมต่อมิลลิลิตร, 94.7695-93.8211 %, 0.0810-0.0868 ลูกบาศก์เซนติเมตร, 9.78-12.67 เมตรต่อวินาที ตามลำดับ และสัมประสิทธิ์ความเสียดทานที่แผ่นอะลูมิเนียม แผ่นไม้อัด และแผ่นยาง มีค่า 0.4796-0.4956, 0.6126-0.6336, 0.8492-0.8929 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่ากราฟจะเป็นแบบเชิงเส้น ค่าแรงเสียดทานจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ และในส่วนเมล็ดใน มีค่า 0.7390-0.7482 เซนติเมตร, 0.9425-0.9520 %, 18.23-20.55 กรัม, 0.5720-0.5298 ตารางเซนติเมตร, 0.4796-0.4631 กรัมต่อมิลลิลิตร, 5.8278- 3.2182 กรัมต่อมิลลิลิตร, 91.7699-85.6089 %, 0.0318-0.0381 ลูกบาศก์เซนติเมตร, 10.30-11.53 เมตรต่อวินาที ตามลำดับ และสัมประสิทธิ์ความเสียดทานที่แผ่นอะลูมิเนียม แผ่นไม้อัด และแผ่นยาง มีค่า 0.3019-0.3246, 0.3822-0.4119, 0.4835-0.5669 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่ากราฟจะเป็นแบบเชิงเส้น ค่าแรงเสียดทานจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ จากศึกษาเมล็ดมะรุมจะเห็นได้ว่า กราฟความสัมพันธ์ที่ได้จะเป็นแบบเส้นตรง ลักษณะกราฟเพิ่ม ยกเว้น พื้นที่ภาพฉาย ความหนาแน่นรวม ความหนาแน่นเนื้อ และ ความพรุน จะมีลักษณะกราฟเป็นกราฟลดทั้งส่วนทั้งเมล็ดและเมล็ดใน 1. บทนำ มะรุม มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera จัดอยู่ในตระกูล Moringaceae มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชีย แต่พบได้โดยทั่วไปในแอฟริกา และเขตร้อนของทวีปอเมริกา เป็นไม้ผลัดใบ ขึ้นได้ในทุกภูมิประเทศ สำหรับประเทศไทย มะรุมพื้นเมืองที่ปลูกโดยทั่วไปเป็นพวก M.oleifera ซึ่งมีสายพันธุ์จากอินเดียแถบเทือกเขาหิมาลัย จากการศึกษาโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน พบว่า มะรุมเป็นพืชที่มีสารจำพวก Polyelectrolyte อยู่ในเมล็ด มีคุณสมบัติในการช่วยตกตะกอน และในแถบทวีปแอฟริกา เช่น ซูดาน ใช้เมล็ดมะรุมกำจัดความขุ่นในน้ำ ซึ่งมีผลที่น่าพอใจ (ภิญญ์ฑิตา ,2531) ในข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในระดับเซลล์และสัตว์ทดลอง พบว่า สารสกัดน้ำมันจากเมล็ดมะรุมสามารถต้านและกำจัดอนุมูลอิสระได้ และ สารสกัดน้ำมันจากเมล็ด ที่เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้กับตา พบว่าใช้ได้ดีในหนูทดลอง ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่มีสาเหตุจาก Staphylococcus aureus (http://www.medplant.mahidol.ac.th/document/moringa.asp) เมล็ดมะรุม สามารถสกัดเป็นน้ำมันได้ น้ำมันเมล็ดมะรุม ประกอบไปด้วย Sterol ได้แก่ campesterol, stigmasterol , b-sitosterol , D5-avenasterol , clerosterol , 24-methylenecholesterol , D7-campestanol,stigmastanol และ 28-isoavenasterol นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยกรดไขมันเช่น Oleic oils (C18:1, 67.90%-76.00%) , C16:0 (6.04%-7.80%) , C18:0 (4.14%-7.60) , C20:0 (2.76%-4.00%) และ C22:0 (5.00%-6.73) ซึ่งเป็นกรดไขมันอิ่มตัวต่ำ และกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง โดยทั้งหมดมีปริมาณน้ำมันสะสมอยู่ 26% ปริมาณฟอสโฟลิปิดต่ำร้อยละ 0.17 น้ำมันที่สกัดได้มีสีเหลืองค่อนข้างใส ไม่พบกรดไซโคลโพรพีน ซึ่งเป็นพิษในน้ำมันเมล็ดมะรุม ปริมาณทองแดงและตะกั่วที่เกินมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม คาดว่าจะสามารถกำจัดโลหะหนักเหล่านี้ได้ด้วยกระบวนการรีฟายน์ มีแนวโน้มที่จะใช้ผลิตน้ำมันบริโภคและสามารถนำมาทดแทนน้ำมันมะกอกในอุตสาหกรรมเคมีได้ (จันทนา,2539) วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของเมล็ดมะรุม เป็นการศึกษาคุณลักษณะของเมล็ดได้แก่ ค่าเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเชิงเรขาคณิต ความเป็นทรงกลม มวล 100 เมล็ด พื้นที่ภาพฉาย ความหนาแน่นรวม ความหนาแน่นเนื้อ ความพรุน ปริมาตรต่อหนึ่งเมล็ด ความเร็วสุดท้าย และ สัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตเพื่อใช้ประโยชน์จากเมล็ด เช่น การใช้งานเพื่อการขนส่ง การบรรจุหีบห่อ การออกแบบเครื่องจักรในการผลิตผลิตภัณฑ์จากเมล็ด ซึ่งมีประโยชน์ในการใช้งานในอุตสาหกรรม 2. วัสดุและวิธีการทดลอง 2.1 วัสดุ เมล็ดมะรุมที่ใช้ในการทดลอง จากร้านสมุนไพรออนไลน์ 196/1 ม. 8 ต.นิคมสร้างตนเอง อ.เมืองฯ จ.ลพบุรี 15000 บรรจุในถุงปิดผนึกเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง นำเมล็ดมะรุมมาทำความสะอาด โดยการคัดแยกสิ่งแปลกปลอม และเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ออกจากกลุ่มตัวอย่างเมล็ดที่จะใช้ศึกษา แบ่งกลุ่มการศึกษาเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. ทั้งเมล็ด (รวมเปลือก) 2. เมล็ดใน (แกะเปลือก) โดยตลอดขั้นตอนการทดลอง จะเรียกโดยรวมว่า เมล็ดมะรุม รูปที่1 แสดงลักษณะรูปร่างของเมล็ดมะรุม ก. แสดงลักษณะของทั้งเมล็ด ข. แสดงลักษณะของเมล็ดใน 2.2 วิธีการ นำเมล็ดตัวอย่างหาค่าความชื้นเริ่มต้น โดยการนำเมล็ดใส่กระทงชั่งน้ำหนักกระทงด้วยเครื่องชั่งดิจิตอล ความละเอียด 4 ตำแหน่ง เติมเมล็ดตัวอย่างประมาณ 5 กรัม บันทึกน้ำหนักกระทงและน้ำหนักเนื้อเมล็ดตัวอย่างไว้ นำเมล็ดตัวอย่างอบในตู้ควบคุมอุณหภูมิ โดยใช้อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส อบเป็นเวลา 3 ชั่วโมง แล้วจึงชั่งน้ำหนักตัวอย่างหลังอบ หาความชื้นเริ่มต้นจากสมการ ปรับความชื้น โดยการนำค่าความชื้นที่ได้ มาหาปริมาณน้ำที่จะใส่เพิ่ม เพื่อให้ได้ความชื้นที่ต้องการ โดยการคำนวณจาก ความชื้นที่ต้องการปรับมีค่าที่เพิ่มขึ้นจากความชื้นเริ่มต้นครั้งละ 3% จำนวน 4 ความชื้น นำเมล็ดตัวอย่างใส่ถุงพลาสติกจำนวน 3 ถุง ต่อ 1 ระดับความชื้น ถุงละ 100 เมล็ด แล้วนำปริมาณน้ำที่ได้จากการคำนวณเติมลงไปในเมล็ดตัวอย่างทั้ง 4 ความชื้น ซึ่งแต่ละระดับความชื้นจะมีปริมาณน้ำที่ไม่เท่ากัน ตามความชื้นที่คำนวณได้ นำถุงเมล็ดตัวอย่างที่เติมน้ำเรียบร้อยแล้วปิดผนึกปากถุง ไม่ให้อากาศออกหรือเข้าได้ แล้วนำไปเก็บไว้ในตู้เย็น ที่อุณหภูมิ 5 อาศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ซึ่งในระหว่างนั้นให้เขย่าถุงทุกๆ 2 วัน เพื่อการกระจายตัวของน้ำเป็นไปอย่างทั่วถึง 2.2.1 คุณสมบัติทางกายภาพ 1) ขนาด (size) คัดเลือกเมล็ดมะรุมที่มีความสมบูรณ์จำนวน 100 เมล็ดของแต่ละความชื้น นำเมล็ดทั้งหมดมาวัดขนาดทั้งความยาว ความกว้าง และความหนา ของแต่ละเมล็ด ในการวัดครั้งนี้ใช้เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ซึ่งมีค่า Least count ที่ 0.05 เซนติเมตร แล้วนำค่าที่ได้ทั้งหมดมาหาค่าเฉลี่ย นำค่าความกว้าง ความยาว และ ความหนาของเมล็ดคำนวณหาเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเชิงเรขาคณิต (GMD) ของเมล็ดข้าวโพดได้โดยการคำนวณที่ใช้ความสัมพันธ์ต่อไปนี้ และหาความเป็นทรงกลม โดยใช้ความสัมพันธ์จาก 2) น้ำหนัก 100 เมล็ด (100 seed mass) ชั่งน้ำหนักเมล็ดตัวอย่าง โดยนำเมล็ดตัวอย่างที่ความชื้นต่างๆ ทั้ง 5 ความชื้น โดยความชื้นเริ่มต้นนั้นต้องนำตัวอย่างวางไว้ให้มีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้อง และนำตัวอย่างความชื้นๆละ 100เมล็ด นำมาชั่งน้ำหนัก โดยการใช้เครื่องชั่ง 2 ตำแหน่ง ที่มีค่าความละเอียดอยู่ที่ 0.01 กรัม 3) พื้นที่ภาพฉาย (projected area) คัดเลือกเมล็ดมะรุมที่มีความสมบูรณ์ จำนวน 50 เมล็ด ของแต่ละความชื้น นำเมล็ดทั้งหมดมาจัดวางเพื่อถ่ายภาพ โดยกล้องโทรศัพท์มือถือ Galaxy S Samsung ความละเอียด 5 ล้านพิกเซลจากมุมสูง ใช้โปรแกรม PhotoshopCS3 เพื่อหาพื้นที่ (ตารางเซนติเมตร) ของเมล็ดมะรุม 1 เมล็ด แล้วนำค่าที่ได้ทั้งหมดมาหาค่าเฉลี่ย 4) ความหนาแน่นรวม (Bulk Density) ความหนาแน่นรวม (Bulk density) ของเมล็ดมะรุม หาได้โดยบรรจุเมล็ดในกระบอกตวงที่ทราบปริมาตรแน่นอน โดยปล่อยให้หล่นจากปากกรวย มาถึงปากกระบอกตวง ความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ปาดปากกระบอกตวงให้เรียบ แล้วนำไปชั่งน้ำหนัก หาความหนาแน่นรวมจาก 5) ความหนาแน่นเนื้อ (True Density) และปริมาตรต่อหนึ่งเมล็ด (Volume per seed) ความหนาแน่นจริง (True Density) เป็นสัดส่วนของจำนวนโมเลกุลของสารนั้น ในหนึ่งหน่วยปริมาตร ทำการหาทุกระดับความชื้น สำหรับส่วนเมล็ดใน ใช้วิธีการแทนที่ของเหลวในขวด Pycnometer ซึ่งเป็นขวดที่ทราบปริมาตรแน่นอน วิธีการคือ ชั่งน้ำหนักขวดเปล่า จึงหาค่าความหนาแน่นของของเหลว โดยการเติมของเหลวจนเต็มขวดชั่งน้ำหนักของเหลว โดยของเหลวที่ใช้คือเฮกเซน (Hexane) มีค่าความหนาแน่นเท่ากับ 0.6548 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่เมล็ดมะรุมประมาณ 1 ใน 3 ของขนาดขวด แล้วชั่งน้ำหนักพร้อมขวด จากนั้นก็เติมเฮกเซนลงไปจนเต็มขวด นำไปชั่งน้ำหนัก ซึ่งปริมาตรเมล็ด คือ ปริมาตรของของเหลวที่ถูกแทนที่ด้วยเมล็ด ซึ่งคำนวณความหนาแน่นจริงได้จากสูตร ปริมาตรต่อหนึ่งเมล็ดสำหรับเมล็ดใน สำหรับส่วนทั้งเมล็ด ใช้การสมบัติเรื่องแรงลอยตัวของวัตถุบนของเหลว โดยการจุ่มเมล็ดในของเหลว โดยใช้เฮกเซน เหมือนวิธีแทนที่ของเหลวในขวด Pycnometer แต่ทำการวัดแรงได้จากการชั่งน้ำหนักของเหลวทั้งก่อนจุ่มเมล็ด และขณะจุ่มเมล็ด จะได้ซึ่งคำนวณความหนาแน่นจริงได้จากสูตรเดียวกับวิธีแทนที่ของเหลว และคำนวณปริมาตรต่อหนึ่งเมล็ดสำหรับทั้งเมล็ด 6) ความพรุน (Porosity) การหาความพรุน เป็นการหาความสัมพันธ์ของความหนาแน่นรวมกับความหนาแน่นจริง โดยใช้ความสัมพันธ์ 7) ความเร็วสุดท้าย (Terminal velocity) คัดเลือกเมล็ดมะรุมที่มีความสมบูรณ์ จำนวน 10 เมล็ด ของแต่ละความชื้น โดยการหาความเร็วสุดท้ายเป็นการวัดความเร็วลมสุดท้าย (จากพัดลม) ที่เมล็ดตัวอย่างจะสามารถลอยอยู่นิ่งที่ปากกระบอกของชุดอุปกรณ์ทดลอง 8) สัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิต (Static friction coefficient) การหาค่าแรงเสียดทาน ของเมล็ดบนพื้นผิวต่างๆ ได้แก่ แผ่นไม้อัด แผ่นอะลูมิเนียม และแผ่นยาง เป็นการวางเมล็ดบนแผ่นพื้นแบบต่างๆ ดังรูปที่ 2 แล้วหาค่ามุมที่ให้เมล็ดตกลงมาบนพื้น โดยการหาได้จากความสัมพันธ์ รูปที่ 2 แสดงการหามุมแรงเสียดทานที่พื้นผิวต่างๆ 3. ผลการทดลอง จากการศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติทางกายภาพของเมล็ดมะรุมที่ระดับความชื้นที่แตกต่างกัน 5 ระดับ 3.1 เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเชิงเรขาคณิต (GMD) รูปที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้น กับ GMD จากกราฟแสดงความสัมพันธ์แสดงให้เห็นว่าเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเชิงเรขาคณิต (GMD) ของเมล็ดมะรุมส่วนทั้งเมล็ดและเมล็ดในจะเพิ่มขึ้นเมื่อเปอร์เซ็นต์ความชื้นเพิ่มขึ้น (แปรผันตรง) เนื่องจาก เมล็ดมะรุมได้รับความชื้น จึงทำให้เมล็ดมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวขึ้น ที่สอดคล้องกับการทดลอง เมล็ด cowpea (Ibrahim Yalcin , 2006) และ เมล็ดกระวาน (Tamirat G., 2012) 3.2 ความเป็นทรงกลม (Sphericity) รูปที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้นกับความเป็นทรงกลม จากกราฟแสดงความสัมพันธ์แสดงให้เห็นว่าความเป็นทรงกลม (Sphericity) ของเมล็ดมะรุมส่วนทั้งเมล็ดและเมล็ดในจะเพิ่มขึ้นเมื่อเปอร์เซ็นต์ความชื้นเพิ่มขึ้น (แปรผันตรง) เนื่องจาก เมล็ดมะรุมได้รับความชื้น จึงทำให้เมล็ดมีรูปร่างที่กลมมากขึ้น ที่สอดคล้องกับการทดลองเมล็ด cowpea (Ibrahim Yalcin , 2006) และเมล็ดกระวาน (Tamirat G., 2012) 3.3 น้ำหนัก 100 เมล็ด (100 seed mass) รูปที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้น กับ น้ำหนัก 100 เมล็ด จากกราฟแสดงความสัมพันธ์แสดงให้เห็นว่าน้ำหนัก 100 เมล็ดของเมล็ดมะรุมส่วนทั้งเมล็ดและเมล็ดในเพิ่มขึ้นเมื่อเปอร์เซ็นต์ความชื้นเพิ่มขึ้น (แปรผันตรง) เนื่องจาก เมล็ดมะรุมได้รับความชื้น จึงทำให้เมล็ดมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ที่สอดคล้องกับการทดลองเมล็ด cowpea (Ibrahim Yalcin , 2006) เมล็ดกระวาน (Tamirat G., 2012) และเมล็ดมะรุม (Aviara N. A. , 2013) 3.4 พื้นที่ภาพฉาย (Projected area) รูปที่ 6 ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้นกับพื้นที่ภาพฉาย จากกราฟแสดงความสัมพันธ์แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ภาพฉาย (Projected area) ของเมล็ดมะรุมส่วนทั้งเมล็ดและเมล็ดในจะเพิ่มขึ้น เมื่อเปอร์เซ็นต์ความชื้นเพิ่มขึ้น (แปรผันตรง) เนื่องจาก เมล็ดมะรุมได้รับความชื้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเชิงเรขาคณิตเพิ่มขึ้น จึงทำให้เมล็ดมีพื้นที่ภาพฉายเพิ่มขึ้นที่สอดคล้องกับการทดลองเมล็ด cowpea (Ibrahim Yalcin , 2006) และ เมล็ดกระวาน (Tamirat G., 2012) 3.5 ความหนาแน่นรวม (Bulk density) รูปที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้นกับความหนาแน่นรวม จากกราฟแสดงความสัมพันธ์แสดงให้เห็นว่าความหนาแน่นรวม (Bulk density) ของเมล็ดมะรุมส่วนทั้งเมล็ดและเมล็ดในจะลดลงเมื่อเปอร์เซ็นต์ความชื้นเพิ่มขึ้น (แปรผกผัน) เนื่องจาก เมล็ดมะรุมได้รับความชื้น ดูดน้ำเข้าไปทำให้ความหนาแน่นรวมของเมล็ดลดลง ที่สอดคล้องกับการทดลองเมล็ด cowpea (Ibrahim Yalcin , 2006) และ เมล็ดกระวาน (Tamirat G., 2012) แต่ไม่สอดคล้องกับเมล็ดมะรุม (Aviara N. A. , 2013) อาจมีสาเหตุมาจากปริมาณน้ำมันที่อยู่ในเมล็ดมะรุม และสถานที่ปลูกมะรุมที่แตกต่างกัน 3.6 ความหนาแน่นเนื้อ (True density) รูปที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้นกับความหนาแน่นเนื้อ จากกราฟแสดงความสัมพันธ์แสดงให้เห็นว่าความหนาแน่นเนื้อ (True density) ของเมล็ดมะรุมส่วนทั้งเมล็ดและเมล็ดในจะลดลงเมื่อเปอร์เซ็นต์ความชื้นเพิ่มขึ้น (แปรผกผัน) เนื่องจาก เมล็ดมะรุมได้รับความชื้น ดูดน้ำเข้าไป ทำให้ความหนาแน่นเนื้อของเมล็ดลดลงที่สอดคล้องกับการทดลองเมล็ด cowpea (Ibrahim Yalcin , 2006) และ เมล็ดกระวาน (Tamirat G., 2012) แต่ไม่สอดคล้องกับเมล็ดมะรุม (Aviara N. A. , 2013) อาจมีสาเหตุมาจากปริมาณน้ำมันที่อยู่ในเมล็ดมะรุม และสถานที่ปลูกมะรุมที่แตกต่างกัน 3.7 ปริมาตรต่อหนึ่งเมล็ด (Volume per seed) รูปที่ 9 ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้นกับปริมาตรต่อ หนึ่งเมล็ด จากกราฟแสดงความสัมพันธ์แสดงให้เห็นว่าปริมาตรต่อหนึ่งเมล็ดของเมล็ดมะรุมส่วนทั้งเมล็ดและเมล็ดในจะเพิ่มขึ้นเมื่อเปอร์เซ็นต์ความชื้นเพิ่มขึ้น (แปรผันตรง) เนื่องจาก เมล็ดมะรุมมีขนาดและน้ำหนักเพิ่มขึ้น จึงทำให้ปริมาตรต่อหนึ่งเมล็ดเพิ่มขึ้น ที่สอดคล้องกับ การทดลองเมล็ด cowpea (Ibrahim Yalcin , 2006) และ เมล็ด caper (Dursun E. , 2005) 3.8 ความพรุน (Porosity) รูปที่ 10 ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้นกับความพรุน จากกราฟแสดงความสัมพันธ์แสดงให้เห็นว่าความพรุน (Porosity) ของเมล็ดมะรุมส่วนทั้งเมล็ดและเมล็ดในจะลดลงเมื่อเปอร์เซ็นต์ความชื้นเพิ่มขึ้น (แปรผกผัน) เนื่องจาก เมล็ดมะรุมได้รับความชื้น ดูดน้ำเข้าไปทำให้ความหนาแน่นเนื้อ และ ความหนาแน่นรวมของเมล็ดลดลง จึงทำให้ ความพรุนลดลง ที่สอดคล้องกับการทดลองเมล็ด cowpea (Ibrahim Yalcin , 2006) และ เมล็ดกระวาน (Tamirat G., 2012) แต่ไม่สอดคล้องกับเมล็ดมะรุม (Aviara N. A. , 2013) อาจมีสาเหตุมาจากปริมาณน้ำมันที่อยู่ในเมล็ดมะรุม และสถานที่ปลูกมะรุมที่แตกต่างกัน 3.9 ความเร็วสุดท้าย (Terminal velocity) รูปที่ 11 ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้นกับความเร็วสุดท้าย จากกราฟแสดงความสัมพันธ์แสดงให้เห็นว่าความเร็วสุดท้าย (Terminal velocity) ของเมล็ดมะรุมส่วนทั้งเมล็ดและเมล็ดในจะเพิ่มขึ้น เมื่อเปอร์เซ็นต์ความชื้นเพิ่มขึ้น (แปรผันตรง) เนื่องจาก เมล็ดมะรุมดูดน้ำเข้าไป น้ำหนักเมล็ดเพิ่มขึ้น ทำให้ความเร็วสุดท้ายของเมล็ดเพิ่มขึ้น ที่สอดคล้องกับการทดลองเมล็ด cowpea (Ibrahim Yalcin , 2006) และ เมล็ด caper (Dursun E. , 2005) 3.10 สัมประสิทธิ์ความเสียดทาน (Static coefficient friction) รูปที่ 12 ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้นกับสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิต (ส่วนทั้งเมล็ด) รูปที่ 13 ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้นกับสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิต (ส่วนเมล็ดใน) จากกราฟแสดงความสัมพันธ์แสดงให้เห็นว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน (Static coefficient friction) ของเมล็ดมะรุมส่วนทั้งเมล็ดและเมล็ดในจะเพิ่มขึ้นเมื่อเปอร์เซ็นต์ความชื้นเพิ่มขึ้น (แปรผันตรง) เนื่องจากเมล็ดมะรุมมีขนาดและน้ำหนักเพิ่มขึ้น จึงทำให้สัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตเพิ่มขึ้น ที่สอดคล้องกับการทดลองเมล็ด cowpea (Ibrahim Yalcin , 2006) เมล็ดกระวาน (Tamirat G., 2012) และ เมล็ดมะรุม (Aviara N. A. , 2013) 4. สรุปผลการทดลอง 4.1 เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเชิงเรขาคณิต ความเป็นทรงกลม และ พื้นที่ภาพฉายของเมล็ดมะรุม มีความสัมพันธ์แบบ เป็นเส้นตรงที่เพิ่มขึ้นกับค่าความชื้นที่เพิ่มขึ้น โดย ส่วนทั้งเมล็ด มีการเพิ่มขึ้นที่มากกว่า ส่วนเมล็ดใน 4.2 มวล 100 เมล็ด และ ปริมาตร ของเมล็ดมะรุมมีความสัมพันธ์แบบเป็นเส้นตรงที่เพิ่มขึ้น กับค่าความชื้นที่เพิ่มขึ้น โดยส่วนทั้งเมล็ดมีการเพิ่มขึ้นที่มากกว่าส่วนเมล็ดใน 4.3 ความหนาแน่นรวม ความหนาแน่นเนื้อ และความพรุน มีความสัมพันธ์แบบเป็นเส้นตรงที่ลดลงกับค่าความชื้นที่เพิ่มขึ้น โดยส่วนทั้งเมล็ดมีการลดลงที่มากกว่าส่วนเมล็ดใน 4.4 ความเร็วสุดท้าย มีความสัมพันธ์แบบเส้นตรงที่เพิ่มขึ้น กับค่าความชื้นที่เพิ่มขึ้น โดย ส่วนทั้งเมล็ด มีการเพิ่มขึ้นที่มากกว่า ส่วนเมล็ดใน 4.5 สัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิต มีความสัมพันธ์แบบเป็นเส้นตรงที่เพิ่มขึ้น กับค่าความชื้นที่เพิ่มขึ้น ในทุกพื้นผิว โดยเรียงลำดับสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตจากมากไปน้อย ทั้งในส่วนทั้งเมล็ด และเมล็ดในได้เป็น ยาง ไม้ และอลูมิเนียม ตามลาดับ โดย - พื้นผิว ยาง และ อลูมิเนียม ส่วนทั้งเมล็ด มีการเพิ่มขึ้นที่มากกว่า ส่วนเมล็ดใน - พื้นผิว ไม้ ส่วนเมล็ดใน มีการเพิ่มขึ้นที่มากกว่า ส่วนทั้งเมล็ด อ้างอิง จันทนา ก่อนเก่า. (2539) . การพัฒนาน้ำมันพืชชนิดใหม่เพื่ออุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. บริษัท สเปเชียลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด (ออนไลน์) . สารสกัดเมล็ดมะรุม. วันที่สืบค้นข้อมูล 9 สิงหาคม 2555. เวปไซต์: http://www.snpthai.com/th/product/สารสกัดเมล็ดมะรุม ภิญญ์ทิตา มุ่งการดี. (2531) . การกำจัดความขุ่นของน้ำโดยใช้เมล็ดมะรุม. วิศวกรรมสาร มข. ปีที่ 15, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2531) , หน้า 39-43. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (ออนไลน์) . มะรุม. วันที่สืบค้นข้อมูล 9 สิงหาคม 2555. เวปไซต์: http://th.wikipedia.org/wiki/มะรุม สำนักงานข้อมูลสมุนไพร (ออนไลน์) . มะรุมพืชที่ทุกคนอยากรู้. วันที่สืบค้นข้อมูล 9 สิงหาคม 2555. จาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เวปไซต์: http://www.medplant.mahidol.ac.th/document/moringa.asp Aviara N. A. (2013) . Moisture-dependent physical properties of Moringa oleifera seed relevant in bulk handling and mechanical processing. Industrial Crops and Products, volume 42, page 96-104. Maiduguri, Nigeria. Dursun E. (2005) . Some Physical Properties of Caper Seed. Biosystems Engineering , Volume 92, (2) , page 237-245. Ankara, Turkey. Gupta R.K., Das S.K. (1997) . Physical properties of sunflower seeds. Journal of Agricultural Engineering Research, volume66 (1) , page 1-8. Kharagpur, India. Karababa, E. (2006) . Physical properties of popcorn kernels. Journal of Food Engineering, volume 72 (1) ,page 100- 107.Mersin,Turkey. Sacilik, K. et al. (2003) . Some Physical Properties of Hemp Seed. Biosystems Engineering (2003) , volume 86 (2) , page 191-198. Ankara, Turkey. Tamirat Redae Gebreselassie. (2012) . Moisture dependent physical properties of cardamom (Elettaria Cardamomum M.) seed. CIGR Journal, volume 14 (1) , page 108-115. Adama, Ethiopia. Yalcın, I. (2006) . Physical properties of cowpea (Vigna sinensis L.) seed. Journal of Food Engineering 79, Adnan Menderes University, Aydın, Turkey.