News and Articles

มอก. เครื่องหั่นขนมปัง

มอก. เครื่องหั่นขนมปัง


หมวดหมู่: มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์แปรรูปอาหาร 2559 [มาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์แปรรูปอาหาร]
วันที่: 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เพื่อเป็นการส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของเครื่องหั่นขนมปัง ซึ่งมีใช้ทั่วไปในอุตสาหกรรมอาหาร มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้จัดทำขึ้นตามความร่วมมือด้านการกำหนดมาตรฐานระหว่างสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกับอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
มาตรผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้กำหนดขึ้นโดยอาศัยข้อมูลจากผู้ทำและเอกสารต่อไปนี้เป็นแนวทาง

BS EN 13954:2005 Food processing machinery- Bread Slicers-Safety and Hygienic Requirement

BS EN 1672-2:2005 +A1:2009 Food Processing Machinery - Basic concepts Part 2 : Hygiene requirements

มอก 1375 ความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าในที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นที่คล้ายกัน ข้อกำหนดทั่วไป


มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องหั่นขนมปัง

1. ขอบข่าย

1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ครอบคลุมเฉพาะเครื่องหั่นขนมปังแบบใบมีดชักขึ้นลง (saw cutting) และแบบใบมีดหมุนเหวี่ยงเป็นจังหวะ (oscillation cutting) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้หั่นก้อนขนมปังให้เป็นแผ่น เพื่อความปลอดภัยและสุขลักษณะที่ดีในการออกแบบและผลิตเครื่องหั่นขนมปัง มาตรฐานนี้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย ที่ประกอบด้วยการป้อนขนมปัง (loading) การตัด (cutting) การนำขนมปังออกจากเครื่อง (unloading) การทำความสะอาด การกำจัดเศษขนมปัง และการดูแลรักษา

2. บทนิยาม

ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

2.1 เครื่องหั่นขนมปังแบบที่ 1 หมายถึง เครื่องหั่นขนมปังที่ใบมีดหั่นขนมปังหลายใบ ใบมีดมีลักษณะคล้าย ใบเลื่อย ใบมีดจะถูกชักไปมาพร้อมกัน เพื่อทำการเลื่อยหั่นขนมปังให้เป็นแผ่นพร้อมกันทั้งก้อน ระยะห่างระหว่างใบมีดเป็นตัวควบคุมความหนาของแผ่นขนมปัง

2.2 เครื่องหั่นขนมปังแบบที่ 2 หมายถึงเครื่องหั่นขนมปังที่มีใบมีดหั่นหรือตัดก้อนขนมปังทีละ1แผ่น ใบมีดหมุนหมุนเหวี่ยงเป็นจังหวะ (oscillation cutting) ความหนาของขนมปังควบคุมจากระยะการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างก้อนขนมปังกับใบมีดต่อคาบการหั่นของใบมีด

3. ส่วนประกอบและการทำ

3.1 ส่วนประกอบ

3.1.1 เครื่องหั่นขนมปังแบบที่ 1 มีส่วนประกอบหลัก ดังแสดงตามรูปที่ 1

3.1.1.1 เครื่องหั่นขนมปังแบบ 1ก คือ เครื่องหั่นขนมปังระบบแมนนวล (hand operated machines) ก้อนขนมปังจะถูกป้อนด้วยผู้ปฏิบัติงาน โดยการโยกแกนมือจับของเครื่องเพื่อบังคับตัวดันขนมปังให้ดันขนมปังเข้าไปสู่ใบมีด

3.1.1.2 เครื่องหั่นขนมปังแบบที่ 1ข คือ เครื่องหั่นขนมปังอัตโนมัติ (automatic machines) คือเมื่อผู้ใช้วางก้อนขนมปังลงในช่องวางแล้ว เมื่อมีผู้ใช้กดปุ่มควบคุม ก้อนขนมปังจะดันด้วยอุปกรณ์ดันขนมปังระบบอัตโนมัติและใบมีดหั่นขนมปังจะทำงานไปพร้อมกัน เมื่อก้อนขนมปังถูกหั่นแล้วอุปกรณ์ดันก้อนขนมปังจะกลับมาสู่ตำแหน่งเดิม 

3.1.1.3 เครื่องหั่นขนมปังแบบที่ 1ค คือ เครื่องหั่นขนมปังอัตโนมัติพร้อมระบบลำเลียงต่อเนื่อง (automatic machines with continuous feeding) ก้อนขนมปังจะถูกวางด้วยผู้ใช้หรือระบบต่อเนื่องและก้อนขนมปังจะถูกลำเลียงไปสู่ใบมีดด้วยสายพานลำเลียงหรือพื้นเอียงโดยอาศัยการน้ำหนักที่กดทับกันเป็นแรงดัน

 

3.1.2 เครื่องหั่นขนมปังแบบแบบที่ 2 มีส่วนประกอบหลัก ดังแสดงตามรูปที่ 2

เครื่องหั่นขนมปังแบบที่ 2 ในห้องเครื่อง (housing) จะมีอุปกรณ์ขับเคลื่อน ด้วยระบบไฟฟ้า และหรือ ไฮดรอลิกและนิวเมติก ขึ้นอยู่กับการออกแบบ

3.2 การทำ

ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ 4. มอก. 1375 ยกเว้นข้อต่อไปนี้

3.2.1 คุณลักษณะทั่วไป

3.2.1.1 เครื่องหั่นขนมปัง และชิ้นส่วนต่าง ๆ ต้องสร้างให้แข็งแรง เพื่อการเคลื่อนย้าย การขนส่ง และการใช้งาน ตามปกติ ส่วนประกอบภายในต้องแข็งแรงเพียงพอสำหรับการใช้งาน

3.2.1.2 รอยต่อ รอยเชื่อม และตะเข็บ บริเวณที่สัมผัสหรือมีโอกาสสัมผัสกับอาหารต้องป้องกันการสะสมของ สิ่งปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ และสามารถทำความสะอาดได้ง่าย ส่วนหรือบริเวณที่ต่อให้ติดกันด้วยการเชื่อม ต้องเรียบและสม่ำเสมอ ไม่มีส่วนที่อาจเสี่ยงต่อการสะสมของจุลินทรีย์และสามารถล้างทำความสะอาดได้

3.2.2 ชิ้นส่วนและอุปกรณ์

3.2.2.1 โครงสร้างแข็งแรง คงรูป ผิวเรียบ ทำความสะอาดได้ง่าย ไม่มีส่วนที่อาจเสี่ยงต่อการสะสมของจุลินทรีย์ 

3.2.2.2 อุปกรณ์ที่สามารถถอดได้ เช่น ฝาครอบ ฝาปิด ต้องมีความแข็งแรง ผิวเรียบ ป้องกันการเข้าถึงของผู้ใช้จากบริเวณที่อาจเป็นอันตราย 

การทดสอบให้ทำโดยการตรวจสอบใบรับรองและหรือตรวจพินิจ

3.2.3 คุณลักษณะทางไฟฟ้า 

3.2.3.1 การป้องกันการเข้าถึงส่วนที่มีไฟฟ้า

เครื่องหั่นขนมปังต้องสร้างและหุ้มเพื่อให้มีการป้องกันอย่างเพียงพอต่อการสัมผัสโดยตรงและโดยอ้อมกับส่วนที่มีไฟฟ้า รวมไปถึงการล้างทำความสะอาดด้วยน้ำและเศษขนมปังที่เกิดขึ้นขณะทำงาน

3.2.3.2 มอเตอร์

มอเตอร์ต้องติดตั้งอยู่ในบริเวณหรือพื้นที่ที่มีระดับป้องกันอย่างน้อย IP23

3.2.3.3 ปุ่มหยุดการทำงานฉุกเฉิน (emergency stop) 

เครื่องหั่นขนมปัง ต้องติดตั้งปุ่มฉุกเฉิน ยกเว้นเครื่องหั่นขนมปังแบบที่ 2 ที่มีระบบหยุดทำงานติดตั้งกับฝาครอบหรือชิ้นส่วนต่าง ๆ ปุ่มฉุกเฉินต้องเป็นแบบปกติปิด (normal OFF) ติดตั้งในตำแหน่งที่เอื้อมถึงได้ง่ายจากตำแหน่งของผู้ใช้ ระยะเวลาการหยุดการทำงานภายในเวลา 1s

3.2.3.4 อุปกรณ์รับสัญญาณ (actuating device) หรือแสดงผลต้องมีระดับการป้องกันอย่างน้อย IP54 อุปกรณ์รับสัญญาณต้องมีการป้องกันจากการปนเปื้อนจากเศษขนมปัง น้ำมัน ความชื้นหรือสิ่งสกปรกอื่นๆ หากมีโอกาสสัมผัสกับของเหลวเช่นน้ำมันหรือน้ำจากการทำความสะอาด ต้องมีระดับการป้องกันที่เหมาะสม เช่น IPX5 

3.2.3.5 มีการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด

3.2.4 สุขลักษณะของเครื่องหั่นขนมปัง

3.2.4.1 คุณลักษณะทั่วไป

เป็นไปตาม BS EN 13954 หัวข้อที่ Annex B และพื้นที่ที่แบ่งตามการสัมผัสอาหารขึ้นอยู่กับการออกแบบเครื่องหั่นขนมปัง

3.2.4.2 พื้นผิวสัมผัสอาหาร (food area)

พื้นผิวที่นี้ได้แก่ พื้นผิวในส่วนทางป้อน ที่สัมผัสกับขนมปัง ใบมีด พื้นผิวบริเวณทางออกของแผ่นขนมปัง และพื้นผิวด้านในถาดรองเศษขนมปัง สร้างจากวัสดุมีผิวเรียบ ทำความสะอาดได้ ทนการกัดกร่อน ไม่เป็นพิษ ไม่ดูดซับของเหลว ไม่ส่งผลต่อกลิ่นหรือสีของขนมปัง ไม่มีซอกหลืบสะสมเศษขนมปังสารหล่อลื่นต้องใช้ระดับ food grade

3.2.4.3 พื้นผิวที่มีโอกาสสัมผัสอาหาร (splash area)

ได้แก่ พื้นผิวที่ต่อจากถาดรองเศษขนมปัง ให้ออกแบบเช่นเดียวกับพื้นผิวสัมผัสอาหาร ยกเว้นสาร หล่อลื่นไม่จำเป็นต้องใช้ระดับ food grade เมื่อพิจารณาแล้วว่าไม่ส่งผลกระทบกับอาหาร

3.2.4.4 พื้นผิวไม่สัมผัสอาหาร (nonfood area)

ได้แก่ พื้นผิวที่เหลือที่ไม่มีการสัมผัสกับขนมปัง ผลิตจากวัสดุทนการกัดกร่อนหรือวัสดุที่ผ่านการเคลือบหรือพ่นเพื่อให้ทนต่อการกัดกร่อนได้ พื้นผิวต้องทำความสะอาดได้ และต้องไม่ปนเปื้อนหรือส่งผลกระทบต่ออาหาร

3.2.4.5 เครื่องหั่นขนมปังต้องออกแบบเพื่อให้มีผู้ใช้ทำงานได้อย่างเหมาะสม

เครื่องหั่นขนมปังต้องออกแบบให้ผู้ใช้ทำงานในท่วงท่าที่เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บทางร่างกาย ในกรณีที่เป็นเครื่องหั่นขนมปังแบบ 1ก ที่มีการป้อนด้วยผู้ใช้ แรงที่ใช้บังคับด้ามจับเพื่อป้อนขนมปังและดันอุปกรณ์ดันขนมปังกลับต้องออกแบบให้ผู้ใช้ออกแรงไม่เกิน 150 N 

3.2.5 เครื่องหั่นขนมปังต้องมีอุปกรณ์หรือวิธีการป้องกันผู้ใช้จากกลไกการทำงานของเครื่อง คือ เครื่องหั่นขนมปังแบบที่ 1 มีการป้องกันผู้ใช้จากอันตรายเนื่องจากการทำงานของเครื่องหั่นขนมปัง ได้แก่ใบมีดหั่นขนมปัง และชิ้นส่วนที่เครื่องไหว อันอาจทำให้เกิดการถูกใบมีดบาดหรือตัดนิ้วหรือมือของผู้ใช้ การถูกดึงเข้าไปในชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว 

3.2.5.1 เครื่องหั่นขนมปังแบบที่ 1ก 

(1) ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันนิ้วมือของผู้ใช้ไม่ให้สัมผัสใบมีดหรือมีฝาครอบใบมีดป้องกัน โดยระยะห่างระหว่างใบมีดกับขอบฝาไม่น้อยกว่า 120 mm 

(2) เครื่องหั่นขนมปังเริ่มการทำงานเมื่อโยกคันโยก และเมื่อปล่อยมือจากคันโยกเครื่องหั่นขนมปังต้องหยุดการทำงาน และคันโยกต้องกลับไปยังตำแหน่งปกติ (hold-to-run)

(3) เมื่อตัวดันขนมปังเคลื่อนที่เข้าไปจนสุดแล้วต้องมีการออกแบบเพื่อป้องกันผู้ใช้สัมผัสกับใบมีด

(4) กรณีที่ออกแบบให้ชุดใบมีดมีการเคลื่อนที่ ขณะหั่นขนมปัง ต้องออกแบบให้ขอบของชุดใบมีดมีระยะห่างจากขอบเครื่องจักรน้อยกว่า 4 mm เพื่อป้องกันชุดใบมีดบีบอัดนิ้วมือของผู้ใช้กับของขอเครื่องจักร

3.2.5.2 เครื่องหั่นขนมปังแบบ 1ข ต้องออกแบบเพื่อป้องกันผู้ใช้จากใบมีดหั่นขนมปัง ดังต่อไปนี้

(1) มีฝาครอบป้องกันแบบอินเตอร์ล็อค (interlock guard) หรือ

(2) ออกแบบให้ฝาครอบ ควบคุมการทำงานของเครื่องหั่นขนมปังคือ เมื่อปิดฝาป้องกันเครื่องเริ่มทำงาน และเมื่อเปิดฝาเครื่องหยุดการทำงาน

(3) เมื่อมีการเปิดฝาครอบหรือเซ็นเซอร์ป้องกันถูกกระตุ้นให้ทำงาน เครื่องหั่นขนมปังจะต้องหยุด

การทำงาน ภายในเวลา 1s

3.2.5.3 เครื่องหั่นขนมปังแบบ 1ค ต้องออกแบบเพื่อป้องกันผู้ใช้จากใบมีดหั่นขนมปัง ดังต่อไปนี้ต้องมีฝาป้องกันแบบอินเตอร์ล็อค เพื่อป้องกันผู้ใช้จากใบมีดและอุปกรณ์ป้อนหรือดันขนมปัง หรือระยทางระหว่างปากช่องป้อนก้อนขนมปังกับใบมีดต้องไม่น้อยกว่า 850 mm และความสูงของช่องป้อนสูงไม่เกิน 120 mm หรือไม่น้อยกว่า 1200 mm เมื่อช่องทางป้อนสูงกว่า 120 mm ยกเว้นมีการออกแบบเพื่อป้องกันการเข้าถึงใบมีดของผู้ใช้หรือมีการติดตั้งเซ็นเซอร์ป้องกันเมื่อมีการเปิดฝาครอบหรือเซ็นเซอร์ป้องกันถูกกระตุ้น เครื่องหั่นขนมปังจะต้องหยุดการทำงาน ภายในเวลา 1s

3.2.5.4 สันใบมีดที่หันสู่ด้านทางออกของขนมปังต้องไม่คม และใบมีดแต่ละใบต้องห่างกันน้อยกว่า 25 mm เพื่อป้องกันการเอื้อมถึงด้านคมของใบมีด และ ช่องว่างระหว่างขอบเครื่องหั่นกับเฟรมชุดใบมีดต้องน้อยกว่า 4 mm เพื่อป้องกันนิ้วมือของผู้ใช้จากการถูกเฟรมชุดใบมีดบีบอัดหรือ มีอุปกรณ์ป้องกันปัญหาดังกล่าว

3.2.5.5 ในส่วนของถาดรองเศษขนมปังเมื่อดึงถาดรองเศษขนมปังออกต้องมีการป้องกันผู้ใช้ไม่ให้สัมผัสกับใบมีด โดยอาจติดตะแกรงป้องกันหรือออกแบบให้เมื่อดึงถาดขนมปังออกเครื่องหั่นขนมปังหยุดการทำงาน สำหรับเครื่องหั่นขนมปังแบบที่ 1ก ที่เป็นระบบแมนนวลถ้าหากสามารถเข้าถึงใบมีดหรือชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวได้ ต้องมีสัญลักษณ์เตือนอันตราย (warning sign) แก่ผู้ใช้

3.2.5.6 อุปกรณ์ขับเคลื่อนที่มีชิ้นส่วนเคลื่อนไหวต้องมีฝาครอบ (housing frame) หรือติดตั้งอยู่ด้านในเครื่องหั่นขนมปัง (machine frame) มีอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ผู้ใช้สัมผัสกับชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนไหว

3.2.5.7 เครื่องหั่นขนมปังแบบที่ 2 ต้องมีอุปกรณ์และวิธีการป้องกันผู้ใช้จากกลไกการทำงานของเครื่อง คือ

(1) ฝาครอบและอุปกรณ์ป้องกัน

เครื่องหั่นขนมปังต้องมีฝาครอบใบมีดป้องกันผู้ใช้และมีการหยุดทำงานเมื่อมีการปลดตัวล็อคฝาครอบใบมีด (with guard locking) หรือฝาครอบใบมีดถูกยกขึ้นเกิน 10 มม. กรณีติดตั้งตัวรับรู้ (sensor) หรือเมื่อกดปุ่มหยุดการทำงาน โดยใบมีดต้องหยุดภายในเวลา 0.5 วินาที หรือภายในครึ่งรอบหรือครึ่งคาบการหมุนของใบมีด และในสภาวะที่หยุดการทำงานตามปกติ ใบมีดด้านที่คมต้องไม่ยื่นออกมาในบริเวณที่ตัดขนมปัง

คู่มือการใช้งานต้องระบุวิธีการตรวจสอบและการบำรุงรักษา และระบุชิ้นส่วนที่ต้องตรวจสอบเพื่อที่จะทำให้การหยุดของเครื่องหั่นขนมปังอยู่ในสภาวะปกติ

3.2.5.7.1 ต้องมีอุปกรณ์หรือฝาครอบป้องกันอันตรายจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการดันขนมปังและป้องกันผู้ใช้เข้าถึงใบมีดจากด้านขนมปังเข้า โดยเมื่อฝาครอบถูกเปิดเครื่องหั่นขนมปังต้องหยุดการทำงาลักษณะเดียวกับหัวข้อที่ 4.1.1.2.1 อุปกรณ์ป้องกันในหัวข้อนี้อาจออกแบบให้เป็นอุปกรณ์ชิ้นเดียวกันกับอุปกรณ์ในหัวข้อ 4.1.1.2.1 หรือในกรณีที่ปลายฝาครอบเป็นช่องเปิด (open vertical end) และไม่มีการป้องกันผู้ใช้เข้าถึง ใบมีดจากช่องเปิดนี้ ต้องออกแบบให้ฝาครอบ (L1) ยาวจากปลายเปิดถึงใบมีดอย่างน้อย 850 mmและหากช่องเปิดนี้สูงมากกว่า 120 มม ฝาครอบต้องมีความยาวอย่างน้อย 1200 mm ดังรูปที่ 3

ทางออกของขนมปังแผ่นต้องมีการป้องกันผู้ใช้เข้าถึงใบมีด มีลักษณะเป็นฝาครอบป้องกัน โดยเมื่อฝาครอบถูกเปิดเครื่องหั่นขนมปังต้องหยุดการทำงานลักษณะเดียวกับหัวข้อที่ 4.1.1.2.1 หรือในกรณีที่ปลายฝาครอบเป็นช่องเปิด (open vertical end) และไม่มีการป้องกันผู้ใช้เข้าถึงใบมีดจากช่องทางเปิดนี้ ต้องออกแบบให้ฝาครอบ (L2) ยาวจากปลายเปิดถึงใบมีดอย่างน้อย 1200 mm

3.2.5.7.2 ต้องมีการป้องกันผู้ใช้เข้าถึงใบมีดหรืออุปกรณ์ขับเคลื่อนขณะทำงานในทุกช่องทาง โดยอาจใช้การกั้นขวางหรือระบบหยุดการทำงานของเครื่องหั่นขนมปังเพื่อป้องกันผู้ใช้เข้าถึงใบมีดหรืออุปกรณ์ขับเคลื่อน เช่น ทางช่องเปิดด้านถาดรองเศษขนมปัง ทางช่องเปิดเพื่อปรับแต่งหรือบำรุงรักษา เป็นต้น

3.2.5.7.3 การติดตั้งใบมีดกับเพลาหรือจุดยึดต้องมีการป้องกันการหลุดของใบมีด (detachment of blade mounting) โดยอาจใช้น๊อตที่ป้องกันการคลายตัว (self-tightening nut) และฝาครอบใบมีดต้องสามารถกันใบมีดหรือชิ้นส่วนอุปกรณ์เมื่อมีการหลุดของใบมีดได้ และใบมีดต้องไม่เคลื่อนที่เนื่องจากแรงโน้มถ่วงในกรณีที่เปิดฝาครอบใบมีดขึ้น

3.2.5.7.4 ชิ้นส่วนเครื่องหั่นขนมปังที่สามารถเคลื่อนที่ได้ (movable machine components) เช่น ฝาครอบหรือฝาปิด ต้องมีการป้องกันจากการปิดที่รุนแรง และต้องป้องกันการเคลื่อนปิดด้วยตัวเอง รวมทั้งต้องมีมือจับเพื่อให้เปิด-ปิดได้สะดวก

ทดสอบโดยการตรวจพินิจ การวัดระยะ การทดสอบการทำงาน

3.2.5.8 เครื่องหั่นขนมปังต้องตั้งได้มั่นคงและสมดุล ในกรณีเครื่องหั่นขนมปังที่ตั้งอิสระแบบมีล้อ ต้องมีอย่างน้อย 2 ล้อ (หรือ 2 กลุ่มล้อ) ที่ติดตั้งอุปกรณ์ล็อคล้อ และเครื่องหั่นขนมปังต้องไม่คว่ำหรือล้มเมื่อถูกผลักให้เอียงจากพื้นไป 10° ในด้านที่มีความเสี่ยงมากที่สุด

3.3 การทำความสะอาดและดูแลรักษา

ผู้ผลิตต้องมีขั้นตอนปฏิบัติและอุปกรณ์ป้องกันแก่ผู้ใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายหรือลดความเสี่ยงจากการล้างทำความสะอาดหรือบำรุงรักษาใบมีดและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

3.4 เครื่องหั่นขนมปังต้องไม่มีเสียงดังผิดปกติ

ขณะทำงานเครื่องหั่นขนมปังต้องไม่มีเสียงดังผิดปกติ

การทดสอบทำโดยการตรวจพินิจ การวัดระยะ และการทดสอบสภาวะ

 

4. คุณลักษณะที่ต้องการ

ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ 4. มอก. 1375 ยกเว้นข้อต่อไปนี้

4.1 เครื่องหั่นขนมปังต้องมีกำลังการผลิตเป็นไปตามที่ผู้ทำระบุ การทดสอบให้ปฏิบัติตามข้อ 7.3.1

4.2 แรงที่ใช้ในการโยกด้ามจับของเครื่องหั่นขนมปังแบบ 1ก จะต้องแรงเฉลี่ยไม่เกิน 150 นิวตัน การทดสอบให้ปฏิบัติตามข้อ 7.3.2

4.3 ปุ่มฉุกเฉินหรืออุปกรณ์หยุดการทำงานของเครื่องหั่นขนมปัง ต้องสามารถทำให้เครื่องหั่นขนมปังหยุดการทำงานได้ทันทีที่ปุ่มหรืออุปกรณ์นั้นถูกกระตุ้น การทดสอบให้ปฏิบัติตามข้อ 7.3.3

4.4 กำลังไฟฟ้าที่ใช้ต้องไม่เกิน 5 % ตามที่ผู้ทำระบุ การทดสอบให้ปฏิบัติตามข้อ 7.3.4


5. เครื่องหมายและฉลาก

ให้เป็นไปตามที่กำหนดใน มอก. 1375 ข้อ 7. ยกเว้นข้อต่อไปนี้

5.1 ที่เครื่องหั่นขนมปังอย่างน้อยต้องมีตัวเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ ให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน และถาวร

(1) ชื่อ "เครื่องหั่นขนมปัง"

(2) หมายเลขรหัสเครื่อง 

(3) กำลังทางไฟฟ้า เป็น V, A, kW 

(4) ชื่อผู้ทำหรือเครื่องหมายการค้า 

5.2 เครื่องหั่นขนมปัง ต้องมีคู่มือแนะนำการใช้ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

(1) ข้อปฏิบัติในการจัดการ การขนส่ง จัดเก็บ ติดตั้ง และ เริ่มการใช้งาน 

(2) ข้อมูลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และข้อแนะนำเกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) 

พร้อมวิธีการใช้งาน รวมทั้งต้องมีการเตือนให้สวมถุงมือป้องกันใบมีดบาดเมื่อมีการเปลี่ยนใบมีดหรือมีการทำงานในบริเวณที่ใบมีดติดตั้งอยู่

(3) ข้อปฏิบัติในการทำความสะอาด เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่แนะนำ วิธีปฏิบัติและความถี่ของการทำความสะอาด และคำเตือนต่าง ๆ เช่น ปิดเครื่องก่อนทำความสะอาด ใช้แปรงปัด แปรงพลาสติก เครื่องดูดเศษผง เป็นต้น

(4) มิติของเครื่อง ความกว้างxความยาวxความสูง เป็น mm x mm x mm

(5) กำลังการผลิต เป็น ชิ้น/ชั่วโมง หรือขนาดของขนมปังที่รองรับ เป็น mm 

(6) น้ำหนักของเครื่องหั่นขนมปัง และน้ำหนักของชิ้นส่วนที่สามารถถอดได้ เป็น kg 

(7) ขั้นตอนปฏิบัติและความถี่ในการบำรุงรักษาตามปกติ 

(8) ชนิดของน้ำมันหล่อลื่นใบมีดชนิดที่ทานได้ (edible oil) 

(9) กำลังทางไฟฟ้า เป็น V, A, kW 

(10) รูปและชื่อของส่วนประกอบ

(11) วิธีการเปลี่ยนใบมีด

(12) คำแนะนำการใช้งาน

(12.1) ขั้นตอนการทำงานและขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น (12.2) ข้อควรระวังที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน และ/หรือ ความเสียหายต่อเครื่องหั่นขนมปังและการดูแลรักษา

(13) เดือน ปีที่ทำ หรือรหัสรุ่นที่ทำ

(14) ชื่อและที่อยู่ของผู้ทำ


6. การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน

6.1 รุ่นในที่นี้ หมายถึง เครื่องหั่นขนมปังรุ่น (model) ที่ทำ หรือส่งมอบ หรือซื้อขายในระยะเวลาเดียวกัน

6.2 การชักตัวอย่างและการตัดสิน ให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้ หรืออาจใช้

แผนการชัก ตัวอย่างอื่นที่เทียบเท่ากันทางวิชาการกับแผนที่กำหนดไว้

6.2.1 การชักตัวอย่าง

ให้ชักตัวอย่าง โดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกันจำนวน 1 เครื่อง

6.2.2 เกณฑ์ตัดสิน

ตัวอย่างเครื่องหั่นขนมปังต้องเป็นไปตามข้อ 3. ข้อ 4. และข้อ 5. ทุกรายการ จึงจะถือว่าเครื่องหั่นขนมปังรุ่นนั้นเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้

7. การทดสอบ

7.1 ข้อกำหนดทั่วไปในการหาค่าต่าง ๆ และอุปกรณ์วัดในการทดสอบให้เป็นดังนี้

7.1.1 เวลา

ใช้นาฬิกาจับเวลาที่มีความละเอียดถึง 0.1s

7.1.2 กำลังไฟฟ้า

ใช้เครื่องมือวัดกำลังไฟฟ้า (Watt meter) ที่มีความละเอียด 1W 

7.1.3 มวลหรือแรงดึง

ใช้เครื่องชั่งน้ำหนักที่มีความละเอียด 0.1 g 

7.2 การเตรียมสภาวะทดสอบ

สภาวะห้องสำหรับทดสอบใช้อุณหภูมิห้อง 

7.3 วิธีการทดสอบ

7.3.1 การทดสอบกำลังการผลิต

ทำการทดสอบโดยการเปิดเครื่องหั่นขนมปังให้ทำงานเป็นเวลา 5 min โดยมีการป้อนขนมปังอย่างต่อเนื่อง นับจำนวนก้อนขนมปังในกรณีที่เป็นเครื่องหั่นขนมปังแบบที่ 1 และนับจำนวนแผ่นขนมปังในกรณีที่เป็นเครื่องหั่นขนมปังแบบที่ 2 ที่สามารถหั่นได้ในช่วงเวลาดังกล่าว

- แผ่นขนมปัง ต้องมีความหนาที่สม่ำเสมอ ไม่มีการฉีกหรือขาดของขนมปังที่ผิดปกติ

- คำนวณหาความสามารถในการหั่นขนมปัง ในเวลา 1 ชั่วโมง ตามสมการ

ความสามารถในการผลิตต่อชั่วโมง เครื่องหั่นขนมปังแบบที่ 1 = จำนวนก้อนขนมปัง x 12 

ความสามารถในการผลิตต่อชั่วโมง เครื่องหั่นขนมปังแบบที่ 2 = จำนวนแผ่นขนมปัง x 12

7.3.2 การทดสอบแรงที่ใช้ดันด้ามจับในกรณีที่เป็นเครื่องหั่นขนมปังแบบ 1ก

ใช้เครื่องมือวัดแรงดึง ติดตั้งเข้ากับด้ามจับที่ตำแหน่งปกติที่ทำงาน แล้ววัดแรงดันด้ามจับในสภาวะปกติ ทดสอบ 10 ครั้ง แล้วหาค่าแรงดันเฉลี่ยต้องไม่เกิน 150 นิวตัน

7.3.3 ทดสอบความสามารถในการหยุดการทำงานฉุกเฉิน 

การเปิดเครื่องหั่นขนมปังให้ทำงานจากนั้นกดปุ่มหยุดการทำงานฉุกเฉินเพื่อหยุดการทำงานของใบมีด ทดสอบเป็น 10 การทดสอบ ในทุกตำแหน่งที่มีการติดตั้งระบบตัดการทำงาน โดยเครื่องจักรต้องหยุดการทำงานทันทีเมื่อปุ่มฉุกเฉิน

7.3.4 การทดสอบกำลังไฟฟ้าที่ใช้ 

ให้ป้อนค่าแรงดันไฟฟ้าและความถี่ไม่เกิน ±2.5% ตามที่ผู้ทำระบุ ทำการวัดและบันทึกการใช้กำลังงานไฟฟ้าโดยใช้เครื่องวัตต์มิเตอร์ไปพร้อมกับการทดสอบในหัวข้อ 7.3.1 กำลังไฟฟ้าสูงสุดที่ใช้ต้อง ไม่เกิน 5 % ที่ผู้ทำระบุ

 



ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
การพาสเจอร์ไรซ์อาหารเหลว (liquid food pasteurization) ตอนที่ 1
การพาสเจอร์ไรซ์เป็นการแปรรูปอาหารด้วยความร้อน (thermal processing) วิธีหนึง ซึ่งใช้กันมานานตั้งแต่สมัยของหลุยส์พาสเตอร์ และสืบต่อมาถึงปัจจุบัน เทคโนโลยีการพาสเตอร์ไรซ์อาหาร รุดหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง บทความนี้จะกล่าวถึงการพาสเจอไรซ์อาหารเหลว เช่น นม น้ำผลไม้ เบียร์ เครื่องดื่มต่างๆ โดยตอนแรกจะเป็นพื้นฐานก่อนนะคะ ประวัติการพาสเจอร์ไรซ์ วัตถุประสงค์ของการพาสเจอร์ไรซ์ การทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค (pathogen) ทุกชนิด และเอนไซม์ (enzyme) ที่เป็นสาเหตุให้อาหารเสื่อมเสีย เป็นวิธีการถนอมอาหาร (food preservation) เพื่อยืดอายุการเก็บอาหาร ทำให้อาหารปลอดภัย การพาสเจอร์ไรซ์อาหารสามารถทำลายเซล (vegetative cell) ยีสต์ (yeast) รา (mold) และแบคทีเรีย (bacteria) ที่ไม่ทนร้อนแต่ยังไม่เพียงพอที่จะทำลายแบคทีเรียที่ทนความร้อนสูง (thermophillic bacteria) และสปอร์ของแบคทีเรีย (bacterial spore) จึงต้องเก็บรักษาอาหารที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์แล้ว ที่อุณหภูมิต่ำหรือการแช่แข็ง (freezing) หรืออาจใช้ร่วมกับการถนอมอาหารอื่น เช่น การลดวอเตอร์แอคทิวิตี้ (water activity) การปรับให้เป็นกรด (acidification) เพื่อให้อาหารที่ผ่านการพาสเจอไรซ์เก็บได้โดยไม่ต้องแช่เย็น กรรมวิธีการพาสเจอรไรซ์ การพาสเจอร์ไรซ์อาหารที่ใช้โดยทั่วไปใช้ความร้อน จึงจัดเป็นการแปรรูปด้วยความร้อน (thermal processing) วิธีหนึ่ง ซึ่งปกติจะใช้ความร้อนที่อุณหภูมิต่ำกว่า 100 C แต่อาจจะใช้กระบวนการอื่นเพื่อการพาสเจอไรซ์ได้ เช่น รังสี (irradiation) ความดันสูง (High pressure) การให้ความร้อนวิธีโอมห์มิก (ohmic heating) เป็นต้น ประเภทของการพาสเจอร์ไรซ์ การพาสเจอรไรซ์อาหารสามารถแบ่งตามวิธีการผลิตได้ดังนี้ 1 การพาสเจอร์ไรซ์อาหารในอาหารปิดผนึกสนิท (In-container pasteurization) โดยบรรจุอาหารที่ต้องการพาสเจอร์ไรซ์ ในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดผนึกสนิท (hermectically sealed container) เช่น กระป๋อง (can) ขวดแก้ว (glass jar) หรือบรรจุภัณฑ์ที่ทนร้อนเช่น ถุง ถ้วยพลาสติก แล้วฆ่าเชื้อในเครื่องฆ่าเชื้อ (cooker) หรือในอ่างน้ำเดือด ความร้อนจะผ่านจากผิวด้านนอกของอาหาร เข้าสู่ภายใน โดยให้อุณหภูมิและเวลาที่จุดร้อนช้าที่สุด (cold point) ของอาหาร ได้รับความร้อนเพียงพอสำหรับการพาสเจอไรซ์ การพาสเจอรไรซ์วิธี ความร้อนจะถ่ายเทอย่างช้า เป็น Low Temperature LongTime (LTLT) proecessใช้ได้กับอาหารได้หลายชนิด ทั้งที่เป็นของแข็ง ของเหลว มีชิ้นเนื้อ เช่น ไส้กรอก แฮม นมข้นหวาน 2 การพาสเจอร์ไรซ์ก่อนการบรรจุ ใช้พาสเจอร์ไรซ์ ผลิตภัณฑอาหารเหลวได้แก่ เช่น นม (milk) เบียร์ (beer) ไอศกรีมมิกซ์ (ice creammixed) น้ำผลไม้ การพาสเจอร์ไรซ์แบบเป็นกะ (batch pasteurization) การต้มในหม้อต้ม (batch pasteurizer) ที่มา : http://www.tpub.com/content/armymedical/md0715/md07150020.htm การพาสเจอร์ไรซ์แบบต่อเนื่อง (continuous pasteurization) โดยใช้อุปกรณ์ แลกเปลี่ยนความร้อน (heat exchanger) เช่น เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบแผ่น (plate heat exchanger) เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อ (tubular heat exchanger) หลังจากพาสเจอร์ไรซ์แล้วจึงบรรจุ (filling) ในบรรจุภัณฑ์ ซึ่งนิยมใช้ระบบการบรรจุแบบปลอดเชื้อ (aseptic packaging system) ระบบพาสเจอร์ไรซ์แบบต่อเนื่อง (continuous pasteurization) ที่มา : http://www.foodnetworksolution.com/site/company/11/product/39 การตรวจสอบความสมบูรณ์ของการพาสเจอรไรซ์ด้วยความร้อน การตรวจสอบว่าความร้อนที่ใช้เพื่อการพาสเจอร์ไรซ์เพียงพอที่จะทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ตามที่กำหนดไว้หรือไม่ มักใช้การทดสอบเอนไซม์ที่เหลืออยู่แทนการทดสอบหาจุลินทรีย์ เนื่องจากความร้อน ทำลายเอนไซม์ ซึ่งเป็นโปรตีน ให้สูญเสียสภาพธรรมชาติ (protein denaturation) เช่นเดียวกับจุลินทรีย์ แต่การทดสอบหาเอนไซม์ใช้เวลารวดเร็วกว่า โดยเลือกตรวจหาเอนไซม์ที่พบในอาหารนั้น และมีความต้านทานความร้อน (D value) ใกล้เคียงกับจุลินทรีย์ที่เป็นเป้าหมายที่ต้องการทำลาย เช่น น้ำนม จะตรวจสอบหากิจกรรมของเอนไซม์ อัลลาไลน์ฟอสฟาเทส (alkaline phosphatase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พบในนมดิบมักเรียกว่าphosphatase testเอนไซม์นี้ทำลายด้วยความร้อนได้ค่า D (D value) ใกล้เคียงกับจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ส่วนการพาสเจอร์ไรซ์ ไข่ จะตรวจสอบหากิจกรรมของเอนไซม์อมัยเลส (amylase) เพราะมีค่า D (D value) ใกล้เคียงกับเชื้อ Salmonellaspp.
ฉลากโภชนาการ (nutrition label)
อาหารประเภทใดบ้างที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ ข้อมูลบังคับ ปริมาณพลังงานทั้งหมด ปริมาณพลังงานที่ได้จากไขมัน คาร์โบไฮเดรท ไขมัน โปรตีน (protein) วิตามินเอ (vitamin A) บี1 (vitamin B1) บี2 แคลเซียม เหล็ก โคเลสเตอรอล (cholesterol) โซเดียม ไขมันอิ่มตัวและน้ำตาล (ไม่มากเกิน) ใยอาหาร สารอาหารที่มีการเติมลงในอาหาร สารอาหารที่กล่าวอ้าง ข้อมูลที่ไม่บังคับ นอกจากที่กำหนดในข้อมูลบังคับก็สามารถใส่ในฉลากได้ เช่น วิตามิน เกลือแร่ แต่ต้องระบุต่อท้ายจากเหล็ก และเรียงจากมากไปหาน้อย 1. "หนึ่งหน่วยบริโภค" หมายถึง ปริมาณอาหารที่ผู้ผลิต แนะนำให้ผู้บริโภครับประทานต่อครั้ง หรือ หมายถึง กินครั้งละเท่าไรนั่นเอง ซึ่งได้มาจากค่าเฉลี่ยที่รับประทานของคนไทย เมื่อรับประทานในปริมาณเท่านี้แล้ว จะได้รับสารอาหารตามที่ระบุไว้บนฉลาก หนึ่งหน่วยบริโภค จะแสดงให้เห็นทั้งปริมาณที่เป็นหน่วยครัวเรือน เช่น กระป๋อง ชิ้น ถ้วย แก้ว เป็นต้น ตามด้วยน้ำหนัก ...กรัม หรือปริมาตร...มิลลิลิตร ในระบบเมตริก ตัวอย่างเช่น อาหารที่มีการกล่าวอ้างหรือใช้คุณค่าทางโภชนาการเพื่อส่งเสริมการขายต้องแสดงฉลากโภชนาการ ดังต่อไปนี้ 1. อาหารที่มีการแสดงข้อมูลชนิดสารอาหาร ปริมาณสารอาหาร หน้าที่ของสารอาหาร เช่น มีไขมัน 0% มีแคลเซียมสูงเป็นต้น 2. อาหารที่มีการใช้คุณค่าทางอาหารหรือทางโภชนาการในการส่งเสริมการขาย เช่น เป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อบำรุงสุขภาพ สดใส แข็งแรง แต่ห้ามแสดงสรรพคุณในลักษณะป้องกันหรือรักษาโรค เช่น ลดความอ้วน ป้องกันมะเร็ง เป็นต้น 3. อาหารที่มุ่งจะใช้ในกลุ่มผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มเพื่อการส่งเสริมการขาย เช่น กลุ่มวัยเรียน กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น 4. อาหารที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนดให้ต้องแสดงฉลาก โภชนาการ เนื่องจากพิจารณาแล้วว่าเป็นอาหารที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในด้านคุณค่า คุณประโยชน์ทางโภชนาการอย่างแพร่หลาย ดังนั้น อาหารในท้องตลาดที่ไม่มีการกล่าวอ้างหรือส่งเสริมการขายในลักษณะดังกล่าว ไม่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ ลิ้นจี่ในน้ำเชื่อมเข้มข้น บรรจุกระป๋อง จะต้องระบุปริมาณ ที่เห็นง่าย และน้ำหนัก หรือปริมาตร ดังนี้ "หนึ่งหน่วยบริโภค : 4 ลูก (140 กรัม รวมน้ำเชื่อม) " เครื่องดื่มอัดลม จะต้องระบุปริมาณที่เห็นง่าย และ น้ำหนัก หรือปริมาตร ดังนี้ "หนึ่งหน่วยบริโภค : 1 กระป๋อง (325 มิลลิลิตร) " ประโยชน์ของฉลากโภชนาการ 1. เลือกซื้ออาหารและเลือกบริโภคให้เหมาะสมกับความต้องการ หรือภาวะทางโภชนาการของตนได้ เช่น ผู้ที่มีโคเลสเตอรอลสูง ก็เลือกอาหาร ที่ระบุว่ามีโคเลสเตอรอลต่ำ หรือ ผู้ที่เป็นโรคไตก็เลือกอาหารมีโซเดียมต่ำ 2. เปรียบเทียบเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารชนิดเดียวกัน โดยเลือก ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีกว่าได้ 3. ในอนาคต เมื่อผู้บริโภคสนใจข้อมูลโภชนาการของอาหาร ผู้ผลิตก็จะแข่งขันกันผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่า แทนการแข่งขัน กันในเรื่องหีบห่อ สี หรือสิ่งจูงใจภายนอกอื่น ๆ ฉลากโภชนาการ มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทำให้สามารถเลือกบริโภคอาหารสำเร็จรูป/กึ่งสำเร็จรูปที่มีปริมาณคุณค่าสารอาหารตรงตามความต้องการของร่างกายได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น ผู้บริโภคจึงไม่ควรละเลยหรือมองข้ามฉลากโภชนาการ การอ่านข้อมูลโภชนาการบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อ จะทำให้ซื้อผลิตภัณฑ์อาหารตามที่ต้องการได้
MEHEN December Newsletter
Machines on sale 10% - 15% discount off + Free Service Kit
ผลของความชื้นต่อคุณสมบัติทางกายภาพของลูกกระวาน
ผลของความชื้นต่อคุณสมบัติทางกายภาพของลูกกระวาน (Effect of moisture content on some physical properties of cardamom seed) ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นฤพนธ์ พันธุ์หวยพงษ์ เบญจพร ตั้งนอบน้อม เบญจมาศ เหมวิบูลย์ วสันต์ อินทร์ตา บทคัดย่อ สมบัติทางกายภาพของลูกกระวานทดลองตามความชื้น ศึกษาที่ความชื้น 9.27%, 12.27%, 15.27%, 18.27 และ 21.27% w.b. (ความชื้นฐานเปียก) ของทั้งเมล็ด มีค่าเฉลี่ยของความสูง ความกว้าง ความหนา คือ 15.75 ,14.04 ,14.80 ตามลำดับที่ความชื้น 9.27%w.b จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่ามวล 100 เมล็ดของลูกกระวานนั้นเพิ่มขึ้นจาก 46.45 เป็น 49.45 g, พื้นที่ภาพฉายเพิ่มจาก 1.18 cm² เป็น 1.29 cm² ,ความเป็นทรงกลมเพิ่มจาก 0.94 เป็น 0.96, ความหนาแน่นรวมเพิ่มขึ้น 0.24 g/cm³ เป็น 0.27 g/cm³ และความหนาแน่นเนื้อนั้นลดลงจาก 1.34 g/cm³ เป็น 0.52 g/cm³, ความพรุนนั้นลดลงจาก 78.46% เหลือ 51.72% ,ความเร็วสุดท้ายเพิ่มขึ้นจาก 9.63 m/s เป็น 10.21 m/s และค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตเพิ่มขึ้นจากพื้นผิวอลูมิเนียม (0.30-0.34) , พื้นไม้ (0.24-0.29) และพื้นยาง (0.34-0.49) ที่ความชื้นเพิ่มขึ้นจาก 9.27% ถึง 21.27% w.b. ที่ความชื้น 10.03%, 13.03%, 16.03%, 19.03 และ 22.03% w.b. (ความชื้นฐานเปียก) ของเมล็ดใน มีค่าเฉลี่ยของความสูง ความกว้าง ความหนา คือ 9.45, 7.98, 4.30 ตามลำดับที่ความชื้น 10.03%w.b จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่ามวล 100 เมล็ดของลูกกระวานนั้นเพิ่มขึ้นจาก 20.94 เป็น 23.11g, พื้นที่ภาพฉายเพิ่มจาก 0.60 cm² เป็น 0.84 cm² ,ความเป็นทรงกลมเพิ่มจาก 0.72 เป็น 0.74, ความหนาแน่นรวมเพิ่มขึ้น 0.58 g/cm³ เป็น 0.63 g/cm³ และความหนาแน่นเนื้อนั้นลดลงจาก 1.19 g/cm³ เป็น 1.15 g/cm³, ความพรุนนั้นลดลงจาก 51.40% เหลือ 45.77% ,ความเร็วสุดท้ายเพิ่มขึ้นจาก 9.35 m/s เป็น 9.64 m/s และค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตเพิ่มขึ้นจากพื้นผิวอลูมิเนียม (0.41-0.46) , พื้นไม้ (0.51-0.63) และพื้นยาง (0.51-0.78) ที่ความชื้นเพิ่มขึ้นจาก 10.03% ถึง 22.03% w.b. บทนำ กระวานไทย (Amomumkrervanh Pierre) จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า ก้านใบที่มีลักษณะเป็นกาบหุ้มซ้อนกันแน่นหนาแข็งแรง มีความสูงประมาณ 3 เมตร ใบเรียงสลับกัน แผ่นใบเรียวแหลม ใบยาวประมาณ 12 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ดอกกระวาน เจริญออกมาจากส่วนเหง้าใต้ดิน โผล่ขึ้นมาเหนือพื้นดินเป็นช่อ กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ผลมีลักษณะกลมเป็นพวง เปลือกผิวเกลี้ยง เป็นพู ๆ มีสีออกนวล ๆ ลูกกระวานจะแก่ช่วงเดือนสิงหาคม - พฤศจิกายน เมล็ดกระวานมีขนาดเล็กสีน้ำตาล มีจำนวนมาก ทั้งผลและเมล็ดมีกลิ่นหอมคล้ายกับการบูร ช่วงเวลาที่ออกดอกจนผลแก่ใช้เวลาประมาณ 5 เดือน กระวานออกดอกให้ผลผลิตเพียงครั้งเดียว แล้วก็จะตายไป เช่นเดียวกับต้นกล้วย ต้นไผ่ แต่หน่อใหม่ก็จะเจริญโผล่ขึ้นมาแทนและเจริญให้ผลผลิตใหม่ต่อไปอีก การใช้ประโยชน์ของกระวาน แบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ 1.) ใช้ในการประกอบอาหาร นำลูกกระวานที่ตากแห้งนำลูกระวานทั้งเมล็ดไปป่นใช้เป็นเครื่องเทศ ใส่ในน้ำพริกแกงเผ็ด แกงกะหรี่ แกงมัสมั่น พะแนง พะโล้ ใช้แต่งกลิ่นและสีของอาหารหลายชนิด เช่น ใส่ในเหล้า ขนมปัง เค้ก คุกกี้แฮม ส่วนผลอ่อนและหน่ออ่อนรับประทานแบบผัก 2.) การใช้ประโยชน์ทางยา กระวานมีสรรพคุณทางสมุนไพรได้ทุก ๆ ส่วน ทั้งราก ลำต้น หน่อ เปลือกลำต้น แก่นของลำต้น ใบ ผลแก่ เมล็ด เหง้าอ่อน ใช้แก้ท้องอืด แน่น จุก เสียด ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนัง แก้ลม ท้องเสีย ฯลฯ กระวานมีคุณค่าทางอาหารสูงประกอบด้วยสารอาหารและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น กระวานส่วนที่กินได้ 100 กรัม*ให้พลังงาน254.0 กิโลแคลอรีโปรตีน9.5gไขมัน6.3gคาร์โบไฮเดรต 39.7g แคลเซียม16.0gฟอสฟอรัส 23.0mgเหล็ก 12.6mg (*กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข) กระวาน มีน้ำมันหอมระเหย 7.9-8.4% ซึ่งมีกลิ่นหอม ประกอบด้วย การบูร (Camphor) ไพนิน (Pinene) ไลโมนีน (Limonene) เมอร์ซีน (Myrcene) น้ำมันหอมระเหยจากผลกระวานมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียPseudomonas aeruginosa (7) (เภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา เภสัชกรด้านเภสัชสาธารณสุข, สรรพคุณสมุนไพร 200 ) วัตถุประสงค์ประสงค์เพื่อศึกษาผลของความชื้นที่มีต่อคุณสมบัติทางกายภาพของลูกกระวาน เพราะลูกกระวานคือพืชที่มีประโยชน์อย่างมาก เป็น พืชสมุนไพร และใช้ในด้านการครัวเป็นหลัก เป็นเครื่องเทศที่สำคัญชนิดหนึ่งในส่วนประกอบของอาหารหลากหลายชนิด จึงทำให้มีการผลิตลูกกระวานมากขึ้นในปัจจุบัน เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดเก็บรักษาผลผลิตที่ได้จากลูกกระวาน และสามารถส่งออกสู่ท้องตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยจะนำลูกกระวานมาทดลองตามคุณสมบัติทางกายภาพต่างๆเหล่านี้ การหาขนาด ,ความเป็นทรงกลม,น้ำหนัก 100 เมล็ด , พื้นที่ภาพฉาย , ความหนาแน่นรวม , ความหนาแน่นเนื้อ , ความพรุน , ความเร็วสุดท้าย , ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตย์ของวัสดุที่แตกต่างกัน 2. วัสดุและวิธีการทดลอง 2.1 วัสดุ เมล็ดลูกกระวาน (บริษัท S A O การเกษตร จำกัดที่อยู่ :8 หมู่ 8 ถนนรามอินทรา แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กทม. 10230) ที่นำมาใช้ในการทดลอง มาทำความสะอาด โดยการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่แตกออกจากเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์หาความชื้นเริ่มต้นของเมล็ดโดยการนำเอาลูกกระวาน (เมล็ดในและทั้งเมล็ด) ไปอบที่อุณหภูมิ 105 °Cเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ปริมาณความชื้นฐานแห้งเริ่มต้นของทั้งเมล็ดเป็น 10.22% (db.) และเมล็ดใน11.15% (db.) 2.2 วิธีการทดลอง ปรับความชื้นที่ต้องการ หาได้โดยการเติมปริมาณน้ำ คำนวณจากความสัมพันธ์ของสมการดังต่อไปนี้ นำตัวอย่างที่เติมน้ำลงไปแล้วใส่ลงถุงพลาสติกแล้วปิดผนึกให้แน่นหนา โดยเก็บตัวอย่างไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 5°Cเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อให้ความชื้นกระจายสม่ำเสมอทั่วตัวอย่างก่อนที่จะนำไปทดลอง ต้องเอาตัวอย่างออกมาไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 2 ชั่วโมงก่อนทำการทดลอง คุณสมบัติทางกายภาพที่ทำการทดลองมีระดับความชื้นดังนี้ (นำค่าความชื้นฐานแห้งไปแปลงเป็นความชื้นฐานเปียกก่อน) เมล็ดนอก9.27%, 12.27%, 15.27%, 18.27% และ21.27% (wb.) เมล็ดใน 10.03%, 13.03%, 16.03%, 19.03% และ 22.03% (wb.) ตามลำดับ ขนาดเฉลี่ยของเมล็ด100 เมล็ดใช้การวัดแบบสุ่ม โดยวัดสามมิติ คือ L (ความยาว) , W (ความกว้าง) , T (ความหนา) วัดโดยเวอร์เนียร์คาลิเปอร์ (Vernier Caliper ) ที่มีความละเอียด 0.01 mm ความเป็นทรงกลมของเมล็ดคำนวณโดยใช้ความสัมพันธ์ต่อไปนี้ มวล 100 เมล็ด หาจากเครื่องชั่งอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถ อ่านค่าได้ 4 ตำแหน่ง (0.0000 g) พื้นที่ภาพฉายของลูกกระวานหาได้โดยวิธีการวิเคราะห์ด้วยภาพถ่าย ถ่ายภาพลูกกระวานแต่ละระดับความชื้น ความชื้นละ 50 เมล็ดเมล็ดในและทั้งเมล็ด แล้วนำภาพถ่ายของลูกกระวานแต่ละเมล็ดมาเทียบกับภาพสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1 cm² ความหนาแน่นรวมของลูกกระวาน ใช้ผลการทดลองจากการบรรจุภาชนะ 350 ml (ทั้งเมล็ด) และ 65 ml (เมล็ดใน) ตามลำดับ ซึ่งการบรรจุเมล็ดนั้นต้องให้ภาชนะบรรจุห่างจากปลายกรวย 15 cm แล้วนำไปชั่งน้ำหนักและคำนวณหาความหนาแน่นรวมโดยใช้สูตร ความหนาแน่นเนื้อ คือ อัตราส่วนระหว่างมวลของลูกกระวานและปริมาตรที่แท้จริง โดยใช้วิธีการแทนที่ของเหลว แต่การทดลองนี้นำเฮกเซนมาใช้ในการแทนน้ำเพราะเฮกเซนจะถูกเมล็ดพันธุ์ดูดซึมได้น้อย ความพรุนที่ระดับความชื้นต่างๆคำนวณได้จากความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นรวมและความหนาแน่นเนื้อ ดังนี้ เมื่อ เป็นค่าความพรุน (%) , เป็นความหนาแน่นรวม และ เป็นความหนาแน่นเนื้อ ความเร็วสุดท้าย คัดลูกกระวานจำนวน 10 เมล็ด โดยการนำลูกกระวานไปเป่าลมจากเครื่องเป่าลม โดยวัดความเร็วสุดท้ายจากความเร็วลม เราสามารถปรับความเร็วลมจากเครื่องปรับความถี่ โดยปรับให้ลูกกระวานลอยอย่างคงที่ที่ปลายกระบอก ทำเช่นนี้ทุกๆความชื้น ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตย์ของลูกกระวานทำการทดลองจากการนำวัสดุ 3 ชนิด ได้แก่ อลูมิเนียม พื้นไม้ และพื้นยาง มาทำการทดลองหาค่ามุมของแต่ละพื้นผิวของวัสดุแล้วนำไปแทนค่าในสูตร 3. ผลและการอภิปราย 3.1 ขนาดของลูกกระวาน ทั้งเมล็ดลูกกระวานและการกระจายขนาดเฉลี่ยของ 100 เมล็ด วัดที่ความชื้น 9.27% (w.b.) มีความกว้าง 14.04±0.81มม. , ความยาว 15.75±0.95มม.ความหนา 14.80±0.97มม. ความกว้างของเมล็ดที่มีขนาดอยู่ที่ 14.00 - 17.00มม. มีประมาณ 90% , ส่วนความยาวที่มีขนาดอยู่ที่ 13.00-15.00มม. มีประมาณ 84% , ส่วนความหนาที่มีขนาดอยู่ที่ 13.00-16.00มม. มีประมาณ 98% ที่ความชื้น 9.27% (w.b.) ขนาดของลูกกระวานเมล็ดในและการกระจายขนาดเฉลี่ยของ 100 เมล็ด วัดที่ความชื้น 10.03 % (w.b.) มีความกว้าง 9.45±0.59 มม. , ความยาว 7.98±0.75 มม.,ความหนา4.30±.074 มม. ความกว้างของเมล็ดที่มีขนาดอยู่ที่ 9.00-10.00 มม. มีประมาณ 66% , ส่วนความยาวที่มีขนาดอยู่ที่ 7.00-9.00 มม. มีประมาณ 82% , ส่วนความหนาที่มีขนาดอยู่ที่ 3.00-5.00 มม. มีประมาณ 77% ที่ความชื้น 10.03% (w.b.) 3.2 น้ำหนัก 100ทั้งเมล็ด น้ำหนัก 100 เมล็ด ของเมล็ดทั้งหมด ในน้ำหนัก 100 เมล็ด จะเพิ่มขึ้นเป็นเส้นตรงจาก 46.35 เป็น 49.46 กรัม จากปริมาณความชื้นที่ 9.27% เป็น 21.27% (w.b.) (รูปที่ 1) สำหรับมวล 100 เมล็ด ช่วงสมการเชิงเส้นได้ดังนี้ Y = 0.2627x + 43.687 (R² = 0.957) เมื่อความชื้นเพิ่มขึ้น มวลจะเพิ่มขึ้นด้วย น้ำหนัก 100 เมล็ดในน้ำหนัก 100 เมล็ด จะเพิ่มขึ้นเป็นเส้นตรงจาก 20.94 เป็น 23.11 กรัม จากปริมาณความชื้นที่ 10.03% เป็น 22.03% (w.b.) (รูปที่ 1) สำหรับมวล 100 เมล็ด ช่วงสมการเชิงเส้นได้ดังนี้ Y = 0.155x + 19.629 (R² = 0.888) เมื่อความชื้นเพิ่มขึ้น มวลจะเพิ่มขึ้นด้วย รูปที่ 1 Effect of moisture content on 100 seed mass (whole fruit, kernel) 3.3 พื้นที่ภาพฉาย พื้นที่ภาพฉายของลูกกระวานทั้งเมล็ด (รูปที่ 2) เพิ่มขึ้น 1.18 - 1.29 cm² ในขณะที่ปริมาณความชื้นเพิ่มขึ้นจาก 9.27% เป็น 21.27% (w.b.) สามารถหาสมการเชิงเส้นได้ดังนี้ Y = 0.0087x + 1.0937 (R² = 0.9494) พื้นที่ภาพฉายของลูกกระวานเมล็ดใน (รูปที่ 2) เพิ่มขึ้น 0.60 - 0.84 cm² ในขณะที่ปริมาณความชื้นเพิ่มขึ้นจาก 10.03% เป็น 22.03 (w.b.) สามารถหาสมการเชิงเส้นได้ดังนี้ Y = 0.02x + 0.4334 (R² = 0.9018) รูปที่ 2 Effect of moisture content on projected area (whole fruit, kernel) 3.4 ความเป็นทรงกลม ความเป็นทรงกลมของลูกกระวานทั้งเมล็ดเพิ่มขึ้นจาก 0.94 เป็น 0.96 มีการเพิ่มขึ้นตามความชื้นจาก 9.27% เป็น 21.27% (w.b.) ดังรูป (รูป 3) สามารถหาสมการเชิงเส้นได้ดังนี้ Y = 0.002x + 0.9195 (R² = 0.9) ความเป็นทรงกลมของลูกกระวานเมล็ดในเพิ่มขึ้นจาก 0.72 เป็น 0.74 มีการเพิ่มขึ้นตามความชื้นจาก 10.03% เป็น 22.03% (w.b.) ดังรูป (รูป 3) สามารถหาสมการเชิงเส้นได้ดังนี้ Y = 0.0013x + 0.7086 (R² = 0.8) รูปที่ 3 Effect of moisture content on sphericity (whole fruit, kernel) 3.5 ความหนาแน่นรวม ค่าของความหนาแน่นรวมของลูกกระวานทั้งเมล็ดที่ต่างระดับความชื้นจาก 9.27% เป็น 21.27% (w.b.) ที่แตกต่างกันจาก 0.24 เป็น 0.27 g/cm³ (รูป 4) ความหนาแน่นรวมของลูกกระวานสามารถเขียนเป็นสมการเชิงเส้นได้ดังนี้ Y = 0.0027x +0.2113 (R² = 0.9412) ค่าของความหนาแน่นรวมของลูกกระวานเมล็ดในที่ต่างระดับความชื้นจาก 10.03% เป็น 22.03%wb.ที่แตกต่างกันจาก 0.58 เป็น 0.63 g/cm³ (รูป 4) ความหนาแน่นรวมของลูกกระวานสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ Y = 0.003x + 0.557 (R² = 0.613) รูปที่ 4 Effect of moisture content on bulk density (kernel) 3.6 ความหนาแน่นเนื้อ ความหนาแน่นเนื้อหรือความหนาแน่นจริงของทั้งเมล็ดของลูกกระวานมีค่าจาก 1.34 - 0.52 g/cm³ เมื่อระดับความชื้นเพิ่มขึ้นจาก 9.27% เป็น 21.27% (w.b.) (รูปที่ 5) ความหนาแน่นจริงมีความสัมพันธ์กับความชื้นดังนี้ Y = -0.0071x + 1.8922 (R² = 0.836) ความหนาแน่นเนื้อหรือความหนาแน่นจริงของเมล็ดในของลูกกระวานมีค่าจาก 1.19 - 1.15 g/cm³ เมื่อระดับความชื้นเพิ่มขึ้นจาก 10.03% เป็น 22.03% (w.b.) (รูปที่ 5) ความหนาแน่นจริงมีความสัมพันธ์กับความชื้นดังนี้ Y = -0.003x + 1.218 (R² = 0.703) รูปที่ 5 Effect of moisture content on true density (whole fruit, kernel) 3.7 ความพรุนของเมล็ด ความพรุนของลูกกระวานทั้งเมล็ดของลูกกระวานจะลดลงจาก 78.46% เป็น 51.72% โดยมาการเพิ่มขึ้นของความชื้นจาก9.27% เป็น 21.27% (w.b.) (รูป 6) ความสัมพันธ์ระหว่างความพรุนกับความชื้นแสดงได้ดังสมการ Y = -2.2333x + 96.161 (R² = 0.9006) ความพรุนของลูกกระวานเมล็ดในจะลดลงจาก 51.40% เป็น 45.77% โดยมาการเพิ่มขึ้นของความชื้นจาก 10.03% เป็น 22.03%wb. (รูป 6) ความสัมพันธ์ระหว่างความพรุนกับความชื้นแสดงได้ดังสมการ Y = -0.3797x + 54.142 (R² = 0.7435) รูปที่ 6 Effect of moisture content on porosity (whole fruit, kernel) 3.8 ความเร็วสุดท้าย ผลการทดลองสำหนับความเร็วปลายของลูกกระวานเมล็ดนอกที่ระดับความชื้นดังรูปที่ 7 พบว่าเป็นการเพิ่มเชิงเส้นตรง 9.63 - 10.44 m/s ของการเพิ่มความชื้นจาก 9.27% เป็น 21.27% (w.b.) สามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วสุดท้ายกับความชื้นได้ดังนี้ Y = 0.0511x + 9.2669 (R² = 0.612) ผลการทดลองสำหนับความเร็วปลายของลูกกระวานเมล็ดในที่ระดับความชื้นดังรูปที่ 7 พบว่าเป็นการเพิ่มเชิงเส้นตรง 9.35 - 9.64 m/s ของการเพิ่มความชื้นจาก 10.03% เป็น 22.03% (w.b.) สามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วสุดท้ายกับความชื้นได้ดังนี้ Y = -0.004x²+0.122x + 8.731 (R² = 0.612) รูปที่ 7 Effect of moisture content on terminal velocity (whole fruit, kernel) 3.9 ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตย์ของลูกกระวาน ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตย์ของเมล็ดนอกกับพื้นผิวอลูมิเนียม พื้นไม้ และพื้นยาง กับความชื้นที่ 9.27% ถึง 21.27% (%wb.) ดังแสดงในรูป (รูป 8-พื้นอลูมิเนียม ,พื้นไม้ ,พื้นยาง) จะสังเกตเห็นว่าค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตย์เพิ่มขึ้นในทุกๆพื้นผิวของทุกความชื้น เนื่องจากการยึดเกาะที่เพิ่มขึ้นระหว่างเมล็ดกับพื้นผิว เมื่อความชื้นเพิ่มขึ้นจาก 9.27% เป็น 21.27% (wb.) สามารถเขียนสมการความสัมพันธ์ระหว่างสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตย์ของเมล็ดกับพื้นผิวอลูมิเนียม พื้นไม้ และพื้นยางได้ดังนี้ สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตย์ของพื้นผิวอลูมิเนียม Y = 0.003x + 0.2702 (R² = 0.8804) สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตย์ของพื้นผิวไม้ Y = 0.004x + 0.2109 (R² = 0.8571) สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตย์ของพื้นผิวยาง Y = 0.0103x + 0.2342 (R² = 0.7347) รูปที่ 8 Effect of moisture content on coefficient of friction (aluminium ,wood, rubber) . (whole fruit) ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตย์ของเมล็ดในกับพื้นผิวอลูมิเนียม พื้นไม้ และพื้นยาง กับความชื้นที่ 10.03% ถึง 22.03% (w.b.) ดังแสดงในรูป (รูป 9-พื้นอลูมิเนียม ,พื้นไม้ ,พื้นยาง) จะสังเกตเห็นว่าค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตย์เพิ่มขึ้นในทุกๆพื้นผิวของทุกความชื้น เนื่องจากการยึดเกาะที่เพิ่มขึ้นระหว่างเมล็ดกับพื้นผิว เมื่อความชื้นเพิ่มขึ้นจาก 10.03% เป็น 22.03% (w.b.) สามารถเขียนสมการความสัมพันธ์ระหว่างสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตย์ของเมล็ดกับพื้นผิวอลูมิเนียม พื้นไม้ และพื้นยางได้ดังนี้ สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตย์ของพื้นผิวอลูมิเนียม Y = 0.0037x + 0.3777 (R² = 0.9004) สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตของพื้นผิวไม้ Y = 0.008x + 0.435 (R² = 0.7349) สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตย์ของพื้นผิวยาง Y = 0.0188x + 0.3331 (R² = 0.861) รูปที่ 9 Effect of moisture content on coefficient of friction (aluminium, wood, rubber) . (kernel) 4.สรุปผลการทดลอง 1) มวลลูกกระวาน 100 เมล็ด ทั้งเมล็ดจะมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 46.45 กรัม ถึง 49.45 กรัม เมล็ดในมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 20.94 กรัม ถึง 23.11 กรัม ความเป็นทรงกลม ทั้งเมล็ดมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 0.94 ถึง 0.96 เมล็ดในมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 0.72 ถึง 0.74 โดยค่าเหล่านี้เพิ่มขึ้นตามความชื้น ทั้งเมล็ด9.27% ถึง 21.27% (wb.) เมล็ดใน 10.03% ถึง 22.03% (wb.) 2) พื้นที่ภาพฉายของลูกกระวาน ทั้งเมล็ดจะมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 1.18 (cm²) ถึง 1.29 (cm²) เมล็ดในจะมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 0.72 (cm²) ถึง 0.74 (cm²) และเปอร์เซ็นต์ความพรุน ทั้งเมล็ดจะมีค่าลดลงจาก 78.46% ถึง 51.72 % เมล็ดในจะมีค่าลดลงจาก 51.40% ถึง 45.77 % ความหนาแน่นรวมเพิ่มขึ้นเป็นกราฟเส้นตรง ทั้งเมล็ดจาก 0.24 (g/cm³) ถึง 0.27 (g/cm³) เมล็ดในจาก 0.58 (g/cm³) ถึง 0.63 (g/cm³) และความหนาแน่นเนื้อลดลงเป็นกราฟเส้นตรง ทั้งเมล็ดจาก 1.34 (g/cm³) ถึง0.52 (g/cm³) เมล็ดในจาก 1.19 (g/cm³) ถึง 1.15 (g/cm³) 3) ความเร็วลม ทั้งเมล็ดจะมีค่าเพิ่มขึ้น 9.63 (m/s) ถึง 10.21 (m/s) ส่วนเมล็ดในนั้นมีค่าเปลี่ยนตามสมการ polynomial y = -0.004x²+0.122x+8.731 และค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตย์ทั้งเมล็ดเพิ่มขึ้นตามพื้นที่ผิว พื้นอลูมิเนียม (0.30-0.34) พื้นไม้ (0.24-0.29) และพื้นยาง (0.34-0.49) เมล็ดใน เพิ่มขึ้นตามพื้นที่ผิว พื้นอลูมิเนียม (0.41-0.46) พื้นยาง (0.51-0.78) พื้นไม้ (0.51-0.63) 5. อ้างอิง http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_06_1.htm http://www.foodietaste.com/FoodPedia_detail.asp?id=14 http://www.changsiam.com/spice/cardamon.html http://www.reddiamondherb.com/th/news.php?art=07 http://sellspices.blogspot.com/2012/05/bay-leaf.html http://www.sarakadee.com/feature/2001/04/klong_bang-luang.htm http://www.oknation.net/blog/print.php?id=126936 http://learningpune.com/?p=9879 http://www.aroiho.com
สมัครสมาชิก

สนับสนุนโดย / Supported By

  • บริษ้ท มาเรล ฟู้ดส์ ซิสเท็ม จำกัด จัดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์การแปรรูปอาหาร เช่น ระบบการชั่งน้ำหนัก, การคัดขนาด, การแบ่ง, การตรวจสอบกระดูก และการประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พร้อมกับบริการ ออกแบบ ติดตั้ง กรรมวิธีการแปรรูปทั้งกระบวนการ สำหรับ ผลิตภัณฑ์ ปลา เนื้อ และ สัตว์ปีก โดยมีวิศวกรบริการและ สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเทพ มาเรล เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกของอุปกรณ์การแปรรูปอาหารที่ทันสมัย​​ครบวงจรทั้งระบบ สำหรับอุตสาหกรรม ปลา กุ้ง เนื้อ และสัตว์ปีก ต่างๆ เครื่องแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก Stork และ Townsend จาก Marel อยู่ในกลุ่มเครื่องที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดในอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ สามารถบริการครบวงจรตั้งแต่ต้นสายการผลิตจนเสร็จเป็นสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกความต้องการของลูกค้า ด้วยสำนักงานและบริษัทสาขามากกว่า 30 ประเทศ และ 100 เครือข่ายตัวแทนและผู้จัดจำหน่ายทั่วโลก ที่พร้อมทำงานเคียงข้างลูกค้าเพื่อขยายขอบเขตผลการแปรรูปอาหาร Marel Food Systems Limited. We are supply weighing, grading, portioning, bone detection and software applications as well as complete turn-key processing solutions for fish, meat and poultry. We have service engineer and office in Bangkok. Marel is the leading global provider of advanced food processing equipment, systems and services to the fish, meat, and poultry industries. Our brands - Marel, Stork Poultry Processing and Townsend Further Processing - are among the most respected in the industry. Together, we offer the convenience of a single source to meet our customers' every need. With offices and subsidiaries in over 30 countries and a global network of 100 agents and distributors, we work side-by-side with our customers to extend the boundaries of food processing performance.
  • วิสัยทัศน์ของบริษัท คือ การอยู่ในระดับแนวหน้า "ฟอร์ฟร้อนท์" ของเทคโนโลยีประเภทต่างๆ และนำเทคโนโลยีนั้นๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิตในประเทศไทย เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า บริษัท ฟอร์ฟร้อนท์ ฟู้ดเทค จำกัด เชื่อมั่นและยึดมั่นในอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจ กล่าวคือ จำหน่าย สินค้าและให้บริการที่มีคุณภาพสูง ซึ่งเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ด้วยความซื่อสัตย์และความตรงต่อเวลา เพื่อการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จร่วมกันระยะยาว Our vision is to be in the "forefront" of technology in its field and suitably apply the technology to industries and production in Thailand for customers' utmost benefits. Forefront Foodtech Co., Ltd. strongly believes in and is committed to our own business philosophy which is to supply high quality products and service appropriately to each customer's requirements with honesty and punctuality in order to maintain long term win-win business relationship. Forefront Foodtech Co., Ltd. is the agent company that supplies machinery and system, install and provide after sales service as well as spare parts. Our products are: Nock, made in Germany: manufacturer of skinning machines, membrane skinning machine, slicers and scale ice makers. Frey, made in Germany: manufacturer of vacuum stuffers and chain linking system. Kronen, made in Germany: manufacturer of washing, centrifuges and cutting machinery for vegetable and fruits. Bandall, made in Netherlands: manufacturer of banding machine. Emerson, made in Romania: smoke chamber. G.Mondini, made in Italy: manufacturer of top seal, skin pack, paper seal, slimfresh and slicefresh for ready meal, meat, petfood and etc. Dorit, made in Germany: manufacturer of tumblers and injectors. Cliptechnik, made in Germany: manufacturer of single and double clippers for table top use and standalone clipping machines. Firex, made in Italy: manufacturer of food-processing equipment for kitchen and commercial equipment. Orved, made in Italy: manufacturer of vacuum packing machine. Carsoe, made in Denmark: designs and produces products for the seafood and food processing industry Gernal, made in Belgium: manufacturer of food-processing equipment for industrial Mado, made in Germany: manufacturer of meat-processing industry
  • We are well known for reliable, easy-to-use coding and marking solutions which have a low total cost of ownership, as well as for our strong customer service ethos. Developing new products and a continuous programme of improving existing coding and marking solutions also remain central to Linx's strategy. Coding and marking machines from Linx Printing Technologies Ltd provide a comprehensive solution for date and batch coding of products and packaging across manufacturing industries via a global network of distributors. In the industrial inkjet printer arena, our reputation is second to none. Our continuous ink jet printers, laser coders, outer case coders and thermal transfer overprinters are used on production lines in many manufacturing sectors, including the food, beverage, pharmaceutical, cosmetics, automotive and electronic industries, where product identification codes, batch numbers, use by dates and barcodes are needed. PTasia, THAILAND With more than 3,700 coding, marking, barcode, label applicator, filling, packing and sealing systems installed in THAILAND market. Our range is includes systems across a wide range of technologies. To select the most appropriate technology to suit our customers. An excellent customer service reputation, together with a reputation for reliability that sets standards in the industry, rounds off the PTAsia offering and provides customers with efficient and economical solutions of the high quality. Satisfyingcustomers inTHAILAND for 10 years Our 1,313 customers benefit from our many years of experience in the field, with our successful business model of continuous improvement. Our technical and service associates specialise in providing individual advice and finding the most efficient and practical solution to every requirment. PTAsia extends its expertise to customers in the food, beverage, chemical, personal care, pharmaceutical, medical device, electronics, aerospace, military, automotive, and other industrial markets.