News and Articles

หนังสือบรรจุภัณฑ์อาหาร

หนังสือบรรจุภัณฑ์อาหาร
การทดสอบวัสดุและบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 3
4 การวัดตะเข็บที่จำเป็นและที่เลือกใช้ ระบบการวัดโดยใช้เครื่องส่องหรือฉายตะเข็บ Seam Scope or Projector การวัดที่จำเป็น ได้แก่ ส่วนปลายขอบตัวกระป๋องที่บานออกเหมือนตะขอเรียกว่า ตัวขอ การเกยกัน ความแน่น สังเกตจากรอยย่น การวัดที่เลือกใช้ คือ ความกว้าง ความสูง ของฝา ความลึกของฝา และความหนา ระบบการวัดโดยใช้เครื่องส่องหรือฉายตะเข็บ seam scope ระบบการวัดโดยใช้ไมโครมิเตอร์ Micrometer การวัดที่จำเป็น ได้แก่ ขอฝา ขอตัว ความหนา หรือความสูง ความแน่น สังเกตจากรอยย่น การวัดที่เลือกได้ ได้แก่ การเกยกัน โดยการคำนวณ ความลึกของฝา และความหนา ในเวลาที่ทำการผลิตจริง ควรจะมีการสุ่มตัวอย่างทุกๆ ช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อทดสอบหารอยรั่วของกระป๋องเหมือนกับการทดสอบกระป๋องเปล่า นอกจากนี้ยังควรที่จะเก็บอาหารกระป๋องไว้อีกประมาณ 30 วัน เพื่อตรวจสอบรอยรั่วอีกครั้งหนึ่ง มีวิธีการในห้องปฏิบัติการที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการทดสอบอาหารกระป๋องเพื่อให้ตรงตามมาตรฐาน มีดังนี้ สุญญากาศ Vacuum วัดสุญญากาศของอาหารกระป๋องด้วยมาตรวัดความดัน Pressure Gauge วิธีการวัดควรเจาะฝาใกล้ๆ ขอบกระป๋อง เพื่อลดการทำให้ฝาเสียรูปจากการออกแรงกด การอ่านค่าควรอ่านค่าที่อุณหภูมิห้อง เพราะกระป๋องที่อุ่นกว่าจะมีสุญญากาศต่ำและกระป๋องที่เย็นจะมีสุญญากาศสูง กระป๋องที่บรรจุเต็มหรือมีช่องว่างเหนืออาหารน้อยจะอ่านค่าไม่ได้แน่นอน เพราะปลายแหลมของมาตรวัดความดันจะแทงทะลุผลิตภัณฑ์หรืออากาศในเครื่องวัดเอง จะทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนโดยค่าจะต่ำกว่าความเป็นจริงมาก เมื่อใช้เครื่องวัดสุญญากาศด้วยไฟฟ้าสำหรับตรวจสอบภาชนะบรรจุแบบกระป๋องและขวดแก้ว โดยวัดความถี่คลื่นทำให้สามารถอ่านค่าของสุญญากาศหรือความกดดันในภาชนะบรรจุได้ ช่องว่างเหนืออาหาร Headspace วัดระยะจากส่วนบนของตะเข็บขอคู่ของกระป๋องหรือขอบบนของขวดแก้วถึงระดับผิวของผลิตภัณฑ์ในภาชนะบรรจุ วัดในแนวดิ่งประมาณตรงกลางกระป๋องจุ่มลงจนถึงผิวของของเหลว แล้วอ่านค่าปกติจะอ่านเป็น 1 32 นิ้ว บางครั้งส่วนที่เป็นของแข็งจะโผล่ขึ้นมาจากผิวของของเหลวจึงต้องกดลงไปใต้ของเหลวก่อนวัด อาจใช้ตัวถ่วงให้ของแข็งจมลง ดังนั้นการวัดระยะทางที่ได้ต้องลดด้วยระดับการแทนที่น้ำของตัวถ่วง ช่องว่างเหนืออาหารสุทธิของภาชนะบรรจุที่มีตะเข็บขอคู่ เช่น กระป๋องจะวัดจากระดับของของเหลวถึงฝาด้านใน อาจประเมินได้โดยหักด้วยความสูงเฉลี่ยของตะเข็บขอคู่ ประมาณ 6 32 นิ้ว น้ำหนักเนื้อ Drained Weight ของอาหารที่บรรจุในกระป๋อง ในห้องปฏิบัติการสามารถหาได้โดยเทอาหารในกระป๋องลงบนตะแกรง ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ยกเว้นมะเขือเทศจะใช้ตะแกรงขนาด 8 mesh screen 0 097 in sq opening และสำหรับมะเขือเทศจะใช้ตะแกรงขนาด 2 mesh 0 446 นิ้ว ใช้ลวดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0 054 นิ้ว กระป๋องขนาดต่ำกว่า 48 ออนซ์ใช้ตะแกรงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว ผลิตภัณฑ์ที่หาน้ำหนักเนื้อจะต้องทำให้กระจายได้ทั่วบนตะแกรง ผลไม้ที่เป็นชิ้นอาจคว่ำบนฝ่ามือเพื่อถ่ายน้ำออกซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 นาทีหลังจากผลิตภัณฑ์ถูกเทบนตะแกรง จากนั้นจึงชั่งของแข็งที่เหลือ Drain Solid โดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ อาหารถูกชั่งพร้อมตะแกรง แล้วจึงหักด้วยน้ำหนักตะแกรง บางครั้งมีของเหลวขังอยู่ในช่องตะแกรงซึ่งไม่สามารถล้างออก จึงต้องรวมลงในน้ำหนักตะแกรงปกติหนักประมาณ 0 05 0 10 ออนซ์ ถ่ายชิ้นอาหารลงบนภาชนะหรือจาน แล้วชั่งด้วยตาชั่งที่มีความละเอียดในการอ่าน วิธีนี้ของเหลวที่ขังในตะแกรงจะไม่ถูกชั่ง และค่าน้ำหนักเนื้อจะต่ำกว่าแบบแรกเล็กน้อย นอกเหนือจากการทดสอบประเภทต่างๆ ดังกล่าวแล้ว การทดสอบกระป๋องที่สมควรทำเพิ่ม คือ การทดสอบการขึ้นสนิมโดยการเก็บอาหารกระป๋องภายใต้สภาวะของน้ำเกลือหรือกรด เพื่อเป็นการเร่งโอกาสการเกิดสนิม 2 การทดสอบบรรจุภัณฑ์แก้ว ปัญหาส่วนใหญ่ที่จะเกิดกับบรรจุภัณฑ์แก้วมักจะอยู่ตรงบริเวณฝาปิด นอกจากนั้นก็จะเป็นการร้าวของบรรจุภัณฑ์แก้วระหว่างการบรรจุ การล้าง และการขนส่ง การบรรจุขวดแก้ว Fill of Container Glass jars เนื่องจากเส้นผ่าศูนย์กลางของขวดแก้วมักไม่เท่ากันตลอดจากบนถึงล่าง คำนวณโดยใช้หลักการเติมน้ำลงในขวดแก้วให้ได้ระดับสูงสุด Over flow Capacity เพราะต้องวัดน้ำหนักของน้ำที่เติมลงไปจนถึงระดับของช่องว่างบริเวณส่วนบนของขวด Headspace ที่แท้จริง สูตรในการคำนวณหาระดับการบรรจุมีดังนี้ การตรวจสอบบรรจุภัณฑ์แก้วอันดับแรก คือ การวัดมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณปากขวดและความสูงของขวดไม่ต้องแปรเปลี่ยนมากนัก อันดับต่อมา คือ การวัดปริมาตรและน้ำหนักของตัวบรรจุภัณฑ์ อันดับสุดท้ายคือ การทดสอบความสนิทแน่นของการปิดฝากับตัวบรรจุภัณฑ์แก้ว การวัดความสนิทแน่นจะวัดค่าโมเมนต์ของแรงบิดที่ต้องใช้ในการปิดและเปิดขวด การวัดค่าโมเมนต์ในการปิดจะใช้ในการตั้งเครื่องปิดขวดเพื่อให้แน่นพอที่สินค้าไม่รั่วออกบริเวณฝา แต่ต้องไม่แน่นมากจนผู้บริโภคไม่สามารถเปิดได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการวัดค่าโมเมนต์ของการเปิดด้วย 3 การเชื่อมด้วยความร้อนของบริเวณปิดผนึกซอง การทดสอบของบริเวณปิดผนึกซอง ความดันและเวลาที่ใช้ในการเชื่อมติดความร้อนเพื่อให้ได้ความแข็งแรงของบริเวณปิดผนึกตามต้องการ เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบจึงต้องสามารถแปรเปลี่ยนองค์ประกอบใดขององค์ประกอบทั้งสามได้โดยอาจจะเริ่มต้นจากกำหนดค่าความดันและเวลาคงที่แล้วค่อยๆ เพิ่มหรือลดอุณหภูมิ จนกระทั่งวัสดุเชื่อมติดกัน ความแข็งแรงในการเชื่อมติดนี้ วัดได้จากค่าความต้านทานต่อแรงดึงดังที่กล่าวมาแล้ว จนกระทั่งอุณหภูมิในการเชื่อมติดของบริเวณที่ปิดผนึกให้ความแข็งแรงใกล้เคียงกับตัววัสดุบรรจุภัณฑ์แล้วค่อยแปรความดันและเวลาแต่ละองค์ประกอบต่อไป ส่วนการทดสอบหารอยรั่วของบริเวณปิดผนึก จะทำการทดสอบภายใต้น้ำเพื่อสังเกตฟองอากาศที่จะออกจากรอยรั่ว คล้ายคลึงกับการทดสอบรอยรั่วของกระป๋อง 5 4 2 การทดสอบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง การทดสอบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งต้องใช้อุปกรณ์ในการทดสอบที่มีราคาสูงกว่าเครื่องมือทดสอบต่างๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว การทดสอบที่มีความสำคัญมากได้แก่ การทดสอบการสั่นกระแทกและความต้านทานแรงกดในแนวดิ่ง เพื่อเป็นการจำลองการขนย้ายผลิตภัณฑ์ดังแสดงในรูปที่ 5 12 รูปที่ 5 12 ตัวอย่างช่องทางการขนส่งสินค้า แหล่งที่มา PaineF A Fundamental of Packaging p 74 1 การทดสอบการสั่นกระแทก การทดสอบจะทำการปล่อยบรรจุภัณฑ์พร้อมสินค้าให้ตกกระแทกลงสู่พื้น Drop Test สิ่งสำคัญในการทดสอบคือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบนี้จะต้องสามารถควบคุมบริเวณที่ตกกระแทกของบรรจุภัณฑ์ได้ โดยในขณะที่ปล่อยตกลงมาจะไม่มีการหมุนตัวเพื่อสามารถควบคุมบริเวณที่ตกกระแทกได้ ก็จะสามารถศึกษาความแข็งแรงในทุกๆ ด้านของบรรจุภัณฑ์ วิธีการทดสอบการตกกระแทกจะสามารถแยกเป็นการปล่อยให้ตกกระแทก ณ ความสูงคงที่ ด้วยการกำหนดจำนวนครั้งที่ปล่อยให้ตก ณ ความสูงนั้นๆ หรืออาจจะทดสอบโดยการเพิ่มความสูงมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งบรรจุภัณฑ์ไม่สามารถปกป้องสินค้าต่อไปได้ วิธีการนี้เหมาะสำหรับใช้ในการเปรียบเทียบบรรจุภัณฑ์ขนส่งต่างชนิดกันว่า สามารถป้องกันสินค้าได้ดีกว่ากันมากน้อยแค่ไหน ในห้องปฏิบัติการ การทดสอบประเมินความสามารถของบรรจุภัณฑ์ที่จะป้องกันผลิตภัณฑ์อาหารจากการตกกระแทกใช้เกณฑ์การทดสอบดังต่อไปนี้ น้ำหนักของบรรจุภัณฑ์ กก ความสูงที่ปล่อยตก มม น้อยกว่า 10 10 ถึง 20 20 ถึง 30 30 ถึง 40 40 ถึง 50 50 ถึง 100 มากกว่า 100 800 600 500 400 300 200 100 การสั่นสะเทือน เริ่มจากการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างความถี่และความเร่งของการสั่นสะเทือนที่มีโอกาสเกิดระหว่างการขนส่ง การสั่นสะเทือนที่เกิดระหว่างการขนส่งค่อนข้างสลับซับซ้อนและไม่แน่นอน Random ด้วยเหตุนี้การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อป้องกันอันตรายจากการสั่นสะเทือนจึงจำต้องทราบถึงค่าความถี่ธรรมชาติ Natural Frequencies ของสินค้าและชิ้นส่วนของสินค้าบริเวณที่แตกหักง่ายที่สุดละหาวิธีการป้องกันหรือหน่วงให้สินค้าพ้นจากความถี่อันตรายดังกล่าว นักออกแบบบรรจุภัณฑ์จึงจำต้องเลือกหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างความเร่งและความถี่ตามที่แสดงในรูปที่ 5 13 พร้อมทั้งใช้ข้อมูลอื่นๆ ประกอบในการออกแบบเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างความเร่งและความถี่นี้ องค์ประกอบที่จะทำให้สินค้าแตกหักคือ ค่า Amplitude ของความเร่งซึ่งสูงพอที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อชิ้นส่วนของสินค้า พร้อมทั้งช่วงความถี่ที่ก่อให้เกิดความเร่งนี้ โดยปกติในความถี่นี้จะพิจารณาเฉพาะช่วง 1 200 Hz ซึ่งเป็นช่วงความถี่ในสภาวะการขนส่งจริง การสั่นสะเทือน มีโอกาสทำให้สินค้าแตกหักเสียหายได้ง่าย หรือเกิดการเสียดสีจนทำให้สินค้าขายไม่ออกหรือจำต้องขายลดราคา วิธีการป้องกัน คือ การพยายามจัดเรียงสินค้าพร้อมวัสดุป้องกันการสั่นกระแทก เช่น นำกระดาษลูกฟูกหรือเศษหนังสือพิมพ์มากรุหรือแทรกภายในบรรจุภัณฑ์ให้แน่นและไม่ยุบตัวโดยง่าย ก็จะช่วยป้องกันอันตรายจากการสั่นสะเทือนในระหว่างการขนส่งได้ รูปที่ 5 14 การทดสอบการตกกระแทกบรรจุภัณฑ์จะตกลงมาจากที่วางคล้ายบานพับตามความสูงกำหนด รูปที่ 5 15 การทดสอบการสั่นสะเทือนโดยบรรจุภัณฑ์วางบนหิ้งที่สั่นสะเทือนไปตามลูกเบี้ยวที่อยู่ข้างล่าง การทดสอบการตกกระแทกและการสั่นสะเทือนตามที่แสดงในรูปที่ 5 14 5 15 และ รูปซ้ายล่างในหน้า 167 เป็นวิธีการทดสอบแบบง่ายๆ ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีทางด้านนี้ได้รับการพัฒนามากขึ้น โดยการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาจำลองและวิเคราะห์การทดสอบดังแสดงในรูปซ้ายบนหน้า 167 กล่าวโดยสรุปแล้ว การทดสอบการสั่นกระแทกในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ คือ การกำหนดความสูงที่จะตกกระแทกและความสัมพันธ์ของความเร่งและความถี่ของการสั่นสะเทือนในสภาวะการขนส่ง 2 การทดสอบความต้านทานแรงกดในแนวดิ่ง นับเป็นการทดสอบที่นิยมมาก เนื่องจากทดสอบได้สะดวกและเข้าใจได้ง่าย ส่วนมากจะใช้ทดสอบกับกล่องกระดาษและขวดพลาสติกดังแสดงในรูปกลางหน้า 167 การทดสอบจะเป็นการเพิ่มแรงกดต่อบรรจุภัณฑ์จนกระทั่งบรรจุภัณฑ์เสียหายหรือรับแรงต่อไปไม่ได้อีก การทดสอบนี้จะจำลองการกดแรงซ้อนของบรรจุภัณฑ์จริงๆ เนื่องจากแผ่นกระดาษหรือแผ่นโลหะที่กดทับลงมาจะเคลื่อนที่ลงมาตรงๆ ส่วนในสภาวะจริง เมื่อส่วนไหนของบรรจุภัณฑ์อ่อนตัวรับแรงไม่ได้ แรงกดจะกดต่อไปในจุดยุบตัวหรืออ่อนตัวนั้นเรื่อยๆ ดังนั้นความต้านทานในแนวดิ่งที่ได้จากการทดสอบ จะมีค่าน้อยกว่าค่าความเป็นจริงที่บรรจุภัณฑ์จะถูกกระทำในระหว่างการขนส่ง การประเมินค่าความเป็นจริงที่ถูกกระทำนี้อาจจะสูงถึง 5 เท่าของค่าที่ได้จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ความชื้นที่มีอยู่ในกระดาษลูกฟูกมีผลต่อการใช้งานของกล่อกระดาษลูกฟูก ความสามารถต้านทานแรงกดในแนวดิ่งจะลดน้อยลงเมื่อความชื้นในกระดาษแปรเปลี่ยนไป รูปที่ 5 16 แสดงความสามารถในการรับแรงกดในแนวดิ่งที่ลดน้อยลงเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยตั้งข้อสมมติฐานว่า ที่ปริมาณความชื้นในกระดาษที่ 5 มีความสามารถในการรับแรงกดในแนวดิ่ง 100 เต็ม เมื่อความชื้นในกระดาษเพิ่มถึง 22 ความสามารถในการรับแรงกดจะลดลงเหลือ 20 เท่านั้น รูปที่ 5 16 ความสามารถในการรับแรงกดในแนวดิ่งแปรตามปริมาณความชื้นในกระดาษ นอกจากความชื้นในตัวกล่องกระดาษลูกฟูกแล้ว ความสามารถในการรับแรงยังแปรผันตามเวลาที่ไดรับแรงกด ถ้ากล่องได้รับการกดซ้อนกันนานๆ จะลดความต้านทานในการรับแรง เนื่องจากมีความล้า Fatigue เกิดขึ้นดังแสดงในรูปที่ 5 17 จะพบว่าช่วง 1 วันแรกนั้น ความต้านทานในการรับแรงกดจะลดลงค่อนข้างมากจาก 85 เหลือ 73 หลังจาก 1 วันแรกความล้าที่เกิดขึ้นจะมีอย่างต่อเนื่องแต่ไม่มากเท่า 24 ชั่วโมงแรก รูปที่ 5 17 ความสามารถในการรับแรงกดในแนวดิ่งแปรตามเวลา การทดสอบความสามารถในการรับแรงกดในแนวดิ่งนั้น แม้จะเป็นที่นิยมเนื่องจากสามารถทำได้ง่าย แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ลดความสามารถในการรับแรงเข้ามาเกี่ยวข้องอีกมาก ตั้งแต่การดูแลกล่องก่อนบรรจุ ระหว่างการบรรจุ การปิดกล่อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างการขนส่ง ดังนั้นบุคลากรที่รับผิดชอบการพัฒนาบรรจุภัณฑ์จำต้องหมั่นตรวจสอบปัจจัยต่างๆ เหล่านี้อยู่เสมอ บทสรุป การทดสอบวัสดุและบรรจุภัณฑ์เป็นหัวข้อที่มีเนื้อหามากพอสมควร นอกจากวัสดุหลัก 4 ประเภทแล้ว บรรจุภัณฑ์อาหารที่ได้รับการแปรรูปแล้วยิ่งมีหลากหลาย ด้วยเหตุนี้รายละเอียดการทดสอบในบทนี้จึงได้คัดเลือกมาเท่าที่เป็นประโยชน์และจำเป็นต่อการใช้งาน ขั้นตอนในการทดสอบเริ่มจากการกำหนดจุดมุ่งหมาย ซึ่งอาจจะเป็นการศึกษาคุณสมบัติของวัสดุ การเปรียบเทียบคุณภาพหรือศึกษาการใช้งานของวัสดุหรือตัวบรรจุภัณฑ์ ขั้นตอนต่อไป คือ การใช้มาตรฐานการทดสอบ มาตรฐานอาจจะมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับองค์กร บริษัท ระดับสมาคมหรือกลุ่มอาชีพ ระดับชาติและระหว่างประเทศ มาตรฐานแต่ละระดับอาจจะแตกต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อย ดังนั้น การเลือกใช้มาตรฐานจึงขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายในการทดสอบและการนำเอาผลในการทดสอบไปใช้ ขั้นตอนการทดสอบขั้นต่อไปคือ การเก็บในห้องควบคุมสภาวะ เนื่องจากแต่ละประเทศตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่แตกต่างกัน ดังนั้น สภาวะมาตรฐานในการเก็บหรือสภาวะมาตรฐานในการทดสอบของแต่ละประเทศจึงแตกต่างกันไปด้วย ประเภทของการทดสอบแบ่งอย่างง่ายๆ ได้เป็นการทดสอบวัสดุและการใช้งานของบรรจุภัณฑ์ การทดสอบวัสดุสามารถแบ่งได้ตามประเภทของวัสดุที่นิยมใช้ ได้แก่ กระดาษและพลาสติก การทดสอบกระดาษยังสามารถแยกเป็นกระดาษธรรมดา กระดาษแข็ง และกระดาษลูกฟูก เริ่มจากน้ำหนักมาตรฐานเพื่อนำมาคำนวณหาความหนาแน่น ในแง่ทางกลมีความต้านทานต่อแรงดึง แรงดันทะลุ แรงฉีกและการทดสอบที่สำคัญที่สุดของบรรจุภัณฑ์อาหาร คือ อัตราการซึมผ่านของก๊าซและไอน้ำ สืบเนื่องจากความสับสนของหน่วยที่ใช้จากตารางที่ 5 1 ได้รวบรวมการแปลงหน่วยของการซึมผ่าน เพื่อสะดวกในการทำงาน การทดสอบพลาสติกได้เน้นไปยังการบ่งบอกประเภทของพลาสติก อันประกอบด้วย การลนไฟ การจุ่มในสารทำละลายและการหาค่าความถ่วงจำเพาะ อาหารกระป๋องนับได้ว่าเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้มากในวงการอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร การเรียกชื่อของบรรจุภัณฑ์กระป๋องอาจจะเรียกเป็นเบอร์หรือเรียกเป็นขนาด ดังนั้นจึงได้รวบรวมชื่อของกระป๋องที่นิยมใช้พร้อมขนาด ปริมาตรบรรจุและปริมาตรเปรียบเทียบกับกระป๋องขนาดเบอร์ 2 ไว้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบ ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของกระป๋องคือ ตะเข็บคู่ ซึ่งจะต้องหมั่นตรวจสอบทั้งที่โรงงานผลิตกระป๋องและโรงงานบรรจุ การทดสอบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งประกอบด้วยการทดสอบแบบจลน์ Dynamic อันได้แก่ การทดสอบการตกกระแทก และการสั่นสะเทือน ส่วนการทดสอบแบบศักย์ Static ได้แก่ การทดสอบความต้านทานแรงกดในแนวดิ่ง การทดสอบแบบศักย์มักจะเข้าใจได้ง่ายกว่า ทำให้เป็นที่แพร่หลายมากกว่า < < ย้อนกลับการทดสอบวัสดุและบรรจุภัณฑ์ ตอนที่2 < < กลับสู่หน้าหลัก
การทดสอบวัสดุและบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2
ตารางที่ 5 1 แสดงการแปลงหน่วยต่างๆ ของการวัดอัตราการซึมผ่านของไอน้ำมาเป็นหน่วยมาตรฐานที่สภาวะและความดันมาตรฐานเดียวกันโดยมีหน่วยปริมาตรลูกบาศก์เซนติเมตร ตารางเซนติเมตรของพื้นที่ผิว มิลลิเมตรของความหนา เวลาเป็นวินาที ความสูงของปรอทเป็นเซนติเมตร ตารางที่ 5 1 การแปลงหน่วยของอัตราการซึมผ่านของไอน้ำ หน่วย ตัวคงที่ ที่ใช้คูณ กรัม ตร ม มม 24 ชม ซม ปรอท ซีซี 100 ตร นิ้ว มิลล์ 24 ชม ความดันบรรยากาศ atm กรัม ตร นิ้ว มิลล์ 24 ชม ความดันที่กำหนด กรัม 100 ตร นิ้ว มิลล์ 24 ชม ความดันบรรยากาศ atm ซีซี 100 ตร นิ้ว มม 24 ชม ซม ปรอท กรัม 100 ตร นิ้ว มิลล์ 24 ชม ความดันที่กำหนด ซีซี ตร ซม มม 24 ชม ซม ปรอท กรัม ตร ซม ซม ชม ซม ปรอท ซีซี ตร ซม ซม วินาที ซม ปรอท ซีซี ตร นิ้ว มิลล์ 24 ชม ความดันบรรยากาศ atm กรัม ตร นิ้ว มิลล์ 24 ชม ความดันที่กำหนด ซีซี 100 ตร นิ้ว มิลล์ 24 ชม ความดันบรรยากาศ atm x10 x 3 8073x 10 12 x 1 4390x 10 10 5 3 2 การทดสอบกระดาษแข็งและกระดาษลูกฟูก การทดสอบอันดับแรกของบรรจุภัณฑ์กระดาษ คือ การทดสอบหาความชื้นของกระดาษตามด้วยการหาน้ำหนักมาตรฐานและความหนาของกระดาษ อันดับต่อไปคือ การหาเกรนหรือแนวเยื่อเส้นใยของกระดาษว่าอยู่ในแนวที่ต้องการหรือไม่เมื่อขึ้นรูปเป็นกล่อง แล้วจึงค่อยวัดขนาดมิติของกล่อง ซึ่งอาจวัดมิติเมื่อขึ้นรูปเสร็จหรือมีการแกะกล่องออกและแผ่เป็นแผ่นแนวราบ ในแง่ของการผลิตตัวกล่องกระดาษแข็งจะต้องถูกตรวจสอบความลึกและความกว้างของการทับเส้นเพื่อการขึ้นรูปกล่องได้ง่ายหรือยาก สำหรับกล่องกระดาษลูกฟูก นอกเหนือจากน้ำหนักมาตรฐานและความหนาของกระดาษที่ใช้ผลิตแผ่นกระดาษลูกฟูก การทดสอบที่นิยมมากคือ การทดสอบแรงดันทะลุซึ่งเป็นการทดสอบความแข็งแรงแบบพื้นฐาน การทดสอบที่ให้ผลแน่นอนกว่า คือ การทดสอบความแข็งแรงตามขอบของกระดาษลูกฟูก Edge Crush Test หรือ ECT ดังแสดงในรูปที่ 5 7 และรูป ง ในหน้า 168 และความสามารถในการรับแรงกดในแนวราบของลอน Flat Crush Test ในรูปที่ 5 8 สำหรับการทดสอบความแข็งแรงตามขอบนี้สามารถใช้ในการประเมินความแข็งแรงของกล่องลูกฟูกในแง่ของความสามารถรับแรงกดในแนวดิ่ง Compression Strength โดยใช้สูตรที่คิดค้นโดย McKee มีดังนี้ โดยที่ P ค่าประเมินของความต้านทานรับแรงกดในแนวดิ่ง kp ECT ค่าความแข็งแรงตามขอบของกระดาษลูกฟูก kp cm H ความหนาของกระดาษลูกฟูก มม Z ความยาวของเส้นรอบรูปของกล่องลูกฟูกด้านที่รับแรงกด หมายเหตุ ค่า kp 10 นิวตัน รูปที่ 5 7 การทดสอบความแข็งแรงตามขอบของกระดาษลูกฟูก รูปที่ 5 8 การทดสอบการรับแรงกดในแนวราบของลอนลูกฟูก 5 3 3 การทดสอบประเภทของพลาสติก สำหรับคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการบรรจุภัณฑ์หรือวงการพลาสติก การเรียกชื่อพลาสติกประเภทต่างๆ ที่เริ่มต้นด้วยตัวพีก็ยุ่งยากพอสมควร ยิ่งถ้ามีการแยกประเภทของพลาสติกคงยุ่งยากมากขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม ในหัวข้อต่อไปนี้จะพยายามอธิบายถึงวิธีการบ่งบอกพลาสติกประเภทต่างๆ อย่างง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่สลับซับซ้อน ขั้นตอนอันดับแรกในการทดสอบ คือ การเผาหรือลนด้วยไฟ แล้วสังเกตสิ่งต่างๆ ดังนี้ 1 ลักษณะการไหม้ของพลาสติก 2 ถ้าพลาสติกนั้นจุดไฟติด สังเกตสีของเปลวไฟที่ไหม้ 3 พลาสติกที่ไหม้ติดไฟมีควันหรือไม่ 4 ถ้ามีควันให้สังเกตสีของควัน 5 ลักษณะการไหม้ของพลาสติกมีเศษหรือมีของเหลวหยดหรือไม่ 6 เมื่อดับไฟแล้ว การไหม้ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่องหรือไม่ 7 ในขณะที่ไหม้นั้น มีกลิ่นจากการเผาไหม้หรือไม่ วิธีการบ่งบอกประเภทของพลาสติกด้วยการเผานี้ควรจะเริ่มจากการลนไฟพลาสติกที่รู้จักว่าเป็นอะไรก่อน เพื่อสังเกตลักษณะของการเผาไหม้ และทำความคุ้นเคยกับผลจากการเผาไหม้ของพลาสติกแต่ละประเภท พลาสติกบางจำพวกเช่น PVC เมื่อมีการเติมสารต่างๆ เช่น พวก Fillers Plasticizers เป็นต้น จะทำให้ลักษณะการเผาไหม้แปรเปลี่ยนไปได้ ส่วนการดมกลิ่นที่เกิดจากการเผาไหม้ ควรจะดมหลังจากดับไฟแล้วค่อยๆ ดม รายละเอียดผลจากการลนไฟนี้สรุปอยู่ในตารางที่ 5 2 ขั้นตอนต่อไปในการทดสอบ คือ การทำให้พลาสติกละลายในสารตัวทำละลาย Solvents ซึ่งสารตัวทำละลายส่วนใหญ่ค่อนข้างจะเป็นอันตราย การทดสอบในขั้นตอนนี้จึงควรระวังอย่างยิ่ง ตัวอย่างพลาสติกที่ใช้อาจมีขนาดเพียง ½ x ½ นิ้ว โดยใสไว้ในขวดแก้วที่บรรจุสารตัวทำละลายไว้อย่างน้อย 12 เซนติเมตรดังรูปที่ 5 10 พลาสติกต่างชนิดกันจะละลายในสารตัวทำละลายต่างกัน ดังแสดงในตารางที่ 5 3 รูปที่ 5 10 การทดสอบประเภทของพลาสติกด้วยการใช้สารตัวทำละลาย ตารางที่ 5 2 วิธีการทดสอบหาประเภทของพลาสติกด้วยการลนไฟ ประเภทของฟิล์ม สีของเปลวไฟ ลักษณะ กลิ่นจากการไหม้ ความหนาแน่น กรัม ลบ ซม Polyethylene ส่วนบนเป็นสีเหลือง ส่วนล่างเป็นสีฟ้า ควันสีขาว ละลายเป็นหยดคล้ายเทียน กลิ่นไหม้ของไข LDPE 0 91 0 94 HDPE 0 94 0 965 Polypropylene ส่วนบนเป็นสีเหลือง ส่วนล่างเป็นสีฟ้า หลอมละลายเป็นหยด กลิ่นไหม้ของไข 0 9 0 915 PVC สีเหลืองอมส้ม มีขอบเปลวเป็นสีเขียว แยกตัว กลิ่นคลอไรด์ 1 28 1 38 Polyester สีเหลือง ควันสีดำ ไม่มีการหยด ไหม้ไปเรื่อยๆ ไม่ลุกไหม้ได้ง่ายๆ 1 38 Polycarbonate สีเหลืองอมส้ม ควันสีดำ ไม่มีการหยด มีการแยกตัว ไม่ลุกไหม้ได้ง่ายๆ 1 2 Nylon สีฟ้าและปลายเปลวเป็นสีเหลือง ละลาย หยดเป็นฟอง หยดเป็นก้อนๆ คล้ายกับกาไหม้ผม 1 06 1 14 Polystyrene สีเหลืองส้ม เขม่าสีดำ ไม่มีการหยด นิ่มตัว กลิ่นหอม 1 04 1 09 กระดาษแก้ว สีเหลืองส้มอมสีเทา มีควันไหม้ได้เร็วและไหม้อย่างสมบูรณ์ คล้ายกับไหม้กระดาษ 0 48 แหล่งที่มา Athalye A S Identification and Testing of Plastics ตารางที่ 5 3 ประเภทของพลาสติกที่ละลายในสารตัวทำละลาย ประเภทพลาสติก สารตัวทำละลาย Solvent Polyethylene Polybutene 1 p Xylene Trichlorobenzene Decane Decalin Isotactic Polypropylene Benzene Toluene Chloroform Cyclohexanone Polystyrene Tetrahydrofuran Cyclohexzanone Methylethhlketone Dimethylformamide Polyvinyl Chloride Aqueous cupriammonium hydroxide Cellulose Aqueous zinc chloride Aqueous calcium thiocyanate Polyamides Formic acid Conc Sulfuric acid Dirmethylformamide Mcresol แหล่งที่มา Athalye A S Identification and Testing of Plastics ขั้นตอนสุดท้ายคือ การหาความถ่วงจำเพาะ Specific Gravity ตามที่ทราบกันแล้วว่าพลาสติกแต่ละประเภทมีความหนาแน่นที่แตกต่างกัน การทดสอบดังแสดงในรูปที่ 5 11 ของเหลวที่บรรจุอยู่ในขวดเมทิลแอลกอฮอล์ Methyl Alcohol หรือ Methanol หรือน้ำยาซักผ้าผสมน้ำ โดยมีส่วนผสมของน้ำยาซักผ้า 1 ส่วนใน 100 ส่วนของน้ำ การทดสอบจะใช้เมทิลแอลกอฮอล์มีความถ่วงจำเพาะ 0 7917 ที่อุณหภูมิห้อง แต่ส่วนใหญ่จะใช้น้ำผสมน้ำยาซักผ้า เพราะพลาสติกส่วนใหญ่มีความถ่วงจำเพาะมากกว่า 1 การหาความถ่วงจำเพาะจะหาได้จากสูตรดังต่อไปนี้เพื่อเปรียบเทียบหาประเภทของพลาสติกในตารางที่ 5 4 ในเมทิลแอลกอฮอล์ ตารางที่ 5 4 ความถ่วงจำเพาะของพลาสติกประเภทต่างๆ พลาสติก ความถ่วงจำเพาะ Polypropylene PP 0 85 0 90 Low Density Polyethylene LDPE 0 91 0 93 High Density Polyethylene HDPE 0 91 0 96 Polystyrene 1 05 1 08 Nylon 1 09 1 14 Polyester 1 12 1 30 Vinyl Chloride 1 15 1 65 Polycarbonate 1 20 5 4 การทดสอบบรรจุภัณฑ์ การทดสอบบรรจุภัณฑ์อาจแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ การทดสอบเพื่อควบคุมคุณภาพของบรรจุภัณฑ์และการทดสอบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง การทดสอบทั้ง 2 ประเภทนี้เป็นการจำลองการใช้งานจริงของบรรจุภัณฑ์มาทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการ 5 4 1 การทดสอบบรรจุภัณฑ์เพื่อควบคุมคุณภาพ 1 การทดสอบกระป๋องโลหะ โดยทั่วไปบรรจุภัณฑ์กระป๋องควรจะถูกบรรจุไม่ต่ำกว่า 90 ของความจุทั้งหมดตามมาตรฐานของ U S FDA มาตรฐานนี้ หมายถึงช่องว่างเหนืออาหารสุทธิ Net HeadSpace ของภาชนะไม่ควรมากกว่า 10 ของความสูงด้านในของกระป๋อง ในตารางที่ 5 5 เปรียบเทียบความจุของกระป๋องขนาดต่างๆ กัน โดยใช้กระป๋องขนาดเบอร์ 2 เป็นเกณฑ์มาตรฐานเปรียบเทียบ ตารางนี้ยังบอกขนาดของกระป๋องที่นิยมใช้ เช่น กระป๋องขนาดเบอร์ 2 มีขนาด 307 x 409 นิ้ว และกระป๋องเบอร์ 10 มีขนาด 603 x 700 นิ้ว เป็นต้น ตารางที่ 5 5 แสดงความจุและค่าการเปลี่ยนขนาดของกระป๋องที่นิยมใช้ในการบรรจุผักและผลไม้กระป๋อง ชื่อ ขนาด นิ้ว ความจุของน้ำเป็นออนซ์ที่ 20 ° c เทียบเท่ากับกระป๋อง No 2 6Z 202x308 6 08 0 295 8Z Short 211x300 7 93 0 386 8Z Tall 211x304 8 68 0 422 No 1 Picnic 211x400 10 94 0 532 No 211Cylinder 211x414 13 56 0 660 No 300 300x407 15 22 0 741 No 300Cylinder 300x509 19 40 0 945 No 1 Tall 301x411 16 70 0 813 No 303 303x509 16 88 0 821 No 303Cylinder 301x411 21 86 1 060 No 2Vacuum 307x306 14 71 0 716 No 2 307x409 20 55 1 000 Jumbo 307x510 25 80 1 2537 No 2Cylinder 307x512 26 40 1 284 No 1 ¼ 401x206 13 81 0 672 No 2 ½ 401x411 29 79 1 450 No 3Vacuum 404x307 23 90 1 162 No 3Cylinder 404x700 51 70 2 515 No 5 502x510 59 10 2 8744 No 10 603x700 109 43 5 325 แหล่งที่มา อย แนวทางในการปฏิบัติตาม GMP อาหารกระป๋อง หมายเหตุ ตารางข้างบนช่องขวาสุดเป็นการเทียบกับกระป๋อง No 2 แสดงปริมาณบรรจุเป็นกี่เท่าของกระป๋องขนาดเบอร์ 2 จุดมุ่งหมายของการทดสอบกระป๋องโลหะจะเน้นที่การหารอยรั่วของกระป๋อง ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณรอยปิดของฝากระป๋องกับตัวกระป๋อง ดังนั้นก่อนที่จะปิดฝากระป๋องจะต้องตรวจบริเวณปากกระป๋องให้มีความเรียบและเอียงเป็นมุมเดียวกันรอบตัวกระป๋อง เมื่อปิดฝากระป๋องแน่นหนาแล้วจึงอัดอากาศใส่กระป๋องให้ได้ความดันประมาณ 1 5 2 0 เท่าของความดันบรรยากาศ การทดสอบรอยรั่วจะกระทำภายใต้น้ำโดยกดกระป๋องให้จมน้ำเพื่อสังเกตฟองอากาศที่จะออกมาจากบริเวณที่มีรอยรั่ว โดยทั่วไปแล้วโรงงานผู้ผลิตกระป๋องจะเป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบตะเข็บของกระป๋องแก่ลูกค้าของตน อาจจะมีเอกสารพร้อมรูปภาพแสดงวิธีการตรวจสอบ ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวกับการตรวจสอบมีดังต่อไปนี้ 1 ตรวจสอบตะเข็บด้วยตาเปล่า ในระหว่างการดำเนินการปิดผนึกฝากระป๋อง จำเป็นจะต้องคอยตรวจดูเป็นระยะเพื่อตรวจหาตำหนิของตะเข็บ อาทิเช่น ตะเข็บตาย Dead Head สันแหลม Cut Overs และตำหนิอื่นของตะเข็บขอคู่ ควรจะควบคุมโดยผู้ที่ได้รับการฝึกฝนจนสามารถตรวจสอบด้วยตาเปล่าได้ ควรจะมีการตรวจดูเป็นช่วงระยะเวลาที่ไม่เกิน 30 นาที โดยการสุ่มตัวอย่างจากจุดที่ทำการปิดผนึกฝาและจดบันทึกผลการสังเกตผิดปกติ เช่น ทำงานช้าเกินควร เมื่อพบจุดบกพร่องควรทำการแก้ไขโดยด่วน 2 การตรวจสอบตะเข็บโดยการฉีกหรือเลาะตะเข็บ ควรกระทำทุกๆ ช่วง 4 ชั่วโมง หลังจากเริ่มต้นการปิดผนึกฝากระป๋อง และเครื่องทำงานได้เต็มที่แล้ว ผลการตรวจสอบควรบันทึกไว้เป็นหลักฐานรวมทั้งการแก้ไข 3 การสังเกตทั่วไป ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพของตะเข็บคู่ Double Seam มีดังนี้ สภาพของเครื่องดื่มปิดผนึกไม่ว่าเป็นเครื่องแบบใช้มือหรือไม่ก็ตาม วัสดุที่ทำกระป๋อง เช่น ความหนาที่แตกต่างกันของแผ่นดีบุกที่ใช้ทำกระป๋อง ขนาดของกระป๋อง < < ย้อนกลับการทดสอบวัสดุและบรรจุภัณฑ์ ตอนที่1อ่านต่อการทดสอบวัสดุและบรรจุภัณฑ์ ตอนที่3 > > < < กลับสู่หน้าหลัก
การออกแบบกราฟฟิก ตอนที่ 1
การออกแบบกราฟฟิก บรรจุภัณฑ์เป็นตัวแทนของกระบวนการส่งเสริมการขายทางด้านการตลาด ณ จุดขายที่สามารถจับต้องได้ เปรียบเสมือนกุญแจดอกสุดท้ายที่จะไขผ่านประตูแห่งการตัดสินใจซื้อ บรรจุภัณฑ์สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อโฆษณาได้อย่างดีเยี่ยม ณ จุดขาย เพราะบรรจุภัณฑ์เป็นงานพิมพ์ 3 มิติ และมีด้านทั้งหมดถึง 6 ด้าน ที่จะสามารถใช้เป็นสื่อโฆษณาได้ดีกว่าแผ่นโฆษณาที่มีเพียง 2 มิติหรือด้านเดียว นักออกแบบบางท่านได้เปรียบเทียบการออกแบบบรรจุภัณฑ์ว่าเปรียบเสมือนร่างกายของมนุษย์ เริ่มต้นจากรูปทรงของบรรจุภัณฑ์ อันได้แก่ ทรงสี่เหลี่ยมของกล่อง ทรงกลมของขวดหรือกระป๋อง เป็นต้น รูปทรงเหล่านี้เปรียบได้กับตัวโครงร่างกายของมนุษย์ สีที่ออกแบบบรรจุภัณฑ์เปรียบเสมือนผิวหนังของมนุษย์ คำบรรยายบนบรรจุภัณฑ์เปรียบได้กับปากที่กล่าวแจ้งแถลงสรรพคุณของสินค้า การออกแบบทั้งหมดของบรรจุภัณฑ์จึงเปรียบเสมือนระบบการทำงานของมนุษย์ ในการออกแบบนักออกแบบจะนำเอาองค์ประกอบต่างๆ อันได้แก่ กลยุทธ์การตลาด ช่องทางการจัดจำหน่าย และสภาวะคู่แข่งมาเป็นแนวความคิดในการออกแบบให้สนองกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ด้วยเหตุนี้ในแง่ของนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบอาจจะเขียนเป็นสมการอย่างง่ายๆ ได้ดังนี้ การออกแบบ คำบรรยาย สัญลักษณ์ ภาพพจน์ Design Words Symbols Image ในสมการนี้ คำบรรยายและสัญลักษณ์มีความเข้าใจตามความหมายของคำ ส่วนภาพพจน์นั้นค่อนข้างจะเป็นนามธรรม เนื่องจากการออกแบบภาพพจน์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งซึ่งอาจแสดงออกได้ด้วย จุด เส้น สี รูปวาด และรูปถ่าย ผสมผสานกันออกมาเป็นพาณิชย์ศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ ด้วยหลักการง่ายๆ 4 ประการ คือ SAFE ซึ่งมีความหมายว่า S Simple เข้าใจง่ายสบายตา A Aesthetic มีความสวยงาม ชวนมอง F Function ใช้งานได้ง่าย สะดวก E Economic ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม 6 1 การใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกลยุทธ์ทางด้านการตลาด บรรจุภัณฑ์มีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อผู้ผลิตสินค้า เนื่องจากบรรจุภัณฑ์สามารถทำหน้าที่ส่งเสริมการขาย กระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้น ในเวลาเดียวกันมีโอกาสลดต้นทุนสินค้าอันจะนำไปสู่ยอดกำไรสูงซึ่งเป็นเป้าหมายของทุกองค์กรในระบบการค้าเสรี คำนิยาม การตลาด คือ กระบวนการทางด้านบริหารที่รับผิดชอบต่อกลุ่มเป้าหมายโดยการค้นหาความต้องการและสนองความต้องการนั้น เพื่อบรรลุถึงกำไรตามที่ต้องการ ตามคำนิยาม การตลาดประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ กลุ่มเป้าหมาย การสนองความต้องการ และกำไร การกำหนดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะนั้น จำเป็นต้องหาข้อมูลจากตลาด พร้อมทั้งค้นหาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในรูปของการบริโภคสินค้าหรือบริการ ส่วนการตอบสนองความต้องการนั้น ต้องใช้กลไกทางด้านส่วนผสมทางการตลาด เพื่อชักจูงให้กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ซื้อให้เลือกซื้อสินค้าเราแทนที่จะซื้อของคู่แข่งเพื่อบรรลุกำไรที่ได้กำหนดไว้ การออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ยังมีบทบาทช่วยส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ทางด้านการตลาด ดังนี้ ตามที่ได้อธิบายแล้วว่าบรรจุภัณฑ์มีบทบาทในส่วนผสมการตลาดในการทำหน้าที่เสริม กิจกรรมการตลาดในแต่ละขั้นตอนของวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ รายละเอียดปลีกย่อยในการช่วยเสริมกิจกรรมต่างๆ มีดังต่อไปนี้ 1 การใช้โฆษณา บรรจุภัณฑ์จำต้องออกแบบให้จำได้ง่าย ณ จุดขาย หลังจากกลุ่มเป้าหมายได้เห็นหรือฟังโฆษณามาแล้ว ในกลยุทธ์นี้บรรจุภัณฑ์มักจะต้องเด่นกว่าคู่แข่งหรือมีกราฟฟิกที่สะดุดตาโดยไม่ต้องให้กลุ่มเป้าหมายมองหา ณ จุดขาย 2 การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย ช่องทางการจัดจำหน่ายที่เปลี่ยนแปลงไปอาจจำเป็นต้องมีการออกแบบปริมาณสินค้าต่อหน่วยขนส่งเพื่อลดค่าใช้จ่าย หรือมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับจุดขายใหม่ การเพิ่มหิ้ง ณ จุดขายที่เรียกว่า POP Point of Purchase อาจมีส่วนช่วยส่งเสริมการขายเมื่อเปิดช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ 3 เจาะตลาดใหม่ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ในการเจาะตลาดใหม่หรือกลุ่มเป้าหมายใหม่ ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนตราสินค้าใหม่อีกด้วย 4 ผลิตภัณฑ์ใหม่ ถ้าผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าเก่า เช่น เปลี่ยนจากการขายกล้วยตากแบบเก่า เพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่มาเป็นกล้วยตากชุบน้ำผึ้ง อาจใช้บรรจุภัณฑ์เก่าแต่เปลี่ยนสีใหม่เพื่อแสดงความสัมพันธ์กับสินค้าเดิมหรืออาจใช้เทคนิคของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ยูนิฟอร์มดังจะกล่าวต่อไปในบทนี้ แต่ในกรณีที่เป็นสินค้าใหม่ถอดด้ามจำต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่หมด แต่อาจคงตราสินค้าและรูปแบบเดิมไว้เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มที่เคยเป็นลูกค้าประจำของสินค้าเดิม 5 การส่งเสริมการขาย จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ เพื่อเน้นให้ผู้บริโภคทราบว่ามีการเพิ่มปริมาณสินค้า การลดราคาสินค้า หรือการแถมสินค้า รายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ย่อมมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีความอยากซื้อมากขึ้น 6 การใช้ตราสินค้า เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเพื่อสร้างความทรงจำที่ดีต่อสินค้า บรรจุภัณฑ์ที่มีตราสินค้าใหม่ควรจะได้รับการออกแบบใหม่ด้วยการเน้นตราสินค้า รายละเอียดในเรื่องนี้จะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อตราสินค้า 7 เปลี่ยนขนาดหรือรูปทรงของบรรจุภัณฑ์ โดยปกติสินค้าแต่ละชนิดมีวัฏจักรชีวิตของตัวมันเอง Product Life Cycle เมื่อวัฏจักรช่วงชีวิตหนึ่งๆ อาจจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนโฉมของบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุของวัฏจักร ในบางกรณี การเปลี่ยนขนาดอาจเกิดจากนวัตกรรมใหม่ทางด้านบรรจุภัณฑ์ เช่น การเลือกใช้วัสดุใหม่จึงมีการเปลี่ยนรูปทรงหรือขนาด ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุใดก็ตามมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อการรักษาหรือขยายส่วนแบ่งการตลาด กิจกรรมทั้ง 7 ที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างของกิจกรรมทางด้านการตลาดที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกลยุทธ์ทางด้านการตลาด ปรากฏการณ์ทางด้านการตลาดอื่นๆ ย่อมมีเกิดขึ้นหลายครั้งที่จะสามารถใช้บรรจุภัณฑ์ช่วยแก้ไขปัญหาทางด้านการตลาดได้ 6 1 1 สภาวะการจัดจำหน่ายสมัยใหม่ ในระบบจำหน่ายสมัยใหม่ เช่น ในซุปเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งมีสินค้าวางขายอยู่เป็นนับพันประเภทแต่ละประเภทจะมีสินค้าที่เป็นคู่แข่งวางขายกันเป็นสิบเพื่อกรเปรียบเทียบเลือกซื้อ ภายใต้สภาวะการขายเช่นนี้ ผู้ซื้อจะใช้เวลาเพียงเศษ 2 ใน 3 ของเวลาที่อยู่ในร้านเดิมจากสินค้าประเภทหนึ่งไปยังสินค้าอีกประเภทหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ซื้อโดยเฉลี่ยใช้เวลา 10 15 นาที ในการเลือกซื้อสินค้าและสมมติว่าโดยเฉลี่ยผู้ซื้อแต่ละคนจะซื้อสินค้าประมาณ 12 ชิ้น นั่นก็หมายความว่าเวลาที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้านั้นมีเวลาเพียง 1 นาที ในสภาพความเป็นจริงเวลาที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าจะแปรเปลี่ยนไปแล้วแต่ละประเภทของสินค้า สินค้าบางชนิด เช่น ไข่ หมู ไก่ อาจใช้เวลาเลือกนาน กล่าวคือ ใช้เวลาประมาณ 20 50 วินาที ในขณะที่สินค้าบางชนิด เช่น ข้าว น้ำอัดลม เป็นต้น จะใช้เวลาน้อยเพียงแค่ 10 วินาที จากปรากฏการณ์นี้ย่อมเป็นที่ประจักษ์ว่า ในยุคนี้ผู้ซื้อใช้เวลาน้อยมาก ณ จุดขายในขณะที่มีสินค้าให้เลือกมากมาย ด้วยเหตุนี้บรรจุภัณฑ์ในยุคนี้จึงจำเป็นต้องออกแบบให้ได้รับความสนใจอย่างเร่งรีบ โดยมีเวลาผ่านตาบนหิ้งในช่วงเวลา 10 50 วินาทีที่จะสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าเพื่อตัดสินใจซื้อและวางลงในรถเข็น บทบาทของบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวนี้เป็นบทบาททางด้านการตลาดในปัจจุบันที่ไดรับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ 6 1 2 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์เป็นการออกแบบงานพิมพ์แบบ 3 มิติที่เป็นพาณิชย์ศิลป์ ดังนั้น บุคลากรที่รับผิดชอบการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่กราฟฟิก นอกจากเป็นนักออกแบบแล้วยังจะต้องเป็นคนช่างสังเกตมีความรู้ทางด้านธุรกิจ เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบนั้นเป็นสื่อและเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ทางธุรกิจการจำหน่าย ในการออกแบบข้อมูลที่ผู้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ควรรู้ มีดังนี้ 1 ด้านการตลาด เนื่องจากบรรจุภัณฑ์เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของการตลาด การออกแบบบรรจุภัณฑ์จึงต้องคำนึงถึงหลักการและเทคนิคทางด้านการตลาด อันประกอบด้วย การตั้งเป้าหมาย การจัดกลยุทธ์ การวางแผนการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการจำหน่าย เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องทราบวิธีการจัดเรียงและบรรยากาศของการจำหน่าย ณ จุดขาย การคำนึงถึงสถานที่ที่วางขายสินค้าเป็นปัจจัยแรกในการออกแบบ เช่น การวางขายในตลาดสดหรือวางขายในห้าง เป็นต้น แนวทางในการออกแบบทั่วไป คือ การเปรียบเทียบกับสินค้าคู่แข่ง การเปรียบเทียบนี้ไม่ใช่การเปรียบเทียบเพื่อลอกเลียนแบบ แต่เป็นการเปรียบเทียบเพื่อหาจุดเด่นของสินค้าเพื่อขาย Unique Selling Point การใช้คำว่า ใหม่ สด หรือ ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ ล้วนเป็นคำบรรยายที่จะเน้นถึงจุดขายของสินค้า คำบรรยายดังกล่าวจำต้องเป็นสิ่งที่ผลิตได้และปฏิบัติได้จริง ยกตัวอย่างเช่น การออกแบบมีคำว่า ใหม่ ผู้ผลิตต้องมั่นใจว่าวัตถุดิบที่ใช้ผลิตมีความสดและใหม่ตามคำกล่าวอ้างจริง และต้องมั่นใจว่าในตลาดหาสินค้าที่ทดแทนหรือคล้ายคลึงกันได้ยาก 2 ตัวสินค้าที่จะใช้บรรจุ การออกแบบบรรจุภัณฑ์จะประสบความสำเร็จได้ต่อเมื่อผู้ออกแบบและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงคุณลักษณะของตัวสินค้าอย่างถ่องแท้ คุณสมบัติเด่นของสินค้าที่จะสนองความต้องการของลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างขึ้นมา มิฉะนั้นจะไม่ทราบเลยว่าเสนออะไรเพื่อสนองความต้องการของผู้ซื้อ กลุ่มเป้าหมาย และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ก็จะไม่สามารถบรรลุถึงจุเป้าหมาย ท้ายที่สุดการตลาดของสินค้านั้นก็พังพินาศ 3 กลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มผู้ซื้อ ซึ่งอาจเป็นผู้บริโภคสินค้าเองหรือไม่ได้เป็นผู้บริโภคอาจแยกตามสถานะทางสังคม การออกแบบที่ดีจะต้องทราบความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ปริมาณที่บริโภค ความสะดวกในการนำอาหารออกจากบรรจุภัณฑ์มาบริโภค เป็นต้น สถานะของผู้บริโภคที่ควรคำนึงถึงมีดังนี้ เพศ อาชีพ ระดับการศึกษา สถานะครอบครัว เชื้อชาติ ขนาดครอบครัว ศาสนา สถานะทางสังคมเศรษฐกิจ ย่านที่พักอาศัย สิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทำขึ้นโดยไม่ได้ทำการศึกษาวิจัยอาจจะต้องใช้วิธีการสังเกต แล้วประเมินจากสิ่งที่สังเกต นำข้อมูลที่วิเคราะห์หรือรวบรวมได้ส่งต่อให้นักออกแบบ เพื่อทำการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการและการบริโภคของกลุ่มเป้าหมาย สิ่งที่พึงให้ความสำคัญกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ผู้ซื้อไม่ได้เป็นผู้บริโภค เช่น สินค้าของฝาก การออกแบบบรรจุภัณฑ์ยิ่งมีความสำคัญที่จะต้องสร้างภาพพจน์ที่ดี เพิ่มคุณค่าแก่สินค้าให้เหมาะสมกับเป็นสินค้าฝากแดนไกล โดยบรรจุภัณฑ์จำเป็นต้องสร้างมโนภาพ Imaginary ที่ดีต่อตัวสินค้า พร้อมทั้งมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่คำนึงถึงความสะดวกในการนำกลับ และพิจารณาถึงระยะเดินทางพอสมควรก่อนจะถึงมือผู้บริโภคด้วย ยกตัวอย่างเช่น ไอศกรีมที่บรรจุขายในปริมาณและขนาดบริโภคของครอบครัว ควรจะพิจารณาใส่น้ำแข็งแห้งเพื่อรักษาคุณภาพสินค้าในระหว่างทาง เป็นต้น 4 กฎข้อบังคับ ในบางกรณีของบรรจุภัณฑ์อาหาร องค์กรของรัฐที่เข้ามามีบทบาทควบคุมดูแล คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุในภาชนะบรรจุภัณฑ์ปิดสนิท จำต้องขออนุญาตจาก อย พร้อมหมายเลขกำกับ ปรากฏการณ์ใหม่ สำหรับสินค้าที่จัดจำหน่ายผ่านทางซุปเปอร์มาร์เก็ตและห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ คือ การพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์หรือฉลากด้วยสัญลักษณ์รหัสแท่งที่เรียกว่า บาร์โค้ด Bar Code ซึ่งเป็นรหัสประจำตัวสินค้า เพื่อความสะดวกในการคิดเงินและตัดสต๊อกของผู้ขายปลีก เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2540 ทาง อย ได้มีประกาศแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจดำเนินตามโครงการสัญลักษณ์รหัสแท่งมาใช้ในฉลากอาหาร ทำหน้าที่ศึกษาข้อมูล กำหนดรูปแบบและวิธีการนำสัญลักษณ์รหัสแท่งมาใช้ในขั้นตอนตามพระราชบัญญัติอาหาร และในขั้นตอนการตรวจติดตามผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด ทั้งนี้เพื่อดูแลตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารอย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันการปลอมแปลงเลขทะเบียนตำรับและเลขที่การรับอนุญาตใช้ฉลาก การที่ อย เตรียมการที่จะนำระบบสัญลักษณ์รหัสแท่งมาใช้แทนที่ตัวอักษรและตัวเลขในอนาคตนั้น การขออนุญาตใช้รหัสแท่งเป็นสิ่งที่นักออกแบบและผู้ประกอบการแปรรูปอาหารควรศึกษาและประยุกต์ใช้ 5 ช่องทางการจำหน่าย กุญแจสำคัญของผลิตภัณฑ์อาหาร คือ อายุการเก็บของสินค้า โดยปกติอาหารสด เช่น ก๋วยเตี๋ยวสด กระยาสารท เป็นต้น มีอายุการเก็บที่สั้นเพียงไม่กี่วันเนื่องจากสูญเสียสภาวะคุณสมบัติของอาหาร ด้วยวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีของบรรจุภัณฑ์ เช่น ถ้ามีการประยุกต์ใช้วิธีการปรับสภาวะบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์ Modified Atmosphere Packaging สำหรับก๋วยเตี๋ยวสด พร้อมกับการเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ถูกต้องเพื่อช่วยยืดอายุการเก็บสินค้าและส่งขายได้ทั่วราชอาณาจักรแทนที่จะขายเฉพาะที่ตลาดสดหรือส่งขายวันต่อวัน ด้วยเหตุนี้ การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมย่อมช่วยเพิ่มโอกาสในการเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายให้มีมากขึ้นโดยการส่งให้พ่อค้าขายส่ง พ่อค้าขายปลีกหรือส่งขายให้แก่ห้างร้าน การส่งตรงไปยังศูนย์รวบรวมกระจายสินค้า Distribution Center หรือ DC เป็นต้น หรือพิจารณาช่องทางการจำหน่าย เริ่มจากการขายหน้าบ้าน ตลาดสด และขยายไปถึงการขายสู่ห้างใหญ่ที่มีศูนย์รวบรวมกระจายสินค้า DC ย่อมมีผลต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับแต่ละช่องทาง 6 สภาวะการแข่งขัน การเก็บข้อมูลของคู่แข่งขันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาเด่นกว่าคู่แข่งขันภายใต้สภาวะช่องทางการจำหน่ายหรือจุดขายที่เป็นจริง เช่น การวางขาย ณ แหล่งท่องเที่ยวซึ่งไม่มีชั้นหิ้งวางอย่างเรียบร้อยเช่นเดียวกับในซุปเปอร์มาร์เก็ต การออกแบบบรรจุภัณฑ์ย่อมต้องคำนึงถึงความสามารถในการวางเรียงซ้อนได้อย่างมั่นคง เนื่องจากไม่มีชั้นหิ้งรองรับ เป็นต้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์ด้วยการลอกเลียนแบบของคู่แข่งขันเป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำอย่างยิ่งเพราะจะมีวัฏจักรชีวิตบรรจุภัณฑ์สั้นมาก ในทางปฏิบัติทั่วไปการออกแบบบรรจุภัณฑ์ควรสอดคล้องกับกลยุทธ์ที่ตั้งไว้และสร้างความแตกต่างในการออกแบบเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายในการออกแบบ 7 สิ่งแวดล้อม แม้ว่าในประเทศไทยยังไม่มีองค์กรใดหรือหน่วยงานของรัฐออกกฎข้อบังคับต่อการควบคุมดูแลปัญหาของบรรจุภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง แต่กระแสการรณรงค์ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสภาพสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจจากชุมชนเมืองมากยิ่งขึ้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยใช้วัสดุที่นำกลับมาผลิตใหม่สามารถลดปริมาณขยะและกำจัดได้ง่าย จึงเป็นจุดขายเพื่อการส่งเสริมการจำหน่ายได้เป็นอย่างดี การพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์ทางด้านกราฟฟิกดังได้กล่าวมาแล้วอาจจะสรุปเป็นแผนภูมิง่ายๆ ดังแสดงในรูปที่ 6 1 รูปที่ 6 1 แผนภูมิแสดงขั้นตอนการออกแบบกราฟฟิก สิ่งสำคัญที่สุดของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ คือ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพราะว่าปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลในการออกแบบอาจเปลี่ยนแปลงได้สม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยทางด้านตลาดและช่องทางการจำหน่าย ด้วยเหตุนี้ความต้องการด้านตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์จำต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยคำนึงถึงปัจจัยทางด้านการผลิตและความสามารถในการแปรรูปบรรจุภัณฑ์เป็นเกณฑ์ 6 1 3 องค์ประกอบการออกแบบ ตามที่ได้ทราบกันแล้ว องค์ประกอบบนบรรจุภัณฑ์มีอยู่หลากหลายประเภท ณ จุดขายที่มีสินค้าเป็นร้อยให้เลือก องค์ประกอบต่างๆ ที่ออกแบบไว้บนบรรจุภัณฑ์จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อบรรจุภัณฑ์และสินค้านั้น รายละเอียดหรือส่วนประกอบบนบรรจุภัณฑ์จะแสดงออกถึงจิตสำนึกของผู้ผลิตสินค้าและสถานะ Class ของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งสามารถขยับเป็นสื่อโฆษณาระยะยาว ส่วนประกอบที่สำคัญบนบรรจุภัณฑ์อย่างน้อยที่สุดควรประกอบด้วย 1 ชื่อสินค้า 2 ตราสินค้า 3 สัญลักษณ์ทางการค้า 4 รายละเอียดของสินค้า 5 รายละเอียดส่งเสริมการขาย 6 รูปภาพ 7 ส่วนประกอบของสินค้า 8 ปริมาตรหรือปริมาณ 9 ชื่อผู้ผลิตและผู้จำหน่าย ถ้ามี 10 รายละเอียดตามข้อบังคับของกฎหมาย เช่น วันผลิต วันหมดอายุ เป็นต้น เมื่อมีการเก็บข้อมูลของรายละเอียดต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วจึงเริ่มกระบวนออกแบบด้วยการเปลี่ยนข้อมูลที่ได้รับมาเป็นกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ จุดมุ่งหมายทั่วๆ ไปในการออกแบบมีดังนี้ 1 เด่น Stand Out ภายใต้สภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรง ตัวบรรจุภัณฑ์จำต้องออกแบบให้เด่นสะดุดตา Catch the Eye จึงจะมีโอกาสได้รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายหมายเมื่อวางประกบกับบรรจุภัณฑ์ของคู่แข่ง เทคนิคที่ใช้กันมากคือ รูปทรงและขนาดซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของบรรจุภัณฑ์หรืออาจใช้การตั้งตราสินค้าให้เด่น เป็นต้น 2 ตราภาพพจน์และความแตกต่าง Brand Image Differentiate เป็นความรู้สึกที่จะต้องก่อให้เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายเมื่อมีการสังเกตเห็น แล้วจูงใจให้อ่านรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์การออกแบบตราภาพพจน์ให้มีความแตกต่างนี้เป็นวิธีการออกแบบที่แพร่หลายมากดังได้บรรยายไว้ในหัวข้อ 6 1 4 ทฤษฎีตราสินค้า 3 ความรู้สึกร่วมที่ดี การออกแบบบรรจุภัณฑ์เป็นพาณิชย์ศิลป์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ซื้อเกิดความรู้สึกที่ดีต่อศิลปะที่ออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยรวมทั้งหมด เริ่มจากการก่อให้เกิดความสนใจด้วยความเด่น เปรียบเทียบรายละเอียดต่างๆ เพื่อจูงใจให้ตัดสินใจซื้อสินค้า สร้างความมั่นใจเพิ่มขึ้นสำหรับกลุ่มเป้าหมายบางกลุ่ม และจบลงด้วยความรู้สึกที่ดีที่สามารถสนองต่อความต้องการของผู้ซื้อได้ จึงก่อให้เกิดการตัดสินใจซื้อ ซื้อฉันสิ Buy Me จึงนับเป็นรูปธรรมสุดท้ายที่บรรจุภัณฑ์ต้องทำให้อุบัติขึ้น ด้วยเหตุนี้ การชักจูงหว่านล้อมโดยรูป คำบรรยาย สัญลักษณ์ หรือรางวัลที่ได้รับย่อมสร้างให้เกิดความรู้สึกอยากเป็นเจ้าของและอยากทดลองสินค้าพร้อมบรรจุภัณฑ์นั้น < < กลับสู่หน้าหลัก อ่านต่อการออกแบบกราฟฟิก ตอนที่ 2> >
การออกแบบกราฟฟิก ตอนที่ 3
6 2 ขั้นตอนการออกแบบ สิ่งที่ผู้ซื้อเสียความรู้สึกมากที่สุดคือ บรรจุภัณฑ์ไม่สามารถทำงานได้ตรงตามความต้องการหรือไม่สามารถทำงานได้ตรงตามที่บรรยายบนบรรจุภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น มีการโฆษณาบนบรรจุภัณฑ์ว่าเป็นซองออกแบบใหม่ฉีกเปิดได้ง่ายแต่พอเปิดซองแล้วสินค้าเกลื่อนกระจายไปทั่วพื้น เป็นต้น เหตุการณ์เช่นนี้ผู้บริโภคจะไม่ตำหนิบรรจุภัณฑ์แต่จะไม่ยอมรับสินค้ายี่ห้อนั้นๆ เพราะถือว่าถูกหลอก ไม่ว่าบรรจุภัณฑ์ที่ว่านี้จะออกแบบมาสวยงามน่าประทับใจเพียงใด ในฐานะเจ้าของสินค้าจะต้องยอมรับว่าออกแบบบรรจุภัณฑ์มาไม่ดี จากตัวอย่างที่ยกมานี้เป็นที่ประจักษ์ว่าจุดมุ่งหมายในการออกแบบไม่รอบคอบไม่ใส่ใจในสิ่งเล็กน้อยเหล่านี้ จะมีผลกระทบต่อยอดขายของสินค้าเนื่องจากประสบการณ์อันเลวร้ายที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ การออกแบบบรรจุภัณฑ์จำต้องมีการวางแผนงานและกำหนดจุดมุ่งหมายรองรับซึ่งมีหลายประการไว้อย่างชัดเจน ขั้นตอนการออกแบบกราฟฟิกของบรรจุภัณฑ์จะคล้ายคลึงกับขั้นตอนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ แต่อาจจะมีส่วนปลีกย่อยที่ควรคำนึงถึงดังต่อไปนี้ 6 2 1 การตั้งจุดมุ่งหมาย ในการตั้งจุดมุ่งหมายในการออกแบบกราฟฟิกของบรรจุภัณฑ์ มีสิ่งจำเป็นที่ต้องรู้หรือศึกษาข้อมูลคือ ตำแหน่ง Positioning ของบรรจุภัณฑ์ของคู่แข่งที่มีอยู่ในตลาด ในกรณีที่บรรจุภัณฑ์มีอยู่ในตลาดแล้ว การทราบถึงตำแหน่งดังแสดงในรูปที่ 6 9 ย่อมทำให้ตั้งจุดมุ่งหมายในการออกแบบได้ง่าย นอกจากตำแหน่งของสินค้า สิ่งที่จำต้องค้นหาออกมาคือ จุดขายหรือ USP Unique Selling Point ของสินค้า ที่จะโฆษณาบนบรรจุภัณฑ์ ทั้งสองสิ่งนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการตั้งจุดมุ่งหมายของการออกแบบนมกล่องของ Bell ในหน้า 195 ที่วางตำแหน่งสินค้ารักษาสุขภาพและมีจุดขายที่มีคุณค่าทางโภชนาการและอาหารเพื่อลดน้ำหนัก รูปที่ 6 9 การวางตำแหน่งของบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดในตลาด 6 2 2 การวางแผน ปัจจัยต่างๆ ที่ได้จากการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลขั้นต้นเพื่อเตรียมร่างจุดมุ่งหมายและขอบเขตการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ก่อนที่จะปรับปรุงพัฒนาบรรจุภัณฑ์ อาจวางแผนได้ 2 วิธีคือ 1 ปรับปรุงพัฒนาให้ฉีกแนวแตกต่างจากคู่แข่งขัน 2 ปรับปรุงพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มาสามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันโดยตรงได้ด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ดีกว่าหรือด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า การตั้งเป้าหมายและวางแผนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ดังกล่าว ย่อมต้องศึกษาสถานภาพบรรจุภัณฑ์ของคู่แข่ง พร้อมกับล่วงรู้ถึงนโยบายของบริษัทตัวเองและกลยุทธ์การตลาดที่จะแข่งขันกับคู่แข่งขัน การวางแผนพัฒนาบรรจุภัณฑ์ สามารถใช้การวิเคราะห์แบบ 5W 2H ดังนี้ WHYทำไม WHOใคร WHEREที่ไหน WHATอะไร WHEN เมื่อไร HOWอย่างไร HOW MUCH ค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในการพัฒนา 1 WHY ทำไม เหตุการณ์หรือปัจจัยอะไรทำให้ต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ ทำไมต้องพัฒนากราฟฟิกของบรรจุภัณฑ์ ทำไมไม่แก้ไขพัฒนาอย่างอื่นแทน 2 WHO ใคร ผู้รับผิดชอบในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์นี้ บุคคล หรือแผนกที่เกี่ยวข้องมีใครบ้าง 3 WHERE ที่ไหน สถานที่ที่จะวางจำหน่ายสินค้าอยู่ที่ไหน ขอบเขตพื้นที่ที่จะวางสินค้าบนบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบครอบคลุมพื้นที่มากน้อยแค่ไหน 4 WHAT อะไร จุดมุ่งหมายการพัฒนาบรรจุภัณฑ์คืออะไร ข้อจำกัดในการออกแบบมีอะไรบ้าง จุดขายของสินค้าคืออะไร การใช้งานของบรรจุภัณฑ์คืออะไร 5 WHEN เมื่อไร ควรจะเริ่มงานการพัฒนาเมื่อไร เมื่อไรจะพัฒนาเสร็จ วางตลาดเมื่อไร 6 HOW อย่างไร จะใช้เทคโนโลยีแบบใด อย่างไร จะจัดหาเทคโนโลยีใหม่ใช้วัดความสนใจของบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบ 7 HOW MUCH ค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในการพัฒนา ค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์มีงบประมาณเท่าไร คำตอบที่จะได้รับจากคำถาม 5W 2H นี้ จะนำไปสู่การวางแผนพัฒนาบรรจุภัณฑ์ได้ ขั้นตอนการวางแผนออกแบบบรรจุภัณฑ์ การวางแผนเริ่มต้นด้วยจุดประสงค์ของการพัฒนา พร้อมด้วยข้อจำกัดต่างๆ รายละเอียดการวางแผนต้องประกอบด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน 1 1 กำหนดเวลา 1 2 ผลงานที่จะได้รับในแต่ละขั้นทำงาน 1 3 รายละเอียดของตราสินค้า Branding 1 4 ผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอน ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล อันได้แก่ 2 1 ข้อมูลการตลาด 2 2 สถานการณ์แข่งขัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ข้อจำกัด SWOT Strength Weakness Opportunity Treat 2 3 ข้อมูลจากจุดขาย 2 4 ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย พฤติกรรมผู้บริโภค 2 5 เทคโนโลยีใหม่ๆ ทางด้านวัสดุบรรจุภัณฑ์ ระบบบรรจุภัณฑ์และเครื่องจักร ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบร่าง 3 1 พัฒนาความคิดริเริ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 3 2 ร่างต้นแบบ ประมาณ 3 5 แบบ 3 3 ทำต้นแบบ ประมาณ 3 5 แบบ ขั้นตอนที่ 4 การประชุมวิเคราะห์ปรับต้นแบบ 4 1 วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางเทคนิค 4 2 วิเคราะห์การสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 4 3 เลือกต้นแบบที่ยอมรับได้ ขั้นตอนที่ 5 การทำแบบเหมือนร่าง 5 1 เลือกวัสดุที่จะทำแบบ 5 2 ออกแบบกราฟฟิกเหมือนจริง พร้อมตราสินค้าและสัญลักษณ์ทางการค้า 5 3 ขึ้นแบบ ขั้นตอนที่ 6 การบริหารการออกแบบ เริ่มจากการติดต่อโรงงานผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์จนถึงการควบคุมงานผลิตให้ได้ตามแบบที่ต้องการ พร้อมทั้งจัดเตรียมรายละเอียดการสั่งซื้อ Specification เพื่อให้บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบสามารถผลิตได้ตามต้องการ ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการติดตามผลของบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบไปแล้วว่าสามารถสนองตามจุดมุ่งหมายของการออกแบบและบรรลุถึงวัตถุระสงค์ขององค์กรเพียงใด 6 3 เทคนิคการออกแบบ รูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์นั้นสามารถจับต้องได้ ซึ่งโดยปกติแล้วมักจะเป็นรูปทรงเรขาคณิต เช่น สี่เหลี่ยมและทรงกลมรูปทรงที่แตกต่างกันย่อมก่อให้เกิดความรู้สึกที่แตกต่างกัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการออกแบบรูปทรงต่างๆ กันของวัสดุหลัก 4 ประเภท อันได้แก่ กระดาษ โลหะ แก้ว และพลาสติก ที่เห็นได้ชัด คือ กระป๋องโลหะที่แต่เดิมมักเป็นรูปทรงกระบอกเทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถออกแบบรูปทรงอื่นที่เรียกว่า Contour Packaging ดังแสดงในรูปที่ 6 10 รูปลักษณ์ใหม่นี้ย่อมก่อให้เกิดความสะดุดตาและสร้างความสนใจให้แก่กลุ่มเป้าหมาย นอกจากรูปลักษณ์ของตัวบรรจุภัณฑ์ การออกแบบกราฟฟิกตามที่ได้บรรยายมาอย่างละเอียดมาแล้ว ย่อมมีบทบาทอย่างมากในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่กลุ่มเป้าหมาย ในหัวข้อนี้จะยกตัวอย่างของเทคนิคการออกแบบกราฟฟิก ที่ได้รับการประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางเมื่อโอกาสเอื้ออำนวยให้ ตัวอย่างที่แสดงในรูปที่ 6 11 ย่อมเห็นได้ชัดว่ากล่องแถวล่างที่ออกแบบมีกราฟฟิกเรียบขนานกับแนวราบย่อมไม่สะดุดตาเท่ากับกล่องแถวบนที่ออกแบบเป็นเส้นเอียงที่สะดุดตามากกว่าเมื่อวางอยู่บนหิ้งเทคนิคการออกแบบนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้บนกล่องที่พิมพ์สอดสีอย่างสวยงามในรูปที่ 6 12 6 3 1 การออกแบบเป็นชุด Package Uniform การออกแบบเป็นชุดเป็นเทคนิคที่นิยมใช้กันมาก จากกราฟฟิกง่ายๆ ที่เป็นจุดเส้นและภาพ มาจัดเป็นรูปบนบรรจุภัณฑ์ สร้างอารมณ์ร่วมจากการสัมผัสด้วยสายตา หลักเกณฑ์ในการออกแบบ คือ ให้ดูง่ายสะอาดตา แต่ต้องทันสมัยและเหมาะแก่การใช้งาน ความง่ายสะอาดตามีผลต่อการดึงดูดความสนใจ ความทันสมัยช่วยสร้างความแปลกใหม่ ส่วนความรู้สึกเหมาะแก่การใช้งานเสริมความรู้สึกว่าคุ้มค่าเงินและความมั่นใจในตัวสินค้า จากการออกแบบเป็นชุดของสินค้า มีผลต่อการทำให้ผู้บริโภคเกิดความทรงจำที่ดีถ้าออกแบบได้ตรงกับรสนิยมของกลุ่มเป้าหมาย การออกแบบบรรจุภัณฑ์เป็นชุดเปรียบเสมือนชุดแบบฟอร์มของเสื้อผ้าที่คนใส่ เช่น มีชุดสูท ชุดพระราชทาน ชุดม่อฮ่อม เป็นต้น การออกแบบเสื้อผ้าที่เป็นชุดนี้เมื่อใครเห็นก็ทราบว่าชุดอะไรแม้ว่าจะใช้เสื้อผ้าและสีสันที่แตกต่างกัน การออกแบบบรรจุภัณฑ์เป็นชุดนี้ก็มีหลักการคล้ายคลึงกัน การออกแบบเสื้อผ้าเป็นชุดยังมีชื่อเรียก แต่ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ไม่มีชื่อเรียก จึงจำต้องยึดเอกลักษณ์บางอย่างบนบรรจุภัณฑ์เป็นตัวเชื่อมโยงให้รู้ว่าเป็นชุดเดียวกัน อาจใช้สัญลักษณ์ทางการค้า ใช้สไตล์การออกแบบ ใช้การจัดเรียงวางรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ให้อยู่ในระดับเดียวกัน นอกจากนี้รูปแบบของตัวอักษรจะต้องเป็นแบบสไตล์เดียวกัน ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ที่แสดงในรูปที่ 6 13 เป็นตัวอย่างของเทคนิคการออกแบบเป็นชุด 6 3 2 การเรียงต่อเป็นภาพ ณ จุดขาย เทคนิคการออกแบบวิธีนี้ยึดหลักในการสร้างภาพ ณ จุดขายให้เป็นภาพใหญ่ อาจจะดูเป็นภาพที่ปะติดปะต่อ เช่น รูปซานตาคลอสดังรูปที่ 6 14 หรืออาจเป็นภาพกราฟฟิกขนาดใหญ่โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคในระยะทางไกลตามรายละเอียดเรื่องสรีระในการอ่านและประสาทสัมผัสของผู้ซื้อ ณ จุดขายในหัวข้อ 6 1 3 เนื่องจากโอกาสที่ตัวบรรจุภัณฑ์และรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์จะสามารถมองเห็นในระยะเกิน 10 เมตรขึ้นไปนั้นเป็นไปได้ยาก ด้วยเหตุนี้จึงต้องใช้พื้นที่บนหิ้งวางสินค้านั้นจัดเป็นภาพใหญ่เพื่อดึงดูดความสนใจ รูปที่ 6 10 ตัวอย่างของ Contour Packaging แหล่งที่มา Asian Packaging Federation Asian Packaging Bulletin iss 4 96 p 18 รูปที่ 6 11 การออกแบบกราฟฟิกให้สะดุดตา แหล่งที่มา Lung Donna Commercial Package design 1991 p 97 รูปที่ 6 12 การสอดสีในการออกแบบเพื่อให้สะดุดตา แหล่งที่มา Lung Donna Commercial Package design 1991 p 97 รูปที่ 6 13 ตัวอย่างการออกแบบเป็นชุด แหล่งที่มา Lung Donna Commercial Package design 1991 p 102 p 54 รูปที่ 6 14 ตัวอย่างการออกแบบต่อเป็นภาพ แหล่งที่มา Lung Donna Commercial Package design 1991 p 124 Lee T L Visual Design Part I Point Line Plane 1992 p 30 รูปที่ 6 15 การออกแบบบรรจุภัณฑ์ชาและอาหารทะเลอบแห้งแสดงศิลปะท้องถิ่น แหล่งที่มา Lee T L Visual Design Part I Point Line Plane 1992 p 109 รูปที่ 6 16 การออกแบบบรรจุภัณฑ์ของขวัญ เหล้าบรั่นดี แหล่งที่มา Anon Package Design Designers 1993 p 140 สิ่งพึงระวังในภาพที่ต่อขึ้นจากการเรียงบรรจุภัณฑ์นั้น จะต้องเป็นภาพที่สร้างความประทับใจหรือกระตุ้นให้เกิดความอยากได้ของกลุ่มเป้าหมายที่อาจเคยเห็นภาพดังกล่าวจากสื่ออื่นๆ เช่น บนตัวบรรจุภัณฑ์ที่เคยบริโภค หรือสื่อโฆษณาต่างๆ เป็นต้น การต่อเป็นภาพของบรรจุภัณฑ์จะต้องแน่นอน มีคุณภาพดี เพื่อว่าภาพที่ต่อขึ้นมาจะเป็นภาพที่สมบูรณ์ตามความต้องการ &bull 6 3 3 การออกแบบแสดงศิลปะท้องถิ่น เทคนิคการออกแบบวิธีนี้มีจุดมุ่งหมายอันดับแรก คือ การส่งเสริมสินค้าที่ผลิตภายในท้องถิ่นเพื่อเสนอแก่นักท่องเที่ยวให้ซื้อกลับไปเป็นของฝาก ถ้าสินค้าดังกล่าวได้รับความนิยมในวงกว้างก็สามารถนำออกขายในตลาดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรืออาจส่งขายไปยังต่างประเทศได้ ถ้าสามารถควบคุมคุณภาพการผลิตและมีวัตถุดิบมากพอ พร้อมทั้งกระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติที่สามารถวางแผนการผลิตได้ รายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สื่อความหมายเพื่อเป็นของฝากนี้ มักจะใช้สิ่งที่รู้จักกันดีในท้องถิ่นนั้น เช่น รูปจระเข้ของชาละวันของจังหวัดพิจิตร รถม้าของจังหวัดลำปาง ภูมิประเทศในท้องถิ่น เป็นต้น ในบางกรณีอาจนำวัสดุที่ผลิตได้ในท้องถิ่นมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ เพื่อความแปลกใหม่ ยกตัวอย่าง ถุงกระดาษที่บรรจุใบชาดังแสดงในรูปที่ 6 15 รายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ มักจะพบว่ามีการพิมพ์ประโยคที่ว่า ของฝากจาก เพื่อเน้นหรือกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวที่อ่านพบเกิดความต้องการที่จะซื้อเป็นของฝากไปให้ทางบ้านหรือญาติมิตร นอกเหนือจากรายละเอียดของกราฟฟิก การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อซื้อไปเป็นของฝากจำต้องพิจารณาถึงความสะดวกในการนำกลับของผู้ซื้อและความแข็งแรงของบรรจุภัณฑ์ในการนำไปมอบเป็นของขวัญ ตัวอย่างของกล่องบรรจุอาหารทะเลอบแห้งดังแสดงในรูปที่ 6 15 มีการออกแบบหูหิ้วเพื่อความสะดวกในการนำกลับ 6 3 4 การออกแบบของขวัญ เทคนิคในการออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบของขวัญค่อนข้างจะแตกต่างจากเทคนิคที่ได้กล่าวมา สาเหตุเนื่องจากผู้ซื้อสินค้าที่เป็นของขวัญไม่มีโอกาสบริโภค และหลายครั้งที่การตัดสินใจซื้อเกิดขึ้น ณ จุดขาย ด้วยเหตุนี้การออกแบบบรรจุภัณฑ์ของขวัญที่ดีจึงมีบทบาทสำคัญมากต่อความสำเร็จของการขายสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทศกาลต่างๆ ตัวอย่างของเหล้าบรั่นดีซันโตรี่ที่แสดงในรูปที่ 6 16 เป็นตัวอย่างที่ดีในการอธิบายหลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของขวัญ เป็นที่เข้าใจกันดีว่าเหล้าเป็นของขวัญที่นิยมมากสำหรับเพศชาย แต่จากรูปลักษณ์ที่เป็นหัวใจตรงกลางและสีสันที่ใช้ไม่ได้แสดงถึงรูปลักษณ์โดยปกติของเหล้า เนื่องจากออกแบบในรูปของขวัญ ผู้ซื้อกลุ่มเป้าหมายของบรรจุภัณฑ์นี้จึงเจาะไปยังกลุ่มสุภาพสตรี รายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์เน้นความสำคัญของรูปหัวใจ เน้นความมั่นใจด้วยชื่อบริษัท และย้ำความคุ้นเคยให้ซื้อด้วยรายละเอียดส่วนสุดท้ายที่ว่า FOR YOU องค์ประกอบอย่างอื่นที่สร้างความสนใจคือมีการผูกโบว์ให้เรียบร้อยเหมาะที่จะให้เป็นของขวัญ จะพบว่าการออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้นเป็นไปอย่างง่ายๆ แต่สร้างอารมณ์ให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่อยากจะซื้อเป็นของขวัญ เทคนิคต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วนี้ เป็นเทคนิคที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย นอกเหนือจากเทคนิคการออกแบบกราฟฟิกแล้ว ในฐานะนักออกแบบกราฟฟิกแล้วยังจำต้องรู้ถึงข้อมูลทางด้านเทคโนโลยีทั้งในด้านการบรรจุ และการพิมพ์ ดังต่อไปนี้ ข้อมูลของเครื่องจักรที่ใช้ในการบรรจุ เช่น การขึ้นรูป การบรรจุ การปิด การขนย้าย พร้อมวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่พัฒนาขึ้นมาใหม่หรือการเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนมากๆ ผลการทดสอบความเข้ากันได้ของผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุบรรจุภัณฑ์ควรแจ้งไปยังนักออกแบบกราฟฟิกด้วย นักออกแบบกราฟฟิกควรจะทราบถึงข้อจำกัดของโครงสร้างที่พัฒนาโดยฝ่ายผลิตเทคโนโลยี เช่น ช่องปากที่เปิดของบรรจุภัณฑ์ ความเหนียวข้นของผลิตภัณฑ์ อายุขัยของผลิตภัณฑ์อาหาร การเก็บ การขนส่ง เป็นต้น รายละเอียดเกี่ยวกับการพิมพ์ ระบบการพิมพ์ที่จะใช้กับวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่จะเลือกใช้จำนวนสีที่สามารถพิมพ์ได้ วิธีการเคลือบ ข้อจำกัดใดๆ เกี่ยวกับการพิมพ์เหล่านี้เป็นรายละเอียดที่จำเป็นมากสำหรับการออกแบบกราฟฟิก ในกรณีที่สินค้าเดียวกันบรรจุในบรรจุภัณฑ์ต่างชนิดกัน เช่น อาหารเหลวบรรจุในขวดและซอง นักออกแบบกราฟฟิกมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงข้อจำกัดของบรรจุภัณฑ์แต่ละระบบ ในการออกแบบกราฟฟิกสำหรับวัสดุบรรจุภัณฑ์ต่างประเภทกัน จะใช้เทคนิคการออกแบบที่แตกต่างกัน กุญแจสำคัญของการออกแบบให้สัมฤทธิผล คือ การสื่อสารระหว่างแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นักออกแบบกราฟฟิกสามารถใช้ความคิดริเริ่มต่างๆ สร้างสรรค์งานทางศิลปะให้สอดคล้องกับเป้าหมายในการออกแบบ บทสรุป วิทยาการทางด้านการออกแบบกราฟฟิกนับได้ว่ามีการตีพิมพ์น้อย หรือหาตำราได้ค่อนข้างลำบาก เมื่อเปรียบเทียบกับการออกแบบโครงสร้าง ตัวบรรจุภัณฑ์จะได้รับการพัฒนาโดยใช้หลักการทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น ฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ เป็นต้น พร้อมกับมีสิ่งตีพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโครงสร้างมากพอสมควร ด้วยเหตุนี้ การออกแบบกราฟฟิกดูจะล้าหลังกว่าในแง่ของการกระจายความรู้สู่สาธารณชน ในบทนี้ การออกแบบกราฟฟิกเริ่มจากสมการง่ายๆ ว่า การออกแบบประกอบด้วย คำบรรยาย สัญลักษณ์ และภาพพจน์ โดยต้องออกแบบให้ดูง่ายสบายตา มีความสวยงาม ใช้งานง่าย สะดวกด้วยต้นทุนที่เหมาะสม พร้อมย่อเป็นคำย่อได้ว่า SAFE การออกแบบกราฟฟิกมักจะใช้เป็นกลยุทธ์ทางด้านการตลาดและช่วยเสริมกิจกรรมต่างๆ ของส่วนผสมทางด้านการตลาด โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญบนบรรจุภัณฑ์ได้แก่ ชื่อสินค้า ตราสินค้า สัญลักษณ์ทางการค้า รายละเอียดของสินค้า รูปภาพ ส่วนประกอบของสินค้า ปริมาตรหรือปริมาณชื่อผู้ผลิต ผู้จำหน่าย วันผลิต และวันหมดอายุ การสร้างตราสินค้าจะมีบทบาทมากแต่มักจะได้รับการละเลย ภายใต้กระแสโลกานุวัตรการใช้ตราสินค้าที่ทันสมัยในการสื่อย่อมมีโอกาสสร้างความจำได้และพัฒนาเป็นการซื่อสัตย์ต่อตราสินค้า Brand Loyalty ได้ แทนที่จะใช้ภาษาในการสื่อซึ่งยุ่งยากมากกว่าและจำได้ยากกว่า ในช่องทางการจัดจำหน่ายสมัยใหม่ที่มีสินค้าเป็นหมื่นเป็นแสนให้เลือก ณ จุดขายบรรจุภัณฑ์มีบทบาทมีความสำคัญในการสร้างความสนใจและโน้มน้าวให้ผู้ตัดสินใจเลือกซื้อ การวิเคราะห์ความกว้างที่อาจมองเห็น ณ จุดขาย ตำแหน่งของสินค้าที่ได้รับการมองและการหยิบมากที่สุด ย่อมมีผลต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นภาพสามมิติ ให้ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การศึกษาการเคลื่อนไหวของลูกนัยน์ตาในการอ่านรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ ย่อมมีส่วนทำให้การสื่อสารของข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ส่วนสุดท้ายของการออกแบบกราฟฟิกได้แนะนำเทคนิคการออกแบบที่ได้รับความนิยมใช้โดยเริ่มจากเทคโนโลยีใหม่ของ Contour Packaging การออกแบบกราฟฟิกให้สะดุดตา การออกแบบเป็นชุด การเรียงต่อภาพ การใช้ศิลปะท้องถิ่น ท้ายที่สุดคือ ตัวอย่างของการออกแบบของขวัญเทคนิคต่างๆ เหล่านี้ สามารถประยุกต์ใช้แล้วแต่กาลเทศะที่เหมาะสม < < ย้อนกลับ การออกแบบกราฟฟิก ตอนที่2 < < กลับสู่หน้าหลัก
การออกแบบกราฟฟิก ตอนที่ 2
6 1 4 ทฤษฎีตราสินค้า Branding ในสภาพธุรกิจปัจจุบันที่เรียกว่าโลกานุวัตรนั้น ขอบเขตของช่องทางการจำหน่ายสินค้าจะไม่จำกัดอย่างสมัยก่อน โดยสามารถนำไปจำหน่ายในอีกมุมหนึ่งของโลก รวมทั้งสามารถแหวกม่านของความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรมได้ด้วยวิธีการสร้างบุคลิกที่เป็นเอกลักษณ์ Identity พร้อมกับสร้างภาพพจน์ที่สามารถจดจำได้ง่าย Recognition ให้แก่สินค้า ทฤษฎีตราสินค้า Branding เป็นวิธีการง่ายๆ มีหลักการพอสังเขป คือ การนำสินค้าที่เห็นอยู่ทั่วๆ ไป ซึ่งไม่มีความแตกต่างจากสินค้าของคู่แข่งแต่เพิ่มคุณค่าพิเศษลงไปที่สินค้า แล้วสร้างภาพพจน์ของสินค้าด้วยการตั้งชื่อ การใช้บรรจุภัณฑ์และการโฆษณาเข้าช่วยส่งเสริมภาพพจน์นั้นๆ กลยุทธ์ทางการตลาดในการสร้างตราสินค้านี้เริ่มเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว โดยสบู่ซันไลต์ จากนั้นได้รับการประยุกต์นำมาใช้กับสินค้าพื้นบ้านต่างๆ เช่น กาแฟ ชา ข้าวโอ๊ต เป็นต้น ด้วยการตั้งชื่อใหม่ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัย ทำโฆษณาทั่วทั้งประเทศ และสร้างเครือข่ายการขายทั่วทั้งประเทศด้วยระบบการจัดส่งที่ตรงต่อเวลาและแน่นอน การพัฒนาขั้นต่อมาของการใช้ตราสินค้า คือ การแยกประเภทของสินค้าและเจาะกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน เพื่อขยายตลาดให้กว้างมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ ในยุคปัจจุบันจึงสามารถพบเห็นสินค้าที่มีอรรถประโยชน์แตกต่างกัน และเจาะกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มทุกเพศทุกวัย ไม่ยกเว้นแม้กระทั่งอาหารสัตว์เลี้ยงสำหรับสุนัข แมว และปลา เป็นต้น การสร้างตราสินค้า Branding เมื่อกล่าวถึงตราสินค้า Brand จะหมายถึงสิ่งที่ผู้ซื้อจดจำได้และทำการเลือก ณ จุดขาย ทั้งที่ในอดีตกาลศัพท์คำว่า Branding มาจากการตีตราบนสัตว์ด้วยแผ่นเหล็กที่เผาร้อนจนแดงในปศุสัตว์ เพื่อเป็นการบ่งบอกว่าสัตว์นั้นเป็นของคอกใดเจ้าของใด ศัพท์คำนี้ได้รับการประยุกต์มาใช้กับบรรจุภัณฑ์ โดยหมายถึงภาพพจน์ของบรรจุภัณฑ์อุปโภคบริโภคที่บรรจุสินค้าอยู่ภายใน วิวัฒนาการของตราสินค้ามิได้มีความหมายเฉพาะตราอย่างเดียว แต่รวมถึงรูปทรงโครงสร้างและการออกแบบทั้งหมดของบรรจุภัณฑ์อุปโภคบริโภค จึงอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า Total Branding การสร้างตราสินค้าจนเป็นที่ยอมรับแก่กลุ่มเป้าหมายเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาและเงินทุนพอสมควร ยกตัวอย่างเช่น ผงซักฟอก เปา ที่พยายามสร้างตราสินค้าให้เป็นที่ยอมรับแข่งกับ แฟ้บ เมื่อสิบกว่าปีก่อน เป็นต้น ถ้าสามารถสร้างตราสินค้าจนเป็นที่ยอมรับได้แล้ว ตราสินค้าจะเป็นสินทรัพย์ที่ประเมินค่าไม่ได้ขององค์กรนั้นๆ เนื่องจากผู้ซื้อที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจะมีความซื่อสัตย์และเชื่อถือในตราสินค้านั้นๆ Brand Loyalty งานที่ยากที่สุดในการออกแบบตราสินค้า คือ การสร้างภาพพจน์ของบรรจุภัณฑ์และตัวสินค้า ตัวอย่างของผงซักฟอก เปา เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในการสร้างภาพพจน์ให้แก่สินค้า โดยการสร้างภาพพจน์ของความยุติธรรม ด้วยการหยิบเอาความนิยมของภาพยนตร์เปาบุ้นจิ้นมาเป็นอุปกรณ์ในการสร้างตราสินค้า Brand Device เพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้ซื้อว่า จะได้สินค้าที่มีคุณภาพและราคายุติธรรม ตัวอย่างของผงซักฟอก เปา แสดงให้เห็นว่าความคิดริเริ่มเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการออกแบบตราสินค้า ภาพพจน์ของบรรจุภัณฑ์ที่สร้างขึ้นจำต้องให้กลุ่มเป้าหมายจดจำได้ง่าย Recognition การออกแบบตราสินค้าจึงจำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ตราสินค้าเข้ามาช่วย นอกเหนือจากสัญลักษณ์ทางการค้า Logo ยังมีชื่อและรูปภาพด้วย ในกรณีผงซักฟอก เปา ดังกล่าวแล้วคือ รูปของท่านเปาบุ้นจิ้นและชื่อเปา ซึ่งตอนแรกใช้ชื่อเต็มว่า เปาบุ้นจิ้น และต่อมาได้ย่อสั้นลงมาเหลือแค่คำว่า เปา นอกจากนี้รูปของท่านเปาบุ้นจิ้นก็ไม่ได้ใส่ เนื่องจากผงซักฟอก เปา นี้ติดตลาดเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้ว ตราสินค้า Brand และสัญลักษณ์ทางการค้า Logo จากที่กล่าวมาแล้วจะพบว่าตราสินค้าเป็นการรวมสิ่งที่มีคุณค่า Set of Values ของตัวบรรจุภัณฑ์ไว้ในความทรงจำของกลุ่มเป้าหมาย ตราสินค้าที่ดีจะสื่อให้ทราบถึงกลุ่มบริโภคสินค้า ช่องทางการจัดจำหน่ายของสินค้าและความรู้สึกที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ สืบเนื่องจากตราสินค้ามีหน้าที่ทำให้ผู้ซื้อ กลุ่มเป้าหมายจำสินค้าได้ Recognition โดยมีสัญลักษณ์ทางการค้าเป็นส่วนหนึ่งของตราสินค้า ตามคำจำกัดความจากหนังสือ Glossary of Packaging Terms สัญลักษณ์ทางการค้า Logo คือ คำที่มาจาก Logotype เป็นสัญลักษณ์พิเศษที่ออกแบบมาโดยเฉพาะแทนตัวองค์กรเพื่อใช้ในการโฆษณาและการส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าและบริการขององค์กร กล่าวอีกนัยหนึ่ง สัญลักษณ์ทางการค้าเปรียบเสมือนลายเซ็นประจำองค์กรที่มีขนาดและลักษณะเฉพาะแบบไม่ซ้ำใคร เพื่อใช้ในกิจการทางด้านการตลาดต่างสถานที่ด้วยวิธีการแตกต่างกันให้กลุ่มเป้าหมายจำได้ว่าเป็นกิจกรรมขององค์กรนั้นๆ ตราสินค้านั้นจะใช้กับสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ในขณะที่สัญลักษณ์ทางการค้าจะเป็นเครื่องหมายตัวแทนขององค์กร เมื่อไรก็ตามที่กิจกรรมทางด้านการตลาดกำหนดว่าจะต้องมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ ตราสินค้าก็จะได้รับการออกแบบใหม่ด้วย ในขณะเดียวกันสัญลักษณ์ทางการค้าโดยส่วนใหญ่จะยังคงสภาพเหมือนเดิม อาจจะมีการเข้าใจผิดว่าสัญลักษณ์ทางการค้าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว สัญลักษณ์ทางการค้ามักจะมีการออกแบบเปลี่ยนแปลงใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพบว่าไม่ทันสมัยและไม่สามารถสร้างความประทับใจ ดังตัวอย่างของน้ำมันเชลล์ ดังที่แสดงไว้ในรูปที่ 6 2 รูปที่ 6 2 วิวัฒนาการสัญลักษณ์ทางการค้าของเชลล์ แหล่งที่มา Olius Wally Corporate Indentity Making Business Strategy Visiblethrough Design p 24 การใช้ตราสินค้าในเมืองไทยนั้น ยังนิยมใช้รูปแบบของเจ้าขอกิจการมาเป็นสัญลักษณ์ทางการค้า ซึ่งอาจจะเป็นสมัยความนิยมในอดีต แต่ในปัจจุบันนี้ถาใช้หลักทางด้านสมัยใหม่ในการออกแบบตราสินค้าแล้ว จะพบว่าสัญลักษณ์ทางการค้าดังกล่าวไม่สามารถสนองกับจุดมุ่งหมายในการออกแบบตราสินค้าได้ดีนัก เนื่องจากการสร้างภาพพจน์และการจำได้เป็นไปได้ยาก ยกเว้นว่ารูปเจ้าของกิจการที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ทางการค้านั้นเป็นที่เป็นรู้จักของคนทั่วประเทศหรือทั่วโลกที่ต้องการสินค้านั้นไปจำหน่าย รูปที่ 6 3 แสดงความรู้สึกของผู้บริโภคที่มีต่อตราสินค้าต่างๆ โดยแยกตามความสบายใจ การจดจำได้ง่าย ความไว้วางใจ และความประทับใจซึ่งเป็นการสื่อภาพพจน์ขององค์กรโดยการวางตำแหน่ง Positioning ของตราสินค้า รูปที่ 6 3 แสดงความรู้สึกของผู้บริโภคที่มีต่อตราสินค้า แหล่งที่มา Lee T L Visual Design Part I Point Line Plane 1992 p 50 6 1 5 วิเคราะห์ขั้นตอนการตัดสินใจเลือกซื้อ ในตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มเป้าหมายที่จับจ่ายซื้อสินค้ามีเหตุจูงใจที่แตกต่างกัน การออกแบบบรรจุภัณฑ์ทางด้านกราฟฟิกต้องพยายามสนองตอบต่อสิ่งจูงใจของกลุ่มเป้าหมายที่จะให้เลือกสินค้า เช่น กลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยว เป็นต้น กลุ่มเป้าหมายที่จะให้เลือกสินค้าอุปโภคบริโภคแตกต่างกัน ซึ่งอาจแยกได้เป็นดังนี้ 1 ซื้อน้อยแบบดาวกระจาย กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้มักจะเป็นคนโสด ครอบครัวขนาดเล็กและหนุ่มสาววัยรุ่นที่มีกำลังซื้อไม่มากนัก ซื้อสินค้าปริมาณน้อยชิ้น แต่อาจซื้อหลายประเภทขึ้นอยู่กับกำลังการซื้อ การออกแบบสำหรับกลุ่มเป้าหมายนี้จะต้องคำนึงถึงปริมาณต่อบรรจุภัณฑ์ที่น้อยมีความสะดวกในการใช้และเก็บหลังการใช้ 2 ซื้อมากแบบดาวเต็มฟ้า กลุ่มเป้าหมายนี้อาจจะกว้างกว่าหรือมีมากกว่ากลุ่มเป้าหมายแบบแรก การออกแบบเพื่อการจับกลุ่มเป้าหมายนี้ให้ชัดเจนจึงค่อนข้างลำบากมากกว่า การออกแบบที่มุ่งให้ความสำคัญต่อสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือจุดขายเป็นหลักในการออกแบบพร้อมทั้งพิจารณาสภาวะคู่แข่งขัน ยกตัวอย่างเช่น อาหารขบเคี้ยวสำหรับผู้ชาย จะต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สร้างความเป็นชายบนบรรจุภัณฑ์ และพยายามฉีกแนวจากคู่แข่งขัน 3 ซื้อแบบดาวดวงเด่น เป็นการซื้อแบบเฉพาะเจาะจง เช่น การซื้อเครื่องดื่มชูกำลัง กลุ่มเป้าหมายจะสามารถกำหนดได้อย่างเด่นชัด การออกแบบจะเน้นอรรถประโยชน์และภาพพจน์ของสินค้าเป็นเกณฑ์ เหตุจูงใจในการซื้อสินค้าเหล่านี้เป็นการซื้อเพราะความนิยมและความเชื่อถือ 4 ซื้อแบบดาวหาง การซื้อแบบไม่ได้ตั้งใจ กล่าวคือ เกิดความอยากได้อย่างฉับพลัน เมื่อเห็นสินค้า บรรจุภัณฑ์สำหรับนักท่องเที่ยวนับได้ว่าเป็นการซื้อแบบดาวหาง การออกแบบจะเน้นสถานที่ผลิต ตราสินค้า ส่วนประกอบทางโภชนาของสินค้า เป็นต้น ส่วนรูปแบบกราฟฟิกจะสะดุดตาและสะดวกในการนำพา &bull 6 1 6 สรีระในการอ่านและประสาทสัมผัส ส่วนประกอบต่างๆ ที่ออกแบบบรรจุภัณฑ์จะได้รับการอ่านโดยทางประสาทตา ประสาทความรู้สึกของคนจะอ่านข้อมูลเปรียบเทียบกับประสบการณ์เดิมที่มี เช่น ยี่ห้อ สีสันในการออกแบบ หรืออาจมีการเปรียบเทียบกับข้อมูลของบรรจุภัณฑ์คู่แข่งที่อยู่ใกล้ๆ แล้วทำการวิเคราะห์ ขบวนการตัดสินใจดังกล่าวนี้จะกระทำอย่างเร็วมากโดยใช้เวลาไม่กี่วินาที ขั้นตอนการตัดสินใจซื้อแสดงได้ดังรูปที่ 6 4 รูปที่ 6 4 ขั้นตอนการตัดสินใจซื้อ ภายใต้สภาวะการจัดจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ต ขั้นตอนของความสนใจในบรรจุภัณฑ์ใดๆ ที่วางอยู่บนหิ้งมักจะเกิดในระยะประมาณ 3 เมตรขึ้นไปหรือในระยะที่คนผ่านหิ้งชั้น การออกแบบให้เกิดความสนใจในระยะนี้ มักจะเกิดจากรูปทรงและส่วนประกอบโดยรวมของบรรจุภัณฑ์ เช่น ตราสินค้า เป็นต้น บ่อยครั้งที่เกิดจากโฆษณาหรือมีความทรงจำที่ดีมาก่อน ในบางครั้งอาจเกิดจากป้ายโฆษณา ณ จุดขาย ราคาที่ลดพิเศษหรือมีการส่งเสริมการขาย เป็นต้น ขั้นตอนความประทับใจในบรรจุภัณฑ์จะเกิดในระยะไม่เกิน 3 เมตรซึ่งเป็นระยะที่กลุ่มเป้าหมายเริ่มอ่านได้ว่าสินค้าเป็นอะไร ผู้ผลิตเป็นใคร ในช่วงระยะไม่เกิน 3 เมตรที่กลุ่มเป้าหมายเริ่มอ่านรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ได้ ส่วนประกอบในการออกแบบที่สำคัญ คือ ต้องทราบถึงจุดเด่นของสินค้า ที่เรียกว่า Unique Selling Point ซึ่งบรรจุภัณฑ์พยายามจะอวดและเชิญชวนให้ติดตามรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ด้วยการหยิบขึ้นมาพิจารณาและเปรียบเทียบ ขั้นตอนที่เหลือ คือ การเปรียบเทียบหารายละเอียดเพื่อความมั่นใจ การตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อนั้นมักจะเกิดในระยะไม่เกิน 1 เมตร ตามรูปที่ 6 5 ระยะนี้เกิดขึ้นที่ระยะประมาณ 20 เซนติเมตร คือ ในระยะที่กลุ่มเป้าหมายจะหยิบบรรจุภัณฑ์ขึ้นมาศึกษาเปรียบเทียบและตัดสินใจ รูปที่ 6 5 ความกว้างที่มองเห็นในแต่ละระยะจากหิ้ง แหล่งที่มา Lee T L Visual Design Part I Point Line Plane 1992 p 24 1 สรีระการอ่าน ณ จุดขาย ภายในซุปเปอร์มาร์เก็ต หิ้งชั้นที่วางสินค้ามีอยู่หลายส่วนหลายประเภท สินค้าในแต่ละส่วนจะถูกจัดวางเรียงเป็นชั้นๆ จากการศึกษาสรีระการอ่านของคนจะพบว่า โดยเฉลี่ยการอ่านรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ที่อยู่บนหิ้งจะอยู่ที่ระยะห่างไม่เกิน 1 เมตรหรือประมาณ 90 เซนติเมตร จากหิ้งชั้นที่วางแสดงสินค้า ณ ระยะห่างประมาณ 90 เซนติเมตรนี้ สายตาที่กวาดอ่านไปตามแนวราบหรือแนวของหิ้งชั้นจะอยู่ในระยะประมาณ 130 เซนติเมตรดังแสดงในรูปที่ 6 5 ซึ่งจากการศึกษาการอ่านในแนวดิ่ง จะพบว่า ระดับความสูงที่สายตาจะให้ความสนใจมากที่สุดจะอยู่ที่ระดับความสูงจากพื้นประมาณ 110 เซนติเมตรดังแสดงในรูปที่ 6 6 หิ้งชั้นที่อยู่สูงจากพื้นตั้งแต่ระดับ 60 เซนติเมตรถึง 125 เซนติเมตรจะเป็นหิ้งชั้นที่ได้รับความสนใจมากกว่าหิ้งชั้นที่อยู่ในระดับความสูงอื่นๆ การศึกษายังได้ศึกษาถึงโอกาสที่สินค้าจะถูกหยิบจากชั้นที่มีความสูงต่างๆ กัน ผลปรากฏว่าสินค้าที่วางอยู่ในระดับที่ความสูงที่ 93 100 เซนติเมตรจากพื้นจะมีโอกาสได้รับการหยิบมากที่สุด เนื่องจากเป็นชั้นที่สะดวกต่อการหยิบมากที่สุดซึ่งให้คะแนนเต็ม 100 หิ้งชั้นที่มีโอกาสได้รับการหยิบรองลงมา คือ หิ้งชั้นที่มีความสูงจากพื้น 120 145 เซนติเมตร นับเป็นคะแนนได้ 85 คะแนน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ระดับความสูงนี้เป็นระดับที่สินค้าจะได้รับการมองเห็นมากที่สุด สำหรับความสูงอื่นๆ ที่ลดหลั่นกันไปตามที่แสดงคะแนนไว้ในรูปที่ 6 7 กล่าวโดยสรุปได้ว่าเมื่อเทียบความสูงของหิ้งชั้นจากความสูงของไหล่ หิ้งชั้นที่ห่างจากไหล่ทางด้านล่างจะมีโอกาสได้รับการหยิบมากกว่าหิ้งชั้นที่อยู่ในระดับความสูงกว่าไหล่ รูปที่ 6 6 ผลการศึกษาการอ่านตามแนวดิ่งของหิ้งชั้น รูปที่ 6 7 ผลการศึกษาโอกาสการถูกหยิบและขายได้ของสินค้า ณ ความสูงที่แตกต่างกันของหิ้งชั้น แหล่งที่มา Lee T L Visual Design Part I Point Line Plane 1992 p 26 จากขั้นตอนและระยะทางที่เกี่ยวข้องดังกล่าวนี้ เป็นหน้าที่หลักของผู้ออกแบบบรรจุภัณฑ์จำต้องออกแบบส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ดังที่กล่าวมา เช่น ชื่อ ตราสินค้า เป็นต้น ไว้ที่ด้านใดด้านหนึ่งทั้ง 6 ด้านของบรรจุภัณฑ์เพื่อดึงดูดวามสนใจของผู้ซื้อ นอกจากนั้นการจัดสรรเลือกตำแหน่งของส่วนประกอบการออกแบบบรรจุภัณฑ์เรียงตามลำดับก่อนหลังว่าจะไว้ที่ไหนบนบรรจุภัณฑ์แต่ละด้านนั้นจะต้องเข้าใจถึงสรีระการอ่านของสายตาเมื่อเพ่งมองสิ่งของใดๆ ในระยะไม่เกิน 1 เมตร 2 สรีระในการอ่านบรรจุภัณฑ์ จากการทดลองโดยใช้อุปกรณ์วัดการเคลื่อนไหวของสายตาคนพบว่า คนส่วนใหญ่มีการเคลื่อนไหวของลูกนัยน์ตาในการอ่านคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ 1 เมื่อสายตาเริ่มเพ่งจากจุดเริ่มต้นจุดใดจุดหนึ่งเหมือนๆ กัน สายตาจะเริ่มอ่านจากทางซ้ายมือขึ้นสู่ข้างบน 2 การกวาดสายตาจะเริ่มกวาดจากด้านซ้ายไปยังด้านขวาในแนวทางตามเข็มนาฬิกา 3 สายตาจะเจาะหาจุดสิ้นสุดในการอ่านซึ่งมักจะเป็นขวามือข้างล่าง การค้นพบสรีระการอ่านดังกล่าวแล้วนี้ จะพบว่าตำแหน่งของบรรจุภัณฑ์ทางซ้ายมือจะได้รับการอ่านก่อนทางขวามือ ในขณะเดียวกันตำแหน่งทางส่วนบนของบรรจุภัณฑ์จะได้เปรียบกว่าส่วนล่างของบรรจุภัณฑ์ ดังนั้นในการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากข้อมูลที่ได้รับ เช่น กลยุทธ์ทางการตลาด สภาวะคู่แข่ง และปัจจัยอื่นๆ ผู้ออกแบบจะสามารถจัดเรียงส่วนประกอบต่างๆ ของการออกแบบให้สอดคล้องกับเป้าหมายในการออกแบบกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ในรูปที่ 6 8 แสดงถึงการเคลื่อนไหวของสายตาในการอ่าน โดยมีสรีระในการอ่านดังนี้ ถ้าแบ่งพื้นที่บนบรรจุภัณฑ์ออกเป็น 5 จุด ตำแหน่งที่ดีที่สุดจากสายตาของผู้ซื้อมักจะหาจากส่วนประกอบของการออกแบบจะเริ่มจากจุดที่ 1 คือ ส่วนซ้ายมือด้านบน แล้วค่อยเคลื่อนมาจากจุดที่ 2 คือ ส่วนซ้ายด้านบน บนจุดที่ 1 ตำแหน่งสำคัญ คือ จุดที่ 3 ส่วนขวาด้านบน ถ้าผู้บริโภคยังมีความสนใจอ่านต่อ สายตาจะเบนไปสู่จุดที่ 4 คือ ส่วนซ้ายด้านล่างซึ่งเป็นจุดที่แสวงหาสิ่งที่ต้องการ Point of Pleasure และจบลงที่มีความสำคัญน้อยที่สุด คือ จุดที่ 5 ส่วนขวามือด้านล่าง ตัวอย่างการออกแบบแสดงไว้ในรูปหน้า 196 โดยเริ่มจากส่วนประกอบอาหารจากธรรมชาติ 1 แล้วมาที่ชื่อสินค้า รายละเอียดสินค้า และจบลงด้วยวิธีการปรุงและน้ำหนักที่บรรจุ จุดสำคัญที่จะดึงให้กลุ่มเป้าหมายอ่านได้ครบวงจรก่อนจะละสายตาไปที่อื่น คือ เมื่อสรีระการอ่านจากจุดที่ 1 มาถึงจุดที่ 3 จะพบว่าไม่มีอะไรน่าสนใจนัก สายตาจะกวาดออกนอกบรรจุภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้จุดที่ 4 จึงเป็นจุดสำคัญที่จะดึงความสนใจของคนอ่านให้มีโอกาสอ่านข้อมูลได้ครบบริบูรณ์จนถึงจุดที่ 5 ในกรณีที่มีข้อมูลมาพอที่จะสื่อให้ผู้ซื้อเกิดความสนใจและสามารถตัดสินใจซื้อได้ รูปที่ 6 8 การเคลื่อนไหวของสายตาในการอ่าน แหล่งที่มา Teng L S Package Design Package Design in Current Consumer Goods 1987 p 104 < < ย้อนกลับการออกแบบกราฟฟิก ตอนที่1อ่านต่อการออกแบบกราฟฟิก ตอนที่3 > > < < กลับสู่หน้าหลัก
บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่ 1
บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ในสังคมปัจจุบัน ผู้อุปโภคบริโภคให้ความสนใจต่อบรรจุภัณฑ์มากเป็นทวีคูณ ผู้บริโภคนอกจากจะมีความต้องการความสวยงามภายนอกของตัวบรรจุภัณฑ์แล้ว ยังต้องการบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การออกแบบบรรจุภัณฑ์จำต้องพิจารณาถึงความสามารถในการลดปริมาณบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วในขยะ ความต้องการดังกล่าวนี้ได้ก่อให้เกิดกระแสทางสังคมในประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่งผลให้สินค้าที่ส่งไปจัดจำหน่ายประเทศเหล่านี้จำต้องสอดคล้องกับกฎข้อบังคับทางด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศนั้นๆ ด้วย มีการเปรียบเทียบบทบาทของบรรจุภัณฑ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เม็กซิโก ในฐานะประเทศที่กำลังพัฒนา จะพบว่าปริมาณขยะโดยเฉลี่ยของชาวเม็กซิโกมีมากกว่าชาวอเมริกันถึงร้อยละ 40 เนื่องจากชาวเม็กซิโกใช้ปริมาณบรรจุภัณฑ์น้อยกว่า ส่งผลให้มีปริมาณขยะและอาหารเน่าเสียมากกว่า ในขณะเดียวกัน การศึกษาในยุโรปพบว่าปริมาณของซากบรรจุภัณฑ์ที่พบในขยะทิ้งตามบ้านมีปริมาณลดลงในระหว่างปี ค ศ 1971 1981 โดยมีประมาณร้อยละ 32 ใน ค ศ 1971 ลดลงมาประมาณร้อยละ 25 2 ในปี ค ศ 1978 และลดลงร้อยละ 22 4 ในปี ค ศ 1981 จากรายงานดังกล่าวนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าบรรจุภัณฑ์มีส่วนในการลดปริมาณขยะและซากบรรจุภัณฑ์ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วมีแนวโน้มที่จะลดลงเรื่อยๆ 7 1 บรรจุภัณฑ์กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความหมายของสิ่งแวดล้อมในที่นี้ครอบคลุมถึงผลกระทบที่เกิดจากวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อโลกที่เราอยู่ ดังประโยคที่ว่า We Just Have One Earth รวมกระทั่งถึงผลกระทบที่มีต่อมนุษยชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งหมด อันได้แก่ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งน้ำ พลังงาน อากาศและบรรยากาศที่อยู่เหนือโลก ในอดีต วงการอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไม่ค่อยคำนึงถึงการกำจัดบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว แต่เน้นด้านต้นทุนมากกว่า ดังนั้นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในสมัยก่อนจึงมุ่งสู่การป้องกันรักษาคุณภาพและทำหน้าที่ส่งเสริมการจำหน่ายและการตลาด แต่ด้วยแรงกดดันจากกระแสสังคมที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การออกแบบบรรจุภัณฑ์สมัยนี้จึงต้องคำนึงถึงความสะดวกในการกำจัดซากบรรจุภัณฑ์และการรักษาปริมาณทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในโลกนี้ด้วย พัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ทรัพยากรธรรมชาติในโลกที่มีอยู่นี้มีปริมาณจำกัด มนุษย์เราได้ใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างไม่บันยะบันยังซึ่งนำไปสู่วิกฤติการณ์ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการรณรงค์ให้นำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ Renewable ตัวอย่างเช่น การนำเอากล่องกระดาษแข็งนำกลับมาใช้ใหม่ในประเทศเยอรมัน ผู้บริโภคจะนำเฉพาะบรรจุภัณฑ์ชั้นใน เช่น ขวดที่บรรจุสินค้ากลับบ้าน ส่วนตัวกล่องชั้นนอกจะให้ผู้ขายนำกลับไปใช้ใหม่ โครงการนำกลับมาใช้ซึ่งค่อนข้างใหม่นี้ย่อมช่วยกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติไม่ให้หมดไปในระยะเวลาอันใกล้ 7 1 1 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหมายถึง การเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ปัจจุบันสร้างเป็นสิ่งแวดล้อมใหม่ขึ้นมา และสภาพสิ่งแวดล้อมใหม่ที่สร้างขึ้นอาจก่อผลด้านบวกหรือด้านลบต่อสภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ได้ บรรจุภัณฑ์ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรงได้แก่ การทำให้ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอลง นอกจากวัตถุดิบต่างๆ ที่ใช้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ เช่น น้ำมัน โลหะ และทราย อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ยังเป็นแหล่งใช้พลังงานต่างๆ รวมทั้งใช้อากาศและน้ำในกระบวนการผลิตและแปรรูป สารบางประเภทที่ใช้ เช่น CFC Chlorofluorocarbons ยังทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศแต่ผลกระทบที่ได้รับการเพ่งเล็งมากที่สุด คือ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วที่ก่อให้เกิดขยะตามถนนหนทาง 1 พลังงานที่ใช้ในการผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ ปริมาณของพลังงานที่ใช้ในการผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ นอกจากจะแปรผันตามวิวัฒนาการทาเทคโนโลยีของกระบวนการผลิตวัสดุแต่ละประเภทแล้ว ยังแปรผันตามประเภทของพลังงานที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่ออกแบบด้วย จากตารางที่ 7 1 จะพบว่าการผลิตอะลูมิเนียมจะใช้พลังงานมากกว่าวัสดุบรรจุภัณฑ์อื่นๆ เป็นเท่าตัว แต่ถ้านำอะลูมิเนียมที่ใช้แล้วมาหลอมละลายใหม่จะใช้พลังงานเพียงร้อยละ 10 ของพลังงานที่ใช้ในการผลิตวัสดุใหม่ Virgin Material ส่วนกระดาษนั้นจะใช้พลังงานน้ำค่อนข้างจะมาก พิจารณาจากประเภทของพลังงานที่ใช้ แหล่งพลังงานหลักที่ใช้ คือ กระแสไฟฟ้าและน้ำมัน อะลูมิเนียมใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ในการหลอมละลายแร่บอกไซด์ Bauxite แต่ใช้น้ำมันมากในการแปรรูปเป็นกระป๋อง แม้ว่าน้ำหนักของกระป๋องอะลูมิเนียมเมื่อเทียบกับกระป๋องโลหะขนาดเดียวกันจะมีน้ำหนักเพียงครึ่งเดียวของกระป๋องโลหะ แต่พลังงานที่ใช้กลับมากกว่าเป็นเท่าตัว ส่วนกระดาษและพลาสติกนั้นจะใช้พลังงานจากน้ำมันมากกว่าจากกระแสไฟฟ้าประมาณ 6 เท่าตัว รายละเอียดของประเภทพลังงานที่ใช้ทั้งหมดเริ่มจากแหล่งแร่รวมทั้งการขนส่งของบรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ แสดงไว้ในตารางที่ 7 2 ซึ่งถ้าพิจารณาในแง่มุมของปริมาณและประเภทของพลังงานที่ใช้ แก้วจะใช้พลังงานน้อยที่สุด เนื่องจากการผลิตอย่างต่อเนื่องภายในโรงงานเดียวไม่มีค่าขนส่งเข้ามาเกี่ยวข้อง ตารางที่ 7 1 ปริมาณพลังงานที่ใช้ในการผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ วัสดุ ปริมาณพลังงาน MJ กิโลกรัม ปริมาณอากาศ 1000 ลูกบาศก์เมตรต่อกิโลกรัม ปริมาณน้ำ ลูกบาศก์เมตรต่อกิโลกรัม แก้ว นำกลับมาผลิตใหม่ 56 2 นำกลับมาผลิตใหม่ 100 กระดาษ กระดาษแข็ง กระดาษลูกฟูก อะลูมิเนียม ใช้แหล่งพลังงานน้ำ ไฟฟ้า ไม่มีการนำกลับมาผลิตใหม่ มีการนำกลับมาผลิตใหม่ 100 พลาสติก LDPE PP PET PVC PS 7 5 5 9 33 1 16 3 126 1 12 6 47 4 50 0 69 5 42 5 56 2 293 0 165 4 381 4 186 1 2611 0 300 7 231 2 331 5 692 4 669 0 675 9 1 3 1 1 948 3 136 9 638 6 1 9 107 3 122 2 119 7 307 2 60 2 แหล่งข้อมูล BUWAL Switzerland 1990 ตารางที่ 7 2 ประเภทของพลังงานที่ใช้ในการผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ 1 ตัน หน่วย 106 Joules หรือ MJ วัสดุบรรจุภัณฑ์ ไฟฟ้า น้ำมัน พลังงานอื่นๆ แก้ว 1304 8471 5919 กระป๋องโลหะ 3 ชิ้น 450 ซี ซี 10531 16802 28993 กระป๋องอะลูมิเนียม 450 ซี ซี 79625 76829 57276 กระดาษแข็ง 9350 25630 16630 ขวด LDPE 50000 ขวด 6720 36820 ขวด HDPE 50000 ขวด 6890 37910 ขวด PP 50000 ขวด 3340 40390 ขวด PET 50000 ขวด 18660 แหล่งที่มา Boustead Hancock Energy and Packaging 2 ขยะ บรรจุภัณฑ์มักจะถูกประณามว่าเป็นบ่อเป็นบ่อเกิดของปริมาณขยะที่ทิ้งตามบ้านและทำให้เกิดปัญหาในการกำจัด สืบเนื่องจากการหาที่ดินในการฝังกลบขยะนั้นยากขึ้น ในขณะเดียวกันการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการกำจัดขยะต้องใช้การลงทุนที่สูง ในสภาพความเป็นจริง ปริมาณของซากบรรจุภัณฑ์ในขยะนั้นมีประมาณเศษหนึ่งส่วนสามโดยน้ำหนัก ประเทศที่พัฒนาแล้วปริมาณซากบรรจุภัณฑ์ในขยะมีปริมาณโดยน้ำหนักลดน้อยลง เนื่องจากวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีของการผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ การรณรงค์ลดปริมาณของซากบรรจุภัณฑ์ในขยะนั้น ควรเริ่มต้นจากการลดปริมาณของบรรจุภัณฑ์ที่ทิ้งในขยะ ด้วยการนำส่งบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วนั้นกลับมาใช้ใหม่ Reuse แล้วจึงคิดวิธีนำกลับมาผลิตใหม่ Recycling ท้ายที่สุดจึงค่อยคำนึงถึงการนำมาเผาผลาญเอาพลังงานมาใช้เป็นประโยชน์ ผลกระทบของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการใช้พลังงานและก่อให้เกิดขยะแล้ว กระบวนการผลิตต่างๆ ยังมีส่วนทำให้เกิดมลภาวะทางด้านน้ำเสียและอากาศเป็นพิษ ซึ่งทางหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องได้ทำการควบคุมอย่างใกล้ชิด การผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์แต่ละประเภทมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยแปรผันตามประเภทของวัสดุ เช่น การผลิตกระดาษจะมีน้ำเสียที่มีส่วนผสมของสารอินทรีย์อยู่มาก ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณ BOD Biochemical Oxygen Demand ในน้ำเสียก่อนระบายน้ำทิ้ง ส่วนพลาสติกจะปล่อยควันและไอที่มีสารอนินทรีย์ออกสู่อากาศซึ่งมีปัญหามากกว่าการปล่อยน้ำเสียจากการผลิตกระดาษ นอกจากนี้ ในการแปรรูปและงานพิมพ์ยังมีการใช้สารเคมีที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ตัวทำละลาย Solvent ที่มีอยู่ในหมึกพิมพ์และกาว ซึ่งควรจะมีการรณรงค์ให้ใช้หมึกและกาวฐานน้ำ Water Based แทนที่ฐานตัวทำละลาย Solvent Based 3 การทำลายชั้นโอโซน ประมาณกลางปี พ ศ 2523 นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบรูรั่วเหนือทวีปแอนตาร์กติกที่เกิดจาการทำลายของสาร CFC Chlorofluorocarbon หลังจากนั้นอีก 16 ปีได้มีการตกลงระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วให้ยุติการผลิตสาร CFC สารนี้ที่มีใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เป็นสารขับดัน Propellant ในกระป๋องสเปรย์นั้น ทางสหรัฐอเมริกาได้มีกฎห้ามใช้ตั้งแต่ปี พ ศ 2521 นอกจากกระป๋องสเปรย์ สาร CFC ยังใช้เป็นสารพองตัวในการผลิตโฟม และทางสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎยกเลิกการใช้เมื่อปี พ ศ 2533 ทำให้ถาดโฟมที่ใช้ในภัตตาคารประเภทอาหารจานด่วน Fast Food ได้ถูกแทนที่ด้วยถาดกระดาษภายในระยะเวลาอันสั้น ผลกระทบหลักที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ทั้ง 3 ประเภทดังกล่าว ก่อให้เกิดกระแสรณรงค์รักษ์สิ่งแวดล้อม มีผลทำให้วงการอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ทั่วทั้งโลกต้องปรับกระบวนการผลิตและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อย่างรีบเร่ง รูปที่ 7 1 วงจรของบรรจุภัณฑ์จากผู้ผลิตไปยังแหล่งกำจัดซากบรรจุภัณฑ์ แหล่งที่มา Darnay A and Franklin W E The Role of Packaging in Solid Waste Management 1996 to 1976 7 1 2 วงจรบรรจุภัณฑ์และการกำจัดซากบรรจุภัณฑ์ วงจรบรรจุภัณฑ์เริ่มต้นจากผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ที่มักจะมีแผนกกำจัดของเสียที่เกิดจากสายงานการผลิตภายในโรงงาน เมื่อนำของเสียเหล่านี้กลับมาใช้งานใหม่หรือจำหน่ายแบบตกเกรดหรือแบบไม่ได้มาตรฐาน ส่วนบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปเสร็จสมบูรณ์แล้วจะนำไปยังโรงงานที่บรรจุอาหาร ในการส่งมอบบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ อาจมีบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตแล้วไม่ได้ตามข้อกำหนดที่ได้ตกลงไว้ Specification และถูกตีกลับคืนไปยังร้านค้าที่สั่งซื้อมาหรือส่งคืนกลับไปยังโรงงานโดยเพื่อผลิตใหม่ ในกรณีที่บรรจุภัณฑ์ผ่านการยอมรับในการส่งมอบแล้วนำไปใช้งาน กระบวนการบรรจุย่อมมีโอกาสเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ เช่น บรรจุไม่ได้น้ำหนักหรือปริมาตรที่กำหนด หรือปิดฉลากไม่ถูกต้อง เป็นต้น บรรจุภัณฑ์ที่เสียหายจากการบรรจุนี้อาจนำกลับไปใช้งานใหม่หรือกำจัดทิ้งภายในโรงงาน ส่วนบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุได้เรียบร้อยสมบูรณ์จะถูกส่งไปจัดจำหน่ายผ่านผู้ขาย เมื่อผลิตภัณฑ์อาหารได้รับการบริโภคแล้วตัวบรรจุภัณฑ์จะถูกทิ้งไป การลดความเสียหายของบรรจุภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในรูปที่ 7 1 จะแปรผันตามประสิทธิภาพในการผลิตและการสื่อสารระหว่างผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์และผู้บรรจุ ผู้ใช้บรรจุภัณฑ์ เพื่อการยอมรับตัวบรรจุภัณฑ์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 3 หัวข้อ ข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ และหัวข้อ Acceptable Quality Level ส่วนความเสียหายที่อาจเกิดจากสายงานการบรรจุขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาเครื่องจักร การจัดการโรงงานโดยพยายามที่จะลดความเสียหายให้น้อยที่สุดเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการบรรจุและการใช้บรรจุภัณฑ์ เมื่ออาหารได้รับการบริโภคและบรรจุภัณฑ์ถูกทิ้งไปในรูปที่ 7 1 แสดงให้เห็นว่าก่อนที่บรรจุภัณฑ์จะถูกกำจัดทิ้ง จะสามารถเคลื่อนย้ายได้หลายวงจรหลังจากถูกใช้งานแล้ว ความยากลำบากในการนำซากบรรจุภัณฑ์ไปกำจัดทิ้งจะแปรตามปริมาตรและประเภทของบรรจุภัณฑ์ ปริมาตรดังกล่าวนี้แปรผันตามองค์ประกอบต่างๆ ของตัวบรรจุภัณฑ์ เช่น รูปทรง ขนาด น้ำหนัก และโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดซากแต่ละประเภทย่อมแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น กล่องนมหรือกระป๋อง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยของระยะทางที่จะนำไปกำจัดซากหรือนำกลับไปผลิตใหม่ ใช้ใหม่ การกำจัดด้วยการนำมาทำลายหรือการนำกลับมาใช้ใหม่หรือผลิตใหม่ มีองค์ประกอบที่ต้องพิจารณาดังนี้ 1 การลดการทิ้งบรรจุภัณฑ์หลังบริโภค บรรจุภัณฑ์เมื่อได้รับการตัดสินใจซื้อและบริโภคอาหารที่อยู่ข้างในจนหมดนั้น อาจจะใช้เวลาเป็นแรมเดือนหรือแรมปีกว่าจะบริโภคหมดแล้วโยนทิ้ง และมีหลายครั้งที่บรรจุภัณฑ์เปล่าเหล่านี้แทนที่จะถูกทิ้งทันทีกลับถูกนำไปใช้ใหม่ เช่น ขวดกาแฟนำไปใส่น้ำตาล ถังนำไปใช้เป็นถังน้ำ เป็นต้น การนำบรรจุภัณฑ์เปล่านี้ไปใช้ใหม่มีจำนวนไม่มากนักและใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นเวลาไม่ช้าหรือเร็วก็จะมีการรวบรวมขายให้กับคนรับรองซื้อของเก่าซาเล้งเข้าสู่วงจรของบรรจุภัณฑ์ต่อไป น้ำอัดลมในสมัยเก่าเมื่อมีการนำกลับไปบริโภคหรือซื้อขาดจะมีค่าวางมัดจำ ระบบการวางมัดจำนี้ได้นำกลับมาใช้ใหม่ในประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นขวดหรือกล่อง ระบบวางมัดจำนี้ส่งผลให้บรรจุภัณฑ์เปล่าที่บริโภคอาหารแล้วสามารถนำเก็บกลับไปบรรจุใหม่ Refill หรือนำกลับมาผลิตใหม่ด้วยต้นทุนที่ต่ำและเก็บกลับได้ด้วยปริมาณเพียงพอที่คุ้มต่อการกำจัดทิ้งหรือใช้ใหม่ ความพยายามในการเก็บข้อมูลของขยะที่ทิ้งไม่เป็นที่เป็นทางนั้น มีการศึกษาหนึ่งที่ได้รับการอ้างถึงอยู่เสมอ คือ การศึกษาประเภทของขยะที่ถูกทิ้งบนทางด่วน Highway ในรัฐแคนซัส Kansas ประเทศสหรัฐอเมริกา ดังแสดงในตารางที่ 7 3 การศึกษาพบว่าเพียงระยะทาง 1 ไมล์ของถนนที่ขับไปกลับด้านละ 2 ช่องทางบนทางด่วน Two Lane Highway นั้น 88 ของขยะที่พบสองข้างถนนจะเป็นบรรจุภัณฑ์ ซึ่งบรรจุภัณฑ์ที่พบมากที่สุดคือ ถ้วยกระดาษมีจำนวนมากถึง 770 ใบ จากการศึกษานี้พอจะสรุปได้ว่าวิธีการที่จะลดขยะตามท้องถนนควรแก้ไขที่ผู้บริโภคมากกว่าที่จะโทษบรรจุภัณฑ์เพียงฝ่ายเดียว ตารางที่ 7 3 การสำรวจปริมาณขยะบนทางด่วนระยะทาง 1 ไมล์ในรัฐแคนซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน ประเภท จำนวน ประเภท 770 ถ้วยกระดาษ 20 แผนที่ 730 กล่องบุหรี่เปล่า 16 กระป๋องกาแฟเปล่า 590 กระป๋องเบียร์ 10 เสื้อผ้า 130 ขวดน้ำอัดลม 10 ยางรถยนต์เก่า 120 ขวดเบียร์ 11 ถุงพลาสติก 110 ขวดเหล้า 4 รองเท้า ไม่เป็นคู่ 90 กล่องเบียร์เปล่า 4 ชิ้นส่วนรถยนต์ 90 กระป๋องน้ำมัน 2 เสื้อชั้นในผู้ชาย 50 ถุงใส่อาหาร 2 หนังสือการ์ตูน 30 กล่องกระดาษแข็ง 2 สปริง 26 วารสาร 270 ขยะอื่นๆ แหล่งที่มา Darnay A and Franklin W E The Role of Packaging in Solid Waste Management 1966 to 1976 2 การเก็บบรรจุภัณฑ์กลับ Collectability องค์ประกอบสำคัญของความสามารถที่จะนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วรวบรวมนำกลับมาใช้ใหม่มี 2 ประการคือ ความหนาแน่นและความสามารถในการกดอัดให้แบนของตัวบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ใช้แล้วที่มีปริมาตรน้อยย่อมเก็บกลับได้ง่ายกว่าบรรจุภัณฑ์ที่มีปริมาตรมาก ปริมาตรความจุของรถเก็บขยะหรือรถซาเล้งซื้อของเก่าคือข้อจำกัดในการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วและทำให้ค่าใช้จ่ายในเก็บกลับสูงขึ้น ในกรณีที่บรรจุภัณฑ์มีปริมาตรเท่ากัน แต่ผลิตจากวัสดุด้วยรูปทรงที่สามารถกดอัดทับให้แบนได้ง่ายย่อมมีโอกาสได้รับการเก็บกลับมากกว่า ประเภทของวัสดุที่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์เป็นอีกองค์ประกอบที่ต้องพิจารณาถึงความสามารถในการเก็บกลับ ตามที่ทราบกันมาแล้วว่าบรรจุภัณฑ์อาหารอาจจะผลิตจากกระดาษ โลหะ แก้ว พลาสติก ไม้ และสิ่งทอรวมกันได้เป็นร้อยเป็นพันรูปแบบ ด้วยเหตุนี้การทิ้งบรรจุภัณฑ์ลงไปยังถังขยะที่แยกประเภทจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บกลับ เพื่อการใช้หรือผลิตใหม่ได้ดีมากยิ่งขึ้น ในประเภทที่พัฒนาแล้ว ผู้บริโภคที่มีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงแต่จะทิ้งขยะเป็นที่เป็นทางแล้ว ยังช่วยทิ้งบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วในถังที่แยกประเภทไว้ นอกจากนี้ก่อนจะทิ้งยังมีการใช้อุปกรณ์ช่วยในการกดอัดบรรจุภัณฑ์ให้แบนราบ วิธีการที่จะนำเอาบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วกลับมาโดยความร่วมมืออย่างดีของผู้บริโภคจะเป็นวิธีที่ประหยัดที่สุดและได้ผลที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารที่เพิ่งบริโภคหมดใหม่ๆ จะมั่นใจว่าถูกสุขลักษณะไม่มีการปนเปื้อนกับสิ่งที่สกปรกหรือเป็นพิษ บรรจุภัณฑ์เปล่าที่ทิ้งในขยะที่แยกประเภทจะมีโอกาสสะอาดกว่าบรรจุภัณฑ์ที่ทิ้งเป็นขยะตามทาง อาจจะเป็นเพราะจิตใต้สำนึกของคนทิ้งที่ทราบว่าบรรจุภัณฑ์ที่ทิ้งในถังขยะที่แยกประเภทนั้นจะมีการนำกลับไปใช้ใหม่หรือผลิตใหม่ 3 เทคโนโลยี ในอดีตขยะต่างๆ ถูกกำจัดด้วยการฝังดินหรือการเผา การกำจัดด้วยการเผานั้นไม่เป็นที่นิยมเท่าใด เนื่องจากในขณะที่เผาจะก่อให้เกิดก๊าซออกมาส่วนหนึ่งซึ่งผสมเข้าไปในบรรยากาศทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศ การฝังดินจึงนับเป็นวิธีการที่นิยมมากที่สุด เพราะว่าแม้จะมีการเผาทำลายไปแล้ว เถ้าถ่านที่เหลือก็จะต้องนำไปฝังดินเช่นกัน แม้ว่าในบางประเทศอาจจะมีการนำขยะไปถมทะเลแต่ยังมีน้อยอยู่ เนื่องจากต้องคอยควบคุมไม่ให้เกิดมลภาวะทางน้ำจากขยะที่ถมลงทะเล การฝังดินนั้นอาจจะกระทำได้ 2 วิธี คือ การเทขยะทั่วบริเวณโดยไม่มีการกดอัด หรือกลบด้วยดินที่เรียกว่าแบบเปิด Open Dumping วิธีการนี้มักจะต้องทำในที่ไกลจากชุมชน ไม่เป็นที่อุจาดตาและต้องไม่อยู่เหนือลมที่จะส่งกลิ่นไปรบกวนชาวบ้านใกล้เคียง ส่วนอีกวิธีหนึ่งเป็นวิธีที่ใช้หลักวิชาการมากขึ้น กล่าวคือ ขยะมีการเทให้ทั่วแล้วทำการกดอัด ท้ายที่สุดกลบด้วยดินหรือสารที่ไม่ทำปฏิกิริยา Inert Fill Materials การฝังดินแบบหลังนี้มีชื่อว่า การฝังอย่างถูกสุขลักษณะ Sanitary Landfilling และเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เทคโนโลยีการกำจัดขยะและซากบรรจุภัณฑ์ที่เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์และเป็นเทคโนโลยีที่มีมานานแล้ว คือ การเผาหรือเรียกเป็นศัพท์เฉพาะว่า Incineration การเผาขยะด้วยเตาเผาสมัยใหม่นับเป็นการกำจัดขยะที่มีประสิทธิผลที่ดีที่สุดในการลดปริมาตรและน้ำหนักของขยะและซากบรรจุภัณฑ์โดยสามารถลดปริมาตรลงได้ 70 80 และลดน้ำหนักได้ 60 80 คุณสมบัติของขยะและซากบรรจุภัณฑ์ที่จะใช้การกำจัดด้วยวิธีนี้ คือ ความสามารถติดไฟได้ สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารที่มีใช้อยู่ จะมีแต่บรรจุภัณฑ์แก้วและโลหะที่ต้องใช้ความร้อนที่สูงมากในการเผา ส่วนบรรจุภัณฑ์อื่นๆ สามารถเผาไหม้ แม้ว่าจะมีอัตราการเผาไหม้ได้แตกต่างกัน เช่น กระดาษและไม้จะติดไฟได้ดีและเร็วกว่าพลาสติก คุณสมบัติประการถัดมาของขยะและซากบรรจุภัณฑ์ที่ต้องพิจารณาเลือกเพื่อการกำจัดด้วยวิธีการเผา คือ เศษเถ้าถ่านที่เหลือจากการเผาโดยไม่ทำปฏิกิริยา Inert Residue จากข้อมูลที่แสดงไว้ในตารางที่ 7 4 จะพบว่าแก้วและโลหะจะมีเศษเถ้าถ่านเหลือจากการเผาไหม้มากที่สุด ดังนั้นในการเผากำจัดขยะจึงมักจะต้องคัดแก้วและโลหะออก เพื่อความสะดวกในการกำจัดเศษเถ้าถ่านที่เหลือจากเตาเผา < < กลับสู่หน้าหลักอ่านต่อบรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่ 2> >
บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่ 2
ตารางที่ 7 4 ปริมาณเถ้าถ่านที่เหลือจากการเผาไหม้โดยไม่ทำปฏิกิริยา Inert Residue ค่าของพลังงานที่ได้จากการเผาและปริมาณซัลเฟอร์จาก 1 ตันของบรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ บรรจุภัณฑ์ Inert Residue พลังงาน บีทียู ปอนด์ เปอร์เซ็นต์ซัลเฟอร์ โดยน้ำหนักที่แห้ง กระดาษแข็ง 4 7841 0 14 กระดาษอื่นๆ 8 7793 0 12 โลหะ 91 742 0 01 แก้ว 99 84 0 00 ไม้ 3 8236 0 11 ฟิล์มพลาสติก 7 13846 0 07 พลาสติกต่างๆ 20 9049 0 55 แหล่งที่มา Darnay A and Franklin W E The Role of Packaging in Solid Waste Management 1996 to 1976 คุณสมบัติอย่างอื่นที่ต้องพิจารณาคือ ค่าของพลังงานที่ได้จากการเผา BTU Content ปริมาณของซัลเฟอร์ และโอกาสที่จะทำให้เตาเผาเสียหาย ค่าของพลังงานที่ได้จากการเผาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเลือกเตาเผา เพราะว่าพลังงานที่ได้จากการเผาสามารถนำไปใช้ได้ใหม่ ส่วนปริมาณซัลเฟอร์ที่ได้นั้นสามารถใช้เป็นดรรชนีในการวัดความเป็นพิษของขยะและซากบรรจุภัณฑ์ที่ได้จากการเผาไหม้ ในตารางที่ 7 4 พบว่าซากบรรจุภัณฑ์ที่เผาไหม้ก่อให้เกิดปริมาณซัลเฟอร์ค่อนข้างน้อย กล่าวคือ ใน 1 ตันของบรรจุภัณฑ์จะมีปริมาณซัลเฟอร์ไม่มากกว่า 1 กิโลกรัม สำหรับอากาศที่จะทำความเสียหายให้แก่เตาเผานั้น บรรจุภัณฑ์แก้วมีโอกาสมากที่สุด เนื่องจากเมื่อแก้วหลอมละลายแล้ว น้ำแก้วมีโอกาสติดหลงเหลืออยู่ตามผนังของเตาเผาจะทำให้ผนังของเตาเผาแตกได้ ถ้าเผาถึงอุณหภูมิ 700° C พลาสติกบางประเภทที่อยู่ในรูปของถาดและขวดหนาๆ อาจก่อให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน เพราะเมื่อหลอมละลายแล้วมีโอกาสแข็งตัวและอุดช่องทางออกจากเตาเผาเมื่อสัมผัสกับอากาศในบรรยากาศพลาสติกที่มีผิวบางและฟิล์มไม่ค่อยประสบปัญหาในการทำความเสียหายให้แก่เตาเผา การทำให้บรรจุภัณฑ์เสื่อมสลายโดยวิธีการทางชีวภาคนั้น การกำจัดซากบรรจุภัณฑ์วิธีสุดท้ายที่เริ่มได้รับความนิยมคือ Biodegradation วิธีนี้จะประยุกต์ใช้ได้เฉพาะสารอินทรีย์ ดังนั้นจึงใช้ได้เฉพาะบรรจุภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากกระดาษ ไม้และสิ่งทอ ซากบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุเหล่านี้จะเสื่อมสลายทางชีวภาคช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับความหนา หรือส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ที่เคลือบด้วยสารที่ไม่เสื่อมสลายได้ Nondegradable ซากบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการย่อยสลายทางชีวภาคนี้แล้วจะกลายเป็นสารอินทรีย์ที่ไม่ทำปฏิกิริยา Inert Organic Materials ซึ่งมักจะใช้ประโยชน์เป็นสารปรับคุณภาพของดิน Soil Conditioning ในการประยุกต์เทคโนโลยีทางชีวภาคมาใช้ในการย่อยสลายซากบรรจุภัณฑ์จำต้องคำนึงความสามารถที่จะย่อยสลายด้วยบักเตรี และพิจารณาถึงผลที่ได้จากการย่อยสลายว่าจะนำไปใช้ประโยชน์อะไรต่อไปได้ จากความรู้ของวจรบรรจุภัณฑ์และวิธีการกำจัดซากบรรจุภัณฑ์อาหารดังกล่าว ย่อมเป็นแนวทางให้ผู้ออกแบบบรรจุภัณฑ์สามารเลือกประเภทวัสดุที่มีวงจรชีวิตสั้นและสามารถกำจัดได้ง่ายหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือมีโอกาสเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 7 2 สถานะของวัสดุบรรจุภัณฑ์ต่อสิ่งแวดล้อม สถานะของวัสดุบรรจุภัณฑ์แต่ละประเภทที่มีต่อการใช้งานและผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมสามารถแยกตามประเภทของวัสดุได้ดังนี้ 7 2 1 บรรจุภัณฑ์ผลิตจากเยื่อและกระดาษ การเวียนมาผลิตใหม่เป็นคุณสมบัติเด่นของวัสดุเยื่อและกระดาษ เยื่อเส้นใยยาวเป็นเยื่อที่เหมาะสมในการนำมาผลิตใหม่มากที่สุด โดยปกติจะนำมาผลิตใหม่ได้ 4 ครั้ง จากนั้นแล้วคุณภาพของเยื่อจะเริ่มเสื่อมคุณภาพ กระดาษที่นำกลับมาผลิตใหม่อาจแบ่งเป็น กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษเหนียวสีน้ำตาลดังรูปสัญลักษณ์ที่แสดงไว้ในรูป ก หน้า 228 และกล่องกระดาษแข็งที่ผิวด้านหลังเป็นสีขาว มีสิ่งที่น่าสังเกตในแง่ของพลังงานที่ใช้ในการผลิตแปรรูปบรรจุภัณฑ์กระดาษซึ่งมีค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับพลังงานที่ใช้ในการผลิต กล่าวคือการใช้พลังงานในการผลิตบรรจุภัณฑ์จะใช้ประมาณร้อยละ 5ของพลังงานที่ใช้ในการผลิตกระดาษ ในปี พ ศ 2539 คนไทยใช้กระดาษรวมโดยเฉลี่ยคนละ 37 กิโลกรัมต่อปี หรือประมาณ 2000000 ตันต่อปี มีอัตราการเพิ่มขึ้นจากปี 2537 ประมาณร้อยละ 15 และมีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในกระบวนการผลิตกระดาษ 1 ตันต้องใช้ต้นไม้ประมาณ 1 2 2 2 ตัน น้ำหนักอบแห้ง กระแสไฟฟ้า 1000 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ใช้น้ำมัน 300 ลิตร ใช้น้ำ 20 ลูกบาศก์เมตร ในขณะเดียวกันมีการนำเข้าเศษกระดาษ โดยในปี 2535 มีการนำเข้า 342700 ตัน และในปี 2540 มีการนำเข้า 460596 ตัน จากปริมาณดังกล่าวนี้ย่อมแสดงว่าความพยายามในการนำเอาเศษกระดาษกลับมารีไซเคิลของประเทศไทยจะสามารถการนำเข้าของเศษกระดาษได้ ทั้งยังช่วยลดการใช้ทรัพยากรป่าไม้ ลดปริมาณมูลฝอย ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า รวมถึงค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต 7 2 2 บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติก เริ่มตั้งแต่ปี ค ศ 1835 เป็นต้นมา พลาสติกได้รับการค้นพบด้วยวิธีการผลิตเชิงพาณิชย์ ในปัจจุบันนี้วัสดุพลาสติกมีใช้ในวงการบรรจุภัณฑ์ประมาณร้อยละ 30 40 โดยมีปริมาณการใช้ คือร้อยละ 50 ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกอ่อนตัว Flexible Packaging อีกร้อยละ 40 ใช้ในบรรจุภัณฑ์เป่าเป็นขวด ส่วนที่เหลือใช้เป็นกาวหรือสารยึดติด พลาสติกที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ได้แก่ PE PP PS PVC และ PET ในประเทศแถบยุโรป บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่พบในกองขยะตามบ้านปรากฏว่ามีประเภทของบรรจุภัณฑ์พลาสติกแยกได้ดังนี้ ตารางที่ 7 5 ปริมาณบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่พบในขยะตามบ้านของประเทศแถบยุโรป ประเภทพลาสติก ปริมาณที่พบในขยะ ร้อยละ PE PP 65 PS EPS 15 PVC 10 PET 5 อื่นๆ 5 แหล่งที่มา Michaeli Greif Kanfmann Vosseburger 1992 พลาสติกแต่ละประเภทมีคุณสมบัติแตกต่างกันและจำต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสินค้า ในแง่ของการรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อม พลาสติกแต่ละประเภทมีบทบาทต่อสิ่งแวดล้อมดังต่อไปนี้ PET มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ในระดับหนึ่ง แต่ทนต่อการกระแทกได้ดีและมีความแวววาว คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งคือ ทนต่อการซึมผ่านของก๊าซได้เป็นอย่างดี ทำให้ขวด PET เป็นบรรจุภัณฑ์ชนิดเดียวกับที่ใช้น้ำอัดลมได้ ด้วยคุณสมบัติเด่นดังกล่าวจึงได้รับการยอมรับใช้งานอย่างกว้างขวางในการบรรจุเครื่องดื่มประเภทต่างๆและเครื่องชูรสอาหารอื่นๆ เฉพาะในสหรัฐอเมริกามีปริมาณการใช้ขวด PET ถึง 1 6 พันล้านปอนด์ต่อปี ขวด PET ที่ใช้แล้วสามารถแปรรูปเป็นวัตถุดิบ ในการผลิตเป็นพรม เสื้อผ้า และตุ๊กตา เป็นต้น และเป็นพลาสติกที่มีการนำกลับมาผลิตใหม่มากที่สุด ในเมืองไทยเริ่มมีการนำขวด PET ที่ใช้แล้วมารีไซเคิลเป็นพรมตั้งแต่ปี พ ศ 2531 โดยใช้เทคโนโลยีจากญี่ปุ่น ซึ่งมีความสามารถรองรับขวด PET ที่บดละเอียดแล้ว 400 ตันต่อเดือนและสามารถทอเป็นพรมได้ 1000000 ตารางเมตรต่อเดือน ความสามารถในการนำขวด PET กลับมาผลิตใหม่เป็นพรมนั้นจะใช้ขวด PET จำนวน 7 8 ขวด ขึ้นกับขนาดของขวด มาทอเป็นพรมได้ 1 ตารางเมตร โดยรับซื้อจากแหล่งต่างๆ 15 แห่งทั่วทั้งราชอาณาจักร นับว่าเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีรีไซเคิล ซึ่งมีเพียงไม่กี่ประเทศในโลกนี้ที่สามารถนำ PET มาผลิตเป็นสินค้าอย่างอื่น PVC เป็นพลาสติกที่ได้รับความนิยมลดลงมาเรื่อย สืบเนื่องจากมีสารตกค้างของ Vinyl Chloride แม้ว่าจะมีจำนวนน้อยจนไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพก็ตาม การใช้ PVC ในวงการบรรจุภัณฑ์อาจแยกเป็นร้อยละ 60 ใช้กับอาหารและยา และร้อยละ 40 ใช้ในบรรจุภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ การนำพลาสติกกลับมาผลิตใหม่นี้คงจะได้รับการรณรงค์ส่งเสริมมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมทั้งควรจะมีกฎข้อบังคับให้ระวังรักษาความปลอดภัยในการนำพลาสติกกลับมาผลิตหรือใช้ใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำกลับมาบรรจุอาหารนั้นมีความเสี่ยงสูงมาก ในปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการนำบรรจุภัณฑ์พลาสติกกลับมาผลิตใหม่ดังนี้ ตารางที่ 7 6 บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่นำกลับมาผลิตใหม่จากขยะตามบ้านในสหรัฐอเมริกา ประเภทของบรรจุภัณฑ์ การนำกลับมาผลิตใหม่ ร้อยละ ขวดน้ำดื่ม 65 ขวดน้ำยาทำความสะอาด 50 ขวดประเภทอื่นๆ 10 ฟิล์มบรรจุภัณฑ์ 5 เฉลี่ยพลาสติกชนิดต่างๆ 30 แหล่งที่มา R G Saba and W E Pearson Curbside Recycling Infrastructure A Pragmatic Approach American Chemical Society Washington D C 1995 7 2 3 บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากโลหะ บรรจุภัณฑ์โลหะโดยเฉพาะกระป๋องได้รับความนิยมใช้อย่างกว้างขวางตั้งแต่โบราณกาล บรรจุภัณฑ์โลหะที่เป็นเหล็กได้วิวัฒนาการมาใช้อะลูมิเนียมทั้งในรูปแบบกระป๋อง และเปลวอะลูมิเนียมที่นำมาผลิตเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์อ่อนนุ่ม 1 กระป๋องเหล็ก ปัญหาการเก็บมาผลิตใหม่ของบรรจุภัณฑ์กระป๋อง คือ สารที่ใช้เคลือบภายในกระป๋อง ซึ่งได้มีการรณรงค์การทำให้หลอมละลายด้วยความร้อนได้ง่าย และต้องทำการแยกสารที่ใช้เคลือบนี้ในเตาหลอมแยกต่างหากก่อน ข้อดีของกระป๋องออกมาได้ สำหรับกระป๋อง 3 ชิ้นแบบเก่าที่ใช้น้ำประสานทองในการเชื่อมตัวกระป๋องเข้าด้วยกันและกระป๋องที่มีเนื้อดีบุกผสมอยู่ การนำกลับมาใช้ผลิตใหม่ต้องแยกเอาดีบุกและโลหะหนักออกมาก่อนแม้ว่าจะมีปริมาณเพียงร้อยละ 0 01 เพราะสารที่ตกค้างอยู่นี้จะก่อให้เกิดปัญหาในการรีดเหล็กเมื่อนำเหล็กไปหลอมใหม่ 2 กระป๋องอะลูมิเนียม บรรจุภัณฑ์อะลูมิเนียมที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันนี้คือ กระป๋องอะลูมิเนียมบรรจุน้ำอัดลมและเครื่องดื่มประเภทต่างๆ นอกเหนือจากเปลวอะลูมิเนียมที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์อ่อนนุ่ม สืบเนื่องจากบรรจุภัณฑ์อะลูมิเนียมที่ผลิตจากอะลูมิเนียมที่มีความบริสุทธิ์ถึงร้อยละ 99 โอกาสที่จะนำบรรจุภัณฑ์อะลูมิเนียมกลับมาใช้ใหม่จึงให้ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจสูง แม้ว่าแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาผลิตเป็นอะลูมิเนียมนั้น เชื่อกันว่ามีอยู่ในโลกนี้มากเป็นอันดับสามก็ตาม แต่แร่ที่ใช้กันมากที่สุด คือ Bauxite 4 กิโลกรัมสามารถผลิตเป็นเปลวอะลูมิเนียมได้เพียง 1 กิโลกรัมเท่านั้น กระป๋องอะลูมิเนียมที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำอัดลมในประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการนำกลับมาผลิตใหม่ร้อยละ 95 และอะลูมิเนียมที่ได้จากการนำกลับมาผลิตใหม่นี้กว่าร้อยละ 90 จะนำมาผลิตเป็นกระป๋อง ส่วนที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 10 ใช้ผลิตเป็นสินค้าอะลูมิเนียมชนิดอื่นๆ ในกระบวนการนำบรรจุภัณฑ์อะลูมิเนียมกลับมาผลิตใหม่นั้น โดยทั่วไปจะใช้หลักความแตกต่างของความหนาแน่นของบรรจุภัณฑ์กระป๋องอะลูมิเนียมเป็นมาตรฐานในการแยกออกจากกองขยะหรือบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่นๆ หรือใช้ระบบกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่า Eddy Current โดยการสร้างสนามไฟฟ้า ทำการผลักเอากระป๋องอะลูมิเนียมออกจากกองขยะ ด้วยเหตุนี้ การนำอะลูมิเนียมกลับมาหลอมเหลวใหม่ จะสามารถประหยัดพลังงานจากการนำกระป๋องอะลูมิเนียมกลับมาผลิตใหม่ได้มากกว่าประเทศทางยุโรป 7 2 4 บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากแก้ว บรรจุภัณฑ์แก้วนับเป็นบรรจุภัณฑ์ชนิดเดียวที่สามารถผลิตได้ครบกระบวนการผลิตภายในโรงงานเดียวกัน ส่งผลให้เศษแก้วที่ได้จากการผลิตสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ภายในโรงงานได้อีก นอกจากนี้ ความจำเป็นในการผลิตที่ต้องใช้เศษแก้วผสมในเตาหลอมแก้วทำให้มีความจำเป็นต้องนำขวดแก้วที่ใช้แล้วกลับเข้าสู่โรงงานผลิตแก้ว ทำให้มีการนำแก้วกลับคืนจากผู้บริโภคร้อยละ 25 ของเศษแก้วที่ต้องใช้ในโรงแก้ว การนำขวดแก้วกลับมาหลอมละลายใช้ใหม่จำเป็นต้องมีการแยกสีของขวดก่อน นอกเหนือจากการนำมาผลิตใหม่แล้ว บรรจุภัณฑ์แก้วยังมีการนำกลับมาใช้ใหม่มากที่สุดในจำนวนบรรจุภัณฑ์ทั้งหลาย ตัวอย่างเช่น ขวดน้ำอัดลมสมัยเก่า หรือขวด Return Bottle เคยมีการนำกลับมาบรรจุใหม่ได้หลายสิบครั้ง การนำกลับมาบรรจุใหม่นี้ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว จำนวนครั้งของขวดเบียร์จะมีการนำกลับมาใช้ใหม่โดยเฉลี่ยประมาณ 8 ครั้ง จากการศึกษาในประเทศสวีเดน พบว่าถ้ามีการนำขวดแก้วกลับมาใช้ได้ถึง 50 ครั้งจะสามารถลดพลังงานที่ใช้ในการผลิตแก้วใหม่ได้ถึงร้อยละ 50 นอกเหนือจากการเปรียบเทียบพลังงานที่ใช้ในการผลิตแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสุขลักษณะของบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่โดยจำเป็นต้องผ่านการทำความสะอาดอย่างถูกต้อง ในประเทศไทยมีการนำขวดแก้วกลับมาใช้ใหม่ คิดเป็นปริมาณได้ 155916 60 ตัน หรือประมาณร้อยละ 23 ของขวดแก้วที่ผลิต และเป็นสิ่งที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ในปี พ ศ 2536 บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด ได้ริเริ่มโครงการรณรงค์หมุนเวียนการใช้เศษแก้วในโรงเรียนต่างๆ โดยมีการนำเศษแก้วหรือขวดแก้วที่เหลือใช้จากครัวเรือน โดยแยกออกจากขยะและรวบรวมนำมาทิ้งในถังเก็บเศษแก้วที่โรงเรียน ผลปรากฏว่ามีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการนี้เกือบ 200 โรงเรียน และสามารถนำกลับมาผลิตใหม่ได้มากถึง 1000 ตันในปี 2540 จากอดีตที่ผ่านมา 30 ปี กระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วได้วิวัฒนาการอย่างมากมาย ทำให้ได้บรรจุภัณฑ์แก้วที่บางลงแต่แข็งแรงเท่าๆ กับบรรจุภัณฑ์แก้วในอดีต ส่งผลให้พลังงานที่ใช้ลดลง นอกจากนี้ เศษแก้วที่นำกลับมายังสามารถนำไปใช้กับอุตสาหกรรมอื่น เช่น การผลิตอิฐแก้ว การผลิตใยสังเคราะห์ เป็นต้น < < ย้อนกลับ บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่1อ่านต่อ บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่3 > > < < กลับสู่หน้าหลัก
บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่ 3
7 3 สถานะและแนวทางแก้ปัญหา แนวทางในการแก้ปัญหาอาจจะเริ่มจากการออกแบบซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดเฉพาะเจาะจงในหัวข้อต่อไปนี้ พร้อมทั้งตัวอย่างในการออกแบบ ส่วนในหัวข้อนี้จะพิจารณาจากวงจรของบรรจุภัณฑ์ที่จะใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา 7 3 1 การลดปริมาณของบรรจุภัณฑ์ 1 การลดปริมาณของเสีย Reduce เป็นมาตรการอันดับแรกที่ควรพิจารณาถึงเพราะการใช้บรรจุภัณฑ์ต่อหน่วยบรรจุให้น้อยลง ไม่เพียงแต่ลดปริมาณซากบรรจุภัณฑ์ที่ทิ้งในขยะ แต่ยังลดการผลิตและการขนส่ง ในเวลาเดียวกันต้องคำนึงถึงบทบาทและหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ด้วย เช่น การรักษาคุณภาพ การปกป้องสินค้า เป็นต้น มิฉะนั้นแล้วการแตกหักเสียหายหรือการเน่าเสียของสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ไม่ดีพอ กลับจะก่อให้เกิดปริมาณขยะที่มากกว่าเดิม แนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมย่อมต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ตั้งแต่ผู้ผลิตจนกระทั่งถึงผู้อุปโภคบริโภค ตัวอย่างการลดขยะโดยทิ้งที่กระป๋องพร้อมที่เปิดและการลดน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์แสดงในรูป ก และ ข หน้า 227 2 การนำกลับมาใช้ใหม่หรือใช้ซ้ำ Reuse ปรากฏการณ์นี้คล้ายคลึงกับการลดปริมาณการใช้ เพราะว่ามีบรรจุภัณฑ์หลายประเภทได้รับการนำกลับมาใช้หรือบรรจุใหม่ ตัวอย่างเช่น ขวดเบียร์มาใช้บรรจุเต้าเจี้ยว ขวดซีอิ๊ว ขวดเหล้ามาบรรจุน้ำปลา เป็นต้น ปรากฏการณ์ที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น คือการเก็บบรรจุภัณฑ์ไว้เช่นเดิม แล้วซื้อสินค้าใหม่ที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์เบาบางกว่า เช่น ถุง หรือ ซองที่เรียกว่า Refill Package แล้วนำกลับมาบรรจุเองในบรรจุภัณฑ์เก่าที่ใช้สินค้าหมดแล้ว เช่น น้ำยาซักเสื้อผ้า น้ำยาล้างจาน เป็นต้น 3 การเวียนทำใหม่ Recycle คำว่ารีไซเคิลนี้ได้รับการกล่าวขวัญกันมาตลอด การทำรีไซเคิลขยะที่ได้ผลนั้นจำต้องมีการแยกประเภทตั้งแต่ตอนทิ้ง และมีการเก็บกลับอย่างมีระบบด้วยปริมาณมากพอในการนำกลับมาผลิตด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด การร่วมมือด้วยวิธีอาสาสมัคร Volunteer จากผู้บริโภคนับเป็นวิธีการที่ประหยัดและมีประสิทธิผลมากที่สุด ในสหรัฐอเมริกาปริมาณขยะที่สามารถนำกลับไปผลิตใหม่สูงถึงร้อยละ 22 โดยมีกลุ่มอาสาสมัคร 1000 กลุ่มในปี ค ศ 1978 เพิ่มมาเป็น 7000 กลุ่มในปี ค ศ 1981 ส่งผลให้มีอัตราการนำกลับมาผลิตใหม่ของบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้ ตารางที่ 7 7 อัตราการนำกลับมาผลิตใหม่ของวัสดุบรรจุภัณฑ์ในสหรัฐ วัสดุ อัตราการนำกลับมาผลิตใหม่ ร้อยละ กระดาษและบรรจุภัณฑ์เยื่อและกระดาษ โลหะ เหล็กและเหล็กผสม อะลูมิเนียม แก้ว พลาสติก 40 37 30 7 1 แหล่งที่มา R A Pert A Golovny and S S Labana Automotive Recycling ขั้นตอนการทำงานในการแยกบรรจุภัณฑ์ออกจากขยะในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น สถานที่ใช้ในการรวบรวมขยะกลับมาผลิตใหม่มีชื่อเรียกว่า MRF Material Recovery Facilities ซึ่งสามารถรองรับขยะได้อย่างน้อยที่สุด 100 500 ตันต่อวัน ในขณะที่กรุงเทพมหานครมีปริมาณขยะในปี 2537 สูงถึง 7000 ตันต่อวัน การทำงานในการแยกบรรจุภัณฑ์ออกจากขยะมีขั้นตอนดังนี้ วัสดุที่นำกลับมาผลิตใหม่ ใช้มือคัดกระดาษ แยก กระดาษหนังสือพิมพ์กล่องวารสาร ใช้ระบบแม่เหล็ก แยก กระป๋องโลหะ ใช้ระบบกระแสไฟฟ้า แยก กระป๋องอะลูมิเนียม ใช้มือคัดขวดแก้ว แยก แก้วใสแก้วสีอำพันแก้วเขียว ใช้มือคัดพลาสติก แยก PET ใส PET สี PE และอื่นๆตามสัญลักษณ์ ที่ปรากฏอยู่ ภายใต้ผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างของขบวนการเผาในการแยกโลหะและอโลหะจากขยะดังแสดงในรูป ค หน้า 228 สำหรับประเทศไทย การกำจัดมูลฝอยส่วนใหญ่ใช้วิธีการกำจัดไม่ถูกสุขลักษณะเป็นแบบเปิด Open Dunping ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการปนเปื้อนน้ำใต้ดิน ปัญหาเฉพาะหน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การจัดหาสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยรวมซึ่งเป็นสถานที่สำหรับรองรับและกำจัดขยะมูลฝอยจากกรุงเทพฯ และปริมณฑลให้ได้พอเพียง ในปี พ ศ 2540 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีปริมาณมูลฝอยประมาณ 10000 ตันต่อวัน และคาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า พ ศ 2545 จะเพิ่มเป็น 12800 ตันต่อวัน มีการประเมินว่าองค์ประกอบของวัสดุที่มีศักยภาพที่จะนำกลับมาใช้ใหม่ Potential Recycling มีอยู่ระหว่างร้อยละ 32 58 ถึง 58 68 และอัตราการนำมูลฝอยและวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่จริงๆ ในเชิงพาณิชย์โดยคนคุ้ยขยะจากกองขยะ พนักงานเก็บขนและรถเร่รับซื้อของเก่าประมาณร้อยละ 8 49 หรือร้อยละ 10 19 หากรวมปริมาณจากโรงงานอุตสาหกรรม ของปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั้งหมดทั่วประเทศ ทั้งที่นำมาใช้ได้และไม่ได้ทั้งหมด ดังแสดงในตารางที่ 7 8 ตารางที่ 7 8 ปริมาณวัสดุเหลือใช้ที่รวบรวมโดยตัวกลางต่างๆ เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ตัวกลาง ปริมาณ ตันต่อวัน คนคุ้ยขยะที่กองขยะ 271 56 พนักงานเก็บขน 616 70 รถเร่รับซื้อของเก่า 2491 90 ปริมาณที่รวบรวมได้ทั้งหมดผ่านร้านรับซื้อของเก่า 3380 16 โรงงานอุตสาหกรรม ปริมาณของเสียหรือวัสดุเหลือใช้ 680 00 รวมปริมาณวัสดุเหลือใช้ 4060 16 แหล่งข้อมูล กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทิศทางรีไซเคิลของประเทศไทย 7 3 2 การใช้สัญลักษณ์เพื่อแยกประเภทบรรจุภัณฑ์ สำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกซึ่งมีความหลากหลาย เป็นการยากมากที่จะให้ผู้บริโภคทั่วไปสามารถทราบถึงพลาสติกของบรรจุภัณฑ์ สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกแห่งสหรัฐอเมริกา Society of the Plastics IndustrySPI ได้ริเริ่มการใช้สัญลักษณ์บ่งบอกชนิดพลาสติกไว้ภายใต้บรรจุภัณฑ์พลาสติก เพื่อช่วยในการแยกประเภทของพลาสติกในปี พ ศ 2532 และได้รับการยอมรับทั่วโลก สัญลักษณ์ใช้ตัวเลขแทนที่ประเภทของพลาสติกล้มรอบด้วยหัวลูกศรรูปสามเหลี่ยมเพื่อใช้แทนพลาสติกแต่ละประเภท ดังต่อไปนี้ 1 PET Polyethylene Terephthalate 2 HDPE High Density Polyethylene 3 PVC Polyvinyl Chloride 4 LDPE Low Density Polyethylene 5 PP Polypropylene 6 PS Polyprostyrene 7 Other พลาสติกผสม ในกรณีของพลาสติกหลายชั้น ถ้ามีส่วนผสมหลักของพลาสติกที่สามารถนำไปย่อยสลายได้โดยไม่จำเป็นต้องแยกชั้นให้ใส่หมายเลขของพลาสติกหลักนั้น เช่น ขวดซอสมะเขือเทศที่ประกอบด้วย PP EVOH PP โดยมี PP อยู่ถึงร้อยละ 98 5 จะใช้สัญลักษณ์หมายเลข 5 ของ PP สำหรับบรรจุภัณฑ์นี้ เนื่องจากนำมาผลิตใหม่ได้โดยไม่จำเป็นต้องแยกชั้นจึงไม่ใช้สัญลักษณ์หมายเลข 7 ที่เป็นพลาสติกผสม 7 3 3 การรณรงค์และส่งเสริมการใช้สินค้าที่ผลิตจากบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว จากการสำรวจแบบสอบถามในงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ สินค้าไทยรีไซเคิล ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 3 7 เมษายน 2539 ที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ บางกะปิ กรุงเทพฯ จำนวน 3883 ชุด พบว่า ประชาชนผู้เข้าชมงานยินดีใช้สินค้ารีไซเคิลร้อยละ 95 5 มีเพียงร้อยละ 0 2 ที่ไม่ยินดีและร้อยละ 3 9 ไม่ตอบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหากมีการรณรงค์และส่งเสริมการใช้สินค้าผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้และบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วอย่างจริงจัง จะทำให้ประชาชนหันมาสนใจและซื้อสินค้าอย่างแน่นอน การรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพคงไม่ใช้การรณรงค์ประชาสัมพันธ์กันอย่างเดียว แต่ต้องมีเครือข่ายเชื่อมต่อกันระหว่างผู้ผลิตขยะมูลฝอย ประชาชนหรือผู้บริโภค ร้านผู้จำหน่ายและภาคอุตสาหกรรมผู้ผลิต รวมทั้งรัฐบาลซึ่งเป็นผู้กำกับกระบวนการนี้ทั้งหมด 7 4 การออกแบบบรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม แนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม อาจมีหลากหลายรูปแบบและวิธีการ ขึ้นอยู่กับวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่หาได้ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับวิธีการผลิตและแปรรูปบรรจุภัณฑ์ พร้อมทั้งข้อจำกัดของกระบวนการผลิตและการบรรจุของบรรจุภัณฑ์แต่ละประเภท 7 4 1 แนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม 1 การลดการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ ความสามารถในการออกแบบและควบคุมการพิมพ์ให้มีความเสียหายน้อยที่สุดเป็นองค์ประกอบแรกที่จะสามารถช่วยการรณรงค์สภาวะสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการลดวัตถุดิบนำไปสู่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิผล ความคิดริเริ่มในการออกแบบย่อมมีผลต่อการลดหมึกพิมพ์และวัสดุประกอบต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ เช่น บรรจุภัณฑ์ถาดกระดาษในรูป ค หน้า 227 ในประเทศที่พัฒนาแล้ว วัสดุพลาสติกที่มีการใช้ความดันให้ขยายตัว เช่น EPS Expanded Polystyrene EPU Expanded Polyurethane มักจะได้รับการทดแทนโดยการใช้กระดาษ โดยมีเป้าหมายใช้กระดาษแทนให้มากถึงร้อยละ 70 90 นอกจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกจำพวกขยายตัว ยังมีการห้ามใช้ขบวนการผลิตที่ใช้สารมีพิษในการผลิตเช่น สีที่ใช้ควรใช้สีฐานน้ำ Water Based เป็นต้น สารเคลือบเงาที่นิยมใช้หลังการพิมพ์ได้แก่ OPP และ PVA วาร์นิชที่แห้งตัวด้วยรังสีอัลตร้าไวโอเลต UV การเคลือบด้วย OPP ซึ่งคล้ายกับการเคลือบไข เพื่อป้องกันการเสียดสีและกันน้ำ พร้อมทั้งสามารถเคลือบสิ่งพิมพ์บางๆ ได้ ส่วน PVA เป็นกาวที่มีส่วนผสมของ PVC ใช้กับสิ่งตีพิมพ์ที่มีความหนาแน่น 250 กรัมต่อตารางเมตร จึงเหมาะกับการเคลือบพวกบรรจุภัณฑ์ ส่วน UV เป็นวิธีการเคลือบเงาที่นิยมมากเนื่องจากทำงานได้เร็ว ไม่จำกัดความหนาของสิ่งตีพิมพ์ แต่ไม่เหมาะกับบรรจุภัณฑ์อาหาร ในปัจจุบันสารเคลือบเงา UV ที่เป็นส่วนผสมของน้ำเริ่มมีการประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยลดมลภาวะแต่ยังมีต้นทุนสูง 2 การเลือกใช้วัสดุที่นำกลับมาใช้งานและผลิตใหม่ได้ การเลือกใช้วัสดุที่ผลิตจากวัสดุใหม่ Virgin Material ย่อมเป็นการลดทรัพยากรธรรมชาติโดยตรง ดังนั้นการเลือกวัสดุที่ใช้แล้วย่อมมีส่วนในการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดพลังงานในการผลิตวัตถุดิบ หรือการใช้วัสดุธรรมชาติอย่างอื่น 3 การลดการใช้งานของวัสดุที่มีหลายชั้น วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่มีหลายชั้นและเคลือบให้เป็นเนื้อเดียวกันโดยจะก่อให้เกิดปัญหาในการแยกและย่อยสลายเพื่อนำมาใช้ใหม่ ด้วยเหตุนี้ผู้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ในปัจจุบันมักจะใช้วัสดุที่เป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการแยกขยะและสามารถนำกลับมาผลิตใช้ใหม่ เช่น การเลือกใช้ขวดพลาสติกที่มีฝาและฉลากเป็นพลาสติกชนิดเดียวกันดังแสดงในรูป ง หน้า 227 และกล่องในรูป ข หน้า 228 4 การออกแบบโดยไม่ใช้บรรจุภัณฑ์ จากการพิจารณาถึงหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์อย่างถ่องแท้ มักจะพบว่าสามารถลดบรรจุภัณฑ์บางชั้นออกไปได้ สินค้าบางประเภทในตลาด เช่น รถยนต์ ก็เป็นสินค้าที่ไม่จำเป็นต้องใช้บรรจุภัณฑ์ ในกรณีที่หลีกเลี่ยงการไม่มีบรรจุภัณฑ์ไม่ได้ ก็พยายามลดหรือเปลี่ยนใช้บรรจุภัณฑ์ให้น้อยลง บางกรณีอาจพิจารณาใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์บางชนิดมาแทนที่วัสดุเดิม เช่น ใช้ถาดพร้อมฟิล์มหดรัดรูปมาแทนที่กล่องกระดาษลูกฟูกทั้งกล่อง เป็นต้น 5 การเพิ่มความเข้มข้นหรือความหนาแน่นของสินค้า สินค้าที่มีความเข้มข้นสูงย่อมส่งผลให้การใช้ปริมาณของบรรจุภัณฑ์ต่อหน่วยสินค้าน้อยลง ตัวอย่างเช่น น้ำสูตรเข้มข้น หรือยาที่มีสูตรเข้มข้นย่อมก่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้บริโภคเพราะมีปริมาณน้อยลง 6 การใช้วัสดุที่ได้จากธรรมชาติ แนวความคิดที่ใช้วัสดุที่ผลิตจากธรรมชาติย่อมเป็นวิถีทางในการป้องกันสิ่งแวดล้อมได้ดีที่สุด เช่น ตัวอย่างของไอศกรีมโคน เป็นตัวอย่างของบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรับประทานได้ ในสมัยหนึ่งก็มีลูกกวาดที่ใช้ห่อด้วยกระดาษที่รับประทานได้ ตัวอย่างทั้งสองนี้ ย่อมเป็นวิธีการลดบรรจุภัณฑ์ได้ด้วยการบริโภคบรรจุภัณฑ์พร้อมอาหาร กระดาษเป็นตัวอย่างที่ดีในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากการใช้กระดาษจำต้องใช้เยื่อจากไม้ถึงร้อยละ 90 และคิดเป็นปริมาณของไม้ที่ต้องตัดร้อยละ 10 ของปริมาณของไม้ที่ใช้ทั่วโลก ดังนั้นการทดแทนเยื่อจากไม้ด้วยชานอ้อย ใยของสำลี เยื่อจากต้นสา เป็นต้น ย่อมมีส่วนช่วยปกป้องรักษาปริมาณไม้ในโลกนี้ แต่ปัญหาคือคุณภาพของกระดาษที่ทำจากวัสดุดังกล่าว อีกตัวอย่างหนึ่งที่เริ่มเกิดขึ้นในเมืองไทย คือ การใช้กระดาษสังเคราะห์มาทำเป็นกระดาษธนบัตรซึ่งสามารถยืดอายุการใช้งานของธนบัตรย่อมเป็นอีกวิธีหนึ่งในการลดการเผาผลาญทรัพยากรธรรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องเป็นกระดาษ อีกตัวอย่างหนึ่งที่มักพบจากหนังสือพิมพ์จากต่างประเทศ คือ หนังสือที่มีพิมพ์ว่า This book is printed on acid free paper คำว่า acid free นี้หมายความว่าใช้เยื่อที่ใช้แล้วและไม่ผ่านการฟอกด้วยกรดย่อมเป็นการช่วยลดมลภาวะจากการใช้กระดาษปลอดกรด วิวัฒนาการทางด้านบรรจุภัณฑ์ที่ได้ใช้แป้งที่ทำจากพืชมาผลิตเป็นถาด จาน ชาม ดังรูป ง ในหน้า 228 เพื่อแทนที่โฟม หรือการพัฒนาใช้ใบกล้วยอัดเป็นภาชนะต่างๆ ย่อมเป็นแนวทางของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ในวงการพลาสติกยังได้พัฒนาเม็ดพลาสติกที่สามารถย่อยเสื่อมสลายได้ด้วยปฏิกิริยาทางชีววิทยาหรือแสง เป็นต้น 7 การรวมกลุ่มของสินค้าต่อหน่วยบรรจุภัณฑ์ หน่วยสินค้ายิ่งมากย่อมมีโอกาสลดค่าใช้จ่ายรวมของบรรจุภัณฑ์ในแง่ของต้นทุนบรรจุภัณฑ์และค่าขนส่ง นอกจากนี้ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นในให้ลดปริมาตรที่ไม่จำเป็น เช่น การออกแบบบรรจุภัณฑ์บริเวณปากขวดบานออกเพื่อซ้อนได้ย่อมเป็นการลดปริมาตรและพื้นที่ผิวของบรรจุภัณฑ์ขนส่ง ซึ่งหมายถึง การลดต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ในการขนส่ง นอกจากนี้ ยังคงความแข็งแรงในการเรียงซ้อนของบรรจุภัณฑ์ชั้นในอีกด้วย 8 การลดจำนวนสีที่ใช้พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ การลดจำนวนสีที่พิมพ์ย่อมเป็นการลดค่าใช้จ่ายของบรรจุภัณฑ์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์สมัยใหม่จำต้องออกแบบให้พิมพ์สีน้อยที่สุด เช่น สีเดียวและใช้ความสามารถในการออกแบบสร้างความเด่นและความเป็นเอกภาพของตัวบรรจุภัณฑ์ นอกจากสีที่ใช้แล้ววัสดุเสริมต่างๆ ที่ใช้กับบรรจุภัณฑ์ เช่น สารยึดติดหรือกาวจะต้องไม่มีส่วนผสมของโลหะหนักจำพวก Cadmium Cd Arsenic As Stibium Sb Scandium Sc Barium Ba Copper Cu Zinc Zn หรือใช้ผงเงิน ผงทองในการพิมพ์ แนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวมาแล้วทั้ง 8 แนวทางนั้น การลดปริมาณการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์นับเป็นแนวทางที่ได้ผลมากที่สุด ในประเทศที่พัฒนาแล้วได้กำหนดให้ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์และผู้ใช้ ต้องลดปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์ต่อหน่วยสินค้าไม้น้อยกว่า 10 ต่อปี ส่วนการเลือกใช้วัสดุที่นำกลับมาใช้หรือผลิตใหม่นั้นจะแปรตามกลไกในการนำเอาซากบรรจุภัณฑ์กลับมา จะคุ้มกับการใช้วัสดุที่ผลิตจากวัสดุที่ผลิตใหม่หรือไม่นั้น เป็นสิ่งที่ต้องทำการศึกษากันต่อไป ทั้ง 2 แนวทางดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องให้รัฐบาลเข้ามาช่วยส่งเสริมและกำหนดเป็นนโยบาย ส่วนแนวทางอื่นๆ แต่ละบุคคลสามารถดำเนินการได้เอง ถ้าสามารถปลูกจิตสำนึกให้มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม < < ย้อนกลับ บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่2 อ่านต่อ บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่4 > > < < กลับสู่หน้าหลัก
บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่ 4
7 4 2 ตัวอย่างการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างที่ 1 การเปรียบเทียบขนาดของขวดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในแง่ของพลังงานขนย้ายและการผลิต ขวดบรรจุน้ำอัดลมที่มีขายอยู่ในตลาด สามารถนำมาวิเคราะห์ว่าขนาดเท่าใดจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่ากัน ยกตัวอย่างเช่น ขวด PET สำหรับน้ำอัดลมและน้ำดื่มซึ่งกำลังเป็นที่นิยมด้วยขนาด 1 2 และ 3 ลิตร สมมุติว่าขวดทั้ง 3 ขนาด ใช้ฝาขนาดเดียวกัน รูปทรงเหมือนกัน เนื้อพลาสติกแบบเดียวกัน แต่ความหนาไม่เท่ากันเนื่องจากขนาดบรรจุที่แตกต่างกัน ถ้ามองอย่างผิวเผินคงจะเดาว่าขวดขนาด 3 ลิตรน่าจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า เพราะสามารถบรรจุปริมาตรน้ำดื่มได้มากกว่าหน่วยบรรจุ ถ้ามีการจัดหน่วยบรรจุภัณฑ์ขนส่งเป็น 6 ลิตร ขวด 3 ลิตรจะใช้เพียง 2 ขวด ในขณะที่ขวดขนาด 2 ลิตรและ 1 ลิตร จะต้องใช้ 3 ขวดและ 6 ขวดตามลำดับ และยังต้องใช้จำนวนฝาที่มากขึ้นต่อหน่วยบรรจุภัณฑ์ขนส่ง จากการศึกษาพลังงานที่ใช้ในการขนย้ายของบรรจุภัณฑ์ทั้ง 3 ขนาดพบว่า พลังงานที่ใช้ขนย้ายน้ำดื่มและการผลิตของน้ำดื่ม 1000 แกลลอน ขวดขนาด 2 ลิตร ใช้พลังงานใกล้เคียงกับ 3 ลิตร คือ 20 1 ล้าน BTU กับ 19 7 ล้าน BTU ตามลำดับ ส่วนขวด 1 ลิตร จะใช้พลังงานต่อหน่วยสินค้ามากที่สุด 27 4 ล้าน BTU ดังแสดงในรูปที่ 7 2 ความได้เปรียบเสียเปรียบของขวดทั้ง 3 ขนาด ในแง่ของปริมาตรของขวดเมื่อทิ้งในขยะมูลฝอยมีความคล้ายคลึงกับการใช้พลังงานตามที่แสดงไว้ในรูปที่ 7 3 กล่าวคือ ขวดขนาด 1 ลิตร ใช้ปริมาตรในการกำจัดมูลฝอยมากกว่าอีก 2 ขนาด สรุปได้ว่าจากการศึกษานี้พบว่าขวดขนาด 2 และ 3 ลิตรจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าการศึกษาไม่ได้แสดงว่าไม่ควรผลิตหรือจำหน่ายน้ำดื่มขนาด 1 ลิตร เพราะต้องคำนึงว่าขวดขนาด 1 ลิตรจะเหมาะกับครอบครัวขนาดเล็ก และมีตลาดใหญ่พอสมควร ปัญหาอยู่ที่ว่าผู้ผลิตสามารถสร้างจิตสำนึกในการช่วยลดพลังงานให้แก่ผู้บริโภคหันมาซื้อขวดขนาด 2 และ 3 ลิตรได้อย่างไร รูปที่ 7 2 พลังงานที่ขนย้ายขวดน้ำดื่ม PET รูปที่ 7 3 ปริมาตรของขยะมูลฝอยของขวด PET เมื่อทิ้งในขยะ ตัวอย่างที่ 2 การออกแบบกล่องกระดาษลูกฟูกที่ประหยัดพื้นที่ กล่องกระดาษลูกฟูกที่ออกแบบ จะมีความกว้างของฝาที่ปิดพบกันที่จุดกึ่งกลางของด้านที่ปิดของกล่องพอดี การออกแบบกล่องจะสามารถออกแบบให้มีฝาเปิด Panel อยู่บนด้านใดด้านหนึ่งทั้ง 3 ด้านของกล่อง นอกจากนี้ยังสามารถออกแบบให้ฝาด้านนอกนั้นแตกต่างกันตามแนวความกว้างหรือความยาวของฝา ตัวอย่างที่ยกมาให้พิจารณาทั้ง 3 แบบนั้น แบบ ก ออกแบบให้เปิดอยู่ด้านที่ใหญ่ที่สุด ส่วนแบบ ข และ ค มีบริเวณเปิดอยู่ด้านที่เล็กที่สุดของกล่อง โดยที่แบบ ข มีฝาที่เปิดอยู่ตามแนวความกว้างของด้านที่เปิด ส่วนแบบ ค นั้นมีฝาอยู่ตามแนวความยาวของด้านที่เปิด เมื่อนำเอากล่องที่ออกแบบมาคลี่ออกในแนวแบนราบ Blank Sheet จะพบว่าบริเวณฝาที่เปิดปิดมีส่วนทำให้ใช้กระดาษเปลืองมากน้อยแตกต่างกัน ย่อมเห็นได้อย่างชัดเจนว่ากล่องแบบ ค ใช้พื้นผิวที่น้อยที่สุด เพราะว่าใช้กระดาษมาทำฝาน้อยกว่ากล่องอื่นๆ กล่องลูกฟูกแบบ ค นี้มีชื่อเรียกว่า Regular Slotted Container RSC เปิดปลาย End Openning ตามที่ได้แนะนำในบทที่ 2 แล้วว่า กล่องประเภทนี้ถ้าสามารถจัดเรียงสินค้าภายใน ให้กล่องมีความยาวต่อความกว้างต่อความสูงเป็นอัตราส่วน 2 1 2 จะเป็นกล่องที่ต้นทุนน้อยที่สุด การออกแบบบรรจุภัณฑ์นอกจากจะออกแบบให้ใช้พื้นที่ผิวน้อยต่อหน่วยปริมาตรสินค้าเดียวกัน ดังตัวอย่างที่ 2 อย่างไรก็ตาม หน้าที่สำคัญของบรรจุภัณฑ์คือ ปกป้องสินค้าที่อยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ ดังนั้นตัวอย่างที่ 3 แสดงถึงแนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สามารถป้องกันแรงกดทับในแนวดิ่ง ซึ่งมักจะพบภัยอันตรายนี้จากการวางซ้อนสินค้าในคลังสินค้า การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจึงต้องคำนึงถึงความสามารถในการป้องกันสินค้าด้วย มิฉะนั้นแล้วสินค้าที่ส่งไปยังจุดหมายปลายทางจะไม่สามารถจำหน่ายได้เนื่องจากการแตกหักชำรุดเสียหาย และย่อมเป็นการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติในการผลิต การขนส่งของสินค้าและบรรจุภัณฑ์นั้นๆ ด้วย รูปที่ 7 4 กล่องลูกฟูก 3 แบบ ห่อสินค้าขนาดเดียวกัน พื้นที่ที่แรเงาไว้เป็นพื้นที่ของฝา ตัวอย่างที่ 3 การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อป้องกันการแตกหักเสียหายและประหยัดต้นทุน ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับบรรจุขวดแบบ HDPE ซึ่งแบ่งบรรจุ ในกล่องกระดาษแข็งอีกชั้นหนึ่งจำนวนกล่องละ 12 ขวด จำนวนทั้งสิ้น 12 กล่องต่อการบรรจุในกล่องกระดาษลูกฟูก 1 กล่อง จะพบว่า กล่องกระดาษลูกฟูกนี้จะมีโอกาสถูกกดทับโดยน้ำหนักรวมทั้งหมดถึง 300 กิโลกรัม การออกแบบกล่องกระดาษลูกฟูกและกล่องกระดาษแข็งพร้อมขวด จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สามารถจัดส่งถึงผู้บริโภคโดยไม่มีการบอบช้ำเสียหายด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด การออกแบบทั่วๆ ไป อาจเริ่มจากการออกแบบกล่องลูกฟูกเปล่าๆ สามารถรับแรงกดได้ 300 กิโลกรัม แต่ถ้าพิจารณาอย่างลึกซึ้งพบว่า จำต้องเอาความสามารถในการรับแรงกดของกล่องกระดาษแข็งและขวดเข้ามาพิจารณาด้วย รูปที่ 7 5 แสดงความสามารถในการรับแรงกดของบรรจุภัณฑ์แต่ละชั้นเป็นกราฟแท่ง ความสามารถในการรับแรงกดของขวดแบบ HDPE และกล่องกระดาษแข็งมีค่า 100 และ 50 กิโลกรัม ตามลำดับ ในกรณี ก กล่องกระดาษลูกฟูกที่ใช้สามารถรับแรงกดได้ 120 กิโลกรัม เมื่อรวมความสามารถในการรับแรง ระบบบรรจุภัณฑ์แบบ ก 270 กิโลกรัม ย่อมไม่สามารถปกป้องสินค้าได้ Under Packaging กล่องที่ออกแบบตามกรณี ข จะสามารถรับแรงกดได้ตามต้องการ ส่วนกรณีของ ค นั้น เป็นการป้องกันเกินความต้องการหรือที่เรียกว่า Over Packaging บรรจุภัณฑ์ที่มีใช้อยู่ทั่วไปมักจะเป็นกรณี ค ซึ่งมีโอกาสที่จะลดค่าใช้จ่ายลงได้ ดังนี้ ลองพิจารณาในแง่ของค่าใช้จ่ายหรือต้นทุน รูปที่ 7 6 แสดงความสามารถรับแรงกดที่เท่ากันของระบบบรรจุภัณฑ์ 3 ประเภท ก คือ 300 กิโลกรัม แต่มีการออกแบบระบบบรรจุภัณฑ์ของแต่ละประเภทแตกต่างกัน โดยแบบ ข เป็นแบบมาตรฐานใช้ขวดแบบ HDPE ส่วนแบบ ง นั้นใช้ขวด PET ที่รับแรงกดได้สูงถึง 200 กิโลกรัม พร้อมทั้งใช้กล่องกระดาษแข็งที่แข็งแรงกว่ารับแรงกดได้ถึง 100 กิโลกรัม แต่แทนที่จะบรรจุในกล่องกระดาษแข็งจะใช้ฟิล์มหดแทน ส่วนแบบ จ เป็นแบบที่ใช้ขวด PE ธรรมดารับแรงกดได้เพียง 50 กิโลกรัม บรรจุในกล่องกระดาษแข็งที่แข็งแรงมากสามารถรับแรงกดได้ถึง 150 กิโลกรัม แล้วบรรจุในกล่องกระดาษลูกฟูกที่ใช้กระดาษบางหน่อยและมีราคาถูกรับแรงกดได้เพียง 100 กิโลกรัม ส่วนใน ตารางที่ 7 9 แสดงค่าใช้จ่ายของระบบบรรจุภัณฑ์แต่ละแบบค่าใช้จ่ายนี้คิดเป็นราคาบาทต่อความสามารถในการรับแรงกด 100 กิโลกรัม ผลปรากฏว่าระบบ ข และ ง มีค่าใช้จ่ายเท่ากัน ดังนั้นพิจารณาจากความได้เปรียบของขวด PE ที่มีโอกาสนำกลับมาย่อยสลายได้ง่ายกว่า เพราะมีระบบเก็บกลับมา Recycle ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด คือ ระบบบรรจุภัณฑ์แบบ ง รูปที่ 7 5 ระบบบรรจุภัณฑ์ที่รับแรงกดได้แตกต่างกัน รูปที่ 7 6 ระบบบรรจุภัณฑ์ที่รับแรงกดได้ตามต้องการ ตารางที่ 7 9 ค่าใช้จ่ายของระบบบรรจุภัณฑ์แต่ละประเภท ต้นทุนค่าใช้จ่าย บาท ต่อความสามารถในการรับแรงกด 100 กิโลกรัม ต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ บาท แบบ ข แบบ ง แบบ จ ขวด 1 HDPE 1 80 1 80 2 PET 4 00 8 00 3 PE 1 60 0 80 กล่องกระดาษแข็ง 10 00 5 00 10 00 15 00 กล่องกระดาษลูกฟูก 8 00 12 00 8 00 ฟิล์มหด 0 80 0 ค่าใช้จ่ายรวมของระบบบรรจุภัณฑ์ 18 80 18 80 23 80 7 5 ฉลากสิ่งแวดล้อม 7 5 1 ความหมายและการเรียกชื่อฉลากสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันนี้ มีประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากกว่า 20 ประเทศ ได้จัดตั้งองค์กรในแต่ละประเทศรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมดังแสดงไว้ในตารางที่ 7 10 พร้อมกันนี้แต่ละองค์กรได้ออกแบบสัญลักษณ์หรือฉลากใช้กำกับสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด สัญลักษณ์นี้ช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีความใส่ใจในการซื้อหาสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คำจำกัดความ ฉลากสิ่งแวดล้อม หมายถึง การใช้ฉลากในการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคว่าผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากนี้มีมาตรฐานเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า ฉลากสิ่งแวดล้อมในแต่ละประเทศมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน และมีมาตรการในการพิจารณาและแบ่งประเภทของสินค้าที่พิจารณาให้แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น สิงคโปร์จะเน้นในเรื่องกระดาษ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษเขียน กระดาษชำระ และกระดาษใช้ในสำนักงาน ส่วนประเทศที่มีวิวัฒนาการทางด้านฉลากสิ่งแวดล้อมจะครอบคลุมสินค้าได้มากกว่า เช่น ECO MARK ของญี่ปุ่น จะพิจารณารวมถึงสินค้าไม้ พลาสติก ยางพารา แก้ว วัสดุสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น สิ่งที่คล้ายคลึงกันในทุกๆ ประเทศ คือ ฉลากสิ่งแวดล้อมนี้จะดำเนินการด้วยองค์กรอิสระ ดำรงไว้ซึ่งมีความยุติธรรมในการพิจารณาโดยมุ่งหวังต่อการรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมของสินค้าประเภทต่างๆ เป็นสำคัญ ตารางที่ 7 10 รายชื่อฉลากสิ่งแวดล้อมในประเทศต่างๆ ที่ ประเทศ ชื่อฉลากสิ่งแวดล้อม ปี 1 EC Environmental Choice 1991 2 กลุ่มประชาคมยุโรป EU European Flower ไม่ระบุ 3 กรีซ ASAOS ไม่ระบุ 4 เกาหลีใต้ Cleaner and Greener 1992 5 แคนาดา Environmental Choice 1989 6 โครเอเชีย Environmental Friendly ไม่ระบุ 7 ญี่ปุ่น Eco Mark 1989 8 ไต้หวัน Green Mark 1992 9 ไทย Green Label 1993 10 นิวซีแลนด์ Environmental Choice 1990 11 เนเธอร์แลนด์ Stiching Milieuukeur 1992 12 บราซิล Selo Verde ไม่ระบุ 13 ฝรั่งเศส NF Environment 1992 14 ยุโรปเหนือ Nordic Council นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ Miljomarket Nordic Swan 1989 15 เยอรมัน Blue Angel Umwelt Zeichen 1978 16 ลักเซมเบอร์ก Ministere de Environment ไม่ระบุ 17 สเปน AENOR ไม่ระบุ 18 สิงคโปร์ Green Labeling 1992 19 สหรัฐอเมริกา Green Seal 1993 20 ออสเตรเลีย Environmental Choice 1991 21 ออสเตรีย Eco label Umwelt Zeichen 1990 22 อังกฤษ European Union Ecolabel Award ไม่ระบุ 23 อินเดีย Eco Mark 1992 24 อิสราเอล Green Label Program ไม่ระบุ หมายถึงชื่อขององค์กรที่รับผิดชอบ แหล่งที่มา 1 สำนักงานสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ISO 14020 ECOLABELLING ฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมกับอนาคตอุตสาหกรรมส่งออกไทย 2539 p 6 2 China External Trade Development Council Green Design We Just Have One Earth 1994 p 219 220 < < ย้อนกลับ บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่3อ่านต่อ บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่5 > > < < กลับสู่หน้าหลัก
บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่ 5
7 5 2 ความเป็นมาและกฎหมายเกี่ยวกับฉลากสิ่งแวดล้อมจากนานาประเทศ 1 ประเทศเยอรมัน วิวัฒนาการของฉลากสิ่งแวดล้อม เริ่มต้นจากประเทศในแถบยุโรปโดยมีประเทศเยอรมันเป็นหัวหอกและนับประเทศแรกที่เอาจริงเอาจังในการพัฒนาโครงการฉลากสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่ปี พ ศ 2521 ใช้ฉลากที่เรียกว่า นางฟ้าสีฟ้า Blue Angel ในการรณรงค์ปกป้องสิ่งแวดล้อมด้วยจุดมุ่งหมาย 3 ประการคือ ก ชี้แนะให้ผู้บริโภคซื้อเฉพาะแต่สินค้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ข ส่งเสริมให้ผู้ผลิตพัฒนาสินค้าที่รักษาสิ่งแวดล้อม ค รณรงค์ให้ฉลากนางฟ้าสีฟ้าเป็นสัญลักษณ์ในการส่งเสริมการจำหน่าย สิบสี่ปีให้หลังในปี 2535 ปรากฏว่ามีโรงงานเข้าร่วมโครงการนี้ 814 โรงและมีสินค้า 3325 ชนิดได้รับฉลากนางฟ้าสีฟ้า ในแง่ของผู้บริโภค ปรากฏว่าชาวเยอรมันกว่าร้อยละ 80 ทราบเรื่องฉลาก และเข้าใจหลักการของฉลากมากกว่าร้อยละ 70 ตัวฉลากนางฟ้าสีฟ้า ได้เริ่มจากการใช้คำว่า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Umweltfreundlich Environment Friendly มาแก้ไขเป็น ฉลากสิ่งแวดล้อม หรือ Umweltzeichen Environment Label ในปี พ ศ 2531 เพื่อหลีกเลี่ยงคำโฆษณาต่างๆ ที่มักใช้ประโยคว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รูปที่ 7 7 ฉลากนางฟ้าสีฟ้าในยุคแรก ความนิยมจากนางฟ้าสีฟ้า คงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ได้มีการพัฒนาระบบมหภาคในการจัดเก็บซากบรรจุภัณฑ์กลับมาผลิตใหม่ โดยมีการเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบจากแหล่งขายปลีก แหล่งชุมชน ตามถนนหนทาง โดยมีการพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาผลิตใหม่โดยใช้ชื่อว่าจุดเขียว Green Point หรือ Der Grune Punkt ซึ่งในสหรัฐอเมริกาเรียกว่า Green Dot บริษัทที่รับผิดชอบนี้มีชื่อว่า Duales System Deustschland DSD จัดตั้งเมื่อปี พ ศ 2533 โดยสมาคมผลิตเครื่องจักรบรรจุและผู้ประกอบการบรรจุภัณฑ์ พร้อมกับได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลส่วนกลาง ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อจัดการระบบการเก็บกลับซากบรรจุภัณฑ์และนำมาผลิตใหม่ให้เป็นประโยชน์ ปรากฏว่าระบบ DSD นี้ ได้ล้มลุกคลุกคลานในตอนแรกๆ พร้อมทั้งรัฐบาลกลางต้องจัดสรรงบประมาณแผ่นดินถึง 3 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐต่อปีในการสนับสนุนระบบนี้ให้สำเร็จ และในที่สุดระบบนี้ก็ได้รับความสำเร็จชนิดที่ประเทศอื่นๆ ต้องเลียนแบบและนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศของตน 2 กลุ่มสหภาพยุโรป The European Union EU โครงการฉลากสิ่งแวดล้อมของกลุ่มสหภาพยุโรปเริ่มในปี พ ศ 2531 ใช้ชื่อว่า European Flower โดยกำหนดไว้ใน Council Regulation EEC No 880 92 ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าและให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้บริโภคถึงผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ฉลากของ EU จะมีระบบตรงข้ามกับฉลากนางฟ้าสีฟ้าที่ว่า ฉลากของ EU จะไม่ใช้เป็นเครื่องหมายแสดงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ EU ตั้งเป้าหมายไว้ว่าผลิตภัณฑ์ในตลาด EU อย่างต่ำร้อยละ 40 ควรได้รับฉลากภายใน 2 3 ปี ฉลาก European Flower มิได้มีข้อกำหนดที่เป็นเอกภาพเช่นเดียวกับทุกประเทศ หากแต่เปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกสามารถออกข้อกำหนดที่เข้มงวดกว่าของ EU ไปประยุกต์ใช้ในแต่ละประเทศ 3 ญี่ปุ่น โครงการฉลากสิ่งแวดล้อมในญี่ปุ่นได้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างในเดือนธันวาคม ปี พ ศ 2529 หลังจากใช้เวลา 2 ปีกว่าในการศึกษาและเตรียมการ จึงได้เริ่มรณรงค์อีโค มาร์ค Eco Mark ในเดือนกุมภาพันธ์ พ ศ 2532 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค และสนับสนุนให้ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยหันมาเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรการในการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า วัตถุประสงค์หลักของ Eco Mark นั้น ต้องการที่จะให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคว่า สินค้านี้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตราสัญลักษณ์โครงการมีความหมายว่า Friendly to the Earth เป็นการปกป้องโลกผ่านสองมือของผู้บริโภค แต่ Eco Mark ไม่มีความพยายามที่จะสร้างมาตรฐานใหม่หรือเพื่อปกป้องผู้บริโภคในแง่ของการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือความปลอดภัยซึ่งจะแตกต่างจาก Blue Angel ผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลาก Eco Mark นั้น จะจำหน่ายได้ภายในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น บริษัทต่างชาติที่จำหน่ายสินค้าในญี่ปุ่นก็สามารถขอใช้ฉลาก Eco Mark ได้ เป็นสิ่งที่น่าสังเกตว่าสินค้า Eco Mark ได้รับความนิยมในหมู่คนรุ่นใหม่มากกว่าคนรุ่นเก่า รูปที่ 7 9 ฉลากอีโค มาร์ค Eco Mark 4 สหรัฐอเมริกา โครงการฉลากสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกานั้น มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ Federal Trade Commission FTC แต่มิได้แสดงบทบาทอย่างจริงจังต่อฉลากสิ่งแวดล้อม Green Labeling ปล่อยให้บริษัทเอกชนอีก 2 แห่ง คือ UL Underwriters Laboratories Inc ที่ใช้ฉลาก Green Seal และบริษัท Scientific Certification System Inc ที่มีชื่อบริษัทในเครือชื่อ Green Cross Certification Company ใช้ฉลาก Green Cross Certificate ต่างแข่งขันกันสร้างการยอมรับจากผู้บริโภคโดยหวังว่า ในอนาคตอันใกล้ FTC จะยอมรับตราของบริษัทใดบริษัทหนึ่งใช้เป็นฉลากสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ทั้งประเทศ 7 5 3 ความเป็นมาของฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย โครงการฉลากสิ่งแวดล้อมของไทย ได้จัดตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม Thailand Business Council for Sustainable Development TBCSD เมื่อเดือนตุลาคม พ ศ 2536 เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้บริโภคหันมาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดในกลุ่มของผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน โครงการฉลากสีเขียวต้องการผลักดันให้ผู้ผลิตคิดหาวิธี หรือขั้นตอนการผลิตที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและก่อให้เกิดมลพิษน้อยลง เพื่อลดมลภาวะโดยรวมที่เกิดจากการขยายตัวของเมืองและจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ฉลากเขียวยังเปรียบเสมือนเป็นรางวัลสำหรับผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมด้วย 1 ฉลากเขียว เป็นฉลากที่ออกให้กับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าซึ่งได้ผ่านการประเมิน และตรวจสอบแล้วว่าได้มาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อม หลักการทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นแนวทางการดำเนินโครงการฉลากเขียวและเป็นพื้นฐานแนวทางนำไปสู่การคัดเลือกกลุ่มสินค้าและการออกข้อกำหนดต่างๆ ได้แก่ ก การสนับสนุนให้มีการจัดการทรัพยากร ทั้งทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ Renewable Resources และทรัพยากรที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ Nonrenewable Resources อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ข การส่งเสริมให้มีการลดมลภาวะโดยรวมในประเทศโดยเฉพาะมลภาวะทางอากาศ มลภาวะทางน้ำและขยะ ค การส่งเสริมให้มีการผลิต การขนส่งและการกำจัดผลิตภัณฑ์ทางเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ ง การสนับสนุนให้มีการปกป้องรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ Biodiversity ในประเทศ ฉลากเขียวจะเป็นโครงการสมัครใจของผู้ผลิตและผู้จำหน่ายที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์ หลักการโครงการฉลากเขียว ได้มาจากแนวความคิดและความต้องการที่จะให้ประเทศไทยมีการพัฒนาแบบยั่งยืน Sustainable Development ยึดในหลักการการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม เป้าหมายของโครงการฉลากสีเขียวมีด้วยกันสามประการคือ 1 ลดมลภาวะโดยรวมในประเทศ 2 ให้ข้อมูลที่เป็นกลางต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย 3 ผลักดันให้ผู้ผลิตนำเทคโนโลยีและวิธีการผลิตที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาใช้ ซึ้งวัตถุประสงค์ข้อนี้จะส่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจแก่ผู้ผลิตเองด้วย หลักการในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ 1 เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่ออุปโภคบริโภคทั่วไปในชีวิตประจำวัน 2 คำนึงถึงผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และคุณประโยชนทางสิ่งแวดล้อมที่ได้รับเมื่อผลิตภัณฑ์นั้นถูกจำหน่ายออกสู่ตลาด 3 วิธีการตรวจสอบที่ไม่ยุ่งยากและไม่เสียค่าใช้จ่ายในการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์สิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนด 4 เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตมีทางเลือกอื่นในการผลิตที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า 2 การสมัครขอใช้ฉลากเขียว การขอใช้ฉลากเขียวเป็นความสมัครของผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย หรือผู้ให้บริการที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกฎหมายบังคับ ผู้ประสงค์จะขอใช้ฉลากเขียว สามารถขอรับเอกสารเพื่อกรอกข้อความได้ที่สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจะตรวจสอบเอกสารและหลักฐาน และจัดทำสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฉลากเขียวในการโฆษณาและติดที่ผลิตภัณฑ์ เมื่อผลิตภัณฑ์ผ่านการตรวจสอบตามข้อกำหนดแล้ว ผู้สมัครจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการใช้ฉลากเขียวและต่อสัญญาใช้ตามอายุที่กำหนด 3 ความสำคัญของฉลากเขียวต่อการค้าระหว่างประเทศ การกำหนดมาตรฐานฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมนับว่าเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งและมีปัญหามากด้วยเช่นกัน เพราะในหลายประเทศได้จัดทำโครงการฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมมานานแล้ว มาตรฐาน ISO ในอนุกรม 14000 ก็ได้กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมด้วย คือ Environmental Labelling วัตถุประสงค์ของการกำหนดมาตรฐานในระดับโลกเพื่อให้มีการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับสภาวะด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ แต่อย่างไรก็ตามแต่ละโครงการก็มีวิธีปฏิบัติในเรื่องนี้แตกต่างกันออกไป และมีการนำไปโฆษณาที่ผิดจากความเป็นจริง โดยอุตสาหกรรมจำนวนมากต่างก็อ้างว่าผลิตภัณฑ์ของตน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รูปที่ 7 10 ฉลากเขียว ประเทศในกลุ่มตลาดร่วมยุโรป EC ได้ออกมาตรการเกี่ยวกับภาระบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วให้ผู้ส่งออกต้องดำเนินการเป็นสองทางเลือก คือ โกยนำกลับประเทศหรือเสียค่าใช้จ่ายให้กับประเทศผู้นำเข้าดำเนินการกำจัดเอง โดยประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ประกาศใช้มาตรการภาระกำจัดมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ สรุปได้ดังนี้ ก ผู้ส่งออกต้องรับภาระขนส่งบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วทุกชนิดกลับประเทศ หรือ ข ต้องจ่ายเงินค่ากำจัดมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ให้กับประเทศผู้นำเข้าดำเนินการเองตามจำนวนมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ ตามหลักการของกฎหมายบรรจุภัณฑ์ของประชาคมยุโรป EC Directive on Packaging and Packaging Waste ส่วนที่เกี่ยวกับระบบมัดจำและเรียกคืนบรรจุภัณฑ์ได้นำเอามาตรการหลีกเลี่ยงมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ The Ordinance on the Avoidance of Packaging Waste ที่มีชื่อเสียงของเยอรมันมาเป็นแนวทาง ซึ่งอาจสรุปหลักการของกฎหมายข้างต้นบางส่วนดังนี้ 1 กฎหมายบรรจุภัณฑ์ของประชาคมยุโรป 1 ตั้งเป้าหมายในการเรียกคืนบรรจุภัณฑ์และมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ 2 ตั้งเป้าหมายในการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์และมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ 3 ตั้งข้อกำหนดในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 4 ส่งเสริมระบบการนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ซ้ำ 5 ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ 6 กำกับสัญลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ 2 มาตรการการหลีกเลี่ยงมูลฝอยบรรจุภัณฑ์ 1 กำหนดคุณลักษณะทั่วไปของบรรจุภัณฑ์ว่าจะต้องผลิตจากวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำหรือรีไซเคิล ต้องออกแบบให้มีขนาดและน้ำหนักน้อยที่สุด พร้อมทั้งสนับสนุนให้ใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดเติม Refill 2 กำหนดขอบเขตบังคับของกฎหมายกับผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายรวมทั้งการจำหน่ายสินค้าทางไปรษณีย์ แต่ไม่รวมบรรจุภัณฑ์สำหรับวัตถุอันตรายที่มีกฎหมายเฉพาะ 3 แยกบรรจุภัณฑ์ทั่วไปออกเป็น 3 ประเภทคือ บรรจุภัณฑ์บริโภคหรือบรรจุภัณฑ์ชั้นแรก Primary Packaging บรรจุภัณฑ์ชั้นนอกหรือบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สอง Secondary Packaging บรรจุภัณฑ์ขนส่ง Transport Packaging 4 แยกความหมายของบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มออกต่างหากจากบรรจุภัณฑ์ทั่วไป 5 ให้ความหมายของบรรจุภัณฑ์เรียกคืนเป็นการนำกลับมาใช้ซ้ำ 6 กำหนดหน้าที่ของผู้ผลิตและผู้จำหน่ายต้องรับคืนบรรจุภัณฑ์ขนส่งที่ใช้แล้วเพื่อนำมาใช้ซ้ำหรือรีไซเคิล 7 กำหนดหน้าที่ของผู้จัดจำหน่ายต้องแยกบรรจุภัณฑ์ชั้นนอกออกจากสินค้า หรือต้องจัดให้มีภาชนะรองรับบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม 8 กำหนดหน้าที่ของผู้จัดจำหน่ายต้องรับคืนบรรจุภัณฑ์ชั้นในที่นำมาจำหน่าย โดยจัดภาชนะรองรับ ณ จุดขายหรือจุดที่ใกล้จุดขาย 9 กำหนดหน้าที่ผู้จำหน่ายเครื่องดื่มในบรรจุภัณฑ์ปะเภทใช้แล้วทิ้งต้องเรียกเก็บมัดจำจากผู้ซื้อเป็นรายชิ้น และจะคืนมัดจำให้เมื่อมีการนำบรรจุภัณฑ์มาคืน 10 บรรจุภัณฑ์ซักล้างและทำความสะอาด และบรรจุภัณฑ์สีทาบ้านอยู่ในข่ายที่ต้องเรียกเก็บมัดจำเช่นเดียวกันกับบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม ยกเว้น บรรจุภัณฑ์ชนิดเติม เพื่อสนับสนุนการใช้บรรจุภัณฑ์ซ้ำ 11 มีข้อยกเว้นหน้าที่ของผู้จัดจำหน่ายที่ไม่ประสงค์จะรับคืนบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มของตน โดยกฎหมายให้ทางเลือกในการเข้าร่วมกับระบบซึ่งมีประกันที่เก็บรวบรวมบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วจากผู้บริโภค รัฐจะทำหน้าที่กำหนดเป้าหมายการเรียกคืน และถ้าอัตราการเรียกคืนต่ำกว่าเป้าหมายก็ต้องกลับมาใช้ระบบมัดจำตามเดิม 12 กำหนดมาตรการป้องกันบรรจุภัณฑ์ในเขตที่ได้รับยกเว้นการมัดจำที่มีระบบจัดเก็บโดยเอกชนอยู่แล้วข้ามไปยังเขตที่ใช้ระบบมัดจำและคืนบรรจุภัณฑ์อันจะทำให้การรวบรวมในเขตไม่ได้ปริมาณตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 13 กฎหมายเปิดให้ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และผู้จัดจำหน่ายทางไปรษณีย์ที่มีหน้าที่ สามารถมอบหมายบุคคลอื่นดำเนินการในหน้าที่ที่กฎหมายกกำหนดแทนได้ หรืออาจใช้เครื่องอัตโนมัติในการรับคืนบรรจุภัณฑ์และคืนเงินมัดจำได้ รูปที่ 7 8 ฉลาก EU < < ย้อนกลับ บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่4อ่านต่อ บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่6 > > < < กลับสู่หน้าหลัก
บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่ 6
7 6 เทคนิคการประเมินผลกระทบบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม Life Cycle Assessment หรือ LCA ในวิทยาการประเมินผลกระทบของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมเครื่องมือที่ได้การกล่าวขวัญมากที่สุด คือ LCA การวิเคราะห์หรือการประเมินวงจรชีวิต Life Cycle Analysis or Assessment หลักการพื้นฐานในการวิเคราะห์แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 Analysis เป็นการวิเคราะห์วงจรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ด้วยการรวบรวมตัวเลขการเข้าสู่และการออกจากคลังของวงจรชีวิตในรูปของพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และวัตถุดิบตลอดทั้งวงจรของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ขั้นตอนที่ 2 Assessment เป็นการศึกษาและการประเมินผลกระทบของคลังวงจรชีวิตที่มีต่อสภาวะสิ่งแวดล้อม จากวิธีการศึกษาทั้ง 2 ขั้นตอนดังกล่าวจึงเรียกชื่อตัวย่อ A ใน LCA บางครั้งว่า Analysis การวิเคราะห์ หรือ Assessment การประเมิน ตามรูปที่ 7 11 อธิบายแนวทางและขั้นตอนการวิเคราะห์วงจรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ รูปที่ 7 11 วงจรชีวิตของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ 7 6 1 การวิเคราะห์วงจรชีวิต ก่อนที่จะมีการประยุกต์การวิเคราะห์วงจรชีวิตบรรจุภัณฑ์ที่สามารถช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมมักจะคำนึงเฉพาะสถานะซากบรรจุภัณฑ์ที่ได้บริโภคแล้ว เช่น ความสามารถในการนำกลับมาผลิตและใช้ใหม่ ซากที่เหลือจากการทำลายด้วยวิธีการเผาไหม้ ปริมาตรของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ฝังดิน เป็นต้น แต่ในปัจจุบันนี้แนวความคิดที่จะพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมนั้นได้เปลี่ยนมาเป็นการวิเคราะห์วงจรชีวิตทั้งระบบ โดยเริ่มจากการออกแบบ การคัดเลือกประเภทของวัสดุที่จะนำมาแปรรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ วิธีการบริโภคและการทิ้ง พร้อมวิธีการทำลายบรรจุภัณฑ์ เทคนิคการวิเคราะห์วงจรชีวิตของบรรจุภัณฑ์จึงมีความสัมพันธ์กับผู้ผลิต นักวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมและผู้ที่สนใจอื่นๆ ในการศึกษาสถานะของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากหลักการวิเคราะห์ LCA นี้จึงเกิดมีอีกชื่อหนึ่งว่า การวิเคราะห์ความสมดุลทางนิเวศน์วิทยา Eco Balance Analysis ในประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Cradle To Grave Analysis สาเหตุเนื่องมาจากเป็นการวิเคราะห์ตั้งแต่เกิด คือผลิตวัตถุดิบจนกระทั่งจบสิ้นวงจรชีวิตบรรจุภัณฑ์ด้วยการฟังดินเสียส่วนใหญ่ ในการประเมินวงจรชีวิต จะประเมินปริมาณวัตถุดิบ พลังงานและแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ทั้งหมด เช่น น้ำ อากาศ และผลกระทบที่ทำให้เกิดมลภาวะต่างๆ และสิ่งที่สำคัญที่สุด การวิเคราะห์วงจรชีวิตจำต้องสรุปผลดีและผลเสียที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ประเพณีและเศรษฐกิจของสังคมนั้นๆ ด้วย 7 6 2 องค์ประกอบของวงจรชีวิต จากการสัมมนาของสมาคมเคมีและมลพิษทางนิเวศวิทยา หรือ SETAC Society of Environmental Toxicology and Chemistry ในปีพ ศ 2533 ประกอบด้วยวิศวกรรมและนักวิทยาศาสตร์จำนวน 44 คน เห็นพ้องกันว่าการวิเคราะห์วงจรชีวิตจะประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1 คลังของวงจรชีวิต Life Cycle Inventory เป็นฐานข้อมูล เปรียบเสมือนคลังเก็บข้อมูลของปริมาณพลังงาน ปริมาณวัตถุดิบ อากาศที่ใช้และปล่อยออกมา น้ำที่ปล่อยจากการผลิต ขยะที่ทิ้งและสิ่งที่ปล่อยออกมาสู่สิ่งแวดล้อมในวงจรชีวิตของสินค้า 2 ผลกระทบที่มีต่อวงจรชีวิต Life Cycle Impact Analysis เป็นการวิเคราะห์ทาเทคนิคเพื่อแยกแยะผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของคลังวงจรชีวิตในองค์ประกอบที่ 1 3 การพัฒนาวงจรชีวิต Life Cycle Improvement Analysis เป็นการวิเคราะห์ถึงความต้องการและความเป็นไปได้ในการลดมลภาวะต่างๆ อย่างมีระบบโดยครอบคลุมถึงพลังงาน วัตถุดิบในคลังวงจรชีวิตทั้งหมด สรุปจากองค์ประกอบทั้ง 3 การวิเคราะห์วงจรชีวิตต้องพิจารณาผลกระทบที่มีต่อสังคมที่อยู่พร้อมทั้งสภาพความเป็นอยู่ทั้งหมดของมนุษยชาติในสังคมนั้น เพื่อว่าสินค้าพร้อมบรรจุภัณฑ์นั้นๆ จะได้รับการยอมรับจากสังคม ผลจากการศึกษาอาจจะไม่มีคำตอบอย่างเด่นชัด แต่ข้อมูลและบทสรุปจะสามารถนำไปใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ และวางมาตรการการรักษาสิ่งแวดล้อมได้ 7 6 3 การจัดการวงจรชีวิต ผู้ผลิตสินค้า และผู้จัดจำหน่ายสามารถใช้การประเมินวงจรชีวิตเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งโดยการศึกษาผลกระทบของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ในแต่ละช่วงวงจรชีวิต ผลการศึกษาจะสามารถสร้างสภาวะการแข่งขันเหนือคู่แข่งขันได้ เช่น การได้รับการยอมรับจากสาธารณะชนเพิ่มมากขึ้นเพิ่มส่วนแบ่งตลาด ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มผลกำไร และแน่นอนที่สุดส่งผลกระทบต่อสภาวะสิ่งแวดล้อมน้อยลงกว่าเดิม วิธีการประยุกต์ใช้สามารถทำได้ดังนี้คือ 1 การออกแบบสินค้าและบรรจุภัณฑ์ สินค้าพร้อมบรรจุภัณฑ์สามารถออกแบบให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การผลิตสินค้าน้ำยาซักล้างแบบเข้มข้น ย่อมเป็นการลดปริมาณบนบรรจุภัณฑ์ต่อหน่วยปริมาตรสินค้า หรือการออกแบบให้บรรจุภัณฑ์สามารถนำกลับไปผลิต หรือใช้ใหม่ได้ง่าย และปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต เช่น การแปรรูปบรรจุภัณฑ์โดยที่ไม่ได้ใช้ส่วนประกอบใดๆ ที่จะเกิดผลเสียเมื่อมีการทำลายซากบรรจุภัณฑ์จากการฝังดิน หรือการเผาสลายด้วยการพยายามหลีกเลี่ยงการใช้สารที่ประกอบด้วยโลหะหนักเป็นต้น 2 การคัดเลือกวัตถุดิบ การเลือกวัตถุดิบที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่และความสะดวกในการแยกวัตถุดิบจากขยะ เช่น การนำขวด PET กลับมาย่อยสลายแล้วนำมาผลิตเป็นพรม เป็นต้น ย่อมเป็นการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าการนำไปทำลายทิ้งเสียเปล่าๆ 3 การผลิต จำหน่าย และจัดส่ง การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิผลการจัดระบบมาตรการลดมลภาวะ และการลดปริมาณขยะ ย่อมเป็นการลดต้นทุนรวม พร้อมทั้งไม่เพิ่มภาวะต่อสิ่งแวดล้อม 4 การใช้สินค้า ความได้เปรียบในเชิงการค้าในปัจจุบันนี้มักจะได้จากการวางตำแหน่งสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในประเทศที่พัฒนาแล้ว การโฆษณาของสินค้ามักจะอ้างถึงความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากการใช้สินค้า เพราะว่าผู้บริโภคมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ และสร้างแรงจูงใจต่อการเลือกซื้อสินค้านั้นๆ 5 การทำลาย ในชุมชนที่มีระบบการเก็บคัดแยกขยะและมีสถานที่ที่สามารถนำกลับมาผลิตเพื่อใช้ใหม่ของบรรจุภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่ง พร้อมทั้งมีอุตสาหกรรมรองรับวัสดุที่นำกลับมาผลิตใหม่ ผู้ผลิตสินค้าหรือวัสดุนั้นๆ ย่อมมีความได้เปรียบต่อการแข่งขันทางการค้า ในสหรัฐอเมริกา สถานที่ที่สามารถนำพลาสติกจำพวก PET และ HDPE กลับมาผลิตใหม่นั้นมีมากอยู่พอสมควร ย่อมส่งผลให้ผู้แปรรูปบรรจุภัณฑ์ของวัสดุทั้ง 2 ประเภทมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตสินค้ามีโอกาสเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้วัสดุดังกล่าวมากขึ้น การวิเคราะห์วงจรชีวิตนี้เป็นเพียงเทคนิคอย่างหนึ่งในการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาอาจจะมีความเป็นไปได้ในการนำไปสู่การผลิตสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์ใหม่ในเชิงพาณิชย์ ความเป็นได้มากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับการศึกษาความเป็นไปได้อย่างอื่นๆ ด้วย การศึกษาต้นทุนการตลาด เป็นต้น กล่าวอีกนัยหนึ่งว่าการวิเคราะห์วงจรชีวิตเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จะทำให้การวิเคราะห์สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นเท่านั้น 7 6 4 การวิเคราะห์ การวิเคราะห์วงจรชีวิตไม่ใช่เป็นกระบวนทางวิทยาศาสตร์ล้วนๆ แต่ประกอบด้วยศิลปะในการประเมิน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบในการประเมิน 4 ประการด้วยกันคือ 1 ขอบเขตการวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่น การเปรียบเทียบการใช้ผ้าอ้อมแบบทำจากผ้าและผ้าอ้อมที่ใช้แล้วทิ้ง ขอบเขตการวิเคราะห์จะรวมความไปถึงการใช้งานของเครื่องซักผ้าที่ซักผ้าอ้อมแบบผ้า และแบบที่ไม่ใช่ผ้าเป็นต้น ขอบเขตการวิเคราะห์นี้จะทำให้การศึกษาในเรื่องเดียวกันแต่ต่างองค์กรที่ทำการศึกษาได้ผลมาไม่เหมือนกัน จุดเริ่มต้นของขอบเขตการวิเคราะห์เริ่มจากการให้คำนิยามของระบบที่ศึกษา Define the System พร้อมจุดมุ่งหมายของการศึกษาให้เด่นชัด จากจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้จึงทำการกำหนดขอบเขตการวิเคราะห์ซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งว่า Boundaries of the System เพื่อศึกษาสิ่งที่เข้าและออกจากขอบเขตที่กำหนดไว้นี้ เช่น เริ่มจากการนำวัตถุดิบเข้ามายังขอบเขตที่ศึกษาและจบลงด้วยการฝังดินของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว ถ้าจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้เป็นการเปรียบเทียบขอบเขตที่ตั้งไว้ของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เปรียบเทียบควรจะเหมือนกับการสร้างแบบจำลอง แบบจำลองนี้คล้ายคลึงกับรูปแบบทางบัญชีที่เก็บตัวเลขของสิ่งที่เข้าสู่และสิ่งที่ออกจากขอบเขตการวิเคราะห์ เมื่อเก็บตัวเลขเหล่านี้แล้ว จะขั้นตอนคล้ายคลึงกับบัญชีแยกประเภท โดยการแยกประเภทการเข้าออกของพลังงาน วัตถุดิบ อากาศ และน้ำ เป็นต้น จากคลังวงจรของชีวิตแต่ละอย่าง เช่น การเข้าและออกของพลังงานดังแสดงในรูปที่ 7 12 แสดงการใช้พลังของกระบวนการปฏิบัติงานต่างๆ และปล่อยออกมาในรูปของขยะ น้ำเสีย อากาศ เป็นต้น รูปที่ 7 12 แบบจำลองการเข้าออกของพลังงานจากวงจรชีวิต 2 ฐานข้อมูลที่ใช้ ถ้าฐานข้อมูลมีความเหมาะสมสอดคล้องกับเป้าหมายการศึกษา ผลการศึกษาจะจำกัดเฉพาะขอบเขตที่ใช้ฐานข้อมูลที่นำมาศึกษาเท่านั้น แต่ถ้าใช้ฐานข้อมูลที่ไม่เหมาะสม ผลที่ได้ย่อมจะมีการเบี่ยงเบน นอกจากฐานข้อมูลที่ใช้แล้ว ยังต้องศึกษาถึงข้อสมมติฐานและวิธีการวิเคราะห์ที่ใช้อีกด้วย ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ฐานข้อมูลดังกล่าวอาจจะสามารถจัดซื้อจัดหาเองได้จากส่วนราชการ สมาคมการค้า หรือบริษัทที่ปรึกษาที่มีผลงานในเรื่องนี้ ในส่วนของบรรจุภัณฑ์มีการใช้วัตถุดิบจำกัดเพียง 4 ประเภทดังที่กล่าวมาแล้ว คือ เยื่อและกระดาษ แก้ว พลาสติก และโลหะ และมีวิธีการผลิตไม่หลากหลายนัก ด้วยเหตุนี้จึงมีโอกาสที่นำเอาฐานข้อมูลที่เคยศึกษาแล้วจากแหล่งต่างๆ มาใช้ได้ เช่น ข้อมูลทางด้านพลังงาน วัตถุดิบ มลภาวะที่เกิดขึ้น และขยะเป็นต้น 3 ระดับความละเอียด การเจาะลึกของข้อมูลนี้ขึ้นอยู่กับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อการศึกษา ตัวอย่างเช่น การศึกษาสภาวะสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ถ้าจะครอบคลุมถึงปริมาณอากาศที่หายใจของคนทำงานเพื่อทราบถึงปริมาณออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ที่จำเป็นต่อการหายใจ ข้อมูลนี้อาจจะละเอียดเกินไปในสภาวะทั่วๆ ไป แต่ในกรณีที่มีการวิเคราะห์คุณภาพอากาศในที่ทำงานข้อมูลนี้ย่อมมีความจำเป็นต่อการวิเคราะห์ ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่าความละเอียดของข้อมูลจะแปรตามขอบเขตและจุดมุ่งมั่นของการศึกษา 4 วิธีการเปรียบเทียบ ตัวอย่างเช่น สินค้า ก ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศมากกว่าสินค้า ข แต่สินค้า ข ก็ก่อให้เกิดมลภาวะทางน้ำมากกว่าสินค้า ก สินค้าตัวใดจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ากัน เป็นต้น การศึกษาจำต้องเจาะข้อมูลในหลายแง่มุมมาเปรียบเทียบกัน และตั้งเป็นดรรชนีมาตรฐานในการเปรียบเทียบมลภาวะที่เกิดดังกล่าวของสินค้า ก และสินค้า ข การวิเคราะห์ที่ได้ผลนี้จะต้องลดข้อจำกัดต่างๆ กันทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมาแล้วให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ ตัวอย่างเช่น พัฒนาฐานข้อมูลที่เหมาะสมและใช้งานได้ถูกต้อง มีการทบทวนวิธีการวิเคราะห์ และการใช้การวิเคราะห์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน บทสรุป ในสังคมที่เกือบจะทุกวันได้ยินหรือได้อ่านคำว่ารีไซเคิลหรือฉลากสีเขียวเบอร์อะไรต่อมิอะไรในสื่อต่างๆ ย่อมเป็นการแสดงว่าการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่อนุชนรุ่นหลังมีบทบาทเข้ามาในชีวิตประจำวันมากขึ้นทุกวัน วงการอุตสาหกรรมอาหารหลีกหนีกระแสจากสังคมในด้านนี้ไม่พ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรจุภัณฑ์ที่จำต้องใช้ในการทำหน้าที่เป็นพาหะให้แก่อาหารที่จำหน่ายได้รับการเพ่งเล็งจากผู้ซื้อมากยิ่งขึ้นว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน ยิ่งถ้าเป็นอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกไปยังประเทศที่พัฒนาแล้วยิ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ได้ตามกฎเกณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อมของประเทศที่นำเข้า บทนี้ได้เริ่มบรรยายถึงความจำเป็นของบรรจุภัณฑ์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาจากพลังงานที่ใช้ในการผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ ปริมาณของขยะมูลฝอยที่ทิ้งตามบ้านมีบรรจุภัณฑ์อยู่ประมาณหนึ่งในสามของน้ำหนัก และผลกระทบของการผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่มีมลภาวะเป็นหลัก อาวุธที่สำคัญที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การศึกษาวงจรของบรรจุภัณฑ์พร้อมทั้งแนวทางในการลดการใช้บรรจุภัณฑ์ ซึ่งประกอบด้วยวิธีการลดการทิ้งบรรจุภัณฑ์หลังบริโภค วิธีการเก็บบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วกลับมาผลิตและใช้ใหม่ คือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการกำจัดซากบรรจุภัณฑ์ การศึกษาแนวทางทั้ง 3 นี้ ย่อมมีส่วนช่วยผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์สามารถเลือกประเภทบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้มากที่สุด การศึกษาสถานะของการจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วย่อมมีส่วนช่วยการตัดสินใจในการเลือกประเภทของวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาของสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์เริ่มจากการออกแบบด้วยการลดปริมาณวัสดุบรรจุภัณฑ์ต่อหน่วยน้ำหนัก ปริมาตร การเพิ่มความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์อาหาร การเลือกใช้วัสดุที่ได้จากธรรมชาติ การรวมกลุ่มของสินค้า การใช้สัญลักษณ์เพื่อช่วยในการแยกประเภทของพลาสติก และการลดจำนวนสีที่ใช้พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ตัวอย่างในการออกแบบที่เสนอมานี้ พิจารณาสิ่งแวดล้อมในแง่ของพลังงานที่ใช้ในการผลิตและการขนส่ง การลดพื้นที่ผิวของบรรจุภัณฑ์เพื่อใช้บรรจุภัณฑ์อย่างมีประสิทธิผล และลดความเสียหายที่จะเกิดกับอาหารในบรรจุภัณฑ์ระหว่างการเรียงซ้อนโดยมีการเปรียบเทียบกับต้นทุนค่าใช้จ่ายของบรรจุภัณฑ์แต่ละระบบที่ออกแบบ หัวข้อสุดท้ายได้อธิบายถึงความเป็นมาของฉลากสิ่งแวดล้อมในประเทศต่างๆ ที่เป็นคู่ค้าสำคัญกับประเทศไทย โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศประชาคมยุโรปที่มีการรณรงค์เรื่องนี้อย่างจริงจัง บทนี้จบลงด้วยการอธิบายเทคนิคการประเมินผลกระทบของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม หรือที่รู้จักกันสั้นๆ ว่า LCA เทคนิคการประเมินนี้จะสัมฤทธิ์ผลได้เมื่อมีการกำหนดขอบเขตการวิเคราะห์อย่างเด่นชัด พร้อมทั้งการหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องซึ่งยังเป็นที่ขาดแคลนอย่างยิ่งในประเทศไทย < < ย้อนกลับบรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่5 < < กลับสู่หน้าหลัก
เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 1
เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ผู้ประกอบการทางด้านแปรรูปอาหาร ย่อมจะต้องมีเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ใช้อยู่ไม่มากก็น้อยเนื่องจากเมื่อมีการแปรรูปอาหารเสร็จแล้ว ย่อมต้องใช้บรรจุภัณฑ์ทำหน้าที่ส่งสินค้าไปยังจุดขายและเครื่องบรรจุภัณฑ์ย่อมเข้ามามีบทบาทในการทำหน้าที่บรรจุและปิดผนึก ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ โดยทั่วไปมักจะนึกถึงเครื่องบรรจุใส่ขวด เครื่องห่อ เครื่องปิดซองพลาสติก เครื่องปิดกระป๋อง เป็นต้น ในสภาพความเป็นจริง นอกจากเครื่องบรรจุและเครื่องปิดผนึกสำหรับอาหารประเภทต่างๆ ดังกล่าวแล้ว เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ยังรวมถึงเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องปั๊มกล่อง เครื่องเป่าพลาสติก เครื่องเป่าขวดแก้ว เป็นต้น นอกจากนี้เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารเป็นอีกประเภทหนึ่งที่นับได้ว่าเป็นเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ประเภทสุดท้าย คือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบบรรจุภัณฑ์ เริ่มจากอุปกรณ์ง่ายๆ เช่น ตาชั่งเพื่อใช้ชั่งน้ำหนักมาตรฐาน หรืออุปกรณ์วัดความหนาของวัสดุบรรจุภัณฑ์ จนถึงเครื่องจักรที่ใช้ในการทดสอบขนาดใหญ่ เช่น เครื่องวัดแรงกดของกล่องกระดาษลูกฟูก ซึ่งเป็นเครื่องขนาดใหญ่สามารถวัดแรงกดของสินค้าที่เรียงวางบนกะบะทั้งหมดโดยมีขนาดความกว้างและความยาวของกะบะประมาณเมตรครึ่ง สรุปได้ว่าเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์นั้นมีถึง 3 ประเภทด้วยกัน คือ เครื่องจักรผลิตบรรจุภัณฑ์ เครื่องบรรจุต่างๆ และเครื่องทดสอบ สาระในบทนี้จะบรรยายถึงเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการบรรจุหีบห่อเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร 81 การเลือกเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ปริมาณของบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตหรือบรรจุได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งมักจะเป็นคำถามที่ตั้งขึ้นในการจัดหาเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ปริมาณที่ต้องการผลิตหรือบรรจุได้นี้ ไม่ใช่ปริมาณความต้องการในปัจจุบันเท่านั้น แต่ต้องประเมินถึงความต้องการในอนาคตด้วย การเลือกเครื่องจักรที่จะลงทุนให้สามารถรองรับการผลิตในอนาคตได้นานแค่ไหน ย่อมขึ้นอยู่กับงบประมาณและเครื่องจักรที่มีอยู่ในตลาดเท่าที่จะจัดหาได้ ตามที่บรรยายมาก่อนในเรื่องพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เมื่อกล่าวถึงเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์จะมีศัพท์ที่ว่าความเข้ากันได้กับเครื่อง Machinability ความหมายคือเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ต้องทำงานร่วมกับวัสดุบรรจุภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี คำจำกัดความ ความเข้ากันได้กับเครื่อง Machinability คือ ความสามารถของเครื่องจักรที่จะสามารถทำการป้อน ขนถ่าย ตัด ขึ้นรูป บรรจุ หรือหน้าที่อื่นๆที่กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ถูกต้องด้วยความรวดเร็วที่ได้กำหนดและความผิดพลาดน้อยที่สุด คำจำกัดความดังกล่าวเปรียบเทียบกับความเข้าใจของคนทั่วไปจะพบว่าการใช้เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์นอกเหนือจากความเร็วแล้ว จำต้องพิจารณาถึงความผิดพลาดที่จะก่อให้เกิดการหยุดเครื่อง Downtime ของเครื่องจักร นอกจากนี้ยังต้องพิจารณางานที่ทำได้ตามกำหนดของเครื่องจักร เช่น เครื่องบรรจุสามารถบรรจุได้ปริมาตรมากน้อยแค่ไหน และบรรจุใส่ขวดความสูงความกว้างตามที่กำหนดของเครื่อง สำหรับวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมนั้นจำต้องรู้ข้อกำหนดลักษณะของบรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้งานกับเครื่องจักรดังกล่าว 8 1 1 องค์ประกอบในการพิจารณาเครื่องจักร องค์ประกอบที่ใช้ในการพิจารณาเครื่องจักรมีอยู่มากมาย แต่องค์ประกอบหลักประกอบด้วยความเร็ว สถานที่ติดตั้ง ระบบการควบคุม ค่าใช้จ่าย และการบริการ นอกจากนี้การพิจารณาจัดหาเครื่องจักรเครื่องเดียว และการพิจารณาจัดหาเครื่องจักรสำหรับกระบวนการผลิตทั้งหมดก็มีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน องค์ประกอบที่สำคัญที่พิจารณาก่อนมักจะเป็นความเร็วหรือประสิทธิผลของกระบวนการผลิตทั้งหมด 1 ความเร็ว ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว องค์ประกอบแรกของเครื่องจักรที่คนทั่วไปมักคิดถึง คือ ความเร็วโดยเปรียบเทียบกับเงินที่ต้องลงทุน ตัวเครื่องจักรมีความเร็วที่สามารถวิ่งได้ตามที่ออกแบบเรียกว่า Mechanical Speed แต่ในขณะที่เดินเครื่องจริงในการใช้งาน ความเร็วนี้จะแปรตามปัจจัยที่เข้ามาประกอบ อันได้แก่ วัสดุหรือบบรรจุภัณฑ์ ตัวสินค้า การควบคุมเครื่อง และปัจจัยอื่นๆ ดังนั้น จึงต้อพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ด้วยในการเลือกซื้อเครื่องจักร ความเร็วต่างๆ อาจแบ่งเป็น ความเร็วที่วิ่งเครื่องเพียงอย่างเดียว ความเร็วที่วิ่งโดยมีบรรจุภัณฑ์ป้อนผ่าน ความเร็วที่วิ่งได้เมื่อมีการบรรจุสินค้าใส่ในบรรจุภัณฑ์ ความเร็วต่างๆที่กล่าวมานี้ เป็นความเร็วที่ต้องทดลองก่อนที่จะตัดสินใจซื้อเครื่อง ในสภาวะการทำงานจริงๆ ถ้าเครื่องใช้งานอยู่ประจำสามารถวิ่งได้ 80 ของความเร็วที่ทดสอบจริงพร้อมสินค้าและบรรจุภัณฑ์ก็นับได้ว่ามีประสิทธิภาพที่ดี ในกรณีที่พิจารณากำลังสินการผลิตขอสายงานการบรรจุ ตัวอย่างเช่น เริ่มตั้งแต่การบรรจุสินค้าใส่ในบรรจุภัณฑ์ มีการปิดฉลาก จนกระทั่งถึงการวางเรียงบนกะบะ ถ้าในกระบวนการบรรจุนี้ต้องการประสิทธิผลในการทำงาน 100 หน่วย เครื่องบรรจุในขั้นตอนแรกสุดควรจะมีความสามารถบรรจุได้ 120 หน่วย ในขณะที่เครื่องจักรขั้นตอนสุดท้ายคือ การเรียงวางบนกะบะควรมีความสามารถทำงานได้ 140 หน่วย ถ้ามีการเผื่อความเร็วไว้ดังนี้ เวลาการทำงานจริงจะสามารถเดินเครื่องทั้งหมดในกระบวนการบรรจุได้ 100 หน่วยตามต้องการ เพราะได้สำรองความเสียหายที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอน ในสายงานการบรรจุนี้ยังต้องมีเครื่องจักรหรือบริเวณที่รองรับเก็บสินค้าระหว่างการผลิต ถ้าเครื่องจักรเครื่องใดเครื่องหนึ่งในกระบวนการผลิตต้องหยุดและเครื่องที่เหลือในกระบวนการผลิตยังเดินเครื่องอยู่ บริเวณที่รองรับนี้ควรจะมีความสามารถรองรับได้ 1 เท่าครึ่งของเวลาที่คาดว่าจะหยุด เช่นความเร็วในการผลิตของทั้งกระบวนการผลิต คือ 100 หน่วยต่อนาที และคาดว่าเครื่องปิดฉลากจะหยุดใน 10 นาทีในการใส่ฉลากใหม่ บริเวณที่จะรองรับก่อนถึงเครื่องปิดฉลากควรจะรองรับได้ 100 x 10 x 1 5 1500 หน่วย สถานที่รองรับนี้ เมื่อมีการนำสินค้าเข้าไปเก็บจำต้องมีอุปกรณ์ที่จะส่งสินค้าออกไปสู่เครื่องต่อไปเมื่อเดินเครื่องใหม่ การประเมินความเร็วของเครื่องจักในกระบวนการผลิตดังแสดงในรูปที่ 8 1 รูปที่ 8 1 แสดงการประเมินความเร็วของเครื่องจักรในกระบวนการผลิต 2 สถานที่ติดตั้งเครื่องจักร การจัดเรียงวางเครื่องจักรมีผลต่อประสิทธิภาพในการผลิต บรรจุ การจัดเรียงวางของเครื่องจักรเป็นแนวเส้นตรงมักจะเป็นการจัดเรียงวางที่นิยมมากที่สุด ส่วนการจัดเรียงวางเป็นรูปตัวยู U มักจะจัดเรียงวางเมื่อมีพื้นที่จำกัดและเหมาะสำหรับกระบวนการผลิตที่ไม่เร็วมากนัก เนื่องจากความสะดวกที่นำวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิตและนำสินค้าสำเร็จรูปกลับเข้าสู่คลังสินค้าด้วยระยะทางที่ไม่ห่างไกลกันนักเนื่องจากเป็นรูปตัวยู ถ้าสถานที่ติดตั้งเครื่องมีไม่มากพอนัก ย่อมมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจจัดหาเครื่องจักรใดๆ จำต้องพิจารณาพื้นที่ที่ต้องใช้ของเครื่องจักรให้รอบคอบ 3 การควบคุม ระบบการทำงานของเครื่องจักรที่สามารถควบคุมและใช้งานได้ง่ายย่อมเป็นที่นิยม ระบบการควบคุมของเครื่องจักรอาจจะควบคุมได้หลายวิธี เช่น ควบคุมด้วยเชิงกล Mechanical ควบคุมด้วยไฟฟ้า ควบคุมด้วยลม ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น หรือการผสมผสานกันหลายๆระบบเข้าด้วยกัน ระบบควบคุมด้วยไฟฟ้าและเชิงกลเป็นระบบที่ใช้กันมานานและดูแลง่ายด้วยความรู้พื้นฐานของช่างทั่วไป ระบบคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นและจำต้องมีช่างเฉพาะสาขาช่วยในการซ่อมแซมดูแลรักษา ส่วนการซ่อมแซมของระบบคอมพิวเตอร์เป็นได้ลำบากนอกจากว่าจะเปลี่ยนทั้งแผง ส่วนระบบลมนั้นเป็นระบบใหม่ที่ใช้ง่ายและสะดวก แต่อาจจะไม่คงทนนักและต้องคอยปรับบ่อยๆ ระบบลมจะเหมาะสำหรับสภาวะแวดล้อมการทำงานที่กลัวการเกิดประกายไฟ 4 การติดตั้ง การบำรุงรักษา และการบริการหลังการขาย บริการต่างๆ เหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญในการเลือกเครื่องจักร เริ่มจากการติดตั้งและการสอนให้ใช้เครื่องจักร บทเริ่มต้นนี้เป็นการปูทางให้มีการใช้และบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างถูกต้อง การเริ่มต้นที่ดีอาจตีมูลค่าครึ่งหนึ่งของค่าเครื่องจักร เพราะเป็นพื้นฐานการคุมเครื่องให้ได้ประสิทธิผล และลดค่าใช้จ่ายของอะไหล่ เนื่องจากบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้อง เครื่องจักรที่ออกแบบมาดีสามารถทำการบำรุงรักษาได้ง่าย กล่าวคือ การบำรุงรักษาทำได้ทุกวันอย่างง่ายดายด้วยการกดปุ่มเพียงปุ่มเดียว โดยไม่จำเป็นต้องหยุดเครื่อง เป็นต้น การซ่อมแซมรักษาจึงต้องกระทำได้อย่างสะดวกและควรจะมีไฟแจ้งบอกบริเวณที่ติดขัดบนแผงควบคุมพร้อมทั้งเข้าถึงจุดต่างๆ ภายในเครื่องได้ง่าย และสามารถเปลี่ยนชิ้นส่วนได้เร็วและสามารถหาอะไหล่เปลี่ยนได้ง่าย 5 ค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายที่แท้จริงของเครื่องจักรใดๆ ไม่ใช่เฉพาะเงินที่ใช้จ่ายในการซื้อเครื่องจักรเท่านั้น อันดับแรกที่ต้องพิจารณาคือ ค่าดอกเบี้ย การลงทุนซื้อเครื่องจักรเหมือนกับการลงทุนอื่นๆที่ต้องมีดอกเบี้ยเกิดขึ้น มิฉะนั้นเอาเงินที่จะลงทุนไปฝากธนาคารกินดอกเบี้ยดีกว่า ด้วยเหตุนี้การลงทุนในเครื่องจักรจะต้องมีผลผลิตที่ขายได้กำไรมากพอจ่ายดอกเบี้ยตามเวลาที่กำหนดจะใช้เครื่องจักรนั้นๆ การเดินเครื่องย่อมมีค่าใช้จ่ายและค่าใช้จ่ายนี้สูงมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเครื่องเก่าลง ค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องเป็นค่าใช้จ่ายที่มีปริมาณมากพอสมควร เช่น ค่าแรง ค่าไฟฟ้า ค่าวัสดุที่สูญเสีย เป็นต้น และค่าใช้จ่ายที่สำคัญก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องจักรใดๆ คือ ค่าอะไหล่ด้วยเหตุนี้ค่าใช้จ่ายรวม คือ ค่าเครื่องจักรที่รวมดอกเบี้ยแล้วบวกกับค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่อง รูปที่ 8 2 แสดงถึงอัตราค่าใช้จ่ายของเครื่องจักรแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา สิ่งที่น่าสังเกตคือ ค่าใช้จ่ายรวมจะลดลงต่ำที่สุดเมื่อถึงปีที่ 5 แต่เครื่องจักรยังคงใช้งานได้ ณ จุดนี้ควรเริ่มพิจารณาหาเครื่องใหม่มาทดแทน เนื่องจากค่าใช้จ่ายรวมเริ่มทวีมากขึ้น และเมื่อไรก็ตามที่ค่าใช้จ่ายรวมมากกว่าค่าใช้จ่ายของเครื่องใหม่เมื่อนั้นย่อมเป็นเวลาที่ต้องสั่งซื้อเครื่องใหม่ รูปที่ 8 2 ค่าใช้จ่ายที่แปรเปลี่ยนตามเวลา ตารางที่ 8 1 แสดงการพิจารณาเลือกเครื่องจักรบรรจุกระป๋อง 3 รุ่นโดยใช้องค์ประกอบต่างๆ 14 องค์ประกอบ แต่ละองค์ประกอบมีน้ำหนักหรือความสำคัญไม่เท่ากัน คะแนนรวมของความสำคัญมีค่าเท่ากับ 100 คะแนน แต่ละองค์ประกอบให้คะแนน 3 ระดับ คือ 1 2 และ 3 คะแนน คะแนนที่ให้ในแต่ละองค์ประกอบคูณด้วยน้ำหนักหรือความสำคัญ จะเป็นคะแนนรวมของแต่ละองค์ประกอบ เมื่อรวมคะแนนทั้งหมดก็จะทราบว่า เครื่องจักร ค เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด ส่วนเครื่องจักร ข ได้คะแนนรวมไม่ห่างจากเครื่องจักร ค มากเท่าไรนัก แต่เครื่องจักร ก นั้นได้คะแนนรวมต่ำจนแทบไม่ต้องพิจารณาเลย ตารางที่ 8 1 แสดงการเลือกเครื่องจักรโดยใช้องค์ประกอบต่างๆ ที่ องค์ประกอบ หน่วย น้ำ หนัก ผู้ผลิต เครื่องจักร ก เครื่องจักร ข เครื่องจักร ค ผล คะ แนน รวม ผล คะ แนน รวม ผล คะ แนน รวม 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 ราคา x1000 บาท ระยะส่งเครื่อง เดือน ความเร็ว หน่วย นาที ความละเอียดในการบรรจุ โดยน้ำหนัก กรัม พื้นที่ที่ใช้ ตร ม ความสูงของเครื่อง เมตร การเดินเครื่อง ประสิทธิภาพรวมในการบรรจุ เวลาใช้ในการเปลี่ยนขนาด ชม การออกแบบเครื่อง ระบบควบคุม ชื่อเสียงผู้ผลิต การบริการ ระบบการต่อกับเครื่องอื่น 2 4 10 13 9 9 10 14 2 9 7 2 2 7 428 6 300 1 1 3 8 1 2 ดี ปานกลาง 4 เลว ดี ปานกลาง ปานกลาง ดี 2 2 1 3 1 1 3 2 2 1 3 2 2 3 4 8 10 39 9 9 30 28 4 9 21 4 4 21 408 4 320 1 1 2 5 1 0 ดี ปานกลาง 4 ปานกลาง ปานกลาง เลว ปานกลาง เลว 3 3 2 3 3 2 3 2 2 2 2 1 2 1 6 12 20 39 27 18 30 28 4 18 14 2 4 7 427 8 360 1 2 3 0 1 0 ดี ดี 4 ดี ปานกลาง ดี ปานกลาง ปานกลาง 2 2 3 1 2 2 3 3 2 3 2 3 2 2 4 8 30 13 18 18 30 42 4 27 14 6 4 14 รวมคะแนน 100 เครื่องจักร ก 200 เครื่องจักร ข 229 เครื่องจักร ค 232 8 2 ระบบการบรรจุ หัวข้อต่อไปนี้จะกล่าวถึงระบบการบรรจุของเครื่องจักรอุปกรณ์และประเภทของบรรจุภัณฑ์เป็นพื้นฐานโดยทั่วไปก่อนเพื่อเสริมความเข้าใจ แล้วจึงกล่าวถึงเครื่องจักรอุปกรณ์แต่ละชนิดต่อไป ระบบการบรรจุแบ่งตามประเภทของผลิตภัณฑ์ ดังนั้น การเลือกระบบบรรจุจึงต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญต่างๆ ของสินค้า และขอบเขตของงานที่ใช้บรรจุ 8 2 1 ประเภทของผลิตภัณฑ์อาหาร สำหรับการแบ่งประเภทของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่เด่นชัด คือ การแบ่งตามกายภาพ อันได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหารแห้งและของเหลว 1 ผลิตภัณฑ์ของแห้ง ผลิตภัณฑ์ของแห้งจะครอบคลุมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นชิ้น เป็นเม็ด เป็นก้อนหรือเป็นแผ่น ซึ่งสามารถทำการนับได้ ผลิตภัณฑ์ของแห้งนี้รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นเกล็ดที่สามารถไหลตกด้วยตัวเอง คุณสมบัติที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การมีความเหนียวแน่นคงที่ซึ่งทำให้สะดวกและแน่นอนในการบรรจุ การชั่งตวง ส่วนผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่สามารถไหลตกได้ด้วยตัวเองอย่างอิสระและมีลักษณะจับเป็นกลุ่มหรือเป็นก้อนหรือเป็นผงละเอียด ทำให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีความหนาแน่นไม่คงที่ จึงไม่สามารถบรรจุโดยใช้แรงโน้มถ่วงได้ แต่ต้องอาศัยระบบเกลียวช่วยในการส่งผ่านสู่ท่อบรรจุ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่เป็นแผ่นชิ้น เช่นมันฝรั่งทอด ซึ่งมีคุณลักษณะแตกหักง่าย การใช้ระบบบรรจุป้อนแบบสั่นสะเทือนและบรรจุแบบน้ำหนักสุทธิจะเป็นการบรรจุที่เหมาะสมกว่า 2 ผลิตภัณฑ์ของเหลว ผลิตภัณฑ์ที่มีความเหนียวข้นต่ำซึ่งสามารถไหลตกด้วยตนเองจะบรรจุได้ง่าย ส่วนผลิตภัณฑ์ของเหลวที่มีความเหนียวข้นสูงจำเป็นต้องออกแบบเครื่องจักรบรรจุให้ช่วยอัดหรือดันทำให้บรรจุยากกว่า ในการบรรจุขึ้นกับองค์ประกอบอื่นๆ ของผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นอาหารเหลว เช่น อุณหภูมิในการบรรจุ แนวโน้มที่จะรวมตัวกับอากาศ ความตึงที่ผิวหน้า เป็นต้น ผลิตภัณฑ์อาหารบางประเภทจะมีส่วนผสมของอาหารและมวลแขวนลอยต่างๆ กัน เช่น ซุปสำเร็จรูป จะมีผักหลายชนิด พร้อมทั้งเนื้ออบแห้งและน้ำซุปผสมอยู่ ซึ่งไม่สามารถจะทำการบรรจุครั้งเดียวด้วยระบบบรรจุเดียวกันที่ทำให้ส่วนผสมมีสัดส่วนเหมาะสมตามต้องการ เนื่องจากว่าอาหารแต่ละอย่างจะแยกกัน ตามความหนาแน่นและขนาด พร้อมทั้งความสามารถในการไหลตกอย่างอิสระ ดังนั้น ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ จึงต้องทำการแยกกันบรรจุ สำหรับส่วนผสมของอาหารแต่ละประเภท เช่น การบรรจุถั่วกระป๋อง ต้องทำการบรรจุแยกเป็นสองส่วน คือ ส่วนหนึ่งทำการบรรจุพวกของแข็ง และอีกส่วนหนึ่งทำการบรรจุส่วนผสมที่เป็นน้ำ 8 2 2 ประเภทบรรจุภัณฑ์ เมื่อพิจารณาถึงคุณสมบัติทางกายภาพของบรรจุภัณฑ์ เราสามารถแบ่งบรรจุภัณฑ์ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ บรรจุภัณฑ์แข็งตัว บรรจุภัณฑ์กึ่งแข็งตัว และบรรจุภัณฑ์อ่อนนุ่ม 1 บรรจุภัณฑ์แข็งตัว Rigid Packaging บรรจุภัณฑ์ประเภทแข็งตัว ได้แก่ แก้ว กระป๋องโลหะ และพลาสติกแข็งตัว ส่วนมากเป็นพลาสติกฉีด บรรจุภัณฑ์ชนิดนี้มีความแข็งแรง คงรูปได้ดี ลำเลียงบนสายพานได้สะดวก สามารถใช้กับเครื่องบรรจุของเหลวระบบสุญญากาศและระบบใช้ความดันได้ และทำการบรรจุได้เร็วกว่า 2 บรรจุภัณฑ์กึ่งแข็งตัว Semi Rigid Packaging บรรจุภัณฑ์ประเภทกึ่งแข็งตัว เช่น ขวดพลาสติกแบบขึ้นรูปด้วยการเป่า ถาดโฟม ถ้วยไอศกรีมขึ้นรูปด้วยความร้อนและสุญญากาศ บรรจุภัณฑ์ชนิดนี้มีข้อจำกัดการรับแรงอัดและแรงดันจึงบรรจุแบบสุญญากาศไม่ได้ 3 บรรจุภัณฑ์อ่อนนุ่ม Flexible Packaging บรรจุภัณฑ์ประเภทอ่อนนุ่ม เช่น ซองและถุง ไม่สามารถรักษามิติและรูปทรงได้ จึงต้องมีอุปกรณ์ช่วยในระหว่างการบรรจุ และมักใช้ระบบการบรรจุแบบกระบอกสูบอัดใส่ในถุงบรรจุภัณฑ์ < < กลับสู่หน้าหลัก อ่านต่อ เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2> >
เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2
8 2 3 ระบบการบรรจุ เติม 1 การบรรจุผลิตภัณฑ์เหลวโดยปริมาตรคงที่ ระดับคงที่ การบรรจุของเหลวลงในบรรจุภัณฑ์สามารถบรรจุได้ 2 ประเภทดังรูปที่ 8 3 รูปที่ 8 3 การบรรจุของเหลวแบบระดับคงที่และแบบปริมาตรคงที่ 1 การบรรจุแบบระดับคงที่ จะใช้กับผลิตภัณฑ์ของเหลวที่มีราคาต่ำจนถึงราคาปานกลางตัวอย่างเช่น น้ำอัดลม เบียร์ และซอส ซึ่งปริมาตรที่ถูกต้องไม่มีสาระสำคัญนัก การบรรจุแบบระดับคงที่นี้สามารถสังเกตโดยใช้สายตาวัดระดับ ในขณะเดียวกัน ภาชนะบรรจุจะมีปริมาตรบรรจุไม่คงที่ เนื่องจากความหนาของผนังภาชนะบรรจุไม่สม่ำเสมอ ถ้าทำการบรรจุแบบปริมาตรคงที่ ก็จะทำให้ระดับความสูงในการบรรจุแตกต่างกันไป ในขณะที่ผู้บริโภคพอใจที่จะซื้อภาชนะที่บรรจุในระดับเดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงต้องเอาใจลูกค้าโดยการบรรจุให้ระดับคงที่ แม้ว่าการบรรจุแบบระดับคงที่จะไม่คำนึงถึงปริมาตรจริง การบรรจุแบบระดับคงที่จะใช้วิธีแรงโน้มถ่วง สุญญากาศ ความดัน หรือการใช้ทั้งความดันและสุญญากาศ ส่วนการควบคุมให้ระดับคงที่โดยการนำของเหลวส่วนเกินออก เมื่อถึงระดับที่ต้องการโดยการใช้อิเล็กทรอนิกส์ หรือการควบคุมแบบนิวเมติกวาล์วช่วยในการบรรจุดังแสดงในรูปบนหน้า 272 2 การบรรจุแบบปริมาตรคงที่ ปริมาตรที่ถูกต้องของอาหารจะถูกบรรจุในภาชนะบรรจุ โดยใช้กระบอกสูบหรือระบบการตวง ชั่ง อย่างอื่น ดังนั้นระบบการบรรจุแบบปริมาตรคงที่จะใช้กับ ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูง ผลิตภัณฑ์ที่ขายตามน้ำหนัก ผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคขั้นสุดท้ายต้องการน้ำหนักหรือปริมาตรที่ถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น แม่สีของสีกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ทางยาหรือสารเคมีที่ต้องการปริมาณการบริโภคและการใช้ที่ถูกต้อง ผลิตภัณฑ์ที่มีความเหนียวข้นและไม่สามารถไหลได้ด้วยตนเอง 2 วิธีการบรรจุเติม ถ้าพิจารณาจากการเคลื่อนตัวของภาชนะและท่อบรรจุ Nozzle สามารถแบ่งเป็น 2 วิธี คือ วิธีให้ภาชนะเคลื่อนที่ลง และวิธีให้ท่อเติมเคลื่อนที่ขึ้น ดังแสดงในรูปที่ 8 4 รูปที่ 8 4 วิธีการบรรจุของเหลวโดยพิจารณาจากการเคลื่อนที่ของภาชนะบรรจุและท่อบรรจุของเหลว 1 วิธีให้ภาชนะเคลื่อนที่ เริ่มจากการสอดท่อบรรจุของเหลวในคอของภาชนะบรรจุจนถึงระดับหนึ่ง แล้วจึงปล่อยผลิตภัณฑ์ของเหลวให้ไหลลงไปที่ก้นภาชนะ หรือให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลวนั้นกระจายไปทางด้านข้างของภาชนะบรรจุ เพื่อให้ของเหลวนั้นค่อยๆ ไหลลงตามผนังภาชนะ ซึ่งจะช่วยลดความแรงของการไหลของผลิตภัณฑ์และลดการรวมตัวกับอากาศจนเกิดเป็นฟองอากาศ 2 วิธีให้ท่อบรรจุเคลื่อนที่ ทำโดยการใส่ท่อหรือท่อบรรจุลงไปถึงก้นของภาชนะบรรจุ แล้วปล่อยผลิตภัณฑ์ของเหลวให้ไหลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ วิธีการนี้จะช่วยลดการเกิดฟองอากาศในผลิตภัณฑ์และหลีกเลี่ยงการระเหยกลายเป็นไอของผลิตภัณฑ์ การออกแบบท่องบรรจุของเครื่องบรรจุสามารถออกแบบทรงแข็งหรือแบบอ่อนนุ่ม ถ้าหัวเติมเป็นแบบทรงแข็ง เวลาที่ทำการบรรจุตัวบรรจุภัณฑ์จะถูกยกขึ้น แล้วเลื่อนต่ำลงในขณะที่ทำการบรรจุไปเรื่อยๆ ส่วนท่อบรรจุแบบอ่อนนุ่มจะทำงานแตกต่างกัน กล่าวคือ เมื่อสอดท่อบรรจุเข้าไปข้างในบรรจุภัณฑ์แล้ว ตัวท่อนั้นจะค่อยๆ เลื่อนสูงขึ้นในขณะบรรจุ 3 ระบบการบรรจุผลิตภัณฑ์ของเหลว การเติมของเหลวมีหลายระบบ ได้แก่ ระบบสุญญากาศ ระบบแรงโน้มถ่วง ระบบความดัน ระบบความดันผสมสุญญากาศและระบบกระบอกสูบ ซึ่งมีการทำงานของระบบต่างๆ พอสังเขป ดังต่อไปนี้ 1 การบรรจุระบบสุญญากาศ เมื่อใส่หัวเติมหรือปลายท่อบรรจุและท่อสุญญากาศเข้าแค่ระดับคอของบรรจุภัณฑ์แล้วผนึกให้สนิทด้วยวงแหวน แล้วทำการดูดอากาศออกจากบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นผลให้ความดันของอากาศในถังจ่ายผลิตภัณฑ์ของเหลวสูงกว่าความดันในบรรจุภัณฑ์ ของเหลวในถังจ่ายจะถูกดันด้วยแรงดันบรรยากาศเข้าสู่บรรจุภัณฑ์ เมื่อของเหลวเติมในบรรจุภัณฑ์ถึงระดับปลายท่อ หัวเติมจะดูดของเหลวที่อยู่เหนือระดับปลายท่อไหลออกไปยังถังน้ำล้น ทำให้ของเหลวไม่สูงขึ้นเกินระดับที่ต้องการบรรจุ ส่วนอากาศในบรรจุภัณฑ์ก็จะถูกดูดผ่านปั๊มสุญญากาศปล่อยทิ้งไป การบรรจุระบบสุญญากาศนี้ ใช้สำหรับการบรรจุผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลวที่สามารถไหลได้ด้วยตนเองลงในบรรจุภัณฑ์ประเภทแข็งตัว ซึ่งเป็นวิธีการที่รวดเร็ว ยืดหยุ่น และการลงทุนต่ำ อย่างไรก็ตามวิธีนี้จะจำกัดเฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่คงรูปแข็งตัว และต้องใช้วิธีการบรรจุแบบระดับคงที่เท่านั้น นอกจากนี้ สิ่งที่ควรระวัง คือ บริเวณปากบรรจุภัณฑ์จะต้องไม่บิ่นหรือแตก เนื่องจากจะทำให้การดึงสุญญากาศออกจากบรรจุภัณฑ์ไม่สัมฤทธิผล รูปที่ 8 5 การบรรจุระบบสุญญากาศ 2 การบรรจุระบบแรงโน้มถ่วง หัวบรรจุจะเป็นแบบที่มีสปริงกดและมีห่วงยางด้วย มีขนาดพอเหมาะที่สามารถกดลงบนปากขวดได้พอดี เมื่อทำการกดหัวยางลงปากท่อด้วยสปริงก็จะเป็นจังหวะที่ไปเปิดวาล์ว ของเหลวก็จะไหลจากถังจ่ายที่ตั้งอยู่ตอนบนลงในถังบรรจุภัณฑ์ ระดับที่เติมจะถูกกำหนดด้วยระดับของท่อน้ำล้น การบรรจุเติมของเหลวด้วยแรงโน้มถ่วงนี้ จะไม่เกิดปัญหาเรื่องการหยดก่อนและหลังบรรจุ แต่จะทำงานช้ากว่าระบบบรรจุแบบสุญญากาศ ด้วยเหตุนี้ ระบบนี้จึงไม่เหมาะกับผลิตภัณฑ์ประเภทของเหลวที่มีความหนืดสูงซึ่งจะไหลช้ามาก รูปที่ 8 6 การบรรจุระบบแรงโน้มถ่วง 3 การบรรจุระบบความดัน มีการทำงานคล้ายคลึงกับระบบบรรจุการบรรจุระบบแรงโน้มถ่วง โดยใช้ปั๊มเป็นตัวส่งแรงให้เคลื่อนผลิตภัณฑ์ วิธีการนี้ทำให้ไม่จำเป็นต้องยกถังเก็บขึ้นสูง และมีผลทำให้การไหลของผลิตภัณฑ์ไปได้เร็วขึ้น ระบบการบรรจุระบบใช้ความดันนี้เหมาะที่จะใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีความเหนียวข้น รูปที่ 8 7 การบรรจุระบบความดัน 4 การบรรจุระบบผสมความดันและสุญญากาศ ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นฟองและมีความเหนียวข้นและส่วนใหญ่ใช้บรรจุในภาชนะบรรจุพลาสติก ความดันจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ไหลไปได้เร็ว และสุญญากาศจะช่วยเร่งความเร็วในการบรรจุ ระบบนี้ยังช่วยป้องกันสภาวะการบรรจุเกินโดยการดูดกลับไปยังถังน้ำล้น ทุกระบบของการบรรจุที่กล่าวมาข้างต้น จำเป็นต้องมีห่วงยางบนปากขวดของภาชนะบรรจุและท่อดูดผลิตภัณฑ์ส่วนเกิน ท่อน้ำล้นนี้สามารถใช้ระบบนิวเมติกควบคุมระดับการเติมของเหลว ระบบนิวเมติกนี้จะทำให้อากาศที่มีความดันต่ำ ช่วยดันของเหลวไหลผ่านท่อภายในท่อบรรจุ เมื่อถึงระดับความสูงที่ต้องการของเหลวในภาชนะบรรจุจะก่อให้เกิดความดันย้อนกลับ และทำให้ระบบนิวเมติกหยุดระบบการเติมของเหลว รูปที่ 8 8 การบรรจุระบบผสมความดันและสุญญากาศ 5 การบรรจุระบบกระบอกลูกสูบ ระบบนี้ประกอบด้วยกระบอกลูกสูบพร้อมแกนลูกสูบและวาล์ว ผลิตภัณฑ์จะไหลจากถังเก็บเมื่อลูกสูบเลื่อนมาข้างหลังและถูกบังคับให้ไหลลงในบรรจุภัณฑ์เมื่อลูกสูบเลื่อนมาข้างหน้า การบรรจุระบบกระบอกสูบเป็นระบบที่มีวิธีการทำอย่างง่าย สะดวกต่อการบำรุงรักษา นับเป็นระบบบรรจุที่น่าสนใจสำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่บรรจุผลิตภัณฑ์ที่สามารถไหลได้ง่ายและสะดวกด้วย คุณลักษณะของตัวผลิตภัณฑ์เองดังแสดงในรูปบนสุดหน้า 271 6 การบรรจุระบบการตวง วัด โดยใช้ปั๊มวัด Metering Pumps ระบบการบรรจุแบบตวงวัดจะใช้ปั๊มชนิดเคลื่อนที่ได้ไปติดตั้งตรงบริเวณที่ต้องการปั๊มจะทำงานโดยการตั้งจำนวนรอบไว้ล่วงหน้า และหยุดการจ่ายเมื่อครบรอบที่ตั้งไว้แล้ว ระบบการบรรจุแบบปั๊มมักจะใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารเหลวซึ่งไม่มีของเหลวแขวนลอยหรือตกตะกอน เช่น น้ำดื่ม ซอส เป็นต้น 4 ระบบการบรรจุผลิตภัณฑ์ของแห้ง ระบบการบรรจุผลิตภัณฑ์ของแห้งโดยทั่วไปมี 4 วิธีหลักๆ คือ 1 การบรรจุโดยปริมาตรระบบถ้วยตวง รูปแบบที่ง่ายที่สุดของเครื่องจักรในการบรรจุแบบปริมาตรจะประกอบด้วยจานแผ่นเรียบที่มีถ้วยตวงวางตั้ง ซึ่งหมุนไปจนเมื่อบรรจุแต่ละถ้วยเสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อหมุนมาถึงอีกด้านหนึ่งจะปล่อยผลิตภัณฑ์ออกจากถ้วยตวง วิธีการนี้เป็นวิธีการลงทุนไม่สูงและมีค่าใช้จ่ายในการดูแลต่ำ 2 การบรรจุโดยปริมาตรระบบใช้เกลียว ระบบนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการบรรจุแบบปริมาตรซึ่งเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่ไหลได้ด้วยตนเองลำบาก ตัวอย่างเช่น น้ำตาลทรายแดง จึงจำเป็นต้องมีเกลียวในถังเก็บผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยในการจ่ายผลิตภัณฑ์ลงไปในบรรจุภัณฑ์ ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่จ่ายจะแปรตามความเร็วในการหมุนของเกลียว และช่องว่างระหว่างแต่ละเกลียวที่นำส่งผลิตภัณฑ์ รูปที่ 8 9 การบรรจุแบบใช้ถ้วยตวงวัด รูปที่ 8 10 การบรรจุแบบใช้เกลียว 3 การบรรจุระบบน้ำหนักสุทธิ ระบบนี้มีหน่วยชั่งน้ำหนักเพื่อชั่งน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ก่อนบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ โดยทั่วไปแต่ละสถานีของเครื่องบรรจุระบบชั่งน้ำหนักสุทธิจะมีความเร็วไม่เกิน 20 22 ครั้งต่อนาที 4 การบรรจุระบบนับจำนวน การบรรจุระบบนับจำนวนมีหลายวิธีการ เช่น การนับแบบใช้ตาไฟฟ้าจะเหมาะกับผลิตภัณฑ์ประเภทขนมปัง ขนมขบเคี้ยว หรือสินค้าชิ้นใหญ่ การนับโดยใช้แผ่นดิสก์ที่เจาะรู Rotating Perforated Disc เป็นวิธีการที่ง่ายและไม่แพง จึงเหมาะสมที่จะใช้กับการนับผลิตภัณฑ์จำพวกลูกกวาด การนับโดยใช้ราง Chute และท่อ Channel ซึ่งเป็นวิธีการนับที่นิยมมากที่สุด สำหรับลูกอมแบบแข็งซึ่งมีขนาดคงที่ ผลิตภัณฑ์จะเดินทางผ่านช่องรางซึ่งมีการตวง วัด จำนวนที่ถูกต้องจากระยะทางที่ลูกอมเรียงกันตามช่องรางก่อนบรรจุในบรรจุภัณฑ์ การบรรจุทั้งระบบของเหลวและระบบแบบแห้งดังที่กล่าวมาแล้วนี้ สามารถนำมาใช้กับบรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ กันได้ เช่น กระป๋อง ขวดแก้ว ขวดพลาสติก และซอง เป็นต้น ความสลับซับซ้อนของเครื่องบรรจุแปรผันตามความเร็วที่ต้องการใช้ในการบรรจุและรูปทรงของภาชนะบรรจุ เช่น รูปทรงกลม ทรงเหลี่ยมหรือเป็นแบบซอง 8 3 เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ 8 3 1 เครื่องบรรจุเติม เครื่องบรรจุประเภทนี้แบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามแนวการเคลื่อนที่ของบรรจุภัณฑ์ คือ เครื่องบรรจุเส้นตรงและแบบโรตารี่ดังแสดงในรูปที่ 8 11 รูปที 8 11 เครื่องบรรจุแบบเส้นตรงและแบบโรตารี่ 1 เครื่องบรรจุแบบเส้นตรง ตัวบรรจุภัณฑ์จะเรียงเข้าสู่หัวบรรจุเป็นแนวเส้นตรง เครื่องบรรจุประเภทนี้สะดวกในการเปลี่ยนขนาดและเพิ่มหัวบรรจุเมื่อมีความต้องการเพิ่มความเร็วในการบรรจุ 2 เครื่องบรรจุแบบโรตารี่ เป็นเครื่องที่ใช้ในอุตสาหกรรมขนาดกลางและใหญ่ที่มีการบรรจุโดยใช้บรรจุภัณฑ์ขนาดเดียวกันตลอด โดยไม่ค่อยเปลี่ยนขนาดเนื่องจากต้องเสียเวลาในการเปลี่ยนจานป้อนเข้าและออกพร้อมทั้งเปลี่ยนหัวบรรจุ ในกรณีของเครื่องบรรจุซอง มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากบรรจุภัณฑ์อื่น เนื่องจากมีการออกแบบเครื่องจักรสำหรับซองโดยเฉพาะ ตัวเครื่องจะทำการขึ้นรูปซองเองจากฟิล์มเป็นม้วน แล้วบรรจุโดยใช้ระบบ การบรรจุตามที่กล่าวมาแล้วไม่ว่าจะเป็นแบบแห้งหรือแบบเหลว จากนั้นตัวเครื่องจะทำการปิดผนึกเสร็จในเครื่อง ด้วยเหตุนี้เครื่องประเภทนี้จึงมีชื่อย่อว่า FFS ซึ่งย่อมาจาก Form Fill Seal ขึ้นรูปภาชนะบรรจุสินค้า ปิดผนึก ห่อ รูปที่ 8 12 เครื่อง FFS บรรจุซองแบบแนวดิ่ง รูปที่ 8 13 เครื่อง FFS บรรจุซองแบบแนวราบ เครื่องจักร FFS แบ่งตามทิศทางการเคลื่อนที่ของซอง โดยแบ่งเป็นแบบแนวดิ่งและแนวราบ ดังแสดงในรูปที่ 8 12 รูปที่ 8 13 และรูปล่างในหน้า 271 เครื่องจักรในแนวดิ่งจะดิ่งมีความสลับซับซ้อนน้อยกว่า เครื่องจักร FFS ดังกล่าวทั้ง 2 ประเภทโดยทั่วไปจะมีความเร็วไม่เกิน 200 ซองต่อนาที ต่อหัวบรรจุ 1 หัว นอกจากในกรณีที่ต้องการความเร็วสูงๆ ต้องใช้ระบบโรตารี่เข้าช่วย ซึ่งอาจมีความเร็วสูงถึง 1000 ซองต่อนาที โดยแยกส่วนขึ้นรูปซองออกจากส่วนบรรจุ 8 3 2 เครื่องบรรจุสุญญากาศ Vacuum Packing Machine ตามที่อธิบายในหัวข้อของการถนอมอาหารว่าปริมาณออกซิเจนที่มีอยู่ในบรรจุภัณฑ์เป็นสาเหตุที่ทำให้อาหารเน่าเสียได้ง่าย ดังนั้นจึงมีการปรับสภาวะภายในภาชนะบรรจุอาหารโดยการดูดเอาอากาศออก เพื่อลดปริมาณออกซิเจนในภาชนะบรรจุ เป็นการยืดอายุของผลิตภัณฑ์อาหาร จากการดูดเอาอากาศออกย่อมส่งผลให้ตัวบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะแบบซองหดตัวไปตามรูปแบบอาหาร ทำให้มีภาพลักษณ์ที่ไม่ชวนมอง ดังนั้น จึงมีการฉีดก๊าซเฉื่อยเข้าไปแทนที่กลายเป็นบรรจุภัณฑ์ปรับสภาวะบรรยากาศ Modified Atmosphere Packaging หรือ MAP เครื่องจักรที่ใช้ในระบบนี้แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบกึ่งอัตโนมัติและแบบอัตโนมัติ 1 เครื่องสุญญากาศแบบกึ่งอัตโนมัติ ส่วนใหญ่มักใช้ถุงหรือถาดที่ทำมาสำเร็จรูปแล้ว โดยการบรรจุสินค้าลงไปก่อนนำเข้าสู่เครื่อง แล้วนำซองหรือถาดวางในตัวเครื่องโดยมีบริเวณส่วนเปิดของบรรจุภัณฑ์วางอยู่ในรอยแนวปิดผนึกของเครื่องตามรูป ก ของรูปที่ 8 14 ส่วนตัวเครื่องมีลักษณะคล้ายกระเป๋าเอกสารมีฝาเปิดปิดในแนวดิ่ง เมื่อจัดเรียงวางบรรจุภัณฑ์ภายในเครื่องเสร็จแล้วปิดฝา ตัวเครื่องจะทำงานอย่างอัตโนมัติ โดยการดูดเอาสุญญากาศภายในตัวเครื่องรูป ข เมื่อเครื่องดูดสุญญากาศได้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้เครื่องจะปิดผนึกในรูป ง แล้วปล่อยอากาศเข้าไปในเครื่องพร้อมกับเปิดฝาออกในรูป จ ถ้าต้องการทำเป็นระบบบรรจุภัณฑ์ปรับสภาวะ หลังจากการดูดสุญญากาศออกแล้ว ตัวเครื่องจะทำงานต่ออีกขั้นหนึ่ง คือ การฉีดก๊าซในอัตราส่วนที่ต้องการเข้าไปในเครื่องหรือเข้าไปในบรรจุภัณฑ์แล้วแต่การออกแบบของเครื่องเมื่อฉีดได้ตามปริมาณที่ต้องการแล้ว ค่อยปิดผนึกและหยุดการทำงานของเครื่องจักร ขั้นตอนการทำงานของการฉีดก๊าซดังแสดงในรูปที่ 8 14 รูป ค รูปที่ 8 14 ขั้นตอนการทำงานของเครื่องบรรจุสุญญากาศ ปัจจัยสำคัญพึงสังเกตของเครื่องสุญญากาศแบบกึ่งอัตโนมัตินี้คือ มิติของความยาว ความกว้างและความสูงของเครื่อง ความยาวของรอยปิดผนึก ความสามารถของปั๊มในการดูดสุญญากาศระบบการควบคุมและระบบการผสมก๊าซที่ต้องการ 2 เครื่องสุญญากาศแบบอัตโนมัติ เครื่องจักรแบบอัตโนมัตินี้มักป้อนฟิล์มพลาสติกในลักษณะเป็นม้วน จึงมีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า Rollstock Machine ในกรณีที่ต้องการทำเป็นถุงจะประกอบด้วยฟิล์ม 2 ม้วน ม้วนหนึ่งอยู่ด้านล่างและม้วนหนึ่งอยู่ด้านบน ม้วนล่างจะรองรับสินค้าที่จะบรรจุ ในกรณีที่ต้องการทำเป็นถาด ม้วนล่างจะเป็นม้วนที่ถูกความร้อนทำให้นิ่มและขึ้นเป็นรูปถาด เมื่อบรรจุสินค้าเรียบร้อยแล้ว ทั้งฟิล์มม้วนล่างและม้วนบนจะเคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณสถานีที่ทำการดูดสุญญากาศและฉีดก๊าซพร้อมทั้งปิดผนึก แล้วจึงทำการตัดออกมาเป็นถาดหรือซองตามต้องการ ตัวเครื่องแสดงในรูปกลางหน้า 271 ปัจจัยในการพิจารณาเลือกใช้เครื่องจักร คือความกว้างของเครื่องที่สามารถผลิตบรรจุภัณฑ์ได้ตามที่ต้องการ วิธีการขึ้นรูปเป็นถาดและถุง ระบบการควบคุมการดึงสุญญากาศและการผสมก๊าซที่จะฉีด จังหวะการเคลื่อนบนสายพานเพื่อนำส่งซองหรือถาด ปริมาณการสูญเสียจากการตัดขอบทั้ง 2 ข้าง หัวใจสำคัญของเครื่องแบบอัตโนมัติ คือ ตัวโมลด์ที่ใช้ขึ้นรูปถาด นอกจากจะขึ้นรูปได้ตามความสูงที่ต้องการแล้ว ความหนาบางของบริเวณมุมถาดเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้บรรจุภัณฑ์ถาดคงรูปภายใต้สภาวะความเป็นสุญญากาศหรือการปรับสภาวะเนื่องจากความดันอากาศภายในถาดต่ำ 8 3 3 เครื่องห่อ Wrapping Machine 1 การห่อแบบบิด Twist Wrap เมื่อต้องการห่อผลิตภัณฑ์จำนวนมากอย่างต่อเนื่อง เช่น ลูกอม ย่อมมีความจำเป็นต้องพิจารณาใช้เครื่องห่ออัตโนมัติเข้ามาแทนที่คน ส่งผลให้ความเร็วในการห่อเพิ่มมากขึ้น และห่อของเล็กๆได้อย่างง่ายดาย เมื่อนำแผ่นวัสดุที่ตัดเป็นแผ่นมาพันรอบผลิตภัณฑ์ที่ต้องการห่อ แล้วบิดปลายทั้งสองข้างเป็นเกลียวที่เรียกว่า Twist Wrap ดังแสดงในรูปที่ 8 15 ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับการห่อลูกกวาดนั้น สามารถห่อได้เร็วถึง 600 ชิ้นต่อนาที 2 การห่อของที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า การห่อของที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าใช้วิธีการห่อของแบบปกติด้วยวัสดุบรรจุภัณฑ์แบบต่างๆ ที่สามารถเลือกใช้ตามขนาดและจัดให้เหมาะกับรูปร่างของสิ่งของที่ต้องการห่อตามวิธีการดังนี้ ตัดวัสดุที่จะห่อให้เป็นแผ่นยาวที่ต้องการ วางของที่ต้องการลงบนห่อนั้น พับตามรอยของที่ต้องการจนปลายมาทับซ้อนกันประมาณ ¼ นิ้วหรือ 1 นิ้ว แบบปลายเปิดทั้งสองข้าง จากนั้นพับบิดปลายทั้งสองข้างให้เข้าที่ การห่อของที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าอย่างชัดเจน เช่น ซองบุหรี่ แสดงดังรูปที่ 8 16 มีขั้นตอนการห่อดังนี้ เริ่มด้วยการพับขอบปลายข้างหนึ่งก่อน หมายเลข 1 เหลือปลายอีกข้างวิ่งผ่านไปตามรางจะถูกพับปิด หมายเลข 2 ปลายที่เหลืออีกสองข้าง หมายเลข 3 จะถูกพับด้านล่างและด้านบนต่อไป หมายเลข 3 และ 4 รูปที่ 8 16 การห่อของที่มีลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า 3 การห่อของที่มีขนาดไม่คงที่ ลักษณะนุ่ม ถ้าต้องการห่อของที่มีขนาดไม่คงที่หรือมีลักษณะนุ่ม การยึดติดปลายทั้งสองข้างจะต้องมีความแน่นอนแม่นยำมากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถพับเรียงไปตามลำดับได้ เช่น การห่อก้อนขนมปังปอนด์ การห่อของดังที่กล่าวมาโดยใช้เครื่องจักรช่วยห่อ จำเป็นจะต้องดึงวัสดุห่อออกจากม้วน แล้วตัดเพื่อนำมาห่อของอีกครั้ง ถ้าวัสดุห่อนั้นบางมากและไม่คงตัวก็จะยุ่งยากในการทำงาน มีดที่จะใช้ตัดก็ต้องตัดปรับให้เหมาะสม การใช้ตัวจับดึงวัสดุออกมาจึงเหมาะสมกว่าดันสินค้าผ่านวัสดุที่ออกจากม้วน จากนั้นผนึกปลายด้วยฉลาก กาว หรือปิดผนึกด้วยความร้อน การติดฉลากด้วยกาวทีละชิ้นนั้นไม่เหมาะกับความเร็วสูง โดยปกติมักใช้ฉลากที่ต้องป้อนมาเป็นม้วน โดยมีข้างหนึ่งเคลือบด้วยกาวแบบเดียวกับสติกเกอร์แล้วแตะสัมผัสสินค้า ฉลากสติกเกอร์นั้นก็จะถูกส่งผ่านจากม้วนลงไปติดตำแหน่งที่ต้องการ รูปที่ 8 17 การห่อสินค้าที่นุ่ม เช่น ขนมปังปอนด์ < < ย้อนกลับ เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 1 อ่านต่อ เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 3 > > < < กลับสู่หน้าหลัก
เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 4
8 3 8 เครื่องปิดฉลาก Labeling Machine การปิดฉลากบนบรรจุภัณฑ์จะแปรตามรูปทรงของบรรจุภัณฑ์และบริเวณที่จะติดบนบรรจุภัณฑ์ดังแสดงในรูปขวดรูปที่ 8 26 นอกจากนี้ยังแปรตามกาวที่ใช้และวัสดุของตัวแผ่นฉลาก เครื่องปิดฉลากแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ดังต่อไปนี้ รูปที่ 8 26 ตำแหน่งต่างๆ ของฉลากบนขวด 1 เครื่องปิดฉลากแบบทากาวแล้วกลิ้งติด ในกรณีบรรจุภัณฑ์เป็นทรงกลม เช่น กระป๋อง จะใช้ความเป็นทรงกลมให้เป็นประโยชน์ โดยให้กระป๋องกลิ้งไปตามรางแล้วทากาวลงบนตัวกระป๋อง เมื่อกลิ้งต่อไปกาวบนกระป๋องจะติดเอาฉลากขึ้นมาด้วย เมื่อกลิ้งไปก่อนจะครบรอบของฉลากที่ติดมานั้นจะมีการทากาวบนปลายฉลากอีกข้างหนึ่ง เพื่อให้บริเวณปลายอีกข้างของฉลากสามารถติดแน่นสนิท เครื่องปิดฉลากประเภทนี้สามารถหาซื้อได้ภายในประเทศด้วยราคาพอสมควร รูปที่ 8 27 การปิดฉลากแบบทากาวแล้วกลิ้งติด 2 เครื่องปิดฉลากแบบทากาวที่ฉลากแล้วส่งผ่านไปติด เครื่องปิดฉลากบนส่วนหน้าหรือส่วนหลังของบรรจุภัณฑ์ จำพวกขวดแก้วหรือพลาสติก มีหลักการทำงาน คือ ฉลากจะถูกทากาวด้วยลูกกลิ้งก่อน แล้วจึงนำฉลากมาติดบนภาชนะในตำแหน่งที่ต้องการ เครื่องปิดฉลากแบบนี้มีหลักการทำงานแบ่งเป็น 3 แบบดังแสดงดังรูปที่ 8 28 โดยในรูป ก ลูกกลิ้งกาวจะนำฉลากที่ทากาวแล้ว ส่งต่อไปติดบนบรรจุภัณฑ์ ในรูป ข ยังคงใช้หลักการเดียวกัน แต่ตัวลูกกลิ้งจะมี 4 สถานีทากาวที่ฉลากได้ถึง 4 แผ่นต่อการหมุนของลูกกลิ้ง 1 รอบ แบบสุดท้ายรูป ค จะเป็นแบบที่เร็วที่สุด โดยมีสถานีทากาวผ่านฉลากตามจำนวนที่ต้องการในการหมุนลูกกลิ้ง 1 รอบ รูปที่ 8 28 การทำงานระบบทากาวที่ใช้ลูกกลิ้งหรือสถานีทากาวโดยติดกาวที่ฉลากก่อน แล้วส่งผ่านไปติดบนบรรจุภัณฑ์ 3 เครื่องปิดฉลากสติกเกอร์ เครื่องปิดฉลากอีกประเภทหนึ่งที่สมควรจะกล่าวถึงคือ เครื่องปิดฉลากประเภทใช้ฉลากแบบสติกเกอร์หรือกาวในตัว แม้ว่าตัวฉลากจะมีราคาค่อนข้างแพง แต่มีความสะดวกในการใช้งาน ไม่ว่าจะติดด้วยเครื่องมือหรือใช้เครื่องจักร ในกรณีใช้เครื่องจักร ฉลากจะพิมพ์มาเป็นม้วนเว้นช่วงระยะเท่าๆ กัน สืบเนื่องจากความหนาแน่นและความเหนียวของตัวฉลากกับตัวแผ่นกระดาษที่ปะอยู่ข้างหลัง เมื่อแผ่นกระดาษหมุนกลับ 180 องศา จะปล่อยให้ฉลากเผยอออกมา แล้วไปติดบนบรรจุภัณฑ์ด้วยลูกกลิ้งติดกาว เครื่องจักรติดฉลากประเภทนี้มีราคาไม่สูงนักและสามารถทำงานได้อย่างสะอาด นอกจากนี้ความเร็วในการติดฉลากยังสามารถทำได้สูงถึงหลายร้อยขวดต่อนาที จากตัวอย่างของเครื่องปิดฉลากทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวมานี้จะพบว่าข้อพิจารณาในการเลือกเครื่องจักรนั้นจะแปรผันตามบรรจุภัณฑ์ที่เลือกใช้ประเภทของฉลากที่เหมาะแก่การใช้งาน ตำแหน่งและบริเวณของการติดฉลาก รูปที่ 8 29 การปิดฉลากสติกเกอร์ 8 3 9 เครื่องบรรจุกล่อง 1 เครื่องบรรจุใส่กล่องกระดาษแข็ง เครื่องจะเริ่มต้นการทำงานจากการนำเอากล่องออกจากแม็กกาซีนกล่อง Carton Magazine แต่การขึ้นรูปกล่องจะลำบากกว่าถุง เนื่องจากเส้นรอยพับของสันข้างกล่อง ถ้าเก็บไว้นานหรือถูกกดทับไว้นาน ความเป็นสปริงของกล่องจะลดน้อยลงทำให้ขึ้นรูปกล่องได้ลำบาก เมื่อกล่องออกจากแม็กกาซีนกล่องและขึ้นรูปกล่องแล้วเครื่องจะทำการบรรจุสินค้าลงในกล่องและปิดกล่อง รูปแบบของเครื่องจักรจะเริ่มจากแบบง่ายๆที่ใช้มือบรรจุหรือใส่เป็นแบบที่ทำงานอย่างอัตโนมัติทั้งหมด การปิดกล่องโดยใช้เครื่องจักรอัตโนมัตินี้มักใช้กาว ซึ่งทำงานได้เร็วและสะดวกกว่า รูปแบบของกล่องที่เลือกก็มีผลต่อการหาเครื่องจักรได้ยากหรือง่าย การจัดแนวเกรนและประเภทของกระดาษที่มีความเหนียวและสภาพการเป็นสปริงที่ดี จะสามารถทำให้การปิดกล่องทำได้สะดวก บ่อยครั้งที่พบว่า การที่ใช้ปิดด้วยมือแล้วหันมาใช้เครื่องทดแทนนั้น จำต้องมีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของกล่องเพื่อให้สามารถใช้งานกับเครื่องจักรได้ ในรูปที่ 8 30 เป็นเครื่องจักรบรรจุใส่กล่องในแนวราบแบบอัตโนมัติ ส่วนรูปถัดมารูปที่ 8 31 แสดงการบรรจุพร้อมกระดาษแจ้งสรรพคุณสอดเข้าไปในกล่อง รูปที่ 8 32 แสดงการบรรจุใส่กล่องกระดาษลูกฟูกในแนวราบทำหน้าที่การรวมห่อสินค้า รูปที่ 8 30 เครื่องบรรจุและปิดกล่องแบบอัตโนมัติทำงานในแนวราบ การบรรจุกล่องกระดาษลูกฟูกคล้ายคลึงกับกล่องกระดาษแข็ง คือ บรรจุสินค้าตามแบบแนวราบและตามแนวดิ่ง ดังแสดงในรูปที่ 832 และ 8 33 จะสังเกตได้ว่า การเลือกใช้การบรรจุใส่ในแนวไหนนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและความสะดวกในการบรรจุใส่ รูปที่ 8 31 การบรรจุกล่องพร้อมกระดาษแจ้งสรรพคุณ รูปที่ 8 32 การปล่อยให้ลงสู่กล่องลูกฟูกในแนวดิ่ง 2 เครื่องปิดกล่อง Case Sealer สิ่งที่จะกล่าวในรายละเอียด ต่อไปนี้คือ วิธีการปิดกล่องกระดาษลูกฟูกซึ่งนิยมใช้กันอยู่ 4 วิธีคือ 1 การทากาวด้วยมือและเครื่อง กาวที่ใช้อาจจะใช้ตั้งแต่แป้งเปียก กาวลาเทกซ์ หรือกาวที่ใช้ความร้อน การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ว่า เวลาที่ใช้กาวในการผนึกติด การแข็งตัวภายหลงการทา และเวลาที่ใช้ในการแห้งตัว กาวฮอตเมลท์จะเป็นกาวที่มีคุณสมบัติดีที่สุด ในทุกๆ ปัจจัยที่กล่าวมาแล้ว 2 การปิดเทปด้วยมือและเครื่อง เทปที่ใช้มีหลายประเภท อาจแบ่งตามวัสดุ เช่น กระดาษ พลาสติกเสริมความ แข็งแรงด้วยเส้นใย เป็กนต้น ส่วนสารเชื่อมติดที่อยู่บนเทป อาจเป็นกาวที่ต้องทาน้ำก่อน เทปที่มีกาวในตัวเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดเทปดังแสดงในรูปที่ 8 34 รูปที่ 8 34 อุปกรณ์และเครื่องจักรในการปิดกล่องด้วยเทป การปิดเทปด้วยมือต้องอาศัยความชำนาญกะประมาณความแม่นยำว่า จะดึงออกมาใช้มากน้อยแค่ไหน ดังรูปซ้ายบนสุด ส่วนรูปล่างถัดมานั้นเป็นแบบประมาณด้วยความยาวได้ล่วงหน้า โดยการโยกคันโยก เทปจะเคลื่อนที่ออกมาตามความยาวที่ตั้งไว้ล่วงหน้า ส่วนรูปทางขวามือเป็นการปิดเทปด้วยเครื่องปิดเทปอัตโนมัติ ซึ่งสามารถติดเทปทั้งข้างบนและข้างล่างพร้อมกันได้ และสามารถใช้ปิดเทปบนกล่องได้หลายขนาดโดยไม่ต้องปรับเครื่องทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนขนาดกล่อง 3 การเย็บลวดด้วยเครื่องเย็บลวด ลวดที่ใช้มี 2 อย่างคือ แถบลวดที่ขึ้นรูปแล้ว ลักษณะเหมือนแถบลวดเย้บกระดาษที่ใช้ในสำนักงาน และขดลวดเป็นม้วน ส่วนเครื่องเย็บลวดมีทั้งแบบจับมือโยกหรือยิง และแบบเท้าเหยียบซึ่งเหมาะกับการเย็บก้นกล่อง รูปที่ 8 35 การทำงานของลวดเย็บตะเข็บและกดตะเข็บ รูปที่ 8 36 อุปกรณ์รัดกล่อง 4 การรัดด้วยเครื่องสายรัดและคีมหนีบคลิปเหล็ก สายรัดที่ใช้ส่วนมากจะทำมาจากพลาสติก PP โพลิโพพิลีน ซึ่งทนต่อแรงดึงสูง หากรัดกล่องด้วยมือและคลิปโลหะ ต้องใช้ที่รัดสายให้ตึงตามรูป ก แล้วรัดด้วยคีมหนีบคลิปตามรูป ข ส่วนรูป ค และ ง เป็นเครื่องรัดแบบกึ่งอัตโนมัติและอัตโนมัติ อาศัยความร้อนเชื่อมให้สายรัดติดเข้าด้วยกัน 8 3 10 เครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์ทำหน้าที่ถ่ายหมึกเหลวลงไปสิ่งพิมพ์ Substrate ตามตำแหน่ง image Area และแบบ Pattern ที่ต้องการ ระบบการพิมพ์อาจมีอยู่หลายประเภท แต่ทว่าระบบการพิมพ์กว่า 80 ที่ใช้กับบรรจุภัณฑ์จะประกอบด้วย 4 ประเภทดังนี้ 1 แบบถ่ายผ่าน Relief ระบบพิมพ์ประเภทนี้อาจเรียกว่า ระบบการพิมพ์พื้นนูน ได้แก่ แบบเฟลกโซกราฟี Flexo Graphy แบบแลตเตอร์เพรส ซึ่งเป็นการพิมพ์โดยตรง Direct Printing 2 แบบแบนราบ Plano Graphic ที่นิยมใช้ได้แก่ ระบบลิโธกราฟี Lithography หรือแบบออฟเซ็ตลิโธกราฟี Offset Lithography 3 แบบโรตากราวัวร์ Rotagravure หรือเรียกแบบย่อว่า กราวัวร์ 4 แบบไร้สัมผัส Non contact หรือ แบบไม่ใช้ระบบการกดพิมพ์ เป็นระบบใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ระบบการพิมพ์แต่ละแบบดังกล่าวนี้จะแตกต่างกันในแง่ของคุณลักษณะหมึกการส่งผ่านหมึกและการทำให้ติดบนสิ่งตีพิมพ์ อย่างไรก็ตามระบบการพิมพ์ทั้งหมดยกเว้นแบบไร้สัมผัสจะต้องใช้ตัวกลางในการส่งผ่านหมึกที่เรียกว่าโมแม่พิมพ์ซึ่งมีเพลทติดอยู่ นอกจากการแบ่งด้วยระบบการพิมพ์ดังกล่าวนี้ เครื่องพิมพ์ยังสามารถแบ่งตามวิธีการป้อนแบบเป็นแผ่น ป้อนเป็นม้วน โดยปกติเครื่องพิมพ์ที่ป้อนเป็นม้วนจะใช้กับกระดาษที่ยืดตัวได้ง่าย เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นต้น ในกรณีที่แปรรูปวัสดุบรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องบรรจุ Form Fill Seal มักจะใช้วัสดุที่เป็นม้วน เพราะตัวเครื่องจะทำการขึ้นรูปเอง ดังนั้นวัสดุจึงต้องพิมพ์ส่งเป็นม้วนและมีจุดหรือเส้นดำหนาประมาณครึ่งเซนติเมตร ไว้ให้ตาแมว Photoelectric cell ของเครื่องคอยจับจุดรวมฉาก Registration Mark เพื่อให้ขึ้นรูปได้ขนาดแต่ละถุงตามต้องการ การเลือกระบบการพิมพ์ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ แต่ปัจจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1 ปริมารของงานพิมพ์ จำนวนสีที่พิมพ์ต่อหน่วยพื้นที่ Impression Work และความละเอียดของงานพิมพ์ 2 งานที่ออกแบบ กราฟฟิกที่ออกแบบบนบรรจุภัณฑ์อาจจะเป็นลายเส้น Line Work งานพิมพ์หลายสี Full Color ความแวววับของงานพิมพ์เป็นต้น จะเลือกใช้ระบบที่แตกต่างกัน 3 สิ่งพิมพ์ Substrate วัสดุที่ใช้แปรรูปเป็นบรรจุภัณฑ์และใช้พิมพ์งานได้แก่ กระดาษ พลาสติก โลหะ และแก้ว การเลือกใช้วัสดุที่แตกต่างกันจะได้คุณภาพการพิมพ์ที่แตกต่างกัน เนื่องจากความสามารถในการดูดซับสีที่ไม่เหมือนกัน ความนิ่มและความแข็งแตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องพิมพ์ให้เหมาะสมกับวัสดุแต่ละประเภท 4 รูปทรงสิ่งที่พิมพ์ ซึ่งอาจจะเป็นม้วนหรือแผ่นได้ตามที่กล่าวมาแล้ว ตัวบรรจุภัณฑ์ที่จะพิมพ์อาจจะเป็นรูปทรงกลมหรือไม่เป็นรูปทรงเรขาคณิตใดๆ เลย 5 ความต้องการคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ เช่น ป้องกันน้ำ ป้องกันสารเคมี หรือเป็นฉนวนความร้อน เป็นต้น 1 เครื่องพิมพ์แบบถ่ายผ่าน Relief เครื่องพิมพ์แบบนี้ใช้ส่วนที่นูนออกมาเป็นที่ถ่ายผ่านหมึก วิธีการพิมพ์แบบนี้นับเป็นวิธีการแรกเริ่มที่ใช้ในการพิมพ์ เช่น ปั๊มตรายางซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในสำนักงาน เป็นตัวอย่างที่ดีของการพิมพ์แบบนี้ เครื่องพิมพ์แบบนี้ตัวแม่พิมพ์อาจจะทำจากโลหะยางโพลิเมอร์หรือสารผสม ขึ้นอยู่กับงานพิมพ์ ตัวแม่พิมพ์อาจจะอยู่ในรูปแผ่นแบบราบหรือติดรอบโมหรือไซลินเดอร์ Cylinder ที่หมุนในขณะพิมพ์ งานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ส่วนใหญ่ใช้แม่พิมพ์ที่เป็นม้วนบนไซลินเดอร์หรือเรียกว่าโมแม่พิมพ์ เครื่องพิมพ์แบบถ่ายผ่านที่นิยมได้แก่ เลตเตอร์เพรส และเฟลกโซกราฟี เครื่องพิมพเลตเตอร์เพรสที่ใช้แม่พิมพ์ที่ทำจากโลหะ เครื่องพิมพ์เลตเตอร์เพรสมักใช้หมึกที่ผสมน้ำมันและมักใช้กับการพิมพ์ฉลากและวัสดุเคลือบหลายชั้น แม่พิมพ์ที่ใช้กับเลตเตอร์เพรสจะใช้ได้นานกว่า ทนทานกว่า และพิมพ์ได้คมชัดกว่าแม่พิมพ์ที่ใช้กับเฟลกโซกราฟีที่ทำจากโพลิเมอร์ 1 เครื่องพิมพ์เฟลกโซกราฟี แม่พิมพ์หรือตัวเพลทที่ใช้ในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เฟลกโซกราฟีจะเป็นแบบยืดหยุ่นละกดอัดได้ ด้วยเหตุนี้การพิมพ์ด้วยเฟลกโซกราฟีต้องระมัดระวังในแรงกด ถ้าแรงกดมีมากเกินไปจะทำให้หมึกที่พิมพ์ปลิ้นออกมาอยู่ข้างๆ สิ่งพิมพ์ ที่เรียกตามวิชาการว่า Gain นอกจากนี้ยังมีผลต่อความเข้มของสีพิมพ์อีกด้วย ความละเอียดในการพิมพ์แบบเฟลกโซกราฟีจะค่อนข้างหยาบ คือ ได้เพียง 60 120 จุดต่อนิ้ว ขณะที่พิมพ์หมึกพิมพ์เฟลกโซจะถูกกดให้ขอบของบริเวณที่พิมพ์เป็นเส้นขาดๆ ที่เรียกว่า Halo Effect หรือขอบมีรอยแสดงดังในรูปที่ 8 40 ซึ่งเป็นรอยปรากฎการณ์ปกติของการพิมพ์ระบบนี้ ด้วยเหตุนี้ ในการใช้เครื่องพิมพ์เฟลกโซจึงควรหลีกเลี่ยงงานที่ละเอียดมากๆ หรือสีที่เต็มพื้นที่ Solid color การพิมพ์ระบบนี้จึงเหมาะกับสิ่งพิมพ์ที่มีผิวค่อนข้างหยาบ และใช้ในวงการบรรจุภัณฑ์ในการพิมพ์กล่องกระดาษลูกฟูก ถุงกระดาษ บรรจุภัณฑ์อ่อนนุ่ม และฉลาก รูปที่ 8 37 หน่วยพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เฟลกโซกราฟี วิธีการพิมพ์ระบบเฟลกโซกราฟีแสดงอยู่ในรูปที่ 8 37 หมึกพิมพ์จะถูกนำขึ้นจากเบ้าหมึกด้วยโมถ่ายทอดหมึกที่ควบคุมปริมาณหมึกที่จะพิมพ์ โดยการปาดของมีด Doctor Blade เพื่อพาหมึกไปสู่ไซลินเดอร์แม่พิมพ์ วัสดุของสิ่งที่พิมพ์จะเคลื่อนที่ผ่านแม่พิมพ์และไซลินเดอร์กดที่เรียกว่า โมกดแม่พิมพ์ Impression Roll 2 เครื่องพิมพ์แบบเลตเตอร์เพรสหรือออฟเซ็ตแบบแห้ง บรรจุภัณฑ์ที่เป็นทรงกลม เช่น กระป๋องโลหะไม่มีจุดรวมฉาก Registration Mark บนเส้นรอบวงเหมือนกับวัสดุสิ่งพิมพ์แบบเรียบ ด้วยเหตุนี้เวลาพิมพ์กระป๋องจึงใช้วิธีถ่ายผ่านหมึกที่จะพิมพ์ลงบนโมยางที่เรียกว่า Blanket Cylinder แล้วถ่ายผ่านสีทั้งหมดจากโมยางนี้ลงสู่กระป๋อง ดังแสดงในรูปที่ 8 38 โมยางนี้จะหมุนผ่านพื้นผิวบนกระป๋องและถ่ายผ่านสีจากหน่วยพิมพ์แต่ละหน่วยลงไปบนกระป๋องจากการหมุนครบรอบ 1 รอบ หมึกที่ใช้พิมพ์จะยังเปียกชื้นอยู่ ดังนั้น หลังการพิมพ์จึงจำต้องอบให้แห้งด้วยแสงยูวีหรือเตาอบความร้อน รูปที่ 8 38 หน่วยพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ออฟเซ็ตแบบแห้ง เครื่องพิมพ์ระบบนี้รู้จักกันในนามของออฟเซ็ตแบบแห้ง สีพิมพ์ในแต่ละจุดไม่ทับกัน ดังนั้น เมื่อมองผ่านแว่นขยายจะเห็นช่องว่างระหว่างจะแต่ละจุดที่พิมพ์บนผิวของสิ่งที่พิมพ์ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ค่อยนิยมพิมพ์สีหลากสีมากนัก Full color ตัวอย่างเช่น กระป๋องน้ำอัดลมต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตเห็นรอยเส้นทับบนกระป๋อง ตามแนวความสูงของกระป๋องซึ่งเป็นรอยเส้นที่เกิดจากสีที่เกยกัน < < ย้อนกลับ เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 3 อ่านต่อ เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 5> > < < กลับสู่หน้าหลัก
เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 5
2 เครื่องพิมพ์แบบแบนราบ เครื่องพิมพ์ที่ทำงานในแนวแบนราบนี้ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ลิโกราฟฟี Lithography ความหมายของแบนราบ คือ บริเวณที่ถูกพิมพ์และไม่ได้พิมพ์ต่างอยู่ในระนาบเดียวกัน ตัวแม่พิมพ์หรือเพลทมีลักษณะแบนราบและแวววับจะส่งผ่านหมึกไปสู่โมยาง ก่อนพิมพ์ลงไปบนสิ่งพิมพ์ วิธีส่งหมึกผ่านโมยางจะช่วยยืดอายุของแม่พิมพ์ ถ้าปล่อยให้พิมพ์สัมผัสกับสิ่งที่พิมพ์ทุกครั้งที่พิมพ์ หัวใจสำคัญของการพิมพ์แบบแบนราบ คือ การทำงานของเพลทแม่พิมพ์และตัวหมึกที่มีน้ำมันเป็นฐาน เพลทแม่พิมพ์จะถ่ายหมึกพิมพ์ตรงบริเวณที่จะพิมพ์ ส่วนบริเวณที่ไม่พิมพ์นั้นจะเป็นเยื่อบางๆ ของน้ำ ด้วยเหตุนี้จึงมีลูกกลิ้งที่ให้ความชื้นบนผิวของลูกกลิ้งแม่พิมพ์ ตามที่แสดงไว้ในรูปที่ 8 39 ส่วนปริมาณหมึกที่จะพิมพ์นี้ถูกควบคุมด้วยปริมาณของลูกกลิ้งที่ส่งถ่ายหมึกเป็นชุด การพิมพ์แบบลิโธกราฟฟีนี้มักใช้กับการพิมพ์กระดาษ เช่น กล่องกระดาษแข็งฉลากสีสอดสีหลายๆ สี เป็นต้น เครื่องพิมพ์ที่ใช้ส่วนใหญ่จะป้อนกระดาษเป็นแผ่น ถ้ากระดาษยิ่งเรียบและมันวาวจะยิ่งพิมพ์สอดสีได้สวยงาม จะได้รูปภาพที่คมชัดดังแสดงไว้ในรูปที่ 8 40 รูปที่ 8 40 การแยกประเภทของการพิมพ์จากงานที่พิมพ์ สำหรับกระป๋องที่ต้องการสอดสีสวยงาม จะใช้ระบบออฟเซ็ตลิโธกราฟีนี้พิมพ์ลงไปบนแผ่นโลหะก่อนจะนำไปขึ้นเป็นรูปกระป๋อง แล้วทำการอบแห้ง พร้อมทั้งเคลือบด้วยแสงยูวีหรือเตาอบความร้อน 3 เครื่องพิมพ์กราวัวร์หรือโรโต้กราวัวร์ เครื่องพิมพ์กราวัวร์จะส่งหมึกผ่านโดยแม่พิมพ์ที่กัดเป็นรูเล็กๆ ตามขนาดและความลึกแตกต่างกัน โดยใช้ปฏิกิริยาทางเคมีและการเจียรผิวของของโมแม่พิมพ์ให้เรียบ ในยุคสมัยใหม่จะใช้การเจาะรูด้วยแสงเลเซอร์หรือหัวเข็มทำด้วยเพชร ตัวลูกกลิ้งแม่พิมพ์นี้ทำจากเหล็กชุบด้วยทองแดงพร้อมทั้งเคลือบโครเมียมในขั้นตอนสุดท้ายเพื่อเพิ่มความแข็งแรง สามารถใช้แม่พิมพ์ได้ทนทาน โมที่พาหมึกพิมพ์นี้จะมีใบมีดที่เรียกว่า Doctor Blade ทำการปาดสีบริเวณปากรูให้เรียบดังแสดงไว้ใน รูปที่ 8 41 สิ่งที่พิมพ์จะผ่านระหว่างโมแม่พิมพ์และโมกดแม่พิมพ์ รูปที่ 8 41 หน่วยพิมพ์ของเครื่องพิมพ์กราวัวร์ สิ่งที่พิมพ์สำหรับเครื่องพิมพ์ควรมีผิวเรียบที่สามารถรับถ่ายหมึกที่เป็นจุดๆ นี้อย่างรวดเร็วนับได้ว่าเป็นระบบพิมพ์ทำให้คุณภาพการพิมพ์ที่ดีและแม่พิมพ์สามารถใช้งานได้ทนนานกว่าระบบพิมพ์อื่นๆ ดังนั้นจึงเหมาะกับงานพิมพ์ที่มีปริมาณมากๆ อย่างต่อเนื่อง 4 เครื่องพิมพ์ไร้สัมผัสแบบอิงค์เจ็ท Ink Jet Printer Ink Jet เป็นระบบการพิมพ์แบบไร้สัมผัสที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันเนื่องจากความรวดเร็วในการพิมพ์และการพิมพ์ลงบนวัสดุใดๆ ก็ๆ ได้ เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทจะทำงานโดยใช้วิธีพ่นหยดหมึกขนาดเล็กในปริมาณที่เหมาะสมลงบนสิ่งที่ต้องการจะพิมพ์ จึงให้ประสิทธิภาพในการพิมพ์ที่ดีกว่าแบบอื่นๆ เนื่องจากตัวอักษรคมชัดและสะอาด ระบบอิงค์เจ็ทสามารถพิมพ์ได้เร็วถึง 300 เมตรต่อวินาทีต่อแถว หรือเกือบ 2000 ตัวอักษรต่อนาที ส่วนหมึกที่ใช้กับเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทเป็นหมึกผสมสารเคมีแบบฐานน้ำ Water based Inks ซึ่งแห้งเร็วและตัวหมึกเองโดยส่วนใหญ่สามารถละลายได้ด้วยความร้อน จึงสามารถขจัดปัญหาการทำความสะอาดของเครื่องพิมพ์ เนื่องจากหมึกที่ใช้กับเครื่องอิงค์เจ็ทเป็นหมึกแบบเชื้อน้ำจึงไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม ระบบนี้จึงเป็นที่นิยมกับการพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์อาหารในบางโรงงาน ผลิตภัณฑ์อาหารกว่า 200 รายการของการผลิตสามารถใช้ระบบนี้ในการพิมพ์ลงบรรจุภัณฑ์ทุกประเภท โดยมีการพิมพ์มากกว่า 1 2 ล้านครั้งต่อวัน และประมาณ 320 วันต่อปี นอกเหนือจากนี้บรรจุภัณฑ์ที่ต้องฆ่าเชื้อด้วยความร้อนสามารถใช้หมึกพิเศษที่ทนความร้อนได้สูงกว่า 120 องศาเซลเซียส โดยที่สีไม่หลุดลอก รูปที่ 8 42 หน่วยการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ท คุณสมบัติพิเศษของเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ท คือ ให้การพิมพ์ที่ละเอียดมากจึงสามารถพิมพ์ลงบนพื้นที่ขนาดเล็กๆ ได้โดยหมึกไม่เลอะเทอะเปรอะเปื้อนออกมา โดยเฉพาะการพิมพ์บาร์โค้ดซึ่งมีพื้นที่ขนาดเล็กๆเรียงกัน นอกจาดนี้ยังเหมาะสมกับการพิมพ์ลงบนบรรจุภัณฑ์หรือฉลากในขณะที่บรรจุโดยการเติมวันที่หมดอายุ น้ำหนัก ราคา และวันที่บรรจุในช่องว่างขนาดเล็กที่กำหนดไว้ 8 4 วิธีการจัดหา การจัดหาเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์มีทั้งเครื่องจักรที่ผลิตในประเทศและเครื่องจักรที่นำเข้าจากต่างประเทศ เครื่องจักรที่นำเข้านั้นอาจจะมีอยู่ในสต๊อกที่สามารถดูสภาพการใช้งานและหลักการทำงานของเครื่องได้ ส่วนเครื่องจักรที่มีระดับราคาเป็นล้านบาทขึ้นไปนั้น มักจะต้องนำเข้าและสั่งทำเป็นรายๆ ไป 8 4 1 เกณฑ์การเลือกซื้อเลือกใช้ การจัดซื้อจัดหาเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์เริ่มต้นจากผู้จัดซื้อต้องรู้ถึงความต้องการใช้งานขนาดและความเร็วของเครื่องจักรที่ต้องการซึ่งมีรายละเอียดที่จำต้องรวบรวม ดังต่อไปนี้ 1 สินค้าที่จะบรรจุ เราจะต้องทราบคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น ความสามารถการไหลตกด้วยตนเอง ความหนาแน่น เป็นต้น คุณสมบัติทางเคมีชีวภาพ เช่น การกัดกร่อน ความเป็นกรด ด่างของสินค้า ถ้ามีตัวอย่างอาหารอยู่แล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งให้ผู้ขายเครื่องจักรตรวจสอบและทดลองกับเครื่องจักรจริงๆ นอกจากนี้ยังต้องทราบถึงหน้าที่เฉพาะของเครื่องจักร เช่น เป็นเครื่องปิดกล่อง เครื่องบรรจุ เครื่องปิดฝา หรือเป็นเครื่อง Form Fill Seal เป็นต้น 2 สภาวะของการใช้งาน เริ่มตั้งแต่ความดันไฟฟ้า ความแปรปรวนของกระแสไฟฟ้า ความถี่ของไฟฟ้า น้ำที่จะใช้ สภาวะความเป็นกรด ด่างของน้ำ ความร้อน และความชื้นสัมพัทธ์ในบริเวณที่จะติดตั้งเครื่อง วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่จะสามารถหาได้ และเหมาะสมกับการใช้งานของเครื่อง 3 วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานเครื่องจักร เช่น ความหนา พร้อมทั้งค่าเบี่ยงเบนที่เครื่องจักรจะยอมรับได้ ยกตัวอย่างเช่น ความหนา 40 ไมครอน 10 เป็นต้น ในกรณีที่มีตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ที่จะใช้อยู่แล้ว สมควรอย่างยิ่งที่จะส่งตัวอย่างไปลองทดสอบกับเครื่องจักรพร้อมกับตัวอย่างอาหาร ในกรณีที่เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เพิ่งพัฒนาขึ้นมาใหม่และยังไม่มีตัวอย่าง ควรปรึกษากับผู้ผลิตเครื่องจักรเกี่ยวกับข้อจำกัดของวัสดุที่จะใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ด้วย 4 ปริมาณหรือปริมาตรที่จะบรรจุต่อหน่วยบรรจุภัณฑ์ จะประเมินจากกำลังการผลิตต่อปี ขนาดบรรจุที่แตกต่างกัน พร้อมทั้งสามารถประเมินปริมาณที่ต้องบรรจุของแต่ละขนาดบรรจุ 5 ความแน่นอนในการบรรจุ โดยการวัดเป็นน้ำหนักหรือปริมาตร 6 บรรจุภัณฑ์ขนส่ง ที่ใช้กับบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุแล้วพร้อมทั้งวิธีการจัดส่ง 7 ความต้องการพิเศษต่างๆ เช่น วิธีการป้อนสินค้ามายังเครื่องบรรจุเครื่องต่อท้ายจากการบรรจุ เช่น เครื่องปิดฉลาก เป็นต้น 8 ราคาของอะไหล่ที่จำเป็นใช้ ที่จะส่งมาพร้อมกับการส่งมอบเครื่องจักร 9 วิธีการและระบบการบำรุงรักษาเครื่องจักร 10 เวลาที่ใช้ในการส่งสินค้า 11 การฝึกอบรมบุคลากรในการใช้เครื่องจักร เช่น ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ระยะเวลาในการฝึก และผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการฝึกดังกล่าว เป็นต้น 12 วิธีการจัดส่งเครื่องจักร 13 ข้อจำกัดอื่นๆ ในการจักซื้อและวิธีการจ่ายเงิน รายละเอียดต่างๆ ที่เตรียมไว้ดังกล่าวข้างต้นนี้ มีจุดหมายเพื่อให้ผู้ผลิต ขายเครื่องสามารถเตรียมใบเสนอราคาให้ได้ตรงตามความต้องการใช้งานจริงๆ การติดต่อผู้ผลิต ผู้ขายเครื่องจักรนั้นสมควรพิจารณาจากผู้ผลิที่มีเครื่องจักรมาตรฐานที่ผลิตตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน รายละเอียดเหล่านี้อาจจะได้จากรายชื่อของผู้ได้ซื้อเครื่องและใช้เครื่องอยู่ เมื่อได้รับการเสนอราคาจากผู้ผลิต ผู้ขายใดๆ แล้ว มาตรการที่จะใช้ในการพิจารณาคัดเลือกเครื่องจักร คือ สมรรถนะในการใช้งานของเครื่องและความน่าเชื่อถือของผู้ผลิต สิ่งเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์ไปถึงความสามารถในการจัดหาอะไหล่หลังจากใช้งานไประยะหนึ่ง พิจารณาโดยรวมแล้วมูลค่าเครื่องจักรที่จ่ายไปนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้แก่ ค่าโสหุ้ย ค่าบำรุงรักษา เวลาที่เสียไปในการเปลี่ยนขนาด และเวลาที่ต้องหยุดเครื่องโดยไม่มีผลผลิตออกมา หลังจากการรวบรวมราคาและพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ดังได้กล่าวมาแล้ว จะเป็นการคัดเลือกเครื่องจักรที่เหมาะสมการใช้งานรอบแรก และปรับปรุงความต้องการในการใช้งานของเครื่องจักรใหม่แปรตามมาตรฐานของผู้ผลิต ผู้ขายแต่ละราย ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้เครื่องทราบถึงรายละเอียดทางเทคนิคของเครื่องจักรแต่ละรายมากขึ้น ก่อนการตัดสินใจในการสั่งซื้อสิ่งที่จำเป็นประการสุท้าย คือ การหาโอกาสได้ชมเครื่องจักรที่ต้องการซื้อนั้นในสภาพการใช้งานอย่างแท้จริง พร้อมทั้งหาโอกาสพูดคุยกับผู้ใช้เครื่องจักรนั้นๆ ด้วย 8 4 2 การเตรียมข้อกำหนดการสั่งซื้อเครื่องจักร Order Specification ข้อกำหนดการสั่งซื้อเครื่องจักรเกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ใดๆนั้น จะต้องมีรายละเอียดทางเทคนิคมากกว่าข้อกำหนดของตัวบรรจุภัณฑ์ สำหรับข้อกำหนดการสั่งซื้อเครื่องจำเตรียมจากข้อกำหนดเบื้องต้นที่สอบถาม Inquiry Specification และได้รับการตอบแทนด้วยใบเสนอราคาจากผู้ผลิตเครื่องแล้ว ข้อมูลที่จะระบุไว้ในข้อกำหนดการสั่งซื้อเครื่องจักร จะประกอบด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้ แบบและรุ่นของเครื่องจักร มิติที่ยอมรับได้ของเครื่อง เช่น มีข้อจำกัดเรื่องความสูงของเครื่อง เป็นต้น แบบ ขนาด มิติของบรรจุภัณฑ์และความแปรปรวนที่ยอมรับได้ เป็นต้น ปริมาณ ปริมาตร น้ำหนักที่บรรจุ พร้อมกับความแปรปรวนที่ยอมรับได้ ความเร็ว ขีดความสามารถในการบรรจุของเครื่องจักร ข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์อาหารที่จะทำการบรรจุ ข้อกำหนดของคุณสมบัติของวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แปรรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ เช่น มิติ รวมทั้งภาพประกอบ องค์ประกอบสำคัญในการทำงานของเครื่องจักร ถ้าเป็นไปได้ควรมีรูปภาพประกอบ อุปกรณ์พิเศษต่างๆ และอุปกรณ์เสริมที่ต้องการ เช่น o การเคลือบผิวของเครื่องจักร o ระบบควบคุมอัตโนมัติ o สายพานลำเลียงเพื่อนำส่งเข้าและออกเครื่องจักร คู่มือการใช้เครื่องจักรที่พิมพ์เป็นภาษาไทย หรืออาจเป็นแผ่นดิสก์ หรือถ่ายทำเป็นม้วนวีดีทัศน์ พร้อมทั้งการฝึกอบรมที่ต้องการ จำนวนเครื่องจักรที่สั่งซื้อ ระบบไฟฟ้าของเครื่องจักร เช่น ความดันไฟฟ้า โวลท์ กำลังไฟฟ้าที่ใช้ เป็นต้น ระบบความปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด ระบบการบำรุงรักษาของเครื่องจักร กำหนดระยะเวลาในการส่งมอบเครื่องจักรเกินจากเวลาที่กำหนดไว้อาจยอมรับให้ส่งล่าช้าได้ แต่อาจมีค่าใช้จ่ายอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การเปลี่ยนแปลงแก้ไขการสั่งจ่ายเงินตาม Letter of Credit L C Amendment รายละเอียดเหล่านี้ต้องการตกลงล่วงหน้าว่าใครจะเป็นผู้ชดใช้ภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความล่าช้าในการส่งมอบดังกล่าว วิธีการส่ง โดยรถยนต์ ทางเรือ ทางอากาศและค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง ในกรณีที่เป็นการสั่งซื้อจากต่างประเทศจำเป็นต้องแจ้งสภาวะดิน ฟ้า อากาศ เช่นอุณหภูมิและความชื้นให้ผู้ผลิตทราบ เพื่อว่าผู้ผลิตเครื่องจักรจะได้เตรียมการจัดส่งอย่างเหมาะสม เช่น การเคลือบกันสนิม เป็นต้น ราคาที่ได้ตกลงกันไว้แล้วและกำหนดการชำระเงิน ถ้าเป็นการซื้อเครื่องจักรภายในประเทศด้วยเงินบาท ปัญหาก็จะไม่ยุ่งยากนัก แต่ถ้าเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศอาจจะต้องมีการกำหนดอัตราการแลกเปลี่ยนที่แน่นอน โดยมอบความรับผิดชอบให้ธนาคารหรือผู้ขาย แล้วแต่จะตกลงกัน นอกจากนี้ ในกรณีที่เครื่องจักรส่งมอบใช้ระยะเวลาผลิตนานเป็นปี อาจต้องมีการยืนยันราคาอีกครั้งเมื่อถึงกำหนดส่งมอบเครื่อง วิธีการตรวจสอบรับมอบเครื่องจักร รายละเอียดจะได้กล่าวต่อในหัวข้อ 8 4 3 การรับประกันคุณภาพการใช้งานของเครื่อง โดยปกติจะมีการรับประกันคุณภาพ 1 ปี หลังการส่งมอบ ด้วยการเดินเครื่องจักรตามสภาวะที่ได้ตกลงไว้ก่อน เช่น การเดินเครื่องไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวันและด้วยความเร็วไม่เกิน 100 ขวดต่อนาที เป็นต้น ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นภายใต้สภาวะการเดินเครื่องจักรตามที่ได้ตกลงไว้นี้ มักจะได้รับการบริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรืออาจจ่ายเฉพาะค่าแรงเป็นต้น การบริการหลังการขายและการติดตั้งเครื่องจักร เช่น มีการตรวจเครื่องทุกช่วงเวลาที่กำหนดด้วยค่าใช้จ่ายตามที่ตกลงกัน รายชื่อและราคาของอะไหล่ที่ผู้ขายแนะนำให้มี ข้อมูลที่กำหนดในข้อกำหนดการสั่งซื้อดังกล่าวไม่จำเป็นต้องมีรายละเอียดตามที่กล่าวมาแล้ว แต่ควรมีการประยุกต์ใช้และเพิ่มเติมเท่าที่จำเป็นในแต่ละกรณีไป 8 4 3 การตรวจสอบรับมอบเครื่องจักร ก่อนการตรวจสอบรับมอบเครื่องจักรมักจะมีการทดสอบการเดินเครื่อง โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ใช้เครื่องมักจะมีความรู้เกี่ยวกับการเดินเครื่องน้อยกว่าผู้ผลิตเครื่องจักร ยกเว้นเคยมีประสบการณ์ในการใช้เครื่องจักรประเภทที่จะซื้อมาก่อนแล้ว ด้วยเหตุนี้การทดสอบการเดินเครื่องก่อนการส่งมอบผู้ซื้อมักจะประสบปัญหา 2 ประการ คือ 1 ขีดความสามารถในการทำงานของเครื่องจักรที่จะยอมรับได้ของผู้ซื้อ เช่น ปริมาณสินค้าที่จะบรรจุ ผลิตได้จากเครื่อง และปริมาณความสูญเสียในการเดินเครื่องที่จะยอมรับได้ เป็นต้น 2 มาตรการที่จะใช้ในการทดสอบการเดินเครื่อง วิธีการทดสอบเครื่องและมาตรการที่จะยอมรับเครื่องจักร ปัญหา 2 ข้อดังกล่าวควรจะมีการตกลงกันไว้ล่วงหน้าหรืออาจจะมีการจ้างผู้เชี่ยวชาญที่เป็นหน่วยงานกลางมาตัดสินหรือให้คำแนะนำในกรณีที่เป็นเครื่องจักรที่มีมูลค่าสูงๆ ในการตรวจสอบรับมอบเครื่องจักรมีหลักเกณฑ์การยอมรับเครื่องจักรดังนี้ 1 การทดลองเดินเครื่องจักรที่โรงงานของผู้ขาย 2 การทดลองเดินเครื่องจักรที่โรงงานของผู้ซื้อ 3 จำนวนเล่มของคู่มือเครื่องจักร คู่มือบำรุงรักษาและคู่มืออะไหล่ วิธีการทดสอบตรวจรับเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์จะแปรตามประเภทของเครื่องจักร อย่างไรก็ตาม ผู้ซื้อจะต้องทำการส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ที่จะใช้ในการทดลองเดินเครื่องด้วยปริมาณที่เพียงพอต่อการทดลองเดินเครื่อง นอกจากความเร็วในการบรรจุด้วยวัสดุตามที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าแล้ว รายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องพิจารณาในการตรวจสอบรับมอบเครื่องจักร คือ สีและรูปลักษณะของตัวเครื่อง ขนาดและปริมาตรของการบรรจุที่ยอมรับได้ รายละเอียดของคู่มือการใช้เครื่อง การบำรุงรักษาเครื่อง และความสมบูรณ์ของคู่มือ คู่มือดังกล่าวอาจจะใช้เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งในการติดสินใจก่อนซื้อเครื่อง ด้วยการศึกษาคู่มือดังกล่าวเปรียบเทียบกับผู้ผลิตเครื่องจักรแต่ละราย ความเร็วสูงสุดเมื่อวิ่งด้วยเครื่องเปล่าไม่มีการบรรจุ และความเร็วที่ยอมรับได้ตามที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนในสัญญาซื้อขาย ความแปรเปลี่ยนของตัวสินค้าหลังจากการบรรจุ การใช้งานของเครื่องจักร การตรวจสอบเครื่องจักรก่อนการส่งมอบ ณ โรงงานผลิตเครื่องจักร เพื่อว่าถ้าต้องการมีการแก้ไขใดๆ ก็จะสามารถกระทำได้ที่โรงงานผลิตเครื่องจักรนั้นซึ่งมีสมรรถนะที่ดีกว่าจะมาแก้ไข ณ จุดที่ใช้งานเครื่องจักรหรือมีการตรวจทั้ง 2 แห่งตามที่ตกลงกันไว้ก่อน ข้อมูลต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ควรระบุอยู่ในข้อกำหนดการสั่งซื้อซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละกรณี และความต้องการของผู้ซื้อเครื่องจักร อย่างไรก็ตาม ความรับผิดชอบและการบริหารงานของผู้ผลิตเครื่องจักรเป็นหัวใจสำคัญที่จะให้รายละเอียดต่างๆที่ระบุไว้ในข้อกำหนดการสั่งซื้อสัมฤทธิผลได้ เช่น การควบคุมคุณภาพของวัสดุที่นำมาใช้ การใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย การจัดการภายในโรงงานผลิตเครื่อง อุปกรณ์ที่สั่งซื้อจากแหล่งต่างๆ เป็นต้น บทสรุป การจัดหาเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์มักจะตัดสินใจโดยใช้ความเร็วในการผลิตหรือการบรรจุเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ เนื่องจากเครื่องจักรเป็นสินทรัพย์ ความมั่นใจในชื่อเสียงของบริษัทที่ผลิตเครื่องจักรและบริษัทที่จำหน่ายก็มีบทบาทต่อการตัดสินใจ ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาเลือกเครื่องจักรนั้น นอกเหนือจากความเร็วของเครื่องแล้วปัจจัยอื่นที่จำเป็นต้องพิจารณา ได้แก่ ตำแหน่งที่ตั้งเครื่อง การควบคุมการทำงานของเครื่อง การบำรุงรักษา พร้อมทั้งการบริการหลังการขาย และสุดท้าย คือ ค่าใช้จ่ายรวมของเครื่องจักร ซึ่งรายละเอียดปัจจัยและวิธีการเลือกเครื่องจักรทั้งหมดได้รวบรวมไว้ในตารางที่ 8 1 ประเภทของเครื่องจักรอาจแบ่งเป็น 2 ประเภทตามประเภทของอาหาร คือ อาหารเหลว และอาหารแห้ง ส่วนเครื่องจักรพิเศษประเภทอื่นๆ ได้แก่ เครื่องบรรจุสุญญากาศ เครื่องห่อที่มีการทำงานด้วยเชิงกลและการใช้ฟิล์มหดรัดรูปและฟิล์มยืด ในกรณีของบรรจุภัณฑ์แก้ว ฝาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นต้องพิจารณาเครื่องปิดฝาด้วย สำหรับถุงพลาสติกที่มีใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมขนาดย่อม เครื่องปิดปากถุงโดยใช้ความร้อนจะเป็นเครื่องจักรที่พบได้โดยทั่วไป ส่วนกระป๋องนับเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กันมากในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องจักที่ใช้มากที่สุดในอุตสาหกรรมนี้ คือ เครื่องปิดฝาตะเข็บคู่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการทำให้กระป๋องมีการปิดสนิทที่มิดชิด Hermetic Seal ส่วนเครื่องจักรอื่นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารได้แก่ เครื่องปิดฉลาก เครื่องบรรจุกล่อง เครื่องปิดกล่อง และเครื่องรัดกล่อง การพิมพ์ที่นิยมใช้กับบรรจุภัณฑ์มี 4 ประการ คือ 1 แบบถ่ายผ่าน Relief 2 แบบแบนราบ Plano Graphic 3 แบบกราวัวร์ Gravure 4 แบบไร้สัมผัส Non Contact สุดท้ายคือ การตรวจสอบและการรับมอบเครื่องจักร ซึ่งมีความจำเป็นมากในการกำหนดคุณลักษณะจำเพาะหรือที่เรียกว่า Specification ของเครื่องจักรในสัญญาการซื้อขาย รายละเอียดในการกำหนดสเป็คจะรวบรวมเอาปัจจัยที่สำคัญตามที่กล่าวไว้แล้วในตารางที่ 8 1 เป็นเกณฑ์ในการตรวจรับมอบเครื่องจักร < < ย้อนกลับ เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 4 < < กลับสู่หน้าหลัก
เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 3
8 3 4 เครื่องหดรัดรูป Shrink Wrapping Machine และเครื่องยืดรัดรูป Stretch Wrapping Machine การที่ฟิล์มสามารถหดรัดรูปสินค้าได้เกิดจากฟิล์มซึ่งยังคืนตัวไม่หมดระหว่างการผลิตเมื่อได้รับความร้อน เนื้อฟิล์มก็จะหดตัวลงรัดตัวบรรจุภัณฑ์สินค้าที่จะทำการห่อ เมื่อบรรจุภัณฑ์ที่ห่อด้วยฟิล์มหดรัดรูปแล้วจะดูสวยงามสามารถมองเห็นบรรจุภัณฑ์ได้ชัดเจนรอบตัว ช่วยป้องกันฝุ่นละอองและช่วยป้องกันบรรจุภัณฑ์ถูกเปิดออกก่อนที่จะซื้อ 1 รูปแบบการห่อรัดรูป มีสองรูปแบบ คือ แบบสวมหรือสลีฟ Sleeve จะเปิดปลาย 2 ข้าง เสมือนสวมปลอกให้บรรจุภัณฑ์สินค้า แบบห่อปิดผนึกโดยรอบ ปกติเมื่อห่อฟิล์มแล้วจึงจะตัดพร้อมปิดผนึกสองด้าน รูปที่ 8 18 การห่อแบบรัดรูป 2 ฟิล์มที่ใช้กับเครื่องหดรัดรูป ทำจากพลาสติกเนื้อ PE PVC PP พิเศษ และ PE พิเศษ โดยฟิล์มแต่ละชนิดมีคุณสมบัติดังนี้ ฟิล์ม PE จะมีความเหนียวพอใช้แต่ไม่ใสมาก จึงมักใช้ในการห่อสินค้าแบบรวมห่อ เช่น ห่อรัดน้ำดื่ม 6 ขวด ฟิล์ม PVC เป็นฟิล์มใสวาว กรอบแตกฉีกขาดง่าย ระหว่างที่ฟิล์มหดตัวด้วยความร้อนจะคายสารไวนิลคลอไรด์ออกมามีกลิ่นฉุนแบบกลิ่นคลอรีน ถ้าถูกอาหารจะปนเปื้อนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคจึงไม่ควรใช้กับอาหารโดยตรง ฟิล์ม PP พิเศษและ PE พิเศษ อาจเรียกชื่อฟิล์มทั้งสองว่า ฟิล์ม HP High Performance เป็นฟิล์มที่มีความใสสูง วาวพอสมควร เนื้อบาง แต่มีความเหนียวสูง ทนอุณหภูมิเยือกแข็งได้ สามารถใช้ห่อสัมผัสกับอาหารได้โดยตรง เช่น ห่อเนื้อผลไม้สด อาหารพร้อมปรุง ฟิล์ม PP พิเศษ ส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้า ส่วนฟิล์ม PE พิเศษเพิ่งเริ่มทำการผลิตในเมืองไทยเมื่อต้นปี 2540 3 เครื่องจักรอุปกรณ์สำหรับฟิล์มหดรัดรูป ได้แก่ เครื่องเป่าผม เป็นเครื่องมือที่ง่ายที่สุดสำหรับการผลิตจำนวนน้อยๆ ตู้อบ เป็นแบบเปิดรับบรรจุภัณฑ์สินค้าที่สวมฟิล์มหรือผนึกฟิล์ม 3 ด้าน เมื่อปิดฝาเครื่องจะเป่าความร้อนที่อุณหภูมิและตามเวลาที่ตั้งไว้ อุโมงค์อบเป็นทั้งแบบส่งผ่านเข้าตู้ด้วยมือและโดยใช้สายพาน บ่อแช่น้ำร้อน ตัวสินค้าจะห่อด้วยฟิล์ม HP ที่ปิดผนึกทุกด้าน แล้วจึงจะนำไปหย่อนแช่ในน้ำร้อนตามเวลาและอุณหภูมิที่ตั้งไว้ สินค้าอาหารที่ใช้ห่อด้วยการแช่น้ำร้อนนี้ ได้แก่ เป็ดทั้งตัว ขาหมูแช่เค็ม เนื้อแฮมชิ้นใหญ่ๆ ข้อดีของการใช้ฟิล์มหดรัดรูปแบบแช่น้ำร้อนนี้ จะทำให้ฟิล์มได้รับความร้อนสม่ำเสมอและจะหดตัวได้รอบทั่วถุงทำให้ดูสวยงาม เครื่องจักรหดรัดรูปแบบอุโมงค์อบและตู้อบดังแสดงในรูปซ้ายมือล่างหน้า 272 ประกอบด้วยเครื่องปิดผนึกตัดฟิล์มในตัว หลังจากห่อและปิดผนึกแล้ว จะต้องลำเลียงบรรจุภัณฑ์พร้อมสินค้าที่มีฟิล์มห่อหรือสวมไว้อย่างหลวมเข้าไปในอุโมงค์ การลำเลียงสินค้าที่เข้าสู่อุโมงค์อบมีทั้งแบบกึ่งอัตโนมัติและแบบอัตโนมัติรูปที่แสดงไว้นี้เป็นแบบกึ่งอัตโนมัติ 4 รูปแบบการยืดรัดรูป การยืดรัดรูปเป็นวิธีการห่อรัดบรรจุภัณฑ์สินค้าโดยการดึงฟิล์มให้ยืดออกในขณะที่ห่อสินค้าขอบที่ยืดออกสามารถซ้อนแนบติดกับฟิล์มด้วยกันเองได้ เนื่องจากความพยายามในการคืนสู่รูปเดิมหรืออาจใช้กาวหรือความร้อนช่วยติดด้วย ตัวฟิล์มยืดมีราคาสูงกว่าฟิล์มหดเล็กน้อย แต่มีความบางน้อยกว่า 15 ฟิล์มยืดนี้ทำจากเนื้อพลาสติก LLDPE เนื่องจากมีความสามารถยึดได้ดีและเหนียว ในกรณีทีต้องการใช้ฟิล์มยืดที่มีความใส อาจใช้เป็นฟิล์มเนื้อ PVC แทนได้ ข้อดีของการใช้ฟิล์มยืดคือ ไม่ต้องเสียพลังงานความร้อน แต่ใช้แรงยืดแทนทำให้ค่าใช้จ่ายโดยรวมของฟิล์มยืดจะถูกกว่าฟิล์มหด เครื่องมือในการใช้งานเพื่อยืดรัดห่อสินค้าได้แก่ มือดึงยืดและกดแนบ แท่นปิดผนึก มีแกนติดตั้งม้วนฟิล์มยืดและแท่นอุ่น เครื่องยืดรัดกึ่งอัตโนมัติ 5 เครื่องพันรัดกองกะบะ เป็นเครื่องที่ทำงานด้วยระบบเบรกเพื่อช่วยจับฟิล์มให้ยืดออกในขณะพันรัดกะบะ ซึ่งมีทั้งที่เป็นระบบแท่นหมุน กะบะวางอยู่บนแท่น หรือระบบแขนดึงหมุนของฟิล์ม ซึ่งกะบะจะอยู่กับที่ดังแสดงในรูปที่ 8 19 รูปที่ 8 19 การยึดรัดสินค้าบนกะบะ 8 3 5 เครื่องปิดฝา Cap Closure Machine ฝาที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนใหญ่แบ่งเป็น 3 ประเภทดังแสดงในรูปที่ 8 20 ฝาแต่ละประเภทมีลักษณะดังนี้คือ 1 ฝาจีบ Crown Cork เป็นฝาที่คุ้นเคยเนื่องจากใช้กับขวดน้ำอัดลมเป็นส่วนใหญ่ เครื่องจักรที่ใช้เป็นการกด Press บริเวณฝาที่เป็นจีบลงไปในร่องของปากขวด 2 ฝาเกลียว เป็นฝาที่ใช้กันมากในอุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบรรจุภัณฑ์พลาสติก เครื่องจักรที่ใช้จะมีตัวหนีบฝา Chuck ให้หมุนไปตามเกลียวของขวด ในกรณีใช้ฝาอะลูมิเนียมกับขวดพลาสติก ตัวฝาอะลูมิเนียมจะไม่ได้มีเกลียวมาก่อน แต่ตัวเกลียวจะรัดฝาอะลูมิเนียมที่นิ่มเข้ากับร่องขวดทำให้ฝาแนบสนิทกับปากขวดแก้ว 3 ฝาลัก Lug ส่วนใหญ่เป็นฝาโลหะที่มีติ่งอยู่ใต้ฝา มักใช้กับขวดปากกว้างสำหรับบรรจุอาหารประเภทต่างๆ ข้อดีของฝาประเภทนี้ คือ หมุนฝาเพียงเศษ 1 ส่วน 4 รอบก็จะสามารถเปิดฝาได้อย่างง่ายดายเช่น ฝาที่มี 4 lug การเลือกใช้เครื่องจักรในการปิดฝาจะแปรตามประเภทของฝาที่ใช้ ระบบการทำงานที่นิยมทั่วไป คือ ระบบตัวหนีบทำงานด้วยทำงานด้วยกลและระบบทำงานด้วยลม ระบบลมจะเป็นระบบที่ทำงานได้สะดวกกว่าระบบกล ในปัจจุบันเครื่องปิดฝามักจะผสมผสานทั้ง 2 ระบบเข้าด้วยกัน รูปที่ 8 20 ฝาประเภทต่างๆ 8 3 6 เครื่องปิดผนึกแบบร้อนและแบบเย็น Sealing Machine Hot Seal and Cold Seal 1 การปิดผนึกแบบร้อน เครื่องปิดผนึกแบบร้อน อาจแบ่งประเภทตามความสลับซับซ้อนของเครื่องจักรดังแสดงในรูปกลางหน้า 272 โดยเริ่มจากประเภทง่ายๆ เรียงลำดับได้ดังต่อไปนี้ 1 เครื่องปิดผนึกแบบบาร์ร้อน Bar Sealer หลักการทำงานคล้ายกับเครื่องเตารีดซึ่งแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อน เครื่องปิดผนึกนี้นับเป็นเครื่องที่ใช้กันมากที่สุด ก่อนปิดผนึกจะต้องจับบริเวณปากถุงให้ตึงเรียบไร้รอยย่น จึงจะได้รอยปิดผนึกที่สมบูรณ์ โดยปกติบาร์ร้อนจะมีเพียงด้านเดียว ดังรูปที่ 8 21 แสดงการปิดผนึกแบบบาร์ร้อนตัวบาร์ร้อนจะอยู่ด้านบน ด้วยการใช้แรงกดอย่างสม่ำเสมอทั้งบริเวณเครื่องปิดผนึกแบบนี้ใช้พลาสติกที่มีการเคลือบหลายชั้น รูปที่ 8 21 การปิดผนึกแบบบาร์ร้อน 2 เครื่องปิดผนึกแบบสายพาน Band Sealer ใช้ระบบการทำงานเช่นเดียวกับแบบแรก แต่มีความเร็วในการทำงานสูงกว่าและแรงดันแต่ละครั้งสม่ำเสมอ สามารถตั้งระยะชิดของสายพานลวดความเร็วให้ได้ความดันใกล้เคียงกันตลอดแนวปิดผนึก ความร้อนของสายพานถูกส่งผ่านจากแผ่นความร้อนและลวดความร้อนดังแสดงในรูปที่ 8 22 และรูปกลางในหน้า 272 สิ่งที่พึงระวังคล้ายคลึงกับระบบแรกคือ เมื่อป้อนถุงตามรูปจากซ้ายมือเข้าสู่เครื่องนั้น ปากซองจะต้องตึงเรียบเพื่อให้เกิดการปิดผนึกอย่างสมบูรณ์แบบ เครื่องปิดผนึกแบบสายพานนี้มีกำลังการผลิตสูงกว่าเครื่องปิดผนึกแบบบาร์ร้อนถึง 3 เท่า จึงสมควรพิจารณาจัดหามาใช้ถ้าต้องการเพิ่มกำลังการผลิต รูปที่ 8 22 การรีดปิดปากซอง ระบบสายพาน 3 เครื่องปิดผนึกแบบกระตุ้นด้วยไฟฟ้า Impulse Sealer หลักการทำงานคล้ายคลึงกับแบบที่ได้กล่าวมาแล้วแต่ความแตกต่างอยู่ที่บริเวณให้ความร้อน เส้นลวดที่ให้ความร้อนนี้ จะมีฉนวนความร้อนหุ้มอยู่เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านในระยะเวลาสั้นๆ จะแปลงเป็นความร้อนเชื่อมบริเวณปากถุงให้หลอมเหลวเป็นเส้นรอยปิดผนึกเล็กๆ ดังแสดงในรูป 8 23 เครื่องปิดผนึกระบบนี้จะมีการสะสมความร้อนน้อยกว่าและให้ความร้อนด้วยปริมาณที่แน่นอนกว่าในการปิดผนึกแต่ละครั้ง เครื่องปิดผนึกแบบนี้เหมาะแก่การใช้งานกับพลาสติกชั้นเดี่ยวๆ ไม่มีการเคลือบหลายชั้น รูปที่ 8 23 การปิดผนึกแบบกระตุ้นด้วยไฟฟ้า 2 การปิดผนึกแบบเย็น ตามที่ได้อธิบายมาแล้ว องค์ประกอบในการปิดผนึก ประกอบด้วยอุณหภูมิเวลาที่ปิดผนึก แรงปิดผนึกและการเย็นตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหรือความเร็วในการปิดผนึกและยังสามารถลดการใช้พลังงานของเครื่อง ได้มีวิวัฒนาการของกาวในการเคลือบชั้นในของฟิล์มบรรจุภัณฑ์ โดยสามารถปิดผนึกด้วยความร้อนที่ต่ำประมาณ 50 องศาเซลเซียส และใช้เวลาน้อยทั้งในการปิดผนึกและการเย็นตัว แต่เพิ่มความดันมากขึ้นเป็นเท่าตัวจากความดันในระบบการปิดผนึกแบบเดิม ผลจากการใช้ระบบผนึกแบบเย็น ทำให้เครื่องจักรสานสามารถเพิ่มความเร็วได้สูงกว่าเท่าตัว โดยสามารถห่อได้เกินกว่า 500 ซองต่อนาที โดยเฉพาะเครื่อง Form Fill Seal แบบแนวราบดังแสดงในรูปที่ 8 24 ระบบผนึกแบบเย็นยังเป็นระบบที่ค่อนข้างใหม่ในบ้านเรา เนื่องจากความต้องการความเร็วในการผลิตยังค่อนข้างต่ำ และค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเครื่องปิดผนึกแบบเย็น Cold Seal Machine ยังมีราคาค่อนข้างสูง รูปที่ 8 24 เครื่องห่อ FFS แบบแนวราบ 8 3 7 เครื่องปิดกระป๋อง Can Seamer เครื่องจักรที่ใช้ปิดกระป๋องมีหลายแบบและหลายขนาดนับตั้งแต่ทำงานด้วยมือและมอเตอร์ทั้งแบบกึ่งอัตโนมัติและอัตโนมัติ มีความเร็วตั้งแต่นาทีละ 10 กระป๋องจนถึงนาทีละ 100 กระป๋อง นอกจากนี้บางชนิดยังทำการปิดฝาภายใต้สภาวะสุญญากาศ ด้วยส่วนประกอบของเครื่องจักรเหล่านี้ อาจแบ่งได้เป็น 4 ส่วนคือ ลูกกลิ้งลูกที่หนึ่ง First roller ลูกกลิ้งลูกที่สอง Second Roller แท่นรองกระป๋อง Baseplate แท่นสวมฝากระป๋อง Chuck ลูกกลิ้งลูกที่หนึ่งและลูกที่สอง ทำด้วยโละที่มีความแข็งเป็นพิเศษ ลูกกลิ้งทั้งสองนี้ทำงานร่วมกันและเรียกว่าลูกกลิ้ง 1 ชุด ลูกกลิ้งลูกที่หนึ่งมีร่องที่มีความลึกมากและมีความแคบ ส่วนลูกกลิ้งที่สองมีร่องกว้างและตื้นและทำการปิดกระป๋องบริเวณตะเข็บคู่ดังแสดงในรูปที่ 8 25 รูปที่ 8 25 การทำงานของลูกกลิ้งในการขึ้นรูปตะเข็บคู่ 1 การทำงานของเครื่องปิดฝา มีทั้งแบบอัตโนมัติ แบบกึ่งอัตโนมัติ และแบบใช้แรงงานคน ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ 1 เครื่องปิดฝาอัตโนมัติ กระป๋องที่บรรจุอาหารจะวางบนแท่นรองกระป๋อง จากนั้นฝาจะถูกเลื่อนด้วยเครื่องกลไกอัตโนมัติมาวางบนกระป๋องพอดี ต่อจากนั้นแท่นรองกระป๋องจะถูกยกขึ้นเพื่อให้สวมเข้าไปในแท่นสวมฝา การทำงานของลูกกลิ้งลูกที่หนึ่งจะเริ่มขึ้นทันที และติดตามด้วยลูกที่สอง การทำงานของลูกกลิ้งจะสัมพันธ์กับแท่นสวมฝา ต่อจากนั้นแท่นรองกระป๋องจะลดต่ำลงและปล่อยกระป๋องออก 2 เครื่องกึ่งอัตโนมัติ การทำงานของเครื่องแบบนี้ต้องใช้คนวางฝากระป๋องลงบนกระป๋อง แล้วยกกระป๋องขึ้นโดยใช้คันกระเดื่องยกแท่นรองกระป๋อง แท่นสวมฝาจะสวมเข้าไปในฝากระป๋องพอดี เมื่อแท่นสวมฝาเข้าแล้ว การทำงานของลูกกลิ้งลูกที่หนึ่งและสองจะเริ่มทำงานโดยอัตโนมัติ 3 เครื่องปิดฝาแบบใช้แรงงานคน เครื่องปิดฝาแบบนี้การทำงานทุกขั้นตอนต้องใช้แรงงานคนทั้งหมด นับตั้งแต่การวางฝากระป๋องลงบนกระป๋อง การยกแท่นรองกระป๋อง การเริ่มทำงานของลูกกลิ้งและการปล่อยกระป๋องออกจากเครื่องปิดฝา ลูกกลิ้งที่กล่าวมาแล้วทั้งสอง มีการทำงานแบบเดียวกัน โดยเริ่มด้วยลูกกลิ้งลูกแรกจะกดตะเข็บที่ส่วนนอกของฝาและหมุนไปรอบๆ ส่วนในของฝาจะขนานไปกับปากของตัวกระป๋องที่บานออกเล็กน้อยและพับลงเล็กน้อยในขณะที่ปลายของฝาจะม้วนตัวและสอดเข้าไปอยู่ใต้ของตัวกระป๋อง โดยมีปลายขอบเกือบชิดตัวกระป๋อง การทำงานของลูกกลิ้งตัวแรกนี้มีความสำคัญมาก ถ้ามีความผิดพลาดเกิดขึ้น การแก้ไขเพื่อให้ตะเข็บดีขึ้นในระยะต่อมาทำได้ยาก การปรับลูกกลิ้งลูกแรกไม่ควรแน่นหรือหลวมเกินไป มิฉะนั้นจะทำให้ตะเข็บไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งแสดงถึงข้อบกพร่องและการปรับลูกกลิ้งลูกแรกในลักษณะต่างๆ กันเมื่อการทำงานของลูกกลิ้งลูกแรกสิ้นสุดลงแล้ว ลูกกลิ้งลูกที่สองจะเข้าทำงานแทนที่โดยกดตะเข็บให้แน่นแนบชิดกับตัวกระป๋อง ความแน่นของตะเข็บจะขึ้นอยู่กับการปรับลูกกลิ้งลูกที่สองนี้ ลูกกลิ้งที่มีร่องและลักษณะไม่ถูกแบบ หรือกร่อนมากจะทำให้ตะเข็บไม่แน่นเท่าที่ควร ระหว่างการปิดฝาต้องใช้แรงมาก ยางกันรั่วควรจะอยู่ในตะเข็บทั้งหมด อุดช่องว่างในตะเข็บป้องกันไม่ให้กระป๋องรั่ว การใช้ยางกันรั่วจะช่วยให้กระป๋องปิดสนิท ตำแหน่งและปริมาณของยางต้องพอเหมาะ ถ้ามีความบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดก็จะทำให้กระป๋องรั่วได้ ตัวกระป๋องและฝาอาจจะทำด้วยโลหะชนิดต่างๆ ขึ้นกับสิ่งที่นำไปใช้ กระป๋องที่ใช้ความดันสูงจะมีรูปร่างแตกต่างจากกระป๋องที่ใช้บรรจุภายใต้สุญญากาศ ฝากระป๋องอาจทำด้วยอะลูมิเนียม แผ่นเคลือบดีบุก หรือแผ่นเหล็กธรรมดา อาจเป็นแบบที่เปิดง่ายหรือทำเป็นหน้าต่างเพื่อให้เห็นอาหารภายในก็ได้ แต่เมื่อทำตะเข็บต้องเป็นตะเข็บคู่เสมอ เมื่อปิดฝาเรียบร้อยแล้วจะต้องมีการทดสอบรูรั่ว แต่ก่อนที่จะมีการทดสอบจะต้องตรวจสอบคุณภาพอื่นๆ เสียก่อน เช่น ตัวกระป๋อง และตะเข็บ การควบคุมคุณภาพที่ดีจะทำให้ได้กระป๋องที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ 2 ปัจจัยที่มีผลต่อตะเข็บคู่ ตะเข็บของกระป๋องแต่ละขนาด ซึ่งต้องใช้แผ่นโลหะที่มีความหนาและความแข็งแตกต่างกัน จะมีโครงสร้างแตกต่างกันไปขึ้นกับปัจจัย 4 ประการ 1 รูปร่างและขนาดของฝา ความยาวของส่วนโค้งของฝา ความหนาของสันตะเข็บมีผลต่อขนาดตะเข็บมาก ความเรียวป้านของแท่นกดฝาก็มีผลต่อตะเข็บเช่นเดียวกัน โดยปกติแท่นกดฝาจะมีความเรียวประมาณ 3 6 องศาจากแนวตั้ง 2 รูปร่างและขนาดของตัวกระป๋อง ส่วนของกระป๋องที่บานออกไปเป็นมุม 3 6 องศากับตัวกระป๋อง เป็นมุมรับกับฝากระป๋องและแท่นกดพอดี ส่วนของตัวกระป๋องที่จะเป็นตัวขอขึ้นอยู่กับส่วนที่เป็นปีกและแรงกดของแท่นรองกระป๋อง ถ้าแรงดันของแท่นรองกระป๋องมากเกินไป ตัวกระป๋องจะยาวมาก ในทางตรงกันข้ามถ้าแท่นแรงดันของกระป๋องน้อยเกินไป ตัวขอจะสั้น โดยปกติความยาวของปีกกระป๋อง ความหนาของตะเข็บ และส่วนงอของฝาไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ถึงแม้ขนาดของกระป๋องเปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นมากถ้าใช้แผ่นโลหะที่มีความหนาแตกต่างไป 3 รูปร่างและขนาดของลูกกลิ้งและแท่นกดฝา รูปร่างของตะเข็บขึ้นอยู่กับร่องของลูกกลิ้ง และความเรียวของแท่นกดฝา ลักษณะของแท่นกดฝาได้แสดงไว้ในรูปที่ 8 25 ขนาดของร่องลูกกลิ้งจะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดของกระป๋องและความหนาของแผ่นโลหะเป็นผลให้ขนาดของตะเข็บเปลี่ยนแปลงไปด้วย 4 การปรับลูกกลิ้ง การปรับแรงกดของลูกกลิ้งและแรงกดของแท่นรองกระป๋องจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้ส่วนต่างของตะเข็บเปลี่ยนแปลงไป การตัดขวางของตะเข็บจะสามารถตรวจสอบว่าตะเข็บจะเกี่ยวกันได้ตามต้องการเพราะตะเข็บเหล่านี้ถ้าดูจากภายนอกจะเป็นปกติดีถึงแม้ตะเข็บภายในจะไม่เกี่ยวกันเลย < < ย้อนกลับ เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2 อ่านต่อ เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 4 > > < < กลับสู่หน้าหลัก
กฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 1
กฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์นับวันมีบทบาทมากยิ่งขึ้น เนื่องจากความตื่นตัวของผู้บริโภคและกระแสโลกานุวัตรกระตุ้นให้รัฐต้องออกกฎหมายมาควบคุม ในบทนี้จะได้บรรยายกฎหมายและข้อบังคับที่มีความสำคัญต่อวงการบรรจุภัณฑ์ พร้อมทั้งแหล่งที่จะค้นคว้ารายละเอียดข้อมูลเหล่านี้ 9 1 กฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ 9 1 1 พระราชบัญญัติ มาตราชั่งตวงวัด พ ศ 2466 พ ร บ ฉบับนี้ร่างขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้บริโภคสินค้าตามปริมาณที่กำหนด ซึ่งจะได้ผลดีเพียงใดอยู่กับความร่วมมือของผู้ประกอบการในการดูแลเอาใจใส่ในการบรรจุสินค้าของตัวเองให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยครอบคลุมสินค้าที่ผลิตและจัดจำหน่ายภายในประเทศ และยังรวมถึงสินค้าหีบห่อที่นำเข้ามาหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร ดังนั้น อุปกรณ์หรือเครื่องจักรใดๆ ที่ใช้ในการชั่ง ตวงวัด จะต้องได้ใบรับรอง ส่วนหน่วยที่แสดงปริมาณของสินค้าตามมาตราชั่งตวงวัด ควรใช้ระบบเมตริกและตัวเลขที่ใช้สามารถใช้ตัวเลขอารบิคหรือตัวเลขไทยได้ ขนาดของตัวเลขและตัวอักษรที่ต้องใช้ไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร นอกจากนี้ในประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับล่าสุดคือ ฉบับที่ 13 ปี พ ศ 2539 ได้กำหนดให้สินค้าบางประเภทบรรจุตามปริมาณที่กำหนด ผลิตภัณฑ์อาหารที่กำหนดให้บรรจุตามปริมาณที่กำหนดระบุอยู่ในท้ายประกาศดังกล่าวประกอบด้วย อาหารปรุงแต่ง เครื่องดื่มและน้ำส้มสายชู โดยมีรายละเอียดดังนี้ น้ำปลาขนาดบรรจุเป็นมิลลิลิตร มล มีขนาด 100 200 300 530 700 750 ส่วนขนาดบรรจุต่ำกว่า 100 มล และสูงกว่า 750 มล ไม่กำหนดขนาดบรรจุ น้ำซีอิ๊วขนาดบรรจุเป็นมิลลิลิตร มล มีขนาด 100 200 250 300 500 530 620 ขนาดต่ำกว่า 100 มล และขนาดสูงกว่า 620 มล ไม่กำหนดขนาดบรรจุ น้ำซอส ขนาดบรรจุเป็นมิลลิลิตร มล มีขนาด 100 150 200 300 600 700 ขนาดต่ำกว่า 100 มล และขนาดต่ำกว่า 700 มล ไม่กำหนดขนาดบรรจุ น้ำส้มสายชู ขนาดบรรจุเป็นมิลลิลิตร มล มีขนาด 100 200 300 530 700 750 ขนาดต่ำกว่า 100 มล และขนาดสูงกว่า 750 มล ไม่กำหนดขนาดบรรจุ 9 1 2 พระราชบัญญัติอาหาร พ ศ 2522 สาระสำคัญในพระราชบัญญัติฉบับนี้สามารถแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การขึ้นทะเบียนตำรับอาหารและฉลากอาหาร 1 การขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ ศ 2522 กำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าซึ่งอาหารควบคุมเฉพาะ ต้องนำอาหารนั้นมาขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหารก่อน เมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนแล้วจึงผลิตหรือนำเข้าเพื่อจำหน่ายได้หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ประเภทอาหารที่ต้องขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1 อาหารควบคุมเฉพาะ มี 39 ประเภท 2 อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานมี 9 ประเภท 3 อาหารที่กำหนดให้เป็นอาหารที่ต้องมีฉลากมี 2 กลุ่มคือ 3 1 กลุ่มอาหารที่ต้องส่งมอบฉลากให้คณะกรรมการอาหารและยา อย พิจารณาก่อนนำใช้ 3 2 กลุ่มอาหารที่ไม่ต้องส่งมอบให้คณะกรรมการอาหารและยา อย พิจารณา 2 การขอขึ้นทะเบียนฉลากอาหาร อาหารควบคุมเฉพาะที่กำหนดคุณภาพและที่กำหนดให้มีฉลากต้องขึ้นทะเบียนอาหารและขออนุญาตใช้ฉลาก เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงทำการผลิต อาหารที่ต้องขออนุญาตใช้ฉลากมี 4 กลุ่มคือ 1 อาหารควบคุมเฉพาะที่ผลิตจากสถานที่ผลิตที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน คือ มีเครื่องจักรตั้งแต่ 5 แรงม้า หรือ คนงาน 7 คนขึ้นไป ฉลากอาหารที่ใช้ของกลุ่มนี้จะเริ่มต้นด้วยตัวอักษร ผ ดังแสดงในรูปที่ 9 1 โดยที่ นป หมายถึง น้ำปลา และ ช หมายถึงน้ำส้มสายชูซึ่งเป็นอาหารควบคุมเฉพาะใน 39 ประเภท ในกรณีที่ผลิตจากผู้ผลิตในประเทศไม่เข้าข่ายโรงงานอุตสาหกรรมจะใช้อักษรย่อ ฉผ หมายถึงฉลากผลิต ดังนั้นบนทะเบียนฉลากอาหารจะกลายเป็น ฉผนป และฉผช ตามลำดับ ส่วนหมายเลขที่ตาม คือ หมายเลขที่และปีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนฉลากอาหารนั้นๆ ส่วนอาหารที่นำเข้าจะใช้อักษร ส แทน ผ และ ฉผ ในปีพ ศ 2536 กระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดของแต่ละที่ได้ ดังนั้นจึงเกิดอักษรตัวย่อของจังหวัดนำหน้าอักษรรหัส เช่น การขอขึนทะเบียนฉลากอาหารที่นครปฐม จะมีตัวย่อ นฐ ระบุไว้ในเครื่องหมาย อย ด้วยดังแสดงในรูปที่ 9 1 รูปที่ 9 1 ตัวอย่างฉลากพร้อมเครื่องหมาย อย 2 อาหารที่ถูกกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน 3 อาหารที่ถูกนำเข้าประเทศเพื่อจำหน่ายซึ่งไม่ใช่อาหารควบคุมเฉพาะ 4 อาหารอื่นที่มีการจำหน่ายและรัฐมนตรีออกประกาศกำหนดให้เป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก คือ อาหารประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 และบางส่วนของประเภทที่ 4 ตามที่ประกาศกำหนดต้องมีฉลากที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาซึ่งต้องมีข้อมูลดังนี้ 4 1 เครื่องหมายเลขทะเบียนหรือเลขอนุญาตใช้ฉลากอาหารพร้อมปีที่ให้อนุญาตซึ่งอาจเขียนเต็ม เช่น 2541 หรือเขียนย่อ เช่น 41 ก็ได้ ผู้ที่ได้รับใบสำคัญการใช้ฉลากแล้วให้แสดงเลขที่อนุญาตในฉลากอาหารด้วยตัวอักษรไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตรในกรอบพื้นที่สีขาวโดยสีของกรอบให้ตัดกับสีพื้นของฉลาก 4 2 น้ำหนักสุทธิหรือปริมาณสุทธิ ซึ่งหมายถึงน้ำหนักหรือปริมาตรของอาหารที่ไม่รวมภาชนะบรรจุ ส่วนน้ำหนักอีกประเภทหนึ่งที่ให้แสดงคือ น้ำหนักเนื้ออาหาร Drained Weight ซึ่งเป็นน้ำหนักของอาหารที่เป็นเนื้อหรือของแข็งโดยได้กรองส่วนที่เป็นของเหลวแยกออกแล้ว 4 3 ชื่อภาษาไทย กำหนดให้ใช้อักษรสีเดียวกัน ซึ่งอาจมีชื่อได้ 2 ส่วน คือ ก ชื่อตามกฎหมายที่กำหนดให้เรียกผลิตภัณฑ์ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข ชื่อทางการค้า Brand Name 4 4 ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณ การระบุส่วนประกอบนี้ต้องระบุปริมาณเป็นร้อยละของน้ำหนักและเรียงจากปริมาณมาไปหาน้อย 4 5 การระบุส่วนประกอบหรือวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร ส่วนประกอบของอาหารบางประเภทที่ใช้เติมลงในอาหารอาจเป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดอาการแพ้ในผู้บริโภคบางกลุ่ม ดังนั้น จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องแจ้งชนิดหรือปริมาณของส่วนประกอบหรือวัตถุปรุงแต่งรสอาหารต่างๆ เช่น การใช้ผงชูรส การใช้วัตถุกันเสีย การเจือสี การแต่งรสหรือกลิ่น เป็นต้น 4 6 ระบุวันที่ผลิตหรือวันที่หมดอายุ โดยปกติอาหารที่มีอายุการเก็บยาวนาน เช่น อาหารกระป๋อง มักจะระบุวันที่ผลิต ในทางตรงกันข้าม อาหารที่มีอายุการเก็บสั้น เช่น อาหารนม เป็นต้น จะระบุวันที่หมดอายุหรือวันที่ควรบริโภคก่อน 4 7 ชื่อผู้ผลิต ผู้จำหน่าย หรือผู้นำเข้าพร้อมที่อยู่ 4 8 คำแนะนำในการเก็บรักษาและในการปรุงอาหาร หรือการเตรียมเพื่อบริโภค เช่น อาหารบางจำพวกอาจต้องเก็บในสภาพเย็น หรืออาหารที่ใช้อุ่นในไมโครเวฟจำต้องบอกวิธีการปรุง คำแนะนำสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นมากในการที่ผู้บริโภคจะสามารถบริโภคอาหารที่มีคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการตามที่ได้คาดหวังไว้ 4 9 ข้อควรระวังหรือคำเตือนและวิธีการป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้น ถ้ามี คำเตือนเหล่านี้พบได้จากอาหารที่ทานแล้วทำให้อยากทานอีกเช่น เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน เป็นต้น 4 10 สัญลักษณ์รหัสแท่ง รายละเอียดเรื่องนี้จะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อที่ 9 4 9 1 3 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ ศ 2522 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ ศ 2522 ถือได้ว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกของประเทศไทยที่มีการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐบาลเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคโดยตรง เนื่องจากกฎหมายอื่นๆ ที่บัญญัติขึ้นควบคุมผู้ที่ประกอบธุรกิจนั้นเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคทางอ้อม ผู้บริโภคจึงไม่อาจใช้สิทธิในการฟ้องร้องผู้ประกอบธุรกิจต่อศาลอาญาได้ ส่วนการดำเนินทางแพ่งก็เป็นภาระและเสียค่าใช้จ่ายมากทั้งผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่อยู่ในฐานะที่จะดำเนินคดีด้วยตนเอง วิธีการดำเนินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ ศ 2522 ได้บัญญัติให้องค์กรของรัฐมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุม การดูแล และประสานการปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เพื่อให้ความคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งเป็นหน่วยงานที่ให้ผู้บริโภคได้ใช้สิทธิร้องเรียนเพื่อขอให้ได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหายเมื่อถูกผู้ประกอบธุรกิจละเมิดสิทธิของผู้บริโภค 1 สิทธิของผู้บริโภค ผู้บริโภคมีสิทธิจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 4 ข้อดังนี้ 1 สิทธิที่ได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ 2 สิทธิที่ตะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าและบริการ โดยปราศจากการผูกขาด 3 สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ 4 สิทธิที่จะได้รับการชดเชยความเสียหายจากการใช้สินค้าหรือบริการ 2 องค์กรของรัฐตาม พ ร บ องค์กรคุ้มครองของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคทั้ง 4 ข้อข้างต้นนี้คือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สคบ มีการแบ่งการคุ้มครองผู้บริโภคเป็น 2 ด้านใหญ่ๆ คือ ด้านโฆษณา มีคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา และด้านฉลาก มีคณะกรรมการว่าด้วยเรื่องฉลาก และต่างก็มีคณะอนุกรรมการย่อยลงไปอีกเพื่อสอดส่องดูแล รับเรื่องร้องงทุกข์พิจารณาความผิดที่เกิดขึ้นทั้งในกรุงเทพและจังหวัดอื่นๆ 3 การคุ้มครองผู้บริโภคด้วยฉลากสินค้า ความหมายของฉลากสินค้าตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ ศ 2522 มีดังนี้ คือคำว่า ฉลาก ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ ศ 2522 กำหนดให้หมายถึงรูป รอยประดิษฐ์ กระดาษหรือสิ่งอื่นใดที่ทำให้ปรากฏข้อความเกี่ยวกับสินค้าซึ่งแสดงไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุหีบห่อบรรจุสินค้า หรือสอดแทรกหรือรวมไว้กับสินค้าหรือภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสินค้า และหมายความรวมถึงเอกสารหรือคู่มือสำหรับใช้ประกอบสินค้าพร้อมทั้งป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุหีบห่อที่บรรจุสินค้านั้น ส่วนสินค้าควบคุมฉลากจากต่างประเทศที่นำเข้ามาขายในประเทศไทย ต้องทำฉลากเป็นข้อความภาษาไทยมีความหมายตรงกับข้อความในภาษาต่างประเทศ โดยระบุชื่อพร้อมสถานที่ประกอบการของผู้ได้รับใบอนุญาตให้นำสินค้าเข้านั้นและต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าตามประกาศที่คณะกรรมการว่าด้วยฉลากกำหนดไว้ในแต่ละประเภทของสินค้า สินค้าที่กำหนดให้เป็นสินค้าควบคุมฉลากมีดังนี้ 1 สินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายหรือจิตใจเนื่องจากการใช้สินค้าหรือโดยสภาพของสินค้านั้น เช่น ภาชนะพลาสติก เต้ารับ เต้าเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้า หลอดฟลูออเรสเซนต์ เครื่องตัดวงจรไฟฟ้า เป็นต้น 2 สินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้เป็นประจำซึ่งการกำหนดของฉลากสินค้านั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค เพื่อจะได้ทราบข้อเท็จจริงในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้านั้น เช่น สีผสมอาหาร สมุด ปากกาลูกลื่น ภาชนะกระดาษที่ใช้กับอาหาร กระดาษเช็ดหน้า กระดาษชำระ เป็นต้น 3 สินค้าที่ยังไม่มีกฎหมายอื่นใดมาควบคุม 9 1 4 พระราชบัญญัติมาตรฐานอุตสาหกรรม พ ศ 2511 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือที่รู้จักกันในนามของ สมอ เป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยได้รับการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ ศ 2511 จึงนับได้ว่า สมอ เป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ โดยที่หน้าที่หลัก คือ การกำหนมาตรฐานผลิตอุตสาหกรรม มอก การรับรองระบบคุณภาพและรับรองความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบ นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่เป็นสื่อกลางกับองค์กรที่เกี่ยวข้องทั่วทั้งโลก เช่น องค์การค้าระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน International Organization for Standardization หรือที่รู้จักกันแพร่หลายว่า ISO องค์การโลก World Trade Organization หรือ WTO และองค์กรอื่นๆ การจัดหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีอยู่มากมายนั้น ทางสมอ มีระบบการจัดหมวดหมู่เป็นไปตามที่ ISO ได้พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า International Classification for Standards หรือเรียกย่อว่า ICS และประกาศใช้ในปีแรก พ ศ 2535 โดยแยกหมวดหมู่สาขาวิชาออกเป็น 40 สาขาแต่หมายเลขไม่ได้เรียงกัน โดยมีสาขาการบรรจุหีบห่อและการแจกจ่ายสินค้าอยู่ที่สาขา 55 ส่วนเทคโนโลยีอาหารอยู่ในสาขาที่ 67 1 ความหมายของมาตรฐานอุตสาหกรรม มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคือ ข้อกำหนดทิศทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ประกอบธุรกิจในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมแก่การใช้งานมากที่สุด เครื่องหมายมาตรฐานเหล่านี้จะเป็นหลักฐานทางราชการและเป็นเครื่องพิสูจน์หรือบ่งชี้ว่า สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทำขึ้นได้ตามมาตรฐาน เครื่องหมายมาตรฐานจะช่วยเพิ่มความเชื่อถือในสินค้าและธุรกิจ ข้อสำคัญที่สุดก็คือ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่กำหนดในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นจะอยู่ในระดับที่เหมาะสมเป็นที่ยอมรับ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สม่ำเสมอได้ตลอด สำนักงานมาตรฐานผลิตอุตสาหกรรมดำเนินการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ประกอบธุรกิจให้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน อันเป็นการเพิ่มความเชื่อถือในคุณภาพของสินค้าไทยทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ และเพื่อประหยัดทรัพยากร พร้อมทั้งลดต้นทุนการผลิต 2 วัตถุประสงค์ของการมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สามารถจำแนกได้ดังนี้ 1 เพื่อสร้างความเชื่อถือผลิตภัณฑ์ที่ทำในประเทศด้วยการปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น 2 เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการซื้อขาย ขจัดปัญหาและอุปสรรคทางการค้าต่างๆ 3 เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตแลทรัพย์สินของประชาชน 4 เพื่อให้เกิดการประหยัดทรัพยากรและค่าใช้จ่ายในการใช้งานและผลิต 5 เพื่อเป็นสื่อเชื่อมโยงในอุตสาหกรรมต่อเนื่องและประสานกันได้พอดี เมื่อผู้ประกอบธุรกิจรายใดที่ต้องการแสดงเครื่องหมายมาตรฐานหรือเครื่องหมายรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาต เมื่อสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตรวจสอบโรงงานและผลิตภัณฑ์แล้วว่าสามารถทำได้ตามมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ จะอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานที่ผลิตได้ตามรูปที่ 9 2 ซึ่งมี 2 แบบดังนี้ 1 เครื่องหมายมาตรฐาน เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ทั่วไป เช่น เครื่องอุปโภคบริโภค เป็นต้น 2 เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ ผลิตภัณฑ์ใดที่กำหนดไว้ว่าเป็นมาตรฐานบังคับ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายจะต้องผลิตนำเข้า และจำหน่ายเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามมาตรฐานเท่านั้น โดยเครื่องหมายมาตรฐานบังคับแสดง เช่น ผงซักฟอก ถังก๊าซปิโตรเลียม บัลลาสต์สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เป็นต้น รูปที่ 9 2 เครื่องหมายมาตรฐานทั้ง 2 แบบ < < กลับสู่หน้าหลัก อ่านต่อกฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2> >
กฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2
9 1 5 องค์กรที่รับผิดชอบพระราชบัญญัติเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์รับผิดชอบโดยองค์กรต่อไปนี้ 1 สำนักงานกลางมาตราชั่งตวงวัด กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ 78 13 ถนนพระราม 6 สี่แยกประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม 10400 โทรศัพท์ 271 1526 279 0247 โทรสาร 271 1536 2 คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ ต ตลาดขวัญ อ เมือง จ นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 590 7000 โทรสาร 591 8463 3 คณะกรรมการการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี ถ ราชดำเนินนอก เขตดุสิต กทม 10300 โทรศัพท์ 281 0580 281 3229 282 4579 4 สำนักงานมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมอาหาร สมอ กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กทม 10400 โทรศัพท์ 202 3428 9 248 0 7981 โทรสาร 248 7981 9 2 หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ นอกเหนือจากองค์กรที่รับผิดชอบต่อพระราชบัญญัติทั้ง 4 ดังกล่าวแล้วนั้น ยังมีองค์กรทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนที่กิจกรรมเกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ สรุปได้ดังนี้ 9 2 1 องค์กรของรัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการบรรจุภัณฑ์ องค์กรทั้งทางส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์มีดังนี้คือ 1 ส่วนอุตสาหกรรมการเกษตร สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซอยตรีมิตร ถ พระราม 4 กรุงเทพมหานคร 10110 โทรศัพท์ 381 0025 32 โทรสาร 381 0757 มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์และวิจัยข้อมูลทางเทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ อุตสาหกรรมการเกษตรเน้นแปรรูปผลิตภัณฑ์จากพืช เพื่อกำหนดและพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีตามภาวะการตลาด ประสานงานจัดหาผู้ชำนาญการเฉพาะด้านเพื่อฝึกอบรมสัมมนา และให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงเทคนิคการผลิตตลอดจนการให้บริการข้อมูลข่าวสารอุตสาหกรรม และข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่สถานประกอบการ ผลิตบุคลากรในระดับต่างๆ ในสถานประกอบการ 2 ส่วนบรรจุภัณฑ์ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสิรมอุตสาหกรรม ซอยตรีมิตร ถ พระราม 4 กรุงเทพมหานคร 10110 โทรศัพท์ 392 2512 381 0025 32 โทรสาร 381 0757 มีหน้าที่ให้บริการ แนะนำ ส่งเสริมและพัฒนาบรรจุภัณฑ์แก่ผู้ประกอบการ กลุ่มผู้บริโภคและบุคคลทั่วไปที่ให้ความสนใจในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ทั้งทางด้านวิชาการ ด้านเทคโนโลยีการออกแบบและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยวิธีการต่างๆ ทั้งการฝึกอบรม สัมมนา นิทรรศการ และการจัดประกวด 3 ศูนย์บริการการออกแบบ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมการส่งออก 22 77 ถนนรัชดาภิเษก จตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 511 5066 77 ต่อ 451 โทรสาร 512 2236 ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันทางด้านการค้าอย่างต่อเนื่อง ทุกประเทศจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ทางด้านการค้าในทันต่อเหตุการณ์และสภาพการแข่งขัน ประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาตัวสินค้า เนื่องจากคุณภาพและค่าแรงต่ำไม่ใช่สิ่งจูงใจและข้อได้เปรียบอีกต่อไปสำหรับกระแสโลกานุวัตร ดังนั้นจึงสมควรนำการออกแบบมาเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าสำหรับการส่งออก รัฐบาลไทยได้เห็นความสำคัญข้อนี้จึงได้จัดตั้งศูนย์กลางบริการการออกแบบเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ ศ 2533 เพื่อมุ่งพัฒนาการออกแบบสินค้าส่งออกสำคัญ 4 ชนิด คือ เครื่องหนัง อัญมณี ผลิตภัณฑ์พลาสติก และของเด็กเล่น 4 ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 196 ถนนพหลโยธิน จตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 579 5515 579 0160 โทรสาร 561 4771 นโยบายหลักของศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย มีดังนี้คือ 1 สนับสนุนนโยบายการบรรจุภัณฑ์ของประเทศ 2 เสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กร เพื่อสนองความต้องการของผู้ประกอบการ 3 รวบรวม แลกเปลี่ยน และบริการข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ 4 ประสานงานระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ทั้งในและต่างประเทศ 5 สถาบันค้นคว้าและวิจัยผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตู้ ป ณ 1043 ปท เกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10903 โทรศัพท์ 579 5551 โทรสาร 579 0572 สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร Institute of Food Research and Product Development หรือ IFRPD จัดตั้งเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ ศ 2511 โดยการแบ่งการบริหารงาน 7 ฝ่าย และ 1 ศูนย์ ได้แก่ ฝ่ายบริหารและธุรการทั่วไป ฝ่ายค้นคว้าและวิจัย ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายผลิตทดลอง ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ฝ่ายศึกษาสาธิต ฝ่ายวิศวกรรม และศูนย์บริการประกันคุณภาพทางด้านอาหารโดยมีขอบเขตการทำงานดังนี้ 1 วิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารเพื่อปรับปรุงเศรษฐกิจของโรงงานอาหารและการเกษตรในประเทศไทย 2 บริการวิชาการเกี่ยวกับคุณภาพวัตถุดิบ เทคโนโลยีการผลิต ระบบการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อการบริโภคทั้งภายในประเทศและเพื่อการส่งออก 3 ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีทางอาหารและบริการความรู้ทางด้านนี้แก่ผู้สนใจ 4 ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของภาครัฐเอกชนในการวิจัย การศึกษา ค้นคว้า และฝึกอบรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร 5 เป็นแหล่งข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร นอกจากองค์กรของรัฐทั้ง 5 ดังกล่าวแล้ว ตามมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีการเปิดสอนวิชาทางด้านบรรจุภัณฑ์และเทคโนโลยีทางการอาหาร มีอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถให้คำปรึกษา ทดสอบ พร้อมทั้งให้คำแนะนำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์อาหารได้ 9 3 องค์กรเอกชนที่ให้การส่งเสริมการบรรจุภัณฑ์อาหาร 1 สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย ชั้น 4 อาคารกองบริการอุตสาหกรรม ซอยตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถนนพระราม 4 กทม 10110 โทรศัพท์ 712 1995 โทรสาร 392 9584 วัตถุประสงค์ของสมาคม มีดังนี้คือ 1 การส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ 2 ส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์อาหารทุกประเภท 3 เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการ 4 ติดต่อประสานงานกับสมาชิกเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ให้ก้าวหน้า 2 สถาบันอาหาร ชั้น 18 อาคารมหานครยิบซั่ม 539 2 ถนนศรีอยุธยา ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 248 7541 8 โทรสาร 642 5200 สถาบันอาหารได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ ศ 2539 ในรูปแบบองค์กรอิสระภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรมแต่การบริหารงานไม่ผูกพันกับกฎระเบียบการปฏิบัติของทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยมีหน้าที่สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการอาหารใน 3 ด้าน คือ 1 การบริการวิชาการ 2 การเผยแพร่บริการข้อมูลข่าวสาร 3 การบริการทดสอบวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหาร 3 สถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โซน C ชั้น 4 60 ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กทม 10110 โทรศัพท์ 229 4255 โทรสาร 229 4933 E mail eanthai samart co th สถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย EAN THAILAND ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ ศ 2536 โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เนื่องจากตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงของระบบธุรกิจแบบโลกานุวัตรที่เกิดขึ้นจึงได้พยายามนำระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ทันสมัยซึ่งเรียกว่าระบบสัญลักษณ์รหัสแท่ง Bar Code มาช่วยส่งเสริมและพัฒนาระบบเศรษฐกิจ ให้ความสะดวกในการใช้งานที่รวดเร็วถูกต้องและสอดคล้องกับระบบธุรกิจในต่างประเทศ เพื่อเป็นไปตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ขณะนี้ประเทศไทยมีรหัสประจำตัวหมายเลข 885 ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้สินค้าไทยในตลาดต่างประเทศ โดยผู้ซื้อ ผู้ขาย หรือนักธุรกิจ จะสามารถตรวจสอบได้ว่า 885 เป็นสินค้าของประเทศใด หรือถ้าสินค้าตัวนี้ขายดีขึ้นมาก็จะรู้ว่าสินค้าชิ้นนี้มาจากเมืองไทย Made in Thailand และค้นหาบริษัทผู้ผลิตหรือบริษัทผู้แทนจัดจำหน่ายได้จึงทำให้สะดวกในการขยายช่องทางการตลาดได้โดยง่าย 9 4 รหัสแท่งหรือบาร์โค้ด Bar Code รหัสแท่งหรือบาร์โค้ดเป็นเลขหมายประจำตัวสินค้า ผู้ประกอบการใดที่ได้ลงทะเบียนกับสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทยจะได้หมายเลขประจำขององค์กรนั้น และเมื่อองค์กรนั้นกำหนดหมายเลขจำนวน 5 หน่วยให้แก่สินค้าแล้ว หมายเลขประจำสินค้านั้นๆ จะเป็นหมายเลขเฉพาะของสินค้านั้นๆ โดยไม่มีสินค้าใดๆ ในโลกนี้จะมีหมายเลขซ้ำกันอีก เนื่องจากมีการจัดระบบการให้หมายเลขเป็นระบบเดียวกันทั้งโลก แม้ว่าในปัจจุบันนี้มีระบบ UPC ของสหรัฐ และ EAN ของยุโรป แต่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันที่จะรวม 2 ระบบใหญ่นี้ให้เป็นระบบเดียวกันในอนาคตอันใกล้ 9 4 1 ระบบรหัสแท่งที่ใช้กัน 1 UPC Universal Product Code เริ่มใช้เมื่อเดือนพฤษภาคม พ ศ 2513 โดยตั้งมาตรฐานรหัสแท่งระบบ UPC ขึ้นสำหรับพิมพ์บนสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ฉลากและหีบห่อในปัจจุบันใช้อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเท่านั้น 2 EAN European Article Numbering กลุ่มประเทศทางยุโรปจัดตั้งคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสร้างระบบบาร์โค้ดขึ้นในปี พ ศ 2520 ระบบ EAN ได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย ยกเว้น ประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ปัจจุบันใช้ชื่อสมาคม EAN International มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซล ประเบลเยี่ยม สำหรับประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สัญลักษณ์รหัสแท่งตามระบบมาตรฐานของ EAN โดยมีสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำหนดหมายเลขประจำตัวให้แก่สินค้าอุปโภคบริโภคแต่ละบริษัทระบบ EAN ยังแบ่งเป็น 2 ระบบย่อย คือ ระบบ EAN 13 Standard Version ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดกลางและใหญ่ ระบบ EAN 8 Short Version ใช้กับผลิตภัณฑ์ขนาดเล็ก 3 ITF Interleaved 2 of 5 เป็นรหัสแท่งที่ดัดแปลงจากระบบ EAN ส่วนใหญ่ใช้พิมพ์ด้านนอกกล่องลูกฟูกหรือหน่วยขนส่ง 4 Code 39 เป็นรหัสที่นิยมใช้กันในวงการอุตสาหกรรมทั่วไป สามารถเข้ารหัสได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษร 0 9 A Z และ และมีความยืดหยุ่นของจำนวนหลักที่ใช้ในการเข้ารหัส 9 4 2 รายละเอียดของรหัสแท่ง รหัสแท่งที่ทางสำนักมาตรฐานอุตสาหกรรมอนุมัติให้ใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภค ในประเทศไทยเป็นระบบทางยุโรป EAN ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1 ส่วนที่สำหรับให้คอมพิวเตอร์อ่าน ด้วยเครื่องสแกนเนอร์ ประกอบด้วยเส้นสีเข้มและสีอ่อนที่มีความกว้างแตกต่างกัน 2 ส่วนที่เป็นเลขอารบิค เป็นตัวเลขที่มีไว้อ่าน พิมพ์อยู่ตรงส่วนล่าง ประกอบด้วย 13 ตัวเลขมีความหมายดังนี้ 1 ตัวเลข 3 ตัวแรก เป็นเลขหมายของแต่ละประเทศหรือสินค้าพิเศษ เช่น 885 เป็นหมายเลขประจำประเทศไทยหรือ 978 979 เป็นหมายเลขที่ใช้กับหนังสือที่รู้จักกันในนาม ISBN โดยหนังสือในเมืองไทยได้กำหนดเป็นหมายเลข 974 เช่นหนังสือเล่มนี้มีหมายเลข ISBN 974 86523 1 9 2 ตัวเลข 4 ตัวถัดมา เป็นเลขรหัสประจำองค์กรที่สมัครกับสถาบันฯ การกำหนดมีระบบที่แน่นอนเพื่อป้องกันรหัสสมาชิกซ้ำกัน 3 ตัวเลข 5 ตัวหลังถัดจากตรงเส้นคั่นกลาง คือ หมายเลขประจำตัวสินค้าที่ตั้งขึ้นเอง 4 ตัวเลขสุดท้าย เป็นตัวตรวจสอบของคอมพิวเตอร์ เพื่อพิสูจน์ว่าตัวเลขที่อยู่ข้างหน้านั้นถูกต้องหรือไม่ รูปที่ 9 4 ระบบรหัสแท่งไทย 9 4 3 การทำงานของระบบรหัสแท่ง เริ่มจากผู้ผลิตกำหนดหมายเลขประจำตัวของสินค้าแต่ละชนิดแล้วนำเลขหมายนั้นแปลงเป็นรหัสแท่งที่มีสัญลักษณ์แท่งสีเข้มสลับกับสีอ่อนและมีขนาดความกว้างแตกต่างกัน แล้วนำมาพิมพ์บนฉลากหรือตัวบรรจุภัณฑ์ การอ่านรหัสกระทำโดยการนำไปผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า สแกนเนอร์ Scanner ซึ่งใช้ระบบแสงส่องไปยังรหัสแท่งแล้ววัดแสงที่สะท้อนกลับ จากความกว้างที่ไม่เท่ากันของแถบสีเข้มสลับกับสีอ่อน แสงที่สะท้อนกลับนี้จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผลข้อมูลที่อ่านได้ จะทำให้ทราบว่าเป็นสินค้าประเภทใด ระบบคอมพิวเตอร์ที่วางโปรแกรมไว้แล้วจะสั่งการให้ทำงานตามต้องการ เช่น สั่งพิมพ์ราคาบนใบเสร็จรับเงินของสินค้าชนิดนั้นๆ หรือตัดสต๊อกของสินค้าที่จำหน่ายไป เป็นต้น 9 4 4 ข้อควรปฏิบัติในการออกแบบบรรจุภัณฑ์พร้อมรหัสแท่ง 1 ขนาดความกว้างของรหัสแท่ง ควรจะเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด การขยายหรือย่อส่วนควรปรึกษาที่สถาบันฯก่อน อย่างไรก็ตามความสูงของแท่งไม่ควรน้อยกว่า 15 มิลลิเมตร 2 พื้นที่ว่างก่อนและหลังของตัวสัญลักษณ์รหัสแท่ง ควรจะมากกว่า 3 6 มิลลิเมตรทั้ง 2 ข้าง พื้นที่ว่างทั้งสองข้างนี้มักจะได้รับการละเลยทำให้การอ่านไม่ได้ประสิทธิผลเท่าที่ควร 3 การพิมพ์สัญลักษณ์บาร์โค้ดบนหีบห่อที่เป็นวัสดุโปร่งใส เช่น การใช้พลาสติกใสเป็นพื้นที่ว่างด้านหลังของสัญลักษณ์บาร์โค้ด แสงที่ออกมาจากเครื่องสแกนเนอร์มองผ่านจะมองผ่านทะลุวัสดุได้ทำให้เกิดปัญหาในการอ่าน เช่น พลาสติกที่มีสีนวลเมื่อไม่มีการพิมพ์พื้นว่างด้านหลังแท่งบาร์ เวลาอ่านเครื่องสแกนเนอร์จะมองเห็นวัสดุนั้นโปร่งใส จึงไม่เหมาะสมที่ใช้พลาสติกนั้นเป็นพื้น ด้านหลังของแท่งบาร์โค้ดของพลาสติกใสจึงควรใช้สีพิมพ์เป็นพื้นหลังแท่งบาร์ อาทิเช่น สีขาว สีเหลือง สีส้ม ฯลฯ 4 สีน้ำตาลเข้มเป็นสีมืดจึงใช้เป็นสีของแท่งบาร์โค้ดได้ แต่ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษเนื่องจากสีน้ำตาลมีส่วนของสีแดงอยู่ด้วย ถ้ามีส่วนผสมของสีแดงมากเกินไปเครื่องสแกนเนอร์อาจประสบปัญหาในการแยกสีระหว่างแท่งบาร์และพื้นที่ด้านหลัง ทำให้ไม่สามารถอ่านบาร์โค้ดได้ 5 ความหนาของสีที่พิมพ์แตกต่างกัน แม้ว่าจะเป็นสีเดียวกันก็ตามก็มีผลต่อประสิทธิภาพในการอ่าน 6 ควรหลีกเลี่ยงการใช้สีสะท้อนแสงสำหรับแท่งบาร์ และพื้นที่ว่างด้านหลังของแท่งบาร์เพราะสีสะท้อนแสงทำให้เครื่องสแกนเนอร์อ่านบาร์โค้ดได้ยากหรืออ่านไม่ได้เลย 7 ผลิตภัณฑ์ที่มีหีบห่อเป็นผ้าหรือบรรจุรูปร่างไม่อยู่ตัว จะไม่สามารถพิมพ์รหัสแท่งได้ เนื่องจากเส้นใยจะทำให้เครื่องสแกนเนอร์อ่านผิดพลาดได้ วิธีที่ดีที่สุดคือ การพิมพ์รหัสแท่งบนแผ่นป้ายสินค้าที่แขวนติดกับตัวสินค้านั้น 9 4 5 สีที่ควรใช้กับรหัสแท่ง คู่สีที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการพิมพ์สัญลักษณ์บาร์โค้ดอันประกอบด้วยแท่งบาร์ Bar กับพื้นที่ว่างด้านหลัง Backgroundป ดังนี้ สีแท่งบาร์ สีพื้นที่ด้นหลัง 1 ดำ ขาว 2 เขียว ขาว 3 ดำ เหลือง 4 เขียว เหลือง 5 น้ำเงิน ขาว 6 น้ำตาลเข้ม ขาว 7 น้ำเงิน เหลือง 8 น้ำตาลเข้ม เหลือง 9 ดำ ส้ม 10 เขียว ส้ม 11 ดำ แดง 12 เขียว แดง 13 น้ำเงิน ส้ม 14 น้ำตาลเข้ม ส้ม 15 น้ำเงิน แดง 16 น้ำตาลเข้ม แดง 9 4 6 การออกแบบตำแหน่งที่ติดรหัสแท่งบนบรรจุภัณฑ์ โดยทั่วไป ตำแหน่งที่ติดรหัสแท่จะอยู่บริเวณส่วนก้นหรือฐานของบรรจุภัณฑ์ โดยพิจารณาถึงความสะดวกเมื่อรูดผ่านสแกนเนอร์ ในกรณีที่สินค้าไม่สามารถคงรูปร่างได้ เช่น เสื้อผ้าหรือสินค้ามีขนาดเล็ก แนะนำให้ใช้วิธีติดรหัสแท่งบนป้ายแขวน ดังแสดงในรูปที่ 9 5 รูปที่ 9 5 การออกแบบตำแหน่งที่ติดรหัสบนแท่งบรรจุภัณฑ์ แหล่งที่มา Erdei William H BAR CODES Designs Printing & Quality Control p 97 9 4 7 ประโยชน์ของรหัสแท่ง การจัดระบบรหัสแท่งที่ได้กล่าวมาแล้วจะพบว่าหมายเลขของสินค้าแต่ละประเภทของแต่ละบริษัทไม่มีโอกาสซ้ำกัน ด้วยเหตุนี้ การส่งสินค้าไปยังที่ต่างๆ ไม่ว่าภายในประเทศหรือต่างประเทศย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1 ช่วยให้การขาย คิดเงินได้รวดเร็วขึ้น ในระบบซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านค้าจำหน่ายที่มีสินค้าเป็นแสนชิ้น เมื่อมีการซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากรหัสแท่งจะช่วยให้การคิดเงิน เก็บเงินและพิมพ์ใบเสร็จรวดเร็วขึ้นและมีความถูกต้องแม่นยำกว่าการกดแป้นเครื่องคิดเงิน นอกจากนี้ไม่ต้องราคาสินค้าทุกชิ้นเพียงแต่เขียนป้ายบอกราคาบนหิ้งหรือชั้นวางสินค้าก็เพียงพอ การใช้ระบบรหัสแท่งผสมกับการใช้ระบบคอมพิวเตอร์จะสามารถลดงานได้ตั้งแต่ 23 48 ขึ้นกับจำนวนชิ้นของสินค้าที่ต้องคิด 2 ยกระดับมาตรฐานสินค้า หมายเลขประจำตัวสินค้าก่อให้เกิดมาตรฐานสำหรับสินค้าที่ใช้กันทั่วโลก ผู้ผลิตสินค้าที่จดทะเบียนกับองค์กรกลางของแต่ละประเทศ องค์กรของประเทศไทยคือสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย จะสามารถตรวจสอบรู้ได้ว่าใครเป็นผู้ผลิต ทำให้เพิ่มขอบข่ายของข้อมูลสินค้าที่จะเพิ่มโอกาสขายสินค้าได้มากขึ้น 3 สะดวกในการควบคุมระบบสินค้าคงคลังและลดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้า การตรวจสอบจำนวนสินค้าสามารถใช้สแกนเนอร์ในการอ่านรหัสแท่งจากหิ้งของคลังสินค้า โดยไม่ต้องลงมือนับทีละหน่วยช่วยทำให้ประหยัดเวลาและสามารถรู้ถึงสถานะของปริมาณสินค้าในทุกขณะที่จำหน่ายสินค้าจึงสามารถคาดการณ์และวางแผนควบคุมระดับสินค้าคงคลังให้อยู่ในปริมาณที่ต้องการได้ 4 การปูพื้นฐานในการทำธุรกิจแบบไร้กระดาษ หรือที่รู้จักกันในนาม Electronic Data Interchange EDI หมายความว่า การสั่งซื้อสินค้าจะผ่านเครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ On Line โดยไม่ต้องมีใบเสนอราคา ใบสั่งซื้อ เป็นต้น ทำให้ลดเวลาในการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจและเพิ่มความถูกต้องแม่นยำในการทำงานคล้ายคลึงกับการฝากถอนด้วยระบบ ATM แทนที่การเขียนใบนำฝากหรือใบถอนเงินหน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร บทสรุป กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ในบ้านเรายังมีน้อยกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว กฎหมายที่ออกส่วนใหญ่จะเป็นกฎหมายที่คุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ผลิต เช่น พระราชบัญญัติมาตรชั่งตวงวัด พ ร บ อาหาร พ ร บ คุ้มครองผู้บริโภค ส่วนพ ร บ มาตรฐานอุตสาหกรรม เป็นกฎหมายที่พยายามยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อควบคุมผู้ประกอบการแปรรูปอาหารให้ผลิตอาหารที่มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่ได้กำหนดไว้ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์อาหารสามารถติดต่อหาข้อมูล หรือขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชนต่างๆ ที่ไม่แสวงหากำไร อันประกอบด้วย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ส่วนอุตสาหกรรมเกษตร และส่วนบรรจุภัณฑ์ ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย ศูนย์บริการออกแบบ กรมส่งเสริมการส่งออก และสถาบันการค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ส่วนองค์กรเอกชน ได้แก่ สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย สถาบันอาหาร และสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย สัญลักษณ์รหัสแท่งไทยหรือรู้จักกันในนามของบาร์โค้ด มีความจำเป็นในการใช้พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ การติดสัญลักษณ์รหัสแท่งสินค้าตัวใดก็ตามจะไม่มีสินค้าใดๆ ในโลกนี้ที่มีหมายเลขซ้ำกัน เนื่องจากการจัดการอย่างมีระบบทั่วทั้งโลก การติดบาร์โค้ดบนสินค้าอุปโภคบริโภคยังเป็นบันได้ก้าวแรกที่จะก้าวไปสู่การทำธุรกิจแบบไร้เอกสาร โดยการซื้อการขายหรือธุรกรรมต่างๆ จะผ่านสายตรงไปยังคอมพิวเตอร์หมด ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Electronic Data Interchange หรือที่รู้จักกันด้วยคำย่อว่า EDI < < ย้อนกลับ กฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 1 < < กลับสู่หน้าหลัก


สมัครสมาชิก

สนับสนุนโดย / Supported By

  • บริษ้ท มาเรล ฟู้ดส์ ซิสเท็ม จำกัด จัดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์การแปรรูปอาหาร เช่น ระบบการชั่งน้ำหนัก, การคัดขนาด, การแบ่ง, การตรวจสอบกระดูก และการประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พร้อมกับบริการ ออกแบบ ติดตั้ง กรรมวิธีการแปรรูปทั้งกระบวนการ สำหรับ ผลิตภัณฑ์ ปลา เนื้อ และ สัตว์ปีก โดยมีวิศวกรบริการและ สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเทพ มาเรล เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกของอุปกรณ์การแปรรูปอาหารที่ทันสมัย​​ครบวงจรทั้งระบบ สำหรับอุตสาหกรรม ปลา กุ้ง เนื้อ และสัตว์ปีก ต่างๆ เครื่องแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก Stork และ Townsend จาก Marel อยู่ในกลุ่มเครื่องที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดในอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ สามารถบริการครบวงจรตั้งแต่ต้นสายการผลิตจนเสร็จเป็นสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกความต้องการของลูกค้า ด้วยสำนักงานและบริษัทสาขามากกว่า 30 ประเทศ และ 100 เครือข่ายตัวแทนและผู้จัดจำหน่ายทั่วโลก ที่พร้อมทำงานเคียงข้างลูกค้าเพื่อขยายขอบเขตผลการแปรรูปอาหาร Marel Food Systems Limited. We are supply weighing, grading, portioning, bone detection and software applications as well as complete turn-key processing solutions for fish, meat and poultry. We have service engineer and office in Bangkok. Marel is the leading global provider of advanced food processing equipment, systems and services to the fish, meat, and poultry industries. Our brands - Marel, Stork Poultry Processing and Townsend Further Processing - are among the most respected in the industry. Together, we offer the convenience of a single source to meet our customers' every need. With offices and subsidiaries in over 30 countries and a global network of 100 agents and distributors, we work side-by-side with our customers to extend the boundaries of food processing performance.
  • วิสัยทัศน์ของบริษัท คือ การอยู่ในระดับแนวหน้า "ฟอร์ฟร้อนท์" ของเทคโนโลยีประเภทต่างๆ และนำเทคโนโลยีนั้นๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิตในประเทศไทย เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า บริษัท ฟอร์ฟร้อนท์ ฟู้ดเทค จำกัด เชื่อมั่นและยึดมั่นในอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจ กล่าวคือ จำหน่าย สินค้าและให้บริการที่มีคุณภาพสูง ซึ่งเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ด้วยความซื่อสัตย์และความตรงต่อเวลา เพื่อการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จร่วมกันระยะยาว Our vision is to be in the "forefront" of technology in its field and suitably apply the technology to industries and production in Thailand for customers' utmost benefits. Forefront Foodtech Co., Ltd. strongly believes in and is committed to our own business philosophy which is to supply high quality products and service appropriately to each customer's requirements with honesty and punctuality in order to maintain long term win-win business relationship. Forefront Foodtech Co., Ltd. is the agent company that supplies machinery and system, install and provide after sales service as well as spare parts. Our products are: Nock, made in Germany: manufacturer of skinning machines, membrane skinning machine, slicers and scale ice makers. Frey, made in Germany: manufacturer of vacuum stuffers and chain linking system. Kronen, made in Germany: manufacturer of washing, centrifuges and cutting machinery for vegetable and fruits. Bandall, made in Netherlands: manufacturer of banding machine. Emerson, made in Romania: smoke chamber. G.Mondini, made in Italy: manufacturer of top seal, skin pack, paper seal, slimfresh and slicefresh for ready meal, meat, petfood and etc. Dorit, made in Germany: manufacturer of tumblers and injectors. Cliptechnik, made in Germany: manufacturer of single and double clippers for table top use and standalone clipping machines. Firex, made in Italy: manufacturer of food-processing equipment for kitchen and commercial equipment. Orved, made in Italy: manufacturer of vacuum packing machine. Carsoe, made in Denmark: designs and produces products for the seafood and food processing industry Gernal, made in Belgium: manufacturer of food-processing equipment for industrial Mado, made in Germany: manufacturer of meat-processing industry
  • We are well known for reliable, easy-to-use coding and marking solutions which have a low total cost of ownership, as well as for our strong customer service ethos. Developing new products and a continuous programme of improving existing coding and marking solutions also remain central to Linx's strategy. Coding and marking machines from Linx Printing Technologies Ltd provide a comprehensive solution for date and batch coding of products and packaging across manufacturing industries via a global network of distributors. In the industrial inkjet printer arena, our reputation is second to none. Our continuous ink jet printers, laser coders, outer case coders and thermal transfer overprinters are used on production lines in many manufacturing sectors, including the food, beverage, pharmaceutical, cosmetics, automotive and electronic industries, where product identification codes, batch numbers, use by dates and barcodes are needed. PTasia, THAILAND With more than 3,700 coding, marking, barcode, label applicator, filling, packing and sealing systems installed in THAILAND market. Our range is includes systems across a wide range of technologies. To select the most appropriate technology to suit our customers. An excellent customer service reputation, together with a reputation for reliability that sets standards in the industry, rounds off the PTAsia offering and provides customers with efficient and economical solutions of the high quality. Satisfyingcustomers inTHAILAND for 10 years Our 1,313 customers benefit from our many years of experience in the field, with our successful business model of continuous improvement. Our technical and service associates specialise in providing individual advice and finding the most efficient and practical solution to every requirment. PTAsia extends its expertise to customers in the food, beverage, chemical, personal care, pharmaceutical, medical device, electronics, aerospace, military, automotive, and other industrial markets.