News and Articles

การผลิตอาหาร

การผลิตอาหาร
การอบแห้งลำไยด้วยแสงอินฟราเรด
ใช้แสงอินฟราเรดอบแห้งลำไย ย่นเวลาเท่าตัว คุณภาพเต็มร้อย ที่มา http www aepd doae go th blog p 687 จากผลของการที่ประเทศ ไทยเป็นประเทศส่งออกลำไยใหญ่ที่สุดของโลก ทั้งในรูปของลำไยสดแช่แข็ง freezing ลำไยอบแห้ง dehydration และลำไยกระป๋อง canning โดยมีตลาดส่งออกหลักคือ จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย และบางประเทศในยุโรปนั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงฤดูกาลที่ลำไยออกสู่ตลาดจะเห็นว่าผลผลิตรวมของลำไยออกมาปริมาณมาก ทำให้ล้นตลาดและราคาตกต่ำ นั่นยังไม่นับการถูกกีดกันทางการค้าบางประการในการส่งออกไปขายยังต่างประเทศ แนวทางหนึ่งที่จะแก้ ปัญหาลำไยล้นตลาดและราคาตกต่ำคือ การพัฒนาคุณภาพการผลิตและการแปรรูป ซึ่งสอดคล้องกับ ผศ ดร กลอยใจ เชยกลิ่นเทศ นักวิจัยคณะเทคโนโลยีการเกษตร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่มีความตั้งใจจะพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผลไม้ไทยให้มีคุณภาพทัดเทียมกับต่าง ประเทศ อีกทั้งไม่ต้องกังวลต่อปัญหาการถูกกีดกันทางการค้าจากข้ออ้างการใช้สารเคมี ซึ่งในที่สุดก็ค้นพบการอบลำไยแห้งที่มีคุณภาพ แถมยังใช้เวลาน้อยมากอีกด้วย วิธีการอบแห้ง ที่ค้นพบ คือ การอบลำไยด้วยไมโครเวฟร่วมกับอินฟราเรด ตามด้วยลมร้อน เป็นวิธีการที่ใช้เวลาอบเพียง 5 ชั่วโมง 25 นาที ซึ่งนับว่าเร็วมากเมื่อเปรียบเทียบกับการอบลำไยที่ใช้วิธีอบทั่วไปใน ปัจจุบันที่ใช้เวลา 12 ชั่วโมง โดยประมาณ ผลิตผลลำไยอบแห้งที่ใช้แสงอินฟราเรด ผศ ดร กลอยใจเล่าว่า จากการศึกษาพบว่า เนื้อลำไยที่อบในไมโครเวฟ 400 วัตต์ ระยะเวลา 5 นาที ร่วมกับอินฟราเรดที่อุณหภูมิจากแหล่งกำเนิด 350 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 5 นาที พัก 5 นาที จำนวน 5 ครั้ง รวมเวลาทั้งหมด 75 นาที สามารถลดความชื้นในลำไยได้ประมาณ 1 ใน 3 ส่วน จากนั้นนำไปอบต่อด้วยลมร้อนอีก 13 ชั่วโมง ลำไยอบแห้งที่ได้มีลักษณะดี คือ คงรูปใกล้เคียงกับเนื้อลำไยที่คว้านเมล็ดออกใหม่ ไม่เหนียวติดมือ สีไม่คล้ำ เคี้ยวในปากนุ่มกว่าเนื้อลำไยแห้งที่อบด้วยลมร้อนอย่างเดียว ทดสอบความแห้ง นอกจากลดเวลาในการอบได้กว่าเท่าตัวแล้ว ผู้วิจัยยังเล่าว่า ในการอบแห้งโดยทั่วไปจะอาศัยแสงแดดและลมร้อนทำให้น้ำระเหยและไล่ความชื้นออก จากเนื้อลำไย ระยะเวลาในการอบแห้งขึ้นอยู่กับสภาวะและอุณหภูมิร่วมกับความเร็วของลมในการ ไล่อากาศชื้นออกจากเครื่องอบ มีการใช้สารละลายโพแทสเซียมเมตาไบซัลไฟต์ potassium metabisulfite ในอัตรา 0 5 5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แช่เนื้อลำไยนาน 2 นาที ก่อนจะอบเพื่อป้องกันจุลินทรีย์และลดการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล browning reaction แต่ในการอบแห้งลำไยด้วยวิธีการอบลำไยด้วยไมโครเวฟร่วมกับอินฟราเรด ตามด้วยลมร้อนนี้ จะไม่มีการเติมสารเคมีใดๆ ทำให้เนื้อลำไยที่ได้ไม่คล้ำ อีกทั้งยังไม่ต้องกังวลเรื่องการกีดกันทางการค้า ด้วยเรื่องสารเคมี จากต่างประเทศ หากเราส่งออกลำไยอบแห้ง ซึ่งการอบด้วยวิธีนี้ เชื่อว่าจะช่วยยกระดับการส่งออกลำไยอบแห้งได้ดีทีเดียว ด้วยความสำเร็จจากการวิจัยนี้เอง ผศ ดร กลอยใจ เจ้าของไอเดียบอกว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจึงได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช และบริษัท พรีม่าเอเชีย เทคโนโลยี จำกัด นำหลักการดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการคิดค้นประดิษฐ์เครื่องอบลำไย ด้วยฝีมือของคนไทย เพื่อออกมารองรับความต้องการของเกษตรกรที่กำลังประสบปัญหาลำไยสดล้นตลาดใน ปัจจุบัน ส่วนเกษตรกรคนใดสนใจองค์ความรู้หลักการอบแห้งลำไยเพื่อนำไปพัฒนา ผลิตภัณฑ์ของตน สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ผศ ดร กลอยใจ เชยกลิ่นเทศ ยินดีจะเปิดเผยเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนด้วยความเต็มใจยิ่ง ที่มา หนังสือพิมพ์คมชัดลึก หน้าข่าว เกษตร เกษตรคนเก่ง วันที่ 20 เมษายน 2553
การใช้ความดันสูงเพื่อการถนอมอาหาร
การแปรรูปอาหารโดยใช้ความดันสูง High PressureFood Processing บทนำ กระบวนการใช้ความดันสูงเป็นวิธีการถนอมอาหารที่เริ่มมีการประยุกต์ใช้เพื่อการแปรรูปอาหาร เชิงการค้า เป็นการแปรรูปอาหารโดยไม่ใช้ความร้อน non thermal processing แต่เป็นการใช้ความดันสูงกว่าความดันบรรยากาศมาก เพื่อทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของการเสื่อมเสียของอาหาร microbial spoilage จุลินทรีย์ก่อโรค pathogen นอกจากนี้ความดันสูงยังทำลาย เอนไซม์ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดการเสื่อมเสียของอาหาร ทำให้อาหารมีอายุการเก็บรักษานานขี้น มีผลเทียบเคียงกับการแปรรูปอาหารด้วยความร้อน thermal processing ระดับการพาสเจอร์ไรซ์ pasteurization แต่เนื่องจากอุณหภูมิของอาหาร เพิ่มขึ้นน้อยมาก ทำให้ลดการสูญเสียคุณภาพอาหาร เนื่องจากความร้อนทำให้อาหารปลอดภัย โดยรักษาสี กลิ่น และเนื้อสัมผัสของอาหารได้ดี เมื่อเทียบกับการใช้ความร้อน ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตและแปรรูปโดยใช้กระบวนการนี้และประสบผลสำเร็จทางการค้าได้แก่ อาหารพร้อมรับประทาน ready to eat อาหารประเภทที่เป็นกรด acid foods เช่น แยม โยเกิร์ตและ เครื่องดื่ม เช่น น้ำผลไม้ อาหารทะเล เช่น หอยนางลม oyster โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศเริ่มแรกและทำให้เกิดการกระตุ้นและเกิดการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารโดยการใช้ความดันสูงเพื่อการถนอมอาหารเพิ่มมากขึ้นและแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ หลายประเทศเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศในแถบยุโรป ได้แก่ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร เยอรมันนีและสวีเดน ซึ่งได้มีการรวมกลุ่มเพื่อวิจัยและศึกษากระบวนการใช้ความดันสูงในการแปรรูปและถนอมอาหาร กระบวนการใช้ความดันสูงในการแปรรูปและถนอมอาหารในเชิงการค้าระดับอุตสาหกรรม จะต้องศาสตร์หลายแขนงมาประกอบกัน ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เช่น จุลชีววิทยาอาหาร เคมีอาหาร และความรู้ด้านวิศวกรรม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มีคุณภาพดี ปลอภัย มีประสิทธิภาพและปลอดภัยในการผลิต การใช้ความดันสูงนั้นจะต้องใช้งบประมาณตั้งต้นในการลงทุนค่อนข้างสูงแต่พบว่าจะให้ผลตอบแทนดีในระยะยาวเนื่องจากเทคโนโลยีนี้เป็นเทคโนโลยีสะอาด ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการนี้มีความสดและใกล้เคียงกับธรรมชาติ ประวัติการใช้ความดันสูงในการแปรรูปและถนอมรักษาอาหาร เทคโนโลยีการใช้ความดันสูงนั้น เริ่มต้นมาจากการใช้ความดันสูงในอุตสาหกรรมการผลิตเซรามิก ceramics เหล็กและซุบเปอร์อัลลอยด์ superalloys และเริ่มนำมาใช้กับอุตสาหกรรมอาหารในภายหลัง โดยมีการศึกษาผลของความดันสูงต่อจุลินทรีย์ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 ในการใช้ความดันเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาน้ำนมและหลังจากนั้น 15 ปี มีการวิจัยศึกษาในประเทศฝรั่งเศสเรื่องผลของความดันสูงต่อแบคทีเรีย และพบว่าการใช้ความดันสูง 600 MPa สามารถทำลายเซลล์จุลินทรีย์ vegetative cells ได้ อย่างไรก็ตามงานวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีการใช้ความดันสูงยังไม่เป็นที่น่าสนใจมากนักจนกระทั่งในช่วงปี คศ 1980 จึงเริ่มมีการวิจัยการใช้เทคโนโลยีนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยในประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในยุโรป จากนั้นได้มีการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการแปรรูปโดยกระบวนการใช้ความดันเป็น ครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นในปี คศ 1990 หลักการของกระบวนการใช้ความดันสูงในการแปรรูปและถนอมรักษาอาหาร ผลของความดันสูงต่อจุลินทรีย์ ผลของความดันการทำลายเซลจุลินทรีย์ แบคทีเรียส่วนใหญ่สามารถเจริญได้ที่ความดันระหว่าง 200 300 atm ส่วนจุลินทรีย์ที่สามารถเจริญได้ที่ความดันที่สูงกว่า 400 500 atm เรียกว่า barophiles ความดันสูงระดับ ปานกลาง ระหว่าง 300 600 MPa สามารถทำลายเซล vegetative cells ของ จุลินทรีย์ได้ โดยความดันสูงทำลายผนังเซลล์ cell wall และเซลล์เมมเบรน cell membrane ทำให้แวคคิวโอล vacuoles ภายในเซลล์แตก ผลของความดันสูงต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของจุลินทรีย์ได้แก่ การหยุดการเคลื่อนที่ cessation of motility แบคทีเรียที่เคลื่อนที่ได้โดยส่วนใหญ่จะหยุดการเคลื่อนที่เมื่อให้ความดันต่อเนื่องที่ 200 400 atm ตัวอย่างเช่น ที่ความดัน 100 atm พบว่า E coli Vibrio และ Pseudomonas จะยังคงมี แฟลกเจลลา flagella แต่เมื่อเพิ่มความดันเป็น 400 atm พบว่าเชื้อเหล่านี้จะสูญเสียอวัยวะ และในแบคทีเรียบางชนิดพบว่าจะสามารถกลับมาเคลื่อนที่ได้อีกครั้ง แบคทีเรียที่อยู่ในระยะ log phase จะทนต่อความดันสูงได้น้อยกว่าทำลายได้ง่ายกว่า เซลล์ที่อยู่ในระยะ stationaryphaseระยะ death phase และ สปอร์ของแบคทีเรีย bacterial spore ความดันสูงระดับ ปานกลางมีผลทำให้อัตราการเจริญและการขยายพันธุ์ของจุลินทรีย์ลดลง ส่วนความดันที่สูงมากจะทำลายจุลินทรีย์ได้ ขนาดของความดันสูงที่สามารถยับยั้งการขยายพันธุ์และการเจริญจะมีค่าที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดและสปีซีส์ species ของจุลินทรีย์ การทำลายสปอร์ของแบคทีเรีย สปอร์ของแบคทีเรีย bacterial spore ที่มีการปนเปื้อนอยู่ในอาหารสามารถทำได้โดยการใช้ความร้อน thermal processing แต่จะมีผลเสียคือทำให้คุณภาพอาหาร ด้านต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ลดลง ในทางกลับกันพบว่าที่อุณหภูมิต่ำ อัตราการทำลายสปอร์จะเพิ่มขึ้นเมื่อความดันสูงที่ใช้เพิ่มขึ้น การใช้ความดันสูงในการทำลายสปอร์นั้นพบว่าอุณหภูมิมีบทบาทที่สำคัญมาก ส่วนปัจจัยอื่นๆที่มีผลรองลงมาได้แก่ค่า pH และวอเตอร์แอคติวิตี้ water activity โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเริ่มงอกของสปอร์จะมีความแตกต่างกันไปตามระดับของความดันสูงและการยับยั้งการงอกของสปอร์จะมีประสิทธิภาพดีที่สุดเมื่อ pH มีค่าปานกลางและมีประสิทธิภาพต่ำสุดเมื่อค่า pH สูงหรือต่ำเกินไป สำหรับตัวถูกละลายที่ไม่แตกตัวเป็นอิออนที่มีค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ต่ำมีผลเล็กน้อยในการยับยั้งสปอร์ด้วยความดันสูง ผลของความดันสูงต่อปฏิกิริยาของเอนไซม์ การสูญเสียกิจกรรมเอนไซม์เนื่องจากความดันสูงนั้นมีสาเหตุมาจากความดันสูงทำให้โครงสร้างภายในโมเลกุล intramolecular structures เกิดการเปลี่ยนแปลง การใช้ความดันสูงระหว่าง 1000 3000 atm ในการยับยั้งพบว่าเอนไซม์บางชนิดอาจคืนกิจกรรม reversible ได้ เช่น lactate dehydrogenase ใน Bacillus stearothermophilus ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโมเลกุลเอนไซม์และถ้าใช้ความดันสูงเกินกว่า 3000 atm การคืนกิจกรรมระหว่างการเก็บรักษาหรือในขณะลำเลียงขนส่งจะมีโอกาสเกิดน้อยลง ผลของความดันสูงต่อปฏิกิริยาชีวเคมี ผลของการใช้ความดันสูงต่อระบบทางชีวภาพ ได้แก่ การทำให้โปรตีนสูญเสียสภาพธรรมชาติ protein denaturation การสูญเสียสภาพธรรมชาติของโปรตีนเนื่องจากความดันสูง ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ โครงสร้างของโปรตีน ขนาดของความดันสูงที่ใช้ อุณหภูมิ ค่า pH และองค์ประกอบของตัวทำละลายปฏิกิริยาการสูญเสียสภาพธรรมชาติของโปรตีนเนื่องจากความดันสูงนั้นบางครั้งอาจผันกลับได้ reversible แต่การกลับคืนสภาวะเดิม renaturation หลังจากหยุดให้ความดันสูงอาจกินเวลานานการทำให้ไขมันแข็งตัวและทำให้เมมเบรนแตกสลายซึ่งเป็นผลทำให้สามารถทำลายจุลินทรีย์ได้ ความดันสูงมีผลในการยับยั้งปฏิกิริยาในกระบวนการหมัก fermentation โดยพบว่าผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการหมักที่สภาวะความดันสูงแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักที่ความดันปกติ การใช้ความดันสูงระหว่าง 2000 3000 atm เป็นเวลา 10 นาที ที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียสแก่โยเกิร์ตสามารถป้องกันไม่ให้เกิดกรดแลกติกในปริมาณที่สูงเกินไปในระหว่างการหมักโยเกิร์ตแบบต่อเนื่อง โดยที่ความดันสูงสามารถยับยั้งการเจริญและคงปริมาณของแบคทีเรียแลคติก lactic acid bacteria ไว้ที่ระดับเริ่มต้นได้ รูปที่1 กระบวนการใช้ความดันสูง ที่มา http www avure com food applications กระบวนการใช้ความดันสูงในการแปรรูปอาหารจัดเป็นกระบวนการแปรรูปที่ไม่ใช้ความร้อน non thermal processing หรืออาจทำให้เกิดความร้อนขึ้นน้อยมาก งานที่เกิดจากการกดอัดในระหว่างการให้ความดัน pressurization หรือที่เรียกว่า adiabatic heat นั้นจะทำให้อุณหภูมิของอาหารเพิ่มขึ้น ประมาณ 3 องศาเซลเซียสต่อ 100 MPa และขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของอาหาร แต่ความร้อนที่เกิดขึ้นนี้จะหายไปทันทีที่ลดความดันจนถึงระดับความดันบรรยากาศปกติ ข้อดีของกระบวนการนี้ในแง่ของการไม่ทำให้เกิดความร้อนเป็นผลให้คุณภาพอาหารเกิดการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยและยังเป็นกระบวนการที่สามารถทำลายหรือยับยั้ง จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค pathogen และที่ทำให้อาหารเกิดการเสื่อมเสีย microbial spoilage ได้ รวมทั้งยับยั้งเอนไซม์และใช้ผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูงได้ กระบวนการนี้จึงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ในปัจจุบันได้มีการวิจัยและศึกษาการใช้ความดันสูงในการแปรรูปอาหาร และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารประเภทต่างๆ รวมทั้งการใช้ความดันสูงร่วมกับกระบวนการแปรรูปหรือเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาอาหารและปรับปรุงคุณภาพอาหารทางด้านต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น การประยุกต์ใช้ความดันสูงในกระบวนการแปรรูปอาหาร ความดันสูงสามารถยืดอายุการเก็บรักษาอาหารรวมทั้งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติบางประการ เช่น เนื้อสัมผัสและคุณภาพทางประสาทสัมผัสได้ การศึกษาและการประยุกต์ใช้ความดันสูงในการแปรรูปและถนอมอาหารในปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นและมีผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การใช้ความดันสูงกับหอยนางลมสด oyster ตารางที่1 ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากการใช้ความดันสูง ผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิต ภาชนะและขนาดบรรจุ แยม ท็อปปิ้ผลไม้ โยเกิร์ตและเจลลี่ Meiji ya ถ้วยพลาสติก 100 125 กรัม น้ำองุ่น Pokka Corp ขวดแก้ว 200 800 กรัม Mikan Juice Takanashi Milk กล่องกระดาษ 1000 กรัม ไอศกรีม ผสมผลไม้สด Nisshin Oil Mills ถ้วยกระดาษ 130 กรัม เนื้อสัตว์ที่มีความนุ่ม Fuji Chika & Mutterham หอยนางลม Goose Point Oysters การลดปริมาณจุลินทรีย์ในอาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการใช้ความดันสูงในปัจจุบันที่มีจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ แยม jams และซอสผลไม้เช่น ซอสสตรอเบอรี่และมามาเลด mamalade ผลิตภัณฑ์แยมที่ผ่านการให้ความดันสูงพบว่าจะยังคงรสชาติและสีของผลไม้สดซึ่งแตกต่างจากแยมที่ผลิตโดยผ่านกระบวนการให้ความร้อนแบบดั้งเดิม การละลายน้ำแข็ง thawing ของอาหารที่ผ่านการแช่เยือกแข็ง freezing การใช้ความดันสูงในระดับที่เหมาะสมมีผลในการยืดอายุการเก็บรักษาอาหารโดยการทำลายหรือยับยั้งจุลินทรีย์ สปอร์และเอนไซม์ที่ไม่ต้องการในอาหาร และสามารถใช้ความดันสูงในการละลายน้ำแข็งอาหารแช่เยือกแข็งโดยทำให้เกิดขึ้นในอัตราเร็วที่สม่ำเสมอและจะเกิดได้รวดเร็วยิ่งขึ้นเมื่ออาหารนั้นมีของแข็งที่ละลายได้เช่น น้ำตาลหรือเกลือในปริมาณที่สูง การใช้ความดันสูงช่วยลดเวลาในการละลายน้ำแข็งของอาหารแช่เยือกแข็งได้รวดเร็วกว่า โดยเนื้อสัตว์แช่เยือกแข็งที่นำมาละลายน้ำแข็งโดยใช้ความดันสูง มีรสชาติและความชุ่มฉ่ำไม่แตกต่างจากเนื้อสัตว์ที่ละลายน้ำแข็งโดยการตั้งทิ้งไว้ที่ความชื้นต่ำและอุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียสแต่สีของเนื้อสัตว์จะซีดลงเล็กน้อย การบ่มเนื้อ meat aging การใช้ความดันสูงช่วยลดเวลาทำให้เนื้อนุ่มในกระบวนการ tenderization จากวิธีปกติที่ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ที่อุณหภูมิแช่เย็น เหลือเพียง 10 นาทีโดยใช้ความดันสูง นอกจากจะมีผลต่อโครงสร้างกายภาพภายในชิ้นเนื้อแล้วยังเร่งปฏิกิริยาเอนไซม์ที่ย่อยสลายโปรตีนในชิ้นเนื้อเป็นผลให้เนื้อเกิดความนุ่มเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นการให้ความดันสูงแก่ข้าวมีผลทำให้โครงสร้างของสตาร์ช starch และโปรตีนเกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้สามารถนำไปหุงสุกได้ภายในระยะเวลาสั้น และการให้ความดันสูงแก่น้ำผลไม้จำพวกส้มจะทำให้น้ำผลไม้ดังกล่าวมีรสชาติที่ใกล้เคียงกับของสดและไม่เกิดการสูญเสียวิตามินซีรวมทั้งสามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้ การเกิดเจลของโปรตีน เจลของไข่ขาวที่เกิดจากการให้ความดันสูงพบว่ามีกลิ่นรสธรรมชาติ ไม่เกิดการสูญเสียวิตามินและกรดอะมิโนและย่อยได้ง่ายกว่าเจลของไข่ขาวที่เกิดจากความร้อน นอกจากนั้นเจลไข่ขาวและไข่แดงจะยังคงสีดั้งเดิมและมีความนุ่ม เป็นประกาย และมีความยืดหยุ่นดีกว่าเจลที่เกิดจากความร้อนโดยในขณะที่ความแข็งแรงของเจลเพิ่มขึ้นพบว่าความเหนียวของเจลจะลดลงเมื่อเพิ่มระดับของความดันสูง การยับยั้งเอนไซม์ในผัก และผลไม้ ความดันสูงสามารถยับยั้งเอนไซม์ในผัก ผลไม้ ได้ โดยมีข้อดีกว่าการลวก blanching ด้วยความร้อนคือไม่สูญเสียคุณค่าทางโภชนาการและช่วยรักษาสภาพแวดล้อมโดยไม่ทำให้เกิดน้ำเสียจากน้ำที่ใช้ในการลวก Knorr 1993 รายงานว่าการใช้น้ำร้อนในการลวกมันฝรั่งจะสามารถลดปริมาณจุลินทรีย์ได้ 3 log cycle ในขณะที่การใช้ความดันสูงจะสามารถลดได้ถึง 4 log cycle และระหว่างการลวกมันฝรั่งโดยใช้น้ำร้อนพบว่าเกิดการสูญเสียโปตัสเซียมจากการชะ leaching ในขณะที่การใช้ความดันสูงไม่ทำให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหารดังกล่าว 10 สรุป การใช้เทคโนโลยีความดันสูงเป็นวิธีการหนึ่งที่ไม่ใช้ความร้อนในการถนอมอาหาร นอกจากนั้นยังช่วยในการปรับปรุงคุณสมบัติเชิงหน้าที่ functional properties ของอาหาร สิ่งที่มีความสำคัญในการใช้ความดันสูงคือสามารถนำมาใช้ในการยับยั้งปฏิกิริยาของเอนไซม์ในขณะที่ยังคงรักษาคุณค่าทางโภชนาการและรสชาติของอาหารไว้ได้ ทำให้อาหารมีรสชาติที่ยังคงสดใหม่รวมทั้งคงคุณภาพทางเนื้อสัมผัส อย่างไรก็ตามการใช้ความดันสูงในปัจจุบันมีข้อจำกัดการใช้ในระดับอุตสาหกรรมอยู่ที่เครื่องมือหรืออุปกรณ์ ซึ่งจะต้องออกแบบให้ทนต่อแรงดันที่สูงมากและยังต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงต่อไป เอกสารอ้างอิง DA Ledward DE Johnston RG Earnshaw and APM Hasting High pressure processing of food Nothinghamuniversity press Leicestershire G W Gould Hydrostatic pressure of food New method of food preservation p 135 158 The ohio state university High pressure processing Roman Buckow Food preservation by high pressure Okamoto M Y Kawamura and R Hayashi 1990 Application of high pressure to food processing texturalcomparison of pressure and heat induced gels of food proteins Agric Biol Chem 54 1 183 189
เทคโนโลยีเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีสำหรับผลผลิตเกษตรและอาหาร (ตอนที่ 1 )
เทคโนโลยีเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีสำหรับผลผลิตเกษตรและอาหาร รศ ดร ปานมนัส ศิริสมบูรณ์ www nirsresearch com เทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี Near infrared spectroscopy เป็นเทคนิคที่ใช้หลักการอันตรกิริยา Interaction เมื่อคลื่นเนียร์อินฟราเรด ความยาวคลื่นระหว่าง 700 2500 nm ที่ส่องไปยังวัสดุ เช่น ผลผลิตทางเกษตรและอาหาร ทำให้พันธะทางเคมีภายในวัสดุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธะ O H C H และN H ของวัสดุ ดูดซับคลื่นและทำให้เกิดอาการสั่นสะเทือนของพันธะ โดยการเปลี่ยนระดับพลังงานข้ามขั้นมากกว่า 1 ขั้น Overtone หรือเกิดจากการสั่นสะเทือนข้าม 1 ขั้น Fundamental vibration พร้อมกันของพันธะตั้งแต่ 2 พันธะขึ้นไป ทำให้ได้ผลรวมของการสั่น Combination vibration เครื่องมือที่ใช้เรียกว่า สเปกโตรมิเตอร์ Spectrometer ซึ่งมีแหล่งแสงที่ให้ช่วงคลื่นเนียร์อินฟราเรด ปกติเป็นหลอดทังสเตนฮาโลเจน Tungsten halogen ตัวตรวจวัด Detector ในเครื่องสเปกโตรมิเตอร์ทำจากสารต่างๆ ไม่เหมือนกันขึ้นกับช่วงคลื่นที่ต้องการตรวจวัด เช่น ช่วงคลื่น 350 1100 nm ใช้ Si Silicon ช่วง 1100 2500 nm ใช้ PbS Lead sulphide หรือ InGaAs Indium Gallium Arsenide ช่วงแสงที่มองเห็นได้และช่วงเนียร์อินฟราเรด 400 2600 nm ใช้ PbS ควบคู่ Sandwiched กับ Silicon photodiodes วิธีการจัดวางตัวอย่างเพื่อการสแกนด้วยสเปกโตรมิเตอร์ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น วิธีสะท้อน Reflectance เป็นวิธีที่ง่ายต่อการจัดวางตัวอย่าง เมื่อแสงส่องไปยังวัตถุแล้วแพร่ลงไปในเนื้อวัตถุบางส่วนแล้วสะท้อนกลับขึ้นมาสู่ตัวตรวจวัด บางทีเรียกว่า การสะท้อนแบบแพร่ Diffused reflectance ดังตัวอย่างในรูปที่ 1 เป็นการสแกนอาหารเหลว โดยมีแหล่งแสงและตัวตรวจวัดอยู่ด้านล่าง ในปัจจุบันเนื่องจากมีความสะดวกในการใช้สายไฟเบอร์ออปติค การวัดสะท้อนจากวัตถุจึงเป็นแบบ Interactance ซึ่งมีสายไฟเบอร์ออปติคที่เป็นตัวนำคลื่นที่สะท้อนจากวัตถุกลับไปยังตัวตรวจวัด ซึ่งอยู่ใกล้กัน เรียกว่า Interactance Reflectance ได้ ตัวอย่างการสแกนแบบนี้ แสดงในรูปที่ 2 เป็นการสแกนสาลี่ญี่ปุ่น และรูปที่ 3 เป็นการสแกนส้มโอ วิธีส่องผ่านคลื่นไปในตัวอย่าง ก่อนที่จะรับแสงที่ผ่านออกมาไปวิเคราะห์ เรียกว่า วิธีส่องผ่าน Transmittance ดังแสดงในรูปที่ 4 ซึ่งเป็นตัวอย่างการสแกนน้ำผึ้งที่บรรจุอยู่ในคิวเว็ตด้วยวิธีนี้ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กับของเหลว นอกจากนี้ยังสามารถใช้กับของแข็ง เช่น กรณีของผลไม้ ดังรูปที่ 5 ซึ่งเป็นการสแกนผลส้มโอด้วยวิธีส่องผ่าน นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้ FQA NIR GUN ซึ่งปกติเป็นแบบสะท้อนให้เป็นวิธีส่องผ่าน โดยใช้ Gold cup ดังแสดงในรูปที่ 6 นอกจากนี้ยังมีการวัดแบบส่องผ่านสะท้อน Transflectance เป็นการส่งคลื่นผ่านตัวอย่าง ซึ่งโดยปกติเป็นของเหลวที่อยู่ในภาชนะที่ทำด้วยอะลูมิเนียมที่มีความลึกน้อยๆ เมื่อคลื่นกระทบพื้นอะลูมิเนียมจะสะท้อนผ่านตัวอย่างขึ้นมาเข้าสู่ตัวตรวจวัดดังแสดงการสแกนน้ำผึ้ง โดยใส่ในภาชนะดังกล่าว ภาชนะนี้เรียกว่า British cup ดังรูปที่ 7 การดูดซับพลังงานของวัสดุต่างๆกันขึ้นกับองค์ประกอบภายในวัสดุทำให้เกิดสเปกตรัมของการดูดซับคลื่นที่ความยาวคลื่นต่างๆกัน ตัวอย่างเช่น รูปที่ 8 แสดงสเปกตรัมของสาลี่ญี่ปุ่น ที่ช่วงความยาวคลื่น 1100 2500 nm วัดด้วยระบบในรูปที่ 2 สเปกตรัมของมะเขือเทศ ที่ช่วงคลื่นเดียวกันในระบบ Interactance แสดงดังรูปที่ 9 และรูปที่ 10 แสดงสเปกตรัมของส้มโอที่เก็บรักษาที่ระยะเวลาต่างๆกันที่ช่วงคลื่น 600 1100 nm วัดด้วยระบบในรูปที่ 3 สเปกตรัมของส้มโอที่เก็บรักษาที่ระยะเวลาต่างๆกันวัดโดยระบบส่องผ่านที่ช่วงคลื่น 600 960 nm ตามรูปที่ 5 แสดงดังรูปที่ 11 สเปกตรัมของถั่วเหลืองฝักสดวัดโดยระบบส่องผ่านที่ช่วงคลื่น 600 1100 nm ตามรูปที่ 6 แสดงดังรูปที่ 12 เนื่องจากเนียร์อินฟราเรดสเปคตรัมจะมีค่าพีค ส่วนใหญ่เป็นพีคกว้าง Broad spectrum บางทีมีพีคกว้างที่มีความเข้มสูง เนื่องจากการซ้อนทับกัน Over lapping bands บางทีอาจจะเห็นพีคที่คมชัด แต่มีน้อย สเปกตรัมของวัสดุเกษตรและอาหารส่วนใหญ่มีพีคของน้ำเป็นพีคใหญ่และกว้างที่บริเวณ 760 970 1450 และ 1940 nm ลักษณะของสเปกตรัมเช่นนี้ ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของวัสดุได้โดยตรง จำเป็นต้องใช้หลักทางเคโมเมตริก Chemometric มาใช้ โดยต้องทำสมการความสัมพันธ์ระหว่างค่าองค์ประกอบทางเคมีหรือสมบัติทางกายภาพหรือสมบัติอื่นที่ต้องการวิเคราะห์ เช่น ไขมันในปลา ความหวานของผลไม้ สมบัติเนื้อสัมผัสของอาหาร ปริมาณเนื้อยางแห้งของน้ำยาง เป็นต้น กับข้อมูลของสเปกตรัม ซึ่งเรียกว่าข้อมูลเชิงแสง Optical data เพื่อประมาณค่าองค์ประกอบหรือสมบัติที่ต้องการ
เทคโนโลยีเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีสำหรับผลผลิตเกษตรและอาหาร (ตอนที่ 2)
เทคโนโลยีเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีสำหรับผลผลิตเกษตรและอาหาร รศ ดร ปานมนัส ศิริสมบูรณ์ www nirsresearch com สเปกตรัมของตัวอย่างที่วัดได้ด้วยเครื่องเนียร์อินฟราเรดสเปกโตรมิเตอร์ สามารถนำมาใช้เลยหรืออาจมีการจัดการทางคณิตศาสตร์ต่อสเปกตรัม Spectrum pretreatment ก่อน ซึ่งมีหลายวิธีด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆกัน เช่น ทำสเปกตรัมที่มีสัญญาณรบกวนให้เรียบขึ้น โดยใช้วิธีหาค่าเฉลี่ยของช่วงคลื่นสั้นๆต่อเนื่องกัน การปรับค่าศูนย์กลางข้อมูล Mean centering MC การทำอนุพันธ์ลำดับที่หนึ่ง 1st derivative D1 เพื่อแก้ปัญหาการเลื่อนขึ้นของเส้นสเปกตรัม Baseline shift การทำอนุพันธ์ลำดับที่สอง 2nd derivative D2 เพื่อแก้ปัญหาการเลื่อนขึ้นและการที่มีพีคซ้อนทับกัน Overlapping peaks การปรับเป็นค่ามาตรฐาน Normalization ทำเพื่อกำจัดความแปรปรวนจากปัจจัยที่ไม่ต้องการ การปรับแก้การกระเจิงแบบผลคูณ Multiplicative scatter correction MSC เพื่อแก้ปัญหาการกระเจิงแสงที่ไม่สม่ำเสมอกันเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น ขนาดอนุภาคหรือผลที่ไม่เท่ากัน การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของแหล่งแสง เป็นต้น การปรับความแปรปรวนให้เป็นมาตรฐาน Standard normal variate SNV และการปรับแนวโน้ม Detrending ซึ่งแก้ปัญหาเช่นเดียวกับ MSC รูปที่ 8 สเปกตรัมการดูดซับคลื่นของสาลี่ญี่ปุ่นที่อายุการเก็บเกี่ยวต่างๆกัน ในช่วง 1100 2500 nm รูปที่ 9 สเปกตรัมการดูดซับคลื่นของมะเขือเทศที่ความสุกแก่ต่างๆกัน ในช่วง 1100 2300 nm รูปที่ 10 สเปกตรัมการดูดซับคลื่นของส้มโอที่สแกนโดยการสะท้อน Reflectance ในช่วง 600 1100 nmโดยส้มโอมีอายุการเก็บรักษาต่างๆกัน รูปที่ 11 สเปกตรัมการดูดซับคลื่นของส้มโอที่สแกนโดยการส่องผ่าน Transmittance ในช่วง 600 960 nm โดยส้มโอมีอายุการเก็บรักษาต่างๆกัน รูปที่ 12 สเปกตรัมการดูดซับคลื่นของถั่วเหลืองฝักสด ในช่วง 600 1100 nm เทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีเป็นเทคนิคการตรวจสอบโดยไม่ทำลาย ใช้ง่าย รวดเร็ว แม่นยำ เชื่อถือได้ สามารถตรวจสอบได้ในสายการผลิต ไม่ต้องการใช้สารเคมีหรือใช้น้อย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เทคนิคนี้ช่วยให้สามารถวัดองค์ประกอบหรือสมบัติต่างๆของผลผลิตเกษตรและอาหารในเชิงปริมาณได้ง่ายขึ้นและเป็นวิธีไม่ทำลายตัวอย่าง สามารถจำแนกกลุ่มเนื้อสัมผัสของตัวอย่างได้อย่างรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องใช้คณะผู้ชิมที่ต้องการการฝึกฝนให้มีความชำนาญในการชิม แต่เทคนิคนี้ต้องอาศัยการสร้างแบบจำลองดังกล่าวมาแล้วด้วยวิธีการทางเคโมเมตริกแบบต่างๆในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยทั่วไปใช้วิธีการใช้วิธีการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ Multiple linear regression MLR การถดถอยโดยใช้องค์ประกอบหลัก Principle component regression PCR การถดถอยกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน Partial least square regression PLSR ในการจำแนกกลุ่มเชิงคุณภาพนิยมใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก Principle component analysis PCA การวิเคราะห์การจำแนกกลุ่มเชิงเส้น Linear discriminant analysis LDA การวิเคราะห์การจำแนกกลุ่มด้วยวิธี PLS Partial least square discriminant analysis PLS DA การจำแนกกลุ่มด้วยวิธี SIMCA Soft independent modeling of class analogy การใช้โครงข่ายใยประสาทเทียม Artificial neural network ANN เป็นต้น
การทำความสะอาดวัตถุดิบก่อนการแปรรูปอาหาร
วัตถุดิบสำหรับการแปรรูปอาหาร มีการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกและสิ่งแปลกปลอมได้มาก เนื่องจาก แหล่งผลิตวัตถุดิบ เป็นพื้นที่ กว้างขวาง เปิด โล่ง วัตถุดิบบางชนิด อาจได้จากแหล่งธรรมชาติ เช่น แหล่งน้ำธรรมชาติ ทะเล ป่า เขา นอกจากนี้ การผลิตและการจัดหาวัตถุดิบเพื่อนำมาแปรรูปอาหาร มีหลายขั้นตอน มี ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวนมาก ตั้งแต่การเพาะปลูก การเพาะเลี้ยง การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การรับซื้อ การรวบรวม การขนส่ง จนกระทั่งถึงโรงงานแปรรูป ทำให้มีโอกาสปนเปื้อนได้ง่ายในทุกขั้นตอน สิ่งปนเปื้อนที่มากับวัตถุดิบ อาจเป็นได้ทั้งการปนเปื้อนทางกายภาพ เช่น สิ่งแปลกปลอมเป็นชิ้นที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ได้แก่ ดิน หิน เศษพืช แก้ว เศษโลหะ แมลง การปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ และการปนเปื้อนทางเคมี ได้แก่ สารเคมีที่มีอยู่ในธรรมชาติ สารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืช ศัตรูสัตว์ ปุ๋ย ฮอร์โมน ทำให้วัตถุดิบอยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมกับการนำไปใช้แปรรูป และนำอันตรายมาสู่ผู้บริโภค การทำความสะอาดเป็นการเตรียมวัตถุดิบเบื้องต้นก่อนการแปรรูป มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดสิ่งปนเปื้อนทุกชนิด ที่มากับวัตถุดิบ ทั้งการปนเปื้อนทางกายภาพ การปนเปื้อนด้วยจุลินทรีย์ รวมทั้งการปนเปื้อนทางเคมี มีผลทำให้วัตถุดิบสะอาดขึ้น ความปลอดภัยต่อการบริโภค และยังทำให้อาหารมีอายุการเก็บรักษาอาหารที่นานขึ้น นอกจากนี้การทำความสะอาด ยังมีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตการทำงานของเครื่องจักร เพราะช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่มีโอกาสเข้าไปขัดขวาง หรือทำให้เครื่องจักรเสียหาย วิธีการทำความสะอาดที่ใช้ในอุตสาหกรรมรมอาหาร แบ่งได้เป็นเป็น 2 วิธีดังนี้ 1 การทำความสะอาดแบบแห้ง การทำความสะอาดแบบแห้ง dry cleaning เป็นวิธีการทำความสะอาด โดยไม่ใช้น้ำ เหมาะกับวัตถุดิบที่ไม่ต้องการให้เปียกน้ำ ได้แก่ เมล็ดธัญชาติ ถั่วเมล็ดแห้ง ลูกเดือย งา รวมทั้งวัตถุดิบประเภทของแห้ง ลักษณะเป็นเม็ด เป็นผง เช่น แป้ง วัตถุเจือปนอาหาร พืชหัว เช่น มันฝรั่ง มันสำปะหลัง เป็นต้น การทำความสะอาดวัตถุดิบแบบแห้ง ใช้กับกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารที่มีน้ำมันและไขมันสูง เช่น เมล็ดโกโก้สำหรับการผลิตช็อกโกแลต ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน สำหรับการสกัดน้ำมันพืช เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้น้ำล้างวัตถุดิบ เพราะ น้ำทำปฏิกิริยากับไขมันและน้ำมัน ทำให้เกิดการย่อยสลาย ได้กรดไขมันอิสระ ทำให้เกิดการหืนและเสื่อมสภาพได้ง่าย การทำความสะอาดแบบแห้งยังใช้ เพื่อลดสิ่งสกปรกเบื้องต้นก่อนการทำความสะอาดด้วยน้ำ เป้าหมายของการทำความสะอาดแบบแห้ง เพื่อแยกสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ได้ติดแน่น ออก จากวัตถุดิบ เช่น สิ่งแปลกปลอมที่ติดมากับวัตถุดิบ ได้แก่ ดิน กรวด หิน ทราย เศษพืช ฝุ่น ผง กรวด ทราย แมลง มูลสัตว์ เส้นผม พลาสติก เศษแก้ว เศษโลหะ วัตถุดิบที่มีตำหนิ เช่น เม็ดลีบ เมล็ดฝ่อ แตกหัก และ วัตถุดิบที่เสื่อมเสีย จากการทำลายของจุลินทรีย์ โรค หรือแมลง การทำความสะอาดแบบแห้ง จะช่วยให้วัตถุดิบสะอาดขึ้น ลดปริมาณจุลินทรีย์เริ่มต้น ป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าในระบบการผลิต ซึ่งอาจก่อความเสียหายให้เครื่องจักร หรือหลุดรอดไปเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค การทำความสะอาดเบื้องต้นก่อนการล้าง ช่วยลดความสิ้นเปลืองน้ำล้าง ลดการแพร่กระจายของจุลินทรีย์หรือสารพิษที่จุลินทรีย์สร้าง ไปยังวัตถุดิบคุณภาพดี วิธีการทำความสะอาดแบบแห้งทำได้หลายวิธี ดังนี้ 1 1 การใช้คนหยิบออก เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เหมาะกับวัตถุดิบที่มีขนาดใหญ่ หรือมีรูปร่างไม่สม่ำเสมอ หรือในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก มีข้อดี คือสามารถแยกสิ่งสกปรกที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ได้เกือบทุกชนิดออกจากวัตถุดิบ สามารถความสะอาดวัตถุดิบที่มีรายละเอียดมาก ไม่สามารถใช้เครื่องจักรได้ เช่น การตรวจพินิจ เพื่อแยกพยาธิ ออกจากเนื้อปลา หรืออาจใช้เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของวัตถุดิบที่ผ่านการทำความสะอาดมาแล้ว เช่น การตรวจพินิจเพื่อแยกกุ้งที่มีไส้ดำติดอยู่ 1 2 การร่อนด้วยตะแกรง เพื่อแยกสิ่งแปลกปลอมที่มีขนาดต่างจากวัตถุดิบ เช่น ฝุ่น ฟาง กรวด ทราย เศษพืช วัตถุดิบที่แตกหัก ฝ่อ ลีบ โดยแยกสิ่งแปลกปลอมที่มีขนาดเล็กกว่าวัตถุดิบให้หลุดรอดผ่านรูตะแกรง หรือแยกสิ่งแปลกปลอมที่มีขนาดใหญ่กว่าวัตถุดิบให้ค้างอยู่บนตระแกรง การฝัดด้วยกะด้งเป็นวิธีที่ชาวบ้านใช้ในครัวเรือน เพื่อก็เป็นตัวอย่างการแยกสิ่งสกปรกออกจากข้าวเปลือก ข้าวสาร สิ่งสกปรกที่มีขนาดเล็กกว่าเมล็ดข้าวก็จะหลุดร่วง ผ่านรูเปิดของกระด้ง ส่วนสิ่งสกปรกที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น เศษกรวด ก็จะใช้การตรวจพินิจแยกออก การร่อนด้วยตะแกรงในระดับอุตสาหกรรมอาจใช้เครื่องร่อน ซึ่งมีตะแกรง ที่มีรูเปิดขนาดเท่ากับวัตถุดิบ ที่ต้องการ มีกลไก เพื่อโยก เขย่า หรือหมุน สิ่งแปลกปลอมที่มีขนาดไม่เท่ากับวัตถุดิบที่ต้องการอาจค้างอยู่บนตะแกรง หรือรอดผ่านรูตะแกรง เหมาะสำหรับวัตถุดิบที่มีขนาดและรูปร่างสม่ำเสมอ ทนแรงกระแทกได้ดี โดยไม่แตกหักเสียหาย นิยมใช้กับ ถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดธัญพืช เมล็ดกาแฟ พืชหัว เช่น มันฝรั่ง มันสำปะหลัง อาหารแห้ง เช่น แป้ง น้ำตาล เกลือ และ วัตถุเจือปนอาหาร เป็นต้น ภาพที่ 1 การทำความสะอาดวัตถุดิบโดยการร่อนด้วยตะแกรง ในอุตสาหกรรมที่ใช้ของแห้งเป็นวัตถุดิบ เช่น ผลิตภัณฑ์เบเกอรี การ่อนเพื่อทำความสะอาดวัตถุดิบ เป็นจุดวิกฤติที่ต้องควบคุม เพื่อให้สามารถทำความสะอาด และแยกสิ่งแปลกปลอม เช่น เศษพลาสติก เศษแก้ว เศษกรวด ออกจากแป้งออกให้หมด ไม่ให้เหลือค้างเข้าสู่ระบบการผลิตและปนเปื้อนไปในผลิตภัณฑ์ ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค จึงต้องตรวจสอบสภาพของตะแกรง ไม่ให้ขาด รั่ว และทำความสะอาดตะแกรงอยู่สม่ำเสมอไม่ให้สิ่งสกปรก อุดตัน 1 3 การใช้ลมเป่า เพื่อกำจัดแปลกปลอมที่มีความหนาแน่นต่างจากวัตถุดิบ โดยการใช้ลมจากพัดลมผ่านท่อบังคับทิศทางลม เป่าผ่านวัสดุที่กำลังเคลื่อนที่ เพื่อเป่าให้สิ่งสกปรกที่เบากว่า เช่น ฝุ่น ฟาง ใบไม้ เศษพืช เปลือก เยื่อหุ้มเมล็ด ปลิวแยกออกจากวัตถุดิบ หรือไปตกในตำแหน่งที่ต่างจากวัตถุดิบเนื่องจากความหนาแน่น ที่ต่างกัน ความเร็วและปริมาณลมที่ใช้ต้องปรับและทดสอบให้เหมาะกับชนิดของวัตถุดิบและสิ่งแปลกปลอม ภาพที่ 2การทำความสะอาดวัตถุดิบโดยใช้ลมเป่า ที่มา http www foodnetworksolution com wiki wordcap การทำความสะอาดวัตถุดิบ เครื่องทำความสะอาดเมล็ดข้าวเปลือกก่อนการสี ดังแสดงในภาพที่ 2 4 ใช้วิธีการใช้ลมเป่า ร่วมกับการทำความสะอาดแบบตะแกรง เพื่อให้แยกสิ่งแปลกปลอม ที่มีขนาดและความหนาแน่นต่างกัน ออกจากกัน สิ่งเจือปนขนาดใหญ่ที่เบากว่า ได้แก่ ฟางท่อนยาว จะถูกลมดูดออก ส่วนสิ่งสกปรกขนาดใหญ่และหนัก เช่นก้อนหิน จะถูกแยกด้วยตะแกรงชั้นแรก จากนั้นข้าวเปลือกจะถูกผ่านเข้าสู่ ตะแกรงโยก สองชั้น ตะแกรงชั้นบน เพื่อแยก สิ่งเจือปนขนาดกลาง เช่น ก้อนหิน ก้อนกรวด ข้าวเปลือกรอดผ่านตะแกรงชั้นบน ลงสู่ตะแกรงชั้นที่สอง เพื่อแยกสิ่งเจือปนขนาดเล็ก เช่น ก้อนดิน ผงทราย โดยข้าวเปลือกที่สะอาด จะไหลผ่านหน้าตะแกรงลงสู่ถังเก็บ ภาพที่ 3 เครื่องทำความสะอาดเมล็ดข้าวก่อนการสีข้าว 1 4 การใช้เครื่องจับโลหะ โดยใช้แม่เหล็ก ดักจับ แยกสิ่งแปลกปลอมที่เป็นโลหะ เช่น เศษเหล็ก ตะปู ซึ่งหากผ่านเข้าไปในกระบวนการผลิตอาจทำความเสียหายให้เครื่องจักร หรือหลุดรอดไปยังผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค 2 การทำความสะอาดแบบเปียก การทำความสะอาดแบบเปียก wet cleaning เป็นการทำความสะอาดวัตถุดิบด้วยน้ำ อาจเรียกว่า การล้าง washing มีวัตถุประสงค์ เพื่อกำจัด สิ่งสกปรก สิ่งแปลกปลอม ที่ติดอยู่กับวัตถุดิบ ให้หลุดออก หรือละลายอยู่ในน้ำล้าง สิ่งปนเปื้อนที่ลดปริมาณลง หรือถูกกำจัดจากการล้างได้แก่ สิ่งสกปรกที่ติดกับวัตถุดิบ เช่น คราบเลือด โคลน ครบไขมัน จะถูกชะล้างออกจากผิว สิ่งแปลกปลอม ที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำออกจากวัตถุดิบ เช่น ใบไม้ เมล็ดลีบ เมล็ดฝ่อ เมล็ดเสีย จะลอยตัวบนผิวน้ำ และทำให้วัตถุดิบที่มีความหน่าแน่นมากกว่า เช่น หิน กรวด จมลงใต้ผิวน้ำ จุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย ยีสต์และรา รวมทั้งสปอร์ของรา และสปอร์ของแบคทีเรีย ที่ปนเปื้อนที่ผิวของวัตถุดิบ และยังลดปริมาณจุลินทรีย์ก่อโรค เช่น Salmonella spp Listeria Monocytogenes E coli O157 H7 สารเคมี และวัตถุอันตรายทางการเกษตร เช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ย สารเคมีที่พบในธรรมชาติของวัตถุดิบ เช่น ไซยาไนด์ ในหัวมันสำปะหลังสด การล้างจึง เป็นขั้นตอนสำคัญ เพื่อทำความสะอาด และ ลดอันตรายที่ปนเปื้อนมากับวัตถุดิบ การล้างที่มีประสิทธิภาพช่วยลดปริมาณจุลินทรีย์เริ่มต้นในอาหารก่อนเข้าสู่การแปรรูป ทำให้อาหารมีคุณภาพดี ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานขึ้น วัตถุดิบที่ทำความสะอาดได้ด้วยการล้าง ได้แก่ วัตถุดิบจากสัตว์ เช่น ปลา กุ้ง ปู หอย ซากหมู ซากไก่ รวมทั้ง วัตถุดิบจากพืช เช่น ผัก ผลไม้สด พืชหัว และ เมล็ดพืช ที่ต้องเตรียมเพื่อเข้าสู่กระบวนการต่อไปที่ต้องมีการเปียกน้ำ หรือแช่น้ำ เช่น ล้างข้าวก่อนการหุงข้าว หรือผลิตเป็นเป็นข้าวแบบโม่ด้วยน้ำ ล้างถั่วเหลืองก่อนแปรรูปเป็นน้ำเต้าหู้ เป็นต้น ภาพที่ 4 การล้างซากสัตว์โดยใช้น้ำสเปรย์ http www mirhaexports com photos html ชนิด แหล่งที่มา และคุณภาพของวัตถุดิบก่อนการล้างมีผลต่อประสิทธิภาพการล้าง วัตถุดิบที่รูปร่าง แปลก ซับซ้อน มีซอก จุดอับ เช่น กระชาย ข่า ขมิ้น ตะไคร้ หรือ สัตว์น้ำ เช่น หอยขม หอยนางรม ล้างได้ยากกว่าที่มีผิวเรียบ วัตถุดิบที่มีแหล่งที่มา จาก ใต้ดิน โคลน เลน มีโอกาสการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ได้มาก และล้างยาก อาจต้องแช่น้ำเพื่อให้ดินโคลนอ่อนตัว คลายตัว ก่อนการล้าง นอกจากนี้ คุณภาพของวัตถุดิบก่อนการล้างก็มีผลต่อประสิทธิภาพการล้างเช่นกัน วัตถุดิบที่มีเชื้อราขึ้น เน่าเละ จะเป็นสาเหตุให้ จุลินทรีย์แพร่กระจาย ไปกับน้ำล้าง ปนเปื้อนไปยังวัตถุดิบคุณภาพดี จึงต้องคัดแยกออกก่อน นำมาล้าง ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการล้างด้วยน้ำได้แก่ § ความสะอาดของน้ำที่ใช้ล้าง น้ำที่ใช้ล้างวัตถุดิบควรเป็นน้ำสะอาดมีคุณภาพมาตรฐานสำหรับน้ำดื่ม เพราะการใช้น้ำสกปรก มาล้างวัตถุดิบ หรือใช้น้ำล้างซ้ำหลายครั้ง นอกจากจะไม่ทำให้สะอาดแล้ว ยังกลับเพิ่มความสกปรกสะสม และเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ และสิ่งปนเปื้อนกลับไปยังวัตถุดิบอีกด้วย จึงควรตรวจสอบคุณภาพน้ำระหว่างการล้าง และเปลี่ยนน้ำล้างเป็นระยะ § อุณหภูมิของน้ำล้าง แม้ว่าการเพิ่มอุณหภูมิจะทำให้การละลาย และการกำจัดสิ่งปรก เช่น คราบไขมันได้ดีขึ้นกว่าการใช้อุณหภูมิต่ำ แต่อาจไม่เหมาะสมกับการล้างวัตถุดิบอาหารที่เน่าเสียง่าย การล้างอาหารทะเล เช่น กุ้ง ปลา จะใช้น้ำเย็นควบคุม การเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ § ระยะเวลาการล้าง หรือ การแช่ในน้ำล้าง วัตถุดิบที่มาจากใต้ดิน เช่น พืชหัว กระชาย ข่า ขิง ซึ่งมีซอกมุม ที่ดินโคลนติดแน่น หรือ หอยที่ฝังตัวในแหล่งดินโคลน เลน ควรแช่น้ำก่อนการล้าง เพื่อให้สิ่งสกปรกอ่อนตัว § การใช้แรงกลที่ใช้ระหว่างการล้างเช่น การฉีดน้ำ การทำน้ำให้ปั่นป่วน การใช้แปรงขัดถูระหว่างการล้าง จะช่วยกำจัดสิ่งสกปรกได้ดีกว่าการล้างในน้ำนิ่ง แต่ต้องระมัดระวังการใช้กับวัตถุดิบที่บอบบาง ช้ำ ง่าย เช่น ผักใบบาง ผลไม้เปลือกบาง § การปรับความหนาแน่นของน้ำด้วยเกลือ จะช่วยให้การแยกสิ่งแปลกปลอมให้จม หรือลอย แยกออกจากวัตถุดิบ ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น วิธีการล้างวัตถุดิบ สามารถทำได้ง่ายๆโดยแรงงานคน และมีอุปกรณ์ คือ ถังน้ำ อาจมีกลไกทำให้น้ำล้น ช่องระบายน้ำออก เพื่อเปลี่ยนน้ำล้าง การล้างวัตถุดิบปริมาณมากอาจใช้เครื่องล้างแบบต่อเนื่อง ที่มีอุปกรณ์ลำเลียงวัตถุดิบให้เคลื่อนที่ ถังหมุน และอาจติดตั้งอุปกรณ์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการล้าง เช่น ท่อเป่าลมให้น้ำเกิดการปั่นป่วน หัวสเปรย์เพื่อฉีดน้ำ หรือแปรงขัดที่ผิวของวัตถุดิบ ภาพที่ 5 การล้างผักและผลไม้ ก การแช่น้ำ ข การใช้น้ำสเปรย์ ค การใช้ถังหมุนและน้ำสเปรย์ ที่มา http www foodnetworksolution com wiki wordcap การล้าง การล้างวัตถุดิบ ด้วยน้ำอาจมีการใช้ สารฆ่าเชื้อ เพิ่มประสิทธิภาพ ลดแรงตึงผิว ทำลายจุลินทรีย์ทั้งรา ยีสต์ และแบคทีเรีย ที่ปนเปื้อนมากับวัตถุดิบ สารฆ่าเชื้อที่ใช้ผสมในการล้าง วัตถุดิบ ได้แก่ กรดอินทรีย์ เช่น การแลกติก กรดซิตริก โอโซน สารประกอบคลอรีน เช่น ก๊าซคลอรีน คลอรีนไดออกไซด์ โซเดียมไฮโปคลอไรด์ แคลเซียมไฮโปคลอไรด์ เป็นต้น โดยความเข้มข้นของสารฆ่าเชื้อต้องไม่เกินที่กฎหมายกำหนด ไม่ทำให้วัตถุดิบเกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพ และไม่ตกค้างอยู่ในผลิตภัณฑ์ หลังการล้างวัตถุดิบจะมีผิวหน้าเปียกน้ำและมีน้ำขังอยู่ บริเวณซอก มุม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ทำให้เสื่อมเสีย จึงต้องมีขั้นตอนสำคัญคือ การสะเด็ดน้ำ เพื่อลดปริมาณน้ำ ซึ่งอาจใช้การแขวน การผึ่งในตะแกรงให้น้ำหยดออก หรือ ผักที่เป็นใบใช้การหมุนเหวี่ยง เพื่อสลัดเอาน้ำออก ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับการทำความสะอาดวัตถุดิบด้วยการล้าง คือ ค่าใช้จ่ายของน้ำสะอาดที่ใช้ล้าง ซึ่งต้องใช้น้ำปริมาณมาก และยังเกิดน้ำเสีย ซึ่งมีการปนเปื้อนของสิ่งสกปรก เช่น ดิน ทราย คราบไขมัน แป้ง โปรตีน รวมทั้ง สารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อ ผสมในน้ำล้าง ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้น 1 3 การทำความสะอาดวัตถุดิบที่เป็นของเหลว วัตถุดิบที่เป็นของเหลว เช่น น้ำนม น้ำมัน น้ำผลไม้ อาจมีการปนเปื้อนจากสิ่งแปลกปลอมทางกายภาพ เช่น ฝุ่นละออง แมลง เศษวัสดุ เช่น โลหะ แก้วพลาสติก หรือจากชิ้นส่วน วัตถุดิบ จากพืชหรือสัตว์ เช่น นมมีการเปื้อนจาก เซลล์เต้านมวัว น้ำผลไม้มีส่วนของเปลือกหรือเมล็ดติดมา สิ่งแปลกปลอมเหล่านี้แยกออกได้ด้วยการกรอง ด้วยตะแกรงกรอง ที่มีขนาดรูเปิดเล็กกว่าสิ่งแปลกปลอมที่ต้องการแยก หรืออาจทำความสะอาดด้วยการเหวี่ยงแยก centrifuge เพื่อให้สิ่งแปลกปลอมที่มีความหนาแน่นมากกว่าแยกออกจากของเหลวที่ต้องการ
บริการ ทดลองเครื่องจักรกับผลิตภัณฑ์ของท่านฟรี
บริการ ทดลองเครื่องจักรกับผลิตภัณฑ์ของท่านฟรี เพื่อให้ ได้เครื่องที่ถูกใจ ผลิตได้ตามสเปค บริษัท ฟอร์ฟร้อนท์ ฟู้ดเทค จำกัด บริการ ทดลองเครื่องจักรกับผลิตภัณฑ์ของท่าน ฟรี ติดต่อฝ่ายขาย คุณสมสุดา ศรีวัฒนานนท์ มือถือ 66 0 81 558 3704 E mail somsuda forefrontfoodtech com http www forefrontfoodtech com product detail php id 20 เครื่องหั่นสไลด์ หั่นเป็นหยัก ขูดฝอย สตริป และลูกเต๋า KRONEN จากประเทศเยอรมนี Model GS 10เครื่องหั่นสไลด์ หั่นเป็นหยัก ขูดฝอย สตริป และลูกเต๋า สามารถใช้ได้กับวัตถุดิบหลายประเภท เหมาะสำหรับโรงงานขนาดกลางและใหญ่ Feature เครื่องจักรทำจากสแตนเลสสตีลทั้งเครื่อง แข็งแรง ทนทาน สามารถใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานานได้ ทำความสะอาดง่าย สามารถถอดฉีดล้างได้ทั่วบริเวณ สามารถปรับความหนาได้ที่หน้าจอดิจิตอลตั้งแต่ 1 50 มม เปลี่ยนชุดใบมีดได้สะดวก รวดเร็ว ตรงตามมาตรฐานความปลอดภัยและความสะอาดของทวีปยุโรป Specification weight ca 270 kg voltage 230V 50 60 Hz power 1 8 kW power consumption 7 8 A knife rotation 195 825 rpm conveyer speed min 1 72 rpm max 15 7 rpm กำลังการผลิตขึ้นอยู่กับประเภทวัตถุดิบและขนาดที่ต้องการ เครื่องลอกหนังหมู หนังปลา Skinning machine Nock จากประเทศเยอรมนี Model SKINEX S 460 Feature สามารถลอกหนังปลาได้อย่างรวดเร็วและเรียบเนียน ทำงานอัติโนมัติด้วยระบบสายพาน เพียงวางชิ้นปลาลงบนสายพาน สามารถปรับความหนาของหนังที่ต้องการลอกได้ 0 4 มม เครื่องทำจากสแตนเลสสตีล Specification Cutting width 430 Cutting effec 19 m min Motor power 0 75 kW 3 phases 230 400 V 50 60 Hz Water consumption appox 50 l h Weight 150 kg Dimension W 820 x D 960 x H 650 mm
เทคโนโลยีเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีสำหรับผลผลิตเกษตรและอาหาร (ตอนที่ 3)
การทดสอบความแม่นยำของแบบจำลองที่สร้างขึ้นเพื่อทำนายสมบัติที่ต้องการวัด ทำได้โดยวิธีทางสถิติ โดยคำนวณค่าที่จำเป็นในการประเมินความแม่นยำและความถูกต้องของแบบจำลอง Williams 2007 ที่สำคัญได้แก่ 1 สัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ Coefficient of correlation R สัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ R แสดงระดับซึ่งข้อมูล 2 ชุด ข้อมูลตัวเลข X และ Y ในที่นี้ข้อมูล X คือข้อมูลจากการวัดด้วยวิธีอ้างอิง ข้อมูล Y คือข้อมูลจากการวัดด้วยวิธีเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี สอดคล้องซึ่งกันและกัน ความสอดคล้องที่สมบูรณ์จะไม่มีความแตกต่างกันเลยระหว่าง 2 ชุดข้อมูล ผลของค่า R จะเท่ากับ 1 00 ในทางปฏิบัตินั้นเป็นไปไม่ได้ และ X และ Y อาจจะมีความสัมพันธ์เป็นเชิงบวกหรือลบก็ได้ 2 สัมประสิทธิ์การพิจารณา Coefficient of determination R2 แสดงสัดส่วนของความแปรปรวนในข้อมูล X ที่สามารถอธิบายโดยความแปรปรวนในข้อมูล Y ค่าของ R2 จะเป็นบวกเสมอ เช่น ถ้า R 0 97 แล้ว R2 0 941 หมายความว่า 94 1 ของความแปรปรวนในข้อมูล X และ 5 9 ของความแปรปรวนในข้อมูล X เกิดขึ้นจากตัวแปรอื่น เช่นการเตรียมตัวอย่าง วิธีการทดลองอ้างอิง และอื่นๆ ค่า R2 เป็นบวกเสมอโดยไม่คำนึงถึงเครื่องหมายของ R ในทางปฏิบัติ R2ให้ข้อมูลมากกว่า R และใช้กันมากกว่า R การแปลความหมายของค่า R และ R2 แสดงดังตารางที่ 1 3 ความผิดพลาดมาตรฐานของการจำลอง Standard error of calibration SEC SEC คือ ค่า SD ของความแตกต่างระหว่างค่าที่ทำนายโดยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีและค่าจากการวัดด้วยวิธีอ้างอิงในชุดตัวอย่างที่ใช้สร้างแบบจำลอง Calibration set ถ้าใช้ MLR จะพบว่า R และ SEC จะดีขึ้นเมื่อเพิ่มจำนวนตัวแปรต้นมากขึ้น สิ่งนี้เรียกว่า over fitting ของข้อมูล ตามหลักค่า SEP ดูข้อ 5 ควรจะสูงกว่า SEC เสมอ ตารางที่ 1 การแปลความหมายของค่า R และ R2 Williams 2007 4 ความผิดพลาดมาตรฐานของการทำ Cross validation Standard error of cross validation SECV Cross validation สามารถใช้ตัวอย่างชุดเดียวกันกับที่ใช้ในการสร้างแบบจำลองเพื่อการทำการพิสูจน์แบบจำลอง Validation สิ่งนี้ทำโดยชักตัวอย่างออกหนึ่งตัวอย่างหรือกลุ่มของหลายตัวอย่างจากชุดสร้างแบบจำลองและสร้างแบบจำลองด้วยตัวอย่างที่เหลืออยู่ แล้วทำนายตัวอย่างที่ถูกกำจัดออกไปและบันทึกค่าความผิดพลาด แล้วนำตัวอย่างที่ถูกกำจัดออกไปนั้นกลับมาแล้วชักตัวอย่างอื่นออกไปและทำซ้ำกระบวนการจนกระทั่งตัวอย่างทั้งหมดถูกใช้ในการพัฒนาแบบจำลองและทำนาย จะไม่มีตัวอย่างที่ถูกทำนายถูกใช้ในการพัฒนาแบบจำลองซึ่งได้ใช้ในการทำนาย ถ้าเอาออกเพียงทีละ 1 ตัวอย่างจะเรียกว่า Full หรือ One out cross validation ถ้านำชุดตัวอย่าง จำนวนหลายตัวอย่าง ออกจะเรียกว่า Segmented cross validation ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความแตกต่างระหว่างค่าที่ถูกทำนายโดยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีและค่าจากการวัดด้วยวิธีอ้างอิงของชุดสร้างแบบจำลอง คือ SECV วิธีพิสูจน์นี้เหมาะที่จะใช้กับข้อมูลที่มีจำนวนตัวอย่างน้อยๆ เช่น น้อยกว่า 100 ตัวอย่าง 5 ความผิดพลาดมาตรฐานของการทำนาย Standard error of prediction SEP หรือ SEV SEP ย่อมาจาก Standard error of prediction หรือ Standard error of performance แสดงสมรรถนะของการทำนาย บางครั้งใช้เทอม SEV Standard error of validation SEP เป็นค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานของความแตกต่างระหว่างค่าที่ทำนายโดยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีและค่าจากการวัดด้วยวิธีอ้างอิง ซึ่งไม่เหมือนกับ RMSEP Root mean square of the prediction ซึ่งจะอธิบายต่อไปโดย SEP ไม่เกี่ยวข้องกับ Bias ค่า SEP คำนวณจากผลการทำนายของชุดตัวอย่างที่ไม่ได้ถูกใช้ในการพัฒนาแบบจำลอง ชุดตัวอย่างนี้เรียกว่า ชุดทำนาย Prediction set 6 ความผิดพลาด Bias เมื่อทำนายค่าตัวแปรที่ต้องการของข้อมูลในชุดตัวอย่างทดสอบแบบจำลอง Validation set ค่า Bias หมายถึงความแตกต่างระหว่างค่าจากการวัดด้วยวิธีอ้างอิงและค่าที่ทำนายโดยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีและเป็นการวัดความแม่นยำโดยรวมของแบบจำลอง Calibration model ในโลกความเป็นจริงของทางการค้าและอุตสาหกรรม Bias เป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญมาก ในทางสถิติ Bias สามารถเกิดขึ้นได้แม้เมื่อค่าสถิติสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์และ SEP ที่แสดงว่าแบบจำลอง นั้นดีเยี่ยม 7 ค่าเฉลี่ยกำลังสองของการทำนาย Root mean square of the prediction RMSEP RMSEP เป็นค่าที่แสดงประสิทธิภาพของแบบจำลอง การคำนวณค่า RMSEP ได้รวมค่า Bias ไว้ด้วย ถ้าไม่มีค่า bias ค่า SEP และ RMSEP จะมีค่าเท่ากัน มีการใช้ RMSEP มากกว่า SEP แต่การรายงานผลโดยใช้ SEP กับ Bias แสดงถึงความแม่นยำของการทำนายได้ดี เนื่องจากRMSEP เกี่ยวข้องกับ Bias แต่ไม่ได้แสดงขนาดและเครื่องหมาย 8 อัตราส่วนระหว่าง SEP กับ SD Ratio of SEP to the SD RPD RPD ย่อมาจาก Ratio of Standard error of Prediction Validation to Standard Deviation แต่เป็นส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD กับ อัตราส่วนของค่าความผิดพลาดมาตรฐานการทำนาย SEP ของข้อมูลของค่าอ้างอิงของชุดทำนาย ค่า SEP ควรต่ำกว่า SD มากๆ ซึ่งอัตราส่วนควรเท่ากับ 5 หรือมากกว่า บางกรณีตัวอย่างมีความสม่ำเสมอมาก ค่า SD จึงไม่สูง ซึ่ง RPD อาจจะไม่สูง ดังนั้น RPD เท่ากับ 2 5 3 0 ก็อาจแสดงถึงการวิเคราะห์ที่แม่นยำถ้า SD มีค่าเพียง 0 4 0 5 9 อัตราส่วนระหว่าง SEP กับช่วงข้อมูล Ratio of the SEP to the range RER RER คือ อัตราส่วนของช่วงกว้างของข้อมูลอ้างอิงของชุดทำนาย ต่อ SEP ค่า RER ควรจะสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตารางที่ 2 แสดงการอธิบายผลของค่า RPD และ RER ตารางที่ 2 การอธิบายผลของค่า RPD และ RER Williams 2007 การวัดองค์ประกอบทางเคมีของผลผลิตเกษตรและอาหารด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย เนื่องจากการผ่านคลื่นเนียร์อินฟราเรดเข้าไปทำให้พันธะทางเคมีที่เป็นตัวดูดซับ Absorber สั่นเสทือน แต่การวัดสมบัติทางกายภาพด้วยเทคนิคนี้อาจเข้าใจได้ยาก จะขอยกตัวอย่างกรณีของเนื้อสัมผัสเป็นซึ่งเป็นสมบัติทางกายภาพ เทคนิคนี้สามารถวัดสมบัตินี้ได้เนื่องจากเนื้อสัมผัสมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีภายในของวัสดุที่เกี่ยวข้องกับเนื้อสัมผัส เช่น ในผัก ผลไม้ เนื้อสัมผัสเกี่ยวข้องกับความดันเต่ง ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากน้ำหรือของเหลวภายในเซลล์และเกี่ยวข้องกับปริมาณสารเพคตินที่รอยต่อระหว่างเซลล์ Sirisomboon et al 2000 ในเมล็ดพืชที่คัพภะ Endosperm ซึ่งมีเม็ดแป้งสตาร์ช Starch granule ซึ่งเกี่ยวข้องกับความแข็งของเมล็ดธัญพืช Millar 2004 ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ คลื่นเนียร์อินฟราเรดให้ข้อมูลเกี่ยวกับ โครงสร้างของเนื้อเยื่อระดับอัลตรา Tissue ultra structure Downey and Hildrum 2004 อ้างโดย Prieto et al 2009 ความชุ่มน้ำของเนื้อเป็นสมบัติเชิงเนื้อสัมผัสที่เกี่ยวข้องกับปริมาณไขมัน น้ำและโครงสร้างเส้นใยของเนื้อ Warriss 2000 อ้างโดย Prieto et al 2009 ปริมาณคาเซอีน Casein ในน้ำนมมีผลต่อเนื้อสัมผัสของเนยแข็ง Revilla et al 2009 ความสัมพันธ์เช่นนี้เป็นอาจสาเหตุให้สามารถวัดเนื้อสัมผัสโดยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีได้
เทคโนโลยีเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีสำหรับผลผลิตเกษตรและอาหาร (ตอนที่ 4)
รศ ดร ปานมนัส ศิริสมบูรณ์ www nirsresearch com ขั้นตอนการใช้เทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีในการวัดองค์ประกอบทางเคมีหรือสมบัติทางกายภาพของผลผลิตเกษตรและอาหาร ขั้นตอนการใช้เทคนิคนี้ในการวัดองค์ประกอบทางเคมีหรือสมบัติทางกายภาพของผลผลิตเกษตรและอาหารทำได้โดย 1 กำหนดตัวอย่างที่จะใช้ เช่นถ้าเป็นผลไม้ควรให้ตัวอย่างทั้งหมดครอบคลุมสมบัติที่จะวัดเป็นช่วงกว้างที่ครอบคลุมตัวอย่างที่ต้องการวัดเพื่อใช้งานจริง เช่นหากจะวัดความแน่นเนื้อเพื่อใช้งานจริงในช่วงอายุการเก็บเกี่ยวเชิงการค้าก็ควรเป็นตัวอย่างที่มีความสุกแก่จากน้อยไปหามากที่ครอบคลุมช่วงอายุการเก็บเกี่ยวเชิงการค้าไว้ด้วย โดยปกติควรใช้ตัวอย่างอย่างน้อย 200 ตัวอย่างขึ้นไป 2 นำตัวอย่างมาสแกนด้วยคลื่นเนียร์อินฟราเรดด้วยสเปกโตรมิเตอร์ที่ความยาวช่วงคลื่นที่ต้องการจะได้ข้อมูลเชิงแสง Optical data ในรูปของสเปกตรัมของแต่ละตัวอย่าง เมื่อได้ข้อมูลของทุกตัวอย่างให้ตรวจสอบค่านอกกลุ่ม Outlier โดยการสังเกตด้วยตา หากมีสเปกตรัมผิดปกติให้เอาออก และโดยใช้วิธี Principle Component Analysis PCA สเปกตรัมผิดปกตินี้อาจเกิดจากการสแกนที่ผิดพลาด 3 นำตัวอย่างมาวัดองค์ประกอบทางเคมีหรือสมบัติทางกายภาพที่ต้องการด้วยวิธีมาตรฐานดั้งเดิมที่ยอมรับได้ เรียกค่าที่ได้ว่าค่าอ้างอิง Reference data ของแต่ละตัวอย่าง เมื่อได้ข้อมูลของทุกตัวอย่างให้ตรวจสอบค่านอกกลุ่ม Outlier โดยใช้สมการ เมื่อ x คือค่าอ้างอิง คือค่าเฉลี่ยและ SD คือค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หากเป็นตามสมการนี้แสดงว่าค่านั้นเป็นค่านอกกลุ่ม ให้เอาออก 4 นำข้อมูลเชิงแสง และค่าอ้างอิงมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น Unscrambler Win ISI Opus NIRCal เป็นต้นโดยเรียงลำดับข้อมูลตามค่าอ้างอิงจากน้อยไปหามาก แล้วแบ่งข้อมูลเป็น 2 ชุด คือชุดสร้างแบบจำลองหรือสมการนั่นเอง เรียกว่า Calibration set และชุดพิสูจน์ความแม่นยำของแบบจำลอง เรียกว่า Prediction set โดยปกติแล้วใช้อัตราส่วนให้ Calibration setมากกว่า Prediction set เช่น 7 3 หรือ 8 2 เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายให้ตัวอย่างลำดับที่ 1 8 11 18 21 28 อยู่ใน Calibration set และตัวอย่างลำดับที่ 9 10 19 20 29 30 อยู่ใน Prediction set ทั้งนี้ให้ค่าน้อยสุดและค่ามากสุดอยู่ใน Calibration set เนื่องจากแบบจำลองต้องครอบคลุมช่วงของข้อมูลทั้งหมด หากตัวอย่างน้อยกว่า 100 ตัวอย่างไม่ควรแบ่งเป็นชุด Calibration set และชุด Prediction set เนื่องจากทำให้การสร้างแบบจำลองทำจากตัวอย่างที่น้อยเกินไป ทำให้แบบจำลองไม่น่าเชื่อถือ 5 สร้างแบบจำลองโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปดังกล่าวโดยใช้สเปกตรัมเริ่มต้น Original spectrum หรือสเปกตรัมที่ผ่านการจัดการทางคณิตศาสตร์ด้วยวิธีทางเคโมเมตริกแบบต่างๆดังที่ได้อธิบายไว้แล้ว 6 เมื่อได้แบบจำลอง สามารถพิสูจน์ความแม่นยำของแบบจำลองโดยใช้Prediction set โดยพิจารณาจากค่าที่จำเป็นในการประเมินความแม่นยำและความถูกต้องของแบบจำลองดังที่ได้อธิบายไว้แล้ว หากตัวอย่างน้อยกว่า 100 ตัวอย่างควรใช้วิธี Cross validation ดังที่ได้อธิบายไว้แล้ว 7 หากแบบจำลองมีความแม่นยำเพียงพอให้นำมาพิสูจน์อีกครั้งหนึ่งโดยใช้ตัวอย่างกลุ่มใหม่อีกจำนวนหนึ่ง โดยทำการทดลองตามข้อ 2 และข้อ 3 แล้วนำสเปกตรัมที่ได้แทนลงในแบบจำลอง ทำโดยวิธีการของโปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งจะประเมินค่าองค์ประกอบทางเคมีหรือสมบัติทางกายภาพออกมา ให้เทียบค่านี้กับค่าวัดจริง และโดยวิธีการของโปรแกรมสำเร็จรูปจะคำนวณค่าความแม่นยำและความผิดพลาดให้ทราบ ตารางที่ 3 แสดงตัวอย่างการวัดสมบัติเนื้อสัมผัสของผลผลิตเกษตรและอาหารเชิงปริมาณด้วยเนียร์อินฟราเรดสเปกโตรสปี และตารางที่ 4 แสดงตัวอย่างการจำแนกลักษณะเนื้อสัมผัสของผลผลิตเกษตรและอาหารด้วยเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี ตารางที่ 3 ตัวอย่างการวัดสมบัติเนื้อสัมผัสของผลผลิตเกษตรและอาหารเชิงปริมาณด้วยเนียร์อินฟราเรดสเปกโตรสปี ตารางที่ 3 12 ตัวอย่างการจำแนกลักษณะเนื้อสัมผัสของผลผลิตเกษตรและอาหารด้วยเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี
เทคโนโลยีเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีสำหรับผลผลิตเกษตรและอาหาร (ตอนที่ 5)
เอกสารอ้างอิง Bao J Wang Y Shen Y 2007 Determination of apparent amylose content pasting properties and gel texture of rice starch by near infrared spectroscopy Journal of the Science of Food and Agriculture 87 11 2040 2048 Downey G Hildrum K I 2004 Analysis of meats In Near infrared spectroscopy in agriculture L Al Amoodi R Craig J Workman J Reeves Eds American Society of Agronomy Inc Crop Science Society of America Inc Soil Science Society of America Inc Madison Wisconsin USA 2004 pp 599 632 Flores Rojas K Sá nchez M T Pé rez Marí n D Guerrero J E Garrido Varo A 2009 Quantitative assessment of intact green asparagus quality by near Infrared spectroscopy Postharvest Biology and Technology 52 3 300 306 Garcí a Rey R M Garcí a Olmo J De Pedro E Quiles Zafra R Luque de Castro M D 2005 Prediction of texture and colour of dry cured ham by visible and near Infrared spectroscopy using a fiber optic probe Meat Science 70 2 357 363 Gonzá lez Martí n M I Severiano Pé rez P Revilla I Vivar Quintana A M Herná ndez Hierro J M Gonzá lez Pé rez C Lobos Ortega I A 2011 Prediction of sensory attributes of cheese by near Infrared spectroscopy Food Chemistry 127 1 256 263 Isaksson T Swensen L P Taylor R G Fjæ ra S O Skjervold P O 2001 Non destructive texture analysis of farmed Atlantic salmon using visual near infrared reflectance spectroscopy Journal of the Science of Food and Agriculture 82 1 53 60 Kojima T Fujita S Tanaka M Sirisomboon P 2004 Plant compounds and fruit texture the case of pear In Texture in Food Volume 2 Solid Foods D Kilcast editor Woodhead Publishing Ltd 537 p Liu Y Lyon B G Windham W R Realini C E Pringle T D D Duckett S 2003 Prediction of colour texture and sensory characteristics of beef steaks by visible and near infrared reflectance spectroscopy A feasibility study Meat Science 65 1107 1115 Millar S 2004 Near infrared NIR diffuse reflectance in texture measurement In Texture in Food Volume 2 Solid Foods D Kilcast editor Woodhead Publishing Ltd 537 p Monroy M Prasher S Ngadi M O Wang N Karimi Y 2010 Pork meat quality classification using Visible Near Infrared spectroscopic data Biosystems Engineering 107 3 271 276 Pé rez Marí n D Sá nchez M T Cano G Garrido A 2007 Prediction of texture in green asparagus by near infrared spectroscopy NIRS J Food Qual 25 277 287 Prieto N Ross D W Navajas E A Nute G R Richardson R I Hyslop J J Simm G Roehe R 2009 On line application of visible and near Infrared reflectance spectroscopy to predict chemical physical and sensory characteristics of beef quality Meat Science 83 1 96 103 Revilla I Gonzá lez Martí n I Herná ndez Hierro J M Vivar Quintana A Gonzá lez Pé rez C Lurueñ a Martí nez M A 2009 Texture evaluation in cheeses by NIRS technology employing a fibre optic probe Journal of Food Engineering 92 1 24 28 Sirisomboon P Tanaka M Fujita S Kojima T 2000 Relationship between the texture and pectin constituents of Japanese pear J Texture Studies 31 679 690 Sirisomboon P Tanaka M Kojima T Williams P 2012 Nondestructive Estimation of Maturity and Textural Properties on Tomato &lsquo Momotaro by Near Infrared Spectroscopy Journal of Food Engineering 112 3 218 226 Warriss P D 2000 Meat Science An introductory text CABI Publishing Wallingford Oxon UK Williams P 2007 Near infrared Technology Getting the best out of light Edition 5 4 A short course in the practical implementation of near infrared spectroscopy for the user PDK Grain Nanaimo Canada
การแปรรูปสมุนไพรเพื่อการพาณิชย์
งานอบรม &ldquo การแปรรูปสมุนไพรเพื่อการพาณิชย์&rdquo 12มิถุนายน 2556 ณ ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการอบแห้งแบบพ่นฝอย ผู้บรรยายโดย นายแพทย์เปรม ชินวันทนานนท์ ประธานฝ่ายพัฒนาภูมิปัญญาไทย มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร มีประสบการณ์ในการวิจัยพัฒนาและผลิตสินค้าด้วยสมุนไพรกว่า 30 ปี วัตถุประสงค์ของการพัฒนาสมุนไพร 1 ความจำเป็นพื้นฐาน &ldquo ช่วงสงครามไม่มียาใช้ สมัยรัฐจอมพล ป พิบูลสงคราม เราจำเป็นต้องผลิตสมุนไรไทยให้มากขึ้น เราไม่มียาต่างประเทศเพียงพอ&rdquo 2 ลดดุลการค้า &ldquo ใช้สมุนไพรไทยทดแทนยาจากต่างประเทศ ช่วงวิกฤตเศรษฐ์กิจต้มยำกุ้ง พญายอ แทนยาต่างประเทศ รักษาเริมงูสวัด พญายอต้นทุน10บาท ยาต่างประเทศหลอดละ30บาท&rdquo 3 พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย ตอบสนองต่อความต้องการ &ldquo นอกจากยาแล้วยังเป็นเครื่องดื่ม ต้องตกลงกับหมอในโรงพยาบาล เอาสมุนไพรมาใช้ ทุกคนตกลงเพราะว่าการเงินของโรงพยาบาลอยู่ในช่วงวิกฤต แต่บางกลุ่มก็ยังไม่ยอมรับ โดยผลิตเครื่องดื่ม มะขามป้อม หว่านหาง สมอไทย อันชัน มะตูม ลูกยอ เป็นตัวนำร่องมาก่อน เวลาประชุม ไม่ใช่น้ำกาแฟ เปลี่ยนเป็นน้ำสมุนไพร พอเขาติดใจรสชาติ เขาก็อยากเอามาใช้ ทั้งยังไปแจกงานต่างๆ งานกาชาด แจกผู้ใหญ่เพื่อดึงคนเขามาให้รู้จักอภัยภูเบศร&rdquo 4 สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน &ldquo ช่วงแรกไม่ค่อยมีคนสนใจเท่าไหร่ เดิมปลูกต้นไม้สวยงาม ถามว่าจะได้เงินเพิ่มขึ้นไหม เราก็บอกเขาว่า เรามาเรียนรู้ด้วยกัน เขาปลูกเรารับซื้อ ใช้นักวิชาการให้ความรู้แก่เขา ใช้เวลาอย่างน้อย2ปี ต้องปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่ มีน้อยคนที่จะยอมหันมาทำเกษตรอินทรีย์ แต่หลังจากเห็นครอบครัวที่ทำประสบความสำเร็จก็หันมาทำกันมากขึ้น ทำไปทำมาไปตายเพราะเกิดปัญหาปุ๋ยที่ไปซื้อเค้า ไม่ได้ผลิตเอง เราจะอยู่ได้ครบวงจรต้องผลิตเอง ทั้งปุ๋ย ทั้งยาฆ่าแมลง สร้างโครงการสีเขียว ทุกวันนี้มีทั้งภาคเหนือ กลางใต้ อีสาน10กว่าจังหวัด&rdquo 5 พัฒนาผลิตภัณฑ์สู่สากลผลิต &ldquo ตัวแรกไปขายต่างประเทศคือ ยอ ที่ประเทศออสเตรเลีย กระทิงแดงก็ไปเป็นที่แรก เพราะเข้าง่าย หากเข้าได้ไปแถบEUได้หมด&rdquo 6 เสริมการแพทย์กระแสหลัก &ldquo คนเราเจ็บป่วยเพราะอาหารการกิน การอยู่ อาหารให้ครบ5หมู่ ตำรับไทยบอกว่าให้กินข้าวกล้องเป็นหลัก กินผักผลไม้หลากสี หลากรส กินปลา ไม่ให้กินซ้ำ เปลี่ยนไปตามฤดูกาล ใจสงบไม่เครียด ออกกำลังกาย เครียดไม่สงบก็เป็นเบาหวานได้ น้ำไม่พอทำให้เกิดปัญญาระบบทางเดิน สูดอากาศไม่บริสุทธิ์ ระบบประสาท ระบบหายใจ ไหลเวียนโลหิต ธาตุไฟคือชีวิต หากไม่สมดุล ระบบตับ ไหลเวียนไม่ดี เราป่วย เพราะธาตุ4ขาดความสมดุล ขาดความสัมพันธ์ คือหลักทั่วๆไป ส่วนวิทยาศาสตร์บอกว่า ป่วยเพราะเนื่องจากภูมิคุ้มกันบกพร่อง อนุมูลอิสระมีมาก เราไม่สามารถทำลายได้ ทางตะวันตกบอกว่าที่เราป่วยเพราะมีเชื้อเข้าไป แต่จริงๆแล้วเชื้อในร่างกายเรามีเชื้ออยู่แล้ว ในลำไส้ ในปาก เต็มไปหมด ทำไมเราไม่ป่วย ที่ไม่ป่วยเพราะเรามีภูมิคุ้มกันดี สมุนไพรไปช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันได้ และถ้าเราจิตใจสงบด้วย สุขภาพก็จะดี สมุนไพรส่วนใหญ่มีตัวต้านอนุมูลอิสระ ยาแก้ไออภัยภูเบศร มีงานวิจัย ไปเสนอโปรตุเกสได้ผลดี ปีพ ศ 2526รามาวิจัยเสนออเมริกา พะยายอแก้เริมงูสวัด ไปรักษาโรคมะเร็งลำคอ มีตีพิมพ์ในวารสาร&rdquo การควบคุมคุณภาพ &ldquo มาตราหลักคือ2Gได้แก่GAP Good Agricultural Practices GHPGood Hygiene Practices สิ่ง สำคัญคือเเหล่งปลูก ดิน กรด ด่าง ภูมิอากาศ น้ำ ต้องลงไปตรวจตั้งแต่ต้น พันธุ์พืชต้องเป็นพันธุ์ที่ให้สาระสำคัญมาก อย่างขมิ้นทางใต้ เปล้าน้อยของหัวหิน หรือประจวบคีรีขันธ์ ปุ๋ยเป็นสิ่งสำคัญมาก ต้องทำเองปุ๋ยมูลสัตว์ หรือชีวภาพก็ได้ เกษตรอินทรีย์ถ้าไม่ทำเองจะหมดเงินสารกำจัดศัตรูพืชต้องเป็นสารอินทรีย์ ใช้สะเดา หางไหล เก็บเกี่ยวให้ได้สาระสำคัญมาก จัดการตั้งแต่ปลูก ปราศจากศัตรูพืชและจุลินทรีย์ รับรองโดยสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ&rdquo การแปรรูปสมุนไพรตามมาตรฐานGMP &ldquo เป็นระบบปิด นำสมุนไพรมาตากแดด ก่อนเอามาอบให้แห้งเพื่อความมั่นใจ เอามาเก็บใส่ถุง ติดสลากให้ดีว่าเก็บเมื่อไหร่ เก็บให้ดีไม่ให้ปนเปื้อนมลภาวะใส่สารกันชื้น ส่งไปอาบรังสี ต้องกักเก็บไว้ตรวจสอบ7 15วัน5 8 ของสินค้าเก็บไว้ทุกล็อต สุ่มมาเก็บ เพื่อให้แน่ใจว่า สินค้าอยู่ได้ตามshelf lifeในโรงงานต้องแต่งกายเหมือนชุดอวกาศ สามารถแวะเยี่ยมชมโรงงานได้ อภัยภูเบศรออกนิทรรศการต่างประเทศทุกๆปี ทั้งทางตะวันตก และตะวันออก เราต้องไปเรียนรู้ประเทศอื่นเขาทำอะไรมั่ง ญี่ปุ่นไปทุกปี ญี่ปุ่นเป็นเรื่องของความงามมากกว่า สบู่ของอภัยภูเบศรไปดังที่ญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นมาไทยต้องหิ้วสบู่ไป จนต้องมีมาตรการห้ามหิ้วกลับไปเกินคนละ2โหล&rdquo &ldquo มีอีกส่วนที่ อย ไม่ยอมผ่าน ที่เอามาต้มแล้วspray dryเนื่องจากผงที่ออกมายังไม่มีสาระสำคัญสม่ำเสมอ ต้องไปทำวิจัยเพิ่มเติม จริงๆก็ทำได้ใช้กับคน1000ราย ใช้เวลา2ปี ถ้าจะผลิตสินค้าขายทางยุโรปจำเป็นต้องผ่านEUรับรองมาตรฐาน ต้องเป็นคนที่จบจากEUหรือเป็นบริษัทที่EUรับรอง ซึ่งค่อนข้างโหด ผลิตภัณฑ์ต้องเอามาสุ่มตรวจ ถ้าไม่ผ่านต้องrejectหมด เวลาที่จะทำลายทิ้งต้องเชิญสรรพากรมาตรวจสอบก่อนว่ามีเท่าไหร่จะได้ไม่ต้อง เสียภาษีส่วนนั้น ถ้าสร้างโรงงานใหม่ ควรออกแบบแล้วส่งไปให้ อย ตรวจสอบก่อน พื้นที่ใช้flowให้ได้มาตรฐาน ถ้าทำไปแล้วต้องมาแก้ทีหลังจะเสียเงินมาก สมุนไพรหลักๆ ยาร้อน ยาเย็น ในบัญชี 71 อย่างที่สามารถผลิตได้ ไม่สามารถบอกว่ารักษาโรคได้ บอกได้แค่บรรเทาโรค ทางอินเดียมีผลงานวิจัยมาก ผลงานวิจัยมี อย ก็ไม่เชื่อ ต้องเอามาทำเอง สามารถทำกับมหาวิทยาลัยต่างๆ หากจะทำวิจัยจะต้องเขียนสัญญาให้ครบถ้วน ให้รัดกุมว่าผลงานเป็นของใคร บางทีพอวิจัยออกมาแล้วเราไม่สามารถนำผลงานมาใช้ได้&rdquo การผลิตของอภัยภูเบศร 1 ใช้supplierที่ผ่านGMP 2 ผลิตเอง ประเภทของสินค้า 1 เครื่องสำอาง 2 อาหารเสริม 3 ยาแผนโบราณ 4 อาหาร ตัวอย่างสมุนไพรที่นำมาใช้รักษาโรค 1 ระบบไหลเวียนโลหิต อภัยภูเบศรผลิต4ตัว ยาหอมทิพโอสถ เทพจิต นวโกฐ อินทจักร์ 2 ธาตุเหล็กบำรุงโลหิต ได้แก่ ยอ มะขามป้อม รักษากล้ามเนื้อ และกระดูกแก้ ได้แก่เถาวัลย์เปรียง ครีมพริก น้ำมันไพล 3 ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ขมิ้นชันแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขิง แก้คลื่นไส้อาเจียน ชุมเห็ดเทศ มะขามแขก ฝักคูณเป็นยาระบาย เพกา แก้ริดสีดวงทวาร 4 ระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ยามะขามป้อม ฟ้าทะลายโจร แก้เจ็บคอ แก้หวัด ละลายเสมหะ 5 ระบบผิวหนัง ได้แก่ ครีมบัวบก สมานแผล เปลือกมังคุดแผลสด 6 ระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ กระเจี๊ยบแดง หญ้าหนวดแมว บัวบก ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงไต 7 แก้ไข แก้ร้อนใน ได้แก่ ยาห้าราก ฟ้าทะลายโจร จันทร์ลีลา 8 แก้พิษเบื่อเมา ยารางจืด หลักการใช้สมุนไพร &ldquo ใช้ตามอาการ ไม่ควรเกิน3สัปดาห์ อย่างมาก3เดือน คนที่กินนานควรสังเกตุตัวเอง หากเกิดอาการขี้ร้อนหรือ ขี้หนาวเกินไป ร่างกายอุณภูมิไปเย็นไป ควรกินอาหารประเภทร้อนเข้าไป หากกินนานติดต่อกัน ควรหยุดกิน2 3เดือน แล้วค่อยกลับมากินใหม่ อย่างบอระเพ็ดหากกินนานไปจะทำให้ตับอักเสบเอนไซม์จะขึ้น สิ่งสำคัญควรกินสมุนไพรให้เป็นอาหาร เปลี่ยนไปเรื่อยๆจะได้รับสารอาหารครบถ้วน กินยาสมุนไพร2 3สัปดาห์ ควบคู่แผนปัจจุบัน แล้วจึงดูอาการว่า จะลดยาแผนปัจจุบันหรือไม่ตามการวินิจฉัยของแพทย์ แต่จริงแล้วที่สำคัญอยู่ที่ต้นเหตุของอาการ เบาหวานเกิดจากตับอ่อนมันเสีย เพราะว่าอาหารหวานไป แป้งมากไป ต้องลด ที่สำคัญจิตใจไม่เครียด ออกกำลังกายช่วยให้ระบบการย่อยดีขึ้น&rdquo การตลาด &ldquo อภัยภูเบศรทำ30ปีได้แค่นี้ สมัยนี้เด็กหนุ่มๆทำปีเดียวเป็นพันล้านหมื่นล้าน สมัยก่อนเจริญช้า ตอนนี้เราโตปีละ20 ช่วงแรกโตเร็วแล้วคงตัว หลังจากนั้นก็ขึ้น สิ่งที่ขาดคือการวิจัยการตลาด ต้องวิจัย เขาชอบอะไร สีอะไร ทุกอย่างถ้าเราผลิตสินค้าที่เขาไม่ชอบ แล้วเราจะขายใคร บรรจุภัณฑ์ต้องเตะตา สะดวกใช้ ขายต่างประเทศก็ต้องรู้ว่าต่างชาติอะไร มีสารต้องห้ามอะไร ขายในประเทศก็ชอบอีกอย่างนึง ฝรั่งไม่ชอบของเราเพราะต้องกินเยอะ คนไม่ชอบกินยาเยอะ ชอบกินน้อยๆ เม็ดเดียวต่อวัน ยาลดไขมันกินก่อนนอนเม็ดเดียว กินหลังอาหารได้ก็จะดีเพราะคนชอบลืม สลากต้องเป็นภาษาของประเทศนั้นๆ ต้องเขียนให้ชัดเจนว่า วิธีใช้ รักษาอะไร วันหมดอายุ สังเกตุดูตัวอักษรต้องตัวใหญ่ กลุ่มเป้าหมายคือคนสูงอายุ เขียนเยอะแยะมากมายเขามองไม่เห็น หากเราขึ้นทะเบียนในบ้านเราแล้วเป็นยา อย ไม่ยอมอนุญาติให้เราไปขายเป็นอาหารเสริมต้องไปคุยกัน แต่ช่วงหลังๆมานี้ก็เริ่มอนุญาติแล้ว&rdquo การประชาสัมพันธ์ &ldquo เราไม่สามารถเคลมว่ารักษาได้จึงต้องใช้การประชาสัมพันธ์เข้าช่วย และใช้การท่องเที่ยวเข้ามาเสริม ให้เค้ามาดูโรงพยาบาลดูการผลิตทำให้เขาเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์&rdquo โฆษณา &ldquo ทำอย่างไรโฆษณาแบรนด์ให้ดี ให้เกิดความชื่อมั่น สร้างแฟนคลับ อย่างดารายังต้องมีแฟนคลับ ผลิตภัณฑ์ก็ต้องมี เราจะเห็นว่างานสมุนไพรแห่งชาติมีคนมาเขามาทุกปี ถามว่าทำไม เค้าอยากมาดูว่าอภัยภูเบศร มีสินค้าอะไรใหม่บ้าง มีโปรโมชั่นอะไร โฆษณาทางสื่อต่างๆเช่น หนังสือพิมพ์ สิ่งพิม อีเล็คทรอนิกส์&rdquo ราคา &ldquo ต้องตั้งราคาให้สมเหตุสมผล ก่อนที่จะตั้งราคาต้องดูผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ จะตั้งให้ถูกกว่าหรือแพงกว่าต้องเลือกดู บางครั้งเราเห็นว่าบางอย่างยาสมุนไพรแพงกว่ายาต่างประเทศ เนื่องจากว่าการผลิตยังน้อยไม่ได้สเกล ตัวที่ทำให้แพงคือตัวบรรจุภัณฑ์ ตัวแคปซูลต้นทุน1แคปซูล30สตางค์ ตัวสมุนไพรไม่ได้แพง ดูอย่างเครื่องดื่มที่ขายชาเขียว ค่าขวดที่ขาย6 8บาท ขายมากต้นทุนก็จะต่ำ สั่งมากเขาคิดถูก สั่งน้อยเค้าก็คิดแพง ต้องให้รัฐบาลมาช่วยเรื่องบรรจุภัณฑ์ ทุกอย่างมันแพงหมด ทั้งบรรจุภัณฑ์และสลาก แต่ก่อนเขาบอกว่าเราซื้อของ เราซื้อค่าโฆษณา แต่สมุนไพรค่าโฆษณายังน้อย บรรจุภัณฑ์แพง&rdquo การลดต้นทุน &ldquo โลจิสติกเนี้ยดูตัวอย่างModern tradeพวกBigC Topsพวกนี้เวลาเค้าสั่งของเค้าจะมีศูนย์กลางคอยส่งของไปตามสาขา แต่เดี๋ยวนี้เขาแยกสาขาให้แต่ละสาขาสั่งของเอง ของเราก็มีวิธีเหมือนกันคล้ายๆอย่างงี้ เราจะฝากเขาคอยรับทีละน้อยๆ สุดท้ายเขามีลูกเล่น เขาคิดค่าระวาง เราจ้างเขาผลิตและเราต้องจ่ายค่าเช่าที่เก็บเขา แต่เราก็มีวิธีเหมือนกัน จากที่เราจ้างผลิตเป็นล็อต เราจ้างเป็นปี จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงไปได้&rdquo ช่องทางการจำหน่าย &ldquo ยาหนีไม่พ้นต้องเป็นโรงพยาบาล สมุนไพรขายตรงเยอะที่สุด จะเป็นMulti levelหรือเชิงเดี่ยว ร้านสะดวกซื้อe commerceตัวอย่างเช่นebaye commerceทำเงินได้สูง ขายได้ทีละล็อตใหญ่ โตได้เร็ว งานนิทรรศการต่างๆ งานexpoเช่น งานสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่10วันที่4 8กันยายน เมืองทอง หอ7 8อภัยภูเบศรก็ไปออกงานด้วยเชิญไปชมได้&rdquo การขายต่างประเทศ &ldquo หากต้องการไปขายต่างประเทศ สามารถติดต่อสภาหอการค้า เขาสามารถช่วยได้ เวลาการขายต่างประเทศ เขาว่าเป็นการค้าที่เป็นธรรม แต่ส่วนหนึ่งก็เป็นการกีดกันทางการค้า ตั้งแต่เรื่องของไม่ใช้แรงงานเด็ก ต้องระวัง ไม่ค้ามนุษย์ ไม่ทุ่มตลาด ตรวจสอบคุณภาพ อย่างEUต้องเป็นคนของเขารับรอง แม้กระทั้งshippingบางแห่งบางประเทศต้องshippingผ่านบริษัท ผ่านเครือของเขา ต้องเราระบุพิกัดของวัตถุดิบFDAมีความสำคัญ หาคู่ค้าในต่างประเทศอันนี้แล้วแต่โชคเหมือนกัน ของอภัยภูเบศร บางประเทศก็รุ่ง บางที่ก็ลุ่มๆดอนๆ&rdquo โปรโมชั่น &ldquo จะลด แลก แจก แถมอย่างไร เดี่ยวนี้ส่วนใหญ่ใช้แล้วไม่ได้ผลยินดีคืนเงิน หรือเราจะเปลี่ยนให้อย่างไรแล้วแต่ เดี๋ยวนี้บุกเดี่ยวไม่ได้ เราต้องมีพันธมิตร อย่างบรรจุภัณฑ์ แล้วแต่Lineที่ผลิต บางท่านไปต่างประเทศคนที่ผลิตceramicกาว อาจจะไปด้วยกัน เป็นpartnershipของอภัยภูเบศรจะก้าวข้ามจุดนี้ไปอีก นอกจากเป็นผู้ผลิตแล้วยังเป็นmetro polisจะทำเป็นสาขาวิจัย เวชกรสีเขียว สถาบันวิจัยวิถีสุขภาพองค์รวม ทั้งแผนไทย และแผนปัจจุบัน มีนวด สปา เกษตรอินทรีย์ ศูนย์เรียนรู้มีทั้งคนไทยและต่างประเทศ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มีทั้งคอร์สสั้น และเต็มหลักสูตรปริญญาตรี&rdquo
FAQ คำถามที่พบบ่อย
1 คำถามWater Evaporation 100 liter hr หมายถึงกำลังการผลิต 100 ลิตรต่อชั่วโมงใช่หรือไม่ คำตอบ 100 liter hr หมายถึง ที่อุณหภูมิสูงสุดของเครื่องที่ 350° c สามารถระเหยน้ำเปล่าได้ 100 ลิตรต่อชั่วโมง ซึ่งวัตถุดิบแต่ละชนิดจะใช้อุณหภูมิที่แตกต่างกัน หากใช้อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 350° c จะทำให้กำลังการผลิตลดลงตามส่วน ตัวอย่างเช่น สมุนไพร A ใช้อุณหภูมิที่ 170° c สามารถผลิตได้ 50 ลิตรต่อชั่วโมงเป็นต้น 2 คำถาม อยากขอทดลองใช้เครื่องเพื่อความมั่นใจก่อนได้หรือไม่ คำตอบ เรายินดีให้ทดลอง และสามารถจ้างเราผลิตก่อนในช่วงแรกก่อนลงทุนซื้อเครื่อง 3 คำถาม หัวพ่นแบบความดัน แบบลมลมเป่า และแบบหัวจานเหวี่ยงต่างกันอย่างไร คำตอบ หัวพ่นแบบความดันใช้แรงดันช่วยในการผลักดันวัตถุดิบออกให้เป็นละอองฝอย หัวแบบลมเป่าใช้แรงลมเป่าให้วัตถุดิบเป็นละอองฝอย หัวแบบจานเหวี่ยงใช้motorหมุนหัวจานเหวี่ยงด้วยความเร็วสูงเพื่อกระจายให้เป็นละอองฝอย 4 คำถาม ใช้ระบบความร้อนอะไร คำตอบ ระบบไฟฟ้า และระบบแก๊ซ LPG แบบให้ความร้อนโดยตรงหรือให้ความร้อนโดยผ่านระบบแลกเปลี่ยนความร้อน
Freezedry Technology
การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง freeze dehydration หรือ lyophilization หมายถึงการทำแห้ง dehydration ด้วยการแช่เยือกแข็ง freezing ทำให้น้ำเปลี่ยนสถานะเป็นผลึกน้ำแข็งก่อน แล้วจึงลดความดันเพื่อให้ผลึกน้ำแข็งระเหิด sublimation เป็นไอ ด้วยการลดความดันให้ต่ำกว่าบรรยากาศปกติ ขณะควบคุมให้อุณหภูมิต่ำ ที่อุณหภูมิ เท่ากับหรือ ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส น้ำแข็งระเหิดที่ความดันเท่ากับ 4 7 มิลลิเมตรปรอทหรือต่ำกว่า ขั้นตอนการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง ขั้นตอนเบื้องต้นสำหรับการผลิตอาหารด้วยวิธีการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง ก็เหมือนกับการผลิตอาหารแห้งโดยทั่วไป คือเริ่มจาก ารเตรียมวัตถุดิบให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เช่น การล้าง การปอกเปลือก การลดขนาดจ ากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการหลักซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ ที่มา http www thairefrig or th download thairefrig or th lyophilization 20technology1 pdf 1 การแช่เยือกแข็ง freezing เป็นการลดอุณหภูมิของอาหารให้ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง freezing point เพื่อให้เกิดผลึกน้ำแข็ง ice crystal formation อัตราเร็วของการแช่เยือกแข็ง freezing rate ควรเป็นการแช่เยือกแข็งแบบเร็ว เพื่อให้เกิดผลึกและผลึกที่เกิดขึ้นจะมีขนาดเล็ก การแช่เยือกแข็งแบบเร็ว ที่นิยมใช้กันมีหลายวิธี เช่น การแช่เยือกแข็งแบบใช้ลมเย็นเป่า air blast freezing การแช่เยือกแข็งแบบไครโอเจน cryogenic freezing และการแช่เยือกแข็งแบบจุ่มในของเหลวเย็นจัด immersion freezing เป็นต้น 2 การทำแห้งขั้นต้น primary drying เป็นการลดปริมาณน้ำ dehydration โดยการระเหิด น้ำแข็งให้เป็นไอโดยการลดความดันบรรยากาศ เพื่อให้ผลึกน้ำแข็งที่อยู่ภายในเกิดการระเหิดเป็นไอ ออกไปจากผิวหน้าของผลิตภัณฑ์ ระดับของสุญญากาศ vacuum ควรอยู่ต่ำกว่า 132 Pa และ 132 mPa ตามลำดับ การระเหิดของผลึกน้ำแข็งจึงเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ การระเหิดของชั้นน้ำแข็ง ice layer จะเริ่มจากชั้นน้ำแข็งบริเวณผิวหน้าของผลิตภัณฑ์ ระเหิดไปเป็นไอ ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นชั้นแห้ง dry layer จากนั้น เป็นการระเหิดของชั้นน้ำแข็งที่อยู่ภายในผลิตภัณฑ์ ระเหิดผ่านชั้นแห้ง ออกไปสู่ผิวหน้าของผลิตภัณฑ์ ระยะเวลาการระเหิด ขึ้นอยู่กับ ขนาด รูปร่าง และโครงสร้างของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด 3 การทำแห้งขั้นที่สอง secondary drying เมื่อการทำแห้งขั้นต้นเสร็จสมบูรณ์ น้ำแข็งจะละลายไปหมด จะมีความชื้นที่หลงเหลืออยู่ จึงต้องมีการทำแห้งด้วยการเพื่ออุณหภูมิให้สูงขึ้น เพื่อดึงเอาความชื้นที่เหลืออยู่ออกถึงระดับความชื้นที่ปลอดภัยสำหรับการเก็บรักษา ข้อดีการการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง เป็นการทำแห้งขณะที่อาหารมีอุณภูมิต่ำจึงลดการสูญเสียของอาหารเนื่องจากความร้อน ลดการทำลายเนื้อเยื่อและโครงสร้างอาหาร ทำให้ได้อาหารแห้งที่ได้มีคุณภาพสูง มีการคืนตัว rehydration ที่ดี รักษาคุณภาพอาหารเช่น สี กลิ่น รสชาติ และเลักษณะนื้อสัมผัสของอาหารได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการทำแห้ง แบบอื่น เช่น การทำแห้งแบบพ่นละออง spray drier การทำแห้งด้วยลมร้อน เช่น ตู้อบลมร้อน tray drier carbinet drier แต่มีค่าใช้จ่ายสูงเมื่อเปรียบเทียบกับการทำแห้งด้วยเครื่องทำแห้งที่ใช้ลมร้อนทั่วไป ที่มา http www thairefrig or th download thairefrig or th lyophilization 20technology1 pdf การประยุกต์การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งในอาหาร การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง เหมาะกับอาหารที่ไวต่อการสูญเสียคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการด้วยความร้อน เช่น ผักผลไม้สมุนไพรอาหารทะเลอาหารที่ต้องการรักษา และมีสมบัติในการคืนสภาพได้ดี อาหารเกือบทุกชนิดสามารถฟรีซดรายได้ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ อาหารสำเร็จรูป น้ำพริก ขนมหวาน เครื่องดื่ม ชา กาแฟ ฯลฯ ทำไมถึงต้องฟรีซดราย 1 สามารถรักษาคุณสมบัติของวัตถุดิบ ในด้าน สี กลิ่น รส และสัมผัสไว้ได้ดีกว่า2 เก็บรักษาไว้ได้นานหลายปี 25 ปี 3 สามารถแปรรูปอาหารได้เกือบทุกชนิด4 อาหารที่ได้ยังคงมีคุณค่าทางโภชนาการสูง5 สามารถแปรรูปอาหารที่ไวต่อการสูญเสียด้วยความร้อน
คลื่นเนียร์อินฟราเรดสำหรับ เกษตร/อาหาร (Near Infrared for Agriculture / Food)
พื้นฐานเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีศาสตราจารย์ ดร ปานมนัส ศิริสมบูรณ์ ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังpanmanas si kmitl ac th www nirsresearch com 085 133 3257 6 มิถุนายน 2564ดาวน์โหลด ไฟล์ pdf https nirsresearch com sites 6731 files u พื้นฐานเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี pdf


สมัครสมาชิก

สนับสนุนโดย / Supported By

  • บริษ้ท มาเรล ฟู้ดส์ ซิสเท็ม จำกัด จัดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์การแปรรูปอาหาร เช่น ระบบการชั่งน้ำหนัก, การคัดขนาด, การแบ่ง, การตรวจสอบกระดูก และการประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พร้อมกับบริการ ออกแบบ ติดตั้ง กรรมวิธีการแปรรูปทั้งกระบวนการ สำหรับ ผลิตภัณฑ์ ปลา เนื้อ และ สัตว์ปีก โดยมีวิศวกรบริการและ สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเทพ มาเรล เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกของอุปกรณ์การแปรรูปอาหารที่ทันสมัย​​ครบวงจรทั้งระบบ สำหรับอุตสาหกรรม ปลา กุ้ง เนื้อ และสัตว์ปีก ต่างๆ เครื่องแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก Stork และ Townsend จาก Marel อยู่ในกลุ่มเครื่องที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดในอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ สามารถบริการครบวงจรตั้งแต่ต้นสายการผลิตจนเสร็จเป็นสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกความต้องการของลูกค้า ด้วยสำนักงานและบริษัทสาขามากกว่า 30 ประเทศ และ 100 เครือข่ายตัวแทนและผู้จัดจำหน่ายทั่วโลก ที่พร้อมทำงานเคียงข้างลูกค้าเพื่อขยายขอบเขตผลการแปรรูปอาหาร Marel Food Systems Limited. We are supply weighing, grading, portioning, bone detection and software applications as well as complete turn-key processing solutions for fish, meat and poultry. We have service engineer and office in Bangkok. Marel is the leading global provider of advanced food processing equipment, systems and services to the fish, meat, and poultry industries. Our brands - Marel, Stork Poultry Processing and Townsend Further Processing - are among the most respected in the industry. Together, we offer the convenience of a single source to meet our customers' every need. With offices and subsidiaries in over 30 countries and a global network of 100 agents and distributors, we work side-by-side with our customers to extend the boundaries of food processing performance.
  • วิสัยทัศน์ของบริษัท คือ การอยู่ในระดับแนวหน้า "ฟอร์ฟร้อนท์" ของเทคโนโลยีประเภทต่างๆ และนำเทคโนโลยีนั้นๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิตในประเทศไทย เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า บริษัท ฟอร์ฟร้อนท์ ฟู้ดเทค จำกัด เชื่อมั่นและยึดมั่นในอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจ กล่าวคือ จำหน่าย สินค้าและให้บริการที่มีคุณภาพสูง ซึ่งเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ด้วยความซื่อสัตย์และความตรงต่อเวลา เพื่อการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จร่วมกันระยะยาว Our vision is to be in the "forefront" of technology in its field and suitably apply the technology to industries and production in Thailand for customers' utmost benefits. Forefront Foodtech Co., Ltd. strongly believes in and is committed to our own business philosophy which is to supply high quality products and service appropriately to each customer's requirements with honesty and punctuality in order to maintain long term win-win business relationship. Forefront Foodtech Co., Ltd. is the agent company that supplies machinery and system, install and provide after sales service as well as spare parts. Our products are: Nock, made in Germany: manufacturer of skinning machines, membrane skinning machine, slicers and scale ice makers. Frey, made in Germany: manufacturer of vacuum stuffers and chain linking system. Kronen, made in Germany: manufacturer of washing, centrifuges and cutting machinery for vegetable and fruits. Bandall, made in Netherlands: manufacturer of banding machine. Emerson, made in Romania: smoke chamber. G.Mondini, made in Italy: manufacturer of top seal, skin pack, paper seal, slimfresh and slicefresh for ready meal, meat, petfood and etc. Dorit, made in Germany: manufacturer of tumblers and injectors. Cliptechnik, made in Germany: manufacturer of single and double clippers for table top use and standalone clipping machines. Firex, made in Italy: manufacturer of food-processing equipment for kitchen and commercial equipment. Orved, made in Italy: manufacturer of vacuum packing machine. Carsoe, made in Denmark: designs and produces products for the seafood and food processing industry Gernal, made in Belgium: manufacturer of food-processing equipment for industrial Mado, made in Germany: manufacturer of meat-processing industry
  • We are well known for reliable, easy-to-use coding and marking solutions which have a low total cost of ownership, as well as for our strong customer service ethos. Developing new products and a continuous programme of improving existing coding and marking solutions also remain central to Linx's strategy. Coding and marking machines from Linx Printing Technologies Ltd provide a comprehensive solution for date and batch coding of products and packaging across manufacturing industries via a global network of distributors. In the industrial inkjet printer arena, our reputation is second to none. Our continuous ink jet printers, laser coders, outer case coders and thermal transfer overprinters are used on production lines in many manufacturing sectors, including the food, beverage, pharmaceutical, cosmetics, automotive and electronic industries, where product identification codes, batch numbers, use by dates and barcodes are needed. PTasia, THAILAND With more than 3,700 coding, marking, barcode, label applicator, filling, packing and sealing systems installed in THAILAND market. Our range is includes systems across a wide range of technologies. To select the most appropriate technology to suit our customers. An excellent customer service reputation, together with a reputation for reliability that sets standards in the industry, rounds off the PTAsia offering and provides customers with efficient and economical solutions of the high quality. Satisfyingcustomers inTHAILAND for 10 years Our 1,313 customers benefit from our many years of experience in the field, with our successful business model of continuous improvement. Our technical and service associates specialise in providing individual advice and finding the most efficient and practical solution to every requirment. PTAsia extends its expertise to customers in the food, beverage, chemical, personal care, pharmaceutical, medical device, electronics, aerospace, military, automotive, and other industrial markets.