News and Articles

มาตรฐานอาหาร

มาตรฐานอาหาร
สูตร อาหารไทย ส่งต่อไปถึงลูกหลาน
รัฐบาลทุกยุคทุกสมัย อยากให้อาหารไทยไปไกลทั่วโลก เราอยากเป็นครัวของโลก เพราะรู้ว่า คนไทยทำอาหารเก่งกว่าฝรั่ง และชาติใดๆในโลก เรามีอาหารมากมาย มีประโยชน์ที่ทุกคนตระหนักดีทำอย่างไรสูตรอาหารดีๆ ของไทย จะตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น ถึงลูกหลาน คนไทยมักจะมีปัญหาเรื่องสูตรอาหาร และ วิธีการถ่ายทอดประสพการณ์ คนไทยทำอาหารมักไม่ค่อยได้ใส่ใจ การ ชั่ง ตวง วัด มักจะใช้กะกะ เอา ประสบการณ์การทำอาหารไทยอร่อยๆ ดีๆ จากรุ่นหนึ่งเลยสูญหายไปมากมาย เพราะขาดการวัด และเครื่องมือวัดที่ดี ป้าแดงทำกับข้าวอร่อย เพราะป้าแดงเก่ง มีประสบการณ์ และมีพรสวรรค์ โดยที่ ป้าแดงไม่ต้อง รู้ว่า ปลาช่อน 1 ตัว ขนาด 2 3 กิโลกรัม นึ่งเสร็จแล้ว ขูดหนัง เอาก้างเอาหัวออก จะเหลือเนื้อปลาซักกี่กิโล กะทิ 1 กิโล คั้นแล้วจะได้น้ำกะทิ ปริมาตรเท่าไหร่ ก็ทำอร่อยทุกครั้ง พริกตระไคร้ หอมขมิ้น หนักอย่างละเท่าไหร่ไม่ต้องรู้ กะเอา แค่นี้พอ สุดท้ายก็จบลงว่า ป้าแดงทำอร่อยเพราะมีเคล็ดลับ เราไม่มีเคล็ดลับเลยทำไม่อร่อย ท้ายที่สุด สูตรอาหารดีๆ อยู่กับผู้ผลิตรายใหญ่ ไม่กี่รายที่รู้จักการชั่ง ตวง วัด และการจัดการคุณภาพอาหารอยากเห็นคนไทย รุ่นใหม่ มีความรู้หลักการถนอมอาหารรู้ว่าอะไรเป็นอันตรายในอาหาร food hazard ผลิตอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภคเป็นผู้ประกอบการรายย่อยๆ ในชุมชน ที่มีอาหารพิเศษ ที่มีเอกลักษณ์ ใช้ส่วนผสมที่เด่นๆ ในท้องถิ้น คนไทยไม่ต้องพึ่งแต่ร้านสะดวกซื้อหน้าปากซอยทุกอย่าง เรามีอาหารประจำถิ่นใครไปที่ไหนก็ต้องไปซื้อเป็นของขวัญของฝาก ไม่ต้องเก็บกันนานข้ามปีข้ามชาติ กินกันสดๆ ใหม่ๆ สะอาด ปลอดภัย ได้คุณค่า ไม่ต้องส่งไปขายทั่วโลกก็ได้ แค่พาคนทั่วโลกมากินกันในประเทศไทยก็พอ ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องกิน ปล่อยให้อดมั่ง จะได้อยาก ขายราคายุติธรรม ไม่ต้องถูกมาก ไม่ต้องแพงมาก แค่ลูกค้าเข้าคิวซื้อก็พอ ไม่ต้องขายมัน 24 ชั่วโมง ไปหลับไปนอนกันบ้าง วันพระก็ไปวัด วันหยุดก็ไปเที่ยว เมืองไทยจะเหมือนอเมริกาขึ้นทุกวัน ไปที่ไหนก็เจอะแต่ walmart Mcdonals ไม่ว่าจะไปรัฐไหนก็มีเหมือนกัน ไส้กรอก ซาลาเปา รสชาติ เหมือนกันทั่วประเทศ มันก็ดี สะดวก แบบ น่าเบื่อ อร่อย แบบ ไม่เร้าใจ อิ่ม แบบ ไม่อบอุ่น เหมือนผู้หญิงคนนี้ไง สวยไปทั่วโลก ยิ้ม แบบ ไม่แย้ม เย็น แบบ ชาชา
มาตรฐานของกระป๋องบรรจุอาหาร
กระป๋องบรรจุอาหาร การบรรจุอาหารที่ต้องการเก็บรักษาไว้ในกระป๋อง โดยต้องมีการจัดการหรือควบคุมสิ่งที่จะทำให้อาหารที่บรรจุอยู่ในกระป๋องหรือตัวกระป๋องนั้นเสื่อมเสียได้ ส่วนใหญ่ปฏิกิริยาเคมีและเชื้อจุลินทรีย์จะถูกทำลายด้วยความร้อนและมีการปรุงแต่งด้วยสารเคมีที่ปลอดภัยสำหรับอาหาร ทั้งนี้เพื่อช่วยลดเวลาในการฆ่าเชื้อหรือช่วยรักษาคุณภาพของอาหารให้เก็บได้นาน หน้าที่ของกระป๋องบรรจุอาหาร ตัวกระป๋อง มีหน้าที่ ในการป้องกันสิ่งแวดล้อมภายนอกที่จะมาทำลายคุณภาพอาหาร ได้แก่ แสง อากาศโดยเฉพาะ oxygen เชื้อจุลินทรีย์ ดังนั้น กระป๋องจึงต้องการสภาพการปิดผนึกสนิท Hermetically Sealed container เพื่อช่วยในการรักษาสภาพอาหาร อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีการเกิดปฏิกิริยาเคมีอย่างต่อเนื่องภายในตัวกระป๋อง ซึ่งมีผลต่ออายุการเก็บรักษาของอาหาร ทำให้ต้องบริโภคอาหารก่อนวันหมดอายุที่ระบุไว้จริง อาหารกระป๋องจะได้รับการปกป้องอย่างดี และมีอายุการเก็บตามต้องการได้นั้น ต้องอาศัยปัจจัย 2 ประการ คือ มาตรฐานของบรรจุภัณฑ์กระป๋องที่เหมาะกับอาหารนั้น และการควบคุมกระบวนการผลิตอาหารกระป๋องอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ มาตรฐานของบรรจุภัณฑ์กระป๋องที่เหมาะกับอาหาร Packaging Specification ประกอบด้วย 1 แผ่นโลหะ แผ่นโลหะที่นิยมใช้ประกอบด้วย แผ่นเหล็ก ได้แก่ แผ่นเหล็กเคลือบดีบุก Tin plate แผ่นเหล็กเคลือบโครเมียม Tin Free Steel แผ่นอะลูมิเนียม ได้แก่ มีการปรับปรุงคุณภาพให้เกิด Alloy มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ Alloy 3104 5182 5042 โดยมีส่วนประกอบของโลหะผสมที่ แตกต่างกัน การเลือกใช้แผ่นโลหะ การจะเลือกใช้เหล็กหรืออะลูมิเนียม ขึ้นกับ 1 ความต้องการของตลาดต้นทุนและความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีการผลิต เช่น ฝาของกระป๋องเครื่องดื่ม นิยมใช้อะลูมิเนียม ฝาของตัวกระป๋องอาหาร นิยมใช้แผ่นเหล็ก 2 Alloy และ Impurity จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย 3 การเคลือบผิวเพื่อป้องกันโลหะกัดกร่อน เคลือบด้วยดีบุก ความหนาต่างๆตามการใช้งาน เคลือบด้วยโครเมี่ยม Treat ผิวบน Aluminium เพื่อป้องกัน oxide 4 ความหนา ความแข็ง Temper สิ่งที่ต้องพิจารณา คือ ความแข็งแรงของแผ่นโลหะที่จะใช้มีเพียงพอในการผลิตอาหารและขนส่งหรือไม่ ความเหมาะสมกับเครื่องจักรในการผลิตกระป๋องและการบรรจุอาหาร 2 สารเคลือบป้องกัน Protection Coating การเคลือบด้วยดีบุกเพียงอย่างเดียว ยังไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสมกับอาหารหรือสภาพแวดล้อม บางครั้งต้องการ Coating หรือเพิ่มการปกป้อง เช่นมีการใช้แลคเกอร์เคลือบ โดยเลือกใช้แลคเกอร์ให้เหมาะสมกับประเภทของอาหารประเภท โดยทั่วไปแผ่นอะลูมิเนียมและแผ่นชุปโครเมี่ยม TFS ต้องอาบแลคเกอร์ก่อนใช้งาน ประเภทของสารเคลือบที่ใช้งานปัจจุบัน Internal Finish Acid Resistance Protection
เครื่องหมาย 3A: บทบาทต่อเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับผลิตอาหาร
ถาม 3 A คือ อะไร ทำไมเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับผลิตอาหารจึงควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมาย 3 A ตอบ เครื่องหมาย สามเอ หรือ ทริปเปิ้ลเอ Triple A คือ การกำหนดมาตรฐานทางด้านสุขอนามัยของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับผลิตอาหารและนมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ได้รับรองมาตรฐานคุณภาพ 3A จะเป็นหลักประกันความมั่นใจให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้งานได้ว่า ผลิตภัณฑ์นั้นมีความสะอาดปลอดภัยไร้การปนเปื้อน ไร้จุดตกค้าง ปลอดเชื้อ เหมาะที่จะนำไปใช้ในกระบวนการผลิตอาหาร นม เครื่องดื่ม โดยเฉพาะโรงงานที่เน้น GMP หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต และ HACCP การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม ผู้ที่จะติดเครื่องหมาย 3A ลงบนเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ได้นั้น ในขั้นต้นจะต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 9000 เสียก่อนจึงจะมีคุณสมบัติไปขอการรับรองมาตรฐาน 3 A ได้ ในขั้นตอนของการขอ 3 A ทางองค์การการจัดการและบริหารเครื่องหมายมาตรฐาน 3A แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา 3 A Sanitary Standard Inc จะส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบวัตถุดิบและกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็นไปตามหลักการและมาตรฐานขององค์กรฯ ซึ่งองค์กรนี้จะประสานงานกับอีกหน่วยงานหนึ่งที่มีชื่อ The International Association of Food Industry Supplier IAFIS เพื่อพิจารณาออกใบรับรองมาตรฐาน 3 A 3 A CERTIFIED QUALITY ให้กับผู้ผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองจะต้องถูกองค์กร 3 A เข้าตรวจสอบโรงงานและกระบวนการผลิตปีละครั้ง เพื่อให้คงมาตรฐาน 3 A ตลอดไป เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ได้รับเครื่องหมาย 3A เปรียบเสมือนผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับเครื่องหมาย อย แหล่งข้อมูลอ้างอิง ศุภโชค เหลืองสุวิมล บริษัท เซอร์วิเทค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด จากหนังสือปั๊มสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและยา บริษัท ฟูด เน็ทเวิร์ค โซลูชั่น จำกัด พิมพ์ครั้งที่ 1 2551 หน้า 120
Good Agricultural Practice การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และเหมาะสมสำหรับพืช
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และเหมาะสม Good Agriculture Practices เรียกย่อๆว่า GAP หมายถึง แนวทางในการทำการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนและขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค มีการใช้ทรัพยากรที่เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืนทางการเกษตรและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลักการนี้ได้รับการกำหนดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ FAO สำหรับประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการตรวจรับรองระบบการจัดการคุณภาพ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช GAP โดยได้กำหนดข้อกำหนด กฎเกณฑ์และวิธีการตรวจประเมิน ซึ่งเป็นไปตามหลักการที่สอดคล้องกับ GAP ตามหลักการสากล เพื่อใช้เป็นมาตรฐานการผลิตพืชในระดับฟาร์มของประเทศ รวมทั้งได้จัดทำคู่มือการเพาะปลูกพืชตามหลัก GAP สำหรับพืชที่สำคัญของไทยจำนวน 24 ชนิด ประกอบด้วย ผลไม้ ทุเรียน ลำไย กล้วยไม้ สับปะรด ส้มโอ มะม่วง และส้มเขียวหวาน พืช ผัก มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง ผักคะน้า หอมหัวใหญ่ กะหล่ำปลี พริก ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ผักกาดขาวปลี ข้าวโพดฝักอ่อน หัวหอมปลี และหัวหอมแบ่ง ไม้ดอก กล้วยไม้ตัดดอก และปทุมมา พืชอื่นๆ กาแฟโรบัสต้า มันสำปะหลัง และยางพารา การตรวจรับรองระบบ GAP ของกรมวิชาการเกษตรได้แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1 กระบวนการผลิตที่ได้ผลิตผลปลอดภัย 2 กระบวนการที่ได้ผลิตผลปลอดภัยและปลอดภัยจากศัตรูพืช 3 กระบวนการผลิตที่ได้ผลิตผลปลอดภัย ปลอดจากศัตรูพืชและคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจประเมินรับรองฟาร์ม GAP ข้อกำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจประเมินที่ใช้ในการตรวจรับรองฟาร์ม GAP ทั้ง 3 ระดับ ประกอบด้วยข้อมูล ดังนี้ ลำดับข้อกำหนด เกณฑ์ที่กำหนด วิธีการตรวจประเมิน 1 แหล่งน้ำ น้ำที่ใช้ต้องได้จากแหล่งที่ไม่มีสภาพแวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนวัตถุอันตรายและจุลินทรีย์ ตรวจพินิจสภาพแวดล้อมหากอยู่ในสภาวะเสี่ยงให้ตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำ 2 พื้นที่ปลูก ต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่มีวัตถุอันตรายและจุลินทรีย์ที่จะทำให้เกิดการตกค้างหรือปนเปื้อนในผลิตผล ตรวจพินิจสภาพแวดล้อม หากอยู่ในสภาวะเสี่ยงให้ตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพดิน 3 การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร หากมีการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตให้ใช้ตามคำแนะนำหรืออ้างอิงคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร หรือ ตามฉลากที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ต้องใช้สารเคมีให้สอดคล้องกับรายการ ห้ามใช้วัตถุอันตรายที่ระบุในทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ห้ามใช้ ตรวจสอบสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายทางการเกษตร สารเคมีที่ประเทศคู่ค้าอนุญาตให้ใช้ตรวจบันทึกข้อมูลการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร และสุ่มตัวอย่างวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผลิตผลกรณีมีข้อสงสัย 4 การเก็บรักษาและการขนย้ายผลิตผลภายในแปลง สถานที่เก็บรักษาต้องสะอาด อากาศถ่ายเทได้ดีและสามารถป้องกันการปนเปื้อนของวัตถุแปลกปลอม วัตถุอันตรายและสัตว์พาหะนำโรค อุปกรณ์และพาหะในการขนย้ายต้องสะอาดปราศจากการปนเปื้อนสิ่งอันตรายที่มีผลต่อความปลอดภัยในการบริโภค ต้องขนย้ายผลิตผลอย่างระมัดระวัง ตรวจพินิจสถานที่ อุปกรณ์ ภาชนะบรรจุขั้นตอนและวิธีการขนย้ายผลิตผล 5 การบันทึกข้อมูล ต้องมีการบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวกับการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร ต้องมีการบันทึกข้อมูลการสำรวจและการป้องกันจำกัดศัตรูพืช ต้องมีการบันทึกข้อมูลการจัดการเพื่อให้ได้ผลิตผลคุณภาพ ตรวจบันทึกข้อมูลของเกษตรกรตามแบบบันทึกข้อมูล 6 การผลิตให้ปลอดภัยจากศัตรูพืช ผลิตผลที่เก็บเกี่ยวแล้ว ต้องไม่มีศัตรูพืชติดอยู่ถ้าพบต้องตัดแยกไว้ต่างหาก ตรวจสอบบันทึกข้อมูลการสำรวจศัตรูและการป้องกันกำจัด ตรวจพินิจผลการคัดแยก 7 การจัดการกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตผลคุณภาพ การปฏิบัติและการจัดการตามแผนควบคุมการผลิต คัดแยกผลิตผลด้อยคุณภาพไว้ต่างหาก ตรวจสอบบันทึกข้อมูลการปฏิบัติและการจัดการเพื่อให้ได้ผลิตผลคุณภาพ ตรวจพินิจผลการคัดแยก 8 การเก็บเกี่ยว และการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวผลในระยะที่เหมาะสมตามเกณฑ์ในแผนควบคุมการผลิต อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว ภาชนะบรรจุและวิธีการเก็บเกี่ยวต้องสะอาดไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อคุณภาพของผลผลิต และปนเปื้อนสิ่งอันตรายที่มีผลต่อความปลอดภัยในการบริโภค ตรวจสอบบันทึกการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ตรวจพินิจอุปกรณ์ ภาชนะบรรจุ ขั้นตอนและวิธีการเก็บเกี่ยว หมายเหตุ ข้อกำหนดในข้อ 1 5 สำหรับกระบวนการผลิตที่ได้ผลิตผลปลอดภัย ข้อกำหนดในข้อ 1 6 สำหรับกระบวนการผลิตที่ได้ผลิตผลปลอดภัยและปลอดจากศัตรูพืช ข้อกำหนดในข้อ 1 8 สำหรับกระบวนการผลิตที่ได้ผลิตผลปลอดภัย ปลอดจากศัตรูพืชและคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค ที่มา กรมวิชาการเกษตร
หลักการและประโยชน์ของ HACCP
HACCP เป็นมาตรฐานการผลิต ที่มีมาตรการป้องกันอันตราย ที่ผู้บริโภค อาจได้รับจากการบริโภคอาหาร หลายท่านอาจสงสัยว่า ระบบ HACCP ที่กล่าวถึงนั้นคืออะไร มีความสำคัญต่อประเทศไทย ในฐานะประเทศ ผู้ผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลกอย่างไร ใครบ้างที่มีบทบาทเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ประเทศไทยได้ดำเนินการในเรื่องนี้ไปแล้วเพียงใด รวมทั้งประโยชน์ที่ได้รับ จากการใช้ระบบนี้คืออะไร อัจฉรา พุ่มฉัตร นักวิทยาศาสตร์ 8 ว กองการศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ HACCP เป็นตัวย่อจากคำภาษาอังกฤษ ที่ว่า Hazard Analysis Critical Control Point ซึ่งหมายถึง การวิเคราะห์อันตราย จุดควบคุมวิกฤต เป็นแนวคิดเกี่ยวกับ มาตรการป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้น ในแต่ละขั้นตอน ของการดำเนินกิจกรรมใด ๆ โดยมีกระบวน การดำเนินงาน เชิงวิทยาศาสตร์ คือมีการศึกษาถึงอันตราย หาทางป้องกันไว้ล่วงหน้า รวมทั้งมีการควบคุม และเฝ้าระวัง เพื่อให้แน่ใจว่า มาตรการป้องกัน ที่กำหนดขึ้นนั้น มีประสิทธิภาพตลอดเวลา ที่มาของการเปลี่ยนแนวคิด HACCP ให้เป็นวิธีปฏิบัติ ในอุตสาหกรรมอาหาร เกิดขึ้น ตั้งแต่ปี พ ศ 2502 โดยบริษัทพิลสเบอรี่ ในสหรัฐอเมริกา ต้องการระบบงาน ที่สามารถใช้สร้างความเชื่อมั่น ในความปลอดภัย สำหรับการผลิตอาหาร ให้แก่นักบินอวกาศ ในโครงการ ขององค์การนาซ่า แห่งสหรัฐอเมริกานับแต่นั้นเป็นต้นมา ทั้งภาคอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันทางวิชาการ และองค์กร ที่มีหน้าที่ควบคุมดูแล ด้านอาหารของสหรัฐอเมริกา ก็เริ่มให้ความสนใจ ในระบบ HACCP จึงได้มีการส่งเสริม และนำไปปรับใช้ ในอุตสาหกรรมอาหาร ประเภทต่าง ๆ องค์การอาหารและยา ของสหรัฐอเมริกา ได้ใช้แนวคิดนี้ ในการแก้ปัญหา ที่ผู้บริโภคได้รับอันตราย จากอาหารกระป๋อง เนื่องจากสารพิษของแบคทีเรีย คือ botulinum toxinsจากเชื้อ Clostridium botulinumสารพิษนี้ มีอันตรายต่อผู้บริโภคสูงมาก แม้ร่างกายจะได้รับ ในปริมาณเพียงเล็กน้อย ก็อาจถึงแก่ชีวิตได้ จึงได้มีการกำหนด จุดควบคุมวิกฤต ในกฎหมายที่ควบคุมกรรมวิธี การผลิตอาหารกระป๋อง ที่มีความเป็นกรดต่ำ low acid food ต่อมาองค์การอาหาร และเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก ได้เห็นความสำคัญ ของการประยุกต์ใช้ HACCP ในกระบวนการผลิตอาหาร ในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ในครัวเรือน การผลิตวัตถุดิบ ที่เป็นอาหาร จนถึงอุตสาหกรรมอาหาร ขนาดใหญ่ ในที่สุดคณะกรรมาธิการ ว่าด้วยมาตรฐานอาหาร ระหว่างประเทศ ซึ่งมีรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ เป็นสมาชิก อยู่เป็นจำนวนมาก ได้จัดทำเอกสารวิชาการ เพื่อเป็นแนวทาง ปฏิบัติในการประยุกต์ใช้ HACCP สำหรับการผลิตอาหารขึ้น พร้อมทั้งมีนโยบาย สนับสนุนการใช้ HACCP ในกระบวนการผลิตอาหาร เพื่อการค้าระหว่างประเทศ ทำให้ระบบ HACCP เป็นที่ยอมรับ และนานาชาติ ให้ความสำคัญ เอกสารวิชาการ เกี่ยวกับระบบ HACCP และแนวทางการนำไปใช้ ที่คณะกรรมาธิการ ว่าด้วยมาตรฐานอาหาร ระหว่างประเทศ จัดทำขึ้นฉบับล่าสุด เป็นฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ออกเมื่อปี พ ศ 2540 หลักการสำคัญของระบบ HACCP หลักการสำคัญของระบบ HACCP มี 7 ประการกล่าวคือ หลักการที่ 1 การวิเคราะห์อันตราย จากผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ที่อาจมีต่อผู้บริโภค ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอันตรายในอาหารแบ่งออกเป็น อันตรายทางชีวภาพ biological hazard อันตรายทางเคมี chemical hazard อันตรายทางกายภาพ physical hazard โดยการประเมิน ความรุนแรงและโอกาส ที่จะเกิดอันตรายต่าง ๆ ในทุกขั้นตอนการผลิต จากนั้นจึงกำหนด วิธีการป้องกัน เพื่อลดหรือขจัดอันตรายเหล่านั้น หลักการที่ 2 การกำหนดจุดควบคุมวิกฤต ในกระบวนการผลิต จุดควบคุมวิกฤต หมายถึง ตำแหน่งวิธีการ หรือขั้นตอนในกระบวนการผลิต ซึ่งหากสามารถควบคุม ให้อยู่ในค่า หรือลักษณะที่กำหนดไว้ได้แล้ว จะทำให้มีการขจัดอันตราย หรือลดการเกิดอันตราย จากผลิตภัณฑ์นั้นได้ หลักการที่ 3 การกำหนดค่าวิกฤต ณ จุดควบคุมวิกฤต ค่าวิกฤต อาจเป็นค่าตัวเลข หรือลักษณะเป้าหมาย ของคุณภาพ ด้านความปลอดภัย ที่ต้องการของผลผลิต ณ จุดควบคุมวิกฤต ซึ่งกำหนดขึ้น เป็นเกณฑ์สำหรับการควบคุม เพื่อให้แน่ใจว่า จุดควบคุมวิกฤต อยู่ภายใต้การควบคุม หลักการที่ 4 ทำการเฝ้าระวัง โดยกำหนดขึ้น อย่างเป็นระบบ มีแผนการตรวจสอบ หรือเฝ้าสังเกตการณ์ และบันทึกข้อมูล เพื่อให้เชื่อมั่นได้ว่า การปฏิบัติงาน ณ จุดควบคุมวิกฤต มีการควบคุม อย่างถูกต้อง หลักการที่ 5 กำหนดมาตรการแก้ไข สำหรับข้อบกพร่อง และใช้มาตรการนั้นทันที กรณีที่พบว่า จุดควบคุมวิกฤต ไม่อยู่ภายใต้ การควบคุมตามค่าวิกฤต ที่กำหนดไว้ หลักการที่ 6 ทบทวนประสิทธิภาพ ของระบบ HACCP ที่ใช้งานอยู่ รวมทั้งใช้ผล การวิเคราะห์ทดสอบ ทางห้องปฏิบัติการ เพื่อประกอบการพิจารณา ในการยืนยันว่า ระบบ HACCP ที่ใช้อยู่นั้น มีประสิทธิภาพเพียงพอ ที่จะสร้างความเชื่อมั่น ในความปลอดภัย ของผลิตภัณฑ์ได้ หลักการที่ 7 จัดทำระบบบันทึก และเก็บรักษาข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์อาหาร แต่ละชนิดไว้ เพื่อเป็นหลักฐาน ให้สามารถค้นได้เมื่อจำเป็น จากหลักการทั้ง 7 ประการนี้ ทำให้ต้องมีการจัดทำ วิธีปฏิบัติในรายละเอียด ให้เหมาะสมกับ แต่ละผลิตภัณฑ์ แต่ละกระบวนการผลิต แต่ละสถานที่ผลิต เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ในการป้องกันอันตราย อย่างเต็มที่ วิธีการที่ใช้ ในระบบ HACCP เป็นกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ มีการศึกษารวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล ตัดสินใจ วางแผน ดำเนินงานตามแผน ติดตามกำกับดูแล การปฏิบัติงานในระบบ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และทบทวนประสิทธิภาพ ของระบบอยู่ตลอดเวลา จึงจำเป็นที่ ผู้ประกอบการผลิตอาหาร ที่จะใช้ระบบนี้ ต้องจัดตั้งทีมงาน ซึ่งประกอบด้วยผู้มีความรู้ ความชำนาญหลายสาขา เช่น ด้านวิทยาศาสตร์ การอาหาร วิศวกรรมโรงงาน สุขาภิบาลอาหาร หรืออื่น ๆ ตามความจำเป็น เพื่อทำหน้าที่พัฒนา ระบบจัดทำเอกสาร และตรวจประเมินผล การปฏิบัติงาน เมื่อปีราวปี พ ศ 2534 สหภาพยุโรป ได้ออกกฎระเบียบ ให้ผู้ผลิตอาหาร ที่จะจำหน่ายในกลุ่ม ประเทศสมาชิก ต้องดำเนินการกำหนด จุดควบคุมวิกฤต ในกระบวนการผลิต และเมื่อปลายปี พ ศ 2540 กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำหนดให้ผู้ผลิตอาหารทะเล ที่จำหน่าย ต้องใช้ระบบ HACCP มีผลใช้บังคับ หมายความว่า ปัจจุบันผู้ผลิตอาหาร ของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย ที่ต้องการส่งอาหารทะเล ไปจำหน่ายยังสหรัฐอเมริกา จะต้องผลิตโดยมีระบบ HACCP ตามข้อกำหนด ของกฎหมายดังกล่าว ทำให้ผู้ผลิตอาหารทะเลส่งออก จำเป็นที่จะต้องนำระบบ HACCP มาประยุกต์ใช้ ผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้อง ในเรื่องนี้โดยตรง คือภาคอุตสาหกรรม อาหารทะเลส่งออกของไทยนั้น ได้มีการเตรียมตัว มาเป็นระยะเวลาพอสมควร โดยการใช้วิธีปฏิบัติที่ดี ในการผลิต และพัฒนาการใช้ ระบบ HACCP เพื่อให้สอดคล้อง กับความต้องการ ของประเทศคู่ค้า หน่วยงานรับผิดชอบของภาครัฐ เช่น กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่วมกันให้การสนับสนุน และประสานงาน ด้านวิชาการ ภาควิชาที่เกี่ยวข้อง ในหลายสถาบันการศึกษา ได้เผยแพร่ความรู้ และฝึกทักษะ ในการดำเนินงาน ระบบ HACCP แก่นักศึกษา เพื่อมุ่งสร้างบุคลากร ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมอาหาร สำหรับการกำหนด กฎระเบียบต่าง ๆ นั้นเมื่อเดือนสิงหาคม พ ศ 2540 สำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา ของกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศเรื่อง การพัฒนาและแยกระดับ มาตรฐานการผลิต ของภาคอุตสาหกรรม โดยใช้หลักการวิเคราะห์อันตราย และจุดวิกฤต ที่ต้องควบคุม เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนา สถานที่ผลิตอาหาร เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และส่งเสริมการส่งออกอาหาร ที่ผลิตขึ้นในประเทศ เมื่อเดือนกันยายน 2540 กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศ ฉบับที่ 2276 พ ศ 2540 เรื่องกำหนดมาตรฐาน อุตสาหกรรม ระบบการวิเคราะห์อันตราย และจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม ในการผลิตอาหาร และข้อแนะนำการใช้ เป็นมาตรฐานเลขที่ มอก 7000 2540 นอกจากนี้สำนักงาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา ยังได้ร่วมกันเป็นหน่วยงาน ที่ทำหน้าที่ ให้การรับรอง แก่ผู้ประกอบการอีกด้วย ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ระบบ HACCP ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ระบบ HACCP มีหลายประการที่สำคัญได้แก่ ประการแรก ทำให้ภาคอุตสาหกรรมอาหาร สามารถสร้างความมั่นใจ ต่อผู้บริโภค ในคุณภาพความปลอดภัย ของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้น หรือจัดจำหน่าย ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย แก่ผู้ประกอบการ ในระยะยาวได้ดี เนื่องจาก มีการจัดสรรทรัพยากร ไปใช้ในอุตสาหกรรม ที่ควรจะใช้ การกำหนดจุดควบคุมวิกฤต ที่เหมาะสม จะทำให้ผู้ประกอบการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้มีการศึกษาปัญหา และหาทางป้องกัน แก้ไขไว้ล่วงหน้า เมื่อมีแนวโน้มว่า จะเกิดปัญหาในการผลิต ก็จะทำให้แก้ไขได้อย่างทันท่วงที ช่วยลดการสูญเสีย ของผลิตภัณฑ์ ทำให้สามารถดำเนินการอาหาร แต่ละตำรับ แต่ละรุ่น ได้อย่างราบรื่น ตามเป้าหมายที่กำหนด นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ประกอบการศึกษา ความปลอดภัย ของกระบวนการผลิตใหม่ ๆ ที่จะพัฒนาขึ้น และผู้ประกอบการ จะสามารถประยุกต์ใช้ ระบบ HACCP นี้ กับทุกขั้นตอน ของกระบวนการผลิต และการประกอบอาหาร ประการที่ 2 เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ที่ทำหน้าที่กำกับดูแลความปลอดภัย ของอาหาร จะได้รับประโยชน์ ถ้าผู้ผลิตใช้ระบบ เพราะบันทึกข้อมูล หลักฐานการผลิต ในระบบ HACCP ที่ผู้ประกอบการบันทึกไว้ ระหว่างการผลิตอาหาร แต่ละรุ่น จะเป็นเครื่องมือ ประกอบการตรวจสอบที่ดี ช่วยให้งานควบคุม คุณภาพอาหาร ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ สะดวก และมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เพราะรูปแบบเดิม ของการตรวจสอบ จะมีการทำแผนให้เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ เข้าทำการตรวจสอบ สถานที่ผลิตอาหาร เป็นครั้งคราว แต่ละครั้งอาจใช้เวลาห่างกัน 1 ถึง 2 ปี และข้อมูลที่ได้ จากการตรวจเยี่ยม เป็นเพียงข้อมูลการผลิต ณ เวลาที่เข้าทำการตรวจสอบเท่านั้น ประการที่ 3 ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ และความร่วมมืออันดี ระหว่างผู้ประกอบการผลิตอาหาร กับเจ้าหน้าที่ ผู้กำกับดูแลภาครัฐ เนื่องจากมีข้อเสนอแนะ ให้มีการให้ความเห็นชอบร่วมกัน ในการจัดทำ แผนดำเนินการ ระบบ HACCP และผู้ผลิตจะต้องเก็บข้อมูลสำคัญ เกี่ยวกับการผลิต ไว้ให้เจ้าหน้าที่ ตรวจสอบได้ตลอดเวลา ซึ่งทำให้เกิดความโปร่งใส ในการปฏิบัติงาน ประการที่ 4 การรับรองระบบ HACCP โดยหน่วยงานที่เหมาะสมนั้น จะเป็นประโยชน์ ต่อการค้า อาหารระหว่างประเทศ คือ จะช่วยอำนวยความสะดวก ในการตรวจปล่อยสินค้า เมื่อส่งถึงเมืองท่าปลายทาง เนื่องจาก ผู้รับผิดชอบตรวจสอบ มีความเชื่อมั่น ในคุณภาพความปลอดภัย ของระบบการผลิตสินค้ามากขึ้น นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารส่งออก ที่ปลอดภัย เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ยังสามารถสร้างเศรษฐกิจ และชื่อเสียงแก่ประเทศชาติ รวมทั้งช่วยลดปัญหา สาธารณสุขระหว่างประเทศ อันเนื่องจากผลิตภัณฑ์ อาหารนำเข้าและส่งออก ได้อีกด้วย ประการที่ 5 ผู้บริโภคเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มีความปลอดภัย ให้เลือกซื้อหามาบริโภคเพิ่มขึ้น สภาพเศรษฐกิจ ปัจจุบันและอนาคต ทำให้มีการกีดกันทางการค้า อาหารระหว่างประเทศมากขึ้น เป็นลำดับ การนำระบบ HACCP มาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร แม้จะต้องมีการลงทุนลงแรง ในระยะเริ่มต้น มากพอสมควร แต่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะช่วยเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน สร้างความเชื่อมั่น ในระบบการผลิต สอดคล้องกับความต้องการ ของประเทศคู่ค้า และลดต้นทุนการผลิต ในระยะยาว
อาหารใดบ้างต้องมีเครื่องหมาย อย.
เครื่องหมายอย เป็นสัญลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ที่มีภาชนะบรรจุสนิท hermectically sealed container รับผิดชอบโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ผลิตภัณฑ์อาหารใดบ้างต้องมีฉลากดูรายการอาหารและclick link ไปดูตัวอย่างอาหารที่ได้มาตรฐาน พร้อมกรรมวิธีการผลิต และการควบคุมคุณภาพอาหารแต่ละชนิดได้นะคะ กลุ่มที่ 1 อาหารควบคุมเฉพาะมี 17 ชนิด ได้แก่ 1 นมดัดแปลงสำหรับทารก และนมดัดแปลงสูตรต่อเนื่อง สำหรับทารกและเด็กเล็ก2 อาหารทารกและอาหารสูตรต่อเนื่อง สำหรับทารก และเด็กเล็ก3 อาหารเสริม สำหรับทารกและเด็กเล็ก4 นมโค5 นมปรุงแต่ง 6 นมเปรี้ยว 7 ไอศกรีม ice cream 8 อาหารในภาชนะบรรจุ ที่ปิดสนิท hermectically sealed container 9 ผลิตภัณฑ์ของนม diary product 10 น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุ ที่ปิดสนิท 11 เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท12 น้ำแข็ง13 อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการ ควบคุมน้ำหนัก 14 สีผสมอาหาร15 วัตถุที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร16 วัตถุเจือปนอาหาร 17 โซเดียมซัยคลาเมตและ อาหารที่มีโซเดียมซัยคลาเมต กลุ่มที่ 2 อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานมี 31 ชนิด ได้แก่ 1 น้ำมันและไขมัน 2 น้ำมันถั่วลิสง3 เนย 4 เนยเทียม 5 กี 6 อาหารกึ่งสำเร็จรูป7 น้ำมันเนย 8 น้ำปลา 9 น้ำส้มสายชู 10 ครีม 11 น้ำมันปาล์ม 12 น้ำมันมะพร้าว 13 ชา 14 น้ำนมถั่วเหลือง ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท15 กาแฟ 16 แยม เยลลี มาร์มาเลด ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท17 เครื่องดื่มเกลือแร่18 รอยัลเยลลีและ ผลิตภัณฑ์รอยัลเยลลี 19 น้ำผึ้ง 20 น้ำแร่จากธรรมชาติ 21 เนยแข็ง22 ซอสบางชนิด23 น้ำที่เหลือ จากผลิตภัณฑ์ โมโนโซเดียมกลูตาเมต24 ไข่เยี่ยวม้า 25 ผลิตภัณฑ์ปรุงรส ที่ได้จากการย่อยโปรตีน ของถั่วเหลือง26 ข้าวเติมวิตามิน27 ช็อกโกแลต 28 เกลือบริโภค 29 อาหารที่มีสารพิษตกค้าง30 อาหารที่มีสารปนเปื้อน31 อาหารที่มีกัมมันตรังสี กลุ่มที่ 3 อาหารที่รัฐมนตรีประกาศให้ต้องมีฉลากมี 14 ชนิด ได้แก่ 1 ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ 2 แป้งข้าวกล้อง3 น้ำเกลือปรุงอาหาร4 ซอสในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท5 ขนมปัง 6 หมากฝรั่งและลูกอม7 วุ้นสำเร็จรูปและขนมเยลลี 8 กำหนดกรรมวิธี การผลิตอาหารซึ่งมี การใช้กรรมวิธีการ ฉายรังสี9 ผลิตภัณฑ์กระเทียม10 วัตถุแต่งกลิ่นรส 11 อาหารที่มีวัตถุที่ใช้เพื่อรักษาคุณภาพ หรือ มาตรฐานของอาหาร รวมอยู่ในภาชนะบรรจุ12 อาหารที่มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้ 13 อาหารมีวัตถุประสงค์พิเศษ 14 การแสดงฉลากของอาหาร พร้อมปรุงและอาหารสำเร็จรูป ที่พร้อมบริโภคทันที
Good Manufacturing Practice
ชมวิดีโอดีๆ แนะนำคำว่า GMP Good Manufacturing Practice ซึ่งหมายถึง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร เป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม และทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจจะทำให้อาหารเป็นพิษ เป็นอันตราย หรือเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค GMP เป็นระบบประกันคุณภาพที่มีการปฏิบัติ และพิสูจน์จากกลุ่มนักวิชาการด้านอาหารทั่วโลกแล้วว่าสามารถทำให้อาหารเกิดความปลอดภัย เป็นที่เชื่อถือยอมรับจากผู้บริโภค โดยอาศัยหลายปัจจัยที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ดังนั้นหากยิ่งสามารถปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดได้ทั้งหมด ก็จะทำให้อาหารมีคุณภาพมาตรฐานและมีความปลอดภัยมากที่สุด หลักการของ GMP จึงครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ โครงสร้างอาคาร ระบบการผลิตที่ดี มีความปลอดภัย และมีคุณภาพ ได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพ และการขนส่งจนถึงผู้บริโภค มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึง ระบบการจัดการที่ดีในเรื่องสุขอนามัย Sanitation และ Hygiene ทั้งนี้ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายมีคุณภาพและความปลอดภัย เป็นที่มั่นใจเมื่อถึงมือผู้บริโภค และ GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่น ๆ ต่อไป เช่น HACCP Hazards Analysis and Critical Control Points และ ISO 9000 อีกด้วย ประเภทของ GMP 1 GMP สุขลักษณะทั่วไป หรือ General GMP ซึ่งเป็น หลักเกณฑ์ที่นำไปใช้ปฏิบัติสำหรับอาหารทุกประเภท 2 GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ หรือ Specific GMP ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่เพิ่มเติมจาก GMP ทั่วไปเพื่อมุ่งเน้นในเรื่องความเสี่ยงและความปลอดภัยของแต่ละผลิตภัณฑ์อาหารเฉพาะมากยิ่งขึ้นระบบ GMP อาหารเข้ามาในประเทศและเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี 2529 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้นำระบบ GMP มาใช้พัฒนาสถานที่ผลิตอาหารของประเทศเป็นครั้งแรก ในลักษณะส่งเสริมและ ยกระดับมาตรฐานการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารแก่ ผู้ประกอบการแบบสมัครใจ โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ดำเนินการในเรื่องนี้เป็นขั้นตอนตามลำดับ ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดเพื่อประเมินและกระตุ้นผู้ประกอบการให้มีความสนใจที่จะพัฒนาสถานที่ผลิตเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง และหลังจากนั้นในปี 2535 เป็นต้นมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยกองควบคุมอาหารได้มีมาตรการให้การรับรองระบบ GMP Certificate GMP แก่ผู้ประกอบการในลักษณะสมัครใจ แนวทางและขั้นตอนสู่ GMP ตามกฎหมาย GMP ที่นำมาเป็นมาตรการบังคับใช้เป็นกฎหมายนั้น ได้นำแนวทางข้อกำหนดเป็นไปตามของ Codex มาตรฐานสากลของโครงการมาตรฐานอาหาร FAO WHO ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสากล แต่มีการปรับในรายละเอียดบางประเด็นหรือเป็นการปรับให้ง่ายขึ้น Simplify เพื่อให้เหมาะสมกับศักยภาพของผู้ผลิตอาหารภายในประเทศซึ่งสามารถปฏิบัติได้จริง แต่ยังมีข้อกำหนดที่เป็นหลักการที่สำคัญเหมือนกับของ Codex แต่สามารถนำไปใช้ได้ กับสถานประกอบการทุกขนาด ทุกประเภท ทุกผลิตภัณฑ์ ตามสภาพการณ์ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนามาตรฐานสูงขึ้นมาจากหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐาน Minimum Requirement ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาใช้ในการพิจารณาอนุญาตผลิต กล่าวได้ว่า GMP สุขลักษณะทั่วไปนี้ผู้ประกอบการสามารถนำไปปฏิบัติตามได้ ในขณะที่กฎระเบียบข้อบังคับของหลักการสำคัญก็มีความน่าเชื่อถือในระดับสากลสำหรับ GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ Specific GMP นั้นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้กำหนดให้น้ำบริโภคเป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตาม GMP เฉพาะ เนื่องจากการผลิตมีกระบวนการที่ไม่ซับซ้อนและลงทุนไม่มาก จากการตรวจสอบจำนวนผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการรายย่อยมีการผลิตโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ทำให้เกิดปัญหาการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์ ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค จึงจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการและหาวิธีการแก้ไขและป้องกันในเรื่องนี้อย่างจริงจังมากขึ้น ทั้งนี้ให้เน้นการควบคุมสถานที่และกระบวนการผลิต โดยใช้หลักการของ GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์เข้ามาเป็นหลักเกณฑ์บังคับทางกฎหมาย เพื่อให้ผู้ผลิตน้ำบริโภคตระหนัก มีการควบคุม ตรวจสอบ และเห็นความสำคัญในเรื่องคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์GMP ที่เป็นกฎหมาย 2 ฉบับ คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 193 พ ศ 2543 และ ฉบับที่ 239 พ ศ 2544 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร GMP สุขลักษณะทั่วไป และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 220 พ ศ 2544 เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ฉบับที่ 3 GMP น้ำบริโภค มีผลบังคับใช้สำหรับผู้ผลิตอาหารรายใหม่ ตั้งแต่ วันที่ 24 กรกฎาคม 2544 ส่วนรายเก่ามีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2546การกำหนด GMP ตามกฎหมายนี้ก็เพื่อให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับหลักการของสากลมากขึ้น โดยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐที่ว่า อาหารที่ส่งออกและที่จำหน่ายภายในประเทศต้องมีคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยเท่ากันข้อกำหนด GMP สุขลักษณะทั่วไป มีอยู่ 6 ข้อกำหนด ดังนี้ 1 สถานที่ตั้งและอาคารผลิต 2 เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิต 3 การควบคุมกระบวนการผลิต 4 การสุขาภิบาล 5 การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด 6 บุคลากรและสุขลักษณะในแต่ละข้อกำหนดมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้ผลิตมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อน อันตรายทั้งทางด้านจุลินทรี เคมี และกายภาพลงสู่ผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจมาจากสิ่งแวดล้อม ตัวอาคาร เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ การดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนการผลิต รวมถึงการจัดการในด้านสุขอนามัยทั้งในส่วนของความสะอาด การบำรุงรักษา และผู้ปฏิบัติงาน
GMP ผู้ผลิตอาหารใดต้องปฏิบัติตาม
อาหารดังต่อไปนี้ เป็นอาหารที่กำหนดให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 193 พ ศ 2543 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 239 พ ศ 2544 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 193 พ ศ 2543 อาหารทารกและอาหารสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็ก อาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็ก นมดัดแปลงสำหรับทารกและนมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก น้ำแข็ง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท นมโค นมเปรี้ยว ไอศกรีม นมปรุงแต่ง ผลิตภัณฑ์ของนม วัตถุเจือปนอาหาร สีผสมอาหาร วัตถุที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร โซเดียมซัยคลาเมตและอาหารที่มีโซเดียมซัยคลาเมต อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ชา กาแฟ น้ำปลา น้ำแร่ธรรมชาติ น้ำส้มสายชู น้ำมันและไขมัน น้ำมันถั่วลิสง ครีม น้ำมันเนย เนย เนยแข็ง กี เนยเทียมอาหารกึ่งสำเร็จรูป ซอสบางชนิด น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว เครื่องดื่มเกลือแร่ น้ำนมถั่วเหลืองในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ยกเว้นที่มีสถานที่ผลิตที่ไม่เข้าลักษณะเป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ช็อกโกแลต แยม เยลลี มาร์มาเลด ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ ไข่เยี่ยวม้า รอยัลเยลลีและผลิตภัณฑ์รอยัลเยลลี ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลือง น้ำผึ้ง ยกเว้นที่มีสถานที่ผลิตที่ไม่เข้าลักษณะเป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ข้าวเติมวิตามิน แป้งข้าวกล้อง น้ำเกลือปรุงอาหาร ซอสในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ขนมปัง หมากฝรั่งและลูกอม วุ้นสำเร็จรูปและขนมเยลลี ผลิตภัณฑ์กระเทียม ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ วัตถุแต่งกลิ่นรส อาหารแช่เยือกแข็งที่ได้ผ่านการเตรียม prepared และหรือการแปรรูป processed
6 แนวทางการผลิตอาหารให้ถูกหลัก GMP
การผลิตอาหารจะต้องมีการกำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1 สถานที่ตั้งและอาคารผลิต 1 1 สถานที่ตั้งตัวอาคารและที่ใกล้เคียง ต้องอยู่ในที่ที่จะไม่ทำให้อาหารที่ผลิตเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย โดย 1 1 1 สถานที่ตั้งตัวอาคารและบริเวณโดยรอบสะอาด ไม่ปล่อยให้มีการสะสมสิ่งที่ไม่ใช้แล้ว หรือสิ่งปฏิกูลอันอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลง รวมทั้งเชื้อโรคต่าง ๆ ขึ้นได้ 1 1 2 อยู่ห่างจากบริเวณหรือสถานที่ที่มีฝุ่นมากผิดปกติ 1 1 3 ไม่อยู่ใกล้เคียงกับสถานที่น่ารังเกียจ 1 1 4 บริเวณพื้นที่ตั้งตัวอาคารไม่มีน้ำขังแฉะและสกปรก และมีท่อระบายน้ำเพื่อให้ไหลลงสู่ทางระบายน้ำสาธารณะในกรณีที่สถานที่ตั้งตัวอาคารซึ่งใช้ผลิตอาหารอยู่ติดกับบริเวณที่มีสภาพไม่เหมาะสม หรือไม่เป็นไปตามข้อ 1 1 1 1 1 4 ต้องมีกรรมวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค ตลอดจนฝุ่นผงและสาเหตุของการปนเปื้อนอื่น ๆ ด้วย 1 2 อาคารผลิตมีขนาดเหมาะสม มีการออกแบบและก่อสร้างในลักษณะที่ง่ายแก่การทะนุบำรุงสภาพ รักษาความสะอาด และสะดวกในการปฏิบัติงาน โดย 1 2 1 พื้น ฝาผนัง และเพดานของอาคารสถานที่ผลิต ต้องก่อสร้างด้วยวัสดุที่คงทน เรียบ ทำความสะอาด และซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ดีตลอดเวลา 1 2 2 ต้องแยกบริเวณผลิตอาหารออกเป็นสัดส่วน ไม่ปะปนกับที่อยู่อาศัย 1 2 3 ต้องมีมาตรการป้องกันสัตว์และแมลงไม่ให้เข้าในบริเวณอาคารผลิต 1 2 4 จัดให้มีพื้นที่เพียงพอที่จะติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตให้เป็นไปตามสายงานการผลิตอาหารแต่ละประเภท และแบ่งแยกพื้นที่การผลิตเป็นสัดส่วนเพื่อป้องกันการปนเปื้อนอันอาจเกิดขึ้นกับอาหารที่ผลิตขึ้น 1 2 5 ไม่มีสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตอยู่ในบริเวณผลิต 1 2 6 จัดให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เหมาะสมเพียงพอสำหรับการปฏิบัติงานภายในอาคารผลิต 2 เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิต 2 1 ภาชนะหรืออุปกรณ์ในการผลิตที่สัมผัสกับอาหาร ต้องทำจากวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหารอันอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค 2 2 โต๊ะที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตในส่วนที่สัมผัสกับอาหาร ต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่เกิดสนิม ทำความสะอาดง่าย และไม่ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่อาจเป็นอันตรายแก่สุขภาพของผู้บริโภค โดยมีความสูงเหมาะสมและมีเพียงพอในการปฏิบัติงาน 2 3 การออกแบบติดตั้งเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้เหมาะสมและคำนึงถึงการปนเปื้อนที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งสามารถทำความสะอาดตัวเครื่องมือ เครื่องจักร และบริเวณที่ตั้งได้ง่ายและทั่วถึง 2 4 เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิต ต้องเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน 3 การควบคุมกระบวนการผลิต 3 1 การดำเนินการทุกขั้นตอนจะต้องมีการควบคุมตามหลักสุขาภิบาลที่ดีตั้งแต่การตรวจรับวัตถุดิบและส่วนผสมในการผลิตอาหาร การขนย้าย การจัดเตรียม การผลิต การบรรจุ การเก็บรักษาอาหาร และการขนส่ง 3 1 1 วัตถุดิบและส่วนผสมในการผลิตอาหาร ต้องมีการคัดเลือกให้อยู่ในสภาพที่สะอาด มีคุณภาพดี เหมาะสำหรับใช้ในการผลิตอาหารสำหรับบริโภค ต้องล้างหรือทำความสะอาดตามความจำเป็นเพื่อขจัดสิ่งสกปรก หรือสิ่งปนเปื้อนที่อาจติดหรือปนมากับวัตถุนั้น ๆ และต้องเก็บรักษาวัตถุดิบภายใต้สภาวะที่ป้องกันการปนเปื้อนได้โดยมีการเสื่อมสลายน้อยที่สุด และมีการหมุนเวียนสต๊อกของวัตถุดิบและส่วนผสมอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ 3 1 2 ภาชนะบรรจุอาหารและภาชนะที่ใช้ในการขนถ่ายวัตถุดิบและส่วนผสมในการผลิตอาหาร ตลอดจนเครื่องมือที่ใช้ในการนี้ ต้องอยู่ในสภาพที่เหมาะสมและไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อนกับอาหารในระหว่างการผลิต 3 1 3 น้ำแข็งและไอน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่สัมผัสกับอาหาร ต้องมีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำแข็งและน้ำบริโภค และการนำไปใช้ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ 3 1 4 น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตอาหาร ต้องเป็นน้ำสะอาดบริโภคได้ มีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำบริโภค และการนำไปใช้ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ 3 1 5 การผลิต การเก็บรักษา ขนย้าย และขนส่งผลิตภัณฑ์อาหาร ต้องป้องกันการปนเปื้อนและป้องกันการเสื่อมสลายของอาหารและภาชนะบรรจุด้วย 3 1 6 การดำเนินการควบคุมกระบวนการผลิตทั้งหมด ให้อยู่ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม 3 2 จัดทำบันทึกและรายงานอย่างน้อยดังต่อไปนี้ 3 2 1 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ 3 2 2 ชนิดและปริมาณการผลิตของผลิตภัณฑ์และวันเดือนปีที่ผลิต โดยให้เก็บบันทึกและรายงานไว้อย่างน้อย 2 ปี 4 การสุขาภิบาล 4 1 น้ำที่ใช้ภายในโรงงาน ต้องเป็นน้ำสะอาดและจัดให้มีการปรับคุณภาพน้ำตามความจำเป็น 4 2 จัดให้มีห้องส้วมและอ่างล้างมือหน้าห้องส้วมให้เพียงพอสำหรับผู้ฏิบัติงาน และต้องถูกสุขลักษณะ มีอุปกรณ์ในการล้างมืออย่างครบถ้วน และต้องแยกต่างหากจากบริเวณผลิต หรือไม่เปิดสู่บริเวณผลิตโดยตรง 4 3 จัดให้มีอ่างล้างมือในบริเวณผลิตให้เพียงพอและมีอุปกรณ์การล้างมืออย่างครบถ้วน 4 4 จัดให้มีวิธีการป้องกันและกำจัดสัตว์และแมลงในสถานที่ผลิตตามความเหมาะสม 4 5 จัดให้มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยที่มีฝาปิดในจำนวนที่เพียงพอ และมีระบบกำจัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสม 4 6 จัดให้มีทางระบายน้ำทิ้งและสิ่งโสโครกอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสม และไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตอาหาร 5 การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด 5 1 ตัวอาคารสถานที่ผลิตต้องทำความสะอาดและรักษาให้อยู่ในสภาพสะอาดถูกสุขลักษณะโดยสม่ำเสมอ 5 2 ต้องทำความสะอาด ดูแลและเก็บรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิตให้อยู่ในสภาพที่สะอาดทั้งก่อนและหลังการผลิต สำหรับชิ้นส่วนของเครื่องมือเครื่องจักรต่าง ๆ ที่อาจเป็นแหล่งสะสมจุลินทรีย์ หรือก่อให้เกิดการปนเปื้อนอาหาร สามารถทำความสะอาดด้วยวิธีที่เหมาะสมและเพียงพอ 5 3 พื้นผิวของเครื่องมือและอุปกรณ์การผลิตที่สัมผัสกับอาหาร ต้องทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ 5 4 เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิต ต้องมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสม่ำเสมอ 5 5 การใช้สารเคมีที่ใช้ล้างทำความสะอาด ตลอดจนเคมีวัตถุที่ใช้เกี่ยวข้องกับการผลิตอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ปลอดภัย และการเก็บรักษาวัตถุดังกล่าวจะต้องแยกเป็นสัดส่วนและปลอดภัย 6 บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน 6 1 ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตต้องไม่เป็นโรคติดต่อหรือโรคน่ารังเกียจตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง หรือมีบาดแผลอันอาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์ 6 2 เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนในขณะที่ดำเนินการผลิตและมีการสัมผัสโดยตรงกับอาหาร หรือส่วนผสมของอาหาร หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของพื้นที่ผิวที่อาจมีการสัมผัสกับอาหาร ต้อง 6 2 1 สวมเสื้อผ้าที่สะอาดและเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน กรณีที่ใช้เสื้อคลุมก็ต้องสะอาด 6 2 2 ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนเริ่มปฏิบัติงาน และหลังการปนเปื้อน 6 2 3 ใช้ถุงมือที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์และสะอาดถูกสุขลักษณะ ทำด้วยวัสดุที่ไม่มีสารละลายหลุดออกมาปนเปื้อนอาหารและของเหลวซึมผ่านไม่ได้ สำหรับจับต้องหรือสัมผัสกับอาหาร กรณีไม่สวมถุงมือต้องมีมาตรการให้คนงานล้างมือ เล็บ แขนให้สะอาด 6 2 4 ไม่สวมใส่เครื่องประดับต่าง ๆ ขณะปฏิบัติงาน และดูแลสุขอนามัยของมือและเล็บให้สะอาดอยู่เสมอ 6 2 5 สวมหมวก หรือผ้าคลุมผม หรือตาข่าย 6 3 มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสุขลักษณะทั่วไป และความรู้ทั่วไปในการผลิตอาหารตามความเหมาะสม 6 4 ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิต ปฏิบัติตามข้อ 6 1 6 2 เมื่ออยู่ในบริเวณผลิต
ฉลากโภชนาการ (nutrition label)
อาหารประเภทใดบ้างที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ ข้อมูลบังคับ ปริมาณพลังงานทั้งหมด ปริมาณพลังงานที่ได้จากไขมัน คาร์โบไฮเดรท ไขมัน โปรตีน protein วิตามินเอ vitamin A บี1 vitamin B1 บี2 แคลเซียม เหล็ก โคเลสเตอรอล cholesterol โซเดียม ไขมันอิ่มตัวและน้ำตาล ไม่มากเกิน ใยอาหาร สารอาหารที่มีการเติมลงในอาหาร สารอาหารที่กล่าวอ้าง ข้อมูลที่ไม่บังคับ นอกจากที่กำหนดในข้อมูลบังคับก็สามารถใส่ในฉลากได้ เช่น วิตามิน เกลือแร่ แต่ต้องระบุต่อท้ายจากเหล็ก และเรียงจากมากไปหาน้อย 1 หนึ่งหน่วยบริโภค หมายถึง ปริมาณอาหารที่ผู้ผลิต แนะนำให้ผู้บริโภครับประทานต่อครั้ง หรือ หมายถึง กินครั้งละเท่าไรนั่นเอง ซึ่งได้มาจากค่าเฉลี่ยที่รับประทานของคนไทย เมื่อรับประทานในปริมาณเท่านี้แล้ว จะได้รับสารอาหารตามที่ระบุไว้บนฉลาก หนึ่งหน่วยบริโภค จะแสดงให้เห็นทั้งปริมาณที่เป็นหน่วยครัวเรือน เช่น กระป๋อง ชิ้น ถ้วย แก้ว เป็นต้น ตามด้วยน้ำหนัก กรัม หรือปริมาตร มิลลิลิตร ในระบบเมตริก ตัวอย่างเช่น อาหารที่มีการกล่าวอ้างหรือใช้คุณค่าทางโภชนาการเพื่อส่งเสริมการขายต้องแสดงฉลากโภชนาการ ดังต่อไปนี้ 1 อาหารที่มีการแสดงข้อมูลชนิดสารอาหาร ปริมาณสารอาหาร หน้าที่ของสารอาหาร เช่น มีไขมัน 0 มีแคลเซียมสูงเป็นต้น 2 อาหารที่มีการใช้คุณค่าทางอาหารหรือทางโภชนาการในการส่งเสริมการขาย เช่น เป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อบำรุงสุขภาพ สดใส แข็งแรง แต่ห้ามแสดงสรรพคุณในลักษณะป้องกันหรือรักษาโรค เช่น ลดความอ้วน ป้องกันมะเร็ง เป็นต้น 3 อาหารที่มุ่งจะใช้ในกลุ่มผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มเพื่อการส่งเสริมการขาย เช่น กลุ่มวัยเรียน กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น 4 อาหารที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนดให้ต้องแสดงฉลาก โภชนาการ เนื่องจากพิจารณาแล้วว่าเป็นอาหารที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในด้านคุณค่า คุณประโยชน์ทางโภชนาการอย่างแพร่หลาย ดังนั้น อาหารในท้องตลาดที่ไม่มีการกล่าวอ้างหรือส่งเสริมการขายในลักษณะดังกล่าว ไม่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ ลิ้นจี่ในน้ำเชื่อมเข้มข้น บรรจุกระป๋อง จะต้องระบุปริมาณ ที่เห็นง่าย และน้ำหนัก หรือปริมาตร ดังนี้ หนึ่งหน่วยบริโภค 4 ลูก 140 กรัม รวมน้ำเชื่อม เครื่องดื่มอัดลม จะต้องระบุปริมาณที่เห็นง่าย และ น้ำหนัก หรือปริมาตร ดังนี้ หนึ่งหน่วยบริโภค 1 กระป๋อง 325 มิลลิลิตร ประโยชน์ของฉลากโภชนาการ 1 เลือกซื้ออาหารและเลือกบริโภคให้เหมาะสมกับความต้องการ หรือภาวะทางโภชนาการของตนได้ เช่น ผู้ที่มีโคเลสเตอรอลสูง ก็เลือกอาหาร ที่ระบุว่ามีโคเลสเตอรอลต่ำ หรือ ผู้ที่เป็นโรคไตก็เลือกอาหารมีโซเดียมต่ำ 2 เปรียบเทียบเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารชนิดเดียวกัน โดยเลือก ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีกว่าได้ 3 ในอนาคต เมื่อผู้บริโภคสนใจข้อมูลโภชนาการของอาหาร ผู้ผลิตก็จะแข่งขันกันผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่า แทนการแข่งขัน กันในเรื่องหีบห่อ สี หรือสิ่งจูงใจภายนอกอื่น ๆ ฉลากโภชนาการ มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทำให้สามารถเลือกบริโภคอาหารสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูปที่มีปริมาณคุณค่าสารอาหารตรงตามความต้องการของร่างกายได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น ผู้บริโภคจึงไม่ควรละเลยหรือมองข้ามฉลากโภชนาการ การอ่านข้อมูลโภชนาการบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อ จะทำให้ซื้อผลิตภัณฑ์อาหารตามที่ต้องการได้
วิธีการกำหนดปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภค
หนึ่งหน่วยบริโภค หมายถึง ปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคที่ระบุในฉลากโภชนาการเป็นปริมาณอาหารที่ผู้ผลิตแนะนำให้ผู้บริโภครับประทานผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ในแต่ละครั้ง หรือเรียกว่า กินครั้งละ นั่นเอง ปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคนี้กำหนดได้จากปริมาณ หนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิง ซึ่งเป็นค่าปริมาณอาหารโดยน้ำหนักหรือปริมาตรของการรับประทานแต่ละครั้งที่ประมวลได้จากการสำรวจ พฤติกรรมการบริโภคและข้อมูลจากผู้ผลิตเป็นเกณฑ์ ทั้งนี้ปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคดังกล่าวอาจไม่ เท่ากับปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงก็ได้ แต่จะต้องเป็นค่าที่ใกล้เคียงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในหนึ่งหน่วยภาชนะบรรจุ กลุ่มของอาหาร ในการแสดง หนึ่งหน่วยบริโภค ในฉลากโภชนาการ จึงกำหนดปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงของ ผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ โดยจัดเป็น 7 กลุ่ม ตามลักษณะของผลิตภัณฑ์หรือลักษณะการบริโภคผลิตภัณฑ์ได้แก่ 1 กลุ่มนมและผลิตภัณฑ์ Dairy product s 2 กลุ่มเครื่องดื่ม พร้อมดื่ม Beverages 3 กลุ่มอาหารขบเคี้ยวและขนมหวาน Snack food and desserts 4 กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป Semi processed foods 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมอบ Bakery products 6 กลุ่มธัญพืชและผลิตภัณฑ์ Cereal grain products 7 กลุ่มอื่น ๆ Miscellaneous 1 กลุ่มนม และผลิตภัณฑ์นม milk and dairy product 1 นมและผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม 200 มล 2 นมข้นไม่หวาน นมข้นจืด condensed evaporated undiluted 15 มล 3 นมข้นหวาน sweetened condensed milk 20 ก 4 โยเกิร์ตชนิดครึ่งแข็งครึ่งเหลว 150 ก 5 โยเกิร์ตชนิดพร้อมดื่ม 150 มล 6 โยเกิร์ตแช่แข็ง 80 ก 7 ครีมและครีมเทียม เหลว 15 มล 8 ครีมและครีมเทียม ผง 3 ก 9 ครีมเปรี้ยว 30 ก 10 ครีมพร่องมันเนย half & half 30 มล 11 ครีมชีสและชีสสเปรด 30 ก 12 เนยแข็งชนิดคอตเตจ cottage cheese 110 ก 13 เนยแข็งชนิดริคอตตาและคอตเตจชนิดแห้ง 55 ก 14 เนยแข็งชนิดพาร์มีซาน โรมาโน 5 ก 15 เนยแข็งชนิดอื่น 30 ก 2 กลุ่มเครื่องดื่ม พร้อมดื่ม Beverage 1 น้ำผลไม้ 200 มล 2 เครื่องดื่มจากพืช ผัก และธัญพืช รวมทั้งนมถั่วเหลือง 200 มล 3 เครื่องดื่มที่มีหรือไม่มีกาซผสมอยู่ รวมทั้งน้ำบริโภคและน้ำแร่ 200 มล 4 ชา กาแฟ และเครื่องดื่มอื่น ๆ 200 มล 3 กลุ่มอาหารขบเคี้ยวและขนมหวาน Snack food and desserts 1 ข้าวเกรียบ ข้าวโพดคั่ว มันฝรั่งทอด ขนมกรอบ กล้วยฉาบ และ extruded snack ต่าง ๆ 30 ก 2 ถั่วและนัต เช่น ถั่วอบเกลือ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์อบเกลือ 30 ก 3 ช็อกโกแลตและขนมโกโก้ 40 ก 4 คัสตาร์ด พุดดิ้ง 140 ก 5 ขนมหวานไทย เช่น สังขยา วุ้น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด 80 ก 6 วุ้นสำเร็จรูปและขนมเยลลี่ 20 ก 7 ไอศกรีมนม ไอศกรีมดัดแปลง ไอศกรีมผสม รวมทั้งส่วนเคลือบและกรวย 80 ก 8 ไอศกรีมหวานเย็น น้ำผลไม้แช่แข็ง 80 ก 9 ไอศกรีมซันเดย์ 80 ก 10 ลูกอม ลูกกวาด ทอฟฟี่ อมยิ้ม มาร์ชแมลโลว์ 6 ก 11 หมากฝรั่ง 3 ก 12 ขนมที่ทำจากธัญพืช ถั่ว นัต และน้ำตาลเป็นหลัก Grain based bars ทั้งชนิดที่มีและไม่มีไส้หรือเคลือบ เช่น Granola bars rice cereal bars กระยาสารท ถั่วตัด ข้าวพอง ข้าวแตน นางเล็ด 40 ก 4 กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป Semi processed foods 1 อาหารเส้น กึ่งสำเร็จรูป 50 ก ได้แก่ บะหมี่กึ่งสาเร็จรูป instant noodle เส้นหมี่ วุ้นเส้น ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ 2 ข้าวต้ม โจ๊ก 50 ก 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมอบ Bakery products 1 ขนมปัง Bread 50 ก 2 บราวนี 30 ก 3 คุกกี้ 30 ก 4 เค้ก cake ชนิดหนัก เช่น ชีสเค้ก cheese cake เค้กผลไม้ fruit cake ซึ่งมีส่วนผสมของผลไม้นัต ตั้งแต่ 35 ขึ้นไป 80 ก คัพเค้ก เอแคลร์ ครีมพัฟ ชิฟฟอน สปันจ์เค้กที่มีหรือไม่มีไอซิ่งหรือไส้ 55 ก 5 เค้กกาแฟ โดนัต และมัฟฟิน 55 ก 6 ขนมปังกรอบ แครกเกอร์ เวเฟอร์ บิสกิต 30 ก 7 แครกเกอร์ที่เป็นกรวยไอศกรีม 15 ก 8 แพนเค้ก 110 ก 9 วอฟเฟิล 85 ก 10 พาย เพสตรี้ ทั้งชนิดที่มีและไม่มีไส้ 55 ก 6 กลุ่มธัญพืชและผลิตภัณฑ์ Cereal grain products 1 อาหารเช้าจากธัญพืช Breakfast cereal พร้อมบริโภค ที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 20 กรัมต่อ 1 ถ้วย 15 ก ที่มีน้ำหนักระหว่าง 20 กรัมถึงน้อยกว่า 43 กรัมต่อ 1 ถ้วย 30 ก ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 43 กรัมขึ้นไปต่อ 1 ถ้วย 55 ก 2 รำข้าว Bran หรือจมูกข้าวสาลี Wheat germ 15 ก 3 แป้งสาลี แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งท้าวยายม่อม และ Cornmeal 30 ก 4 แป้งข้าวโพด แป้งมันสำปะหลัง แป้งมันฝรั่ง 10 ก 5 พาสต้า มะกะโรนี สปาเกตตี และอื่น ๆ 55 ก ดิบ 140 ก ต้มสุก 25 ก ทอดกรอบ 6 ข้าวเจ้า ข้าวบาร์เล่ย์ 50 ก ดิบ 130 ก สุก 7 กลุ่มอื่น ๆ Miscellaneous 1 อาหารที่บรรจุกระป๋อง ขวดแก้วที่ปิดสนิท ซองอลูมิเนียมฟอยล์ retort pouch เนื้อสัตว์ ปลา หอย ในน้ำ น้ำมัน น้ำเกลือ ไม่รวมของเหลว 55 ก เนื้อสัตว์ ปลา หอย ในซอส เช่น ซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศ 85 ก เนื้อสัตว์ ปลา หอย ทอดแล้วบรรจุแบบแห้ง เช่น ปลาเกล็ดขาวทอดกรอบ 25 ก เนื้อสัตว์ ปลา หอย ทอดแล้วบรรจุกับของเหลว เช่น หอยลาย ผัดพริก ปลาดุกอุยสามรส 85 ก ปลาแอนโชวี 15 ก ผัก ไม่รวมของเหลว เช่น ถั่วฝักยาวในน้ำเกลือ ข้าวโพดอ่อนในน้ำเกลือ 130 ก ผักหรือถั่วในซอส 130 ก ผลไม้ รวมของเหลว 140 ก ซุปพร้อมบริโภคและแกงต่าง ๆ 200 ก ซุปสกัด 40 มล น้ำกะทิพร้อมบริโภค 80 มล 2 เบคอน 15 ก 3 ไส้กรอกที่มีอัตราส่วนความชื้น โปรตีน น้อยกว่า 2 1 เช่น กุนเชียง เปปเปอโรนี รวมทั้งเนื้อสวรรค์ หมูสวรรค์ 40 ก 4 ไส้กรอกชนิดอื่น ๆ และหมูยอ 55 ก 5 เนื้อสัตว์แห้ง เช่น หมูหยอง เนื้อทุบ 20 ก 6 เนื้อสัตว์ดอง รมควัน 55 ก 7 ผักแช่อิ่มหรือดอง ไม่รวมของเหลว 20 ก 8 ผลไม้แช่อิ่มหรือดอง ไม่รวมของเหลว 30 ก 9 ผลไม้แห้งและผลไม้กวน 30 ก 10 เนย มาการีน น้ำมัน และไขมันบริโภค 1 ชต 11 มายองเนส แซนด์วิชสเปรด สังขยาทาขนมปัง เนยถั่ว น้ำพริกเผา 15 ก 12 น้ำสลัดชนิดต่าง ๆ 30 ก 13 ซอสสำหรับจิ้ม เช่น ซอสมัสตาร์ด 1 ชต 14 ซอสที่ใช้กับอาหารเฉพาะอย่าง entré e sauce ซอสสปาเกตตี 125 ก ซอสพิซซ่า 30 ก น้ำจิ้มสุกี้ 30 ก น้ำจิ้มไก่ น้ำจิ้มสะเต๊ะ หน้าตั้ง น้ำปลาหวาน 50 ก 15 เครื่องปรุงรส น้ำส้มสายชู น้ำปลา น้ำเกลือปรุงอาหาร 1 ชต ซอสมะเขือเทศ ซีอิ๊ว ซอสพริก ซอสมะละกอ ซอสแป้ง ซีอิ๊วหวาน เต้าเจี้ยว 1 ชต ซอสเปรี้ยว 1 ชช น้ำพริกคลุกข้าว เช่น น้ำพริกตาแดง น้ำพริกสวรรค์ 1 ชต 16 น้ำผึ้ง แยม เยลลี่ 1 ชต 17 น้ำเชื่อม เช่น เมเปิลไซรัปและผลิตภัณฑ์ราดหน้าขนมต่าง ๆ 30 มล 18 น้ำตาล 4 ก 19 เกลือ รวมทั้งวัตถุทดแทนเกลือ เกลือปรุงรส 1 ก 4 1 วิธีการกำหนดปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภค 1 ใช้หน่วยวัดทั่วไป ได้แก่ ถ้วย แก้ว ชต ช้อนโต๊ะ ชช ช้อนชา ตามความเหมาะสม ของอาหาร แล้วกำกับด้วยน้ำหนักหรือปริมาตรในระบบเมตริกไว้ในวงเล็บด้วย เช่น หนึ่งหน่วยบริโภค 1 ขวด 250 มล เว้นแต่ถ้าไม่สามารถใช้หน่วย ถ้วย แก้ว ชต ชช จึงจะใชห้ นว่ ย แผ่น ถาด ขวด ชิ้น ผล ลูก หัว หรืออื่น ๆ แล้วแต่กรณี หรือเศษส่วนแทนได้ เช่น ขนมปังชนิดแผ่นใช้ หนึ่งหน่วยบริโภค 2 แผ่น 46 กรัม อย่างไรก็ตามถ้าไม่สามารถระบุตามปริมาณดังกล่าวข้างต้นได้ หรือผลิตภัณฑ์ที่โดยธรรมชาติมี ขนาดแตกต่างกัน เช่น ปลาทั้งตัว ให้แจ้งน้ำหนักโดยการประมาณขนาดของผลิตภัณฑ์ให้ใกล้เคียงกับ ปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงที่สุด เช่น หนึ่งหน่วยบริโภค ประมาณ 1 2 ตัว 80 กรัมรวมซอส 2 ถ้าอาหารในภาชนะบรรจุนั้นสามารถบริโภคได้หมดใน 1 ครั้ง ให้ใช้ปริมาณทั้งหมด เช่น หนึ่งหน่วยบริโภค 1 กล่อง 200 กรัม 3 อาหารที่เป็นหน่วยใหญ่และจะต้องแบ่งรับประทานเป็นชิ้น ๆ เช่น เค้กพิซซ่า นมเปรี้ยวขนาด 1000 มล ปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคให้ระบุเป็นเศษส่วนของอาหาร โดยใช้ค่าเศษส่วนที่มี น้ำหนักหรือปริมาตรใกล้เคียงกับปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงที่สุด เศษส่วนที่อนุญาตให้ใช้ คือ 1 2 1 3 1 4 1 5 1 6 1 8 ตัวอย่างเช่น เค้ก หนึ่งหน่วยบริโภค 1 8 อัน 60 กรัม 4 อาหารที่แยกเป็นชิ้นแต่บรรจุรวมกันในภาชนะบรรจุใหญ่ เช่น ขนมปังแผ่นหรือลูกอม โดยแต่ละชิ้นจะมีภาชนะบรรจุแยกจากกันหรือไม่ก็ตาม ปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคที่แสดงบนฉลากของ ภาชนะบรรจุใหญ่ให้กำหนดดังนี้ ถ้าผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น มีน้ำหนักน้อยกว่า 50 ของปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิง ให้ระบุจำนวนหน่วยที่รวมแล้วได้น้ำหนักใกล้เคียงกับปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงที่สุด ถ้าผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น มีน้ำหนักมากกว่า 50 แต่น้อยกว่า 200 ของปริมาณ หนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงแต่สามารถรับประทานได้ใน 1 ครั้ง ให้ถือว่า 1 ชิ้นเป็น 1 หน่วยบริโภคได้ ถ้าผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น มีน้ำหนักเท่ากับหรือมากกว่า 200 ของปริมาณหนึ่งหน่วย บริโภคอ้างอิง แต่สามารถรับประทานได้ใน 1 ครั้ง ให้ถือว่า 1 ชิ้นเป็น 1 หน่วยบริโภค หากไม่สามารถ รับประทานหมดใน 1 ครั้งให้ใช้เกณฑ์ตามข้อ 4 1 3 แทน 5 อาหารที่มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น แป้ง น้ำตาล หน่วยวัดที่ใช้ต้องเหมาะสม เพื่อให้ปริมาณที่วัดได้ใกล้เคียงกับปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงมากที่สุด เช่น หนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิง ของน้ำตาลเปน็ 4 กรัม ควรวัดด้วยช้อนชาเพื่อให้ได้น้ำหนักใกล้เคียงกับ 4 กรัมมากที่สุด 6 อาหารที่บรรจุในน้ำ น้ำเกลือ น้ำมัน หรือของเหลวอื่นที่ปกติไม่ได้รับประทาน ปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคจะคิดจากส่วนที่เป็นเนื้ออาหาร drained solid เท่านั้น 4 2 การปัดเศษของหน่วยวัดทั่วไป เพื่อกำหนดปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภค ถ้วยตวง ปรับส่วนที่เพิ่มเป็น 1 4 หรือ 1 3 ถ้วย ถ้าส่วนที่เพิ่มมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ชต แต่น้อยกว่า 1 4 ถ้วย ให้แจ้งส่วนที่เพิ่มเป็นจำนวน ชต ตัวอย่างเช่น หนึ่งหน่วยบริโภค 1 ถ้วย 3 ชต 255 กรัม ช้อนโต๊ะ ถ้าส่วนที่เพิ่มมากกว่าหรือเท่ากับ 1 ชช แต่น้อยกว่า 1 ชต ให้แจ้งส่วนที่เพิ่ม เป็นจำนวน ชช ระหว่าง 1 2 ชต สามารถแจ้งส่วนที่เพิ่มเป็น 1 1 1 3 1 1 2 2 3 2 ชต ช้อนชา ส่วนเพิ่มน้อยกว่า 1 ชช ให้แจ้งเพิ่มครั้งละ 1 4 ชช หมายเหตุ กรณีที่ตวงวัดได้ค่ากึ่งกลางพอดี เช่น 2 5 ชต อยู่กึ่งกลางระหว่าง 2 กับ 3 ชต สามารถ ปัดขึ้นเป็น 3 ชต หรือปัดลงเป็น 2 ชต ก็ได้ 1 ถ้วย 14 ชต ของแข็ง หรือ 16 ชต ของเหลว 1 ชต 3 ชช 4 3 วิธีกำหนดปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคในระบบเมตริก 1 อาหารเป็นของเหลวให้ใช้หน่วยเป็น มล มิลลิลิตร หรือ ซม 3 ลูกบาศก์เซนติเมตร สำหรับอาหารที่มีลักษณะอื่นให้ใช้หน่วยน้ำหนักเป็นกรัม โดยการชั่ง ตวง วัด จริง 2 การปัดเศษปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคในระบบเมตริก ค่ามากกว่า 5 ให้ใช้เลขจำนวนเต็ม โดยการปัดเศษให้เป็นเลขจำนวนเต็มที่ใกล้เคียง เช่น น้อยกว่าหรือเท่ากับ 15 5 มล ปัดเป็น 15 มล มากกว่า 15 5 มล ปัดเป็น 16 มล ค่าตั้งแต่ 2 5 ให้ปัดเศษได้ครั้งละ 0 5 เช่น 2 3 กรัม ปัดเป็น 2 5 กรัม หรือ 2 1 กรัม ปัดเป็น 2 กรัม ค่าน้อยกว่า 2 ให้ปัดเศษได้ครั้งละ 0 1 3 ถ้าผลิตภัณฑ์สามารถบริโภคได้หมดภายใน 1 ครั้ง ปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคใน ระบบเมตริก คือ น้ำหนักหรือปริมาตรสุทธิของผลิตภัณฑ์ที่ระบุในฉลากด้านหน้า 4 4 วิธีการกำหนดจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ โดยทั่วไปแล้วคำนวณจากการหาร ปริมาณส่วนที่รับประทานได้ทั้งหมดในภาชนะบรรจุนั้นด้วยปริมาณของหนึ่งหน่วยบริโภค ซึ่งกำหนดได้ตาม วิธีในข้อ 4 1 4 2 และ 4 3 ที่กล่าวแล้ว 1 วิธีการปัดเศษของจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ กรณีค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 2 5 ให้แจ้งจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ โดยปัด เศษทีละ 0 5 ที่ใกล้เคียง เช่น 2 2 5 3 กรณีค่าที่ได้มากกว่า 5 ให้ปัดเศษเป็นเลขจำนวนเต็ม เช่น 6 7 8 หากค่าที่ได้ อยู่กึ่งกลางพอดี เช่น 7 5 ให้ปัดเป็น 7 เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค ทั้งนี้หากมีการปัดเศษขึ้นหรือลงให้เพิ่มข้อความ ประมาณ กำกับ เช่น ปัดจาก 3 6 เป็น 3 5 ให้ใช้จำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุเป็น ประมาณ 3 5 2 ถ้าอาหารทั้งภาชนะบรรจุรวมแล้วมีน้ำหนักน้อยกว่า 50 ของปริมาณหนึ่งหน่วย บริโภคอ้างอิง ให้ระบุจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุเป็น 1 3 ถ้าอาหารทั้งภาชนะบรรจุรวมแล้วมากกว่า 150 แต่น้อยกว่า 200 ของปริมาณ หนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิง โดยที่ปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงมีค่า 100 ก หรือ 100 มล หรือมากกว่า ผู้ผลิตสามารถระบุจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุเป็น 1 หรือ 2 ได้ เช่น โยเกิร์ตชนิดครึ่งแข็ง ครึ่งเหลว กำหนดปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงเป็น 150 ก ถ้าผลิตภัณฑ์บรรจุ 250 ก ผลิตภัณฑ์นี้อาจระบุ จำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุเป็น 1 หรือ 2 ก็ได้ 4 5 รูปแบบการแสดงปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคและจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะ บรรจุ อาหารใดมีการกำหนดปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงไว้แล้วตามบัญชีข้างต้น หรือมิได้กำหนด ปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงไว้โดยตรง แต่มีลักษณะการบริโภคใกล้เคียงกับอาหารในบัญชีดังกล่าว ให้แสดงปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคโดยใช้หน่วยวัดทั่วไป แล้วกำกับด้วยปริมาณในระบบเมตริก ดังตัวอย่างต่อไปนี้ หนึ่งหน่วยบริโภค 1 กล่อง 200 มล จำนวนหน่วยบริโภคต่อกล่อง 1 สำหรับอาหารที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ข้างตน้ ให้ยกเวน้ การแสดงปริมาณอาหารหนึ่งหนว่ ยบริโภค และจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ และให้แสดงข้อความ คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 ก หรือ คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 มล แทนข้อความ คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 1 หนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงคือ 30 กรัม 2 ชั่งข้าวเกรียบให้ได้น้ำหนักใกล้เคียง 30 ก แล้วนับจำนวนชิ้นได้ 64 ชิ้น 3 ดังนั้นหนึ่งหน่วยบริโภค 64 ชิ้น 30 กรัม 4 หาค่าจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ โดยหารน้ำหนักสุทธิ 75 กรัม ด้วยปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภค 30 กรัม ได้ดังนี้ 75 30 2 5 ดังนั้นจำนวนหน่วยบริโภคต่อถุงเป็น 2 5 5 แสดงข้อมูลบนฉลากดังนี้ หนึ่งหน่วยบริโภค 64 ชิ้น 30 กรัม จำนวนหน่วยบริโภคต่อถุง 2 5 อาหารนี้ไม่สามารถใช้หน่วยถ้วย แก้ว หรือ ชต ชช ได้ จึงใช้หน่วยชิ้นแทน 1 หนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงคือ 1 ชต 2 ตวงซีอิ๊วขาว 1 ชต ได้ปริมาตร 15 มล 3 ดังนั้น หนึ่งหน่วยบริโภค 1 ชต 15 มล 4 หาค่าจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ โดยหาร ปริมาตรสุทธิ 700 มล ด้วยปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภค 15 มล ได้ดังนี้ 700 15 46 6 ดังนั้นจำนวนหน่วยบริโภคต่อขวดเป็น 47 5 แสดงข้อมูลบนฉลากดังนี้ หนึ่งหน่วยบริโภค 1 ชต 15 มล จำนวนหน่วยบริโภคต่อขวด ประมาณ 47 บัญชีหมายเลข 2 ข้อ 3 7 ลำดับที่ 15 ค่าที่ได้มากกว่า 5 ให้ปัดเศษเป็นเลข จำนวนเต็ม โดยเพิ่มข้อความ ประมาณ กำกับด้วย บัญชีหมายเลข 2 ข้อ 4 4 1 ตัวอย่างที่ 2 ซีอิ๊วขาวบรรจุขวดแก้วปริมาตร 700 มิลลิลิตร 5 ตัวอย่างการกำหนดปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคและจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ ตัวอย่างที่ 1 ข้าวเกรียบกุ้งบรรจุถุงพลาสติก น้ำหนักสุทธิ 75 กรัม 4 วิธีการกำหนดปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคและจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ 3 1 กลุ่มนมและผลิตภัณฑ์ Dairy products ลำดับที่ ชนิดอาหาร หนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิง 3 ตารางปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงของผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ 2 จำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ หมายถึง จำนวนครั้งของการบริโภคอาหารนั้นที่มี วิธีการกำหนดปริมาณอาหารหนึ่งหน่วยบริโภคกับจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ 1 หนึ่งหน่วยบริโภค หมายถึง ปริมาณอาหารที่คนไทยปกติทั่วไปรับประทานได้หมดใน
เยี่ยมชมสุดยอดโรงงานก๋วยเตี๋ยวต้นแบบ ปลอดภัยได้มาตรฐาน GMP. 1 ใน 6 แห่งทั่วประเทศ
ที่มา http www oknation net blog chantaburi 2009 08 02 entry 1 นายแพทย์อุทัย ตันสุวรรณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี เปิดเผยว่า ตาม ที่มีข่าวการตรวจพบสารกันเสีย กรดเบนโซอิก เกินมาตรฐานในผลิตภัณฑ์เส้นก๋วยเตี๋ยว ทั้งนี้การผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวยังเติมสารวัตถุกันเสียหลายชนิด เพื่อให้เส้นก๋วยเตี๋ยว เหนียว นุ่ม อยู่ได้นานตามความต้องการของผู้บริโภค หรือพ่อค้า แม่ค้า แต่ในความเป็นจริงเส้นก๋วยเตี๋ยวหากไม่ใส่วัตถุกันเสีย โดยเฉพาะเส้นใหญ่ที่มีสารวัตถุกันเสียมากปนเปื้อนมากกว่าเส้นเล็ก เส้นบะหมี่ หรือเส้นหมี่ เพราะเป็นเส้นที่เสียเร็วที่สุด เก็บไว้ได้เพียง 2 3 วันเท่านั้น ดังนั้น เส้นก๋วยเตี๋ยวที่โรงงานผลิตเพื่อจัดจำหน่ายอยู่ในขณะนี้เก็บได้ถึง 7 วัน แสดงว่าใช้วัตถุกันเสียเยอะมาก ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อย ได้ร่วมกับสถาบันอาหาร จัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาความปลอดภัยในการบริโภคเส้นก๋วยเตี๋ยว ในปีงบประมาณ 2551 ให้นำหลักเกณฑ์ GMP เข้า มาใช้ในการผลิต โดยกำหนดให้สถานที่ผลิตใดก็ตามที่จะมีการผลิต จำหน่าย ต้องขออนุญาตสถานที่ผลิตกับ อย หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และในอนาคตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว GMP ตาม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 193 พ ศ 2543 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร สำหรับมาตรฐานด้านผลิตภัณฑ์ แม้ขณะนี้ก๋วยเตี๋ยวยังไม่มีมาตรฐานบังคับอย่างชัดเจน แต่ผู้ผลิตต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวกับคุณภาพและ มาตรฐานของวัตถุดิบและการแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งภาชนะบรรจุอาหารด้วย นอกจากนี้ทาง อย ได้พัฒนาโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวต้นแบบขึ้นโดยใช้หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร GMP เพื่อ เป็นต้นแบบสำหรับให้เจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว ทั่วประเทศได้ศึกษาดูงาน ปัจจุบันได้มาตรฐานแล้ว 6 โรงงาน ครอบคลุมทุกภาคในประเทศไทยได้แก่ 1 บริษัท ไทยวัฒนาไรซ์โพรดัคท์ จำกัด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม2 โรงงานก๋วยเตี๋ยวเจริญชัย อำเภอเมือง จังหวัดตรัง3 บริษัท จ เจริญ ฟู้ดส์โปรดักส์ จำกัด อำเภอมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร4 โรงงานก๋วยเตี๋ยว ป รุ่งเรือง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ5 โรงงานอึ้งฮะเซ้ง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี และ6 ห้างหุ้นส่วนจำกัด อิสริยะผล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่ง โรงงานอึ้งฮะเซ้ง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี จะเป็นต้นแบบของโรงงานก๋วยเตี๋ยวต่อไปในอนาคต และเป็นที่ศึกษาดูงานการพัฒนาโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว เพื่อให้มีสถานที่ผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ได้มาตรฐาน GMP ต่อไป ซึ่ง โรงงานอึ้งฮะเซ้ง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี จะเป็นต้นแบบของโรงงานก๋วยเตี๋ยวต่อไปในอนาคต และเป็นที่ศึกษาดูงานการพัฒนาโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว เพื่อให้มีสถานที่ผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ได้มาตรฐาน GMP ต่อไป
การป้องกันพิษที่เกิดจากสารทำความเย็น (Refrigerant Safety, from Chillmatch Co., Ltd.)
สารทำความเย็น R 12 R 22 และ R 502 เป็นสารไม่มีพิษ ดังนั้นจึงไม่ต้องสวมหน้ากากก๊าซ แต่จะต้องระวังไว้อย่างหนึ่ง คือ ต้องสวมอุปกรณ์ที่ป้องกันตาเอาไว้ เนื่องจาก สารทำความเย็นเหล่านี้จะทำให้ความชื้นภายในตานั้นแข็งตัวได้ และเมื่อ R 12 R 22 และ R 502 สัมผัสถูกตา ห้ามถูหรือขยี้ตาเด็ดขาด จะต้องนำส่ง รพ และปฐมพยาบาลเบื้องต้น ดังนี้1 ให้หยดน้ำมันแร่ที่ปราศจากเชื้อให้ทั่วดวงตา 2 ล้างตาด้วยสารละลายกรดบอริกเจือจาง หรือสารละลายน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์ เมื่อสารทำความเย็น สัมผัสถูกผิวหนังให้ชำระล้างบริเวณนั้นด้วยน้ำหลายๆ ครั้ง และถอดเสื้อผ้าออก ล้างผิวหนังบริเวณนั้นด้วยน้ำและนำส่งโรงพยาบาล ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ pdf file
EHEDG คืออะไร เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารอย่างไร
จากกระทู้ของสมาชิกใน ห้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของ comunity Foodnetworksolution มีสมาชิกท่านหนึ่งถามคำถามเกี่ยวกับ EHEDG ว่าคืออะไร ทางเราได้ไปของความกรุณาจากท่าน ผศ ดร นวภัทรา หนูนาค ประธานกลุ่ม EHEDG ประเทศไทย ซึ่งท่านได้ให้ความกระจ่างเรา ซึ่งมีประโยชน์มากกับอุตสาหกรรมอาหาร จึงขออนุญาติท่านนำมาลงไว้เป็นบทความให้ได้อ่านกันทั่วๆ ค่ะ หากท่านมี comment หรือข้อสงสัยเพิ่มเติม เขียนลงที่ท้ายบทความนี้ หรือเข้าไปถามเพิ่มเติม ได้ในห้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ ไม่เฉพาะเรื่องนี้นะคะ ทุกๆเรื่องเราจะบริการหาผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องมาไขข้อข้องใจให้ค่ะ EHEDGเป็นองค์กรหนึ่งในสหภาพยุโรปที่ก่อตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความก้าวหน้าในด้านสุขอนามัยและวิศวกรรมอาหารEHEDGเป็นแหล่งรวมผู้เชี่ยวชาญในด้านการผลิตอาหาร การผลิตเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาและวิจัย รวมถึงองค์กรเพื่อสุขภาพEHEDG เป็นผู้กำหนดแนวปฏิบัติ EHEDG guidelines เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการมีแนวทางและสามารถปฏิบัติตามกฎหมายของยุโรปได้ นอกจากนี้ยังเน้นการส่งเสริมให้ข้อกำหนดและแนวปฏิบัติเป็นหนึ่งเดียวกันทั่วโลก โดยแนวปฏิบัติของ EHEDG เป็นแนวทางสำหรับมาตรฐาน ISO14159 และ EN 1672 2 ซึ่งกล่าวถึง มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตอาหารอย่างปลอดภัย ปัจจุบัน EHEDG มีประเทศสมาชิกระดับภูมิภาคได้แก่ ฝรั่งเศส เบลเยียม เยอรมัน อีตาลี เนเธอร์แลนด์ โปร์แลนด์ สเปน สวิสเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และ ประเทศไทยEHEDG Thailand สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สจล เป็นตัวแทนภูมิภาคของ EHEDG ประจำประเทศไทย EHEDG THAILAND เพื่อดูแลและถ่ายทอดแนวทางปฏิบัติ Hygienic Engineering and Design แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย ได้แก่ ผู้ผลิตอาหาร ผู้ผลิตเครื่องมือเครื่องจักร บริษัทจำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแปรรูปอาหาร บริษัทที่ปรึกษาด้านการออกแบบ ติดตั้งเครื่องจักรและการวางผังโรงงานอุตสาหกรรมอาหารให้ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ รวมทั้งหน่วยงานในภาครัฐและหน่วยงานการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์หลักภายใต้ความร่วมมือคือ การเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจในแนวทางปฏิบัติ เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตอาหารให้เป็นที่น่าเชื่อถือและเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารไทยพร้อมรับมือกับการขยายโอกาสทางการตลาดในอนาคต กระบวนการผลิตอาหารที่ปลอดภัยควรได้รับการควบคุมในทุกขั้นตอนของการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตอาหารในระดับอุตสาหกรรมที่อาศัยเครื่องจักร ต้องมั่นใจได้ว่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตเหล่านั้นได้รับการออกแบบอย่างถูกหลักสุขลักษณะอยู่บนพื้นฐานหลักวิศวกรรมซึ่งเรียกว่า Hygienic Engineering Design ผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้ต้องไม่เกิดโอกาสปนเปื้อนในระหว่างกระบวนการผลิต เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ได้รับ Logo EHEDG หมายความว่าอุปกรณ์นั้นได้ผ่านการออกแบบและทดสอบตามมาตรฐานทางด้านสุขอนามัย อย่างไรก็ตามเมื่อนำไปติดตั้งใช้งานต้องพึงระวังและปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการติดตั้งที่ดี เพื่อการผลิตอาหารปลอดภัยลดโอกาสของการปนเปื้อนให้น้อยที่สุดสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ EHEDG ติดต่อผศ ดร นวภัทรา หนูนาค Chairperson สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังโทร 02 3298356 8 E mail ehedg kmitl ac thEHEDG CENTER http www ehedg orgEHEDG THAILAND Web http www kmitl ac th ehed
Product Recall – Are you Ready to React?; การเรียกคืนผลิตภัณฑ์ - คุณเตรียมพร้อมในการรับมือแค่ไหน ?
In recent years food safety incidents and food scares have been increasingly reported by worldwide news organizations and this has reduced consumer confidence Product recalls by food suppliers in Asia are now more common than ever before and consumers are more aware ในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีข่าวจากทั่วทุกมุมโลกในเรื่องอุบัติการณ์ที่เกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยในอาหาร ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเกิดความกังวลและไม่มั่นใจในการบริโภค The Melamine milk contamination food scares in China where 6 people died and 294000 people were sick and the Salmonella contaminated peanuts in the USA where 9 people died and 700 were sick have demonstrated the prime importance of protecting consumers and company brand image Both production companies the Sanlu milk company in China and the Peanut Corporation of America are now bankrupt Primarily due to the general public thinking that their delayed product recalls showed a lack of care and this destroyed the brands จากกรณีที่เกิดการปนเปื้อนของสารเมลามีนในผลิตภัณฑ์นมผงจากประเทศจีน ซึ่งได้คร่าชีวิตเด็กทารก6 รายล้มป่วยอีก 294 000 ราย และอีกกรณีที่เกิดจากการบริโภคถั่วลิสงที่มีเชื้อ Salmonella ปนเปื้อน มีประชากรเสียชีวิต 9 ราย และล้มป่วยอีกจำนวน 700 ราย เกิดขึ้น ในประเทศสหรัฐอเมริกา ถือว่าเป็นข่าวครึกโครมในอุตสาหกรรมอาหารที่กระตุ้นให้สังคมโลกหันมาใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยของอาหารที่เรารับประทานกัน จากทั้งสองอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นผู้ผลิตไม่มีมาตรการจัดการและการแก้ปัญหาวิกฤตที่ฉับพลัน ทำให้สูญเสียภาพลักษณ์ไม่ได้รับความเชื่อถือจากผู้บริโภคในตราสินค้านั้นๆ ส่งผลให้สินค้าไม่สามารถจำหน่ายได้ ผู้ผลิตตกอยู่ในสภาพขาดทุน และล้มละลายในที่สุด Reacting quickly in the event of a food safety incident is extremely important and will be seen as a responsible action by consumers The key to handling product recalls is having developed and tested recall procedures in place that enable informed decisions to be made and prompt decisive actions to be taken มาตรการจัดการอุบัติการณ์และการแก้ปัญหาวิกฤตที่ฉับพลันนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นจุดที่แสดงให้เห็นว่าผู้ผลิตใส่ใจในการปกป้องลูกค้า ปกป้องผู้บริโภค ดังนั้นผู้ผลิตต้องกำหนดแผนการจัดการอุบัติการณ์และการแก้ปัญหาวิกฤตอย่างชัดเจน ฉับไว มีหลักการที่เป็นระบบ Do you know what to do in the event of a food safety incident Have you developed and tested your product recall procedures ถ้าคุณคือผู้ผลิตอาหาร และต้องเพชิญกับอุบัติการณ์ที่เกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยในอาหาร คุณจะทำอย่างไร คุณเคยคิด และหาทางออกไว้หรือยัง How to Undertake a Product Recall วิธีจัดการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ 1 Dont Panic you need to act quickly to demonstrate that you care about your customers but there is no point taking action before you know the facts Call your team together for a crisis meeting including the technical and operations people who will know the details Get all the facts out into the open in an atmosphere of no blame Keep records of the meeting to demonstrate that you took immediate and effective action 1 อย่าตระหนกเกินกว่าเหตุ ถึงแม้ผู้ผลิตต้องแก้ปัญหาวิกฤตอย่างฉับพลันเพื่อแสดงความใส่ใจต่อผู้บริโภค แต่คุณต้องอย่าลืมวิเคราะห์ หาเหตุที่เกิดให้ชัดเจนเสียก่อน คุณต้องเรียกทีมงาน ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรับผิดชอบ มาประชุมร่วมกันอย่างรวดเร็วที่สุด ช่วยกันหาสาเหตุ หลังจากนั้นต้องปฏิบัติการตามขั้นตอน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 2 Quantify the Risk use your traceability system to identify the defective batches and the geographical spread How far down the supply chain has the product gone The risk assessment needs to be quick minutes not days 2 แผนปฏิบัติเพื่อการเรียกคืนสินค้าที่มีความเสี่ยง วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ทั้งหมดควรมีการระบุรุ่น และจัดทำระบบเรียกคืน เพื่อให้มีการสืบค้นผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์และเรียกผลิตภัณฑ์นั้นคืนกลับมาในกรณีที่จำเป็นต้องแก้ไขผลิตภัณฑ์ การสืบค้นผลิตภัณฑ์คือ การที่สามารถระบุสิ่งที่ใช้ในการผลิต และระบุว่าสิ่งเหล่านี้มาจากที่ใด และการที่สามารถระบุว่าผลิตภัณฑ์สุดท้ายนำไปจำหน่ายที่ใด การประเมินความเสี่ยงต้องเร็ว ไม่ใช้เวลาเป็นวัน แต่เป็นนาที 3 Take Prompt Action to Control the Risks any delay now will send a clear message to your customers that you do not care about their health If appropriate take immediate action to stop production Quarantine products from the defective batch in your stores and your goods out bays Inform the businesses you have supplied to and ask them to hold all products pending collection Organise urgent collection of the defective products and check that you retrieve the same quantity of product that was distributed 3 การควบคุมสินค้าที่มีความเสี่ยง ความล่าช้าในการจัดการควบคุมสินค้าที่มีความเสี่ยง แสดงให้เห็นถึงความไม่ใส่ใจต่อผู้บริโภค การจัดการต้องรวดเร็วและต้องมีการแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นไปยังทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันการขยายวงกว้างของปัญหา เมื่อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยถูกเก็บออกจากเส้นทางการกระจายสินค้าและนำกลับมาที่โรงงาน หรือพื้นที่กักกัน ก็จะเข้าสู่กระบวนการจัดการกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัย โดยการระบุรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ที่เรียกคืน ชื่อวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ รหัสผลิตภัณฑ์ วันที่ผลิต จำนวนที่ผลิต เป็นต้น 4 Consider a Public Product Recall if the effected products have reached the retail outlets and have been sold to customers then you need to do a public product recall Prepare a Press Release that states the key facts of the product recall in a factual way but not in a manner that creates alarm Provide clear details of product description code numbers and dates Give a phone number so people can call for more details Inform the appropriate Government agencies Send the press release to local papers in the relevant areas and also to your customers retail outlets Ask the retail outlets to display the Press Release in prominent places 4 การแจ้งให้ทราบถึงการเรียกคืนสินค้าที่มีความเสี่ยง ในกรณีที่สินค้าที่มีความเสี่ยงกระจายสู่มือผู้บริโภคแล้ว สิ่งที่ผู้ผลิตต้องจัดการโดยเร็ว คือการแจ้งให้ทราบถึงการเรียกคืนสินค้าที่มีความเสี่ยง ผ่านสื่อสาธารณะ การแจ้งให้ทราบต้องมีรายละเอียดให้ลูกค้าอย่างเหมาะสม เช่น สาเหตุของการเรียกคืน ผลิตภัณฑ์ที่เรียกคืน ชื่อวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ รหัสผลิตภัณฑ์ วันที่ผลิต จำนวนที่ผลิต รวมถึงต้องมีรายชื่อผู้รับผิดชอบซึ่งอยู่ในคณะทำงานเรียกคืนผลิตภัณฑ์ เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อสอบถามได้ นอกจากแจ้งผ่านสื่อสาธารณะแล้ว ผู้ผลิตควรต้องติดต่อหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ หน่วยงานด้านกฎหมาย ตำรวจ และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ 5 Undertake a Review use the results of the review to develop your product recall procedures and improve your systems Have you taken sufficient action to prevent a recurrence of the problem Did your traceability system and communication plan work What was the response of your customers In the event of a food safety incident and a product recall being required you will be thankful to have product recall procedures already developed International food safety supplier audit standards such as BRC SQF IFS FSSC 22000 understand the benefits of product recall procedures and set out requirements for their development and routine testing Even the most diligent of food businesses can have a food safety problem that only comes to light after the products have been dispatched Having clear detailed product recall procedures in place enables prompt informed actions to be taken and this the key to protecting brand image and consumer health 5 การทวนสอบผล ใช้การทวนสอบผลเพื่อหาความบกพร่อง และการปรับปรุง พัฒนาระบบเรียกคืนสินค้า ควรตั้งคำถามถึงขบวนการเรียกคืนสินค้าที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร มีประสิทธิภาพดีเพียงพอหรือไม่ ได้มีแผนการรองรับ และป้องกันมิให้ความผิดพลาดเกิดขึ้นอีกหรือไม่ ระบบทวนสอบกลับ และระบบการสื่อสารทั้งภายในและนอกองค์กร มีประสิทธิภาพหรือไม่ การจัดการรับผิดชอบต่อลูกค้ากับเหตุการ์ณที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ถึงแม้ว่าจะมีโอกาสที่อุบัติการณ์เกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยในอาหาร และมีการเรียกคืนของสินค้าเกิดขึ้นได้ แต่ผู้ผลิตที่เตรียมพร้อมก็มีระบบอาหารปลอดภัยที่เป็นมาตรฐานสากลรองรับในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น มาตรฐาน HACCP BRC SQF IFS หรือ FSSC 22000 ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัยของสินค้า ที่ให้ความสำคัญกับทุกกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องเริ่มตั้งแต่ แหล่งที่มาของวัตถุดิบ แหล่งที่มาของส่วนผสมต่างๆ การรับสินค้า การผลิตสินค้า การบริหารคุณภาพ การขนส่งและการเก็บสินค้า การบรรจุภัณฑ์ และทุกขั้นตอน ต้องมีลงบันทึก ทำรายงานผลเพื่อให้แน่ใจว่า กระบวนการทุกอย่างที่เกี่ยวกับอาหารจะมีความปลอดภัย ผู้ผลิตทุกรายควรตระหนัก และใส่ใจในความปลอดภัยของผู้บริโภค แต่หากเมื่อมีปัญหาความไม่ปลอดภัยในอาหาร ผู้ผลิตอาหารต้องมีระบบการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจนและฉับไว เพื่อลดความเสี่ยงและการเพิ่มขึ้นของปัญหา รวมถึงแสดงให้เห็นว่าผู้ผลิตมีระบบทีมีประสิทธิภาพที่ตรงตามข้อกำหนดกฎหมาย มาตรฐานต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในคุณภาพ และรักษาภาพลักษณ์ ตราสินค้าให้เป็นที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจในระยะยาว
GMP ความหมายและความสำคัญ
ความหมายและความสำคัญของ GMP ที่มา http intranet dip go th boc download Data Support Other GMP doc GMP Good Manufacturing Practice หรือ หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีสำหรับการผลิต เป็นการจัดการสภาวะแวดล้อมขั้นพื้นฐานของกระบวนการผลิต เช่น การควบคุมสุขลักษณะส่วนบุคคล การควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค การออกแบบโครงสร้างอาคารผลิต รวมถึงเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เป็นต้น ซึ่งเน้นการป้องกันมากกว่าการแก้ไข เป็นระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารขั้นพื้นฐาน Food Safety Management System คือ การจัดการเพื่อไม่ให้อาหารก่อผลกระทบทางลบต่อผู้บริโภค เมื่ออาหารนั้นถูกเตรียมหรือบริโภค ระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารจะสมบูรณ์ เมื่อจัดทำระบบ HACCP Hazard Analysis and Critical Control Point ซึ่งเป็นการจัดการด้านการควบคุมกระบวนการผลิต โดยจะทำการวิเคราะห์และประเมินอันตรายในขั้นตอนการผลิตทั้งหมด ตั้งแต่ตรวจรับวัตถุดิบ จนกระทั่งเป็นผลิตภัณฑ์สู่ผู้บริโภค ว่าจุดใด หรือ ขั้นตอนใดมีความเสี่ยง ต้องควบคุม ถ้าปราศจากการควบคุมที่จุดนั้นจะทำให้ ผลิตภัณฑ์อาหารไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เรียกจุด หรือขั้นตอน นั้น ๆ ว่า จุดวิกฤตที่ต้องควบคุม Critical Control Point CCP จากนั้นหามาตรการควบคุมจุดวิกฤต เพื่อให้อาหารปลอดภัยต่อผู้บริโภค กล่าวได้ว่าGMP เป็นพื้นฐานที่สำคัญของ HACCPใครควรทำ GMP & HACCP ในอุตสาหกรรมอาหาร ห่วงโซ่อาหารเริ่มต้นจากเกษตรกรรม ทั้งเลี้ยงสัตว์ และเพาะปลูกพืช จากนั้นจะได้เป็นผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งต้องมีการจัดเตรียมเพื่อเป็นวัตถุดิบ ป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตในโรงงานอาหาร หลังจากนั้นผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้ ก็จะถูกขนส่งไปที่ร้านค้า ก่อนจะถึงมือ ผู้บริโภค จะสังเกตได้ว่าในห่วงโซ่อาหารมีขั้นตอนหลายขั้นตอนกว่าที่อาหารจะถึงมือผู้บริโภค จึงมีโอกาสทำให้อาหารไม่ปลอดภัยได้ 1 เกษตรกรรม 1 1 การเลี้ยงสัตว์ ฟาร์ม สัตว์ที่จะกลายมาเป็นอาหารมนุษย์ มีโอกาสเกิดอันตรายได้จากอาหารที่สัตว์กิน ยา วัคซีน วิธีการจัดการในฟาร์ม เป็นต้น ดังเห็นได้จาก ข่าวปัจจุบันเช่นพบสาร แอนตี้ไบโอติก antibiotic ในกุ้ง ซึ่งปนเปื้อนมาจากยาที่ใช้ในฟาร์มเลี้ยงกุ้ง การจัดการฟาร์มที่ไม่ดี หรือสารไดออกซินในผลิตภัณฑ์นม หรือ สารอะฟลาท็อกซิน aflatoxin ในนม ล้วนมีสาเหตุมาจากอาหารสัตว์ ซึ่งสารเหล่านี้สามารถ ตกค้างจนกระทั่งสัตว์เหล่านั้นเป็นอาหาร จึงควรมีการจัดการด้านความปลอดภัยสำหรับอาหารสัตว์ Feed Safety คือ อาหารสัตว์ ต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสุขภาพของสัตว์เป้าหมาย เมื่อสัตว์เหล่านั้นถูกเตรียมเพื่อบริโภค มนุษย์ต้องไม่ได้รับอันตรายจากผลิตภัณฑ์เหล่านั้น นอกจากนี้ยังต้องมีการจัดการฟาร์มให้เป็นไปตามหลัก GAP Good Agricultural Practice ซึ่งใช้หลักการเดียวกับ GMP 1 2 การเพาะปลูก ผลผลิตที่เป็นพืช ต้องควบคุมให้ได้ผลผลิตมากที่สุด เสียหายน้อยที่สุด เกษตรกรจึงสรรหาวิธีการ มาจัดการซึ่งบางครั้งเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง เช่นการใช้ ยาฆ่าแมลง จึงควรนำหลัก GMP หรือ GAP มาจัดการ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตสูง โดยไม่ต้องใช้หรือลดปริมาณการใช้ สารเคมี ยาฆ่าแมลง ที่เป็นอันตราย และสามารถเลือกใช้โดยไม่ทำให้ พืช ผัก ผลไม้เหล่านั้นเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค 2 ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ คือผู้ที่ทำการเตรียมผลผลิตทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบก่อนจะส่งเข้ากระบวนการผลิตในโรงงานอาหาร เช่น โรงเชือดไก่ โรงฆ่าหมู โรงชำแหละเนื้อหมู สะพานปลา ผู้เก็บเกี่ยวและดูแลพืชผัก เนื่องจาก ผลผลิตทางเกษตร เป็นวัตถุที่สามารถเสื่อมสภาพ และเน่าเสียได้ ถ้าไม่มีการจัดการที่ดี ผู้ส่งมอบวัตถุดิบบางราย จึงใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้อง เพื่อให้วัตถุดิบเหล่านั้นคงสภาพได้ เช่น ใช้ฟอร์มาลินแช่เพื่อคงสภาพ ดังนั้นผู้ส่งมอบวัตถุดิบเหล่านี้ควรทำ GMP เพื่อให้มีวิธีการจัดการที่ดีอย่างถูกต้องและได้วัตถุดิบที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ผู้ส่งมอบวัตถุดิบยังหมายรวมถึง ผู้ส่งมอบบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สัมผัสอาหารโดยตรงด้วย 3 โรงงานผลิตอาหาร เป็นผู้ทำหน้าที่แปรรูปอาหารให้ผู้บริโภค ซึ่งกระบวนการผลิตมีหลายขั้นตอน และทุก ขั้นตอนสามารถทำให้อาหารเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคได้ เช่น กระบวนการให้ความร้อนที่ไม่มีหลักเกณฑ์ และวิธีการควบคุมที่ถูกต้อง ก็จะทำให้ผู้บริโภคเกิดอาหารเป็นพิษได้ 4 การกระจายสินค้า ผลิตภัณฑ์อาหารมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีสภาวะการจัดเก็บ และขนส่งที่แตกต่างกัน เช่นการขนส่งที่อุณหภูมิห้อง อุณหภูมิแช่เย็น อุณหภูมิแช่แข็ง และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นภาชนะบรรจุของผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิด ก็มีโอกาสเสียหายได้ง่าย ถ้าไม่มีการจัดการที่ดีก็จะทำให้อาหารนั้นไม่ปลอดภัยได้ เช่น อาหารประเภทที่ต้องแช่เย็น แต่รถขนส่งหรือห้องจัดเก็บ มีอุณหภูมิห้อง จะทำให้เชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโต เกิดอาหารเป็นพิษต่อ ผู้บริโภคได้ หรือ ระหว่างขนส่ง ภาชนะบรรจุรั่วโดยไม่เห็น ทำให้เชื้อจุลินทรีย์มีโอกาสปนเปื้อนได้ 5 สถานที่จำหน่ายหรือเตรียมผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ ซุปเปอร์มาเก็ต ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม เป็นต้น ผู้ให้บริการในสถานที่เหล่านี้ ควรจะมีการจัดการ GMP ในเรื่องความสะอาด อุณหภูมิสภาวะการจัดเก็บ วิธีการเตรียมผลิตภัณฑ์เพื่อบริโภคอย่างถูกสุขลักษณะ กล่าวโดยสรุปคือ ในห่วงโซ่อาหารทุกขั้นตอนควรทำ GMP ความสำคัญของ GMP และ HACCP GMP เริ่มต้นมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งได้กำหนดเป็น กฎหมายหลักเกณฑ์ว่าด้วย สุขลักษณะทั่วไปในการผลิตอาหารทุกประเภท จากนั้นก็มีกฎหมาย GMP สำหรับการผลิตอาหารประเภทต่างๆ ตามมา ในปี ค ศ 1971 พ ศ 2514 ได้ประกาศกฎหมาย GMP สำหรับการผลิตอาหารกระป๋องที่มีความเป็นกรดต่ำ Low Acid Canned Foods LACF เนื่องจากอาหารประเภทนี้มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารพิษที่สร้างโดยเชื้อ Clostridium botulinum หากวิธีการผลิตไม่เหมาะสม แนวคิดการประกันคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหารโดยใช้ GMP ได้มีการผลักดันเข้าสู่โครงการมาตรฐานอาหารของ FAO WHO ซึ่งรับผิดชอบการจัดทำมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ ที่เรียกว่า Codex Alimentarius ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลว่า Food Code หรือ Food Law Codex ได้ อ้างอิง GMP ว่าด้วยสุขลักษณะทั่วไปของสหรัฐอเมริกา และรวบรวมข้อคิดเห็นจากประเทศสมาชิก จัดทำเป็นข้อแนะนำระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับหลักการทั่วไปว่าด้วยสุขลักษณะอาหาร Recommended International Code of Practice General Principles of Food Hygiene และยังได้กำหนดวิธีปฏิบัติด้านสุขลักษณะ Code of Hygienic Practice เฉพาะสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารประเภทต่างไว้ด้วย นอกจากนี้ Codex ยังได้จัดทำข้อแนะนำ การใช้ ระบบการวิเคราะห์อันตรายและ จุดวิกฤตที่ต้องควบคุม Hazard Analysis and Critical Control Point HACCP เป็นภาคผนวก หรือ Annex ใน General Principles of Food Hygiene และผ่านการรับรองจากคณะกรรมาธิการของ Codex CAC เมื่อเดือนมิถุนายน 1997 พ ศ 2540 Codex ได้แนะนำไว้อย่างชัดเจนว่า การจัดทำระบบ HACCP ให้ได้ผลดี จำเป็นต้องมีการควบคุมสุขลักษณะที่ดี และมีประสิทธิภาพ และขอให้ใช้ข้อแนะนำการใช้ระบบ HACCP ควบคู่กับหลักการทั่วไปว่าด้วยสุขลักษณะอาหารของ Codex ด้วย องค์การการค้าโลก World Trade Organization WTO ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ เมษายน 1994 พ ศ 2537 ได้มีการประชุมเกี่ยวการค้าเสรีของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรกับประเทศสมาชิก คณะกรรมการ Codex ได้มีข้อเสนอความตกลงว่าด้วยการประยุกต์ใช้ มาตรการสุขอนามัยและ สุขอนามัยพืช Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures SPS และความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า Agreement on the Technical Barriers to Trade TBT ข้อตกลง SPS มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ชีวิต และสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืช และป้องกันไม่ให้มีการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ที่ไม่เป็นธรรม ส่วนข้อตกลง TBT มี วัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการนำข้อกำหนดทางเทคนิคระดับชาติ หรือระดับภูมิภาค หรือมาตรฐานทั่วไปมาเป็นข้อกีดกันทางการค้าอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งข้อตกลง TBT นี้ครอบคลุมมาตรฐานทุกชนิดรวมทั้งข้อกำหนดทางด้านสุขอนามัยของอาหาร จากข้อตกลง SPS และ TBT ทำให้มาตรฐาน Codex ถูกอ้างอิง และใช้เป็นเกณฑ์ในด้านความปลอดภัยของอาหารต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค และสามารถใช้อ้างอิงกรณีเกิดข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศ ทำให้มาตรฐาน Codex มีความสำคัญต่อการค้า ผลิตผลทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์อาหาร การจัดการด้านความปลอดภัยของอาหารโดยดำเนินการตาม หลักการทั่วไปว่าด้วยสุขลักษณะอาหาร และข้อแนะนำการใช้ระบบ HACCP ของ Codex จึงมีความสำคัญต่อการค้าระหว่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศแรกที่ประกาศให้ HACCP เป็นกฎหมายบังคับ โดยให้นำระบบ HACCP ไปใช้ในการควบคุมการผลิต สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ Fish and Fishery Products มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 18 ธันวาคม ค ศ 1997 พ ศ 2540 ในขณะที่กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา US Department of Agriculture USDA โดย Food Safety and Inspection Service FSIS ได้ประกาศให้กฎหมาย Pathogen Reduction HACCP เมื่อ 27 มกราคม ค ศ 1997 พ ศ 2540 ให้โรงงานผลิต ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์ไข่ ไม่ว่าจะเป็น โรงงานขนาดเล็กหรือใหญ่ ต้องมีการจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานทางด้านสุขาภิบาล Sanitation Standard Operating Procedures SSOPs เป็นเอกสารและนำไปปฏิบัติ และกำหนดให้โรงฆ่าสัตว์ทุกโรงต้องตรวจเช็คเชื้อ Escherichia coli สำหรับการบังคับใช้ ระบบ HACCP จะมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันตามขนาดของโรงงาน เล็ก กลาง และ ใหญ่ ระยะสุดท้ายคือสำหรับโรงงาน ขนาดเล็ก มีผลบังคับ 25 มกราคม 2000 โดยต้องมีมาตรฐาน การปฏิบัติงานเพื่อลดปัญหาจากเชื้อ Salmonella ล่าสุด USFDA องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ประกาศให้ใช้ HACCP ในการควบคุมการผลิตน้ำผัก และน้ำผลไม้ มีผลบังคับใช้ วันที่ 22 มกราคม ค ศ 2002 พ ศ 2545 โดยขณะนี้มีข้อกำหนดบังคับกับน้ำผักและผลไม้ที่ไม่ผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์หรือกระบวนการที่ใกล้เคียงกันต้องระบุคำเตือนอย่างชัดเจนที่ฉลากว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์ ดังนั้นอาจมีเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค pathogen แก่เด็ก คนชราและผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ คณะกรรมาธิการประชาคมยุโรป หรือ EU ได้ระบุให้มีการใช้ระบบ HACCP ในหัวข้อเรื่อง Hygiene on Food Stuff ใน Council Directive เมื่อ 14 มิถุนายน พ ศ 2539 กำหนดให้ผู้ผลิตอาหารทุกชนิดในทุกระดับของตลาด ตั้งแต่ฟาร์มจนถึงระดับขายปลีก ในสหภาพยุโรปต้องนำระบบ HACCP ไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมการผลิตอาหาร ดังนั้น ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตภายใน และนำเข้าสู่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป จำเป็นต้องผลิตภายใต้การควบคุมด้วยระบบ HACCP สำหรับผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าสู่ประเทศสมาชิก จะให้เป็นความรับผิดชอบของผู้นำเข้าที่จะต้องดูแลสินค้าที่นำเข้าให้มีความปลอดภัยต่อการบริโภค อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มสหภาพยุโรป ก็ยังเกิดปัญหาต่างๆ เช่น โรคปากและเท้าเปื่อย โรควัวบ้า หรือพบสารไดออกซินในผลิตภัณฑ์นม ทำให้ EU ประชุมร่วมกันและกำหนดนโยบายสมุดปกขาว White Paper ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตผลทางการเกษตรและ ผลิตภัณฑ์อาหาร โดยแนะนำให้นำระบบ HACCP ไปใช้ควบคุมการผลิตตั้งแต่ ที่ฟาร์มจนถึงโต๊ะอาหารของ ผู้บริโภค From Farm to Table ภายใน ปี 2545 แต่ก่อนที่จะได้มีประกาศใช้อย่างสมบูรณ์ สหภาพ ยุโรปได้เริ่มประกาศจากอาหารสัตว์ โดยกำหนดให้มันสำปะหลังอัดเม็ดที่นำเข้า ต้องมีการทำ GMP ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2544 เนื่องจากมันสำปะหลังอัดเม็ด เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่อาหาร และประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกมันสำปะหลังอัดเม็ดไปยังประเทศ นิวซีแลนด์รายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ประเทศญี่ปุ่น ประกาศใช้ระบบ HACCP เพื่อควบคุมการผลิต นม และผลิตภัณฑ์นม เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์ซูริมิ โดยเป็นมาตรการสมัครใจในบทแก้ไขของ Food Sanitation Law สำหรับประเทศเกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ก็ได้ประกาศให้มีการใช้ระบบ HACCP เป็นมาตรการบังคับในการควบคุมการผลิต ไส้กรอก แฮม และเนื้อสัตว์ที่นำเข้า สำหรับประเทศไทย โดยคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขกำลังจะประกาศให้ GMP ว่าด้วยสุขลักษณะทั่วไปเป็นกฎหมายบังคับ ภายในเดือน กรกฎาคม 2544 โดยบังคับใช้กับอาหาร 57 ประเภท และกำลังจะมี GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ ออกมาเรื่อยๆ เช่น GMP น้ำดื่ม เป็นต้น การประกาศเป็นกฎหมายมีผลให้สถานประกอบการรายใหม่ ต้องปฏิบัติตามทันที สำหรับผู้ประกอบการรายเก่า ต้องปรับปรุงมาตรฐานให้เป็นไปตามกฎหมายภายใน 2 ปี และ อย ยังได้แนะนำให้สถานประกอบการนำระบบ HACCP ไปใช้ในการควบคุมการผลิต นอกจากนี้ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สมอ ได้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก 7000 2540 เรื่องระบบการวิเคราะห์อันตราย และจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมใน การผลิตอาหารและคำแนะนำในการนำไปใช้ โดยรับเอกสาร Codex Alimentarius Supplement to Volume 1B 1997 Annex to CAC RCP 1 1969 Rev 3 1997 Hazard Analysis and Critical Control Point HACCP System And Guidelines For Its Application มาใช้ในระดับเหมือนกันทุกประการ บทบาทของผู้บริหารอุตสาหกรรมอาหารไทยต่อการจัดทำระบบ GMP และ HACCP เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย มักเริ่มต้นมาจาก การผลิตขนาดเล็ก บางรายก็ขยายกิจการขึ้นมาจนเป็นโรงงาน ดังนั้นจึงอาจจะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง กระบวนการ ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ ของ GMP และ HACCP ผู้บริหารจึงมีหน้าที่พิจารณาตัดสินใจ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น รวมถึงงบประมาณที่จำเป็นต้องใช้ นอกจากนี้ยังต้องให้การสนับสนุนการจัดทำระบบ HACCP ของทีมงาน เช่นส่งเสริมการฝึกอบรม ร่วมพิจารณาแก้ไข้ปัญหา และในฐานะผู้นำ องค์กร ควรผลักดันให้พนักงานทุกคน ตระหนักถึงความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภค ผู้บริหารจึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารให้มีศักยภาพแข่งขันกับตลาดโลกได้ และถึงแม้จะไม่ได้ส่งออก ก็เป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตเพื่อลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ โดยสรุปแล้ว GMP เป็นการจัดการด้านสุขลักษณะขั้นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดทำระบบ HACCP องค์กรจึงควรมีการจัดทำ GMP ก่อน โดยอาจจะจัดทำเอกสารมาตรฐานขั้นตอนการปฏิบัติงานตามความเหมาะสมของแต่ละองค์กร ในเรื่องต่างๆ ดังนี้ 1 การควบคุมสุขลักษณะส่วนบุคคล personal hygiene 2 การควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค pest control 3 การควบคุมระบบน้ำใช้ น้ำแข็ง และไอน้ำ 4 การควบคุมความสะอาด ของอุปกรณ์และสถานที่การผลิต 5 การควบคุมแก้วและพลาสติกแข็ง 6 การควบคุมสารเคมี 7 การชี้บ่งและสอบกลับผลิตภัณฑ์ 8 การกักและปล่อยผลิตภัณฑ์ 9 การเรียกผลิตภัณฑ์คืน 10 การสอบเทียบอุปกรณ์และเครื่องมือวัด 11 การควบคุมการขนส่ง 12 การบำรุงรักษา เครื่องจักร และอุปกรณ์ 13 การกำจัดขยะ 14 การจัดเก็บบันทึก เป็นต้น
11 ควอลิตี้ อวอร์ด ประจำปี 2554 ด้านอาหาร
ปีนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อย ได้ เผยโฉม 11 สถานประกอบการดีจริยธรรมเด่น ด้านอาหาร  คว้ารางวัล อย ควอลิตี้ อวอร์ด ประจำปี 2554 โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ สธ จัดพิธีมอบรางวัล อย ควอลิตี้ อวอร์ด ประจำปี 2554 อย่างยิ่งใหญ่ ให้แก่สถานประกอบการที่โดดเด่นด้าน กระบวนการผลิตและจริยธรรมจากทั่วประเทศ รวม 36 ราย ทั้งอาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตราย ที่ใช้ในบ้านเรือน และผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ผู้ประกอบการที่ตั้งใจทำดี คำนึงถึงความ ปลอดภัยและประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นสำคัญ วันนี้ 9 กันยายน 2554 ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้จัดพิธีมอบรางวัล อย ควอลิตี้ อวอร์ด ปี 2554 อย่างยิ่งใหญ่ให้แก่สถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน และผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน ที่ผ่านหลักเกณฑ์ คือ มีการผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อจำหน่ายในประเทศที่ได้คุณภาพ หากเป็นผู้ประกอบการผลิตเพื่อส่งออกต้องมี การจำหน่ายในประเทศด้วย โดยมีระยะเวลาประกอบการติดต่อกันอย่างน้อย 5 ปี มีการรักษาคุณภาพมาตรฐาน ด้วยดีมาโดยตลอด มีการนำเอาระบบคุณภาพมาพัฒนาหรือควบคุมการผลิตให้ผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ท้องตลาดมี คุณภาพ ที่สำคัญไม่เคยถูกดำเนินคดี หรือถูกปรับ หรือถูกตักเตือน ตามกฎหมายของ อย ย้อนหลังเป็นเวลา 2 ปี นับถึงวันเปิดรับสมัคร มีระบบในการตอบสนองต่อผู้บริโภค Customer Relations และประกอบการด้วย ความรับผิดชอบต่อสังคม สถานประกอบการที่ได้รับรางวัล อย ควอลิตี้ อวอร์ด ปี 2554 ในประเภทต่างๆ จำนวน 36 ราย  ทั้งนี้ มีผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัลด้านอาหาร จำนวน 11 ราย ดังนี้ 1 บริษัท จอมธนา จำกัด จ ปทุมธานี 2 บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด มหาชน 3 บริษัท ใบชาโชคจำเริญ จำกัด จ เชียงราย 4 บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด มหาชน 5 บริษัท แฟชั่นฟู้ด จำกัด จ นครปฐม 6 บริษัท วันไทยอุตสาหกรรมการอาหาร จำกัด 7 บริษัท ศิริวานิช เอส แอนด์ ดับเบิ้ลยู จำกัด จ พิษณุโลก 8 บริษัท สุรพลฟู้ดส์ จำกัด มหาชน 9 บริษัท เสริมสุข จำกัด มหาชน 10 บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด มหาชน และ 11 ห้างหุ้นส่วนจำกัด อิสริยะผล จ เชียงใหม่   Foodnetworksolution พาไปเยี่ยมชมกันแล้ว 2 โรงงานคือ เยียมชม บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด มหาชน   และ เยียมชม บริษัท วันไทยอุตสาหกรรมการอาหาร จำกัด    ต้องบอกว่า สมควรได้รับรางวัลนี้จริงๆ และขอปรบมือเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบการทั้ง 11 แห่งรักษาความดีนี้ไว้ตลอดไปนะคะ ผู้บริโภคทุกคนเอาใจช่วยค่ะ
ระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารตามมาตรฐาน ISO 22000 : 2005
โดย กัลยาณี ดีประเสริฐวงศ์ หัวหน้ากลุ่มควบคุม สนับสนุน และพัฒนาสถานที่ผลิตอาหาร กองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ความสำคัญของระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารตามมาตรฐาน ISO 22000 2005 ปัจจุบันธุรกิจต่างๆมีการแข่งขันสูง การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของลูกค้าและมีความปลอดภัยที่จะบริโภคกลายเป็นข้อกำหนดพื้นฐานสำหรับผู้ผลิต ดังนั้น การนำระบบการบริหาร คุณภาพที่มีประสิทธิภาพเข้ามาช่วยในการประกอบธุรกิจก็จะทำให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ซึ่งในอนาคตระบบ GMP HACCP ไม่ใช่เป็นระบบพื้นฐานแล้วอาจกลายเป็น ISO 22000 ที่เป็นพื้นฐานการจัดการด้านคุณภาพ และความปลอดภัยของอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องในห่วงโซ่อาหาร ระบบนี้เข้ามาในประเทศไทยหลายปีแล้วแต่ผู้ประกอบการอาหารเริ่มตื่นตัวขอการรับรองระบบ เนื่องจากประเทศคู่ค้าให้ความสำคัญในการต้องการสินค้าที่มาจากประเทศที่มีโรงงานที่มีระบบ Food Safety ประกันความปลอดภัยของสินค้าตลอดระบบห่วงโซ่อาหารมากขึ้น ขณะนี้ประเทศไทยมีโรงงานที่ได้การรับรองระบบ ISO 22000 2005 จากหน่วยรับรอง Certification body CB ซึ่งจากเอกชนประมาณ 20 ราย แต่ยังไม่พบข้อมูลจากภาครัฐ ISO 22000 เป็นระบบคุณภาพที่ต่อยอดในเรื่อง ความปลอดภัยอาหาร เป็นการรวมเอาระบบ GMP ซึ่งเป็นระบบพื้นฐานของอุตสาหกรรมอาหารกับระบบ HACCP ซึ่งเป็นระบบวิเคราะห์จุดอันตรายแต่ละขั้นตอนการผลิตและมีการผนวก ISO 9001 เข้าไปเสริมในเรื่องการจัดการและระบบเอกสารทำให้ระบบนี้เหมาะกับอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งนี้เพื่อให้อาหารที่ผลิตมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ข้อกำหนดของระบบมาตรฐานนี้ใช้สำหรับระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารสำหรับองค์กรต่างๆ ในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งต้อง จัดให้มีกลไกสามารถควบคุมอันตรายที่เกิดขึ้น เพื่อให้อาหารมีความปลอดภัยต่อการบริโภค ข้อกำหนดนี้สามารถประยุกต์ใช้กับทุกองค์กร โดยไม่จำกัดขนาด ซึ่งองค์กรนั้นจะเกี่ยวข้องในห่วงโซ่อาหาร และการนำไปใช้เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย เช่น โรงงานที่ผลิตภาชนะบรรจุ สารเคมี ผู้ขนส่ง ผู้ให้บริการจัดเก็บและการกระจายสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับห่วงโซ่อาหารก็สามารถนำระบบนี้ไปใช้ได้อย่างเหมาะสม ข้อกำหนดการจัดการความปลอดภัยของอาหาร ISO 22000 ข้อกำหนดทั้งหมดในระบบ ISO 22000 มี 8 หัวข้อ แต่หลักการสำคัญของมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร ISO 22000 ประกอบด้วย 4 หลักการสำคัญคือ โปรแกรมขั้นพื้นฐาน หลักการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม ระบบการจัดการ และการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะนี้ระบบ ISO 22000 ถูกกำหนดเป็นประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 3441 พ ศ 2548 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร ข้อกำหนดสำหรับองค์กรในห่วงโซ่อาหารมาตรฐานเลขที่ มอก 22000 2548 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2548 และทางสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สมอ กำลังจะจัดทำเป็นคู่มือฉบับภาษาไทยให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องข้อกำหนด 8 ข้อ กำหนดในระบบ ISO 22000 2005 ได้แก่ ขอบข่าย เอกสารอ้างอิง บทนิยามระบบการจัดการความปลอดภัยในอาหาร ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร การจัดการทรัพยากร การวางแผนและการจัดทำผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย และการรับรองผลการตรวจสอบและการปรับปรุงระบบ ทั้ง 8ข้อกำหนด จะมี 5 หัวข้อสำคัญ ซึ่งจะขอสรุปประเด็นที่จะเป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้แก่ผู้ประกอบการ และผู้ตรวจประเมิน ดังต่อไปนี้ 1 ระบบการจัดการความปลอดภัยในอาหาร Food Safety management System ข้อกำหนดที่ 4 องค์กรต้องจัดทำเอกสาร Document ซึ่งประกอบด้วยเอกสารนโยบายและวัตถุประสงค์ ด้านความปลอดภัยอาหาร เอกสารขั้นตอนการดำเนินการ Procedure และบันทึกคุณภาพตามที่มาตรฐานนี้กำหนด Record และเอกสารอื่นๆที่จำเป็น เอกสารดังกล่าวต้องมี Procedure ควบคุม ซึ่งสอดคล้องกับ ISO 9001 2000 สรุป ข้อกำหนดนี้เน้นการจัดทำเอกสารและการควบคุมเอกสาร 2 ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร Management Responsibility ข้อกำหนดที่ 5 ผู้บริหารขององค์กรมีความมุ่งมั่นให้การสนับสนุนด้านความปลอดภัยอาหาร ผู้บริหารต้องกำหนดนโยบายเป็นเอกสาร ตามข้อ 1 และสื่อสารภายในองค์กรให้รับทราบทั่วถึง ซึ่งนโยบายนี้ต้องเหมาะสมกับบทบาทขององค์กรในห่วงโซ่อาหาร ต้องสอดคล้องกับกฎหมาย หรือข้อบังคับและข้อตกลงด้านความปลอดภัยอาหารของลูกค้า ผู้บริหารต้องมีการวางแผนเพื่อบรรลุตามที่กำหนดไว้ในข้อ 1 พนักงานทุกคนต้องได้รับมอบหมายความรับผิดชอบให้รายงานปัญหาเกี่ยวกับระบบ ความปลอดภัยอาหารไปยังบุคคลากรที่องค์กรแต่งตั้ง ซึ่งต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจและรับผิดชอบการจัดการและบันทึกรายละเอียดของปัญหา องค์กรมีการแต่งตั้งบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมความปลอดภัยอาหาร Food SafetyTeam Leader โดยมีหน้าที่บริหารทีมจัดระเบียบงาน ดูแลการอบรมและการให้ความรู้แก่สมาชิกในทีมจัดทำระบบความปลอดภัยอาหาร รายงานประสิทธิผลของระบบ รวมทั้งประสานกับหน่วยงานภายนอก องค์กรต้องมีการสื่อสารภายนอกตลอดห่วงโซ่อาหารให้กับลูกค้า ผู้บริโภค หน่วยงานควบคุมกฎหมาย และหน่วยงานใดๆที่มีผลกระทบจากประสิทธิภาพและการปรับเปลี่ยนระบบความปลอดภัยอาหารองค์กรต้องมีการสื่อสารภายในกับบุคคลในองค์กร เกี่ยวกับประเด็นที่มีผลกระทบกับความปลอดภัยอาหาร โดยเฉพาะทีม Food Safety ต้องได้รับข้อมูลที่ทันเวลากับการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบกับการผลิต องค์กรต้องจัดทำ ถือปฏิบัติ และธำรงรักษา เอกสารว่าด้วยเรื่องการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินและอุบัติภัยที่ส่งผลต่อความปลอดภัยอาหาร และที่เกี่ยวข้องกับบทบาทขององค์กรในห่วงโซ่อาหาร ฝ่ายบริหารสูงสุดต้องทบทวนระบบความปลอดภัยอาหาร ตามช่วงเวลาที่วางแผนเพื่อให้มั่นใจถึงความเหมาะสม ความพอเพียง และประสิทธิภาพของระบบอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการประเมินโอกาสในการปรับปรุงและความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงระบบและนโยบาย และต้องมีการบันทึกการทบทวนทุกครั้ง สรุป ข้อกำหนดนี้เน้นองค์กรและผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับการจัดทำระบบการวางแผน การทบทวน รวมทั้งเน้นเรื่องการสื่อสาร และการจัดการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยอาหาร 3 การจัดการทรัพยากร Resource management ข้อกำหนดที่ 6 องค์กรต้องมอบหมายทรัพยากรในการจัดทำ ถือปฏิบัติ ธำรงรักษา และปรับระบบการ จัดการความปลอดภัยอาหารให้ทันสมัยอย่างเพียงพอ ทีม Food Safety และบุคคลใดๆที่ดำเนินกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยอาหาร ต้องมีความสามารถ ผ่านการให้ความรู้ อบรม มีทักษะและประสบการณ์ องค์กรต้องมอบหมายทรัพยากรเพื่อสนับสนุน การสร้าง การจัดการ และธำรงรักษาสภาพแวดล้อมที่จำเป็น เพื่อการประยุกต์ใช้ข้อกำหนดในมาตรฐาน สรุป องค์กรต้องมีทรัพยากรทั้งด้านวัสดุ สิ่งก่อสร้าง สิ่งแวดล้อมที่ดี รวมทั้งบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การดำเนินการทางด้านความปลอดภัยอาหารเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐาน 4 การวางแผนและการจัดทำผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย Planning and realization of safe products ข้อกำหนดที่ 7 องค์กรต้องมีโปรแกรมพื้นฐานด้านสุขลักษณะ Pre requisite programs PRPs ซึ่งอาจจะเป็น GAP Good Agricultural Practice GHP Good Hygienic Practice GVP Good Veterinarian Practice GDP Good Distribution Practice GPP Good Production Practice GTP Good Trading Practice และ GMP Good Manufacturing Practice ขึ้นอยู่กับประเภทผู้ประกอบการในห่วงโซ่อาหาร และต้องจัดทำเป็นเอกสาร องค์กรต้องมีระบบ HACCP Hazard Analysis Critical Control Point โดย มี Food Safety Team มีการระบุคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ Product characteristics มีการกำหนดการนำไปใช้งาน Interned use มีการจัดทำแผนภูมิกระบวนการผลิต Flow diagrams และต้องอธิบายมาตรการควบคุมหรือวิธีการปฏิบัติที่อาจส่งผลต่อความปลอดภัยอาหาร เพื่อนำไปวิเคราะห์อันตรายในขั้นตอนต่อไป การวิเคราะห์อันตราย Hazard analysis ทีม Food Safety ต้องประเมินอันตรายเพื่อกำหนดชนิดอันตรายที่จำเป็น ต้องควบคุมให้อยู่ในระดับที่กำหนดเพื่อสร้างความมั่นใจถึงความปลอดภัยอาหาร รวมถึงมาตรการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ การประเมินอันตราย Hazard assessment อันตรายแต่ละชนิดต้องถูกนำมาประเมินเพื่อพิจารณาความจำเป็นในการกำจัดหรือลดลงสู่ระดับที่ยอมรับได้ เพื่อให้สามารถผลิตอาหารปลอดภัยโดยอาจใช้การพิจารณาความรุนแรง severity และโอกาสในการเกิดอันตราย likelihood of occurrence การสร้าง HACCP plan ซึ่งต้องถูกจัดทำเป็นเอกสาร โดยแต่ละจุดวิกฤตที่กำหนด ต้องประกอบด้วย อันตรายที่ถูกควบคุม มาตรการควบคุม ขอบเขตวิกฤต วิธีการเฝ้าระวัง การแก้ไขและมาตรการแก้ไข องค์กรต้องมีการวางแผนการตรวจสอบ Verification planning โดยกำหนดวัตถุประสงค์ วิธีการ ความถี่ และผู้รับผิดชอบ และผลการทวนสอบต้องมีการบันทึกและสื่อสารไปยัง Food Safety ทีม องค์กรต้องมีระบบการสอบกลับ Tracibility system โดยระบุรุ่นสินค้า และเชื่อมโยงไปยังวัตถุดิบ กระบวนการผลิต รวมทั้งการส่งมอบที่เกี่ยวข้อง และมีการจดบันทึก องค์กรต้องมีมาตรการการควบคุมความไม่สอดคล้อง Control of nonconformity โดยมีการแก้ไข Corrections เมื่อขอบเขตวิกฤตของจุด CCP Critical Control Point เกิดการเบี่ยงเบน และต้องมีมาตรการแก้ไข Corrective Action และจัดการกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัย Handing of potentially unsafe products เพื่อป้องกันสินค้าเหล่านั้นเข้าไปสู่ห่วงโซ่อาหาร และควรมีการประเมินเพื่อปล่อยสินค้า Evaluation for release เมื่อมีหลักฐานที่แสดงว่ามาตรการควบคุมมีประสิทธิภาพ หรือผลการสุ่มตัวอย่างการวิเคราะห์ แสดงว่ารุ่นที่ได้รับผลกระทบ มีความสอดคล้องกับระดับการยอมรับค่าความปลอดภัย แต่หากพบว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่สามารถปล่อยได้ต้องมีการกำจัด Disposition of nonconforming products ซึ่งอาจจะนำไปแปรรูปใหม่ หรือนำไปผ่านกระบวนการเพิ่มเติมภายในหรือภายนอกองค์กร เพื่อลดอันตรายลงถึงระดับที่ยอมรับได้ หรือทำลายทิ้ง หรือกำจัดเป็นของเสีย องค์กรต้องมีการเรียกคืนสินค้า withdrawals เพื่อช่วยให้การเรียกคืนสินค้าที่ไม่ปลอดภัยเป็นไปอย่างสมบูรณ์และทันต่อเวลา องค์กรต้องแต่งตั้งบุคลากรที่มีอำนาจในการเรียกคืน ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติและแจ้งหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งราชการ ลูกค้า และผู้บริโภค สินค้าที่ถูกเรียกคืนต้องเก็บกักไว้จนกว่าจะถูกนำมาทำลาย หรือถูกนำไปใช้เพื่อเจตนาอื่น หลังผ่านการประเมินว่าปลอดภัย องค์กรต้องมีการตรวจสอบวิธีการเรียกคืน เทคนิคที่เหมาะสม เช่น Mock Recall หรือการซ้อม สรุป ข้อกำหนดนี้เป็นข้อหลักการที่เน้นจุดสำคัญของการควบคุมความปลอดภัย ของอาหาร คือ GMP HACCP รวมถึงระบบการจัดการสินค้าเมื่อไม่สอดคล้องกับมาตรฐาน การสอบกลับสินค้า และการเรียกคืนสินค้า 5 การรับรองผล การทวนสอบ และการปรับปรุงระบบความปลอดภัยอาหาร Validation Verification and Improvement of FSMS ข้อกำหนดที่ 8 ก่อนการประยุกต์ใช้มาตรการควบคุมใน PRPs และแผน HACCP หรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ องค์กรต้องทำการรับรอง Validate เพื่อให้แสดงว่า มาตรการนั้นๆสามารถให้ผลค่าที่ตั้งไว้ในการควบคุมอันตราย มีประสิทธิภาพ และมีความสามารถเพื่อให้ผลิตภัณฑ์บรรลุตามที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย ต้องได้รับการปรับเปลี่ยนและประเมินใหม่ องค์กรต้องแสดงหลักฐานเพื่อยืนยันว่าวิธีการเฝ้าระวัง การตรวจวัด และอุปกรณ์มีความเหมาะสมที่สามารถให้ผลการตรวจสอบที่น่าเชื่อถือ เครื่องมืออุปกรณ์ต้องมีการสอบเทียบ มีการจัดเก็บและรักษาบันทึกผลการสอบเทียบและทวนสอบ องค์กรต้องมีการทวนสอบระบบการจัดการด้านความปลอดภัยอาหาร เช่น ตรวจประเมินภายใน Internal audit หากพบว่าการทวนสอบให้ผลไม่สอดคล้องตามแผน ต้องลงมือดำเนินการแก้ไขและต้องมีการวิเคราะห์ผลลัพธ์จากกิจกรรมการทวนสอบ และรายงานผู้บริหารเพื่อนำเข้าสู่การประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร และใช้เป็นข้อมูลปรับระบบให้ทันสมัย ผู้บริหารระดับสูงต้องมั่นใจว่าระบบมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทันสมัย กิจกรรมเพื่อการปรับระบบให้ทันสมัยต้องได้รับการบันทึกในรูปแบบที่เหมาะสม และนำเข้ารายงานเพื่อพิจารณาในการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร เนื่องจากระบบ ISO 22000 2005 เป็นระบบที่ประสานรวมกันระหว่างระบบ ISO 9001 และระบบ HACCP ซึ่งผู้เขียนได้จัดทำเป็นตารางเปรียบเทียบระหว่าง 3 ข้อมาตรฐาน ตามภาคผนวกในเอกสารแนบท้าย เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจในเรื่องระบบการบริหารคุณภาพและความสอดคล้องหรือความเชื่อมโยงกันในแต่ละระบบได้ชัดเจนยิ่งขึ้นดังนั้น องค์กรหรือหน่วยงานที่มีระบบคุณภาพอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว การที่จะพัฒนาโดยนำระบบ ISO 22000 มาดำเนินการ จะสามารถประยุกต์ใช้ได้ง่ายขึ้นและหากมีการทวนสอบรวมทั้งปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการผลิตสินค้าเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคอย่างยั่งยืนต่อไป สรุป องค์กรต้องมีการยืนยันค่าตัวเลขต่างๆที่ใช้ หรือมาตรฐานที่นำมาอ้างอิงว่าเหมาะสมกับองค์กร สามารถลดขจัดอันตราย มีการทวนสอบอุปกรณ์ เครื่องมือที่สำคัญๆ โดยการสอบเทียบ และมีการทวนสอบระบบ เช่น การตรวจประเมินภายใน เป็นต้น เอกสารอ้างอิง 1 Food safety management systemRequirements for any organizations in the food chain International standard ISO 22000 First edition 2005 2 Codex Alimentarius Food Hygiene Third edition 2003
นมปนเปื้อน ไข่ปลอม หมูปลอม ตามด้วย.... แตงโมบึ้ม
นมปนเปื้อนไนเตรท แฟ้มภาพเมื่อปี 2551 เจ้าหน้าที่ทางการจีนกำลังเตรียมทำลายผลิตภัณฑ์นมปนเปื้อนสารเมลามีน ทั้งนี้ สำนักข่าวซินหวา รายงาน 8เม ย ว่า พบผู้เสียชีวิต และมีอาการป่วย จากการดื่มนมปนเปื้อนไนเตรต รวม 38 คน ภาพรอยเตอร์ ที่มา http www manager co th china ViewNews aspx NewsID 9540000044211 เอเยนซี สำนักข่าวซินหวา รายงาน 8 เม ย 2554 ว่า พบผู้เสียชีวิต และมีอาการป่วยจากการดื่มนมปนเปื้อนไนเตรต nitrate รวม 38 คน นับเป็นเหตุอื้อฉาวล่าสุดที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมของจีนสำนักข่าวซินหวาอ้างคำกล่าวของสำนักงานสาธารณสุขและรัฐบาลท้องถิ่น ว่า ผู้เสียชีวิตจากการดื่มนมปนเปื้อนดังกล่าว เป็นเด็ก 3 คน ขณะที่ผู้ที่มีอาการป่วยอีกจำนวน 35 คน เกือบทั้งหมดเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี ซึ่งขณะนี้ได้รับการนำตัวส่งโรงพยาบาลเมืองผิงเลี่ยง มณฑลกานซู่ เป็นที่เรียบร้อยการสืบสวนเบื้องต้นพบว่า ผู้ป่วยได้ดื่มนมที่มาจากฟาร์มโคนมท้องถิ่น 2 แห่ง ซึ่งมีส่วนผสมของไนเตรต nitrate ซึ่งเป็นวัตถุเจือปนอาหาร food additive ที่ใช้ เพื่อการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์เช่น แหนม ไส้กรอก เบคอนสำนักข่าวซินหวา รายงานว่า ขณะนี้ฟาร์มโคนม 2 แห่งดังกล่าวถูกสั่งปิดและกำลังถูกสอบสวนเพื่อดำเนินคดีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานประเมินคุณภาพ ตรวจจับและกักกันของจีนฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพของบริษัทผู้ผลิตสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์นม โดยสั่งระงับการผลิตและริบใบอนุญาตคืนจากบริษัทผู้ผลิตสินค้าดังกล่าวนับร้อยแห่ง หลังจากพบว่า บรรดาบริษัทฯดังกล่าวไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินคุณภาพแม้ว่ารัฐบาลได้เร่งตรวจสอบและลุยจับกุมผู้ต้องสงสัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์นมปนเปื้อน พร้อมกับให้คำมั่นว่าจะกวาดล้างผลิตภัณฑ์ดังกล่าว แต่ทว่าผลิตภัณฑ์นมปนเปื้อนเมลามีน ก็ยังคงปรากฏอยู่ตามท้องตลาดจากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ ระบุ การบริโภคไนเตรตจะทำให้มีอาการคลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ หายใจติดขัด และชัก จีนผวาสารเคมีค้างผลไม้หลังแตงโมบึ้ม ปักกิ่ง ปริศนาแตงโมปริแตกหลายร้อยไร่ ตอกย้ำจีนแก้ไม่ตกปัญหาความไม่ปลอดภัยด้านอาหาร food safety ผู้บริโภคเริ่มสงสัยกรรมวิธิผลิตผลไม้ลูกโต ที่มา http news sanook com 1023649 พบแตงโมระเบิดในจีน เสียหายหลายร้อยไร่ html สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันพุธ 18 พ ค ว่าปรากฏการณ์ประหลาดในไร่แตงโมประมาณ 280 ไร่ ในเมืองตันหยาง มณฑลเจียงซู ทางตะวันออกของจีน เสียหายย่อยยับ เมื่อผลแตงโมเกิด ปริแตก หลังจากเกษตรกรผู้ปลูก ฉีดพ่นฟอร์คลอเฟนูรอน ซึ่งเป็นสารเร่งขนาดผลไม้นั้น ถูกมองว่าเป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่ชี้ว่าภาคเกษตรกรรมของจีน เสพติดการใช้สารเคมี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังคงล้มเหลวในการกำกับดูแล รัฐบาลจีนรับปากดำเนินมาตรการเด็ดขาด หลังกรณีอื้อฉาวนมผงเด็กมีการปนเปื้อนสารเมลามีน ทำให้เด็กทารกเสียชีวิต 6 คนและล้มป่วยอีก 3 แสนคน ในปี 2551แต่ในช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้ ยังมีรายงานเป็นระยะที่เกี่ยวข้องกับอาหารอันตราย food hazard โดยเฉพาะอย่างยิ่งอันตรายทางเคมี chemical hazard เช่น เนื้อหมูปนเปื้อน นมเป็นพิษ ถั่วงอกเปื้อนสารไนเตรทก่อโรคมะเร็ง หมั่นโถวย้อมสีเอามาเวียนขายหรือผสมยากันบูด preservative ต้องห้ามและข้าวสารเปื้อนโลหะหนัก รัฐบาลจีนรับปากดำเนินมาตรการเด็ดขาด หลังกรณีอื้อฉาวนมผงเด็กมีการปนเปื้อนสารเมลามีน ทำให้เด็กทารกเสียชีวิต 6 คนและล้มป่วยอีก 3 แสนคน ในปี 2551แต่ในช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้ ยังมีรายงานเป็นระยะที่เกี่ยวข้องกับอาหารอันตราย food hazard โดยเฉพาะอย่างยิ่งอันตรายทางเคมี chemical hazard เช่น เนื้อหมูปนเปื้อน นมเป็นพิษ ถั่วงอกเปื้อนสารไนเตรทก่อโรคมะเร็ง หมั่นโถวย้อมสีเอามาเวียนขายหรือผสมยากันบูด preservative ต้องห้ามและข้าวสารเปื้อนโลหะหนัก ทั้งนี้ ฟอร์คลอเฟนูรอน เป็นวัตถุอันตรายทางการเกษตร pesticide ซึ่งไม่ใช่สารต้องห้ามในจีน ส่วนในสหรัฐอนุญาตให้ใช้ในการปลูกองุ่น และกีวี ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรในจีน กล่าวว่า ตามปกติ ผลแตงโมจะแตกประมาณร้อยละ 10 ในครั้งนี้ อาจเป็นเพราะฝนที่จูๆ ก็ตกลงมาอย่างหนัก กับการใช้เมื่อผลแตงโมเริ่มมีขนาดใหญ่แล้ว ทำให้แตกโมปริแตกเกือบหมดไร่ กระนั้น เกษตรกรบางคนยืนยันว่าไม่ได้ฉีดสารเคมีแต่ก็เผชิญปัญหาเช่นกัน หลิว หมิงกัว เปิดเผยกับซีซีทีวีว่า เมื่อวันที่ 7 พ ค เขานับแตงโมระเบิดได้ 80 ผล แต่ต่อมาในช่วงบ่ายมีแตงโมระเบิดเสียหายมากถึง 100 ผล โดยเหตุดังกล่าวเกิดขึ้น 1 วันหลังจากเขาพ่นสารเคมีในไร่แตงโม และหลังเกิดเหตุ 2 วัน เขาก็ไม่ได้นับจำนวนแตงโมแตกอีกเลย แต่ประเมินว่าแตงโมกว่า 2 ใน 3 ของผลผลิตทั้งหมดได้รับความเสียหายจากปรากฎการณ์นี้ สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ผลไม้เปื้อนฟอร์คลอเฟนูรอน ปลอดภัยสำหรับการรับประทาน แต่ผู้บริโภคอดกังวลใจไม่ได้ เช่น ชาวเมืองนานกิงคนหนึ่งใกล้เมืองตันหยางกล่าวว่า วิตกว่าผลไม้สวยๆ หน้าตาน่ารับประทานบางชนิด มีสารเคมีตกค้างอยู่และไม่ปลอดภัย ส่วนชาวเมืองอีกคน เริ่มสงสัยเช่นกันว่า ผลไม้ลูกโตๆ ที่พบเห็นทั่วไปตามตลาดจีน เช่น สตรอเบอร์รี่ขนาดเท่ากับลูกปิงปอง หรือองุ่นลูกเท่าไข่ไก่นั้น มีที่มาอย่างไร เนื้อหมูปลอม ไปเมืองจีน ระวัง อันตราย ร้านอาหารในจีน ใช้สารเปลี่ยนเนื้อหมูให้เป็นเนื้อวัว VDO การทำเนื้อหมู VDO การทำไข่ปลอม


สมัครสมาชิก

สนับสนุนโดย / Supported By

  • บริษ้ท มาเรล ฟู้ดส์ ซิสเท็ม จำกัด จัดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์การแปรรูปอาหาร เช่น ระบบการชั่งน้ำหนัก, การคัดขนาด, การแบ่ง, การตรวจสอบกระดูก และการประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พร้อมกับบริการ ออกแบบ ติดตั้ง กรรมวิธีการแปรรูปทั้งกระบวนการ สำหรับ ผลิตภัณฑ์ ปลา เนื้อ และ สัตว์ปีก โดยมีวิศวกรบริการและ สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเทพ มาเรล เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกของอุปกรณ์การแปรรูปอาหารที่ทันสมัย​​ครบวงจรทั้งระบบ สำหรับอุตสาหกรรม ปลา กุ้ง เนื้อ และสัตว์ปีก ต่างๆ เครื่องแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก Stork และ Townsend จาก Marel อยู่ในกลุ่มเครื่องที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดในอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ สามารถบริการครบวงจรตั้งแต่ต้นสายการผลิตจนเสร็จเป็นสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกความต้องการของลูกค้า ด้วยสำนักงานและบริษัทสาขามากกว่า 30 ประเทศ และ 100 เครือข่ายตัวแทนและผู้จัดจำหน่ายทั่วโลก ที่พร้อมทำงานเคียงข้างลูกค้าเพื่อขยายขอบเขตผลการแปรรูปอาหาร Marel Food Systems Limited. We are supply weighing, grading, portioning, bone detection and software applications as well as complete turn-key processing solutions for fish, meat and poultry. We have service engineer and office in Bangkok. Marel is the leading global provider of advanced food processing equipment, systems and services to the fish, meat, and poultry industries. Our brands - Marel, Stork Poultry Processing and Townsend Further Processing - are among the most respected in the industry. Together, we offer the convenience of a single source to meet our customers' every need. With offices and subsidiaries in over 30 countries and a global network of 100 agents and distributors, we work side-by-side with our customers to extend the boundaries of food processing performance.
  • We are well known for reliable, easy-to-use coding and marking solutions which have a low total cost of ownership, as well as for our strong customer service ethos. Developing new products and a continuous programme of improving existing coding and marking solutions also remain central to Linx's strategy. Coding and marking machines from Linx Printing Technologies Ltd provide a comprehensive solution for date and batch coding of products and packaging across manufacturing industries via a global network of distributors. In the industrial inkjet printer arena, our reputation is second to none. Our continuous ink jet printers, laser coders, outer case coders and thermal transfer overprinters are used on production lines in many manufacturing sectors, including the food, beverage, pharmaceutical, cosmetics, automotive and electronic industries, where product identification codes, batch numbers, use by dates and barcodes are needed. PTasia, THAILAND With more than 3,700 coding, marking, barcode, label applicator, filling, packing and sealing systems installed in THAILAND market. Our range is includes systems across a wide range of technologies. To select the most appropriate technology to suit our customers. An excellent customer service reputation, together with a reputation for reliability that sets standards in the industry, rounds off the PTAsia offering and provides customers with efficient and economical solutions of the high quality. Satisfyingcustomers inTHAILAND for 10 years Our 1,313 customers benefit from our many years of experience in the field, with our successful business model of continuous improvement. Our technical and service associates specialise in providing individual advice and finding the most efficient and practical solution to every requirment. PTAsia extends its expertise to customers in the food, beverage, chemical, personal care, pharmaceutical, medical device, electronics, aerospace, military, automotive, and other industrial markets.
  • วิสัยทัศน์ของบริษัท คือ การอยู่ในระดับแนวหน้า "ฟอร์ฟร้อนท์" ของเทคโนโลยีประเภทต่างๆ และนำเทคโนโลยีนั้นๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิตในประเทศไทย เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า บริษัท ฟอร์ฟร้อนท์ ฟู้ดเทค จำกัด เชื่อมั่นและยึดมั่นในอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจ กล่าวคือ จำหน่าย สินค้าและให้บริการที่มีคุณภาพสูง ซึ่งเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ด้วยความซื่อสัตย์และความตรงต่อเวลา เพื่อการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จร่วมกันระยะยาว Our vision is to be in the "forefront" of technology in its field and suitably apply the technology to industries and production in Thailand for customers' utmost benefits. Forefront Foodtech Co., Ltd. strongly believes in and is committed to our own business philosophy which is to supply high quality products and service appropriately to each customer's requirements with honesty and punctuality in order to maintain long term win-win business relationship. Forefront Foodtech Co., Ltd. is the agent company that supplies machinery and system, install and provide after sales service as well as spare parts. Our products are: Nock, made in Germany: manufacturer of skinning machines, membrane skinning machine, slicers and scale ice makers. Frey, made in Germany: manufacturer of vacuum stuffers and chain linking system. Kronen, made in Germany: manufacturer of washing, centrifuges and cutting machinery for vegetable and fruits. Bandall, made in Netherlands: manufacturer of banding machine. Emerson, made in Romania: smoke chamber. G.Mondini, made in Italy: manufacturer of top seal, skin pack, paper seal, slimfresh and slicefresh for ready meal, meat, petfood and etc. Dorit, made in Germany: manufacturer of tumblers and injectors. Cliptechnik, made in Germany: manufacturer of single and double clippers for table top use and standalone clipping machines. Firex, made in Italy: manufacturer of food-processing equipment for kitchen and commercial equipment. Orved, made in Italy: manufacturer of vacuum packing machine. Carsoe, made in Denmark: designs and produces products for the seafood and food processing industry Gernal, made in Belgium: manufacturer of food-processing equipment for industrial Mado, made in Germany: manufacturer of meat-processing industry