News and Articles

หนังสือบรรจุภัณฑ์อาหาร

หนังสือบรรจุภัณฑ์อาหาร
บรรจุภัณฑ์อาหาร ตอนที 1
บรรจุภัณฑ์อาหาร เมื่อพิจารณาจากผลผลิตทั่วโลก ในปัจจุบันนี้ทุกๆ ปี ยังมีคนในซีกโลกต่างๆ จำนวนถึง 5 แสนคนต้องอดตายด้วยการขาดอาหาร ในขณะเดียวกันยังมีคนอีกไม่ต่ำกว่า 7 พันล้านคนต้องทรมานจากการขาดอาหาร สาเหตุการเกิดเหตุการณ์อันน่าสลดนี้ไม่ได้มีผลเนื่องมาจากการผลิตอาหารไม่เพียงพอ แต่สาเหตุเนื่องมาจากอาหารจำนวนมากที่ผลิตได้นั้นเน่าเสียก่อนไปถึงมือผู้บริโภค อาหารที่เน่าเสียนี้เกิดจากบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ดีพอและการขนส่งที่ไม่มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น ในเมืองจีนเมื่อปี ค ศ 1982 ไข่จำนวน 60 ล้านกิโลกรัมแตกเสียหายเนื่องจากบรรจุภัณฑ์ไม่ดีพอ ในขณะที่ผลผลิตทางด้านการเกษตรกว่าครึ่งในประเทศกำลังพัฒนาเน่าเสียในระหว่างการขนส่ง การสูญเสียดังกล่าวนี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำในประเทศกำลังพัฒนา 2 1 บทบาทของบรรจุภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารใดๆ จะประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับของตลาดนั้น จำต้องมีการควบคุมคุณภาพตั้งแต่วัตถุดิบ ขั้นตอนระหว่างการแปรรูปและการบรรจุ เพื่อให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตและจัดส่งแต่ละครั้งมีคุณภาพอย่างคงที่ ถ้าสามารถควบคุมคุณภาพอาหารได้อย่างแน่นอนและสม่ำเสมอแล้ว โอกาสที่บรรจุภัณฑ์จะช่วยส่งเสริมทางด้านการตลาดจะประสิทธิผลสูงซึ่งจะเป็นไปตามสัจธรรมที่ว่าบรรจุภัณฑ์ไม่สามารถเพิ่มคุณภาพของสินค้าแต่สามารถเพิ่มคุณค่าของสินค้าได้ บรรจุภัณฑ์อาหารมีบทบาทสำคัญในการเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะช่วยรักษาคุณภาพอาหารซึ่งอาจทำให้เปลี่ยนแปลงไปโดยปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์หลักที่จัดว่าสำคัญมาก คือ การยืดอายุการเก็บของอาหารให้ยาวนานขึ้น และสามารถรักษาคุณภาพของอาหารให้คงอยู่จนกระทั่งบริโภคหมด ในแง่ของการส่งออกจำเป็นอย่างยิ่งที่บรรจุภัณฑ์ช่วยรักษาคุณภาพของความหอมและรสชาติความอร่อยจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผลผลิตทางด้านเกษตรมากมาย การส่งออกอาหารจากการแปรรูปผลผลิตการเกษตรจะนำมาซึ่งเงินตราเข้าประเทศ แต่ความไม่ได้มาตรฐานของบรรจุภัณฑ์อาหารเป็นที่ตระหนักเมื่อมีการส่งสินค้าบริโภคออกสู่ตลาดโลกหรือเมื่อวางจำหน่ายสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ต้องอาศัยบรรจุภัณฑ์เป็นเซลล์แมนให้ในการช่วยขายสินค้าและมีการเปรียบเทียบกับบรรจุภัณฑ์พร้อมสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ภายให้การค้าแบบโลกาภิวัฒน์นี้จึงไม่มีประเทศใดในโลกที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวและเฝ้าดูประเทศอื่นๆ ทำการค้ากันได้ เพราะในไม่ช้าประเทศเหล่านั้นจะเข้ามาครอบครองตลาดของประเทศที่ไม่คิดจะขยายการค้าในที่สุด 2 2 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหาร บรรจุภัณฑ์อาหารเป็นวิทยาการที่รวมเทคโนโลยี 2 สาขาเข้ามาด้วยกัน คือ เทคโนโลยีอาหารและเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ สืบเนื่องจากเป็นวิทยาการที่เกี่ยวเนื่องกับคุณภาพของชีวิต เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์จึงได้รับการพัฒนาและประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารตลอดมา ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา บรรจุภัณฑ์ได้สถาปนาตัวเองในสถานะของวิทยาการใหม่ อุตสาหกรรมอาหารได้ตระหนักถึงความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อความสำเร็จของอุตสาหกรรมอาหาร ดังนั้นนวัตกรรมทางด้านวัสดุบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ได้ทยอยกันเกิดขึ้น เช่น ถุงต้มในน้ำร้อนได้ Retort Pouch การออกแบบเครื่องจักรใหม่ เช่น เครื่อง Form Fill Seal และกระบวนการผลิต เช่น การผลิตนมกล่องเพื่อสนองกับความต้องการของผู้อุปโภคบริโภคในนานาประเทศทั่วโลก ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงต่อการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหาร คือ สถานะการค้าระหว่างประเทศ ในสภาพที่โลกไม่ได้ถูกแบ่งกั้นด้วยเขตแดนต่างๆ สินค้าต่างๆ สามารถกระจายได้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผลกำไรและปริมาณการค้าที่ไม่มีเขตจำกัดทำให้การค้าระหว่างประเทศขยายมากขึ้นทุกปี บรรจุภัณฑ์อาหารที่ใช้ในการตบแต่งสินค้าสำหรับแต่ละภูมิภาคหรือแต่ละประเทศย่อมแตกต่างกันไป เริ่มจากระดับการป้องกันย่อมต้องดีขึ้นกว่าเดิมเพราะจำเป็นต้องขนส่งระยะไกลขึ้น และยังต้องแข่งขัน ณ จุดขายที่มีสินค้าจากนานาประเทศทั่วโลกมาวางแข่งกัน กฎเกณฑ์และข้อบังคับที่เกี่ยวกับอาหารและบรรจุภัณฑ์ในแต่ละประเทศย่อมแปรตามกันไปด้วย ความสำเร็จขององค์กรใดๆ ในอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร จึงจำต้องปรับสถานะและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ตามไปด้วย การควบคุมคุณภาพอาหารและกระบวนการที่จะทำให้มีต้นทุนการผลิตน้อยที่สุดเป็นหนทางการอยู่รอดในยุคนี้ ดังนั้น การพัฒนาระบบบรรจุภัณฑ์ และการปรับปรุงระบบการขนส่งในแต่ละประเทศ ถือเป็นกุญแจสำคัญที่สามารถเปิดประตูสู่การลดความเสียหายและสร้างความมั่นใจได้ว่า อาหารสามารถนำไปส่งถึงมือผู้ที่ต้องการได้โดยปลอดภัย ในการขนส่งสินค้าอาหาร บรรจุภัณฑ์มีความจำเป็นอย่างมากในการที่จะช่วยรักษาอาหารให้คงอยู่ในสภาพเดิมนานที่สุด ในขณะเดียวกันก็เป็นยังประโยชน์อย่างยิ่งในการที่จะช่วยขนส่งสินค้าโดยสะดวก เช่น อาหารที่บรรจุในกระป๋องเมื่อนำลงในกล่องกระดาษจะทำให้สามารถทำการขนถ่ายได้เป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งลดปริมาตรพื้นที่ในการเก็บคงคลัง ก่อให้เกิดความสะดวกในการเรียงซ้อน ซึ่งผู้ประกอบการค้าโดยทั่วไปได้ค้นพบว่า การเพิ่มต้นทุนของบรรจุภัณฑ์จะช่วยให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ยังผลให้ต้นทุนรวมของสินค้ามีมูลค่าถูกลง และผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกลง ปัจจัยต่อมาที่ต้องพิจารณาถึงคือ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้วัตถุดิบ การออกแบบ พลังงานที่เลือกใช้ และการทำลายซากบรรจุภัณฑ์ คำกล่าวในสมัยโบราณที่ว่า ของดีย่อมจะแพง คงประยุกต์ใช้ไม่ได้ในสมัยนี้ เนื่องจากสภาวะการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นทุกๆ ปี การจำกัดสภาวะการผลิตในรูปแบบของข้อบังคับไม่ว่าในรูปแบบของ ISO 9000 หรือ ISO 14000 ย่อมเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการจะต้องพยายามผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ดังกล่าว และยังมีราคาถูกพอที่จะสู้กับการแข่งขันจากนานาประเทศ ต้นทุนของพลังงานเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งไม่ว่าจะเป็นพลังงานที่ใช้ในกระบวนการผลิต หรือพลังงานที่ใช้ในการขนส่ง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การลดน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์โลหะย่อมส่งผลให้การใช้พลังงานต่อหน่วยบรรจุภัณฑ์ลดน้อยลง พร้อมทั้งลดค่าพลังงานในการขนส่งเนื่องจากมีน้ำหนักลดน้อยลง นอกจากนี้ การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นกระแสรุนแรงอย่างยิ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วและมีกำลังซื้อสินค้าจากประเทศที่กำลังพัฒนา ย่อมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างการยอมรับและปูทางไปสู่ความสำเร็จในสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2 3 การถนอมอาหารกับคุณภาพของอาหาร การถนอมอาหาร หมายถึง การรักษาระดับคุณภาพของอาหารนั้นๆ ให้ไว้ในระดับคงที่และ ยาวนานที่สุดที่จะเป็นได้ โดยการลดหรือกำจัดปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการเสื่อมคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหาร ในขณะเดียวกันก็ยังรักษาคุณภาพเป็นที่ต้องการไว้ได้จนกระทั่งส่งถึงมือผู้บริโภค ตราบเท่าที่อาหารยังจำเป็นสำหรับมนุษย์ คุณภาพและการเก็บรักษาจึงคงเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ได้ คุณค่าและปริมาณทางโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับมนุษย์แปรผันตามการจัดเก็บอย่างปลอดภัยในสภาวะที่เหมาะสมของระบบบรรจุภัณฑ์ ซึ่งทำหน้าที่รักษาคุณค่าและคุณภาพของอาหารไว้ได้ในระยะเวลาที่กำหนด บรรจุภัณฑ์อาหารที่ดีต้องคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ 2 3 1 สุขอนามัย อาหารต้องไม่เจือปนด้วยสารพิษใดๆ ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ปริมาณบริโภคที่เหมาะสมแปรตามความถี่ในการบริโภคและปริมาณอาหารที่ร่างกายสามารถย่อยสลายได้ ส่วนระดับของสารพิษที่ฟักตัวในระหว่างการผลิตและการจัดจำหน่าย จะต้องไม่เกิดสะสมจนทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพในระดับที่ผู้บริโภคยอมรับไม่ได้ 2 3 2 คุณค่าทางโภชนาการ คุณค่าทางโภชนาการ คือปริมาณของสารอาหารที่มีอยู่ในอาหาร ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค คุณค่าทางโภชนาการอาหารแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ สารอาหารในรูปของพลังงานที่ถูกกักเก็บไว้ในรูปทางเคมี เช่น ไขมันและแป้ง ซึ่งการเสื่อมสลายของพลังงานอาจจะเกิดการย่อยสลายหรือการบริโภคโดยสิ่งมีชีวิต เช่น เชื้อราและแมลง เป็นต้น สารอาหารที่มีคุณค่าในการรักษาความสมดุลของร่างกาย เช่น กรดอะมิโน วิตามินต่างๆ และแร่ธาตุต่างๆ เป็นต้น 2 3 3 คุณสมบัติทางด้านรสชาติหรือกลิ่น พิจารณาจากในแง่มุมของผู้ผลิตอาหาร คุณสมบัติทางด้านรสชาติหรือกลิ่น หมายถึงระดับความพอใจที่ผลิตภัณฑ์สามารถตอบสนองต่อความต้องการของคนกลุ่มใหญ่ ในสภาพแวดล้อมใดๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง ในแง่ของบรรจุภัณฑ์แล้วคุณสมบัติของรสชาติและกลิ่นมีความสัมพันธ์กับสภาวะของบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ที่ด้อยคุณภาพหรือไม่ดีพออาจทำให้เกิดกลิ่นและรสที่ไม่พึงประสงค์ 2 3 4 คุณภาพของเทคโนโลยี คุณภาพในแง่นี้ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งไม่มีทางเลือกมากนักในการเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ดีพอ คุณภาพของเทคโนโลยีมีผลกระทบต่อผู้ผลิตในการที่จะเลือกใช้วัตถุดิบหรือเทคนิคในการบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม รวมทั้งเทคโนโลยีในการแปรรูปอาหาร หรือเทคนิคการยืดอายุของอาหาร 2 4 บรรจุภัณฑ์เพื่อการรักษาคุณภาพอาหาร บทบาทของบรรจุภัณฑ์ในอีกแง่มุมหนึ่ง คือ เป็นเครื่องมือในการช่วยรักษาคุณค่าของอาหาร และทำหน้าที่ในการรักษาคุณภาพอาหาร 2 ทาง คือ การปกป้องเชิงรับและการปกป้องเชิงรุก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการปกป้องเชิงรับและการปกป้องก็ตาม ตัวบรรจุภัณฑ์จะต้องไม่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณค่าหรือด้อยคุณภาพลง กล่าวคือ ตัวบรรจุภัณฑ์เองไม่ไปทำปฏิกิริยากับผลิตภัณฑ์อาหาร นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์อาหารโดยเฉพาะพลาสติกยังต้องทำหน้าที่ช่วยเก็บกลิ่นของผลิตภัณฑ์อาหารไว้ กลิ่นที่เปลี่ยนแปลงอาจจะเกิดจากสิ่งแปลกปลอมจากบรรยากาศซึมผ่านผิวของบรรจุภัณฑ์เข้าไปทำปฏิกิริยา หรืออาจจะเกิดจากกลิ่นที่อยู่ในอาหารถูกดูดซึมโดยบรรจุภัณฑ์ หรือกลิ่นซึมผ่านออกสู่บรรยากาศภายนอก 2 4 1 การปกป้องเชิงรับ การปกป้องเชิงรับ หมายถึง บรรจุภัณฑ์ที่ทำหน้าที่ใส่อาหารเพียงอย่างเดียว ทำหน้าที่เป็นตัวกั้นผลิตภัณฑ์ไม่ให้สัมผัสกับบรรยากาศภายนอก บรรจุภัณฑ์จะทำหน้าที่เป็นกลไกในการปกป้องผลิตภัณฑ์จากสิ่งเหล่านี้ 1 การป้องกันทางกายภาพ ผลิตภัณฑ์อาหารจำต้องได้รับการปกป้องจากภัยอันตรายดังต่อไปนี้ 1 การรั่ว การหลุดรอดของผลิตภัณฑ์ในระหว่างการขนส่งและการเก็บรักษาเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น ปรากฏการณ์เช่นนี้ดูเหมือนว่าจะเกิดจากการปิดผนึกที่ไม่แข็งแรงพอที่จะรองรับแรงกระแทกหรือแรงดันทะลุระหว่างการส่ง อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในแถบประเทศเขตร้อน ก็คือ การทำลายบรรจุภัณฑ์ที่เกิดจากการชอนไชของแมลงทำให้เกิดความเสียหายต่อผลิตภัณฑ์ในเวลาต่อมา 2 การซึมผ่านวัสดุ ปรากฏการณ์ซึมผ่านของผลิตภัณฑ์อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในสถานะของเหลวหรือในสภาวะที่เป็นก๊าซ ในกรณีของเหลวภาวะการรั่วซึมส่วนมากจะพบเห็นที่รอยปิดผนึกของถุงพลาสติกทั่วๆ ไป เนื่องจากวัสดุบรรจุภัณฑ์เกือบทั้งหมดยกเว้นรอยเชื่อมของกระป๋องหรือฝาขวดแก้วจะมีรูพรุนเพียงพอที่ก๊าซจะผ่านได้ หากมองในแง่การซึมผ่านของก๊าซบรรจุภัณฑ์ทำหน้าที่ใน 2 ลักษณะ คือ ก ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซจากภายนอกสู่ภายในบรรจุภัณฑ์ อันได้แก่ การเกิดการเหม็นหืนของผลิตภัณฑ์จากการซึมผ่านของออกซิเจนที่เข้า ไปทำปฏิกิริยา กลิ่นจากภายนอกปนเปื้อนกับกลิ่นของอาหาร ในสภาวะแวดล้อมที่เต็มไปด้วยกลิ่นหลากหลาย เช่น กลิ่นควัน กลิ่นน้ำมัน ซึ่งสามารถทำปฏิกิริยากับคุณสมบัติของอาหารได้จากการซึมผ่านเข้าไปในบรรจุภัณฑ์ ข ป้องกันการถ่ายเทจากภายในสู่ภายนอกบรรจุภัณฑ์ ป้องกันการสูญเสียกลิ่นของผลิตภัณฑ์ ลดการระเหยของน้ำ หลีกเลี่ยงการรั่วซึมของก๊าซที่บรรจุไว้เพื่อรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยพื้นฐานของบทบาทบรรจุภัณฑ์ที่กล่าวมาแล้ว การปิดผนึกเพื่อป้องการรั่วซึมจำเป็นต้องเลือกใช้วัสดุที่ทำบรรจุภัณฑ์จากวัตถุดิบหลายชนิด สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ 1 ชนิดของผลิตภัณฑ์ 2 วิธีการในการเก็บรักษาและระดับของอุณหภูมิที่เหมาะสม 3 ความเสี่ยงต่อมลภาวะ 4 อายุการเก็บที่ต้องการ 2 การถ่ายเทพลังงาน มีพลังงานอย่างน้อย 2 ประเภทที่สามารถถ่ายเทผ่านบรรจุภัณฑ์เข้าไปถึงผลิตภัณฑ์ได้ คือ แสงและความร้อน พลังงานทั้ง 2 ประเภทนี้อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีและเร่งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการเน่าเสียของผลิตภัณฑ์ได้เร็วขึ้น 1 แสง ผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิดมีความไวต่อแสงซึ่งก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี และส่งผลให้สีของผลิตภัณฑ์อาหารซีดลง สูญเสียวิตามิน และเกิดการแปรสภาพของกรดอะมิโน 2 ความร้อน การส่งผ่านของความร้อนเกิดขึ้นได้ในรูปแบบของการแผ่รังสี การนำพาความร้อน และการเหนี่ยวนำความร้อน การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความเสี่ยงต่อความร้อนสูงจำต้องควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ระหว่างการเก็บรักษา และการจัดจำหน่าย 3 จุลินทรีย์ บรรจุภัณฑ์ทำหน้าที่ปกป้องผลิตภัณฑ์อาหารในทางกายภาพจากจุลินทรีย์ที่มีจำนวนมหาศาลในบรรยากาศและจากตัวผลิตภัณฑ์เอง ซึ่งวิธีนี้ก่อให้เกิด บรรจุภัณฑ์แบบปลอดเชื้อ ขึ้นมา มีผลิตภัณฑ์ 4 ประเภทที่จำต้องหลีกเลี่ยงจากปฏิกิริยาของจุลินทรีย์ คือ 1 ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ เช่น ขนมปัง เครื่องเทศ ซึ่งอาจถูกปนเปื้อนด้วยเชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ต่างๆ ในระหว่างการเก็บเกี่ยวและขนส่ง 2 ผลิตภัณฑ์ประเภทที่หมักด้วยจุลินทรีย์บางประเภท เช่น โยเกิต และไส้กรอก ผลิตภัณฑ์บางประเภทนี้ต้องระวังไม่ให้ถูกปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ ที่มีอยู่ภายนอก หรือแฝงมากับอุปกรณ์เตรียมอาหาร 3 ผลิตภัณฑ์ที่เป็นของสด เช่น ปลาและผัก ต้องผ่านขั้นตอนการทำความสะอาดที่ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันการเกิดอาหารเป็นพิษ 4 ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ฆ่าเชื้อ ตัวผลิตภัณฑ์อาหารจะต้องทนทานต่อการฆ่าเชื้อได้ กล่าวคือ หลังการฆ่าเชื้อคุณภาพของอาหารยังเป็นที่ยอมรับได้ ในแง่ของการปกป้องเชิงรับนี้เป็นการป้องกันขั้นพื้นฐานของบรรจุภัณฑ์ที่ป้องกันอันตรายจากสิ่งแวดล้อมภายนอกอันได้แก่ กายภาพ พลังงาน และจุลชีวะมีโอกาสเข้าทำปฏิกิริยากับอาหารภายในบรรจุภัณฑ์น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ 2 4 2 การปกป้องเชิงรุก เมื่อไรก็ตามที่บรรจุภัณฑ์มีบทบาทต่อการเตรียมและรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร บทบาทของบรรจุภัณฑ์นั้นก็นับเป็นการปกป้องเชิงรุก ในปัจจุบันนี้ ด้วยวิวัฒนาการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีระบบบรรจุภัณฑ์ที่ถูกออกแบบเฉพาะด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่น่าสนใจมีดังนี้คือ การฆ่าเชื้อ หนึ่งในกรรมวิธีการรักษาอาหารที่เก่าแก่ที่สุด คือ การใช้ความร้อนฆ่าเชื้ออาหารที่บรรจุอยู่ในกระป๋องและขวดแก้ว บรรจุภัณฑ์จะต้องถูกปิดผนึกเพื่อกันอากาศได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อป้องกันความร้อนที่จะทำให้รอยผนึกแยกออกจากกันได้ รวมถึงการระเบิดและบุบด้วย วิวัฒนาการของเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อก้าวตามไปกับวิวัฒนาการทางด้านบรรจุภัณฑ์ จากการฆ่าเชื้อของกระป๋องและขวดแก้วได้พัฒนามาเป็นซองและถาดพลาสติก บรรจุภัณฑ์ปลอดเชื้อ วัสดุบรรจุภัณฑ์จะต้องผ่านการฆ่าเชื้อโดยตรง ไม่ว่าจะโดยการฆ่าเชื้อภายใต้สารเคมีหรือการฉายรังสี หรือกรรมวิธีอื่น แล้วจึงบรรจุและปิดผนึกในทันทีภายใต้สภาวะปลอดเชื้อ ภายใต้สภาวะนี้วัสดุบรรจุภัณฑ์และรอยปิดผนึกจะถูกควบคุมให้ปราศจากเชื้ออย่างสมบูรณ์ บรรจุภัณฑ์ปรับสภาวะบรรยากาศ ภายใต้การปรับสภาวะบรรยากาศ ก๊าซแต่ละชนิดจะเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์บางประเภทเท่านั้น ระบบของบรรจุภัณฑ์จะเป็นตัวกำหนดอายุของผลิตภัณฑ์ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าการวิจัยและเทคโนโลยีขั้นสูงในสาขานี้ถูกเก็บงำเฉพาะในทางธุรกิจบางสาขาเท่านั้น บรรจุภัณฑ์ชนิดพิเศษ ผลิตภัณฑ์บางประเภทที่มีมูลค่าสูงๆ เช่น กาแฟ ในการบรรจุจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบพิเศษที่สามารถปลดปล่อยความดันภายในที่เกิดขึ้นจากเม็ดกาแฟ แต่ราคาของบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ก็จะสูงตามคุณสมบัติในการใช้งานด้วย บทบาทโดยตรงของบรรจุภัณฑ์พิสูจน์ให้เห็นถึงความโดดเด่นในภายภาคหน้าของอุตสาหกรรมอาหาร ดังเห็นได้จากการออกแบบบรรจุภัณฑ์จะกลายเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งในการออกแบบผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใหม่หรือในการพัฒนากระบวนการผลิตแปรรูปใหม่ๆ 2 5 การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับประเภทอาหาร การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับประเภทอาหาร มีปัจจัยอันดับแรกที่ต้องพิจารณา คือ คุณลักษณะของตัวผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น เป็นอาหารสดหรือเป็นอาหารที่ได้รับการแปรรูปแล้ว อันดับต่อมา คือ รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่จะหาได้ด้วยต้นทุนที่เหมาะสมกับสภาวะตลาด พร้อมทั้งสามารถรักษาคุณภาพของอาหารได้ตามอายุขัย Shelf Life ที่ต้องการ ปัจจัยภายนอกที่จะต้องคำนึงถึง คือ เทคนิคในการบรรจุ สภาวะการขนส่ง และการจัดเก็บ ปัจจัยที่สำคัญประการสุดท้าย คือ ช่องทางการจัดจำหน่ายหรือวิธีการ เช่น ขายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือขายตามตลาดสด เป็นต้น จากประเภทผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้าน ซึ่งไม่รวมอาหารพร้อมปรุงและอาหารแช่แข็งสามารถแบ่งได้เป็น 6 กลุ่ม ซึ่งอาหารแต่ละกลุ่มควรเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทใดโดยมีข้อแนะนำและเหตุผลอะไรบ้างนั้น สามารถประมวลมาแสดงไว้ดังต่อไปนี้ < < กลับสู่หน้าหลัก อ่านต่อ บรรจุภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 2> >
บรรจุภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 2
ตารางที่ 2 1 ประเภทของบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับประเภทของอาหารแปรรูป กลุ่มอาหาร ประเภทบรรจุภัณฑ์ คำแนะนำและเหตุผล 1 อาหารถนอม food preservation ด้วยน้ำตาลและทำแห้ง dehydration 1 1 ซองพลาสติกPE มีราคาถูกและปิดผนึกด้วยความร้อนได้ง่าย 1 2 ซองพลาสติกPP สามมารถป้องกันความชื้นได้ดีแต่ปิดผนึกยากกว่าฟิล์ม PE เนื้อพลาสติกมีความใสช่วยเพิ่มคุณค่าสินค้า 1 3 เซลโลเฟลนหรือ กระดาษแก้ว สามารถป้องกันความชื้นได้ระดับหนึ่งมักนิยมใช้ห่อปิดปลาย Twist Wrap 1 4 กระป๋องพลาสติกหรือกระบอกพลาสติกมีฝาปิด เห็นสินค้าได้รอบตัว ควรปิดฝาด้วยเทปให้สนิท 1 5 ถาดพลาสติกใสชนิดมีฝาเป็นแบบกาบหอย Clam Shell ควรปิดฝาด้วยความร้อนแทนที่จะใช้ลวดตะเข็บหรือใช้เทป 1 6 กระป๋องโลหะ สามารถสร้างจุดเด่นที่ดีให้แก่สินค้าและแปลกใหม่ แต่มีมูลค่าสูง 1 7กระป๋องกระดาษ คล้ายคลึงกับกระป๋องโลหะแต่พิมพ์สวยงามได้ง่ายกว่า 1 8 ถุงเคลือบหลายชั้นอาจใช้แบบวางตั้งได้ อาจมีซิปด้วย เป็นบรรจุภัณฑ์รูปลักษณ์ใหม่ก่อให้เกิดความสะดวกในการบริโภคเปิดโอกาสให้ใช้เทคนิคระบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น ระบบสุญญากาศ ระบบการประสภาวะ MAP เป็นต้น ซึ่งช่วยยืดอายุอาหารเก็บได้นาน 2 อาหารหมักดอง fermented food 2 1 กระป๋องโลหะ เหมาะกับอาหารที่ต้องผ่านการฆ่าเชื้อมีขนาดมาตรฐานจัดหาเองได้ง่าย 2 2 บรรจุภัณฑ์แก้ว เหมาะกับอาหารที่ต้องผ่านการฆ่าเชื้อ ทั้งนี้จะต้องใช้ฝาปิดได้สนิท ความใสและคุณสมบัติของแก้วมีส่วนช่วยเพิ่มคุณค่าของสินค้า 2 3 ถุงพลาสติกPE เหมาะกับการจำหน่ายวันต่อวัน 2 4 ปี๊บ ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ขนส่ง ถ้าใช้ปี๊บเปล่าควรพิจารณาสารเคลือบที่เหมาะสม หรืออาจใช้ถุง PE อย่างหนาเป็นบรรจุภัณฑ์ชั้นใน 2 5 ถุงต้มได้ หรือ Retort Pouch โครงสร้างพื้นฐานเป็นฟิล์มเคลือบของ PET เคลือบกับเปลวอะลูมิเนียมและ CPP สามารถฆ่าเชื้อสินค้าพร้อมถุงได้ ถุงอาจมีราคาแพงแต่จะช่วยลดค่าขนส่งและช่วยถนอมคุณค่าอาหารได้ดีกว่าอาหารกระป๋อง 2 6 ถุงพลาสติกในกล่อง กระดาษลูกฟูก Bag in Box ถุงพลาสติกและกล่องกระดาษลูกฟูกสามารถแยกออกจากกันได้และพับเก็บจากกันได้ง่าย ตัวกล่องกระดาษลูกฟูกสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ เปลี่ยนเฉพาะแต่ถุงพลาสติก ซึ่งวัสดุนี้จัดว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3 อาหารถนอมด้วยการฆ่าเชื้อที่มีความร้อนสูง thermal processing 3 1 ขวดแก้ว มีขนาดขวดมาตรฐานจากผู้ผลิต ควรเลือกฝาที่มีคุณภาพสูง ทนอุณหภูมิฆ่าเชื้อได้ 3 2 กระป๋อง หรือ Retort Pouch มีขนาดมาตรฐานจำเพาะของสินค้าแต่ละประเภทและฆ่าเชื้อได้ง่าย ถุงเคลือบหลายชั้นมีศักยภาพสูงใช้ปริมาณวัสดุบรรจุภัณฑ์ต่อหน่วยสินค้าน้อยจึงเป็นการสนองตอบต่อการรณรงค์ลดปริมาณขยะ 3 3 ถุงพลาสติกในกล่องกระดาษลูกฟูก Bag in Box พิจารณาใช้พลาสติกที่ฆ่าเชื้อด้วยความร้อนได้ เช่น CPP สามารถลดต้นทุนขนส่งได้ 4 เครื่องเทศ 4 1 ขวดแก้ว บรรจุภัณฑ์ที่สามารถเก็บกลิ่นได้ดี ไม่ยอมให้อากาศเข้าไปทำปฏิกิริยากับเครื่องเทศ เว้นแต่การปิดผนึกไม่ดี สร้างภาพพจน์ของสินค้าให้ดูมีราคา 4 2 ขวดพลาสติก ควรพิจารณาเลือกพลาสติกที่มีความหนาแน่นสูง เช่น HDPE เพื่อป้องกันกลิ่นซึมผ่านวัสดุบรรจุภัณฑ์ 4 3 ซองเคลือบหลายชั้น Laminated Film เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บริโภคครั้งเดียว ควรพิจารณาซองที่เคลือบด้วยเปลวอะลูมิเนียมซึ่งสามารถเก็บรักษากลิ่นได้ดี 5 เบเกอรี่ bakery และขนมหวาน confectionary 5 1 กล่องกระดาษแข็ง บรรจุภัณฑ์ที่สามารถพิมพ์ตกแต่งได้อย่างสวยงาม ราคาถูก 5 2 ถาดพลาสติกใสแบบกาบหอย Clam Shell สามารถมองเห็นสินค้า เพิ่มคุณค่าให้แก่สินค้า ถ้าใช้พลาสติกที่มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซน้อย สามารถใช้เทคนิคระบบบรรจุภัณฑ์สมัยใหม่ เช่น การปรับสภาวะโดยการฉีดก๊าซเฉื่อย ไนโตรเจนหรือคาร์บอนได้ออกไซด์ เพื่อยืดอายุอาหาร แต่ตัวฝาต้องปิดสนิทด้วยความร้อนได้ 5 3 ถาดพลาสติกหรือกระดาษปิดผนึกด้วยความร้อนบนแผ่นฟิล์ม ราคาถูกกว่า แต่ต้องคัดเลือกประเภทของพลาสติกให้เหมาะกับสินค้า และสามารถใช้เทคนิคการประสภาวะได้ 5 4 ถาดอะลูมิเนียมพร้อมฝาทำด้วยกระดาษแข็ง มีราคาสูงแต่สามารถปกป้องรักษาคุณภาพสินค้าไว้ได้นาน เหมาะสำหรับแช่เย็นหรือแช่แข็ง 6 นม ไอศกรีม 6 1 ถ้วยหรือขวดพลาสติกปิดฝาด้วยกระดาษหรือเปลวอะลูมิเนียม เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีราคาถูกแต่เก็บได้ไม่เกิน 1 สัปดาห์ 6 2 ซองเคลือบหลายชั้น Laminated Film สิ่งสำคัญจะต้องมีชั้นพลาสติกที่ป้องกันแสง UV อาจจะมีพลาสติกที่เคลือบด้วยเมทาไลซ์ฟิล์มเพื่อยืดอายุสินค้า 6 3 กล่องเคลือบหลายชั้นดัวยกระดาษแข็งที่ใช้กับระบบฆ่าเชื้อ UHT เป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตสูง มีราคาสูงมาก แต่สามารถถนอมรักษาอาหารได้นาน 6 4 ถ้วยหรือถ้วยกระดาษ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการสร้างความยอมรับได้มากโดยเฉพาะสินค้าส่งออก เพราะประเทศที่พัฒนาแล้วถือว่ากระดาษเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2 6 บรรจุภัณฑ์อาหารที่นิยมใช้ จากตารางที่ 2 1 จะพบว่ามีบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุใส่อาหารอยู่เป็นจำนวนมาก บรรจุภัณฑ์แต่ละประเภทมีคุณลักษณะและความเหมาะสมในการบรรจุอาหารแต่ละประเภทแตกต่างกัน การแข่งขันทางการตลาดและความพยายามในการแย่งชิงความพึงพอใจของผู้บริโภคย่อมทำให้ผู้ประกอบการต่างสรรหาบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ มาแทนที่บรรจุภัณฑ์ที่มีอยู่ในตลาด ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์แต่ละประเภท อันได้แก่ บรรจุภัณฑ์ผลิตจากเยื่อและกระดาษ บรรจุภัณฑ์โลหะ บรรจุภัณฑ์แก้ว และบรรจุภัณฑ์พลาสติก 2 6 1 บรรจุภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากเยื่อและกระดาษ อรรถประโยชน์ของการใช้บรรจุภัณฑ์กระดาษมีอยู่มากมาย คุณลักษณะเด่น คือ ความสามารถที่จะพับได้หรือการทับเส้นบนกระดาษมาขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์กระดาษประเภทต่างๆ เช่น ถุงและกล่อง เป็นต้น นอกจากนี้ กระดาษเหนียวสีน้ำตาลที่เรียกว่ากระดาษคราฟท์นั้น ยังสามารถทนแรงทิ่มทะลุได้ดี ทำให้สามารถนำมาผลิตเป็นถุงขนาด 20 และ 50 กิโลกรัมเพื่อใช้บรรจุแป้ง น้ำตาล เป็นต้น ถุงจำพวกนี้ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยกระดาษเหนียวสีน้ำตาลหลายชั้นที่เรียกว่า Multiwall Bag บรรจุภัณฑ์แต่ละประเภทย่อมมีจุดอ่อนและจุดแข็งต่างกัน ข้อเสียเปรียบของบรรจุภัณฑ์กระดาษเมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่น คือ ไม่สามารถจะทนต่อความชื้น ก๊าซ และเก็บกลิ่นได้ เนื่องจากรูพรุนของกระดาษ อย่างไรก็ตาม วิวัฒนาการสมัยใหม่ได้ช่วยแก้ไขจุดอ่อนนี้ด้วยการนำกระดาษไปเคลือบกับพลาสติกชนิดต่างๆ หรือแม้กระทั่งไปเคลือบกับเปลวอะลูมิเนียมซึ่งเป็นโลหะ โดยใช้พลาสติกเป็นตัวเชื่อมระหว่างกลางทำให้ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ลุล่วงไปได้ 1 คุณสมบัติทั่วไปของกระดาษ ความหนาและน้ำหนักมาตรฐาน หน่วยซื้อขายของกระดาษคิดน้ำหนักเป็นกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ส่วนความหนาวัดเป็นไมครอน Microns หรือมิลลิเมตร ความขาวสว่าง Brightness ความขาวสว่างของกระดาษวัดจากการสะท้อนกลับของแสงสีขาวแสดงค่าระหว่าง 1 ถึง 100 โดยปกติกระดาษที่มีคุณภาพดีจะมีค่าของความขาวสว่างอยู่ระหว่าง 80 ซึ่งกระดาษที่มีค่าของความขาวสว่างสูงจะ เพิ่มความมันวาวในการพิมพ์ ปริมาณความชื้น กระดาษเป็นวัสดุที่สามารถดูดและคายความชื้นได้ดีและรวดเร็ว เมื่อความชื้นสัมพัทธ์เป็น 20 กระดาษจะมีปริมาณความชื้นประมาณ 4 ณ อุณหภูมิห้อง 25° C ถ้าความชื้นสัมพัทธ์เป็น 80 กระดาษจะมีปริมาณความชื้นประมาณ 14 8 ปริมาณความชื้นในกระดาษที่แตกต่างกันนี้ย่อมส่งผลต่อคุณสมบัติต่างๆ ของกระดาษที่แปรรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ ตาตารางที่ 2 2 แสดงถึงความสัมพันธ์ของปริมาณความชื้นของกระดาษและกระดาษแข็ง ณ ระดับความชื้นและอุณหภูมิต่างๆ ตารางที่ 2 2 ความสัมพันธ์ของอุณหภูมิและปริมาณความชื้นของกระดาษ อุณหภูมิ ° C ความชื้นสัมพัทธ์ 10 20 30 40 50 60 70 80 90 0 2 5 4 3 6 0 7 3 8 3 9 6 12 3 15 5 22 5 5 2 4 4 3 5 9 7 3 8 1 9 4 12 1 15 4 22 0 10 2 4 4 2 5 8 7 2 8 0 9 2 11 9 15 3 21 5 15 2 3 4 2 5 8 7 1 7 9 9 1 11 7 15 2 21 0 20 2 2 4 0 5 8 7 0 7 8 9 0 11 4 15 0 20 5 25 2 1 4 0 5 7 6 9 7 7 8 8 11 2 14 8 20 0 30 2 0 4 0 5 5 6 7 7 5 8 6 11 0 14 4 19 8 35 2 0 3 9 5 4 6 6 7 4 8 5 10 9 14 2 19 7 40 1 9 3 8 5 3 6 5 7 3 8 4 10 7 14 0 19 5 45 1 9 3 7 5 1 6 2 7 0 8 2 10 4 13 7 19 1 50 1 8 3 5 7 8 5 9 6 7 7 8 10 1 13 2 18 6 55 1 8 3 4 4 6 5 5 6 4 7 5 9 7 12 7 18 0 60 1 8 3 2 4 3 5 2 6 1 7 1 9 3 12 3 17 5 65 1 6 2 9 4 1 4 9 5 8 6 7 8 8 11 9 16 9 70 1 5 2 7 3 8 4 6 5 4 6 3 8 4 11 3 16 3 นอกจากปริมาณความชื้นที่ผลต่อการใช้งานของกระดาษแล้ว ยังพบว่าการเปลี่ยนแปลงความชื้นในกระดาษมีคุณสมบัติเป็น Hysteresis ในรูปที่ 2 1 แสดงความสมดุลของความชื้นในกระดาษ ณ ความชื้นสัมพัทธ์ต่างๆ กัน คุณสมบัติ Hysteresis อธิบายได้อย่างง่ายๆ ดังนี้ ในช่วงเวลาที่อากาศภายนอกที่อุณหภูมิ 25° C และมีความชื้นสัมพัทธ์สูงถึง 80 เมื่อนำกระดาษจากบรรยากาศภายนอกเข้าสู่ห้องปฏิบัติการที่มีการควบคุมบรรยากาศที่อุณหภูมิ 25° C และความชื้นสัมพัทธ์ที่ 75 เมื่อสมดุลจะพบว่ากระดาษจะมีความชื้นอยู่เกือบ 12 แต่ถ้านำกระดาษจากบรรยากาศในวันที่มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ตัวอย่างเช่น ที่อุณหภูมิ 25° C และความชื้นสัมพัทธ์ 60 เมื่อเข้าสู่ห้องปฏิบัติการที่มีสภาพอากาศควบคุมเหมือนข้างต้น เมื่อสมดุลหมายความว่าเมื่อกระดาษไม่คายและดูดความชื้นต่อไปอีกแล้ว จะพบว่ากระดาษดังกล่าวจะมีความชื้นมากกว่า 10 อยู่เล็กน้อย ความแตกต่างของปริมาณความชื้น ณ จุดสมดุลนี้มีค่าแตกต่างกันเรียกว่า มีคุณสมบัติ Hysteresis อาหารหลายประเภทที่มีการดูดซึมและคายความชื้นสู่บรรยากาศจะมีคุณสมบัติ Hysteresis คล้ายคลึงกัน รูปที่ 2 1 แสดงความสมดุลของความชื้นในกระดาษ ณ ความชื้นสัมพัทธ์ต่าง ๆ กัน 2 ประเภทบรรจุภัณฑ์กระดาษ การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เริ่มจากความรู้เกี่ยวกับกระดาษที่นำมาขึ้นรูปและคุณสมบัติของสินค้าที่จะบรรจุใส่ บรรจุภัณฑ์กระดาษที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ 1 กล่องกระดาษแข็งพับได้ กล่องกระดาษแข็งสามารถขึ้นรูปและจัดส่งเป็นแผ่นแบนราบ Flat Blanks เมื่อถึงโรงงานบรรจุอาจนำไปทากาวพร้อมกับบรรจุสินค้า หรือตัวกล่องอาจทากาวตามขอบข้างกล่องไว้ให้เรียบร้อยเพื่อทำการบรรจุและปิดฝาได้ทันที แต่ไม่ว่าจะขึ้นรูปในรูปแบบใด เวลาขนส่งจะพับแบนราบเพื่อประหยัดค่าขนส่ง กล่องกระดาษแข็งอาจแบ่งย่อยเป็นแบบท่อ Tube และแบบถาด Tray ดังจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป 2 กล่องกระดาษแบบคงรูป ตัวอย่างของกล่องกระดาษประเภทนี้ได้แก่ กลักไม้ขีดไฟ หรือกล่องใส่รองเท้าแบบมีฝาครอบกล่องจำพวกนี้เมื่อแปรรูปเสร็จจะถูกส่งในรูปของกล่อง ขึ้นรูปเรียบร้อยแล้วทำให้มีค่าขนส่งสูง นอกจากนี้ในการผลิตยังไม่สามารถผลิตได้เร็วเท่ากล่องแบบพับได้ ทำให้มีราคาต่อหน่วยสูง อย่างไรก็ตามกล่องกระดาษแบบคงรูปนี้สามารถใช้งานได้นาน ตัวอย่างเช่น การเก็บรองเท้าหลังการใส่แต่ละครั้ง ถ้ามีการออกแบบที่ดีกล่องแบบนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่าของสินค้าทำให้ราคาไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้กล่องแบบนี้ 3 บรรจุภัณฑ์การ์ด Carded Packaging เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ประกอบด้วยกระดาษแผ่นหนึ่งและพลาสติกอีกแผ่นหนึ่งซึ่งอาจขึ้นรูปมาก่อนหรือไม่ก็ได้ แนบหรือเชื่อมติดกันแผ่นกระดาษและพลาสติกเข้าด้วยกันโดยมีสินค้าแทรกอยู่ตรงกลาง บรรจุภัณฑ์การ์ดนี้แบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ แบบลิสเตอร์แพ็ค Blister Pack และแบบแนบผิว Skin Pack 4 บรรจุภัณฑ์กระดาษแบบเคลือบหลายชั้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว จุดอ่อนของบรรจุภัณฑ์กระดาษ คือ รูพรุนของกระดาษ การปรับปรุงคุณสมบัติด้วยการเคลือบกับพลาสติกและเปลวอะลูมิเนียมทำให้บรรจุภัณฑ์กระดาษเคลือบหลายชั้นได้รับความนิยมมากในการบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งประกอบด้วยบรรจุภัณฑ์ดังต่อไปนี้ บรรจุภัณฑ์กล่องรูปทรงอิฐ Brick นับเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในการบรรจุนมและน้ำผลไม้ โครงสร้างของวัสดุประกอบด้วยชันของวัสดุไม่ต่ำกว่า 5 ชั้น โดยมีชั้นของกระดาษเพื่อการพิมพ์สอดสี ชั้นของเปลวอะลูมิเนียมเพื่อรักษาคุณภาพอาหารและชั้นพลาสติกอื่นๆ บรรจุภัณฑ์ประเภทนี้มักจะได้รับการเรียกขานชื่อผิดๆ เช่น เรียกว่า กล่อง UHT ซึ่งเรียกชื่อตามกระบวนการฆ่าเชื้อที่ย่อมาจากคำว่า Ultra High Temperature ตามความเป็นจริงกล่องประเภทนี้เป็นหนึ่งในจำพวกบรรจุภัณฑ์ปลอดเชื้อ Aseptic Packaging เนื่องจากทำการบรรจุและขึ้นรูปกล่องในสภาพควบคุมที่ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ ในบางกรณีอาจจะเรียกชื่อให้เกียรติบริษัทที่ทำการคิดค้นจัดจำหน่ายในเชิงพาณิชย์เป็นรายแรกว่า เตตร้าแพ็ค Tetra Pack อย่างไรก็ตามชื่อเรียกอย่างง่ายๆ โดยไม่อิงตามขบวนการผลิตหรือผู้ผลิตจึงมักเรียกตามรูปทรงว่า บริคแพ็ค Brick Pack หรือ บรรจุภัณฑ์รูปทรงอิฐ บรรจุภัณฑ์กล่องรูปทรงจั่ว Gable Top เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ครั้งหนึ่งนิยมมากในการบรรจุนมและน้ำผลไม้ โดยมีที่สังเกตบริเวณส่วนบนของกล่องเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายหน้าจั่วของบ้าน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ส่วนโครงสร้างของวัสดุคล้ายกับรูปทรงอิฐแต่มักไม่ค่อยนิยมในการบรรจุแบบสภาวะปลอดเชื้อ ส่วนใหญ่จะบรรจุขณะที่ร้อนหรือที่เรียกว่า Hot Filling รูปทรงของบรรจุภัณฑ์รูปทรงจั่วดังแสดงในรูปที่ 2 2 กล่องกระดาษแข็งเคลือบชั้นรูปทรงจั่วนี้ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Pure Pack เนื่องจากกล่องรูปแบบนี้ได้รับการจกสิทธิบัตรไว้และเพิ่งหมดอายุเมื่อไม่นานนี้ ทำให้กล่องแบบนี้ตอนแรกเริ่มได้รับการประยุกต์ใช้เฉพาะการบรรจุนมโดยบริษัทที่อยู่ในสถานะที่สามารถจ่ายค่าสิทธิบัตรนี้ได้ หลังจากที่หมดอายุสิทธิบัตรแล้ว บรรจุภัณฑ์นี้ได้รับการใช้อย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น นำมาบรรจุน้ำผลไม้ หรือ แม้กระทั่งการนำมาบรรจุน้ำยาซักผ้า เป็นต้น ในต่างประเทศยังมีการนำไปบรรจุอาหารขบเคี้ยว เนื่องจากความสะดวกในการเปิดใช้ รูปที่ 2 2 กล่องรูปทรงจั่ว บรรจุภัณฑ์กล่องรูปทรงจั่วนับได้เป็นบรรจุภัณฑ์แบบท่อชนิดหนึ่ง โดยมีพลาสติกจำพวก PE เคลือบกับกระดาษเมื่อบรรจุแล้วจะปิดฝาด้วยความร้อน กระป๋องกระดาษ ในประเทศไทย กระป๋องกระดาษมักจะนิยมบรรจุใส่อาหารขบเคี้ยวต่างๆ ตัวกระป๋องประกอบด้วยกระดาษเหนียวสีน้ำตาลสองหรือสามชั้นพันเป็นรูปทรงเกลียว Spiral ทับกันทีละชั้นเพื่อความแข็งแรง ส่วนชั้นในสุดมักจะเคลือบด้วยเปลวอะลูมิเนียมหรือพลาสติกจำพวก PE เพื่อรักษาคุณภาพของสินค้า ดังแสดงไว้ในรูปที่ 2 3 รูปที่ 2 3 แสดงโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์กระป๋องกระดาษแบบเกลียว Spiral 5 กล่องกระดาษลูกฟูก กล่องกระดาษลูกฟูกนับได้ว่าเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ขนส่งมากที่สุด เนื่องจากมีความแข็งแรงเหมาะสมกับราคา ขนาด และรูปลักษณ์ สามารถผลิตได้ตามความต้องการและยังสามารถพิมพ์สอดสีได้อย่างสวยงาม บรรจุภัณฑ์กระดาษทั้ง 5 ประเภทดังกล่าวนี้มีโอกาสใช้ในวงการบรรจุอาหารมากน้อยแปรตามประเภทของผลิตภัณฑ์อาหารและระดับของอุตสาหกรรม < < ย้อนกลับ บรรจุภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 1 อ่านต่อ บรรจุภัณฑ์อาหาร ตอนที่3 > > < < กลับสู่หน้าหลัก
พัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 1
พัฒนาการของบรรจุภัณฑ์อาหาร ตั้งแต่มนุษยชาติเกิดมาในโลกนี้ ความพยายามอยู่รอดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคน เริ่มต้นจากสมัยการทำเกษตรกรรมสืบต่อด้วยการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 20 การประกอบอาชีพได้เปลี่ยนโฉมจากการเพาะปลูกหรือผลิตเพื่อบริโภคเองมาเป็นเพาะปลูกหรือผลิตเพื่อการจำหน่ายเช่นเดียวกับวิวัฒนาการของบรรจุภัณฑ์จากอดีตมาถึงปัจจุบัน เริ่มด้วยบทบาทจากการปกป้องรักษาคุณภาพสินค้า พัฒนามาเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการบริโภคและโฆษณาสินค้าไปในตัว นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์ยังมีส่วนสำคัญในการช่วยรักษาสภาพแวดล้อมด้วย สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานการผลิตจากประเทศกสิกรรมมาเป็นประเทศอุตสาหกรรม ทำให้คนชนบทละถิ่นฐานของตัวเองมาเป็นคนเมืองมากยิ่งขึ้นเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและเพิ่มรายได้ สถานะความเป็นอยู่ของคนเหล่านี้ได้เปลี่ยนไปเนื่องจากไม่มีเวลาที่จะเตรียมอาหารให้ครอบครัวและตัวเอง เวลาส่วนใหญ่ใช้ในการทำงานปกติและทำงานล่วงเวลายังไม่รวมถึงเวลาในการสัญจร บรรจุภัณฑ์ที่จะอำนวยความสะดวกในการเตรียมอาหารเพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านเวลาที่จำกัดของตัวเองจึงได้อุบัติขึ้น ตัวอย่างเช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและอาหารกระป๋องชนิดต่างๆ เป็นต้น เนื่องจากเวลาอันจำกัดนี้เอง ทำให้พฤติกรรมที่ใช้ในการจับจ่ายใช้สอยเปลี่ยนไปด้วย การซื้ออาหารจากซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ ที่สะดวกในการเดินทางซึ่งมีอยู่ทั่วไปในระยะไม่เกิน 10 กิโลเมตร สินค้าที่วางจำหน่ายในซุปเปอร์สโตร์หรือคอนวีเนียนสโตร์จำต้องใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถสนองความต้องการของคนเมืองตามที่ได้กล่าวถึง สภาวะความเป็นอยู่และนิสัยการจับจ่ายใช้สอยที่เปลี่ยนไปดังที่กล่าวมานี้ ส่งผลให้เกิดการวิวัฒนาการทางด้านบรรจุภัณฑ์พร้อมทั้งกระบวนการผลิตต่างๆ เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป วิวัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวย่อมหนีไม่พ้นการศึกษาวิจัยพัฒนาตัวบรรจุภัณฑ์และวิวัฒนาการของกระบวนการผลิตอาหาร ผู้อุปโภคบริโภคในปัจจุบันมีความต้องการแตกต่างกันแปรตามอายุ เพศ ศาสนา สถานะ ความเป็นอยู่ เป็นต้น มาตรฐานความเป็นอยู่ของคนในประเทศที่มีบรรจุภัณฑ์ได้มาตรฐานย่อมมีความเป็นอยู่ที่ดีกว่า สืบเนื่องจากความสามารถในการรักษาคุณภาพอาหาร การผลิตป้อนสู่ตลาดเป็นจำนวนมากด้วยเครื่องจักรทำให้ราคาต่อหน่วยต่ำลงและสามารถบริโภคได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้นโดยไม่แบ่งแยกวรรณะทางด้านเศรษฐกิจ ตัวอย่างของนมกล่องเป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนของการรณรงค์ให้เด็กนักเรียนทั่วทั้งประเทศได้ดื่มนมระหว่างอาหารกลางวัน จากการพัฒนาของบรรจุภัณฑ์นมกล่องที่บรรจุในสถานะปลอดเชื้อทำให้สามารถเก็บได้นานและสามารถจัดส่งไปยังชนบทไกลๆ ได้ ส่งผลให้มีการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินจำนวนหลายพันล้านบาทต่อปีแจกนมให้เด็กนักเรียนเพื่อสร้างให้เยาวชนรุ่นหลังได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่าต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ตัวอย่างการวิวัฒนาการของบรรจุภัณฑ์นมกล่องนี้ ย่อมทำให้สุขภาพอนามัยของอนุชนรุ่นหลังดีกว่ารุ่นบรรพบุรุษ 1 1 ประวัติศาสตร์บรรจุภัณฑ์ การศึกษาประวัติความเป็นมาของบรรจุภัณฑ์เปรียบเสมือนกับการศึกษาอารยธรรมของมนุษย์ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของมนุษยชาติจะพัฒนาไปพร้อมๆ กับมาตรฐานของบรรจุภัณฑ์ สืบเนื่องจากคุณประโยชน์ที่บรรจุภัณฑ์เอื้ออำนวยให้การกินอยู่ดีขึ้น การศึกษาประวัติการพัฒนาการบรรจุภัณฑ์ย่อมจะทำให้มองเห็นถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อมนุษยชาติ นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้การศึกษาประวัติการพัฒนาบรรจุภัณฑ์จึงควรเริ่มจากการศึกษาบรรจุภัณฑ์ธรรมชาติ 1 1 1 บรรจุภัณฑ์ธรรมชาติและประเพณีนิยม เมื่อใดก็ตามที่มีการกล่าวถึงบรรจุภัณฑ์ธรรมชาติมักจะมีความหมายว่าเป็นผลงานของเทวดา เนื่องจากเป็นบรรจุภัณฑ์สมบูรณ์แบบและเป็นต้นแบบของบรรจุภัณฑ์ที่มนุษย์พยายามลอกเลียนบรรจุภัณฑ์ธรรมชาติที่ให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตหลายๆ ประเภท ตัวอย่างเช่น ไข่ รูปทรงของไข่ไม่ได้เป็นรูปทรงเรขาคณิต คือไม่กลมหรือวงรีทำให้กลิ้งไม่สะดวก ส่งผลให้โอกาสเกิดการกระแทกจากการเคลื่อนไหวไม่รุนแรง ส่วนโค้งของไข่มนพอดีกับการกกไข่ที่จะให้ความอบอุ่นได้อย่างทั่วถึง เปลือกของไข่เต็มไปด้วยรูพรุนต่างๆ เพื่อให้มีปริมาณอากาศภายในไข่อย่างพอเหมาะที่จะให้ลูกอ่อนเจริญเติบโตได้ ไข่ขาวที่มีอยู่ภายในมีลักษณะเป็นของเหลวหนืดเอื้ออำนวยให้ไข่แดงสามารถเคลื่อนไหวได้ในขณะเดียวกันยังช่วยปกป้องไข่แดงที่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการด้วย เปลือกผิวไข่ที่ยอมให้อากาศซึมผ่านอย่างพอเหมาะช่วยควบคุมอากาศภายในไข่ให้สมดุลซึ่งเป็นหลักการที่ใช้ในการออกแบบพัฒนาระบบบรรจุภัณฑ์ที่มีการป้องกันเชิงรุก Active Packaging ซึ่งจะได้กล่าวรายละเอียดในบทที่ 2 ถั่วลันเตาเป็นบรรจุภัณฑ์ธรรมชาติที่สมบูรณ์แบบอีกประเภทหนึ่ง เม็ดถั่วอยู่ภายในฝักเรียงตัวเป็นแถว ตัวฝักเปรียบเหมือนกับฟิล์มเคลือบอยู่ 2 ชั้น โดยมีชั้นนอกที่แข็งและชั้นในที่อ่อนนุ่ม ภายในฝักถั่วยังมีการปรับอากาศภายในให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต เปรียบเสมือนกับบรรจุภัณฑ์ปรับสภาวะบรรยากาศ Modified Atmosphere Packaging ที่มนุษย์ได้คิดค้นเลียนแบบเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา นอกจากถั่วลันเตาแล้วถั่วลิสงก็เป็นถั่วอีกแบบหนึ่งที่มีเปลือกข้างนอกคล้ายคลึงกับลอนของกระดาษ ลูกฟูกซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่นิยมใช้ ลอนบนผิวของเปลือกถั่วลิสงสามารถปกป้องเม็ดถั่วที่อยู่ภายในด้วยรูปลักษณะของการเป็นลอนคล้ายกับลอนกระดาษลูกฟูก เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า บรรจุภัณฑ์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีและวัฒนธรรม ตัวอย่างที่เห็นชัดมากที่สุดคือ บรรจุภัณฑ์ของขวัญ ไม่ว่าจะเป็นของขวัญที่เป็นสินค้า หรือ เงินสด จำต้องใช้บรรจุภัณฑ์ห่อ ในกรณีเงินสดและเช็คของขวัญย่อมจะต้องมีซองใส่ในรูปแบบต่างๆ กัน ในงานสมรสใดๆ ก็ตาม ถ้าผู้รับเชิญไปถึงงานและควักเงินสดโดยปราศจากซองให้แก่ผู้จัดงานสมรส จะมีความรู้สึกคล้ายๆ กับการจ่ายเงิน แต่ถ้าให้เป็นซองที่บรรจุเงินสดหรือเช็คของขวัญความรู้สึกจะเป็นการให้เพื่อแสดงความยินดี ไม่ใช่เป็นการให้เพื่อแลกเปลี่ยนหรือเพื่อทดแทนกับสิ่งที่ได้รับประโยชน์ คล้ายกับการให้อั่งเปาของประชาชนจีน เงินที่ให้อั่งเปาเปรียบเสมือนกับการอวยพรให้โชคดีตลอดปีใหม่ นอกจากนี้ยังถือเป็นประเพณีว่าซองที่ใส่นั้นจะต้องเป็นสีแดงอันเป็นสื่อความหมายถึงความโชคดี สรุปได้ว่าบรรจุภัณฑ์ธรรมชาติและประเพณีนิยมมีบทบาทต่อการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ทำให้บรรจุภัณฑ์สามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ แล้วยังเพิ่มคุณค่าของสินค้าด้วยสีสันและรูปทรงของบรรจุภัณฑ์เอง 1 1 2 ประวัติการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ในสมัยดึกดำบรรพ์บรรจุภัณฑ์มักจะใช้วัสดุจากธรรมชาติ เช่น ลูกน้ำเต้า ใบไม้ เปลือกหอย เป็นต้น มาถึงยุคสมัยประมาณ 5000 ปีก่อนพุทธกาล มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้เครื่องปั้นดินเผาทำให้สามารถเก็บตุนอาหารได้สะดวกขึ้น ส่งผลให้สามารถนำส่งไปยังพื้นที่ห่างไกลออกไป พร้อมทั้งการนำไปสู่การแลกเปลี่ยนสินค้าและค้าขายเป็นสินค้าได้ บรรจุภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้พบแหล่งผลิตในประเทศกรีซและส่งไปขายไกลถึงประเทศอิตาลีในปัจจุบัน บรรจุภัณฑ์แก้วเริ่มมีการผลิตประมาณ 2000 ปีก่อนพุทธกาลในแถบเมโสโปเตเมียหรือประเทศอียิปต์ในปัจจุบัน ส่วนขวดแก้วใสนั้นสามารถผลิตได้ประมาณ 1000 ปีก่อนพุทธกาล และทำให้อียิปต์เป็นประเทศที่ชำนาญในการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้ว ต่อมาประมาณ พ ศ 500 วิวัฒนาการทางด้านบรรจุภัณฑ์แก้วได้เปลี่ยนมาเป็นการเป่าแก้วซึ่งได้ตกทอดมรดกมาถึงปัจจุบันนี้ วิวัฒนาการในการผลิตแก้วได้ก้าวมาสู่จุดสุดยอดด้วยการพัฒนาของชาวโรมัน ประมาณ พ ศ 800 กระดาษเริ่มผลิตได้ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกับแก้ว คือ ประมาณ พ ศ 600 ในประเทศจีนแต่ในยุคนั้นกระดาษยังไม่ได้นำมาใช้ห่อสินค้า จวบจนกระทั่งกระดาษได้รับการนำเข้าสู่ประเทศยุโรปผ่านประเทศทางอาหรับ และเริ่มมีการผลิตกระดาษครั้งแรกในทวีปยุโรปที่ประเทศสเปนทางเหนือของวาเลนเซียโดยชาวมุสลิมสเปน กระดาษได้รับการแปรรูปเป็นถุงกระดาษในช่วง พ ศ 2161 ถึง พ ศ 2191 และมีการใช้มากถึง 800 ล้านถุงในสหรัฐอเมริกาในช่วงปีพ ศ 2418 ส่วนการตัด การทับเส้น พร้อมทั้งการพิมพ์เพื่อแปรรูปกล่องกระดาษแข็งนั้นเริ่มได้รับความนิยมใน พ ศ 2423 บรรจุภัณฑ์โลหะ เริ่มจากการค้นพบวิธีการชุบโลหะด้วยดีบุกโดยกระบวนการ Hot Dip ของชาวโบฮีเมียน ประมาณ พ ศ 700 จนกระทั่งมีการแปรรูปมาทำเป็นกระป๋องบรรจุยาเส้นที่พบในอังกฤษต้องใช้เวลานานถึง 500 ปีหลังจากการค้นพบการชุบดีบุก บรรจุภัณฑ์ในแถบทวีปเอเชียได้รับการบันทึกในประวัติศาสตร์ คือ มีการใช้กระป๋องใส่ชาที่ผลิตจากประเทศในแหลมมาลายูด้วยปริมาณชา 1 Kati หรือประมาณ 1 5 ออนซ์ในปัจจุบันนี้เพื่อวางจำหน่ายในยุโรป ในแง่ของการศึกษาประวัติศาสตร์ของบรรจุภัณฑ์ บุคคลที่ได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุด คือ ผู้ประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์ที่สามารถเก็บรักษาอาหารได้เป็นชาวเปอร์เซียนที่ชื่อ Nicolas Appeert ซึ่งได้รับรางวัลจากจักรพรรดินโปเลียนในฐานะที่เป็นคิดค้นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถเก็บรักษาอาหารไว้เป็นเสบียงแก่ทหาร บรรจุภัณฑ์อาหารดังกล่าวนี้จะใช้ขวดแก้วพร้อมจุกที่ปิดสนิทแน่นและสามารถฆ่าเชื้อด้วยความร้อนได้ หลักการถนอมอาหารด้วยการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนนี้ได้รับการวิวัฒนาการต่อโดยใช้เป็นกระป๋องโลหะโดยชาวอังกฤษที่ชื่อ Donkin and Hall ซึ่งเป็นผู้ซื้อลิขสิทธิ์การผลิตในอังกฤษจาก Appert ด้วยเหตุนี้ Appert จึงได้รับเกียรติในฐานะผู้คิดค้นบรรจุภัณฑ์กระป๋องโลหะที่สามารถฆ่าเชื้อได้เป็นคนแรก Nicolus Appert ผู้คิดค้นบรรจุภัณฑ์กระป๋องโลหะที่สามารถฆ่าเชื้อได้เป็นคนแรก พลาสติกชนิดแรกสุดมีชื่อว่า Parkesine ได้รับการคิดค้นขึ้นในปี พ ศ 2399 โดยชาวอังกฤษที่ชื่อว่า Alexander Parkers นับเป็นพลาสติกจำพวก Thermoplastics ชนิดแรกที่ผลิตขึ้นในโลกนี้ และได้นำออกแสดงในงานแสดงสินค้าที่เมือง South Kensington ในอีก 6 ปีต่อมา หลังจากนั้น พลาสติกชนิดต่างๆ ได้รับการคิดค้นขึ้นมากมาย ตัวอย่างเช่น Styrene ซึ่งได้รับการคิดค้นในปี พ ศ 2409 ตามมาด้วย Vinychloride ในปี พ ศ 2415 เป็นต้น การศึกษาประวัติศาสตร์บรรจุภัณฑ์ในยุคต่อมาซึ่งมีวิวัฒนาการที่น่ากล่าวถึงดังแสดงไว้ในตารางที่ 1 1 Alexander Parkes the first plastics 1813 1890ที่มา http westnorwoodcemetery com people buried alexander parkes html ในวงการพลาสติก วิวัฒนาการที่พลิกประวัติศาสตร์พลาสติก ได้แก่ การค้นพบ Polyethylene ในโรงงานของ ICI ประเทศอังกฤษเมื่อปี พ ศ 2468 และได้นำมาใช้เป็นสารหุ้มฉนวนของสายโทรศัพท์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พร้อมทั้งได้รับการพัฒนามาจนเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่นิยมใช้มากที่สุด ตะเข็บคู่ Double Seam ของกระป๋อง 3 ชิ้นได้รับการจดสิทธิบัตรครั้งแรกในปี พ ศ 2439 โดยชาวนิวยอร์คที่มีชื่อว่า Max Ams ส่วนกระป๋องอะลูมิเนียมที่ใช้บรรจุน้ำอัดลมต้องใช้เวลาอีกเกือบ 100 ปี จึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาใช้ทางเชิงพาณิชย์ในปี พ ศ 2508 การใช้กล่องกระดาษลูกฟูกครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของอเมริกา คือ การใช้สำหรับบรรจุอาหารเช้าซีริล Cereal พร้อมทั้งได้รับการยอมรับให้ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ขนส่งในปี พ ศ 2437 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 จะสิ้นสุดลง มีผู้ประกอบการใช้กล่องอยู่เพียง 20 และใช้ลังไม้อยู่ 80 จวบจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 จบสิ้นลง ตัวเลขการใช้ดังกล่าวได้กลับตาลปัตรเป็นมีผู้ใช้กล่องถึง 80 ตารางที่ 1 1 ประวัติวิวัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ ปี ประเภท บรรจุภัณฑ์ วิวัฒนาการ ยุคโบราณ 5000 ปี ก่อนพุทธกาล 2000 ปี ก่อนพุทธกาล 500 600 เครื่องปั้น ดินเผา แก้ว แก้ว กระดาษ เริ่มมีการใช้เครื่องปั้นดินเผาในประเทศกรีซ เริ่มใช้บรรจุภัณฑ์แก้วในอารยธรรมแถบเมโสโป เตเมีย ผลิตแก้วด้วยการเป่า เริ่มมีการผลิตกระดาษ ยุคเริ่มแรก 2245 2352 2414 2435 2437 2441 2451 2458 2468 กระดาษ กระป๋อง กระดาษลูกฟูก ฝา กระดาษลูกฟูก กระป๋องโลหะ บรรจุภัณฑ์แก้ว กระดาษลูกฟูก พลาสติก เริ่มการผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษ Appert ค้นพบวิธีการถนอมอาหารด้วยความ ร้อน มีการจดลิขสิทธิ์ในการผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก William Painter ของสหรัฐอเมริกาคิดค้นฝา จีบ เริ่มมีการใช้กล่องกระดาษลูกฟูกในการขนส่ง ทางรถไฟในสหรัฐอเมริกา ใช้ระบบสุญญากาศเป็นครั้งแรกสำหรับยาสูบใน ประเทศอังกฤษ บริษัท Anchor Hocking ในสหรัฐอเมริกา พัฒนาฝาปิดที่มีชั้นในบุด้วยยางและแถบโลหะ รัดฝาโดยรอบ C D Altick คิดค้นกระดาษเหนียวสีน้ำตาล Kraft เริ่มยุคสมัยของพลาสติก โดยมีการใช้ PE Cellophane PVC PSถ ยุคปัจจุบัน 2503 2505 2507 2510 2513 2520 2521 2524 2526 พลาสติก กระป๋องโลหะ พลาสติก พลาสติก พลาสติก พลาสติก พลาสติก กล่องกระดาษ พลาสติก เริ่มผลิตถุงพลาสติกที่ต้มในน้ำร้อนได้และขวด นมขนาดใหญ่ที่ผลิตจาก HDPE เริ่มผลิตกระป๋องอะลูมิเนียมสำหรับเครื่องดื่ม และกระป๋องสเปรย์ แผงยาที่ใช้กดเม็ดยาให้ทะลุผ่านแผ่นเปลว อะลูมิเนียม และฟิล์มหดที่มาใช้แทนที่กล่อง กระดาษลูกฟูก หลอดพลาสติกและฝาพลาสติกที่เปิดแล้วเกลียว ขาดจากกัน ฟิล์มเม็ตทัลไลซ์ Metallized ที่มีแสงแวววับ ขวด PED สำหรับเครื่องดื่มน้ำอัดลม ระบบบรรจุภัณฑ์สุญญากาศ และระบบปรับ สภาวะบรรยากาศ กล่องปลอดเชื้อที่นิยมใช้บรรจุนมและเครื่องดื่ม ขวดซ๊อสมะเขือเทศที่ผลิตด้วยกรรมวิธี Co Extrusion 1 2 นิยาม ศัพท์คำว่า บรรจุภัณฑ์ ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างๆ แต่มักจะมีการใช้คำว่าภาชนะบรรจุกับบรรจุภัณฑ์อย่างสับสน คำถามมีอยู่ว่าภาชนะบรรจุกับบรรจุภัณฑ์นั้นแตกต่างกันอย่างไร ขอให้พิจารณาบรรจุภัณฑ์น้ำปลา การซื้อน้ำปลามาขวดหนึ่งจากร้านขายของชำตัวขวดนั้นย่อมเป็นบรรจุภัณฑ์ แต่เมื่อนำมาถึงบ้านเวลาบริโภคจะเทน้ำปลาใส่ถ้วยเล็กๆ ตามสัดส่วนที่ต้องการใช้บริโภค ถ้วยเล็กๆ ดังกล่าวนี้กลายมาเป็นภาชนะบรรจุ ในบางกรณีครอบครัวใหญ่อาจซื้อน้ำปลาเป็นขวดลิตรแล้วนำมากรอกใส่ขวดเล็กที่บ้าน แม้ว่าน้ำปลาจะใส่ขวดเหมือนกัน แต่ขวดใหญ่ที่ซื้อมาจากร้านค้านั้นจะถือเป็นบรรจุภัณฑ์ ในขณะที่ขวดเล็กที่กรอกใส่ที่บ้านนั้นจะถือว่าเป็นภาชนะบรรจุ เพราะไม่ได้ทำหน้าที่เอื้ออำนวยความสะดวกในการขนย้ายและไม่ได้มีบทบาทการส่งเสริมการจำหน่ายเมื่อวางขายบนชั้นหิ้ง ณ จุดขาย อีกตัวอย่างเช่น การรับประทานอาหารตามร้านนอกบ้าน จาน ชาม หรือถาดที่ใส่มาบริการที่โต๊ะนั้นจะถือว่าเป็นภาชนะบรรจุ แต่เมื่อไรก็ตามที่ภาชนะบรรจุนั้นๆ มีการปิดผนึกและนำส่ง เช่นนำไปรับประทานที่บ้าน หรือบนรถ ภาชนะบรรจุนั้นๆ จะกลายมาเป็นบรรจุภัณฑ์ แม้ว่าบรรจุภัณฑ์ที่ว่าจะไม่มีการพิมพ์ยี่ห้อหรือฉลากก็ตาม จากตัวอย่างข้างต้นนั้น จะพบว่าภาชนะบรรจุจะกลายมาเป็นบรรจุภัณฑ์นั้นต้องมีบทบาทและหน้าที่บางอย่าง นอกเหนือจากการรองรับบรรจุใส่ผลิตภัณฑ์เท่านั้น นอกจากศัพท์คำว่า ภาชนะบรรจุ และบรรจุภัณฑ์ในภาษาไทย ศัพท์ภาษาอังกฤษคำว่า Packing และ Packaging อาจจะก่อให้เกิดความสับสนได้เช่นกัน โดยปกติคำว่า Packing จะมีความหมายใกล้เคียงกับการบรรจุหีบห่อ กล่าวคือ Packing สื่อความหมายถึงการบรรจุห่อเพื่อการขนส่ง ในขณะที่ศัพท์คำว่า Packaging มีความหมายกว้างกว่า และตรงกับศัพท์คำว่า บรรจุภัณฑ์ในไทย กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า Packing นับเป็นส่วนหนึ่งของ Packaging นั่นเอง นิยาม บรรจุภัณฑ์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ใช้ในการบรรจุสินค้าในการจัดจำหน่าย เพื่อสนองความต้องการของผู้ซื้อและหรือผู้บริโภคด้วยต้นทุนที่เหมาะสม ศาสตร์และศิลป์ ความรู้ที่ใช้ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ต้องใช้ความรู้หลายๆ สาขามาประยุกต์ใช้ ตัวอย่างเช่น บรรจุภัณฑ์อาหารต้องใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีอาหารเฉพาะทาง เช่น อาหารที่เป็นแป้ง อาหารที่มีความเป็นกรดต่ำ เป็นต้น เพื่อวิเคราะห์การเกิดปฏิกิริยาระหว่างอาหารและบรรจุภัณฑ์ พร้อมทั้งศึกษาวิธีการถนอมรักษาอาหารให้ได้ตามกำหนดเวลาที่ต้องการหรือที่เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Shelf Life นอกจากนี้การกำหนดอายุขัยของอาหารยังคงต้องใช้ความรู้ทางด้านการตลาด การขนส่ง เพื่อประเมินเวลาที่สินค้าอาหารจะอยู่ในตลาดและสามารถบริโภคได้หมดก่อนอาหารจะแปลงสภาพจนบริโภคไม่ได้ นอกเหนือจากศาสตร์ดังที่กล่าวมาแล้วบางส่วน การออกแบบกราฟฟิกของบรรจุภัณฑ์ยังเป็นสาขาวิชาหนึ่งของพาณิชยศิลปะที่ต้องออกแบบให้ตรงตามกลุ่มเป้าหมายที่ทางด้านการตลาดได้กำหนดไว้ เพื่อว่าบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบนั้นจะได้รับการยอมรับและการซื้อซ้ำหลายๆ ครั้งจนเป็นที่นิยมในกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ ผู้ซื้อและบริโภค ณ จุดขายมีสินค้าหลายประเภทที่ผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องเป็นผู้บริโภคเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น ของขวัญในช่วงเทศกาล สินค้าสำหรับเด็กทารกหรือสัตว์เลี้ยง เป็นต้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าที่ผู้ซื้อไม่ใช่ผู้บริโภคนี้ จำต้องสร้างสิ่งจูงใจและความมั่นใจต่อผู้ซื้อว่าสินค้าดังกล่าวจะก่อให้เกิดอรรถประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้การออกแบบบรรจุภัณฑ์เหล่านี้จะเน้นในการสร้างภาพแห่งความพอใจแทนที่จะเน้นเรื่องคุณสมบัติของตัวสินค้าที่ใช้ในการออกแบบทั่วๆ ไป ต้นทุนที่เหมาะสม มองจากในแง่ธุรกิจ การผลิตสินค้าเพื่อการจัดจำหน่ายย่อมต้องการสินค้าที่มีต้นทุนต่ำที่สุดเท่าที่จะต่ำได้ ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การเลือกใช้วัสดุที่มีต้นทุนต่ำอย่างเดียวอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่บรรจุภัณฑ์ได้ง่าย ทำให้บรรจุภัณฑ์ไม่สามารถทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องคิดถึงผลกระทบของค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นทั่วทั้งระบบ Total System Cost ในเรื่องของต้นทุนบรรจุภัณฑ์นี้มีปรากฏอยู่บ่อยๆ ว่ามีค่าสูงกว่าต้นทุนของตัวสินค้า ตัวอย่างเช่น บรรจุภัณฑ์ของน้ำอัดลม เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นความยากลำบากที่จะประเมินว่าต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ควรจะเป็นร้อยละเท่าไรของราคาสินค้า ในทางปฏิบัติควรคำนึงถึงบรรจุภัณฑ์ที่สามารถสนองความต้องการของผู้ซื้อและหรือผู้บริโภค เพราะถ้าบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ได้รับความนิยม ผลกำไรที่ได้ย่อมทำให้มีรายได้ที่จะจุนเจือต้นทุนบรรจุภัณฑ์ได้ < < กลับสู่หน้าหลักอ่านต่อ พัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2> >
พัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2
1 3 หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์อาหารแปรรูปมีความสอดคล้องกับวิทยาการ 2 ด้าน คือ ด้านเทคนิคและด้านการตลาด จำแนกได้ดังนี้ ด้านเทคนิค ด้านการตลาด การบรรจุใส่ การส่งเสริมการขาย การปกป้องคุ้มครอง การแสดงข้อมูลอาหาร การรักษาคุณภาพอาหาร การตั้งราคาขายได้สูงขึ้น การขนส่ง การเพิ่มปริมาณขาย การวางจำหน่าย ให้ความถูกต้องรวดเร็ว การรักษาสิ่งแวดล้อม การรณรงค์ หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์สามารถให้คำอธิบายเพิ่มเติมได้ดังนี้ การทำหน้าที่บรรจุใส่ ได้แก่ ใส่ ห่อสินค้า ด้วยการชั่ง ตวง วัด นับ การทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครอง ได้แก่ ป้องกันไม่ให้สินค้าเสียรูป แตกหัก ไหลซึม การทำหน้าที่รักษาคุณภาพอาหาร ได้แก่ การใช้วัสดุที่ป้องกันอากาศซึมผ่าน ป้องกันแสง ป้องกันก๊าซเฉื่อยที่ฉีดเข้าไปชะลอปฏิกิริยาชีวภาพ ป้องกันความชื้นจากภายนอก การทำหน้าที่ขนส่ง ได้แก่ กล่องลูกฟูก ลังพลาสติก ซึ่งบรรจุสินค้าหลายห่อหรือหน่วย เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและขนส่งสินค้าไปยังแหล่งผลิตหรือแหล่งขาย การวางจำหน่าย คือ การนำบรรจุภัณฑ์ที่มีสินค้าอาหารแปรรูปอยู่ภายในวางจำหน่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องเห็นสินค้าเลย สามารถวางนอนหรือวางตั้งได้โดยสินค้าไม่ได้รับความเสียหาย ซึ่งควรคำนึงถึงขนาดที่เหมาะสมกับชั้นวางสินค้าด้วย การรักษาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1 ใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ให้ปริมาณขยะน้อย เป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่าย ในกระบวนการผลิตจะไม่ใช้สารที่ทำลายชั้นบรรยากาศ เป็นต้น 2 นำบรรจุภัณฑ์เวียนใช้ใหม่หรือใช้ประโยชน์อื่นได้ เช่น ขวดเหล้า แก้วใส่แยม เป็นต้น 3 หมุนเวียนนำกลับมาผลิตใหม่ คือ นำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วไปหลอมหรือย่อยสลายเป็นวัตถุดิบสำหรับใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์หรือสินค้าอื่นได้ ทำหน้าที่ส่งเสริมการขายเพราะบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบสวยงามสามารถใช้เป็นสื่อโฆษณาได้ด้วยตัวเอง รวมถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อใช้เฉพาะกาล เช่น มีการแนบของแถมไปกับบรรจุภัณฑ์ การนำรูปภาพดารา เครื่องหมายกีฬาที่ได้รับความนิยมมาพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ จะเป็นแนวทางหนึ่งในการเรียกความนิยมของสินค้า ทำหน้าที่เป็นฉลากแสดงข้อมูลของอาหารแปรรูป ได้แก่ ข้อมูลทางด้านโภชนาการ ส่วนประกอบของอาหาร วันที่ผลิต วันที่หมดอายุ คำแนะนำ และเครื่องหมายเลขทะเบียนหรือเลขอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยา อย ทำให้ตั้งราคาขายได้สูงขึ้นเนื่องจากบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า สร้างความนิยมในสินค้า จากตราและเครื่องหมายการค้าทำให้เกิดความภักดี Loyalty ในตัวสินค้าส่งผลให้ขายราคาที่สูงขึ้นได้ หรือ ที่เรียกว่าสินค้าแบรนด์เนม Brandname การเพิ่มปริมาณขาย ด้วยการรวมหน่วยขายปลีกในบรรจุภัณฑ์อีกชั้นหนึ่ง เช่น นมกล่อง 1 โหลในกล่องกระดาษลูกฟูกที่มีหูหิ้ว หรือการขายขวดน้ำยาทำความสะอาดพร้อมกับซองน้ำยาทำความสะอาดเพื่อใช้เติมใส่ในขวดเมื่อใช้น้ำยาในขวดหมดแล้ว เป็นต้น ให้ความถูกต้องรวดเร็วในการขาย โดยการพิมพ์บาร์โค้ดบนบรรจุภัณฑ์ทำให้คนคิดเงินไม่จำเป็นต้องอ่านป้ายราคาบนบรรจุภัณฑ์แล้วกดเงินที่ต้องจ่าย แต่ให้เครื่องอ่านบาร์โค้ดทำหน้าที่แทน ทำให้รวดเร็วขึ้นและถูกต้อง ร่วมมีบทบาทในการรณรงค์เรื่องต่างๆ เช่น สัญลักษณ์รีไซเคิล ฉลากเขียว กีฬา ท่องเที่ยว กินของไทยใช้ของไทย เป็นต้น 1 4 ประเภทของบรรจุภัณฑ์ ตามนิยามที่กล่าวมาแล้ว บรรจุภัณฑ์ทำหน้าที่เป็นพาหะนำผลผลิตจากกระบวนการผลิตผ่านการขนย้าย เก็บในคลังสินค้า ระบบการขนส่ง ระบบการจัดจำหน่าย เปิดโอกาสให้เลือกซื้อ เอื้ออำนวยความสะดวกในการบริโภคพร้อมทั้งกำจัดซากบรรจุภัณฑ์ได้ง่าย จากขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ การแยกประเภทของบรรจุภัณฑ์อาจแยกได้หลายลักษณะแล้วแต่จุดมุ่งหมายการแยกประเภท ดังแสดงในตารางที่ 1 2 ตารางที่ 1 2 การแยกประเภทของบรรจุภัณฑ์ วิธีการ จุดมุ่งหมาย ประเภทของบรรจุภัณฑ์ 1 การออกแบบ 1 1 บรรจุภัณฑ์ชั้นในหรือปฐมภูมิ Primary Packaging 1 2 บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองหรือทุติยภูมิ Secondary Packaging 1 3 บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สามหรือตติยภูมิ Tertiary Packaging 2 วัสดุที่ใช้ผลิต 2 1 เยื่อและกระดาษ 2 2 พลาสติก 2 3 แก้ว 2 4 โลหะ 1 4 1 บรรจุภัณฑ์แบ่งตามการออกแบบ ด้วยหลักการในการออกแบบ สามารถจำแนกประเภทของบรรจุภัณฑ์ได้ 3 จำพวก คือ 1 บรรจุภัณฑ์ชั้นในหรือปฐมภูมิ Primary Packaging เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ผู้ซื้อจะได้สัมผัสเวลาที่จะบริโภค บรรจุภัณฑ์นี้จะได้รับการโยนทิ้งเมื่อมีการเปิดและบริโภคสินค้าภายในจนหมด เช่น ซองบรรจุน้ำตาล เป็นต้น บรรจุภัณฑ์นี้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ชั้นในสุดติดกับตัวสินค้า ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นในมีปัจจัยที่ต้องพิจารณา 2 ประการคือ อันดับแรกจะต้องมีการทดสอบจนมั่นใจว่าอาหารที่ผลิตและบรรจุภัณฑ์ที่เลือกใช้จำต้องเข้ากันได้ Compatibility หมายความว่าตัวอาหารจะไม่ทำปฏิกิริยาต่อผลิตภัณฑ์ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนี้อาจจะเกิดจากการแยกตัวของเนื้อวัสดุบรรจุภัณฑ์เข้าสู่อาหาร Migration หรือการทำให้บรรจุภัณฑ์เปลี่ยนแปลงรูปทรงไปเช่นในกรณีการบรรจุอาหารใส่เข้าไปในบรรจุภัณฑ์ขณะที่อาหารยังร้อนอยู่ Hot Filling เมื่อเย็นตัวลงในสภาวะบรรยากาศห้อง จะทำให้รูปทรงของบรรจุภัณฑ์บูดเบี้ยวได้ เหตุการณ์นี้จะพบบ่อยมากในขวดพลาสติกทรงกระบอก ซึ่งแก้ไขได้โดยการเพิ่มร่องบนผิวทรงกระบอกหรือเปลี่ยนรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมมุมมน CPET บรรจุภัณฑ์ชั้นในสำหรับ บรรจุอาหารแช่เยือกแข็ง freezing และเข้าไมโครเวฟได้ นอกเหนือจากความเข้ากันได้ของอาหารและบรรจุภัณฑ์แล้ว ปัจจัยอันดับต่อมาที่ต้องพิจารณา คือ บรรจุภัณฑ์ชั้นในจะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่วางขายบนหิ้งหรือไม่ ในกรณีที่บรรจุภัณฑ์ชั้นในจำต้องวางขายแสดงตัวบนหิ้ง การออกแบบความสวยงาม การสื่อความหมายและภาพพจน์จะเริ่มเข้ามามีบทบาทในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ชั้นในที่ทำหน้าที่วางขายบนหิ้ง 2 บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองหรือทุติยภูมิ Secondary Packaging เป็นบรรจุภัณฑ์ที่รวบรวมบรรจุภัณฑ์ชั้นแรกเข้าด้วยกัน เพื่อเหตุผลในการป้องกันหรือจัดจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น หรือด้วยเหตุผลในการขนส่ง บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองที่เห็นได้ทั่วไป เช่น กล่องกระดาษแข็งของหลอดยาสีฟัน ถุงพลาสติกใส่ซองน้ำตาล 50 ซอง เป็นต้น ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองนี้มักจะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ต้องวางแสดงบนหิ้ง ณ จุดขาย ดังนั้น การเน้นความสวยงามและภาพพจน์ของบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่น กล่องยาสีฟัน การออกแบบของหลอดยาสีฟันที่อยู่ภายในก็ไม่จำเป็นต้องออกแบบให้สอดสีหลายสี ในทางกลับกันถ้าบรรจุภัณฑ์ชั้นในได้รับการออกแบบอย่างสวยงาม ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองนี้อาจจะทำการเปิดเป็นหน้าต่างเพื่อให้เห็นถึงความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ชั้นในที่ออกแบบมาอย่างดีแล้ว ในกรณีของตัวอย่างถุงพลาสติกใส่ซองน้ำตาล 50 ซองนั้น ถุงพลาสติกที่เลือกใช้ไม่จำเป็นต้องช่วยรักษาคุณภาพของน้ำตาลมากเท่าซองชั้นใน เนื่องจากทำหน้าที่รวมซองน้ำตาล 50 ซองเข้าด้วยกันเพื่อการจัดจำหน่ายแต่ตัวถุงเองต้องพิมพ์สอดสีอย่างสวยงามเพราะเป็นถุงที่วางขายบนหิ้ง ณ จุดขาย บรรจุภัณฑ์ชั้นในหรือปฐมภูมิ Primary Packaging และบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองหรือทุติยภูมิ Secondary Packaging มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บรรจุภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายปลีก Commercial Packaging 3 บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สามหรือตติยภูมิ Tertiary Packaging หน้าที่หลักของบรรจุภัณฑ์นี้คือการป้องกันระหว่างการขนส่ง บรรจุภัณฑ์ขนส่งนี้ อาจแบ่งย่อยเป็น 3 ประเภท คือ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้จากแหล่งผลิตถึงแหล่งขายปลีกเมื่อสินค้าได้รับการจัดเรียงวางบนหิ้งหรือคลังสินค้าของแหล่งขายปลีกแล้ว บรรจุภัณฑ์ขนส่งก็หมดหน้าที่การใช้งาน บรรจุภัณฑ์เหล่านี้เช่น แคร่และกะบะ Pallet เป็นต้น บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ระหว่างโรงงาน เป็นบรรจุภัณฑ์ที่จัดส่งสินค้าระหว่างโรงงาน ตัวอย่างเช่น ลังใส่ซองพริกป่น ถุงน้ำจิ้ม เป็นผลผลิตจากโรงงานหนึ่งส่งไปยังโรงงานอาหารสำเร็จรูปเพื่อทำการบรรจุไปพร้อมกับอาหารหลัก เป็นต้น บรรจุภัณฑ์ที่ใช้จากแหล่งขายปลีกไปยังมือผู้อุปโภคบริโภค เช่น ถุงต่างๆ ที่ร้านค้าใส่สินค้าให้ผู้ซื้อ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สามนี้ จึงต้องคำนึงถึงความสามารถในการป้องกันสินค้าระหว่างการขนส่ง ส่วนข้อมูลรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ขนส่งจะช่วยในการจัดส่งเป็นไปอย่างสะดวกและถูกต้อง บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สามนี้จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง Distribution Packaging < < ย้อนกลับ พัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ ตอนที่1อ่านต่อ พัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ ตอนที่3 > > < < กลับสู่หน้าหลัก
พัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 3
1 4 2 ประเภทของบรรจุภัณฑ์จำแนกตามวัสดุ บรรจุภัณฑ์แยกตามวัสดุหลักที่ใช้ในการผลิตได้ 4 ประเภท คือ เยื่อและกระดาษ นับได้ว่าเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้มากที่สุดและมีแนวโน้มใช้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากการรีไซเคิลได้ง่าย อันเป็นผลจากการรณรงค์สิ่งแวดล้อม กระดาษนับเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ประเภทเดียวที่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้จากการปลูกป่าทดแทน กระดาษที่ใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์มีหลายประเภท และสามารถพิมพ์ตกแต่งได้ง่ายและสวยงาม นอกจากนี้ยังสะดวกต่อการขนส่งจากผู้ผลิตไปยังผู้ใช้เนื่องจากสามารถพับได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง พลาสติก เป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่อัตราการเจริญเติบโตสูงมาก คุณประโยชน์ของพลาสติกคือ มีน้ำหนักเบา ป้องกันการซึมผ่านของอากาศและก๊าซได้ระดับหนึ่ง สามารถต่อต้านการทำลายของแบคทีเรียและเชื้อรา มีคุณสมบัติหลายอย่างที่สามารถเลือกใช้ในงานที่เหมาะสม พลาสติกบางชนิดยังเป็นฉนวนกันความร้อนอีกด้วย พลาสติกที่ใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์มีอยู่หลากหลายประเภท การศึกษาคุณสมบัติของพลาสติกแต่ละประเภทมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เลือกใช้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ แก้ว นับเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความเฉื่อยต่อการทำปฏิกิริยากับสารเคมีชีวภาพต่างๆ เมื่อเทียบกับวัสดุบรรจุภัณฑ์อื่นๆ และรักษาคุณภาพสินค้าได้ดีมาก ข้อดีของแก้วคือมีความใสและทำเป็นสีต่างๆ ได้ สามารถทนต่อแรงกดได้สูงแต่เปราะแตกง่าย ในด้านสิ่งแวดล้อม แก้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ สิ่งที่พึงระวังในเรื่องการบรรจุ คือ ฝาขวดแก้วจะต้องเลือกใช้ฝาที่ได้ขนาด และต้องสามารถปิดได้สนิทแน่น เพื่อช่วยรักษาคุณภาพและยืดอายุของสินค้า โลหะ ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหาร วัสดุโลหะที่ใช้มี 2 ชนิด คือ เหล็กเคลือบดีบุก เป็นบรรจุภัณฑ์ที่แข็งแรงป้องกันอันตรายจากสิ่งแวดล้อมและสภาวะอากาศ การลงทุนในการผลิตไม่สูงนักและไม่สลับซับซ้อน สามารถใช้บรรจุอาหารได้ดี เนื่องจากสามารถปิดผนึกได้สนิทและฆ่าเชื้อได้ด้วยความร้อน ในแง่ของสิ่งแวดล้อมสามารถแยกออกจากขยะได้ง่ายด้วยการใช้แม่เหล็ก อะลูมิเนียม มักจะใช้ในรูปเปลวอะลูมิเนียมหรือกระป๋อง มีน้ำหนักเบา อีกทั้งมีความแข็งแรงทนต่อการซึมผ่านของอากาศ ก๊าซ แสง และกลิ่นรสได้ดี ในรูปของเปลวอะลูมิเนียมมักใช้เคลือบกับวัสดุอื่นซึ่งให้ภาพลักษณ์ที่ดีเนื่องจากความเงาวับของอะลูมิเนียมและเป็นตัวเหนี่ยวนำความเย็นได้ดี 1 5 วิทยาการบรรจุภัณฑ์ ในอดีตกาลผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารมักจะคิดว่าบรรจุภัณฑ์เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่น่าจะเสีย ดังนั้นการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์จึงมักจะเลือกราคาต่ำเป็นเกณฑ์ตราบจนกระทั่งช่องทางการจัดจำหน่ายในบ้านเราค่อยๆ เปลี่ยนโฉมมาเป็นร้านค้าแบบช่วยเหลือตนเอง เริ่มจากซุปเปอร์มาร์เก็ตกลายเป็นไฮเปอร์มาร์เก็ตในปัจจุบัน บรรจุภัณฑ์ไม่ได้ทำหน้าที่เพียงห่อหุ้มสินค้าไว้เท่านั้น แต่ต้องช่วยตะโกนบอกด้วยคำบรรยายบนบรรจุภัณฑ์ ณ จุดขาย ผู้ประกอบการจึงเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ กอปรกับการเริ่มมีหลักสูตรทางด้านบรรจุภัณฑ์ในระดับมหาวิทยาลัยและอาชีวศึกษา ทำให้บรรจุภัณฑ์ศาสตร์เริ่มจะได้รับการยอมรับจากผู้ประกอบการมากขึ้นเรื่อยๆ เทคโนโลยีทางด้านบรรจุภัณฑ์ประกอบด้วยศาสตร์และศิลป์ในหลายๆ สาขา เริ่มจากวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม วัสดุศาสตร์ การตลาด จิตวิทยา และการออกแบบ ความรู้ต่างๆ ในหลากหลายสาขาเหล่านี้เปรียบเสมือนยาหม้อปรุงขึ้นมาเพื่อพัฒนาวิทยาการบรรจุภัณฑ์อันประกอบด้วย การบรรจุใส่ การเก็บคงคลัง การจัดส่ง การจัดจำหน่ายด้วยบรรจุภัณฑ์หลายประเภทและหลายขนาด ด้วยจุดประสงค์ที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเพื่อสร้างความประทับใจให้กลับมาซื้อใหม่ จากการที่วิทยาการบรรจุภัณฑ์ประกอบด้วยหลายๆ สาขาดังกล่าวมานี้ บุคลากรที่เข้ามารับผิดชอบงานทางด้านบรรจุภัณฑ์จึงอาจมีความรู้พื้นฐานต่างสาขาขึ้นอยู่กับขอบเขตของงานบรรจุภัณฑ์ที่รับผิดชอบ สำหรับนักศึกษาตามระบบทางด้านวิทยาการบรรจุภัณฑ์สามารถแบ่งได้เป็น 2 สาขา คือ สาขาทางด้านเทคโนโลยี พื้นฐานความรู้ควรจะครอบคลุมถึงวิชาความรู้ทางด้านเคมี ฟิสิกส์ จุลชีววิทยา คณิตศาสตร์ กลศาสตร์ และอิเล็คทรอนิคส์ ความรู้ต่างๆ เหล่านี้มีความจำเป็นต่อการแก้ปัญหาทางด้านบรรจุภัณฑ์ สาขาทางศิลปะ จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านออกแบบกราฟฟิกในเชิงพาณิชย์ พาณิชย์ศิลป์ การตลาด จิตวิทยา และการโฆษณา ความรู้พื้นฐานนี้มีบทบาทต่อการส่งเสริมการขายของบรรจุภัณฑ์ ในประเทศไทยเริ่มมีการเปิดหลักสูตรความรู้ระดับปริญญาตรีทางด้านนี้มาประมาณ 10 ปี โดยภาควิชาเริ่มแรกคือ ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุ อยู่ภายใต้คณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐอื่นๆ ที่มีการเปิดสอนวิทยาการบรรจุภัณฑ์ในระดับปริญญาตรี ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และในอนาคตอันใกล้นี้คงเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ส่วนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็มีโครงการขยายระดับการศึกษาสูงถึงขั้นปริญญาโทในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า สถาบันการศึกษาดังกล่าวเหล่านี้ มักจะเน้นทางด้านเทคโนโลยี ส่วนทางด้านศิลปะนั้นยังไม่มีสถาบันการศึกษาใดๆ เปิดสอนวิชาทางด้านการออกแบบกราฟฟิกโดยเฉพาะ การสอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ทางกราฟฟิกมักจะสอนเพียงแต่ระดับวิชา Course เช่น วิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น นอกเหนือจากการศึกษาตามระบบแล้ว ยังมีการจัดการศึกษาต่อเนื่อง การสัมมนาและการฝึกอบรม ซึ่งมีการจัดอยู่ตลอดปีโดยมหาวิทยาลัยต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ยังมีการจัดการโดยองค์กรต่างๆ เช่น สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย ศูนย์บรรจุหีบห่อไทย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมการส่งออก รายละเอียดได้รวบรวมไว้ในบทที่ 9 สำหรับการศึกษาต่อเนื่องทางไปรษณีย์ สถาบันที่มีชื่อเสียงและมีมานานที่สุด ได้แก่ Pira International ของประเทศอังกฤษ e mail publications pira co uk และยังมีของสถาบันบรรจุภัณฑ์ Institute of Packaging e mail trining iop co uk สำหรับในทวีปเอเชีย ได้แก่ Asian Packaging Federation ที่มอบให้ทาง Indian Institute of Packaging e mail iip bom3vsnl net in เป็นผู้จัดการศึกษาต่อเนื่องทางไปรษณีย์สำหรับชาวเอเชีย สำหรับผู้ที่สนใจวิทยาการทางด้านนี้ และต้องการทราบถึงวิวัฒนาการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ สามารถติดตามได้จากงานแสดงสินค้าทางด้านบรรจุภัณฑ์ที่มีอยู่ 2 งานในประเทศไทย คือ Pro Pak Asia ซึ่งเน้นหนักไปทางด้านกระบวนการผลิตอาหาร Process และบรรจุภัณฑ์อาหาร ซึ่งจะจัดประมาณกลางปีของทุกปี ส่วนงานแสดงสินค้าอีกงานหนึ่ง คือ Thai Pack Print ที่จัดประมาณปลายปีของทุกปี โดยเน้นในทางด้านการแปรรูปบรรจุภัณฑ์และเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ในงานระดับสากล งานแสดงสินค้าเครื่องจักรทางด้านบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุด คือ Interpack ของประเทศเยอรมันโดยจัดที่เมือง Dusseldorf ทุกปีเว้นปี โดยจะมีในปี พ ศ 2542 ช่วงเดือนพฤษภาคม ในแถบเอเชียการแสดงเครื่องจักรและวัสดุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ Tokyo Pack จัดโดยสถาบันบรรจุภัณฑ์ญี่ปุ่น Japan Packaging Institute โดยจัดสลับปีเว้นปีกับ Japan Pack ซึ่งจัดโดยสมาคมผู้ผลิตเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ของญี่ปุ่น โดยงานทั้งสองจะจัดในช่วงต้นเดือนตุลาคมของทุกปีสลับกันคนละปี บทสรุป บรรจุภัณฑ์ได้กำเนิดขึ้นพร้อมกับการเกิดของมนุษย์ ตอนเริ่มต้นบรรจุภัณฑ์จะทำหน้าที่เฉพาะเป็นภาชนะรองรับอาหารและน้ำดื่ม และค่อยๆ วิวัฒนาการขึ้นเป็นบรรจุภัณฑ์เต็มรูปแบบ ด้วยเหตุนี้บรรจุภัณฑ์จึงมีความสัมพันธ์กับประเพณีนิยมของแต่ละชนชาติอย่างใกล้ชิด บรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เกิดจากความคิดริเริ่มของมนุษย์ได้มีการพัฒนาสอดคล้องกับบรรจุภัณฑ์ธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น ไข่ ถั่ว และกล้วย เป็นต้น คุณลักษณะของบรรจุภัณฑ์ประกอบด้วย การรวบรวมปริมาณของผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อทำการปกป้องรักษาคุณภาพของอาหารพร้อมทั้งเอื้ออำนวยความสะดวกในการขนส่ง ณ จุดขาย บรรจุภัณฑ์จะทำหน้าที่พนักงานขายใบ้ Silent Salesman ด้วยการสื่อความหมายต่างๆ ที่พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ให้แก่เป้าหมายซึ่งอาจจะเป็นผู้ซื้อและหรือผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม คุณลักษณะของบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เหล่านี้จะสัมฤทธิผลได้ต่อเมื่อมีต้นทุนเหมาะสมกับราคาของสินค้าซึ่งแปรตามปริมาณการขายและตลาดที่จำหน่ายสินค้านั้นๆ ประเภทของบรรจุภัณฑ์อาจแบ่งตามเหตุผลในการออกแบบหรือแบ่งตามวัสดุที่ใช้ผลิต เมื่อแบ่งตามเหตุผลในการออกแบบ ซึ่งแยกเป็นบรรจุภัณฑ์ชั้นใน บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สอง และบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สามนั้น เป็นการแยกตามวัตถุประสงค์ในการออกแบบที่แตกต่างกัน ส่วนการแยกตามวัสดุแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ เยื่อและกระดาษ พลาสติก แก้ว และโลหะ วิทยาการบรรจุภัณฑ์นับเป็นวิทยาการใหม่ในเมืองไทย ซึ่งประกอบความรู้ทางหลายด้านผสมกัน บรรจุภัณฑ์เปรียบเสมือนบ้านที่คนเราอยู่ เมื่อวิศวโยธาร่วมกับสถาปนิกช่วยการออกแบบบ้านให้คนเราอาศัย ผลิตภัณฑ์อาหารก็จำต้องอาศัยวิศวกรรมบรรจุภัณฑ์และนักออกแบบกราฟฟิกออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ผลิตภัณฑ์อาหารอาศัยอยู่ การสร้างบ้านมีตั้งแต่การสร้างบ้านไม้มุงหลังคาจาก ห้องแถว คฤหาสน์ คอนโดมิเนียมให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่มีรายได้และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน การออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารก็คล้ายคลึงกันมีทั้งซอง ถุง กล่อง กระป๋อง ขวด ให้เลือกตามความเหมาะสมของอาหารแต่ละประเภท สิ่งที่แตกต่างกัน คือ บรรจุภัณฑ์อาหารมีอายุขัยโดยปกติไม่เกิน 2 ปี และไม่มีโอกาสทำการซ่อมแซมระหว่างการใช้งานเหมือนกับบ้านที่คนเราอยู่ < < ย้อนกลับ พัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ ตอนที่2 < < กลับสู่หน้าหลัก
บรรจุภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 5 (บรรจุภัณฑ์พลาสติก)
2 6 4 บรรจุภัณฑ์พลาสติก ในปัจจุบันนี้มีพลาสติกที่กันอยู่เป็นร้อยๆ จำพวก และแต่ละจำพวกยังอาจแยกตามน้ำหนักโมเลกุลและความหนาแน่น ตัวอย่างพลาสติก PE Polyethylene สามารถแยกได้ตั้งแต่ LLDPE Linear Low Density Polyethylene LDPE Low Density Polyethylene MDPE Medium Density Polyethylene และ HDPE High Density Polyethylene พลาสติกแต่ละประเภทยังสามารถเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติโดยการทำปฏิกิริยากับพลาสติกอีกตัวทำให้เกิดพลาสติกใหม่เกิดขึ้น นอกจากนี้กระบวนการผลิตที่แตกต่างกันจะได้พลาสติกที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เช่น PP กับ OPP เป็นต้น การเรียกชื่อพลาสติกยังสร้างความสับสนพอสมควร เพราะนอกจากชื่อเรียกตามสูตรทางเคมีแล้ว ยังมีชื่อทางพาณิชย์อีกด้วย อย่างไรก็ตามในวงการพลาสติกมักจะเรียกชื่อตามคำย่อในตารางที่ 2 11 ได้รวบรวมชื่อย่อที่ใช้เรียกพลาสติกชนิดต่างๆ ที่มีใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ พร้อมทั้งมีชื่อทางพาณิชย์เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก ส่วนตารางที่ 2 12 แสดงคุณสมบัติของพลาสติกที่นิยมใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร 1 โพลิเอทิลีน Polyethylene PE PE นับเป็นพลาสติกที่มีการใช้มากที่สุดและราคาถูก สืบเนื่องจาก PE มีจุดหลอมเหลวต่ำ เมื่อเทียบกับพลาสติกอื่นๆ ทำให้มีต้นทุนในการผลิตต่ำ PE ผลิตจากกระบวนการโพลิเมอไรสเซชั่น Polymerisation ของก๊าซเอธิลิน Ethylene ภายใต้ความดันและอุณหภูมิสูงโดยอยู่ในสภาวะปราศจากตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะ Metal Catalyst การจับตัวของโมเลกุลในลักษณะโซ่สั้นและยาวจะส่งผลให้ PE ที่ได้ออกมามีความหนาแตกต่างกัน PE แบ่งเป็น 3 ประเภทตามค่าความหนาแน่น คือ 1 โพลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ Low Density Polyethyleneหรือ LDPE ความหนาแน่น 0 910 0 925 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร 2 โพลิเอทิลีนความหนาแน่นปานกลาง Medium Density Polyethylene หรือ MDPE ความหนาแน่น 0 926 0 940 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร 3 โพลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง High Density Polyethyleneหรือ HDPE ความหนาแน่น 0 941 0 965 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร Low Density Polyethyleneเป็นพลาสติกที่ใช้มากและชื่อสามัญเรียกว่าถุงเย็น มักจะใช้ทำถุงฟิล์มหดและ ฟิล์มยืด ขวดน้ำ ฝาขวด เป็นต้น เนื่องจากยืดตัวได้ดี ทนต่อการทิ่มทะลุและการฉีกขาด พร้อมทั้งสามารถใช้ความร้อนเชื่อมติดผนึกได้ดี โครงสร้างของ PE จะสามารถป้องกันความชื้นได้ดีพอสมควร แต่จุดอ่อนของ LDPE คือ สามารถปล่อยให้ไขมันซึมผ่านได้ง่าย แต่ทนต่อกรดและด่างทั่วๆ ไป นอกจากนี้ LDPE ยังปล่อยให้อากาศซึมผ่านได้ง่าย ด้วยเหตุนี้อาหารที่ไวต่ออากาศ เช่น ของขบเคี้ยว และของทอด เมื่อใส่ในถุงเย็นธรรมดา คุณภาพอาหารจะแปรเปลี่ยนไปเพียงเวลาไม่กี่วัน LDPE ยังมีคุณสมบัติดูดฝุ่นในอากาศมาเกาะติดตามผิว ทำให้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจาก LDPE นี้เมื่อทิ้งไว้นานๆ จะเปรอะด้วยฝุ่น ตารางที่ 2 11 ชื่อย่อ ชื่อเดิม และชื่อทางพาณิชย์ของพลาสติกที่มีใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหาร ชื่อย่อ ชื่อเดิม ชื่อทางพาณิชย์ ABS Acrylonitrile butadiene styrene CA Cellulose acetate CPET Crystallised Polyethylene Terepthalate CTFE Chlorotrifluoroethylene EEA Ethylene ethyl acrylate EPS Expanded polystyrene EVA Ethylene vinyl acetate EVAL EVOH Ethylene vinyl alcohol HIPS High impact polystyrene LDPE Low density polyethylene LLDPE Linear low density polyethylene OPP Oriented polypropylene PA Polyamide Nylon PC Polycarbonate PE Polyethylene PET Polyethylene terephthalate PolyesterMelinexMylar PETG Polyethylene terephthalate glycol PP Polypropylene PS Polystyrene Teflon PTFE Polytetrafluoroethylene PUR Polyurethane PVA Polyvinyl acetate PVAL Polyvinyl alcohol PVC Polyvinyl chloride PVDC Polyvinylidene chloride Saran SAN Styrene acrylonitrile Elvax LLDPE เป็นการผลิตภายใต้สภาวะความดันต่ำ และเริ่มจำหน่ายในตลาดเมื่อปลายปี ค ศ 1970 ในปี ค ศ 1995 ตลาดโลกของ LLDPE มีมากถึง 10000 ล้านกิโลกรัม โดยนิยมใช้เป็นชั้นป้องกันความชื้นโดยการเคลือบกับ PE เบื้องหลังแห่งความสำเร็จ คือ มีคุณสมบัติที่เหนือกว่า LDPE ธรรมดา ส่งผลให้ LLDPE แย่งตลาดของ LDPE แต่จุดอ่อนของ LLDPE คือ ขุ่นกว่า LDPE จากคุณสมบัติดังกล่าวจึงนิยมผสมเม็ดพลาสติกทั้ง 2 ประเภทเข้าด้วยกัน โดยมี LDPE และ LLDPE ในอัตราส่วน 50 50 ตารางที่ 2 12 คุณสมบัติของพลาสติกที่นิยมใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร วัสดุ อัตราการซึมผ่าน ความทนทานต่อสารเคมี อุณหภูมิการใช้งาน ° C ความใส การพิมพ์ การดูดฝุ่น ความเหนียว มิลลิ นิวตัน X เมตร ทนต่อการกระแทก ทนต่อการฉีกขาด นิวตัน X เมตร ความเปราะ gs ไอน้ำ กรัม ตรม วัน O2 ลบ ซม ตรม วัน N2 ลบ ซม ตรม วัน CO2 ลบ ซม ตรม วัน กรด ด่าง สารระ เหย Low density Polyethylene LDPE 1 3 550 180 2900 ดี ดี ดี 70 180 ใส พอใช้ สูง 10 20 100 400 High Density Polyethylene HDPE 0 3 600 70 450 ดีมาก ดีมาก ดีมาก 20 250 ใส พอใช้ สูง 150 10 30 100 Polypropylene PP 0 7 240 60 800 ดี ดีมาก ดีมาก 20 200 ใส ดี สูง 200 1 25 300 Polyester 0 7 14 0 7 16 ดีมาก ดีมาก ดีมาก 70 230 ใส พอใช้ ปานกลาง 550 4 8 40 100 Polyvinyl Chloride PVC 4 150 NA 970 ดีมาก ดีมาก พอใช้ 50 200 ใส ดี สูง 378 8 90 20 Polystyrene PS 8 310 50 1050 ดี ดีมาก เลว 80 175 ใส ดี สูง 750 0 3 1 HDPE ประมาณ 1 5 ของพลาสติก PE ที่จะใช้เป็น HDPE และส่วนใหญ่จะเป่าเป็นขวด เนื่องจากความหนาแน่นที่สูง ทำให้ HDPE มีความเหนียวและทนต่อการซึมผ่านได้ดีกว่า PE ที่มีความหนาแน่นต่างๆ กัน แต่ยังไม่สามารถป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ดีนัก ดังตารางที่ 2 12 จากการใช้ HDPE มาแทนที่ LDPE น้ำหนักของขวดสามารถลดลงได้มากกว่า 40 เนื่องจากสามารถเป่าขวดที่มีผิวบางกว่า นอกจากขวดแล้ว HDPE ยังสามารถใช้เป่าเป็นฟิล์ม หรือทำเป็นถาดที่ไม่ต้องการความใสมากนัก High Density Polyethelene HDPE ตัวอย่างการใช้งานของ PE ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้ 1 ใช้ผลิตเป็นถุงร้อน HDPE และถุงเย็น LDPE สำหรับการใช้งานทั่วไปสามารถหาซื้อได้ง่ายในท้องตลาดทั่วไป ข้อสังเกตถุงร้อนที่ผลิตจาก HDPE จะมีสีขาวขุ่น 2 ใช้ห่อหรือบรรจุอาหารได้เกือบทุกชนิดโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค แต่ไม่ควรใช้ LDPE กับอาหารร้อน 3 นิยมใช้ทำถุงบรรจุขนมปัง เนื่องจาก PE ป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำได้ดีจึงช่วยป้องกันไม่ให้ขนมปังแห้ง เนื่องจากสูญเสียความชื้นออกไป นอกจากนั้นราคาของ PE ไม่สูงเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับราคาของขนมปัง 4 นิยมใช้ทำถุงบรรจุผักและผลไม้สด เนื่องจาก PE ยอมให้ก๊าซซึมผ่านได้ดี ทำให้มีก๊าซออกซิเจนซึมผ่านเข้ามาเพียงพอให้พืชหายใจ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่พืชคายออกมาก็สามารถซึมผ่านออกไปได้ง่าย ในบางกรณีจำเป็นต้องเจาะรูที่ถุงเพื่อช่วยระบายไอน้ำที่พืชคายออกมา 5 นิยมใช้ LDPE เป็นชั้นสำหรับการปิดผนึกด้วยความร้อน เนื่องจากกระดาษและแผ่นเปลวอะลูมิเนียมซึ่งนิยมนำมาใช้เป็นถุงหรือซองบรรจุอาหาร ไม่สามารถปิดผนึกด้วยความร้อนได้ จึงนิยมนำ LDPE มาประกบติดกับวัสดุต่างๆ เหล่านี้ โดยให้ LDPE อยู่ชั้นในสุด และทำหน้าที่เป็นชั้นสำหรับปิดผนึกด้วยความร้อน ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ซองบะหมี่สำเร็จรูป แผ่นปิดถ้วยโยเกิต กล่องนมยูเอชที เป็นต้น 6 ฟิล์ม PE ชนิดยืดตัวได้ Stretch Film นิยมใช้ห่ออาหารสดพร้อมปรุง เนื้อสด และอาหารทั่วไป รูปแบบที่นิยมใช้คือ ใช้รองถาดอาหารแล้วด้วยฟิล์มยืดตัวได้ 7 PE ไม่นิยมใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนย ถั่วทอด ขนมขบเคี้ยว 2 โพลิโพรพิลีน Polypropylene PP PP มักจะรู้จักกันในนามของถุงร้อน ด้วยคุณสมบัติเด่นของ PP ซึ่งมีความใสและป้องกันความชื้นได้ดี มากกว่าครึ่งหนึ่งของ PP ที่นิยมใช้กันจะเป็นรูปของฟิล์ม อย่างไรก็ตาม การป้องกันอากาศซึมผ่านของ PP ยังไม่ดีเท่าพลาสติกบางชนิด เนื่องจากช่วงอุณหภูมิในการหลอมละลายมีช่วงอุณหภูมิสั้นทำให้ PP เชื่อมติดได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฟิล์มประเภท OPP ที่มีการจัดเรียงโมเลกุลในทิศทางเดียวกันจะไม่สามารถเชื่อมติดได้เลย คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งของ PP คือ มีจุดหลอมเหลวสูงทำให้สามารถใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารสำหรับบรรจุอาหารในขณะร้อน Hot Fill การใช้งานของ PP กับผลิตภัณฑ์อาหาร 1 ใช้บรรจุอาหารร้อน เช่น ถุงร้อน ชนิดใส 2 ใช้บรรจุอาหารที่ต้องผ่านความร้อนในการฆ่าเชื้อ โดยที่ PP จะเป็นองค์ประกอบหนึ่งของวัสดุที่ใช้ผลิตซองประเภทนี้ ซึ่งนิยมเรียกว่า retort pouchซองนี้จะสามารถใช้แทนกระป๋องโลหะได้ บางครั้งจึงเรียกว่า Flexible Can retort pouch 3 ใช้ทำถุงบรรจุผักและผลไม้ 4 ใช้ทำซองบรรจุอาหารแห้ง เช่น บะหมี่สำเร็จรูป instant noodle และอาหารที่มีไขมันอายุการเก็บรักษาไม่สูง เช่น คุกกี้ cookie ถั่วทอด เป็นต้น 5 ใช้ทำกล่องอาหาร ลัง ถาด และตะกร้า บรรจุภัณฑ์ขนส่งอีกประเภทหนึ่งที่มีการใช้ PP อย่างมากมาย คือ ถุงพลาสติกสาน Wooven Sacks ที่มีขนาดบรรจุมาตรฐาน 50 กิโลกรัมซึ่งทนทานต่อการใช้งาน วิวัฒนาการทางด้านนี้ได้ก้าวไปสู่การผลิตถุงขนาดใหญ่ที่บรรจุสินค้าได้ เป็นต้น ที่เรียกว่า FIBC Flexible Intermediate Bulk Containers ดังแสดงในรูปที่ 2 24 ซึ่งอาจจะมีหูหิ้ว 1 4 หู รูปที่ 2 24 ตัวอย่างของถุง FIBC 3 โพลิเอทิลีน เทเรฟทาเลต Polyethylene Terepthalate PET PET บรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการคิดค้นขึ้นมาเพื่อการบรรจุน้ำอัดลม โดยเฉพาะคุณสมบัติเด่นทางด้านความใสแวววับเป็นประกาย ทำให้ได้รับความนิยมในการบรรจุน้ำมันพืชและน้ำดื่ม นอกจากขวดแล้ว PET ในรูปฟิล์มซึ่งมีคุณสมบัติในการป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้เป็นอย่างดี จึงมีการนำไปเคลือบหลายชั้นทำเป็นซองสำหรับบรรจุอาหารที่มีความไวต่อก๊าซ เช่น อาหารขบเคี้ยว เป็นต้น นอกจากนี้ ฟิล์ม PET ยังมีคุณสมบัติเด่นอีกหลายประการ เช่น ทนแรงยืดและแรงกระแทกเสียดสีได้ดี จุดหลอมเหลว แต่ข้อด้อย คือ ไม่สามารถปิดผนึกด้วยความร้อนและเปิดฉีกยาก ทำให้โอกาสใช้ฟิล์ม PET อย่างเดียวน้อยมาก แต่มักใช้เคลือบกับพลาสติกอื่น การผลิตขวด PET < < ย้อนกลับ บรรจุภัณฑ์อาหาร ตอนที่4 อ่านต่อ บรรจุภัณฑ์อาหาร ตอนที่6 > > < < กลับสู่หน้าหลัก
บรรจุภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 3 (บรรจุภัณฑ์กระดาษ)
3 บรรจุภัณฑ์กระดาษที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร จะได้แจกแจงในรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1 กล่องกระดาษแข็งแบบท่อ Tube ปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแข็ง คือ การเลือกโครงสร้างและการออกแบบการพิมพ์และตกแต่ง การพิจารณาโครงสร้างของกล่องกระดาษแข็งเกี่ยวเนื่องกับคุณสมบัติความแข็งแรงทางกายภาคที่จะช่วยปกป้องรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารในระหว่างการขนส่งและการวางจำหน่าย ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์อาหารหนึ่งๆ ต้องการแช่เย็นหรือแช่แข็ง กระบวนการแปรรูปจำต้องมีการเคลือบกล่องหรือกระดาษด้วยสารทนต่อน้ำและความชื้น เช่น ขี้ผึ้งหรือพลาสติก เป็นต้น กระดาษแข็งที่ใช้ในการแปรรูปเป็นกล่องมีอยู่หลากหลายและมีคุณสมบัติแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้บรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแข็งเลือกใช้กระดาษแข็งที่เหมาะสม ตารางที่ 2 3 ได้แยกเกณฑ์น้ำหนักของผลิตภัณฑ์อาหารและความหนาของกระดาษที่เหมาะสม ความหนามีหน่วยเป็นไมครอน Microns มีค่าเท่ากับ 0 001 มิลลิเมตร ดังนั้นกระดาษที่หนา 0 380 มิลลิเมตรก็คือ 380 ไมครอน ตารางที่ 2 3 น้ำหนักของผลิตภัณฑ์อาหารและความหนาของกระดาษแข็งที่เหมาะสม น้ำหนักโดยประมาณ กรัม ความหนาของกระดาษแข็ง มิลลิเมตร ไม่เกิน 200 กรัม 0 380 มม ถึง 0 450 มม 231 450 กรัม 0 500 มม ถึง 0 600 มม 451 900 กรัม 0 700 มม ถึง 0 800 มม มากกว่า 900 กรัม 0 900 มม หรือพิจารณาใช้กระดาษลูกฟูกลอน E นอกเหนือจากความหนาของกระดาษที่มีอิทธิพลต่อความแข็งแรงของกล่องกระดาษแล้ว การจัดเรียงวางแนวเยื่อของกระดาษที่เรียกว่าเกรนของกระดาษที่มีผลต่อความแข็งแรงของกล่องกระดาษแบบท่อ ถ้าเกรนของกระดาษจัดวางผิดทิศจะทำให้กล่องนั้นโป่งพอง Bulge ได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเกิดกับผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นผง กล่องกระดาษแบบท่อส่วนใหญ่จะมีแนวเกรนไปตามแนวราบของกล่องเมื่อตั้งกล่องขึ้น ดังแสดงในรูปที่ 2 4 รูปที่ 2 4 การจัดแนวเกรนของกระดาษในแนวตั้งฉากกับเส้นทับของตัวกล่องเพื่อความแข็งแรงของกล่อง การเรียกมิติของกล่องนั้นมักจะเรียกโดยเริ่มจากความยาวตามด้วยความกว้างและความลึกหรือความสูง กล่าวโดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทใดๆ ความยาวและความกว้างของบรรจุภัณฑ์จะเริ่มจากบริเวณที่เปิดก่อน แม้ว่าความลึกหรือความสูงนั้นจะมีมิติมากกว่าความยาวของบริเวณที่เปิดก็ตาม กล่องในรูปที่ 2 5 ความสูงของกล่องอาจมีมิติมากที่สุดของมิติทั้งสาม แต่ความยาวของกล่องจะเริ่มจากมิติที่ยาวที่สุดของบริเวณฝาเปิดของกล่อง ตามด้วยมิติถัดไป คือ ความกว้าง และ มิติสุดท้าย คือ ความสูงหรือความลึกของกล่อง รูปที่ 2 5 ความยาวและความกว้างของกล่องมักวัดจากบริเวณเปิด ในการแปรรูปกล่องกระดาษแข็งแบบท่อ จะมีการทากาวตามแนวความลึกหรือความสูงของกล่องแล้ว ทำการพับตัวกล่องให้แบนราบเพื่อการจัดส่งไปยังผู้ใช้หรือผู้บรรจุ โดยมีวิธีการพับของกล่องดังแสดงในรูปที่ 2 6 การพับนี้มีความสำคัญมากที่รอยพับจะต้องไม่พับให้ตาย Dead Fold มิฉะนั้นการบรรจุสินค้าใส่กล่องโดยใช้เครื่องจักรจะไม่สามารถคลี่หรือตั้งกล่องกระดาษขึ้นได้ ทำให้ต้องหยุดเครื่อง เพื่อนำเอากล่องที่ถูกพับตายนั้นออกจากเครื่อง รูปที่ 2 6 เมื่อจัดส่งกล่องที่พับแบนราบ รอยพับของกล่องทั้ง 2 ด้านไม่ควรเป็นขอบที่ทากาวเพราะจะทำให้คลี่กล่องออกมาลำบาก ฝาปิดกล่องที่พบโดยทั่วไปมักจะเป็นฝาแบบสอดลิ้นเข้าไป ดังแสดงในรูปที่ 2 5 หรือฝาติดกาว เช่น กล่องผงซักฟอก เป็นต้น วิวัฒนาการทางด้านแปรรูปกล่องกระดาษแข็งได้มีการออกแบบฝาปิดกล่องแบบใหม่ๆ เช่น ฝาที่ล็อคเองได้ ดังแสดงในรูปที่ 2 7 ซึ่งเป็นฝากล่องที่ค่อนข้างจะได้รับความนิยมสำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักไม่เกิน 200 กรัมและเป็นชิ้น เช่น ขวดพลาสติก หรือ อาหารขบเคี้ยว เป็นต้น ส่วนฝาอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมเมื่อไม่นานมานี้ คือ ฝาแบบลิ้นล็อค ดังแสดงในรูปที่ 2 8 ซึ่งสามารถเก็บรักษาสินค้าไม่ให้หลุดออกจากกล่องได้ และยังสามารถรับน้ำหนักของผลิตภัณฑ์อาหารภายในกล่องได้มากขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการเพิ่มลิ้นล็อคนี้สูงขึ้นไม่มากนัก จึงทำให้เกิดความนิยมอย่างแพร่หลาย รูปที่ 2 7 กล่องที่สามารถล็อค Lock Bottom และขึ้นรูปฝากล่องได้เอง Self Erecting Cartons รูปที่ 2 8 กล่องที่มีลิ้นล็อค 2 กล่องกระดาษแข็งแบบถาด นอกจากกล่องกระดาษแบบท่อตามที่ได้กล่าวมาแล้ว กล่องกระดาษแข็งอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก คือ กล่องแบบถาดซึ่งตั้งชื่อตามรูปแบบ กล่องแบบถาดนี้จะมีฐานด้านล่างรองรับอาหารเป็นด้านที่เต็มเรียบไม่มีรอยพับ และด้านข้างของกล่อง 2 ด้านซึ่งเป็นความลึกของถาด ส่วนด้านปลายอีก 2 ข้างที่ติดกับฐานประกบด้วยด้านข้างทั้งสี่ด้านด้วยวิธีทากาวหรือการล็อคเพื่อขึ้นรูปเป็นถาด หรือกล่องกระดาษแข็งแบบถาด กล่องแบบนี้สามารถแยกประเภทการใช้งานได้ 2 ประการ คือ แบบที่พับได้ Collapsible และสามารถขึ้นรูปใช้งานได้ทันที เนื่องจากบริเวณลิ้นข้างกล่องมีการทากาวแล้วจากโรงงานผลิตกล่องกระดาษแข็ง ตัวอย่างเช่น กล่องในรูปที่ 2 9 แบบที่ต้องพับสอดลิ้นกล่องก่อนจะขึ้นรูปเพื่อใช้งาน ตัวอย่างเช่น กล่องในรูปที่ 2 10 และ 2 11 ก ถาดกระดาษแบบสี่มุมพับได้ Four Corner Collapsible Trays ถาดกระดาษแบบนี้สามารถพับให้แบนราบได้เพื่อความประหยัดในการจัดส่ง นอกจากนี้ยังสามารถออกแบบให้ฝาปิดได้ ดังแสดงไว้ในรูปที่ 2 9 กล่องแบบนี้นิยมใช้ตามร้านค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ต เนื่องจากสามารถขึ้นรูปได้สะดวกเมื่อทำการบรรจุ รูปที่ 2 9 ถาดแบบสี่มุมพร้อมฝาและมีรอยพับทำให้กล่องพับแบนราบได้ ข ถาดกระดาษแบบขึ้นรูป ถาดกระดาษแบบขึ้นรูปมีหลายรูปแบบขึ้นกับความคิดริเริ่มของนักออกแบบ ถาดที่นิยมใช้มีอยู่ 3 รูปแบบ ดังแสดงไว้ในรูปที่ 2 10 และรูปที่ 2 11 ถาดในรูป 2 10 ด้านบนถาดแบบนี้เป็นถาดที่มีราคาถูกเนื่องจากออกแบบอย่างง่ายๆ และมีความแข็งแรงระดับหนึ่งจากการล็อคมุม ส่วนถาดอีกประเภทหนึ่งใช้วิธีพับด้านกว้างของถาดกลับเข้ามาในถาด Pinch Lock และมีปลายยื่นจากขอบนอกสุดเพื่อล็อคลงไปในช่องของพื้นด้านในถาดให้แน่น ถาดประเภทนี้จะมีความแข็งแรงมากขึ้นกว่าถาดแบบแรกและมีราคาสูงข้นเล็กน้อย ส่วนถาดแบบสุดท้ายในรูปที่ 2 11 เป็นถาดที่สร้างเป็นกรอบขึ้นมาทั้ง 4 ด้านเป็นถาดที่แข็งแรงมากที่สุดและสามารถเพิ่มคุณค่าของสินค้า ถ้ามีการออกแบบกราฟฟิกที่เหมาะสม รูปที่ 2 10 ถาดแบบขึ้นรูป ทางซ้ายมือด้านบนเป็นแผ่นกระดาษก่อนขึ้นรูปและขวามือเป็นกล่องที่ขึ้นรูปแล้วเป็นถาดที่เสริมมุมให้แข็งแรง ส่วนถาดรูปล่างเป็นการล็อคด้านข้างเพิ่มความแข็งแรงมากขึ้น รูปที่ 2 11 ถาดแบบมีกรอบ เป็นถาดที่ให้ความแข็งแรงและเพิ่มคุณค่าสินค้า ด้านซ้ายเป็นแผ่นกระดาษแผ่เรียบ และรูปขวาเป็นถากที่ขึ้นรูปแล้ว 3 กล่องกระดาษแข็งแบบคงรูป Rigid Box ตามที่ได้กล่าวมาแล้วกล่องประเภทนี้ไม่สามารถพับแบนเรียบระหว่างการขนส่ง แต่ยังคงเป็นที่นิยมใช้พอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล่องที่ใช้เป็นของขวัญ เป็นต้น ตัวอย่างกล่องกระดาษแข็งแบบคงรูปที่นิยมใช้ดังแสดงในรูปที่ 2 12 กล่องกระดาษแข็งแบบคงรูปจะมีมุมสี่เหลี่ยมที่พับขอบด้านข้างด้วยกัน กล่องของขวัญส่วนใหญ่จะห่อด้วยกระดาษ ผ้าไหม ผนังหรือกำมะหยี่ เช่น กล่องเครื่องเพชร เป็นต้น รูปที่ 2 12 ตัวอย่างกล่องแบบคงรูป 4 บรรจุภัณฑ์การ์ด Carded Packing การใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทนี้จะทำให้สามารถมองเห็นตัวสินค้าได้ง่าย เนื่องจากมักจะแขวน ณ จุดขายต่างๆ สินค้าจะดึงดูดผู้ซื้อด้วยตัวสินค้าเอง ในขณะเดียวกันก็สามารถทำหน้าที่ปกป้องสินค้าจากความเสียหายที่เกิดจากการขนส่งและการปนเปื้อน แผ่นกระดาษด้านหลังตัวสินค้าจะทำหน้าที่ปกป้องสินค้าชิ้นเล็กๆ จากการถูกขโมยหรือหลุดหาย และด้านหลังของแผ่นกระดาษนี้สามารถแสดงรายละเอียด ข้อแนะนำ ฯลฯ ของสินค้าได้ด้วย บรรจุภัณฑ์แบบนี้มี 2 ประเภท คือแบบบลิสเตอร์แพ็ค Blister Pack และแบบแนบผิว Skin Pack ก บรรจุภัณฑ์การ์ดแบบบลิสเตอร์ Carded Blister Pack บรรจุภัณฑ์แบบบลิสเตอร์ประกอบด้วยแผ่นกระดาษและแผ่นพลาสติกแข็งที่ขึ้นรูป โดยการให้ความร้อนจนอ่อนตัวแล้วขึ้นรูปตามแม่พิมพ์รูปทรงที่ต้องการ และขอบของพลาสติกขึ้นรูปนี้จะเชื่อมติดกับแผ่นกระดาษแข็งด้วยกาว Adhesive ที่ไวต่อความร้อน ดังแสดงไว้ในรูปที่ 2 13 พลาสติกที่นำมาทำบรรจุภัณฑ์บลิสเตอร์ได้แก่ โพลิไวนิลคลอไรด์ PVC มีลักษณะพิเศษ คือ นำไปใช้งานได้หลากหลาย โดยเฉพาะการใช้บรรจุสินค้าที่เก็บในอุณหภูมิต่ำ ใช้วัสดุอื่นทดแทนได้โพลีเอสเตอร์ PET นิยมนำไปใช้มากขึ้น เนื่องจากมีต้นทุนที่สามารถแข่งขันกับบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่นได้ พร้อมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้มากมายและให้ความสวยงามกว่าเนื่องจากมีลักษณะใสเหมือนแก้วและมีความแวววาวเป็นประกาย โพลิสไตรีน PS มีความใสมาก แต่มีข้อเสีย คือ แตกร้าวง่าย ไม่ทนต่อแรงกระแทก เซลลูโลส อะซีเตท Cellulose Acetates และ Butyrates ให้คุณสมบัติที่ดีในการขึ้นรูปและความใสที่ดีเยี่ยม แต่ไม่นิยมใช้กันเนื่องจากต้นทุนสูงและสามารถ รูปที่ 2 13 การขึ้นรูปของบรรจุภัณฑ์การ์ดแบบบลิสเตอร์ แผ่นกระดาษที่ใช้กับบรรจุภัณฑ์แบบบลิสเตอร์จะเลือกจากกระดาษที่จะต้องมีความหนาประมาณ 500 ไมครอน 0 500 มิลลิเมตร จนถึง 800 ไมครอน 0 800 มิลลิเมตร สำหรับสินค้าที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก บรรจุภัณฑ์การ์ดแบบบลิสเตอร์นี้นิยมใช้กันมากในอุตสาหกรรมยาชนิดแผง เช่น ยาคุมกำเนิด เนื่องจากเวลานำยาออกจากแผง ต้องกดแผ่นพลาสติกข้างบนให้เม็ดยาทะลุแผ่นกระดาษหรือแผ่นอะลูมิเนียม บรรจุภัณฑ์แบบนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บรรจุภัณฑ์กดทะลุ Press Through Packaging หรือ PTP บรรจุภัณฑ์อาหารที่พบมากคือ ไส้กรอก แฮม และยังมีการนำมาใช้บรรจุลูกกวาด เป็นต้น ข บรรจุภัณฑ์การ์ดแบบแนบผิว Skin Pack บรรจุภัณฑ์แบบนี้ทำได้โดยวางสินค้าลงบนแผ่นกระดาษและแผ่นพลาสติก เมื่อพลาสติกถูกทำให้อ่อนนุ่มด้วยความร้อน ระบบสุญญากาศจะดูดแผ่นพลาสติกแนบติดกับสินค้าและสารเชื่อมที่เคลือบบนกระดาษ ด้วยเหตุนี้บรรจุภัณฑ์ประเภทนี้จึงได้ชื่อว่า บรรจุภัณฑ์แนบผิว พลาสติกจะแนบกับตัวสินค้าและแผ่นกระดาษที่มีสารเชื่อมติดเคลือบอยู่ดังแสดงในรูปที่ 2 14 รูปที่ 2 14 การขึ้นรูปของบรรจุภัณฑ์การ์ดแบบแนบผิว บรรจุภัณฑ์แบบแนบผิวนี้จะประหยัดกว่าแบบบลิสเตอร์ เนื่องจากไม่ต้องการแม่พิมพ์สำหรับขึ้นรูปโดยสินค้าจะแนบติดกับกระดาษ ขั้นตอนการทำงานจึงสั้นกว่าหรือกล่าวในอีกแง่หนึ่งคือผลผลิตได้มากกว่า หีบห่อแบบแนบผิวยังสามารถออกแบบให้สินค้าสามารถแยกชิ้นออกจากกันบนกระดาษ ซึ่งลักษณะดังกล่าวทำให้สามารถบริโภคสินค้าแต่ละชิ้นได้โดยสินค้าที่เหลือไม่ถูกปนเปื้อน ฟิล์มที่ใช้กับบรรจุภัณฑ์แบบแนบผิว จะนิยมใช้พลาสติกโพลิเอทธิลีนหรือไอโอโนเมอร์ ซึ่งพลาสติกแต่ละชนิดมีคุณสมบัติดังนี้ ไอโอโนเมอร์ มีความใสสูง เหนียว และการคืนตัวสูง โพลิเอทธิลีน มีราคาถูก แต่ไม่ค่อยใส เกิดรอยถลอกได้ง่าย หรือไม่ทนต่อการเสียดสี อีกทั้งต้องใช้ความร้อนสูงในการผลิต และมีอัตราการหดตัวสูงกว่าฟิล์มชนิดอื่นๆ กระดาษที่ใช้กับบรรจุภัณฑ์แบบแนบผิวต้องมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะไม่เกิดการบิดหรือโค้งงอและชั้นกระดาษจะต้องไม่แยกตัวหลังจากทำการแนบผิวไปแล้ว ความหนาของกระดาษที่ใช้ควรอยู่ประมาณ 450 635 ไมครอน การเลือกระหว่างการเคลือบแบบบลิสเตอร์แพ็คและแบบสกินแพ็คนี้ในหลายต่อหลายครั้งเป็นสิ่งยากที่จะตัดสินใจว่าจะเลือกบรรจุภัณฑ์ประเภทไหน โดยปกติแล้ว ถ้าสินค้ามีขนาดเล็ก เมื่อติดอยู่บนแผ่นกระดาษขนาดใหญ่ก็สมควรจะใช้แบบ บลิสเตอร์ มิฉะนั้นจะเปลืองฟิล์มมากถ้าเลือกใช้แบบสกิน ยกเว้นสินค้านั้นมีขนาดใหญ่เกือบเท่าตัวกระดาษ แบบสกินจะคุ้มทุนมากกว่า นอกจากนี้ตัวสินค้าที่เคลื่อนที่ได้ง่าย เช่น ลูกทรงกลมจะเหมาะใช้แบบบลิสเตอร์มากกว่าเพราะขณะที่ทำการบรรจุห่อด้วยสกิน ลูกทรงกลมอาจเคลื่อนย้ายไปตำแหน่งใดๆ ก็ได้ 5 กล่องกระดาษลูกฟูก ตัวแผ่นกระดาษลูกฟูกที่ใช้งานกันทั่วไปประกอบด้วยแผ่นปะหน้า 2 แผ่น และมีลอนกระดาษลูกฟูกอยู่ตรงกลาง กระดาษลูกฟูกแบบนี้มีชื่อสามัญเรียกกันทั่วไปว่า แผ่นลูกฟูก 3 ชั้น หรือ Single Wall กระดาษลูกฟูกที่แข็งแรงเพิ่มขึ้นมาขั้นหนึ่ง คือ แผ่นกระดาษลูกฟูก 5 ชั้น หรือ Double Wall ซึ่งเพิ่มลอนกระดาษลูกฟูกอีกชั้นหนึ่งและแผ่นปะหน้าอีกแผ่นหนึ่ง รายละเอียดโครงสร้างของกระดาษลูกฟูกที่นิยมใช้ทั้ง 2 แบบ แสดงไว้ในรูปที่ 2 15 รูปที่ 2 15 โครงสร้างของกระดาษลูกฟูกแบบ 3 ชั้น ทางซ้ายมือ และกระดาษลูกฟูกแบบ 5 ชั้น ทางขวามือ ลอนกระดาษลูกฟูกมาตรฐานที่ใช้อยู่มี 5 ประเภท คือ ลอน ABCE และไมโคร Micro Flute ตัวอักษร ABC และ E นี้ไม่ได้แสดงการเรียงตามคุณสมบัติและขนาด ในความเป็นจริง ลอน A เป็นลอนใหญ่ ลอน B จะเป็นลอนเล็ก และลอน C จะเป็นลอนขนาดกลางระหว่าง A และ B ส่วนลอน E นั้นรู้จักกันในนามของลอนจิ๋ว การเรียกโครงสร้างของลอนกระดาษลูกฟูกจะเรียกตามน้ำหนักของกระดาษ เป็นกรัมต่อตารางเมตรและต่อด้วยประเภทของลอน ยกตัวอย่างเช่น 150 112C 125 หมายความว่ากระดาษลูกฟูกนี้ประกอบด้วย แผ่นกระดาษปะหน้าข้างนอก 150 กรัมต่อตารางเมตร ลอนลูกฟูก 112 กรัมต่อตารางเมตร เป็นลอน C แผ่นกระดาษปะหน้าข้างใน 125 กรัมต่อตารางเมตร ตารางที่ 2 4 มาตรฐานของลอนกระดาษลูกฟูก ชื่อลอน ชื่อไทย จำนวนลอนต่อความยาวเป็นเมตร ความสูงของลอน มิลลิเมตร A ใหญ่ 105 125 4 5 4 7 มม B เล็ก 150 185 2 1 2 9 มม C กลาง 120 145 3 5 3 7 มม E จิ๋ว 290 320 1 1 1 2 มม Micro ไมโคร 400 440 0 7 0 8 มม คุณสมบัติของกระดาษลูกฟูกที่พึงระวังเป็นอย่างยิ่ง คือ ความสามารถดูดและคายความชื้นสู่บรรยากาศ แม้กระดาษแข็งที่กล่าวมาแล้วก็คือคุณสมบัติเดียวกันนี้ แต่กระดาษแข็งเป็นกระดาษเพียงชิ้นเดียว และมักจะมีการเคลือบด้านหนึ่งเพื่อการพิมพ์ ดังนั้นอิทธิพลของความชื้นที่มีต่อกระดาษแข็งจึงไม่มากเท่ากระดาษลูกฟูกที่เป็นกระดาษหนาถึง 3 หรือ 5 ชั้น เมื่อกระดาษดูดความชื้นเข้ามาในเยื่อ กระดาษจะขยายตัว และเมื่อคายความชื้นออกสู่บรรยากาศกระดาษจะหดตัวในช่วงความชื้นสัมพัทธ์ 0 90 กระดาษสามารถเปลี่ยนมิติหรือความยาวในทิศแนวเครื่องจักร MD หรือ Machine Direction ได้มากถึง 0 8 ส่วนในทิศแนวตั้งฉากของแนวกระดาษที่วิ่งออกจากเครื่อง CD หรือ Cross Machine Direction จะสามารถแปรเปลี่ยนมิติหรือความกว้างได้สูงถึง 16 ก มิติของกล่องกระดาษลูกฟูก ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในการเรียกมิติของกล่องกระดาษแข็ง กล่องกระดาษลูกฟูกยังคงใช้หลักการเดียวกัน ด้วยการเรียกมิติที่ยาวที่สุดของบริเวณที่เปิดเป็นความยาว และด้านถัดมาเป็นความกว้าง และด้านที่เหลือเป็นความสูงหรือความลึก มีสิ่งแตกต่างกัน คือ กล่องลูกฟูกจะวัดมิติภายในของกล่อง ดังแสดงในรูปที่ 2 16 การเลือกใช้กล่องกระดาษลูกฟูก เริ่มต้นจากการเลือกลอนกระดาษลูกฟูกที่ต้องการใช้ ลอนจิ๋วและลอนไมโครนั้นไม่ค่อยจะใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ขนส่ง แต่มักใช้แทนที่กล่องกระดาษแข็งที่บรรจุใส่สินค้าที่มีน้ำหนักหรือต้องการการป้องกันพิเศษ ด้วยเหตุนี้บรรจุภัณฑ์ขนส่งจึงมักใช้ลอน AB หรือ C และพบว่าลอน B และ C จะนิยมใช้มากที่สุด ส่วนลอน A จะใช้น้อยที่สุดในการทำกล่องลูกฟูก แต่ว่าลอน A จะมีความหนามากกว่าลอนอื่นๆ จึงเหมาะในการทำไส้กล่องและแผ่นรองในกล่อง คุณสมบัติของลอนลูกฟูกในการใช้งานสรุปไว้ในตารางที่ 2 5 รูปที่ 2 16 ขนาดของกล่องลูกฟูกจะวัดมิติภายในโดยเริ่มจากความยาว กว้างและสูง ตารางที่ 2 5 การเปรียบเทียบคุณสมบัติของลอนกระดาษลูกฟูก คุณสมบัติ ลอน A ใหญ่ ลอน B เล็ก ลอน C กลาง ลอน E จิ๋ว การรับแรงในการเรียง ซ้อน Compression คุณภาพในการพิมพ์ คุณภาพในการอัดตัด Die Cut ความต้านทานต่อกา ทิ่มทะลุ Puncture การใช้งานในการเก็บ คงคลัง การทับเส้น การพับ การป้องกันการสั่น และกระแทก การดันทะลุ Flat Crush ดีมาก เลว เลว ดี ดีมาก เลว ดีมาก เลว พอใช้ ดี ดี พอใช้ ดี ดี พอใช้ ดี ดี พอใช้ พอใช้ ดีมาก พอใช้ พอใช้ ดี พอใช้ เลว ดีมาก ดีมาก เลว เลว ดีมาก เลว พอใช้ ข ประเภทของกล่องกระดาษลูกฟูก รูปแบบของกล่องลูกฟูกที่เลือกใช้ อาจแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ กล่องประเภทดั้งเดิม Conventional Box เป็นกล่องที่ผลิตโดยการใช้ลูกกลิ้งในการทับเส้นและเซาะร่องให้เป็นกล่องซึ่งใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำและเป็นที่นิยมมากที่สุด กล่องประเภทนี้ยังแบ่งได้อีกหลายแบบ ดังแสดงไว้ในตารางที่ 2 6 และรูปที่ 2 17 แต่แบบที่นิยมมากที่สุด คือ แบบ 0201 หรือที่รู้จักกันในนาม RSC Regular Slotted Container ดังแสดงไว้ในรูปที่ 2 18 กล่องแบบ RSC นี้มีความกว้างของฝาทั้งสี่บนและล่างเท่ากันหมด โดยความกว้างของฝานี้มีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของความกว้างของกล่อง และมีลิ้นทางด้านซ้ายที่เรียกว่า Manufacturing Joint เป็นลิ้นต่อกับอีกด้านเป็นตัวกล่อง ลิ้นนี้อาจใช้กาวติดหรือเย็บตะเข็บลวด กล่องประเภทนี้ถ้ามีอัตราส่วนความยาวต่อความกว้างต่อความสูงของกล่องใกล้เคียงกับอัตราส่วน 2 1 2 มากเท่าไรจะทำให้กล่องใช้พื้นที่ผิวของกระดาษน้อยมากเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าจะมีค่าต้นทุนต่ำที่สุดเนื่องจากใช้พื้นผิวกระดาษน้อยกว่า รูปที่ 2 17 รูปแบบของกล่องแบบดั้งเดิม รูปที่ 2 18 กล่องหมายเลข 0201 หรือที่เรียกกันว่ากล่อง RSC ตารางที่ 2 6 กล่องประเภทดั้งเดิมที่นิยมใช้ ชื่อหมายเลข ชื่อกล่อง 0201 Regular Slotted Container RSC 0203 กล่องที่มีฝาใหญ่ปิดมิดชิด Full Overlap Slotted Container 0204 กล่องที่มีฝาทุกฝาปิดมิดชิด All Flaps Meeting Slotted Container 0312 กล่องฝาสวมครึ่งหนึ่ง Half Slotted Container ชุด 04 กล่องพับ Folder กล่องประเภทอัดตัดขึ้นรูป Die Cut เป็นกล่องที่ต้องใช้รูปแบบในการอัดขึ้นรูปทีละกล่อง สามารถออกแบบใช้งานได้ตามประสงค์ ตัวอย่างกล่องประเภทนี้ที่คุ้นตา ได้แก่ กล่องบรรจุนมกล่องแบบอิฐจำนวน 12 กล่องโดยมีหูหิ้ว กล่องใส่ลูกไก่ เป็นต้น กล่องประเภทอัดตัดขึ้นรูปยังใช้ในการผลิตกล่องประเภทปิดทากาวบริเวณ Manufacturing Joint ที่เรียกว่ากล่องแบบ Wraparound ซึ่งใช้เครื่องจักรในการบรรจุและทากาวภายในเครื่องเดียวกัน กล่องประเภทออกแบบพิเศษ กล่องประเภทนี้อาจประกอบด้วยกระดาษหลายๆ ชั้น เพื่อทำการเสริมความแข็งแรงและป้องกันอันตรายต่างๆ จากการขนส่ง ดังแสดงไว้ในรูปที่ 2 19 รูปที่ 2 19 ประเภทของกล่องประเภทอัดตัดขึ้นรูป 2 รูปบน และกล่องประเภทออกแบบพิเศษ 4 รูปล่าง < < ย้อนกลับ บรรจุภัณฑ์อาหาร
บรรจุภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 4 (กระป๋องและขวดแก้ว)
2 6 2 บรรจุภัณฑ์อาหารกระป๋อง โลหะสามารถป้องกันการซึมผ่านของก๊าซ ความชื้น และแสงได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าความนิยมในตลาดจะเปลี่ยนไปใช้วัสดุอื่นในการรักษาคุณภาพของอาหาร เช่น การแช่เยือกแข็งหรือวิธีการอื่นๆ ก็ตาม กระป๋องโลหะก็ยังคงเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีบทบาทสำคัญอยู่สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่ต้องการคงสภาพนาน เนื่องจากสามารถเก็บรักษาถนอมอาหารได้นานถึง 2 ปี คุณลักษณะพิเศษอื่นที่มี เช่น ความแข็งแรง Strength ความทนทานต่อการพับงอ Stiffness และสามารถพับขึ้นรูปได้ตามต้องการ รวมทั้งสามารถออกแบบกราฟฟิกให้ดึงดูดความสนใจได้ดี แต่มีข้อเสีย คือ น้ำหนักมาก แม้ว่าได้มีการลดน้ำหนักของกระป๋องไปมากในการพัฒนารอบ 10 ปีที่ผ่านมาแล้วก็ตาม กระป๋องโลหะที่นิยมใช้ คือ แบบ3 ชิ้น three piece can ซึ่งทำการผลิตโดยใช้โลหะ 3 ชิ้น ประกอบด้วยฝากระป๋อง 2 ชิ้น และตัวกระป๋องที่นำมาเชื่อมติดกันเป็นกระป๋อง โดยการทำเป็นตะขอเกี่ยวกัน interlock หรือการเชื่อมด้วยกาวดังแสดงใน รูปที่ 2 20 หรือการบัดกรีเชื่อมด้วยไฟฟ้า ดังแสดงในรูปที่ 2 21 สำหรับกระป๋องอะลูมิเนียมไม่สามารถบัดกรีได้และไม่สามารถเชื่อมได้ กระป๋องโลหะ 3 ชิ้นจึงใช้เฉพาะกับเหล็กเท่านั้น รูปที่ 2 20 การเชื่อมกระป๋องด้วยขอเกี่ยวและทากาว รูปที่ 2 21 การเชื่อมตัวกระป๋องและฝากระป๋องแบบตะเข็บคู่ คุณสมบัติเด่นของกระป๋อง คือ มีขนาดค่อนข้างจะเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ดังแสดงไว้ใน ตารางที่ 2 7 การเรียกมิติจะเรียกตัวเลขชุดแรกเป็นเส้นผ่านศูนย์กลางของกระป๋องภายนอกตรงบริเวณตะเข็บคู่ และตัวเลขชุดต่อไปเป็นความสูงทั้งหมดของตัวกระป๋องวัดจากขอบหนึ่งถึงขอบอีกด้านหนึ่ง ในกรณีที่วัดเป็นนิ้ว กระป๋องขนาด 307 X113 คือ กระป๋องที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 37 16 นิ้วและมีความสูงเป็น 113 16 นิ้ว เมื่อวัดเป็นมิลลิเมตรตามมาตรฐานขององค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ ISO จะปัดเศษเป็นตัวเลขเป็นหน่วยมิลลิเมตรเต็ม 2 หน่วย ดังนั้นกระป๋องขนาด 307X113 ดังกล่าวมาแล้วเมื่อกำหนดตาม ISO จะเป็น 84X46 มิลลิเมตร ในกรณีที่เป็นกระป๋องสี่เหลี่ยม ตัวเลข 2 ชุดแรกจะเป็นความยาวและความกว้าง และตัวเลขชุดสุดท้ายจะเป็นความสูงของกระป๋อง รูปแบบของกระป๋องโลหะที่นิยมใช้ดังแสดงในตารางที่ 2 8 ตารางที่ 2 7 แสดงขนาดของกระป๋องที่กำหนดโดย ISO และขนาดของกระป๋องแบบเก่าที่วัดเป็น และกระป๋องที่วัดเป็นมิลลิเมตร ขนาดกำหนดโดย ISO เส้นผ่าศูนย์กลางของกระป๋อง มม แบบเก่า นิ้ว แบบใหม่ มม 52 202 52 60 63 66 211 66 73 300 73 77 84 307 84 99 401 99 105 404 105 127 502 127 154 603 154 189 230 ตารางที่ 2 8 รูปแบบกระป๋องโลหะที่นิยมใช้ รูปแบบ ขนาดมิติเป็นนิ้ว ซม ขนาดบรรจุ การใช้งาน คุณลักษณะพิเศษ 1 กระป๋องเบียร์ 209 211X413 6 5 6 8X12 2 209 211X604 6 5 6 8X15 9 207 5 209X504 6 3 6 5X13 3 12 หรือ 16 ออนซ์ 355 หรือ 473 ลบ ซม น้ำอัดลม เบียร์ ฝาห่วงดึงเปิดง่ายขนาดบรรจุเหมาะสมกับหน่วยบริโภค 2 กระป๋องสี่เหลี่ยมทรงเตี้ยมีฝาเปิด ปิดแบบบานพับ 405X301 11X7 8 1 4 สี่เหลี่ยมผืนผ้า 4 ออนซ์ 113 กรัม ปลาซาร์ดีน ฝาบนสามารถดึงเปิดออกได้หมด 3 กระป๋องทรงกระบอกเตี้ย 211X306 6 8X8 6 300X407 7 6X11 3 8 ออนซ์ 237 ลบ ซม 15 ออนซ์ หรือ 425 กรัม อาหารแมว อาหารสุนัข ขนาดบรรจุเหมาะสมกับหน่วยบริโภค ป้องกันการเปิดใช้งานก่อน 4 กระป๋องแบบฝาเปิดโดยใช้กุญแจ 307X302 502X608 8 7X7 9 13X16 5 401X307 5 603X712 5 10 3X8 8 15 7X19 8 211X301 603X812 6 8X7 8 15 7X22 2 ½ 2 ปอนด์ 0 2 0 9 กก 1 6 ปอนด์ 0 45 2 7 กก ¼ 5 ปอนด์ 0 11 2 2 กก ถั่ว ลูกกวาดกาแฟ เนย นมผง แผ่นฝาปิดกลับได้ แผ่นฝาปิดพับได้ ปิดกลับได้สนิท 5 กระป๋องแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าเปิดโดยใช้กุญแจ 314X202X201 610X402X2400 9 8X5 4X5 2 16 8X10 5X61 7 ออนซ์ 23 5 ปอนด์ 0 2 10 7 กก แฮม เนื้อ มีหลากหลายขนาด 6 กระป๋องทรงลูกแพร์ แบบฝาห่วงดึงและใช้อุปกรณ์ช่วยเปิด 512X400X115 1011X709X604 14 6X10 2X4 9 27 1X19 2X15 9 1 13 ลบ 0 45 5 9 กก แฮม เปิดใช้ง่าย 7 กระป๋องฝา 3 ชิ้น แบบเปิดฝาข้างบน 202X214 603X812 5 4X7 3 15 7X22 2 4 ออนซ์ 1 แกลลอน 118 3785 ลบ ซม ผัก ผลไม้เนื้อ กาแฟน้ำมัน เนย ฝาป้องกันการเปิดใช้งานก่อนขนย้ายสะดวก 8 กระป๋องแบบมีฝาสลิปดึงเปิด กดปิดได้ หลากหลายขนาด 1 16 ออนซ์ 28 4 454 กรัม น้ำมันหมู ผลไม้แช่แข็ง เครื่องปรุงรส ฝาเปิด ปิดง่าย ปากกระป๋องสำหรับเท โรยหลายแบบ 9 กระป๋องแบบ 2 ชิ้นขึ้นรูปด้วยการดึง 208X207 108 6 4X6 2 3 8 307X111 8 7X4 3 211X214 6 8X7 3 404X307 10 8X8 7 3 5 ½ ออนซ์ 85 156 กรัม 6 ¾ ออนซ์ 191 กรัม 7 ½ ออนซ์ 213 กรัม 1 ½ ออนซ์ 680 กรัม อาหาร แข็งแรง เรียงซ้อนได้ดี แหล่งที่มา The Wiley Encyclopedia of Packaging Technology 2nd ed p 146 2 6 3 บรรจุภัณฑ์แก้ว แก้วเป็นวัสดุที่เฉื่อยต่อการทำปฏิกิริยามากที่สุด และทนต่อการกัดกร่อนหรือปราศจากปฏิกิริยาเคมีของอาหารจึงทำให้รสชาติของอาหารไม่เปลี่ยนแปลง ความใสและเป็นประกายของแก้ว ช่วยให้มองเห็นผลิตภัณฑ์และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่ยอมรับได้ดี ด้วยความแข็งของแก้ว รูปทรงและปริมาตรของแก้วจะไม่เปลี่ยนแม้จะบรรจุด้วยแบบสุญญากาศหรือความดัน บรรจุภัณฑ์แก้วสามารถบรรจุอาหารขณะที่ร้อนหรือผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิสูงได้ แต่ข้อด้อยของแก้ว ก็คือ น้ำหนักที่มาก 2 5 กรัม ลบ ซม และแตกง่าย แม้ว่าจะเฉื่อยต่อปฏิกิริยาทั่วๆ ไป แต่โซเดียมและไอออนชนิดอื่นๆ ที่อยู่ในแก้วยังสามารถแยกตัวออกมาจากแก้วผสมกับอาหารที่บรรจุภายในได้ ด้วยเหตุนี้จึงแยกประเภทของแก้วเป็นแบบที่ 1 2 และ 3 แปรตามความเฉื่อยในการทำปฏิกิริยา ดังนี้ แก้วแบบที่ 1 แก้วที่มี Borosilicate จะมีการแยกตัวน้อยที่สุด ข้อเสียของแก้วแบบนี้คือ ต้องผลิตที่จุดหลอมเหลวสูงถึง 1750° C ซึ่งทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง และมีความเฉื่อยมากที่สุด แก้วแบบที่ 2 มีส่วนผสมของโซดา ไลม์ คล้ายกับแก้วแบบที่ 3 แต่มีซัลเฟทเป็นส่วนประกอบ อบที่อุณหภูมิ 500° C เพื่อลดสภาพความเป็นด่างบริเวณผิวหน้าของผิวแก้ว แก้วแบบที่ 3 เป็นแก้วธรรมดาที่ใช้กันทั่วไปและมีการแยกตัวออกาได้บ้าง การเลือกใช้ขวดทรงกระบอกหรือขวดที่มีภาคตัดขวางเป็นรูปทรงกลมจะผลิตได้ง่ายที่สุดและแข็งแรงที่สุดดังแสดงในตารางที่ 2 9 เนื่องจากการกระจายของเนื้อแก้วได้เท่าๆ กัน ทำให้เนื้อแก้วต่อหน่วยปริมาตรน้อยกว่ารูปทรงอื่น ตารางที่ 2 10 ได้แสดงน้ำหนักของขวดทรงกระบอกเปรียบเทียบกับขวดประเภทอื่นที่มีปริมาตรบรรจุที่เท่ากัน นอกจากน้ำหนักและการผลิตที่ง่ายแล้ว ขวดทรงกระบอกยังสามารถวิ่งไปบนสายพานได้อย่างง่ายดาย พร้อมทั้งปิดฉลากได้ด้วยความเร็วสูง ทำให้ประหยัดทั้งต้นทุนบรรจุภัณฑ์และลดค่าใช้จ่ายการบรรจุและติดฉลาก ยิ่งถ้าเป็นขวดทรงกระบอกที่เป่าออกมาเป็นมาตรฐานจะสามารถหาซื้อได้ง่ายด้วยปริมาณสั่งซื้อที่น้อย ด้วยเหตุนี้ขวดทรงกระบอกจึงเป็นขวดที่นิยมมากที่สุด ตารางที่ 2 9 ความแข็งแรงของขวดแก้วที่มีภาคตัดขวางแตกต่างกัน รูปทรงภาคตัดขวาง อัตราส่วนความแข็งแรงต่อความดันภายใน ทรงกลม 10 ทรงรี Ellipse 5 ทรงสี่เหลี่ยม 1 ตารางที่ 2 10 เปรียบเทียบน้ำหนักโดยประมาณของขวดทรงกระบอกและขวดอื่น ขนาดบรรจุ มล ขวดทรงกระบอก กรัม ขวดอื่น กรัม 30 45 55 340 225 285 455 285 355 905 455 565 นอกจากตัวขวดแล้ว ส่วนสำคัญที่สุดของบรรจุภัณฑ์ขวด คือ ฝาขวด เนื่องจากตัวขวดแก้วมักจะนำกลับมาล้างและใช้ใหม่ได้ หัวใจสำคัญของการนำกลับมาใช้ใหม่ คือ ต้องล้างให้สะอาดและทำให้แห้ง ส่วนฝาขวดจะมีบทบาทสำคัญต่อการรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารไม่ว่าจะใช้ขวดเก่าหรือใหม่ การเลือกฝาขวดเริ่มจากการกำหนดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในขวด กำหนดลักษณะการปิดและเทคนิคพิเศษต่างๆ ที่มี โดยปกติจะมีการตั้งแรงในการปิดฝาขวด แต่สิ่งต้องหมั่นตรวจสอบ คือ ความยากง่ายในการเปิดหลังจากได้เก็บบรรจุภัณฑ์พร้อมสินค้าปิดผนึกเรียบร้อยไว้ระยะหนึ่งแล้ว เนื่องจากความลำบากในการเปิดฝาขวดนำอาหารออกบริโภคอาจเป็นมูลเหตุสำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคปฏิเสธการยอมรับสินค้านั้นอีกต่อไป มาตรฐานสีของขวดแก้วที่นิยมผลิตนั้นมีอยู่ 3 สี คือ 1 สีใสเป็นสีที่ใช้มากที่สุด 2 สีอำพัน สีของขวดแก้วประเภทนี้ออกเป็นสีน้ำตาลซึ่งสามารถกรองแสงอุลตราไวโอเลตได้ดี จึงนิยมใช้เป็นขวดเบียร์และขวดยาบางประเภท 3 สีเขียว มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสีอำพัน มักจะใช้กับอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม นอกจากสีมาตรฐาน 3 สีดังกล่าวแล้ว อาจจะมีแก้วสีอื่นๆ อีกแต่มีใช้น้อยและราคาสูง ขวดแก้วที่เป่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีชื่อของแต่ละส่วนของขวดดังแสดงในรูปที่ 2 23 ในการเป่าขวดแก้ว ความหนาของขวดแก้วจะไม่สามารถกำหนดได้อย่างแน่นอน เนื่องจากการขึ้นรูปเกิดจากการอัดลมให้น้ำแก้วกระจายไปเต็มโมลด์ อย่างไรก็ตามโดยปกติความหนาของขวดแก้วที่มีการนำกลับมาใช้หลายครั้งจะมีความหนา 3 0 4 9 มิลลิเมตร ส่วนขวดที่ใช้ครั้งเดียวจะมีความหนาประมาณ 2 2 2 4 มิลลิเมตร วิวัฒนาการของบรรจุภัณฑ์แก้ว คือ ความพยายามลดน้ำหนักของแก้ว ซึ่งหมายความถึงการลดความหนาของขวดแก้ว การลดความหนาลงแต่ยังต้องรักษาความแข็งแรงไว้เท่าเดิม วิธีการที่นิยมใช้คือ ลดรอยขีดข่วนบนผิวแก้ว Surface Scratchs ระหว่างการผลิตหรือการเคลือบผิว อันได้แก่ การเคลือบผิวทางเคมี การเคลือบผิวเย็น Cold Coating การเคลือบผิวร้อน เป็นต้น รูปที่ 2 23 แสดงชื่อแต่ละส่วนของขวด การเป่าขวดแก้ว จะมีการกระจายของเนื้อแก้วไปยังส่วนต่างๆ ของแม่แบบ การเป่าแต่ละครั้งของแม่แบบเดียวกันอาจมีความแปรปรวนของการกระจายเนื้อแก้วเกิดขึ้น ดังนั้นจำจำเป็นต้องกำหนดความแปรปรวนหรือความแตกต่างที่ยอมรับได้ในมิติของขวดแก้วด้วยการสุ่มตัวอย่างเฉลี่ย 12 ขวด ซึ่งพอสรุปได้เป็นแนวทางดังนี้ ความจุ ปริมาตรไม่เกิน 100 มิลลิลิตร มล ความแตกต่างที่ยอมรับได้ ± 2 7 มล ปริมาตรไม่เกิน 120 มิลลิลิตร มล ความแตกต่างที่ยอมรับได้ ± 3 8 มล มิติเส้นผ่าศูนย์กลาง มิติใดที่ไม่เกิน 25 มิลลิเมตร มม ความแตกต่างที่ยอมรับได้ ± 0 8 มม มิติใดที่ไม่เกิน 50 มิลลิเมตร มม ความแตกต่างที่ยอมรับได้ ± 1 1 มม ความสูง ความสูงที่ไม่เกิน 25 มิลลิเมตร ความแตกต่างที่ยอมรับได้ ± 0 7 มม ความสูงที่ไม่เกิน 100 มิลลิเมตร ความแตกต่างที่ยอมรับได้ ± 0 7 มม ความแตกต่างที่ยอมรับได้นี้ของขนาดอื่นๆ อาจจะมีการแปรเปลี่ยนไปตามกรณี < < ย้อนกลับ บรรจุภัณฑ์อาหาร ตอนที่3อ่านต่อ บรรจุภัณฑ์อาหาร ตอนที่5 > > < < กลับสู่หน้าหลัก
อายุของผลิตภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 1
อายุของผลิตภัณฑ์อาหาร ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร การกำหนดอายุของผลิตภัณฑ์อาหารเป็นหัวใจสำคัญที่ผู้ประกอบการจำต้องกำหนด เนื่องจากเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยชี้แนวทางการลงทุนเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารด้วยการเลือกสรรจัดหาวัตถุดิบและสารปรุงแต่งต่างๆ พร้อมทั้งกำหนดคุณลักษณะของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ห่อหุ้มเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้าให้ได้ตามอายุที่กำหนด 4 1 การหาอายุของผลิตภัณฑ์อาหาร การหาอายุของผลิตภัณฑ์อาหารได้รับวิวัฒนาการมาเป็นเวลานานพอสมควร ในปัจจุบันความเป็นห่วงต่อความปลอดภัยของอาหาร สภาวะการแข่งขัน ข้อกฎหมายที่บังคับและลงโทษต่างมีบทบาทสร้างความกดดันให้ผู้ประกอบการแปรรูปอาหารให้ความสนใจในด้านนี้มากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการที่มีความมุ่งมั่นผลิตอาหารที่ปลอดภัย คุณภาพคงที่ มีคุณค่าทางโภชนาการ ต้องหาวิธีที่จะประเมินอายุของผลิตภัณฑ์อาหารให้ถูกต้องและสามารถผลิตอาหารให้เก็บได้ตามเวลาที่ต้องการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตที่ดี Good Manufacturing Practice หรือ GMP นิยาม อายุของผลิตภัณฑ์อาหาร คือ ช่วงระยะเวลาที่สินค้าอยู่ในบรรจุภัณฑ์และสามารถรักษา คุณภาพให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ภายใต้สภาวะการเก็บหนึ่งๆ จากคำนิยามจะพบว่าองค์ประกอบของอายุผลิตภัณฑ์อาหารแปรผันกับ 3 ปัจจัยหลัก คือ ตัวสินค้า บรรจุภัณฑ์ และสิ่งแวดล้อม หลังจากที่ได้รับการแปรรูปและผ่านกระบวนการผลิตแล้ว 4 1 1 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับอายุผลิตภัณฑ์อาหาร 1 สินค้า สินค้าจะเสื่อมคุณภาพด้วยปฏิกิริยาต่างๆ กัน สินค้าบางอย่างเมื่อได้รับความชื้นก็จะไม่เป็นที่ยอมรับ เช่น ข้าวเกรียบ สินค้าบางอย่างเมื่อทิ้งไว้นานจะเกิดกลิ่นเหม็นหืน เช่น อาหารขบเคี้ยว คุณภาพที่ยอมรับไม่ได้ของสินค้าย่อมต้องได้รับการแก้ไขปรับปรุง โดยการควบคุมคุณภาพและใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม เมื่อสามารถหาสาเหตุการเสื่อมคุณภาพของอาหารแล้ว จะต้องกำหนดว่ามาตรฐานหรือระดับคุณภาพขนาดไหนจะไม่เป็นที่ยอมรับ การกำหนดระดับคุณภาพที่ยอมรับไม่ได้นี้ จำเป็นต้องให้ชิมและสัมภาษณ์จากกลุ่มเป้าหมายที่เรียกว่า Sensory Panel กลุ่มเป้าหมายที่จะทดสอบการยอมรับของคุณภาพสินค้าจำต้องใกล้เคียงกลุ่มบริโภคที่จะซื้อจริงเมื่อวางจำหน่ายสินค้า อาหารที่จะนำมาประเมินอายุจะต้องบรรยายส่วนประกอบของอาหารและกระบวนการผลิตอย่างละเอียด เนื่องจากการแปรเปลี่ยนองค์ประกอบใดๆ องค์ประกอบหนึ่งย่อมมีผลกระทบต่ออายุของอาหารและรสชาติในการทดสอบเพื่อประเมินจำต้องเขียนองค์ประกอบต่างๆ กำกับไว้บนตัวอย่างให้ชัดเจน 2 บรรจุภัณฑ์ ตัวบรรจุภัณฑ์ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้สินค้าเสื่อมคุณภาพเร็วจนเกินไป อาหารบางชนิดที่ไวต่อความชื้น วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่นำมาใช้จะต้องมีความสามารถป้องกันความชื้นได้ ซึ่งวัดเป็นค่าอัตราการซึมผ่านของความชื้น WVTR Water Vapor Transmission Rate ส่วนอาหารบางชนิดที่มีไขมันมากจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศแล้วเกิดกลิ่นเหม็นหืน จำต้องเลือกวัสดุที่สามารถป้องกันการซึมผ่านของก๊าซออกซิเจนที่วัดด้วยค่าอัตราการซึมผ่านของออกซิเจน OTR Oxygen Transmission Rate ระดับการป้องกันของอาหารชนิดเดียวกันจะแตกต่างกันถ้าเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ไม่เหมือนกัน นอกจากความชื้นและออกซิเจนซึ่งเป็นศัตรูตัวสำคัญของอาหารแล้ว อัตราการซึมผ่านของกลิ่นหรือก๊าซอื่นๆ ก็จะมีผลต่อคุณภาพของอาหารแต่ไม่ร้ายแรงเท่ากับความชื้นและออกซิเจน วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่จะใช้ทดสอบประเมินหาอายุของอาหาร จำต้องกำหนดรายละเอียดให้ชัดเจน ตั้งแต่โครงสร้างรวมกระทั่งถึงแหล่งผลิต รายละเอียดที่จำเป็นต้องทราบคือ อัตราการซึมผ่านของสารที่มีโอกาสทำปฏิกิริยา แล้วส่งผลให้สินค้าเสื่อมคุณภาพ พื้นที่ผิวบรรจุภัณฑ์ น้ำหนักสินค้าและวิธีการปิดผนึกของบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น 3 สิ่งแวดล้อม การขนย้ายสินค้าอาหารจากแหล่งผลิตไปยังจุดขายย่อมมีโอกาสทำให้อาหารบอบช้ำและอาจเสียหายจนขายไม่ได้ ในทางปฏิบัติสินค้าจำพวกอาหารจะยินยอมให้เกิดความเสียหายได้ประมาณ 3 10 แปรตามมูลค่าของอาหาร อายุของอาหารแปรผกผันกับประสิทธิภาพในการขนส่ง สินค้าที่มีอายุสั้นยิ่งจำเป็นต้องใช้การขนส่งที่มีประสิทธิผลและใช้พาหนะที่มีความเร็วสูง เช่น การใช้เครื่องบินในการขนผักผลไม้สดที่มีอายุสั้นมาก เป็นต้น นอกจากนี้สินค้าอาหารที่เหมาะสมกับการขนส่งที่ใช้เวลา เช่น เรือและรถยนต์ จำเป็นต้องมีอายุสินค้าที่ยาวนาน ภายใต้กระแสความต้องการของสังคมที่จะประหยัดพลังงาน การขนส่งด้วยตู้ขนส่งที่มีการปรับอากาศก็จะมีโอกาสใช้น้อยลง และหันมาพัฒนาบรรจุภัณฑ์และสินค้าที่ไม่ต้องแช่เย็นมากขึ้นหรือที่เรียกว่า Shelf Stable Products ซึ่งสินค้าจำพวกนี้มีอายุการเก็บยาวนานขึ้น ความจำเป็นในการพัฒนาระบบบรรจุภัณฑ์และวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีสูงจึงจะมีมากขึ้น 4 1 2 กลไกที่ทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพ food spoilage ในสภาพความเป็นจริง ปฏิกิริยาต่างๆ ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารเสื่อมคุณภาพมีอยู่มากมายคุณภาพที่เสื่อมสามารถเห็นเป็นรูปธรรมได้แก่ สีที่เปลี่ยนไป รสชาติเปลี่ยน กลิ่นเปลี่ยน และที่สำคัญคือ คุณค่าทางอาหารหายไป ปฏิกิริยาต่างๆ ที่ทำให้คุณสมบัติทางกายภาพเหล่านี้เปลี่ยนไป อาจเกิดจากสาเหตุนานาประการดังต่อไปนี้ การเก็บเกี่ยววัตถุดิบ ผลจากจุลินทรีย์ การเสื่อมคุณภาพของเอนไซม์ระหว่างการผลิต การสูญเสียหรือการเพิ่มของความชื้น การทำปฏิกิริยาของน้ำตาลและกรดอะมิโนในอาหาร การตกผลึกของแป้งส่งกลิ่นเหม็น การทำปฏิกิริยาของไขมัน การออกซิเดชั่นทำให้เหม็นหืนและสูญเสียคุณค่าอาหาร การแยกตัว Migration ของบรรจุภัณฑ์ การซึมผ่านวัสดุบรรจุภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อมภายนอก การเร่งปฏิกิริยาของแสง ทำให้คุณภาพเสื่อม การเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของอนุมูลอิสระ Oxidative Free Radicals อื่นๆ ปฏิกิริยาที่ยกมานี้ได้รับการศึกษาจากนักวิจัยทั่วโลก พอสรุปแยกประเภทของปฏิริยาได้เป็น 3 ประเภท คือ 1 ปฏิกิริยาชีวเคมี เกิดจากจุลินทรีย์ที่ใช้สารอาหารในการเติบโต 2 ปฏิกิริยาทางเคมี เกิดจากสารพิษตกค้าง หรือการแยกตัวของบรรจุภัณฑ์ 3 ปฏิกิริยาทางกายภาพ เกิดจากการเร่งปฏิกิริยาของแสง การสูญเสียหรือเพิ่มของความชื้น บางปฏิกิริยาที่ทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพไม่สามารถทำความเข้าใจได้ถ่องแท้ ดังนั้นการที่จะยืดอายุของผลิตภัณฑ์ด้วยการเข้าใจและอธิบายปฏิกิริยาแต่ละอย่างนั้น จึงเป็นไปได้ยากพอสมควร แต่ความจำเป็นในการประเมินและกำหนดอายุของผลิตภัณฑ์อาหาร ทำให้ใช้วิธีการที่ใช้บรรทัดฐานของการยอมรับจากกลุ่มเป้าหมายเป็นที่ตั้ง ถ้าสภาวะการเสื่อมคุณภาพของอาหารเกิด จนกระทั่งถึงระดับที่กลุ่มเป้าหมายยอมรับไม่ได้เป็นส่วนใหญ่ เรียกว่า มูลเหตุหลักที่ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารเสื่อมคุณภาพ Primary Product Quality Attribute และอาจมีมูลเหตุรองต่อๆ ไปเป็นอันดับ 2 และ 3 Secondary Tertiary Product Quality Attribute จากมูลเหตุต่างๆ เหล่านี้ ค่อยวิเคราะห์สาเหตุและทำการปรับปรุงพัฒนาแก้ไขกันต่อไป เพื่อให้ได้อายุของผลิตภัณฑ์อาหารที่ต้องการ โดยไม่เกิดการเสื่อมคุณภาพดังกล่าว อาหารมีโอกาสเสื่อมคุณภาพด้วยปฏิกิริยาทางกายภาพและเคมีที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบข้างอาหาร กลไกที่มีส่วนทำให้สินค้าอาหารเสื่อมคุณภาพได้มีดังนี้คือ 1 อากาศ ออกซิเจนในอากาศนับได้เป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของสินค้าอาหาร เนื่องจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เกิดกับไขมันและโปรตีนในอาหาร ทำให้เสียรสชาติและเกิดกลิ่นหืน แหล่งที่ปล่อยออกซิเจนมาทำปฏิกิริยาอาจจะมีอยู่ในตัวอาหารเองหรือมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ดังนั้น ในการบรรจุอาหารจึงต้องพยายามลดปริมาตรของอากาศภายในบรรจุภัณฑ์ HeadSpace ให้น้อยลงเพื่อลดโอกาสที่ออกซิเจนจะทำปฏิกิริยากับอาหาร บรรจุภัณฑ์สุญญากาศ Vacuum Packaging ใช้หลักการเดียวกันนี้ โดยการดูดเอาอากาศภายในบรรจุภัณฑ์ออกเกือบหมด เพื่อลดโอกาสในการทำปฏิกิริยาของออกซิเจนกับอาหาร นับเป็นวิธีการยืดอายุของผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิคทางด้านบรรจุภัณฑ์ 2 ความชื้น ความชื้นเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์อาหาร ความชื้นมีผลต่อเนื้อสัมผัส เช่น ความนุ่ม ความเหนียว ความกรอบ เป็นต้น มีผลต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ซึ่งทำให้อาหารเน่าเสีย food spoilage ได้ มีผลต่อปฏิกิริยาเคมีและชีวเคมี เช่น ปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสของไขมัน ปฏิกิริยาที่เกิดจากการกระทำของเอนไซม์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ย่อมกล่าวได้ว่า ความชื้นเปรียบเสมือนดาบ 2 คมสำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร ความชื้นที่มีจำนวนเหมาะสมจะเป็นองค์ประกอบในการช่วยถนอมรักษาคุณภาพอาหารด้วยการลดปฏิกิริยาชีวเคมีและเคมีของอาหาร ถ้าความชื้นมีน้อยเกินไปจะทำให้อาหารเปราะแตกง่าย ในการแปรรูปอาหารจึงจำเป็นที่จะต้องควบคุมปริมาณความชื้นให้อยู่ในระดับที่ยอมรับ ดังเช่น การอบแห้ง dehydration ซึ่งเป็นการสกัดน้ำออกจากอาหาร ปริมาณของน้ำที่จะช่วยป้องกันการเสื่อมเสียของอาหารอันเนื่องมาจากจุลินทรีย์ การอบแห้งจะต้องดึงน้ำออกจากอาหารให้เหลือต่ำกว่าร้อยละ 10 ขึ้นกับชนิดของอาหาร และหากต้องการที่จะป้องกันการเสื่อมเสีย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีควรให้มีปริมาณน้ำในอาหารต่ำลงอีกจนถึงประมาณร้อยละ 5 ตารางที่ 4 1 จำนวนวันที่อาหารจำพวกเมล็ดธัญพืชสามารถเก็บโดยไม่เสีย ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และปริมาณความชื้น อุณหภูมิในเมล็ดธัญพืช ° C ระยะเวลา วัน ที่สามารถเก็บได้ที่ปริมาณความชื้น ต่างๆ ในเมล็ดธัญพืช 14 15 5 17 10 00 226 วัน 128 วัน 64 วัน 15 5 128 วัน 64 วัน 32 วัน 21 1 64 วัน 32 วัน 16 วัน 26 7 32 วัน 16 วัน 8 วัน 32 2 16 วัน 8 วัน 4 วัน 37 8 8 วัน 4 วัน 2 วัน แหล่งที่มา เคียง เมฆวเศรษฐ์พันธ์ ปุ่น คงเจริญเกียรติ วิบูลย์เกียรติ โมฬีรตานนท์ คู่มือบรรจุภัณฑ์อาหารสำหรับอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปขนาดเล็กและครัวเรือน จากตารางข้างต้น ถ้าผู้ผลิสามารถควบคุมปริมาณความชื้นไว้ที่ 14 และเก็บที่อุณหภูมิ 26 7° C จะเก็บอาหารแปรรูปได้นานราว 1 เดือน 32 วัน แต่ถ้าอบไม่แห้งสนิทมีความชื้น 17 เมื่อเก็บที่อุณหภูมิเดียวกันจะสามารถเก็บได้นานเพียง 1 สัปดาห์ 8 สัปดาห์ สำหรับบรรจุภัณฑ์ที่ควรเลือกใช้ จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1 ป้องกันความชื้นได้ดี ตัวอย่างเช่น HDPE OPP หรือ OPP เคลือบด้วย PVDC 2 ป้องกันการซึมผ่านของออกซิเจนได้ดี เช่น PET หรือ ไนลอน 3 ตัวบรรจุภัณฑ์ควรพิมพ์เป็นสีทึบ เพื่อป้องกันแสงแดดในการเร่งปฏิกิริยา 3 กลิ่น กลิ่นหอมที่ชวนรับประทานของผลิตภัณฑ์อาหารเป็นส่วนผสมของสารเคมีหลายชนิด และกลิ่นหอมนี้เป็นคุณสมบัติเด่นประจำอาหารแต่ละชนิด ส่วนผสมของเคมีอาจมีมากถึง 20 ชนิด ตัวอย่างเช่น ในน้ำส้มที่ให้กลิ่นส้มอันน่ารับประทาน โดยปกติกลิ่นเหล่านี้จะระเหยไปเมื่อถูกความร้อน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ที่จะถนอมรักษากลิ่นเหล่านี้ไว้ในบรรจุภัณฑ์ไม่ให้หลุดหายมากเกินไปนักระหว่างการผ่านกระบวนการผลิต เช่น การฆ่าเชื้อ การเก็บรักษาคงคลัง 4 การแยกตัว Migration การแยกตัวของสารจากบรรจุภัณฑ์เข้าสู่อาหารมักเกิดกับพลาสติก เนื่องจากพลาสติกโดยปกติประกอบด้วยโมเลกุลขนาดใหญ่ แต่มีส่วนผสมของสารโมเลกุลขนาดเล็กที่มีโอกาสแยกตัวออกมาแล้วเข้าไปผสมกับอาหารที่บรรจุอยู่ภายใน ซึ่งถ้ามีการแยกตัวออกมาจะไม่ปลอดภัยต่อการบริโภคเข้าสู่ร่างกาย โดยปกติการแยกตัวดังกล่าวเกิดขึ้นที่ปริมาณน้อยจนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้และไม่เป็นอันตรายเพราะวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีของวัสดุศาสตร์และการแปรรูป นอกจากว่าการแยกตัวนี้จะมีผลทำให้กลิ่นผิดปกติขึ้นมาก็จะไม่เป็นที่ยอมรับ 5 แสง แสงที่ส่องผ่านบรรจุภัณฑ์มักจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดการเสื่อมคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารปรากฏการณ์ที่พบได้บ่อยมี 2 กรณี คือ 1 แสงจะทำให้คุณค่าอาหารลดลงแม้ว่าจะไม่มีผลต่อรสชาติ ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุด คือ นม สารที่มีคุณค่าต่อสุขภาพในนมที่เรียกว่า Riboflavin จะเสื่อมคุณภาพเพราะแสง โดยแสงเหนือม่วง Ultraviolet 2 มีการเปลี่ยนแปลงต่อรสชาติทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารไม่เป็นที่ยอมรับ เบียร์ที่เห็นอยู่ทั่วไปมักบรรจุในขวดสีชาหรือสีเขียว เนื่องจากแสง สามารถทำให้รสชาติเปลี่ยนได้ หรือซอสมะเขือเทศจะเปลี่ยนเป็นสีเข้มเมื่อได้รับแสงและมีออกซิเจนอยู่มากพอ กลไกการทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพของแสงมักจะเกิดจากปฏิกิริยาของเอนไซม์ Enzyme วิธีแก้ คือ พยายามใช้บรรจุภัณฑ์ที่กรองแสงได้มากดังแสดงในรูปที่ 4 1 รูปที่ 4 1 การเปรียบเทียบความสามารถของการกรองแสงของพลาสติกแต่ละชนิด แหล่งที่มา เคียง เมฆวเศรษฐ์พันธ์ ปุ่น คงเจริญเกียรติ วิบูลย์เกียรติ โมฬีรตานนท์ คู่มือบรรจุภัณฑ์อาหารสำหรับอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปขนาดเล็กและครัวเรือน รูปที่แสดงนี้จะเห็นได้ว่าวัสดุบรรจุภัณฑ์สามารถกรองแสงได้ต่างกัน จะพบว่า LDPE G จะปล่อยให้แสงผ่านได้มากไม่ว่าแสงมีความยาวคลื่นใดๆ ในขณะที่ HDPE A ยอมให้แสงผ่านได้น้อยกว่า นอกจากนี้ การส่องผ่านของแสงยังทำให้นมสูญเสียวิตามินไปตามปริมาณแสงที่ผ่าน ตารางที่ 4 2 ความสูญเสียวิตามิน เนื่องจากแสงผ่านวัสดุบรรจุภัณฑ์ ที่ความเข้มแสง 1076 ลักซ์ เป็นเวลานาน 24 ชั่วโมงที่ 4° C วิตามิน ปริมาณปกติ มก ล ความสูญเสียวิตามินของภาชนะบรรจุนม กล่องกระดาษ ถุงพลาสติกใส ขวด PE ขวด PE ดำ ซี 10 0 23 6 86 2 90 9 13 0 บี2 17 0 7 1 11 1 22 3 0 0 แหล่งที่มา เคียง เมฆวเศรษฐ์พันธ์ ปุ่น คงเจริญเกียรติ วิบูลย์เกียรติ โมฬีรตานนท์ คู่มือบรรจุภัณฑ์อาหารสำหรับอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปขนาดเล็กและครัวเรือน ส่วนเปลวอะลูมิเนียมแทบไม่ให้แสงผ่านได้เลยด้วยเหตุนี้กล่องนมหรือกล่องรูปอิฐที่ผ่านระบบการฆ่าเชื้อแบบ UHT จึงมีชั้นของเปลวอะลูมิเนียมแทรกอยู่ชั้นหนึ่งในจำนวน 7 ชั้น อันได้แก่ PE กระดาษ PE กระดาษ PE อะลูมิเนียม PE ซึ่งสามารถเก็บนมได้นานถึง 6 เดือน 6 ความร้อนและความเย็น แม้ว่าในการถนอมอาหารบางชนิดจะใช้ความร้อนในการช่วยการรักษาคุณภาพอาหาร แต่การใช้ความร้อนหรือความเย็นเกินขนาดกลับจะเป็นผลร้ายต่อคุณภาพอาหาร การได้รับความร้อนเกินขนาดจะทำให้สูญเสียคุณค่าทางอาหารที่เรียกกันว่าสุกมากเกินไป Overcook ในทางกลับกันการให้ความเย็นมากเกินไปจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่าไหม้ด้วยความหนาว Freeze Burn เหตุการณ์ทั้ง 2 นี้สามารถผ่อนหนักเป็นเบาได้ด้วยการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ความร้อนที่มากเกินไปแก้ไขได้โดยการเลือกวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ทำหน้าที่เป็นฉนวนความร้อนได้ดีขึ้น ส่วนการถูกไฟไหม้ด้วยความหนาวนั้นใช้ฟิล์มบรรจุภัณฑ์ห่อผลิตภัณฑ์อาหารให้แน่นด้วยวัสดุป้องกันความชื้น 7 อันตรายทางกายภาพ ในระหว่างการขนส่ง ผลิตภัณฑ์อาหารมีโอกาสเสียดสี กระแทก กดทับ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีผิวเปราะบาง เช่น ผัก ผลไม้สด ของทอด ย่อมมีโอกาสช้ำและแตกหัก เปิดโอกาสให้จุลินทรีย์และสัตว์ตัวเล็กๆ เช่น มด เข้าไปทำลายอาหารได้ ความเสียหายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นนี้ย่อมลดโอกาสการจำหน่ายของสินค้า มิฉะนั้นต้องขายลดราคา 8 สัตว์ต่างๆ ประเมินกันว่า ผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตผลทางเกษตรที่มีอยู่ในโลกนี้ ประมาณ 30 ถูกทำลายด้วยสัตว์ตัวเล็กตัวน้อย ตั้งแต่หนู ตัวแมลง โดยเฉพาะในการเก็บเกี่ยวหรือการเก็บในคลังสินค้าของวัตถุดิบต่างๆ ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจมีตั้งแต่ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารหรือผลิตผลทางการเกษตรปนเปื้อน ลดคุณค่าทางอาหาร หรือเสียหายเนื่องจากกลายเป็นอาหารของสัตว์เหล่านี้ไป การลดความเสียหายจากการทำลายของสัตว์เกี่ยวเนื่องกับการจัดการ การขนย้าย การเก็บคงคลัง บรรจุภัณฑ์หรือภาชนะใดๆ ที่ใช้จำต้องปิดสนิท วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่สามารถป้องกันสัตว์เหล่านี้ได้ดี คือ แก้วและกระป๋อง ในขณะที่วัสดุบรรจุภัณฑ์อื่นๆ นับเป็นอาหารชั้นดีของสัตว์ ดังนั้นมาตรการการป้องกันสัตว์เหล่านี้โดยใช้บรรจุภัณฑ์จึงไม่สัมฤทธิ์ผลเท่ากับการจัดการการดูแลเก็บสินค้าให้ดี กล่าวโดยสรุปอาหารสามารถเสื่อมคุณภาพจนกระทั่งเน่าเสียได้โดยธรรมชาติ องค์ประกอบต่างๆ ของกระบวนการผลิตและสภาวะการเก็บต่างมีผลทำให้อาหารแปรเปลี่ยนคุณภาพได้ ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพของอาหารสรุปได้ด้วยแผนภูมิข้างล่างนี้ รูปที่ 4 2 ปัจจัยในการเลือกบรรจุภัณฑ์อาหาร ปฏิกิริยาทางชีวภาพที่เกิดภายในผลิตภัณฑ์อาหารมีทั้งแบคทีเรีย ยีสต์ เชื้อรา พร้อมทั้งสารต่างๆที่จุลินทรีย์ผลิต ถ้าผลิตภัณฑ์อาหารไม่ได้รับการเตรียมอย่างถูกสุขลักษณะ นอกเหนือจากนี้ ภายในผลิตภัณฑ์อาหารเองจะมีปฏิกิริยาทางเคมีเกิดขึ้น เช่น ปฏิกิริยาระหว่าง กรดอะมิโนกับน้ำตาลทำให้เกิด Browning Reactionผลจากปฏิกิริยาต่างๆ เหล่านี้แสดงออกทางกายภาพ คือ การหดตัว การหลอมละลาย การตกผลึก เป็นต้น < < กลับสู่หน้าหลักอ่านต่ออายุของผลิตภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 2> >
การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 1
การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหารมีมูลค่าแตกต่างกันมาก ตั้งแต่เนื้อวัวโคขุนชิ้นละเป็นร้อยเป็นพันบาท จนกระทั่งถึงลูกหยีเม็ดละไม่ถึงบาท การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เอื้ออำนวยระดับการป้องกันจึงแตกต่างกันในเรื่องของค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของวัสดุและระบบบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ ถึงแม้ว่าบรรจุภัณฑ์จะสามารถป้องกันอันตรายจากภายนอก เช่น แสงแดด ฝน หรือทนต่อการโยน การกระแทกกันระหว่างการขนส่งได้ แต่ถ้าบรรจุภัณฑ์ไม่สามารถรักษาคุณภาพของอาหารได้โดยปล่อยให้สินค้าที่อยู่ภายในเน่าเสีย บรรจุภัณฑ์นั้นย่อมใช้งานไม่ได้ ด้วยเหตุผลนี้จึงพอสรุปได้ว่า หัวใจสำคัญของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ คือ การป้องกันและรักษาคุณภาพอาหารด้วยต้นทุนที่เหมาะสม เมื่อบรรจุภัณฑ์สามารถทำหน้าที่เป็นพาหะนำส่งไปยังจุดขายด้วยโครงสร้างที่ออกแบบมาอย่างดี ณ สถานที่จัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ต้องแปลงกายทำอีกหน้าที่หนึ่ง คือ การช่วยส่งเสริมการขาย ณ จุดขาย ซึ่งอาจเป็นตลาดในหมู่บ้าน ในเมือง หรืออาจจะไปขายถึงซุปเปอร์มาร์เก็ต ความสามารถที่จะช่วยชักชวนเชื้อเชิญอย่างเงียบอย่างเงียบๆ ให้ผู้ซื้อตัดสินใจซื้อสินค้านี้เป็นบทบาทของการออกแบบกราฟฟิกของบรรจุภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ จึงแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ 1 โครงสร้าง เป็นการออกแบบทางด้านเทคนิคและทางกายภาพของบรรจุภัณฑ์ โดยเน้นกระบวนการบรรจุใส่ การรักษาคุณภาพด้วยการประเมินอายุของอาหาร Shelf Life และการป้องกันที่เหมาะสมต่อการขนส่งและการกระจายสินค้า 2 กราฟฟิก เป็นการออกแบบรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างแรงจูงใจในการซื้อและสื่อความหมายให้แก่ผู้บริโภค พร้อมทั้งสามารถโน้มน้าวให้เกิดการสั่งซื้อ การออกแบบกราฟฟิกจะเน้นในเรื่องของการตกแต่งรูปลักษณ์ด้วยภาพพจน์ที่สร้างความประทับใจซึ่งจะกล่าวถึงในบทต่อไป 3 1 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เป็นงานที่ต้องทำอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากไม่มีบรรจุภัณฑ์ใดในโลกนี้จะสามารถใช้ได้ตลอดกาล สาเหตุเพราะการเปลี่ยนแปลงทางด้านการตลาด และเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยมของผู้บริโภค รวมทั้งระบบการจัดจำหน่ายที่พัฒนาขึ้นและเทคโนโลยีต่างๆ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องทางด้านบรรจุภัณฑ์ จำต้องตื่นตัวอยู่เสมอและพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับต้นทุน ตลาด ภาพพจน์ กราฟฟิก การใช้งานและความต้องการในการรักษาสิ่งแวดล้อม 3 1 1 มูลเหตุที่ต้องมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ มูลเหตุที่ต้องมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์มีหลายประการ มูลเหตุหลักเกิดจากมูลเหตุทางด้านการตลาดและการผลิต ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ Product Life Cycle ดังแสดงในรูปที่ 3 1 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1 ขั้นแนะนำผลิตภัณฑ์ Introduction 2 ขั้นตลาดเจริญเติบโต growth 3 ขั้นตลาดอิ่มตัว maturity 4 ขั้นตลาดตกต่ำ decline รูปที่ 3 1 ขั้นตอนวัฏจักรของผลิตภัณฑ์ http commons wikimedia org wiki File Product life cycle png สถานะของส่วนผสมทางการตลาดในแต่ละขั้นตอนของวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์สามารถสรุปอย่างสั้นๆ ได้ด้วยตารางที่ 3 1 ตารางที่ 3 1 สถานะของส่วนผสมทางการตลาดในแต่ละขั้นตอนของวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ส่วนผสมทางการตลาด ขั้นตอนวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ 1 แนะนำ 2 เติบโต 3 อิ่มตัว 4 ตกต่ำ ก ผลิตภัณฑ์ ชนิดเดียว หลายชนิด แข่งขัน เหลือน้อยราย ข การจัดส่ง เลือกระบบ ที่เหมาะสม หลายระบบ ระบบที่จำเป็น ค การส่งเสริม แนะนำ เร่งเร้า ทุกรูปแบบ แยกประเภท ง ราคา เจาะตลาด สูงสุด ตัดราคา ลดสุดๆ พิจารณามูลเหตุของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ อาจสืบเนื่องมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้ 1 มูลเหตุจากภายนอกองค์กร เริ่มจากผลิตภัณฑ์อันเป็นส่วนผสมการตลาดอันดับแรก มูลเหตุภายนอกองค์กรที่ทำให้ต้องมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์มักจะเกิดจากสภาวะคู่แข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการเติบโตหรือขั้นตอนการแข่งขันวัฏจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนที่จะถึงขั้นตกต่ำ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่มักจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อดึงหรือยืดขั้นอิ่มตัวให้ยาวออกไปอีกระยะหนึ่งแม้ว่ากำไรจะเลยสูงสุดไปแล้วก็ตาม การเปลี่ยนช่องทางการจัดจำหน่าย เช่น การเข้าสู่ระบบการขายจำพวกไฮเปอร์มาร์เก็ตย่อมมีความจำเป็นต้องพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสม เช่น การรวมกลุ่มสินค้าต่อหน่วยขนส่ง การเปลี่ยนระบบการจัดส่ง เช่น การขนไปยังศูนย์รวมการจัดส่งหรือที่เรียกว่า Distribution Center หรือ D C ของคู่ค้า บรรจุภัณฑ์ที่ใช้จำต้องได้รับการพัฒนาใหม่ให้เหมาะสมกับการทำงาน ณ D C ของคู่ค้า มูลเหตุสำคัญภายนอกอีกประการหนึ่ง คือ กฎหมาย เมื่อไรก็ตามที่มีการออกกฎข้อบังคับใหม่เกี่ยวกับฉลากและบรรจุภัณฑ์ย่อมต้องมีการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการออกกฎให้แสดงคุณค่าทางโภชนาการ nutrition label บนบรรจุภัณฑ์อาหาร ย่อมต้องมีการออกแบบฉลากอาหารใหม่ เป็นต้น ตัวอย่างที่ยกมานี้มีเพียงบางตัวอย่างที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ปัจจัยที่นำไปสู่การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ยังมีอีกมากมายขึ้นอยู่กับผู้บริหารว่าจะนำเอาบรรจุภัณฑ์มาเป็นกลยุทธ์ทางด้านการตลาดมากน้อยแค่ไหน 2 มูลเหตุจากภายในองค์กร จากหลักการวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ สินค้าแต่ละอย่างมีโอกาสเข้าสู่ขั้นตอนการตกต่ำและหายไปจากตลาด ด้วยเหตุนี้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมอาหารจึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องสรรหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาด ดังนั้นปัจจัยภายในองค์กรอันดับแรกในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ คือ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าใหม่ ในการออกแบบควรคำนึงถึงแต่ละขั้นตอนของวัฏจักรชีวิตและควรจะมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์เตรียมเอาไว้ล่วงหน้า เมื่อส่วนผสมการตลาดมีการเปลี่ยนแปลง แนวทางการพัฒนามักจะเป็นการเสริมหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เช่น การปรับปรุงพัฒนาความสวยงาม การปรับปรุงเพื่อยกระดับการป้องกันสินค้า การปรับปรุงเพื่อเพิ่มสมรรถนะการใช้งานและเอื้ออำนวยความสะดวกของบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น 3 มูลเหตุจากด้านเทคโนโลยี กระแสโลกานุวัติของโลกธุรกิจ วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์มีเกิดขึ้นเสมอ ตัวอย่างเช่น การใช้สัญลักษณ์รหัสแท่ง bar code ที่จะนำไปสู่การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การใช้ระบบการพิมพ์แบบไร้สัมผัส Non Contact การบรรจุภายใต้สภาวะปลอดเชื้อ Aseptic packaging เป็นต้น วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีเหล่านี้ล้วนมีบทบาทต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ควรจะพัฒนาให้เกิดผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว ผลกระทบในระยะสั้น คือ การส่งผลให้ยอดขายพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว แผลกระทบในระยะยาวเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าและเป็นสิ่งที่พิสูจน์อย่างแท้จริงว่าการพัฒนาบรรจุภัณฑ์นั้นสำเร็จหรือไม่ คือ ความสามารถในการดึงให้ผู้บริโภคและกลุ่มเป้าหมายมาซื้อซ้ำอยู่เรื่อยๆ 3 1 2 ปัจจัยที่ต้องพิจารณา ข้อมูลเบื้องต้นที่ต้องคำนึงในการออกแบบ คือ 1 สินค้านั้นคืออะไร การออกแบบต้องเริ่มต้นด้วยมีข้อมูลทางด้านสินค้าอย่างเพียงพอ ได้แก่ ประเภทของสินค้า คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี ขนาด รูปทรง ปริมาตร ส่วนประกอบหรือส่วนผสม คุณค่าทางโภชนาการ กระบวนการผลิตหรือกรรมวิธีการแปรรูปอาหาร การตรวจสอบคุณภาพ ข้อแนะนำในการบริโภค และสินค้าจะเสื่อมคุณภาพจากปฏิกิริยาอะไรเพื่อจะได้นำมาออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ให้ลวดลายสีสันอย่างเหมาะสม สร้างการยอมรับจากผู้ซื้อ และที่สำคัญที่สุด คือ การสร้างจุดขายของสินค้า Unique Selling Point ด้วยเหตุนี้ คุณสมบัติของสินค้าที่ต้องพิจารณาจึงมีดังต่อไปนี้ 1 คุณสมบัติทางกายภาพ ประกอบด้วยของแข็ง ของเหลว ผู้ออกแบบต้องทราบความเหนียวข้นในกรณีที่เป็นของเหลว และต้องรู้น้ำหนัก ปริมาตรหรือความหนาแน่นสำหรับสินค้าที่เป็นของแห้ง 2 คุณสมบัติทางเคมี คือ สาเหตุที่ทำให้สินค้าอาหารเน่าเสีย food spoilage หรือเสื่อมคุณภาพจนไม่เป็นที่ยอมรับได้ และปฏิกิริยาอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น 3 คุณสมบัติพิเศษอื่น ๆ เช่น กลิ่น การแยกตัว เป็นต้น คุณสมบัติดังกล่าวทั้ง 3 ข้อเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของสินค้าที่จำเป็นต้องทราบเพื่อเริ่มต้นเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม 2 ประโยชน์และความต้องการของผู้บริโภค การกำหนดเป้าหมายของผู้บริโภคและการวิจัยตลาดย่อมสามารถประเมินว่าจุดขายของสินค้าสามารถสนองความต้องการของผู้บริโภค นอกจากนี้ยังต้องทราบถึงปริมาณการบริโภคแต่ละครั้ง การนำไปปรุงร่วมกับอาหารชนิดอื่น และโอกาสในการบริโภคหรือฤดูในการเลือกซื้อ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้สามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค เช่น การบรรจุรวมห่อ การออกแบบบรรจุภัณฑ์และลวดลายให้สอดคล้องกับเทศกาล การออกแบบให้เป็นของกำนัล เป็นต้น เพื่อเป็นการสนองความต้องการของผู้ซื้อ และทำให้สินค้าของเรามีความแตกต่างหรือสร้างคุณประโยชน์มากกว่าคู่แข่งขันไม่ว่าในแง่ของคุณค่าอาหารหรือความสะดวกในการบริโภค ปัจจัยในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวหากนำมาเปรียบกับเรื่องใกล้ตัว ก็คงคล้ายคลึงกับการจ้างช่างตัดเสื้อผ้าตัดเย็บเสื้อผ้าให้ การตัดเย็บเสื้อผ้าเริ่มจากการวัดตัวซึ่งก็คือการเก็บข้อมูลของสินค้าของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การที่คนบางคนแพ้ผ้าบางอย่างก็คงเหมือนกับการทดสอบความเข้ากันได้ Compatibility ของผลิตภัณฑ์อาหารกับวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่นักออกแบบหรือช่างตัดเสื้อจำต้องทราบ เมื่อผ่านขั้นตอนการวัดตัวแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือจะออกแบบเสื้อผ้าใส่ในงานอะไร เช่น ชุดกลางคืนสำหรับงานราตรีสโมสร ชุดกลางวันสำหรับทำงาน เป็นต้น ขั้นตอนนี้เหมือนกับการเก็บข้อมูลความต้องการของผู้บริโภคในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารขั้นตอนต่อไปจึงเป็นการออกแบบเสื้อผ้าหรือตัวบรรจุภัณฑ์ 3 บรรจุภัณฑ์ จากปัจจัยทั้ง 2 ดังกล่าวมาแล้ว ปัจจัยที่สาม คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ คุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องพิจารณามีดังนี้ 1 พิจารณาตามหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ การป้องกัน การรักษาคุณภาพ ความสะดวกในการใช้งาน ความประหยัดในการขนส่ง การออกแบบกราฟฟิกให้สอดคล้องกับความต้องการ การใช้ฉลากและส่วนประกอบของฉลาก โดยแบ่งเป็น บรรจุภัณฑ์ชั้นใน primary packaging พิจารณาความเข้ากันได้ระหว่างสินค้าและบรรจุภัณฑ์ Compatibilty ความสามารถในการดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สอง secondary packaging ความจำเป็นในการรวมกลุ่มบรรจุภัณฑ์ชั้นในเข้าด้วยกัน ความจำเป็นในการนำบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สองวางขาย ณ จุดขาย บรรจุภัณฑ์ขนส่ง distribution packaging ความสามารถในการป้องกันสินค้า ข้อมูลที่พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ที่จะช่วยให้ถึงจุดมุ่งหมายปลายทางด้วยความลอดภัย 2 พิจารณาถึงคุณสมบัติทางกายภาพของบรรจุภัณฑ์ สามารถแบ่งบรรจุภัณฑ์ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ บรรจุภัณฑ์แข็งตัว Rigid packaging บรรจุภัณฑ์กึ่งแข็ง Semi rigid packaging และบรรจุภัณฑ์อ่อนนุ่ม Flexible packaging ดังมีรายละเอียดดังนี้ บรรจุภัณฑ์แข็งตัว Rigid Packaging เช่น แก้ว กระป๋องโลหะ can และขวด พลาสติก ส่วนมากเป็นพลาสติกฉีด บรรจุภัณฑ์ชนิดนี้มีความแข็งแรง คงรูปได้ดี ลำเลียงบนสายพาน conveyor ได้สะดวก จึงเหมาะสำหรับการใช้งานกับเครื่องบรรจุของเหลวด้วยระบบสุญญากาศ และระบบที่ใช้ความดันได้ บรรจุภัณฑ์กึ่งแข็ง Semi Rigid Packaging เช่น ขวดพลาสติกแบบขึ้นรูปด้วยการเป่า ถาดโฟม ถ้วยไอศกรีม ขึ้นรูปด้วยความร้อนและสุญญากาศ บรรจุภัณฑ์ชนิดนี้มีข้อจำกัดในการรับแรงอัดและแรงดันจึงบรรจุแบบกระบอกสูบอัดใส่ในถุงบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์อ่อนนุ่ม Flexible Packaging เช่น ซองและถุง บรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ไม่สามารถรักษามิติหรือรูปทรงได้จึงต้องมีอุปกรณ์ช่วยในระหว่างทำการบรรจุของเหลว และมักใช้ระบบการบรรจุแบบกระบอกสูบอัดใส่ในถุงบรรจุภัณฑ์ นอกจากปัจจัยหลัก 3 ปัจจัยดังกล่าวมาแล้ว ปัจจัยอื่นๆ ที่พิจารณาประกอบได้แก่ 4 การตลาด การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สนองกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย จำต้องวิเคราะห์จุดยืนของสินค้าและบรรจุภัณฑ์เทียบกับคู่แข่งขันที่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน ฝ่ายการตลาดหน้าที่เป็นผู้หาข้อมูลดังกล่าวและป้อนให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลของปริมาณสินค้าที่จะบรรจุ ขนาด จำนวน บรรจุภัณฑ์ต่อหน่วยขนส่ง อาณาเขตของตลาด เป็นต้น 5 ระบบขนส่งสินค้าและคลังสินค้า ศึกษาวิธีและอุปกรณ์การขนย้ายและการเก็บคงคลัง เช่น การใช้กะบะเป็นพาหนะสำหรับใช้ในระบบการขนย้าย ความจำเป็นในการใช้สัญลักษณ์รหัสแท่งบนบรรจุภัณฑ์ขนส่ง เป็นต้น 6 กฎหมาย การออกแบบกราฟฟิกของผลิตภัณฑ์อาหารเป็นไปตามข้อบังคับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องสอดคล้องกับข้อบังคับของสำนักงานอาหารและยา อย นอกจากนี้ยังต้องศึกษาการใช้สัญลักษณ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น 7 ปัจจัยอื่นๆ สภาวะคู่แข่งขันรวมกระทั่งถึงการเคลื่อนไหวของคู่แข่ง สถานะของผลิตภัณฑ์ตามวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ เป็นต้น 3 1 3 องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรทุกแห่งจะประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ ที่แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกัน ในองค์กรใหญ่อาจจะมีฝ่ายบริหารเป็นผู้รับผิดชอบ ในขณะที่องค์กรเล็กอาจจะเป็นหัวหน้าหรือเจ้าของกิจการทำหน้าที่ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ องค์กรและหน่วยงานต่างๆ มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ 1 ฝ่ายบริหาร ตัวประธานฝ่ายบริหารหรือเจ้าของกิจการย่อมมีส่วนในการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบไปขัดกับกฎหมายบ้านเมือง ตัวประธานฝ่ายบริหารอาจจะต้องรับผิดชอบ สาเหตุที่ฝ่ายบริหารต้องมาเกี่ยวข้องเพราะว่าบรรจุภัณฑ์เป็นตัวเชื่อมระหว่างองค์กรและลูกค้า ในบริษัทใหญ่ๆ ของไทยเริ่มมีบุคลากรเชี่ยวชาญเฉพาะมาดูแลรับผิดชอบทางด้านบรรจุภัณฑ์มากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงของฝ่ายบริหารและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เป็นกลยุทธ์ทางด้านการตลาด 2 ฝ่ายการตลาด บทบาทของการตลาดเป็นการสนองความต้องการของผู้บริโภคด้วยสินค้าที่จำหน่าย โดยมีบรรจุภัณฑ์เป็นอาวุธสำคัญในการโน้มน้าวให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบการตลาดสมัยใหม่ การส่งเสริมการจำหน่าย ณ จุดขายก็ต้องใช้บรรจุภัณฑ์เป็นหัวหอกสำคัญ ฝ่ายการตลาดจะพิจารณาบรรจุภัณฑ์เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะให้บรรลุถึงจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ 3 ฝ่ายผลิต สินค้าที่บรรจุเสร็จเรียบร้อยในบรรจุภัณฑ์จะมีต้นทุนต่ำหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของฝ่ายผลิต นอกจากนี้ยังเป็นหน่วยงานที่จะควบคุมคุณภาพให้คงที่สม่ำเสมอ ในการทำงานฝ่ายผลิตมักจะมีความเห็นขัดแย้งกับฝ่ายการตลาด ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่จะหาทางออกที่ดีที่สุดระหว่างขั้นตอนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ฝ่ายผลิตจะร่วมวิเคราะห์เรื่องความเข้ากันได้ระหว่างบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบกับเครื่องจักรที่จะใช้ในการบรรจุ เพื่อช่วยกำหนดคุณภาพและความเร็วของสินค้าที่จะผลิตได้ 4 ฝ่ายบัญชีและการเงิน ฝ่ายนี้ต้องคอยติดตามผลประกอบการขององค์กรพร้อมทั่งรักษาสถานะทางการเงินให้อยู่ในสภาวะที่มั่นคง หน้าที่ของฝ่ายบัญชีและการเงินจะพยายามลดต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งตรงข้ามกับฝ่ายการตลาดที่พยายามจะลงทุนบรรจุภัณฑ์เพื่อปกป้องให้สินค้าดีขึ้น และช่วยในการเพิ่มยอดขาย 5 ฝ่ายจัดซื้อและจัดส่ง หน้าที่หลักที่เกี่ยวกับฝ่ายจัดซื้อ คือ การจัดหาบรรจุภัณฑ์ให้ได้ตามคุณภาพ จำนวน เวลา และราคาที่กำหนดไว้ ในขณะที่ฝ่ายจัดส่งพยายามลำเลียงสินค้าที่ผลิตเสร็จไปสู่ผู้ขายด้วยจำนวนที่ถูกต้องภายในเวลาและสถานที่ที่กำหนด จะพบกิจกรรมทางด้านนี้เป็นตัวเชื่อมระหว่างฝ่ายผลิตและฝ่ายตลาดเข้าด้วยกัน และเริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้นเนื่องจากการแข่งขันเพื่อการลดต้นทุนพร้อมการบริการที่สะดวกมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น < < กลับสู่หน้าหลัก อ่านต่อ การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2> >
การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2
3 1 4 ขั้นตอนในการพัฒนา ขั้นตอนในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาจแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทแรกเป็นการพัฒนาทั้งระบบ เริ่มจากแนวความคิดจนกระทั่งการจำหน่ายสู่ตลาด และประเภทที่สอง คือ การพัฒนาส่วนใดส่วนหนึ่งของบรรจุภัณฑ์ เช่น พัฒนาเฉพาะฉลากแต่เก็บรูปทรงไว้ เป็นต้น การพัฒนาประเภทที่สองนี้ในประเทศไทยนิยมให้โรงงานผู้ผลิตหรือแปรรูปบรรจุภัณฑ์เป็นผู้พัฒนาให้ แต่ในหัวข้อนี้จะได้กล่าวถึงการพัฒนาประเภทแรกที่เป็นการพัฒนาทั้งระบบตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1 กำหนดจุดมุ่งหมายการใช้ประโยชน์จากบรรจุภัณฑ์ กระบวนการพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์เริ่มต้นด้วยการตั้งจุดมุ่งหมาย กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ จะได้รับผลอะไรจากการพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์ จุดมุ่งหมายที่ตั้งนี้ควรมีจุดมุ่งหมายหลักเพียงอย่างเดียว แต่อาจมีจุดมุ่งหมายต่อเนื่องอีกหลายประการก็ได้ จุดมุ่งหมายนี้จำต้องเขียนอย่างเด่นชัด และถ้าเป็นไปได้อาจจะกำกับเป้าหมายเป็นตัวเลข เช่น ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นอีก 10 จากการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่ หรืออาจจะเป็นการลดต้นทุนลงอีก 5 เป็นต้น การเขียนจุดมุ่งหมายในรูปของผลกำไรอาจไม่เด่นชัดและเป็นไปได้ยากเนื่องจากมีหลายองค์ประกอบเข้ามาเกี่ยวข้องมากเกินไป จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้จะต้องเฉพาะเจาะจงและเข้าใจได้ง่ายระหว่างทีมงานที่พัฒนาออกแบบ เพื่อว่าแต่ละบุคคลจะสามารถกำหนดขอบเขตรับผิดชอบและกำหนดเวลาที่ต้องทำให้เสร็จ การตั้งจุดมุ่งหมายอาจใช้หลักของมูลเหตุที่ต้องพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่กล่าวไปแล้วในหัวข้อที่ 3 1 1 เป็นจุดมุ่งหมายในการพัฒนาได้ 2 การวางแผนพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ขั้นตอนนี้นับได้ว่าเป็นขั้นตอนที่มักจะได้รับการละเลยมากที่สุด เนื่องจากการทำงานในบ้านเราชอบทำงานแบบแก้ปัญหาเฉพาะหน้าถ้าไม่จวนตัวแล้วจะไม่ค่อยทำ การวางแผนจะทำให้ทราบว่าการพัฒนาจะมุ่งไปทางไหนและพัฒนาอย่างไร ด้วยเวลาและงบประมาณค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด หรืออาจกล่าวได้ว่าการวางแผน คือ การตั้งกลยุทธ์หรือขั้นตอนพร้อมกรอบในการทำงานแต่ละขั้นตอน เพื่อบรรลุถึงจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ในการวางแผนพัฒนาจะเริ่มต้นจากขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1 การหาข้อมูลของสินค้าที่จะพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์ เช่น ข้อมูลทางเทคนิค ทางด้านการตลาด การจัดส่ง ค่าใช้จ่าย 2 ความต้องการของบรรจุภัณฑ์ ทั้งทางด้านเทคนิคและการใช้งาน 3 รายละเอียดของรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ 4 ข้อกำหนดบังคับตามกฎหมาย 5 รวบรวมรายละเอียดระบบบรรจุภัณฑ์และวัสดุที่เหมาะสม 6 ประเมินงบประมาณที่ต้องใช้ในการพัฒนา 7 กำหนดมาตรการที่จะดำเนินการพัฒนาต่อหรือจะทิ้งโครงการพัฒนา 8 กำหนดมาตรการที่จะทำการทดสอบตลาดหรือทดสอบภายในสถานที่จำลอง เมื่อทราบคุณลักษณะและมาตรการต่างๆ อย่างครบถ้วนแล้ว จะเริ่มเห็นแนวทางของบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสินค้านั้นๆ 3 ปฏิบัติการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาเริ่มต้นจากการเก็บข้อมูล และข้อมูลที่สำคัญที่สุด คือ ข้อมูลของสินค้า 1 สินค้า คุณสมบัติของสินค้าที่ต้องทราบเป็นอันดับแรก คือ คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี คุณสมบัติทางกายภาพ ดังได้กล่าวมาแล้ว ผลิตภัณฑ์อาหารสามารถจำแนกตามคุณสมบัติทางกายภาพได้ 3 รูปแบบ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ผลิตภัณฑ์อาหารส่วนใหญ่จะอยู่ในสภาพของแข็งและของเหลว ส่วนผลิตภัณฑ์ที่เป็นก๊าซนั้นมีน้อยมาก นอกจากว่าจะเติมเข้าไปในอาหาร เช่น น้ำอัดลมที่บรรจุก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ หรือก๊าซเฉื่อยที่ฉีดเข้าไปในบรรจุภัณฑ์ปรับสภาวะ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นของแข็ง เมื่อพิจารณาจากวิธีการบรรจุใส่ผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นของแข็ง แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ ผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นชิ้นเป็นก้อน เช่น กล้วยตาก ผลิตภัณฑ์อาหารที่ร่วงหล่นได้ง่าย Free Flowing Products เช่น ข้าว ถั่วลิสง ผลิตภัณฑ์อาหารที่ร่วงหล่นได้ยาก Non Free Flowing Products เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ฟุ้งกระจายและใช้เวลาในการร่วงหล่นมาเป็นกอง เช่น แป้งชนิดต่างๆ รูปที่ 3 2 ลักษณะของสินค้าแห้งแบบ Free Flowing Non Free Flowing และแบบสารจับเป็นก้อน agglomerate จุดประสงค์หลักในการแบ่งแยกผลิตภัณฑ์อาหารแข็งออกเป็น 3 ชนิดดังกล่าว สืบเนื่องจากเครื่องจักรที่ใช้ในการบรรจุสำหรับสินค้าทั้ง 3 ชนิด มีความแตกต่างกัน ดังจะได้บรรยายในรายละเอียดต่อไปในเรื่องเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ คุณสมบัติสำคัญของสินค้าประเภทที่เป็นของแข็งที่ผู้ผลิตควรทราบ คือ ความหนาแน่น Density ของสินค้า หมายความถึง น้ำหนักต่อหน่วยปริมาตร ซึ่งหาได้จากการชั่งน้ำหนักของสินค้าเต็มถ้วยตวงที่รู้ปริมาตรที่แน่นอน จากค่าความหนาแน่นที่ได้นี้จะสามารถคำนวณได้ว่าน้ำหนักสินค้าที่ใช้บรรจุจะต้องมีปริมาตรเท่าไร ซึ่งจะช่วยให้เลือกประเภทหรือกำหนดมิติของบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมได้สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นของเหลวนั้น คุณสมบัติสำคัญที่จำต้องทราบ คือ ความเหนียวข้น Viscosity เนื่องจากความเร็วในการไหลตัวของผลิตภัณฑ์อาหารเหลว จากคุณสมบัติดังกล่าวนี้จะเป็นแนวทางในการคัดเลือกประเภทเครื่องจักรและประเภทของบรรจุภัณฑ์ต่อไป ในแง่ของการตลาด คุณสมบัติเด่นของสินค้าที่จะสร้างเป็นจุดขายจะต้องกำหนดขึ้นมาเพื่อสามารถสนองความต้องการผู้บริโภค ในสภาวะที่ผู้บริโภคเริ่มคำนึงถึงสุขภาพและคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร การวางจำขายของอาหารที่ผลิตจากธรรมชาติย่อมสนองความต้องการได้ การหาจุดขายนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง และควรจะมองในแง่มุมของผู้ซื้อหรือผู้บริโภคเพื่อสร้างจุดขายที่เด่นชัดและจำได้ง่ายแทนที่จะหาจุดขายโดยมองจากในแง่มุมของผู้ผลิตหรือแหล่งผลิตสินค้า คุณสมบัติทางเคมี สิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องรู้คือ สินค้าจะเน่าเสีย ดู food spoilage หรือเสื่อมคุณภาพจากปฏิกิริยาอะไร เช่น การทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือความชื้น เพื่อว่าจะสามารถประเมินอายุการเก็บของอาหารได้ และเพื่อเป็นแนวทางที่จะสรรหาวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมมาคุ้มครองรักษาคุณภาพอาหารได้ตามกำหนดอายุที่ต้องการ นอกเหนือจากคุณสมบัติพื้นฐานทั้ง 2 แล้ว ข้อมูลพิเศษที่จะต้องเก็บเพิ่มอาจได้แก่ คุณสมบัติทางกลิ่น เช่น ปลาร้า กะปิ โดยเฉพาะกะปิอาจมีการแยกตัวเป็นน้ำออกมา คุณสมบัติพิเศษของสินค้าแต่ละชนิดจะต้องทราบ เพื่อสามารถสรรหาวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมในการใช้งาน 2 บรรจุภัณฑ์ การพัฒนามาถึงขั้นตอนนี้ เมื่อทราบคุณลักษณะของสินค้า ความต้องการทางด้านการตลาดที่จะสนองตามจุดมุ่งหมายที่ได้ตั้งไว้ จะเริ่มเห็นแนวทางของบรรจุภัณฑ์ที่จะใช้และเตรียมร่างต้นแบบขึ้นมาได้ ในขณะเดียวกัน บรรจุภัณฑ์ที่จะพัฒนานี้อาจมีความต้องการคุณสมบัติพิเศษหรืออาจมีข้อจำกัดอื่นๆ ที่เพิ่งจะทราบ ยกตัวอย่างเช่น กฎหมายใหม่ที่จะออกบังคับ หรือข้อมูลทางด้านการตลาดที่เปลี่ยนข้อกำหนดของปริมาตรที่บรรจุหรือขนาดของสินค้า ความไม่แน่นอนในข้อจำกัดต่างๆ ดังที่ยกตัวอย่างมานี้ จะต้องกำหนดให้ชัดเจนในขั้นตอนการร่างต้นแบบเพื่อที่จะได้นำเอาข้อจำกัดดังกล่าวมากำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนา ในเวลาเดียวกัน การศึกษาบรรจุภัณฑ์ของคู่แข่งก็เป็นสิ่งที่จะต้องรวบรวมเพื่อให้ทราบถึงจุดเด่นและจุดด้อยของคู่แข่งขัน ขนาดบรรจุที่มีอยู่ในตลาด ราคาที่จำหน่าย พร้อมทั้งประเมินอายุการเก็บของสินค้าคู่แข่ง นอกเหนือจากบรรจุภัณฑ์ชั้นในที่เป็นบรรจุภัณฑ์ติดกับสินค้าแล้ว การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ชั้นนอกและบรรจุภัณฑ์ขนส่งให้สัมฤทธิ์ผลนั้น จำต้องทราบถึงวิธีการขนถ่ายสินค้า พาหนะที่ใช้ เวลาและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนย้าย เช่น มีการใช้กะบะ Pallet หรือไม่ วิธีเก็บในคลังสินค้า โดยปกติการขนถ่ายในคลังสินค้ายิ่งน้อยครั้งเท่าไร อันตรายที่จะเกิดขึ้นยิ่งน้อยลง นอกจากนี้ การขนย้ายในระยะใกล้ ย่อมต้องการระดับการป้องกันมากกว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ภายในประเทศ สภาพภูมิอากาศระหว่างการขนส่งและในคลังสินค้า ก็เป็นข้อมูลที่จำเป็นมากในการคัดเลือกวัสดุบรรจุภัณฑ์ พร้อมทั้งการจำลองสภาวะในการทดสอบของบรรจุภัณฑ์ 3 เครื่องจักร สืบเนื่องต่อจากบรรจุภัณฑ์ที่ได้เลือกไว้แล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเริ่มสรรหาเครื่องจักรบรรจุที่เหมาะสมกับการใช้งานซึ่งคล้ายคลึงกับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เครื่องจักรที่สรรหามาพิจารณาควรจะมีประเภทต่างๆ กันเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผล ค่าใช้จ่าย และต้นทุน รายละเอียดของการจัดหาเครื่องจักร พร้อมทั้งชนิดและประเภทจะกล่าวต่อไปในบทของเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ เมื่อได้ข้อมูลครบก็เริ่มทำต้นแบบและเริ่มสอบถามความเห็นเบื้องต้นของกลุ่มเป้าหมายจากต้นแบบร่างแบบบรรจุภัณฑ์หลายๆ แบบที่เตรียมขึ้นมา 4 การประเมินรอบแรก จากร่างต้นแบบบรรจุภัณฑ์หลายแบบที่ได้พัฒนาขึ้นมา ขั้นตอนนี้จะทำการเปรียบเทียบและคัดบางแบบออก มาตรการหนึ่งที่ใช้ในการเปรียบเทียบเพื่อคัดออกนี้ คือ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ กลุ่มเป้าหมายและต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ ตัวเลขของต้นทุนที่ได้มาจากผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แหล่งต่างๆ ที่นำมาเปรียบเทียบนั้น ควรจะขอในเวลาที่ใกล้เคียงกัน และเป็นราคาที่ผ่านขั้นตอนการต่อรองที่เหมือนกัน เพื่อจะนำมาเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างของราคาเมื่อเทียบกับอรรถประโยชน์อื่นๆ ของบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบ มาตรการอย่างอื่นๆ ที่จะใช้ในการประเมิน คือ การทดสอบความเข้ากันได้ระหว่างสินค้าและบรรจุภัณฑ์ Product Compatibility Test ซึ่งเป็นการทดสอบว่าทั้งสินค้าและบรรจุภัณฑ์มีการทำปฏิกิริยากันในเวลาใช้งานจริง การทดสอบในห้องปฏิบัติการมักจะใช้สภาวะการเก็บที่เร่งสภาวะ Accelerated Condition เพื่อศึกษาสภาวะการทำปฏิกิริยาและการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติภายใต้สภาวะอุณหภูมิสูง Accelerated Temperature Condition และความชื้นสัมพัทธ์สูง เพื่อศึกษาสภาวะการทำปฏิกิริยาและสภาวะการเปลี่ยนแลงคุณสมบัติ เช่น ความเปราะแตกหักสำหรับสินค้าที่เป็นของแห้งหรือของเหลวที่อาจเปลี่ยนความเข้มข้นจนเป็นของเหลวข้นมากหรืออาจจับตัวแข็งเทไม่ออก เป็นต้น การประเมินรอบแรกจะจบลงเมื่อสามารถคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายด้วยค่าใช้จ่ายที่ประเมินและเป็นที่ยอมรับกันในทีมทำงานและสอดคล้องตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ 5 การพัฒนาขั้นที่สอง การพัฒนาขั้นต่อมาเริ่มพิจารณารายละเอียดปลีกย่อยของบรรจุภัณฑ์ชั้นนอกและบรรจุภัณฑ์ขนส่งของบรรจุภัณฑ์ชั้นใน primary packaging ที่ได้รับการคัดเลือกไว้แล้ว เช่น จะมีการสั่งทำตัวอย่างและทำการทดสอบคุณสมบัติการใช้งานต่างๆ การทดสอบความสามารถเรียงซ้อนของกล่องลูกฟูก corrugated box เป็นต้น รายละเอียดของการทดสอบจะได้กล่าวต่อในบทการทดสอบวัสดุและบรรจุภัณฑ์ 6 การทดสอบการใช้งาน ในขั้นตอนนี้เป็นการทดสอบการใช้งานของบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบในแผนกต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ทดสอบการบรรจุ การเดินเครื่อง เพื่อพิจารณาความเข้ากันได้ของบรรจุภัณฑ์กับเครื่องจักรที่จะใช้การทดสอบความเข้ากันได้กับเครื่องจักรนี้มีชื่อเฉพาะทางเทคนิคว่า Machianbility บรรจุภัณฑ์ที่เลือกเอาไว้จะมีการทดสอบในช่องทางการจัดจำหน่าย การขนส่ง การเก็บในคลังสินค้า ความหลากหลายของการทดสอบจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย ขอบเขตในการพัฒนาออกแบบ พร้อมทั้งงบประมาณของการพัฒนานั้น การทดสอบที่สำคัญที่สุด คือ การทดสอบทางการตลาด โดยอาจมีการทดลองวางจำหน่าย สรุปผลการยอมรับจากกลุ่มเป้าหมายในสภาวะจุดขายจริงๆ ในบางกรณีถ้ากลัวความลับรั่วไหลอาจจะต้องปิดบังชื่อบริษัทและสินค้า หรือทำการทดสอบในสถานที่จำลองแทนที่จะเป็นสถานที่จริง จุดมุ่งหมายในการทดสอบตลาด คือ ทดสอบการยอมรับในตัวสินค้า การประเมินว่ากลุ่มเป้าหมายพอใจซื้อสินค้าพร้อมบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนามาอย่างดีแล้วนี้ที่ราคาเท่าไร พร้อมทั้งการประเมินยอดขาย เพื่อที่จะไปกำหนดกลยุทธ์ทางด้านการตลาดในทางกลับกันสามารถทราบถึงจุดบกพร่องของบรรจุภัณฑ์ที่จะพัฒนาเพื่อนำไปทำการแก้ไขก่อนวางตลาดจริง 7 การประเมินครั้งสุดท้าย การประเมินครั้งสุดท้ายเป็นการประเมินว่าบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบนี้ตรงตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่และสมควรที่จะวางตลาดตามเวลาที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังเป็นการตัดสินใจจะวางจำหน่ายสินค้าหรือไม่ ถ้าไม่วางจำหน่ายสินค้า สิ่งที่สูญเสีย คือ ค่าพัฒนาที่ได้เกิดขึ้นแล้ว แต่ถ้าตัดสินใจวางจำหน่ายและสินค้าไม่ประสบความสำเร็จ ความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นจะมีมูลค่ามากกว่าค่าพัฒนาที่ได้ทำไปอีกมากมาย มาถึงขั้นตอนนี้ ข้อมูลต่างๆ ได้รับการออกแบบพัฒนามาเป็นตัวบรรจุภัณฑ์พร้อมด้วยตัวเลขของค่าใช้จ่ายโดยรวมที่จะจำหน่ายสินค้าเพื่อที่จะตัดสินใจลงทุน การกำหนดเวลาที่จะสามารถผลิตออกสู่ตลาดได้ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะต้องพิจารณา เนื่องจากในขณะที่พัฒนานั้นกับเวลาที่วางตลาดจริงอาจจะห่างกันถึง 1 ปี สภาวการณ์ต่างๆ อาจจะเปลี่ยนไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ อาจจะมีการจ้างผลิตและบรรจุนอกบริษัท และมีการปรับปรุงแก้ไขจนกว่าเครื่องจักรใหม่จะเข้ามาและทำการผลิตจริงเพื่อวางตลาดตัดหน้าคู่แข่ง 3 1 5 การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ Specification การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของบรรจุภัณฑ์ นับเป็นอาวุธลับชิ้นสุดท้ายของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากรายละเอียดที่กำหนดหรือที่เรียกว่า สเป็ก นี้จะใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการสื่อข้อมูลทางบรรจุภัณฑ์ระหว่างแผนกต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่า จะได้รับบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุตามที่ต้องการ ใช้งานได้ตรงตามประสงค์ ได้รับตามจำนวนที่ต้องการต่อหน่วยขนส่ง ด้วยเหตุนี้การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะนี้ จะต้องเขียนด้วยศัพท์เทคนิคที่เข้าใจเหมือนกันทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กรที่เกี่ยวข้อง และครอบคลุมรายละเอียดที่จำเป็นในการใช้งานทั้งหมด รวมทั้งคุณสมบัติและลักษณะพิเศษ เมื่อตกลงเป็นที่เรียบร้อยภายในองค์กรแล้ว ข้อกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะนี้จะใช้เป็นบรรทัดฐานในการสั่งซื้อจากผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์หรือจัดหามาตามความต้องการเพื่อใช้งาน ความจำเป็นในการตั้งข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ มีดังนี้ 1 เพื่อสร้างความมั่นใจว่า บรรจุภัณฑ์นั้นสามารถเข้ากันได้กับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ภายในและใช้งานได้ดีกับเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ 2 เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ความเข้าใจผิดทั้งทางด้านเทคนิค และการจัดส่งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร 3 เพื่อเป็นหลักฐานเมื่อมีการเรียกร้องภายหลัง 4 เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้จัดซื้อในการเสาะหาผู้ผลิต และสามารถเปรียบเทียบข้อเสนอที่แตกต่างกัน 1 ข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะในการจัดหาบรรจุภัณฑ์ โดยทั่วไป คุณลักษณะเฉพาะมักมีอย่างน้อยที่สุด 2 ชุด คือ ชุดแรก สำหรับการขอใบเสนอราคาจากผู้ผลิต หลังจากได้รับใบเสนอราคา มีการประเมินและเลือกผู้ผลิตแล้ว คุณลักษณะเฉพาะชุดที่สองจะถูกทำขึ้นเพื่อการออกใบสั่งซื้อที่แท้จริง ความแตกต่างขั้นพื้นฐานระหว่างคุณลักษณะเฉพาะ 2 ชุด คือ ชุดแรกสามารถยืดหยุ่นได้ ในขณะที่ชุดที่สองจะต้องมีรายละเอียดของบรรจุภัณฑ์ วัตถุดิบ เครื่องจักรที่เฉพาะเจาะจงแจ้งชัดและถูกต้อง คุณลักษณะเฉพาะที่มี 2 ชุดนี้จะสอดคล้องกับขั้นตอนในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่จะใช้ใบเสนอราคาที่ได้เป็นหลักเกณฑ์ในการประเมิน 2 ขั้นตอน พร้อมทั้งสนองความต้องการในการจัดหาบรรจุภัณฑ์ในแต่ละขั้นตอนดังกล่าว การจัดทำข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ เป็นการบังคับให้ผู้ซื้อคิดถึงสิ่งที่ตนเองต้องการจริงๆ และยังทำให้ผู้ผลิตเพิ่มความระมัดระวังว่า ผู้ซื้อรู้ว่าผู้ผลิตกำลังจัดทำบรรจุภัณฑ์อะไรและสมควรที่จะมีระบบควบคุมคุณภาพให้ได้ตามที่ต้องการอย่างไร มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดหาอย่างไร 2 การเขียนข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของบรรจุภัณฑ์ กฎการเริ่มต้นที่ดีสำหรับการเขียนข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของบรรจุภัณฑ์ คือ การเขียนให้ง่ายที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ โดยกล่าวถึงสิ่งที่เป็นความจริง สามารถให้รายละเอียดอย่างเพียงพอแก่ผู้ผลิตที่จะเสนอราคาทำการผลิตและส่งบรรจุภัณฑ์ตรงตามความต้องการของผู้ซื้อ ในขณะเดียวกันจะต้องมีความยืดหยุ่นเพียงพอในการเปลี่ยนแปลงอย่างมีเหตุผล และปรับปรุงได้ในด้านของผู้ผลิต ดังนั้น ข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของบรรจุภัณฑ์ควรจะประกอบด้วย ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่จะบรรจุ คุณลักษณะเฉพาะ วิธีการบรรจุพร้อมเงื่อนไข และความต้องการในการปกป้องสินค้าระหว่างการขนส่ง ข้อมูลนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของบรรจุภัณฑ์และเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ปริมาณ ปริมาตรที่จะบรรจุ พร้อมทั้งส่วนแตกต่างที่ยอมรับได้ เกรดของวัตถุดิบ คุณภาพ น้ำหนักมาตรฐาน และอื่นๆ โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ ถ้าจำเป็นควรมีภาพวาดประกอบ มิติของบรรจุภัณฑ์ พร้อมทั้งส่วนแตกต่างที่ยอมรับได้ คุณลักษณะพิเศษ ส่วนประกอบ และอื่นๆ การออกแบบทางกราฟฟิก รายละเอียดข้อแนะนำสำหรับการพิมพ์หรือการตบแต่งอื่นๆ ปริมาณที่ต้องการ สั่งซื้อ กำหนดวันส่งมอบที่ต้องการ ตกลงกัน ข้อแนะนำสำหรับการบรรจุและการส่งของจากผู้ผลิตมายังผู้ซื้อ เงื่อนไขในการขนส่งและการเก็บรักษา ราคาตามที่ตกลง เงื่อนไขในการส่งมอบ นอกจากที่กล่าวข้างต้น ควรมีข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ เลขที่ของข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ และวันที่ที่ออก อ้างถึงการทดสอบตามวิธีมาตรฐานสำหรับจุดประสงค์ของการคุณภาพ ส่วนแตกต่างของปริมาณที่ยอมรับได้ ประเภทของความเสียหายที่เกิดขึ้นและการยอมรับ บุคลากรที่รับผิดชอบ ถ้าผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงผลิตภัณฑ์อาหาร บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ ขบวนการบรรจุและระบบการจัดจำหน่าย ผู้ผลิตก็จะมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพและประหยัด โดยเฉพาะในกรณีของกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์จะต้องรู้ถึงคุณลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น ค่า pH ปริมาณไนเตรท Nitrate Content ส่วนประกอบทางเคมี และอื่นๆ เพื่อที่จะทำให้ผู้ผลิตสามารถที่จะเลือกประเภทของวัตถุดิบ วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ถูกต้อง และยังต้องระบุถึงวิธีการบรรจุ และเงื่อนไขอื่นๆ เช่น อุณหภูมิในระหว่างการบรรจุ ข้อมูลของระบบการจัดจำหน่ายที่มีผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานของบรรจุภัณฑ์ วิธีการหีบห่อระหว่างการขนส่งจากผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์มายังผู้ใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีการนำเข้าบรรจุภัณฑ์จากต่างประเทศ ผู้ผลิตควรจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายที่ท่าเรือ ท่าอากาศยาน สถานภาพของถนนและภูมิอากาศ เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ผลิตที่จะทำการหีบห่อบรรจุภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม และหลีกเลี่ยงความเสียหายที่ไม่จำเป็น ถ้าเรามีการวางแผนที่ดีก็เป็นไปได้สำหรับผู้ซื้อที่จะสั่งซื้อวัสดุหีบห่อของผู้ผลิตรายเดิมไปเรื่อยๆ 3 ส่วนแตกต่างที่ยอมรับได้ของมิติและปริมาณ ในการผลิตวัสดุและแปรรูปมาเป็นบรรจุภัณฑ์ จะพบว่ามีความเบี่ยงเบนในเรื่องของมิติ และปริมาณที่กำหนดไว้ในการออกแบบ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการระบุส่วนแตกต่างที่ยอมรับได้ในเกณฑ์สูงสุดและต่ำสุดของผู้ซื้อ ในกรณีของขบวนการบรรจุอาหารใส่บรรจุภัณฑ์โดยใช้แรงงานคน ส่วนแตกต่างของมิติอาจไม่สำคัญมากนัก แต่เมื่อใดก็ตามที่มีการใช้เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ เราต้องให้ความสนใจในการระบุส่วนแตกต่างที่แน่นอนเพื่อให้เครื่องจักรเดินเครื่องได้อย่างสม่ำเสมอ ด้วยเหตุนี้จึงต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้ซื้อและผู้ผลิตที่จะตั้งอยู่บนแนวทางการปฏิบัติที่ผู้ผลิตพึงปฏิบัติได้ ขอให้ตระหนักว่าถ้าระยะเวลาการผลิตยิ่งยาว ผู้ผลิตจะสามารถปรับเครื่องจักรตามระดับความแม่นยำตามที่ต้องการ ค่ากำหนดส่วนแตกต่างที่แคบเกินไป ถ้าแม้จะยอมรับหรือปฏิบัติได้ในช่วงต้น แต่ก็ส่งผลให้สินค้าไม่ได้มาตรฐานจำนวนมากและเกิดความสิ้นเปลืองในสายการผลิต และสุดท้ายก็ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ความแตกต่างส่วนของมิติ ควรจะกำหนดเป็นสัญลักษณ์ หรือ และต้องระบุในข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะหรือใบแสดงคุณภาพที่แนบไป ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์และวัสดุบรรจุภัณฑ์ต้องกำหนดส่วนแตกต่างของปริมาณสำหรับการส่งมอบ ถ้าผู้ซื้อต้องการให้ส่งในปริมาณที่แน่นอน ถ้าผู้ผลิตจำเป็นต้องผลิตสินค้าเกินกว่าจำนวน โดยเผื่อสินค้าเสียหาย ส่วนต่างที่ผลิตเกินนี้จะระบุเป็นร้อยละ ตัวอย่างเช่น การสั่งซื้อฟิล์มหดเป็นม้วนอาจจะตั้งข้อกำหนดในการยอมรับสินค้าเป็นดังนี้ ถ้าปริมาณในการสั่งซื้อน้อยกว่า 400 กิโลกรัม จะยอมรับสินค้าที่ส่งเกินอีกหนึ่งม้วน ถ้าปริมาณในการสั่งซื้อมากกว่า 400 กิโลกรัม 10 อย่างไรก็ตามในบางกรณี ส่วนแตกต่างของปริมาณที่มีจำนวนมาก ผู้ผลิตก็จะสามารถทำให้แคบลงเพื่อไม่ให้เป็นการเพิ่มต้นทุนของผู้ซื้อ 4 การจัดระดับขั้นของความเสียหาย การสุ่มตัวอย่างและการประเมินคุณภาพ เป็นที่ทราบกันดีว่า ทุกงวดสินค้าที่ทำการส่งมักจะมีบรรจุภัณฑ์หรือวัสดุเสียหายจำนวนหนึ่ง ซึ่งทำให้ต้องกำหนดในรายละเอียดดังต่อไปนี้ การจัดขั้นประเภทของความเสียหาย จำนวนชิ้นของสินค้าเสียหายที่ยอมรับได้ในการดำเนินงานปกติ การตั้งระเบียบหรือข้อกำหนดสำหรับการควบคุมคุณภาพ ความเสียหายที่เกิดขึ้นในขณะส่งมอบสามารถจัดเป็นแยกประเภทได้ดังนี้ ระดับ A ความเสียหายระดับวิกฤต คือสินค้าหรือวัสดุไม่สามารถนำไปใช้ตามจุดประสงค์ที่ต้องการ ไม่ว่าภายใต้สถานการณ์ใดๆ ทั้งสิ้น ระดับ B ความเสียหายระดับใหญ่ คือ สินค้าหรือวัสดุมีความเบี่ยงเบนเล็กน้อยจากข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ แต่ยังสามารถนำมาใช้ตามจุดประสงค์เดิมหรือตามจุดประสงค์รอง โดยการแก้ไขปรับปรุงงานบางอย่าง เช่น ใช้แรงงานของผู้ใช้บรรจุภัณฑ์นั้นทำการแก้ไข ระดับ C ความเสียหายระดับเล็ก คือ ภาพลักษณ์ของสินค้าหรือวัสดุแตกต่างจากข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะในด้านเทคนิค แต่ยังสามารถทำตามหน้าที่ได้ การจัดระดับของความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงว่าอยู่ในระดับวิกฤติ ระดับใหญ่ หรือระดับเล็กขึ้นอยู่กับประเภทของบรรจุภัณฑ์และการดำเนินงานของผู้บรรจุหีบห่อ ตัวอย่างเช่น การส่งของแต่ละครั้งจะมีสินค้าที่มีความเสียหายแต่ละระดับแฝงอยู่จำนวนหนึ่ง สิ่งสำคัญที่จะระบุว่าจำนวนเท่าใดของความเสียหายในแต่ละระดับที่เราสามารถยอมรับได้ เราเรียกสิ่งนี้ว่า ระดับคุณภาพที่ยอมรับได้ หรือ Acceptable Quality Level AQL และจำนวนของสินค้าที่เสียหายไม่ว่าในระดับใด ควรจะต้องได้รับการชดเชยจากผู้ผลิต การเรียกร้องควรจะมีการสนับสนุนโดยการส่งตัวอย่างที่เสียหายไปยังผู้ผลิตพร้อมกับรายงานและรูปถ่ายโดยบุคคลที่เป็นกลางหรือสถาบัน วิธีการที่ดีอีกวิธีหนึ่ง คือการเชิญตัวแทนของผู้ผลิตมาตรวจสอบและหาสาเหตุ ณ จุดส่งมอบบรรจุภัณฑ์ < < ย้อนกลับ การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 1 อ่านต่อ การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่3 > > < < กลับสู่หน้าหลัก
การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 3
ด้านการควบคุมคุณภาพโดยเฉพาะสำหรับวัสดุ ควรจะมีการอ้างอิงถึงวิธีการทดสอบตามมาตรฐานและทำการทดสอบเป็นครั้งคราวเพื่อหาค่าความเบี่ยงเบนที่อาจเกิดขึ้นว่าแตกต่างจากคุณลักษณะที่กำหนดไว้หรือไม่ ในการประเมินคุณภาพของสินค้า ควรเริ่มตั้งแต่การตรวจสอบโดยใช้สายตาเมื่อสินค้าได้ทำการส่งมอบ ตามด้วยหลักการสุ่มตัวอย่างและปฏิบัติการตามพื้นฐานของระบบการควบคุมคุณภาพ ในการทดสอบควรจะดำเนินการโดยองค์กรอิสระที่มีเครื่องหมายในการทดสอบพร้อม และค่าใช้จ่ายในการทดสอบไม่สูงมากนัก ส่วนการสุ่มตัวอย่างจากบรรจุภัณฑ์ วัสดุที่ส่งเข้ามาเพื่อทำการตรวจสอบควรมีการทำงานเป็นระบบ ซึ่งระบบที่นิยมใช้กันเรียกว่า การตรวจสอบปกติแบบสุ่มตัวอย่างเดี่ยว ดังแสดงในตารางที่ 3 2 การสุ่มตัวอย่างในระบบนี้เป็นวิธีที่สร้างความมั่นใจว่าตัวอย่างที่นำออกไปทดสอบสามารถทำหน้าที่เป็นตัวแทนวัสดุทั้งหมดที่จัดส่ง พร้อมทั้งมาตรการในการยอมรับหรือไม่ยอมรับสินค้าที่ส่งมอบ ตารางที่ 3 2 การตรวจสอบปกติแบบสุ่มตัวอย่างเดี่ยว จำนวนใน 1 ล็อต ชิ้น จำนวนตัวอย่าง ชิ้น ระดับคุณภาพที่ยอมรับได้ AQL 0 1 0 65 1 0 2 5 4 0 6 5 Ac Re Ac Re Ac Re Ac Re Ac Re Ac Re 50 1200 80 0 1 1 2 2 3 5 6 7 8 10 11 1201 3200 125 0 1 2 3 3 4 7 8 10 11 14 15 3201 10000 200 0 1 3 4 5 6 10 11 14 15 21 22 10001 35000 315 1 2 5 6 7 8 14 15 21 22 21 22 35001 150000 500 1 2 7 8 10 11 21 22 21 22 21 22 150001 500000 800 2 3 10 11 14 15 21 22 21 22 21 22 มากกว่า 500000 1250 3 4 14 15 21 22 21 22 21 22 21 22 AQL เปอร์เซ็นต์สูงสุดของสินค้าเสียหายที่ยอมรับได้ใน 1 ล็อต Ac ล็อตที่ยอมรับ ถ้าจำนวนของชิ้นตัวอย่างที่พบว่าเสียหายไม่เกินกว่าตัวเลขที่กำหนด Re ล็อตที่ไม่ยอมรับ ถ้าจำนวนของชิ้นตัวอย่างที่พบเสียหายเท่ากับหรือเกินกว่าตัวเลขที่กำหนด ที่มา Ramsland T Handbook on Procurement of Packaging Prodec Helsinki ตามตารางที่ 3 2 จำนวนชิ้นตัวอย่างที่จะนำออกมาตรวจสอบ จะถูกจำกัดโดยจำนวนบรรจุภัณฑ์ที่ส่งมอบแต่ละล็อต ตัวอย่างเช่น ถ้าจำนวนในแต่ละล็อตถูกจำกัดให้เท่ากับการบรรทุกในรถบรรทุก 2 คัน คือ 30000 ชื้น และระดับคุณภาพที่ยอมรับได้สำหรับความเสียหายระดับวิกฤติถูก เลือกที่ 1 0 ดังนั้นตารางนี้ จำนวนชิ้นตัวอย่างคือ 315 ชิ้นซึ่งหยิบมาจากกองต่างๆ ปรากฏว่ามีบรรจุภัณฑ์ที่เสียหายในระดับวิกฤติมากกว่า 7 ชิ้น เราจะไม่ยอมรับบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดในล็อตนี้ จะเห็นได้ว่าผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์เป็นผู้เดียวที่สามารถควบคุมคุณภาพได้ ในขณะที่ผู้ซื้อได้เพียงแต่ตรวจสอบว่ามีคุณภาพตรงตามที่ต้องการหรือไม่ ดังนั้นหน้าที่ของการควบคุมคุณภาพควรอยู่กับผู้ผลิตและผู้ผลิตทำการส่งข้อมูลทั้งหมดมายังผู้ซื้อ เพื่อทำการตัดสินใจที่จะยอมรับผลการทดสอบระหว่างผู้ซื้อและผู้ผลิต เพื่อช่วยให้ผู้ผลิตผลิตสินค้าที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอและช่วยให้ผู้ซื้อลดการตรวจสอบสำหรับสินค้าที่ได้รับ International Organization for Standardization ISO ได้จัดพิมพ์มาตรฐานของการบริหารคุณภาพและการประกันคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 9004 เมื่อปี พ ศ 2530 ซึ่งเป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายในการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจาก ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าผู้ผลิตได้ทำการตรวจสอบตามขั้นตอนที่กำหนดเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้าให้ดีสม่ำเสมอ มาตรฐานของการจัดการระบบประกันคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 มาจากหลักการ 3 ข้อ คือ 1 ผู้ผลิตผลิตสินค้าตรงตามความต้องการของลูกค้า และยอมรับประกันคุณภาพ 2 ผู้บริหารต้องมีความรับผิดชอบในคุณภาพ ต้องให้แนวทางในการรับประกันคุณภาพในขั้นตอนของการดำเนินงานและต้องดำเนินการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของลูกค้า 3 ลูกค้ามั่นใจว่าสินค้าตรงตามความต้องการ และอยู่ในระดับของคุณภาพที่ตกลงกันไว้ ซึ่งผู้ผลิตต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบเกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพในองค์กรของตน ชุดมาตรฐานของการจัดคุณภาพได้เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก เมื่อใดก็ตามที่จะมีการเซ็นสัญญาระหว่าง 2 บริษัท บ่อยครั้งที่ผู้ซื้อจะขอใบรับรอง ISO 9000 จากผู้ผลิตก่อนที่จะทำสัญญาการซื้อ ถ้าผู้ผลิตมีใบรับรอง ISO 9000 ผู้ซื้อก็มีความมั่นใจว่าผู้ผลิตได้ดำเนินการอย่างดีที่สุดที่จะให้ผู้ซื้อได้รับสินค้าที่ได้คุณภาพ ISO 9000 นี้แบ่งออกเป็น 5 เรื่อง คือ 9000 กล่าวถึงแนวทางการเลือกและการใช้ระบบบริหารงานคุณภาพ 9001 และ 9002 กล่าวถึงรูปแบบการประกันคุณภาพในการออกแบบพัฒนาการผลิต การติดตั้งและการบริการ 9003 กล่าวถึงข้อกำหนดระบบคุณภาพในการตรวจและทดสอบขั้นสุดท้าย และ 9004 กล่าวถึงแนวทางการใช้การบริหารงานคุณภาพและหัวข้อต่างๆ ในระบบคุณภาพ สุดท้าย ทุกคนควรตระหนักว่าการมีข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะจะนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพของผู้ผลิตในด้านการผลิตเพราะมีการควบคุมคุณภาพก่อนการส่งสินค้า นอกจากนั้นยังอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ซื้อเมื่อทำการติดต่อกับผู้ผลิต 3 2 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อป้องกันการเสียหายทางกายภาพ ผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับการคัดเลือกวัตถุดิบมาอย่างดีผ่านกระบวนการแปรรูปทำการบรรจุใส่ในบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาอย่างสวยงาม แต่เมื่อส่งไปยังจุดขายปรากฏว่าสินค้าแตกหักเสียหายขายไม่ได้ราคาย่อมเป็นสิ่งที่น่าเสียดายกับแรงงาน ความพยายาม และเงินทุนที่ได้ลงไป ด้วยเหตุนี้การออกแบบพัฒนาระบบบรรจุภัณฑ์เพื่อป้องกันความเสียหายทางกายภาพจึงมีความสำคัญมากในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ 3 2 1 สภาวะอันตรายระหว่างขนส่ง ความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างการขนส่งนับเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมาแต่ดึกดำบรรพ์ ระดับความรุนแรงของความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นนั้นค่อนข้างจะประเมินได้ยาก เนื่องจากมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลาระหว่างการขนส่งดังแสดงไว้ในรูปที่ 3 3 อย่างไรก็ตามการออกแบบพัฒนาระบบบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการคือ ให้สามารถป้องกันอันตรายในระดับเฉลี่ย แต่ยอมให้เกิดความเสียหายบ้างจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากความไม่คุ้มทุนในการป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ในทางตรงกันข้าม การขนส่งสินค้าใดๆ ที่ไม่ประสบความเสียหายเลยในช่วงระยะเวลาเป็นเดือนๆ กลับเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ในทางธุรกิจ เนื่องจากเป็นการแสดงว่าบรรจุภัณฑ์มีระดับการป้องกันมากเกินไป Overpackaging อันตรายอันเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุน อาจแสดงได้จากรูปที่ 3 3 ณ จุด A ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพเพียงพอและจะมีโอกาสเกิดความเสียหายสูง แต่หากเพียงเพิ่มต้นทุนบรรจุภัณฑ์สูงขึ้นสักนิดในระดับจำนวน ข บาท ก็จะสามารถลดอัตราความเสียหายได้ในระดับ ก ถ้าต้องการที่จะลดอัตราความเสียหายให้น้อยลงไปอีกจากระดับที่ลดลงมาแล้ว โดยลดลงอีกเท่าหนึ่ง คือ เท่ากับ ก จะพบว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อลดความเสียหายเข้าใกล้เกือบเป็นศูนย์นั้น ณ จุด C จะเพิ่มขึ้นมาอีก ค บาท ซึ่งหากเปรียบเทียบกับต้นทุนกันแล้ว ต้นทุนบรรจุภัณฑ์ที่จ่ายเพิ่มขึ้นอาจแพงมากกว่าความเสียหายที่ลดลงไปมากหลายเท่าตัว ด้วยเหตุนี้ บรรจุภัณฑ์อาหารจุด B จึงเป็นจุดที่คุ้มทุนต่อการลงทุนบรรจุภัณฑ์ โดยมีการยอมรับโอกาสการสูญเสียบ้าง โดยเฉพาะจากสภาวะอันตรายดังต่อไปนี้ รูปที่ 3 3 ความสัมพันธ์ระหว่างความเสียหายและต้นทุนบรรจุภัณฑ์ 1 อันตรายทางกายภาพ สภาวะอันตรายระหว่างการขนส่งทางกายภาพสามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ อันตรายจากการขนถ่ายสินค้า Loading and Unloading อันตรายจากการขนส่ง และอันตรายจากการเก็บในคลังสินค้า ดังที่ได้แสดงไว้ในตารางที่ 3 3 และมีรายละเอียดต่อไปนี้ 1 อันตรายจากการขนถ่ายสินค้า ระหว่างการขนถ่ายสินค้ามักจะเกิดการตกหล่น อาจเป็นการตกกระแทกพื้นหรือตกกระแทกลงบนวัสดุอย่างอื่นหรือตกลงบนบรรจุภัณฑ์อื่นๆ โดยปกติแล้วการตกกระแทกมักจะเกิดกับสินค้าที่มีน้ำหนักไม่เกิน 50 กิโลกรัม เนื่องจากน้ำหนักของสินค้าส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 10 25 กิโลกรัม ส่วนความสูงของการตกกระแทกนั้น จะแปรผันตามสภาวะการขนถ่ายสินค้า โดยปกติสินค้าที่ขนย้ายเพื่อการส่งออกไปต่างประเทศจะมีโอกาสได้รับอันตรายมากกว่าสินค้าที่ขนส่งภายในประเทศ เนื่องจากมีอาจได้รับการขนย้ายบ่อยครั้งกว่าและสภาวะของการขนย้ายในแต่ละจุดของแต่ละประเทศแตกต่างกัน 2 อันตรายจากการขนส่ง อันตรายที่เกิดสามารถแยกตามประเภทของการขนส่งได้ 4 ประเภท คือ ทางรถไฟ ระหว่างการขนส่งโดยรถไฟ โอกาสที่จะเกิดความเสียหายต่อสินค้านั้นอาจเกิดขึ้นได้ 3 โอกาสคือ ช่วงระหว่างการต่อตู้รถไฟ การออกรถไฟอย่างกระชาก หรือ การหยุดอย่างกะทันหัน และการสั่นสะเทือนระหว่างการขนส่ง การต่อตู้รถไฟอาจก่อให้เกิดการกระแทกอย่างรุนแรงและอันตรายที่มีต่อสินค้าและบรรจุภัณฑ์จะแปรผันตามวิธีการจัดเรียงสินค้าภายในตู้รถไปและการใช้วัสดุป้องกันการสั่นกระแทกภายในตู้รถไฟ ส่วนอันตรายที่เกิดจากการออกรถและหยุดรถนั้นจะแปรผันตามประเภทของหัวจักรและระบบเบรกที่ใช้ ส่วนโอกาสที่เกิดจากการสั่นสะเทือนนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นตลอดการขนส่ง ความรุนแรงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนจะแปรตามความเร็วและสภาพของรางรถไฟพร้อมทั้งชนิดของตู้รถไฟ ทางรถยนต์ อันตรายที่เกิดขึ้นมักจะเกิดจากการสั่นสะเทือนและกระแทก ซึ่งแปรตามสภาวะของถนนที่แล่นผ่าน ความรุนแรงของอันตรายจะแปรตามความถี่ของการสั่นสะเทือนที่เกิดจากตัวพาหะรถยนต์ ส่วนการสั่นสะเทือนมากน้อย Amplitude จะแปรตามสภาวะของถนนและความเร็วในการวิ่งของรถ รูปที่ 3 4 แหล่งทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของการขนส่งทางรถยนต์ ทางน้ำ ความรุนแรงของอันตรายที่เกิดนั้นจะขึ้นกับสภาวะคลื่นและการจัดเรียงวางสินค้าบนเรือ โดยทางปฏิบัติทั่วไปสินค้าที่ขนส่งโดยเรือจะเรียงซ้อนสูง 6 10 เมตร และจะได้รับการสั่นสะเทือนที่ความถี่ต่ำอันเนื่องมาจากเครื่องยนต์เรือและใบพัดเรือ ส่วนการโยก Pitching และการโคลง Roll ของพาหนะเรือจะส่งผลให้สินค้าที่เรียงซ้อนทับอยู่ข้างล่างได้รับแรงเครียดมากขึ้น ทางอากาศ ในการขนส่งทางอากาศ สินค้ามักถูกจำกัดด้วยปริมาตรและน้ำหนักของสินค้า ส่วนอันตรายที่เกิดระหว่างการส่ง มักจะเกิดจากแรงสั่นสะเทือนที่มีความถี่สูงอันเป็นผลจากตัวเครื่อง นอกจากนี้สินค้าจะประสบกับความดันและอุณหภูมิต่ำระหว่างการเดินทาง โดยปกติสินค้าที่ขนส่งทางอากาศมักจะต้องได้รับการขนส่งร่วมกับการขนส่งวิธีอื่นๆ เช่น ทางรถยนต์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการขนส่งทางอากาศมักจะต้องแข็งแรงกว่าปกติ ตารางที่ 3 3 อันตรายทางกายภาพระหว่างการขนส่ง รูปแบบอันตราย สภาวะอันตราย การกระแทก ก ในแนวดิ่ง 1 บรรจุภัณฑ์ตกลงพื้นระหว่างการบรรทุกและการขนถ่าย 2 บรรจุภัณฑ์เลื่อนหรือไถลไปตกกระทบพื้นผิวอื่นๆ 3 ตกจากสายพาน 4 ผลจากการโยน ข ในแนวนอน 1 การหยุด หรือการสตาร์ทของรถไฟหรือรถยนต์ 2 รถยกเครนที่แกว่งและไปกระทบผนังหรือวัสดุอื่นๆ 3 การกระทบเนื่องจากการหยุดของสายพาน 4 การกระทบเนื่องจากการที่บรรจุภัณฑ์หยุดเคลื่อนไหว 5 ผลจากการโยน การสั่นสะเทือน 1 จากเครื่องมือในการขนถ่ายสินค้าในโรงงาน ท่าเรือ และอื่นๆ 2 เครื่องยนต์และการสั่นสะเทือนในระหว่างเดินทาง 3 การสั่นสะเทือนของรถไฟ 4 การสั่นสะเทือนของเรือ 5 เครื่องยนต์และการสั่นสะเทือนของเครื่องบิน การกดทับ 1 การจัดเรียงวางสินค้าในโรงงาน โกดังเก็บสินค้า และร้านค้า 2 การกดทับชั่วครั้งชั่วคราวของสินค้าระหว่างการขนส่ง 3 ระหว่างการขนย้าย เช่น รถเครน ลวดสลิง ตะขอยึด 4 สาเหตุจากข้อจำกัดการทำงานอื่นๆ การเสียรูปร่าง 1 การวางบรรจุภัณฑ์บนพื้นผิวไม่เรียบในโรงงาน 2 การยกบรรจุภัณฑ์โดยใช้เครื่องมือที่ไม่มีประสิทธิภาพ การเจาะทะลุ การฉีกขาด สาเหตุจากการใช้ตะขอหรือวิธีการใช้เครื่องมือในการขนย้ายที่ไม่ถูกต้อง หรือเครื่องมือไม่ดี 3 อันตรายจากการเก็บในคลังสินค้า อันตรายที่เกิดขึ้นมักจะลดลง ถ้ามีการใช้หิ้งหรือชั้นในคลังสินค้า หรือมีการคำนวณความสามารถรับน้ำหนักได้ของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ อย่างไรก็ตามสำหรับสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์จึงต้องคำนึงถึงสภาวะคลังสินค้า ณ จุดหมายปลายทาง ปรากฏการณ์ที่พบประจำ คือ การจัดเรียงสินค้าในกล่องลูกฟูกบนกะบะ รูปซ้ายมือ แทนที่จะเป็นการไขว้กัน รูปขวามือ ดังแสดงในรูปที่ 3 5 เนื่องจากความสามารถในการรับแรงในแนวดิ่งของกล่องที่อยู่ 4 มุม ดังแสดงในรูปที่ 3 6 รูปที่ 3 5 การจัดเรียงวางกล่องบนกะบะเป็นแบบแนวตรง ซ้ายมือ และแบบไขว้กัน ขวามือ รูปที่ 3 6 ความสามารถในการรับแรงของกล่องลูกฟูกอยู่ที่ 4 มุมของกล่อง 3 2 2 สภาวะอันตรายจากสภาพภูมิอากาศ อันตรายที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศได้จัดแยกประเภทไว้ในตารางที่ 3 4 อันประกอบด้วยสภาวะอุณหภูมิ ความกดดันต่ำ แสง และสภาวะเปียกน้ำ เป็นต้น ตารางที่ 3 4 อันตรายจากภูมิอากาศของการจัดจำหน่าย รูปแบบอันตราย สภาวะอันตราย อุณหภูมิสูง 1 ถูกแสงแดดโดยตรง 2 การอยู่ใกล้กับความร้อน 3 ถูกแสงแดดโดยทางอ้อมเนื่องจากการป้องกันความร้อนไม่ดีพอ 4 สภาวะอากาศร้อนมาก อุณหภูมิต่ำ 1 โกดังที่ไม่มีความอบอุ่นเพียงพอในสภาวะอากาศหนาวมาก 2 การขนส่งในสภาพที่ไม่มีความอบอุ่น 3 การเก็บสินค้าในที่ที่ไม่ควบคุมระดับอุณหภูมิ ความกดดันต่ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โดยเฉพาะในเครื่องบิน แสง 1 กระทบกับแสงแดด 2 กระทบกับรังสีอัลตราไวโอเล็ต 3 กระทบกับแสงอื่นๆ น้ำ ก น้ำธรรมชาติ ข น้ำสกปรก 1 น้ำฝนระหว่างการขนส่ง การบรรทุก 2 น้ำท่วม 3 การควบแน่นของน้ำและเหงื่อ 1 ไอเกลือของน้ำทะเลมาเกาะติดเรือขนส่ง 2 คราบของน้ำทะเลบนท่าเรือ 3 มลพิษของน้ำจากโรงงานและสารเคมี พายุ การเผชิญกับพายุทำให้พบกับฝุ่น หิน ทราย ไอน้ำ ความชื้นของบรรยากาศทั้งธรรมชาติและความจงใจ Artificial ระหว่างการขนส่ง บรรจุภัณฑ์อาจเกิดความเสียหายเนื่องจากฝน น้ำทะเล หรือการกลั่นตัวของหยดน้ำ Condensation การกลั่นตัวนี้จะแปรผันโดยตรงกับความชื้นสัมพัทธ์ และอุณหภูมิของสภาวะภูมิอากาศ ด้วยเหตุนี้สภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนจะมีผลกระทบโดยตรงต่อบรรจุภัณฑ์และสินค้าที่บรรจุอยู่ภายใน ความชื้นอาจส่งผลกระทบต่อสินค้าได้ 5 รูปแบบดังนี้ 1 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ สินค้าบางชนิด เช่น เครื่องหนังอาจจะเกิดการแห้ง สินค้าที่ทำด้วยไม้อาจมีการปริแตกเกิดขึ้น ในกรณีที่เป็นอาหารขบเคี้ยวจะสูญเสียความกรอบได้ เป็นต้น 2 การเปลี่ยนแปลงทางเคมีฟิสิกส์ ตัวอย่างเช่น การจับเป็นก้อนของเกลือและน้ำตาลหรือการสูญเสียน้ำของสินค้า 3 การเปลี่ยนแปลงทางจุลชีวะ ได้แก่ การเกิดเชื้อราหรือบักเตรี ถ้าสินค้ามีความชื้นมากจนเกินไป 4 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี ตัวอย่างเช่น การเกิดสนิมของโลหะ การกัดกร่อนของโลหะและการเกิด Browning ในผลิตภัณฑ์อาหาร 5 การเปลี่ยนแปลงเอนไซม์ Enzyme ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับสินค้าที่เป็นอาหาร ปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเกิดจากสภาวะความชื้นและอุณหภูมิที่แปรเปลี่ยนระหว่างขนส่ง ความแปรปรวนของอุณหภูมิที่ร้อนมากหรือเย็นมาก ย่อมมีอันตรายต่ออาหารบางประเภทอุณหภูมิที่สูงอาจเกิดจากสภาพภูมิอากาศโดยตรงหรือการตากแดดเป็นเวลานานๆ หรือการวางไว้ใกล้ๆ สิ่งที่กำเนิดความร้อน เช่น เตาอบ ไอน้ำ เป็นต้น ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความแปรปรวนของอุณหภูมิ คือ อาหารแช่แข็ง
การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 4 (อันตราย และการขนส่ง
อันตรายจากสภาวะภูมิอากาศไม่เพียงแต่สร้างอันตรายให้แก่ผลิตภัณฑ์อาหารเท่านั้น ยังมีผลกระทบต่อบรรจุภัณฑ์ด้วย โดยทำให้ความสามารถในการป้องกันรักษาคุณภาพของอาหารบรรจุภัณฑ์ลดน้อยลง ส่งผลให้ท้ายที่สุดผลิตภัณฑ์อาหารภายในบรรจุภัณฑ์เสื่อมคุณภาพได้เร็วขึ้น 3 2 3 สภาวะอันตรายจากปฏิกิริยาทางด้านชีวภาพ การสูญเสียอันเนื่องมาจากปฏิกิริยาทางชีวภาพนั้น เกิดจากจุลชีวะและสิ่งมีชีวิต อันได้แก่ บักเตรี bacteria เชื้อรา mold แมลงและหนู รายละเอียดของอันตรายดังกล่าวได้รวบรวมอยู่ในตารางที่ 3 5 แบคทีเรีย bacteria เป็นสาเหตุที่ทำให้อาหารเน่าเสีย food spoilage ได้มากที่สุด โดยเฉพาะอาหารที่มีความชื้นสูงและ pH ที่เป็นกลาง แบคทีเรียบางชนิดยังทำให้อาหารเป็นพิษด้วย เช่น ซาลโมเลลลา Salmonella ซึ่งสามารถเจริญเติบโตได้ในที่ไม่มีออกซิเจนและในอาหารที่มีความเป็นกรดต่ำ แต่โชคดีที่เชื้อนี้สามารถทำลายได้ด้วยความร้อนระดับพลาสเจอร์ไรส์ pastuerization เป็นต้น ส่วนเชื้อรานั้นสามารถเจริญเติบโตได้ในอาหารหลายชนิดและหลากหลายกว่าแบคทีเรีย อาหารที่เสื่อมเสียจากเชื้อราส่วนใหญ่มักเก็บไว้ในที่ค่อนข้างมืด สารพิษจากเชื้อราเรียกว่า ไมโคทอกซิน Mycotoxin ที่รู้จักกันดี คือ อะฟลาทอกซิน Aflatoxin ซึ่งพบมากในถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์เกษตรอื่นๆ ตารางที่ 3 5 อันตรายทางชีวภาพของการจัดจำหน่าย สาเหตุ สภาวะอันตราย ก จุลชีววิทยา เชื้อราและแบคทีเรีย โดยทั่วไป เชื้อราและแบคทีเรียจะไม่เจริญเติบโตในความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 70 RH ข พวกแมลงต่างๆ ผึ้ง มด ปลวก โดยทั่วไป พวกแมลงต่างๆ จะเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิสูงและมีความชื้นสัมพัทธ์ 70 RH อย่างไรก็ตามก็มีแมลงบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ในความชื้นสัมพัทธ์ 50 RH แต่ไม่เจริญเติบโตในอุณหภูมิต่ำกว่า 15° C การเจริญเติบโตจะเริ่มต้นตั้งแต่การวางไข่ในวัสดุบรรจุภัณฑ์จนฟักเป็นตัว ค มอด แมลงชนิดนี้จะไม่ทนต่อสภาพอากาศที่แห้ง ง หนู ส่วนมากพบในโกดังสินค้า ที่ร่ม ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญและการตายของจุลินทรีย์มีดังนี้ คือ สารอาหาร น้ำ อุณหภูมิ ออกซิเจน หรือคาร์บอนไดออกไซด์ ในบางกรณี pH หรือความเป็นกรด สารกันบูด Preservatives ผลกระทบของจุลินทรีย์ที่มีต่อกัน Micorbial interaction 1 สารอาหาร การควบคุมอาหารของจุลินทรีย์ทำได้โดยการทำความสะอาดเครื่องมืออุปกรณ์ให้สะอาดที่สุดด้วยวิธีนี้โอกาสที่จุลินทรีย์จะสะสมเจริญเติบโตในบริเวณที่ผลิตก็จะลดลง 2 น้ำ จุลินทรีย์ต้องการน้ำในการเจริญเติบโต หากน้ำในอาหารลดน้อยลงเรื่อยๆ ก็จะถึงจุดหนึ่งที่จุลินทรีย์ในอาหารนั้นหยุดการเจริญเติบโต เมื่อกล่าวถึงน้ำในอาหารนี้ก็จะต้องเป็นน้ำที่จุลินทรีย์นำไปใช้ประโยชน์ได้ นั่นคือจะต้องไม่เป็นน้ำที่มีพันธะ หรือ Bound Water ซึ่งถูกดึงไว้ในรูปโมเลกุลใหญ่ ตัวอย่างน้ำที่มีพันธะ ได้แก่ น้ำที่มีพันธะแฝงอยู่กับน้ำตาลในสารละลายน้ำเชื่อม เป็นต้น เราจึงเห็นได้ว่า น้ำเชื่อมเข้มข้นนั้นประกอบด้วยน้ำเป็นจำนวนมากแต่น้ำเชื่อมเข้มข้นนี้ส่วนมากอยู่ในรูป Bound ดังนั้นจุลินทรีย์จะไม่สามารถเจริญได้ ดูwater activity moisture contentด้วย 3 อุณหภูมิ ปัจจัยสำคัญที่จะควบคุมจุลินทรีย์ก็อยู่ที่อุณหภูมินี่เอง เมื่อลดอุณหภูมิลงเรื่อยๆ การเจริญของจุลินทรีย์ก็จะลดลงจนถึงหยุดเจริญ อย่างไรก็ตามการแช่แข็งไม่ได้ทำลายจุลินทรีย์แต่จะพียงหยุดการเจริญเท่านั้น เมื่อน้ำแข็งละลายแล้วอาหารมีอุณหภูมิสูงขึ้นจุลินทรีย์ก็จะกลับมาเจริญได้อีก การลดอุณหภูมิของอาหารลงไม่ต่ำเพียงพอเป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ food poisoning จำนวนมาก การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่อุณหภูมิสูงจะใช้เวลาสั้นกว่าที่อุณหภูมิต่ำ แบคทีเรียสามารถแบ่งตามระดับอุณหภูมิที่เจริญเติบโตได้ดังนี้ ไซโครไฟล์ Psychrophile พวกนี้เจริญได้ในที่อุณหภูมิต่ำ 5 ° C ถึง 5 ° C ไซโครโทรป Psychrotroph เจริญได้ที่ 5 ° C และเจริญได้ดีที่ 20 ° C 30 เมโซไฟล์ Mesophile เจริญที่ 35 ° C ซึ่งใกล้เคียงกับอุณหภูมิร่างกาย แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มนี้ เทอร์โมไฟล์ Thermophile คือ พวกที่เจริญได้ที่อุณหภูมิสูงกว่า 45 ° C ถึง 66 ° C พวกนี้มักเป็นกลุ่มที่ทำให้อาหารเน่าเสีย food spoilage แต่ไม่เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค pathogen การเก็บอาหารที่อุ่นร้อนเสมอจึงต้องอุ่นไว้ที่อุณหภูมิสูงกว่าที่กลุ่มนี้จะเจริญเติบโต คือที่ 77 ° C ขึ้นไป สำหรับอาหารกระป๋องต้องรีบทำให้เย็นลงหลังฆ่าเชื้อต่ำกว่า 41 ° C เพื่อป้องกันการเจริญของสปอร์ bacterial spore ของพวกเทอร์โมไฟล์นี้ 4 ออกซิเจน หรือคาร์บอนไดออกไซด์ จุลินทรีย์จำนวนมากต้องการออกซิเจนในการเจริญ ดังนั้นการจำกัดปริมาณออกซิเจนในบริเวณผิวอาหาร เช่น การบรรจุในถุงสุญญากาศ หรือ การแทนที่อากาศด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ก็จะสามารถลดการเจริญของทั้งจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคและที่ทำให้อาหารเสื่อมเสียได้ อย่างไรก็ตามจุลินทรีย์บางชนิดเจริญในที่ที่ปราศจากออกซิเจน เช่น Clostridium Botulinum ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่เป็นปัญหาสำคัญของอาหารกระป๋อง 5 pH หรือความเป็นกรด ในการผลิตอาหารมักมีการเติมกรดเพื่อปรับปรุงรสชาติหรือลักษณะเนื้อ ซึ่งในขณะเดียวกันก็จะทำให้มีผลลดการเจริญของจุลินทรีย์ pH ระหว่าง 0 ถึง 7 จัดว่าเป็นกรดสูง ในขณะที่ pH 7 ถึง 14 จัดว่าเป็นด่างหรือมีความเป็นกรดต่ำ และเป็นที่เข้าใจกันดีว่า ไม่มีจุลินทรีย์ชนิดใดเจริญเติบโตได้ที่ pH ต่ำกว่า 4 6 ดังนั้น การทำให้อาหารเป็นกรดจึงเป็นวิธีหนึ่งในการลดความเสี่ยงของ อาหารเป็นพิษ 6 สารกันบูด Preservatives การใช้สารกันบูดอย่างเหมาะสมช่วยลดและควบคุมการเจริญของจุลินทรีย์บางตัวได้ดี เช่น การใช้เบนโซเอท หรือซอร์เบท ในน้ำผลไม้ การใช้ไนไตรท์ในเบคอน อย่างไรก็ตาม การใช้สารเคมีเช่นนี้จะต้องใช้ในปริมาณที่เพียงพอเท่าที่จำเป็นจะทำให้ได้ผลเท่านั้น การใช้มากเกินไปจะเป็นอันตราย 7 ผลกระทบของจุลินทรีย์ที่มีต่อกัน Microbial Interaction การจัดการสภาวะให้เหมาะสมกับการเจริญของจุลินทรีย์ตัวหนึ่งอาจมีผลทำให้ลดการเจริญของอีกตัวหนึ่งได้ เช่น การใส่เกลือในการทำอาหารดองเปรี้ยวจะช่วยให้ Lactic Acid Bacteria เจริญและสร้างกรดแลกติกเป็นผลให้ pH ของอาหารลดต่ำลงจนไม่เหมาะสมที่จุลินทรีย์อื่นจะเจริญได้ รูปที่ 3 7 ผลของอุณหภูมิที่มีผลต่อการเจริญและตายของจุลินทรีย์ แบคทีเรีย อันตรายที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเช่น หนู อาจป้องกันได้ด้วยการรักษาสภาวะการเก็บให้สะอาดถูกสุขลักษณะ ส่วนการป้องกันอันตรายจากแบคทีเรียและเชื้อรานั้น จำต้องควบคุมความชื้นภายในบรรจุภัณฑ์ ในบางกรณีอาจใช้สารดูดความชื้นภายในบรรจุภัณฑ์หรือการปรับสภาพภายในบรรจุภัณฑ์ด้วยก๊าซเฉื่อย Modified Atmosphere Packaging เป็นต้น ส่วนอันตรายที่เกิดจากเชื้อรานั้นเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยมากในประเทศเขตร้อน พลาสติกแต่ละประเภทจะทนต่อการเจาะผ่านของแมลงแตกต่างกัน ข้อมูลที่รวบรวมไว้ในตารางที่ 3 6 แสดงว่าถุง PET จะทนต่อการเจาะผ่านของแมลงนานที่สุด โดยใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 6 สัดาห์โดยที่พลาสติกอื่นๆ ใช้เวลา 3 4 สัปดาห์เท่านั้น ตารางที่ 3 6 อัตราการเจาะผ่านวัสดุบรรจุภัณฑ์ของแมลง วัสดุบรรจุภัณฑ์ ความหนา มิลลิเมตร เวลาโดยเฉลี่ยก่อนการเจาะผ่าน สัปดาห์ Cellulose Film 0 023 0 036 0 041 3 3 3 5 Polyethylene Film 0 038 0 050 0 100 3 3 3 PVC PVDC Copolymer Film 0 038 0 050 3 4 Polyethylene Terephthalate 0 025 6 แหล่งที่มา Paine F A Fundamentals of Packaging p 60 3 2 4 สภาวะอันตรายอื่นๆ นอกเหนือจากสภาวะอันตรายต่างๆ ดังกล่าวแล้วยังมีอันตรายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นได้สรุปไว้ในตารางที่ 3 7 ตารางที่ 3 7 อันตรายจากการปนเปื้อน ก ปนเปื้อนจากบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ข้างๆ ส่งผลให้รายละเอียดที่พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์เลอะเลือนไปการปนเปื้อนจากวัสดุที่เปียกและสกปรก ข การรั่วซึมจากสินค้าที่อยู่ใกล้เคียง สินค้าที่เป็นของเหลว ก๊าซ รั่วซึมมาปนเปื้อนทำให้ผิวบรรจุภัณฑ์เสียหายหรือสินค้าใช้งานไม่ได้ ค การแผ่รังสี การแผ่กัมมันตรังสีของสินค้าที่ขนส่งไปด้วยกัน 3 3 ระบบการขนส่ง บรรจุภัณฑ์อาหารมีบทบาทในการนำผลิตภัณฑ์อาหารจากแหล่งผลิตไปยังแหล่งบริโภค การศึกษาถึงสภาวะการขนส่งในแต่ละประเภท ย่อมมีความจำเป็นต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องอันตรายในระหว่างการขนส่งได้อย่างสมบูรณ์ 1 การเลือกระบบการขนส่ง หน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของบรรจุภัณฑ์ คือการกระจายสินค้าไปยังที่ต่างๆ ด้วยการใช้ระบบการขนส่งที่เหมาะสม การกระจายสินค้ามีได้หลายรูปแบบและสลับซับซ้อนแตกต่างกัน แต่ด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ การนำส่งบรรจุภัณฑ์พร้อมสินค้าจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง การเลือกระบบการขนส่งอาจเลือกได้หลายระบบแล้วแต่ละสถานะของสินค้าที่จะส่งและความสะดวกของระบบการขนส่งแต่ละประเภท หลักการในการเลือกระบบการขนส่ง อาจประกอบด้วย 1 ความรีบด่วนของการจัดส่ง 2 ปริมาณ น้ำหนัก หรือปริมาตร ที่สามารถจัดส่งในแต่ละเที่ยว 3 ความสามารถในการจัดส่งโดยตรง โดยไม่มีการขนถ่ายระหว่างทาง Trans shipment 4 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับการขนส่ง 5 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 6 ต้นทุนของสินค้าที่บรรจุใส่ในบรรจุภัณฑ์ ไม่ว่าจะพิจารณาจากองค์ประกอบใดทั้ง 6 ข้อ สิ่งที่พึงสังวรคือ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้นั้นจำต้องปกป้องสินค้าจากอันตรายที่เกิดระหว่างการขนส่ง หรือสามารถเสริมให้เกิดความสะดวกในการจัดส่งและขนย้าย เนื้อหาต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงรายละเอียดของระบบการขนส่ง 5 ประเภทที่นิยมใช้ในปัจจุบันนี้ 1 การขนส่งทางรถยนต์ การขนส่งทางรถยนต์เป็นวิธีการขนส่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในขณะนี้ เนื่องจากสามารถทำการจัดส่งได้สะดวกแบบระบบจากประตูถึงประตู และเป็นการขนส่งที่มีค่าใช้จ่ายน้อย เนื่องจากมีการเก็บค่าผ่านทางน้อย พร้อมทั้งเส้นทางถนนสามารถครอบคลุมได้กว้างขวางมาก ด้วยความก้าวหน้าทางการขนส่ง ในปัจจุบันรถยนต์สามารถข้ามน้ำข้ามทะเลด้วยการขึ้นขับไปบนเรือได้เลย อย่างไรก็ตาม การขนส่งทางรถยนต์ก็ถูกจำกัดด้วยปริมาณของสินค้าที่จะขนส่งต่อครั้ง ไม่ว่าจะเป็นในรูปของน้ำหนักหรือปริมาตรสินค้า ในประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะมีมาตรฐานของบรรจุภัณฑ์ที่จะใช้สำหรับสินค้าต่างชนิดกัน ตัวอย่างเช่น กฎ Item 222 ในสหรัฐอเมริกาที่กำหนดมาตรฐานของบรรจุภัณฑ์ National Motor Freight Classification กฎนี้จะกำหนดคุณลักษณะของบรรจุภัณฑ์ขั้นพื้นฐานที่จะสามารถปกป้องสินค้าระหว่างการขนส่งพร้อมทั้งใช้เป็นเกณฑ์ในการ Claim สำหรับการประกันสินค้าเมื่อมีการแตกหักระหว่างการขนส่ง กล่าวโดยสรุปแล้ว การขนส่งทางรถยนต์มีเครือข่ายกว้างขวาง มีค่าใช้จ่ายต่ำโดยที่ผู้ประกอบธุรกิจสามารถลงทุนพาหนะเองได้ พร้อมทั้งมีความปลอดภัย ยกเว้นว่าจะมีความแปรปรวนในสภาวะดินฟ้าอากาศตามฤดูกาล 2 การขนส่งทางรถไฟ การขนส่งทางรถไฟในประเทศไทยมักจะได้รับความนิยมน้อยลง เนื่องจากการแข่งขันจาก ระบบการขนส่งรถยนต์ อย่างไรก็ตาม การขนส่งทางรถไฟได้รับการยอมรับว่ามีความเร็วสูง ถ้าสถานที่ส่งและจุดหมายปลายทางต่างๆ มีรางรถไฟไปถึง การขนส่งทางรถไฟมักจะต้องพึ่งวิธีการขนส่งประเภทอื่นๆ เช่น การขนส่งทางรถยนต์ ด้วยเหตุนี้จึงอาจมีการเสียเวลาด้วยการขนถ่ายสินค้าจากระบบการขนส่งหนึ่งไปอีกระบบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การขนส่งทางรถไฟนั้นเหมาะสำหรับการขนส่งสินค้ามวลมาก Bulk material เช่น น้ำมัน แร่ เป็นต้น แต่สินค้าเหล่านี้เมื่อใช้การขนส่งทางรถไฟแล้ว มักจะไม่ต้องใช้บรรจุภัณฑ์ใด ปริมาณของสินค้าที่จะใช้ขนส่งนั้นจะแปรผันตามความยาวของโบกี้ตู้สินค้าและน้ำหนักที่จะได้รับ ด้วยเหตุนี้ ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จึงมีการกำหนดคุณภาพของบรรจุภัณฑ์ที่จะใช้ขนส่งทางรถไฟโดยเรียกว่า Uniform Freight Classification หรือรู้จักกันในชื่อของ Rule 41 คล้ายคลึงกัน Item 222 ของการขนส่งทางรถยนต์ 3 การขนส่งทางน้ำภายในประเทศ ระบบการขนส่งทางน้ำมีองค์ประกอบแปรผันหลายองค์ประกอบ ยกตัวอย่างเช่น ระดับน้ำของแม่น้ำ ขนาด และท่าเรือที่มี แม้ว่าการขนส่งทางเรือนี้อาจจะมีความเร็วช้า และมีอุปสรรคในการขนส่ง เช่น มีโขดหิน ตอ เป็นต้น แต่ทว่าไม่ค่อยจะมีกฎเกณฑ์บังคับเหมือนกับระบบการขนส่งอื่นๆ 4 การขนส่งทางทะเล การขนส่งทางทะเลนี้เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเกือบทุกประเภทที่ไม่ต้องการความเร็วในการขนส่ง พาหนะที่ใช้ในการขนส่งทางทะเลมีหลายรูปแบบ มีพาหนะที่ใช้ขนส่งเฉพาะสินค้า เช่น น้ำมัน เมล็ดพืช เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การขนส่งทางทะเลได้รับความนิยมมากขึ้นจากการใช้คอนเทนเนอร์มาเป็นพาหนะ เนื่องจากสามารถลดอันตรายในการขนส่งและการขโมยที่อาจเกิดขึ้น ลดการขนถ่ายระหว่างทาง เพิ่มประสิทธิภาพในการขนย้ายโดยใช้เครื่องมืออัตโนมัติ ข้อจำกัดของการขนส่งทางเรือ คือ ท่าเรือที่มีอยู่ และวิธีการขนถ่ายของแต่ละท่าเรือการใช้บริการขนส่งทางทะเลนั้น มักใช้บริการของผู้ประกอบการขนส่ง เช่น ผู้ประกอบการที่รวมกนเป็นกลุ่ม Conference ที่คิดค่าระวางเป็นราคาที่แน่นอน แต่อาจแปรผันตามปริมาณที่ขนส่งและมูลค่าของสินค้า สำหรับการขนส่งทางทะเลที่เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจข้ามชาติ จะมีกฎหมายระหว่างประเทศควบคุมอยู่ 5 การขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางอากาศนี้นับเป็นวิธีการขนส่งที่เร็วที่สุด แม้ว่าจะต้องพึ่งวิธีการขนส่งแบบอื่นให้ส่งถึงปลายทางสุดท้าย อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าในการขนถ่ายอาจลดลงได้ ถ้าใช้เครื่องมือสมัยใหม่เข้าช่วยเนื่องจากการขนส่งทางอากาศนี้ใช้ตู้คอนเทนเนอร์ที่มีขนาดแน่นอน ทำให้การขนส่งเป็นไปอย่างสะดวก กฎข้อบังคับที่ใช้ในการขนส่งและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้จะถูกควบคุมโดย International Air Transport Association IATA การขนส่งทางอากาศนี้ นับเป็นการขนส่งที่มีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นจึงเหมาะกับสินค้าที่ต้องการไปถึงจุดหมายปลายทางเร็ว เช่น ผัก ผลไม้สด หรือสินค้าที่มีราคาแพง อันตรายที่จะมีต่อการขนส่งทางอากาศนี้จะคล้ายๆ กับการขนส่งทางทะเล คือ ผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ เช่น หมอก หิมะ เป็นต้น 2 การประเมินระดับอันตรายในการขนส่ง ตามความรู้ทางด้านฟิสิกส์การเคลื่อนย้ายของสิ่งของใดๆ เมื่อเทียบกับเวลาจะวัดเป็นความเร็วและความเร็วที่เปลี่ยนแปลงต่อหน่วยเวลาจะเป็นความเร่ง บรรจุภัณฑ์ขนส่งด้วยระบบการขนส่งใดๆ จะได้รับทั้งแรงสั่นสะเทือนและการกระแทก การกระแทกที่เกิดขึ้นมักจะมีการเคลื่อนย้ายซึ่งจะวัดเป็นระยะทางมีหน่วยเป็นเซนติเมตรหรืออาจจะเป็นเมตร ความอันตรายที่เกิดจากการกระแทกมีคุณลักษณะที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเป็นเสี้ยวของวินาทีหรือเศษหนึ่งส่วนพันของวินาที millisecond หรือ ms เวลาที่ใช้ในการตกกระแทกยิ่งสั้น ความรุนแรงเกิดจากการตกกระแทกนั้นๆ จะยิ่งมาก ความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับความรุนแรงของการกระแทกนี้เปรียบเสมือนคล้ายคลึงกับการที่หน้าคนถูกลูบหรือว่าถูกตบ การถูกลูบใช้เวลาสัมผัสต่อผิวด้วยเวลาที่ยาวนานกว่าจึงไม่รุนแรงเท่ากับการถูกตบซึ่งใช้เวลาอันสั้น ส่วนการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นเปรียบเสมือนกับการกระแทกแต่เป็นการกระแทกที่มีการเคลื่อนย้ายด้วยระยะทางสั้นๆ มีหน่วยวัดเป็นเพียงแค่มิลลิเมตร แต่เกิดขึ้นบ่อยครั้งมาก อาจวัดได้ถึง 100 ครั้ง หรือ 1000 ครั้งต่อวินาทีโดยมีหน่วยเป็น Hz เฮิทซ์ Hertz ความเร็วที่เกิดขึ้นกับการกระแทกและการสั่นสะเทือนของบรรจุภัณฑ์นี้วัดเป็นหน่วยของ G หรือ gs ซึ่งมีความหมายว่า ความเร่งที่เกิดการกระแทกหรือสั่นสะเทือนนั้นได้วัดเป็นกี่เท่าของความเร่งโน้มถ่วงโลก สมมุติว่าความเร่งที่เกิดขึ้นกับบรรจุภัณฑ์มีค่า 140 เมตร วินาที วินาที ค่าของความเร่งนี้เมื่อเทียบกับความเร่งโน้มถ่วงโลกคือ 140 9 8 14 3 G ความเร่งโน้มถ่วงโลกมีค่าเท่ากับ 9 8 เมตร วินาที วินาที หรือ 980 เซนติเมตร วินาที วินาที ด้วยเหตุนี้เมื่อไรก็ตามที่กล่าวถึงความรุนแรงในการตกกระแทกหรือการสั่นสะเทือนเป็นค่า G หรือ gs ก็คือ เป็นกี่เท่าเมื่อเทียบกับความเร่งโน้มถ่วงโลก สรุปความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ระบบการขนส่งต่างๆ และความสามารถในความทนต่อการกระแทกของสินค้าต่างๆ ดังตารางที่ 3 8 และตารางที่ 3 9 ตารางที่ 3 8 การสั่นสะเทือนที่เกิดระหว่างการขนส่ง ระบบการขนส่ง ความถี่ ค่าสูงสุดของ G ตู้ขบวนรถไฟ ความถี่ระบบการทรงตัว Suspension 2 7 HZ ½ gs โครงสร้างรถ 50 70 HZ ½ gs รถขนสินค้า ระบบการทรงตัว Suspension 2 7 HZ ½ gs โครงสร้าง 50 100 HZ ½ gs เครื่องบิน ใบพัด 2 4 6 HZ ต่ำมาก เจ็ต 100 200 HZ ต่ำมาก เรือ คลื่นและเครื่องเรือ 10 100 HZ ต่ำมาก ตารางที่ 3 9 ค่าความเปราะ Fragility ของสินค้าบางประเภท สินค้า ค่าของ gs เปราะแตกหักง่ายมาก เครื่องมือทดสอบ 15 25 gs บอบบางมาก เครื่องมืออิเล็คทรอนิคส์ 25 40 gs บอบบาง เครื่องมือไฟฟ้าทั่วๆ ไป 40 60 gs แข็งแรง โทรทัศน์ 60 85 gs แข็งแรงพอควร ตู้เย็น 85 115 gs แข็งแรงมาก เครื่องจักร 115 gs และมากกว่า แหล่งที่มา Brandenburg Richard K and Lee Julian June Ling Fundamentals of Packaging Dynamics < < ย้อนกลับ การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่3อ่านต่อ การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่5 > > < < กลับสู่หน้าหลัก
การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 5 (วัสดุกันกระแทก และ การปิดกล่อง)
3 4 การออกแบบวัสดุป้องกันการสั่นกระแทกและการปิดกล่อง การออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อป้องกันอันตรายทางกายภาพ แนวทางการออกแบบที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยและสามารถปกป้องสินค้าได้ดี คือ การเลือกใช้วัสดุกันการสั่นกระแทก Cushioning Materials ภายในบรรจุภัณฑ์ขนส่ง ในทุกสภาวะการขนส่ง ผลิตภัณฑ์จะเผชิญกับการตกกระแทกและการสั่นสะเทือนในรูปแบบต่างกัน บรรจุภัณฑ์ที่มีผลิตภัณฑ์อยู่ภายในอาจจะมีการตกหล่นในระหว่างการเคลื่อนย้ายไม่ว่าใช้แรงงานคนหรือเครื่องมือในการขนย้าย โอกาสที่บรรจุภัณฑ์จะตกหล่นระหว่างการเคลื่อนย้ายโดยใช้แรงงานมีมากกว่า ส่วนโอกาสและความบ่อยครั้งที่จะเกิดขึ้นกับบรรจุภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบามากกว่าบรรจุภัณฑ์ที่มีน้ำหนักมาก สำหรับการเคลื่อนย้ายโดยใช้เครื่องมือ เช่น รถยก โอกาสในการตกกระแทกจะมีน้อย แต่เมื่อบรรจุภัณฑ์นั้นเกิดตกหล่น ความสูงในการตกอาจจะสูงถึง 1 5 เมตร วัตถุประสงค์ของการใช้วัสดุป้องกันการสั่นกระแทกคือ การป้องกันผลิตภัณฑ์จากความเสียหาย อันมีสาเหตุมาจากการตกกระแทกและหรือการสั่นสะเทือนระหว่างการขนส่งและการเคลื่อนย้าย ซึ่งวัสดุป้องกันการสั่นกระแทกที่จะทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายนั้นจะต้องทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน ดังนี้ สามารถรับแรงกระแทกและป้องกันส่งผ่านแรงกระแทกไปยังผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น แผ่นกระดาษลูกฟูกที่รองไว้ใต้กล่องของอาหารขบเคี้ยวหรือผลไม้สด ปกป้องผลิตภัณฑ์จากการเคลื่อนไหวภายในตัวบรรจุภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น ไส้กล่องในกล่องเบียร์หรือกล่องน้ำปลา มีวัสดุและวิธีการต่างๆ หลายประเภทที่สามารถนำมาเป็นวัสดุป้องกันการสั่นกระแทก งานของผู้พัฒนาบรรจุหีบห่อคือการเลือกวัสดุป้องกันการสั่นกระแทกที่สามารถป้องกันสินค้าจากความเสียหายได้อย่างเพียงพอด้วยต้นทุนที่เหมาะสม เพื่อที่จะเลือกสารกันการสั่นกระแทกได้ถูกต้อง ปัจจัยในการเลือกสารกันการสั่นกระแทก มีดังนี้ รูปทรง ขนาด และน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ ความเปราะของผลิตภัณฑ์ในแง่ของการตกกระแทกและการสั่นสะเทือน ประเภทของการตกกระแทกและอัตราการขยาย Magnitude ของการตกกระแทกซึ่งจะมีผลทำให้ผลิตภัณฑ์เสียหาย การตกกระแทกและการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นในวงจรของกระบวนการขนส่งและจัดจำหน่ายเนื่องจากผลิตภัณฑ์มีการเคลื่อนย้ายตลอดเวลา ตั้งแต่จากโกดังเก็บสินค้า ท่าเรือ โกดัง ผู้ค้าขายส่ง ผู้ค้าขายปลีกจนถึงหิ้งขายสินค้า คุณสมบัติ ต้นทุน และความสามารถในการจัดหาวัสดุกันการสั่นกระแทกที่เลือกไว้ ความต้องการของตลาด เป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายของวัสดุกันการสั่นกระแทกที่ใช้แล้ว ตัวอย่างเช่น ในประเทศเยอรมัน วัสดุบรรจุภัณฑ์ทุกชนิดต้องสามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งแน่นอนทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ดังนั้น การเลือกวัสดุกันการสั่นกระแทกที่สามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้จะทำให้ผู้ส่งออกสามารถแข่งขันในตลาดได้ มากกว่าที่จะเลือกวัสดุกันการสั่นกระแทกที่ยากหรือลำบากต่อการหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ หัวใจสำคัญในการเลือกวัสดุกันการสั่นกระแทก คือ เมื่อเกิดการสั่นสะเทือนและการกระแทกตามที่ได้ประเมินอันตรายไว้แล้ว จะไม่มีการกระแทกจนกระทั่งถึงพื้นข้างล่างที่เรียกว่า Bottom Out เพราะการกระแทกถูกผิวข้างล่างจะทำให้สินค้าเสียหาย การหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ Bottom Out จำต้องเลือกวัสดุกันการสั่นกระแทกที่มีความหนาแน่น ความหนา และพื้นผิวที่รองรับสินค้าได้พอเหมาะ วัสดุกันการสั่นกระแทกสามารถผลิตจากวัสดุบรรจุภัณฑ์ต่างๆ มากมาย ตัวอย่างวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารได้แก่ 1 กระดาษลูกฟูก สำหรับกระดาษลูกฟูกแบบ 3 ชั้น นิยมใช้เป็นแผ่นรองหรือแผ่นแยก และแผ่นกั้นหรือไส้กล่อง เพื่อที่จะเก็บหรือยึดผลิตภัณฑ์ให้อยู่กับที่ในบรรจุภัณฑ์ สำหรับกระดาษลูกฟูกแบบ 2 ชั้น นิยมใช้เป็นกระดาษห่อ แต่กระดาษมีความสามารถในการรับแรงกระแทกจำกัดเนื่องจากไม่สามารถคืนตัวกลับสู่สภาพเดิมหลังจากมีการกระแทกและเปื่อยง่ายเมื่อดูดซึมความชื้นแล้ว อย่างไรก็ตามกระดาษลูกฟูกเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ง่ายต่อการหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่และมีราคาถูกจึงทำให้เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ตัวอย่างการใช้กระดาษลูกฟูกเป็นวัสดุกันกระแทก ได้แก่ การใช้กระดาษลูกฟูกเป็นแผ่นกั้น เพื่อป้องกันบรรจุภัณฑ์แก้วกระทบกระทั่งกันหรือใช้ป้องกันผลิตภัณฑ์ด้วยการปูพื้นหรือฝากล่องก่อนปิด 2 กระดาษคราฟท์ ส่วนมากจะใช้กระดาษรีไซเคิลมาเป็นกระดาษห่อ กระดาษคราฟท์จะมีความสามารถในการดูดซับแรงกระแทกจำกัด แต่มีข้อดีคือไม่ไวต่อความชื้นเหมือนกระดาษลูกฟูก วัสดุกันกระแทกที่ทำจากกระดาษง่ายต่อการรีไซเคิล และได้รับการพัฒนาให้เป็นคู่แข่งกับพลาสติกฟองอากาศ Air Bubble Film และโฟมชนิดต่างๆ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น 3 เยื่อกระดาษขึ้นรูป คุณสมบัติของเยื่อกระดาษขึ้นรูปคือ มีน้ำหนักเบาและไม่คืนตัวแต่สามารถขึ้นรูปตามต้องการได้ ความสามารถในการดูดซับแรงกระแทกมีจำกัด และมีความไวต่อความชื้นพอสมควรถ้าไม่ได้ผ่านกรรมวิธีการผลิตเพิ่มเติม เยื่อกระดาษขึ้นรูปจะป้องกันผลิตภัณฑ์ไม่ให้เคลื่อนตัวภายในบรรจุภัณฑ์ และสามารถทำจากกระดาษรีไซเคิลซึ่งเป็นที่นิยมใช้ แต่มีข้อจำกัดที่ว่า ห้ามบรรจุอาหารเนื่องจากทำจากกระดาษรีไซเคิล ยกเว้นจะมีการเคลือบ 4 พลาสติกฟองอากาศ Air Bubble Film ทำจากฟิล์ม Polyethylene 2 ชั้น และประกบกันเพื่อให้เกิดฟองอากาศเล็กๆ ระหว่างชั้น ส่วนใหญ่จะวางรองในกล่องผลไม้สด พลาสติกฟองอากาศมีคุณสมบัติเหนียว สะอาดและไม่เกิดสนิม ไม่ดูดซับความชื้น จึงเหมาะสมที่จะใช้เป็นวัสดุกันกระแทกสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการป้องกันการตกกระแทกมากกว่าที่จะป้องกันการสั่นสะเทือน 5 กระดาษที่ย่อยเป็นเศษ Shredded Paper มีราคาถูกและหาง่าย แต่มีข้อด้อย คือ มีคุณสมบัติในการเป็นวัสดุกันกระแทกที่เลว เพราะว่ากระดาษพวกนี้จะดูดซับความชื้นและไม่ถูกสุขอนามัย ในประเทศอุตสาหกรรม กระดาษที่บดย่อยเป็นเศษโดยเฉพาะที่เป็นพวกกระดาษหนังสือพิมพ์ไม่ได้รับการยอมรับ ในปัจจุบัน ประเทศอุตสาหกรรมนิยมใช้วัสดุกันกระแทกประเภทพลาสติก แต่ก็กำลังเผชิญกับการแข่งขันของวัสดุกันกระแทกประเภทกระดาษ เนื่องจากกระแสรักษ์สิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรงขึ้น เมื่อเลือกวัสดุที่จะใช้ป้องกันการสั่นกระแทก แล้วขั้นตอนสุดท้าย คือ การปิดกล่อง วิธีการปิดกล่องที่นิยมใช้มีอยู่ 3 วิธี คือ 1 การทากาว สามารถแยกประเภทของกาวที่ใช้ทา มีตั้งแต่แป้งเปียก กาวลาเท็กซ์ และกาวฮอทเมลท์ Hot Melt เรียงตามลำดับความแข็งแรงของกาวหลังจากการปิดกล่อง กาวฮอทเมลท์ อาจจะมีราคาต่อหน่วยน้ำหนักสูงแต่ใช้เป็นจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับกาวอีก 2 ชนิดและสามารถเชื่อมติดฝาได้อย่างแน่นหนา พร้อมทั้งต้องใช้เวลาในการเย็นตัว Curing Time สั้นมาก จึงเหมาะแก่อุตสาหกรรมที่มีการผลิตสูงและต้องการความรวดเร็วในการทำงาน ข้อเสียในการปิดกล่องด้วยกาว คือ เวลาเปิดจะเปิดลำบากต้องฉีกฝาและมีโอกาสทำให้กล่องเสียหาย และราคาขายต่อกล่องที่ใช้แล้วลดน้อยลง นอกจากนี้ การทากาวโดยใช้แรงงานคนมีโอกาสทำให้ฝาปิดไม่สนิทและฝุ่นมีโอกาสเล็ดลอดเข้าไปในกล่องได้ 2 การเย็บด้วยเครื่องเย็บลวด ลวดที่ใช้มี 2 อย่าง คือ ลวดเป็นแถบที่ขึ้นรูปแล้ว ลักษณะเหมือนแถบลวดเย็บกระดาษที่ใช้ในสำนักงาน และลวดที่ขดเป็นม้วน เครื่องเย็บลวดที่ใช้ทั้งมือจับโยกกับเครื่องที่ใช้เท้าเหยียบซึ่งเหมาะกับการเย็บก้นกล่อง การใช้วิธีการเย็บลวดนี้ ถ้าใช้กับบรรจุภัณฑ์ชั้นในที่เป็นซองหรือถุง อาจมีอันตรายเกี่ยวให้ถุงและซองยาขาดได้ ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับใช้กับบรรจุภัณฑ์คงรูปและแข็งแรง เช่น กระป๋อง และขวดแก้ว เป็นต้น รูปที่ 3 8 การทำงานของลวดเย็บและกดตะเข็บ กล่องปิดด้วยลวดเย็บนี้สร้างความสะดวกต่อผู้ขายปลีกเพราะสามารถเปิดกล่องออกได้ง่าย ในการปิดด้วยลวดเย็บแต่ละตะเข็บไม่ควรห่างเกินกว่า 6 4 เซนติเมตร 2 5 นิ้ว ตรงบริเวณกลางกล่องที่ฝาใหญ่มาชนกัน ส่วนบริเวณด้านข้างที่มีฝาเล็กรองรับอยู่นั้น ตะเข็บแต่ละตะเข็บไม่ควรเย็บห่างเกิน 12 7 เซนติเมตร 5 นิ้ว ลักษณะของลวดเย็บและกดตะเข็บดังแสดงในรูปที่ 3 8 3 การปิดด้วยเทป เมื่อมีการปิดอย่างมิดชิดด้วยเทป 3 เส้นในแต่ละด้านของฝากล่องจะสามารถป้องกันฝุ่นได้เป็นอย่างดี และให้ความแข็งแรงพร้อมทั้งเอื้ออำนวยความสะดวกในการเปิดกล่อง เทปที่จะใช้ในการปิดกล่อง อาจแบ่งเป็นเทปกระดาษ เทปพลาสติก และเทปเสริมใยเพื่อความแข็งแรง Reinforce Tape นอกจากแยกตามวัสดุแล้ว ยังต้องมีเทปที่ต้องทาน้ำก่อนปิดซึ่งมักจะเป็นเทปที่ทำจากกระดาษเหนียวสีน้ำตาลน้ำหนักมาตรฐาน 97 gsm มีความกว้าง 5 1 เซนติเมตร 2 นิ้ว ส่วนเทปพลาสติกและเทปเสริมใยเพื่อความแข็งแรงนั้นมักเป็นเทปที่มีกาวในตัว Self adhesive Tape วิธีการปิดกล่องโดยการใช้เทปกาวในตัว นับได้ว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิผลในการป้องกันสินค้าภายใน โดยปกติถ้ากล่องลูกฟูกที่มีน้ำหนักเกินกว่า 10 กิโลกรัมจะใช้เทปปิดเพียงเส้นเดียวต่อด้าน ดังแสดงใน 3 รูปข้างล่างของรูปที่ 3 9 แต่ถ้าน้ำหนักเกินกว่า 10 กิโลกรัมมักจะใช้การปิดเทปกาว 3 เส้นต่อด้าน ในกรณีที่ใช้เทปเสริมใยเพื่อความแข็งแรงซึ่งมีความแข็งแรงกว่าเทปธรรมดาที่เป็นกระดาษและพลาสติกนั้น การปิดกล่องสามารถใช้เทปชิ้นเดียวมีความกว้างไม่เกิน 7 62 เซนติเมตร 3 นิ้ว ปิดบริเวณตรงกลางกล่องก็พอ ส่วนปลายที่ติดอยู่ด้านข้างของกล่องนั้นควรมีความยาวเกิน 6 35 เซนติเมตร 2 5 นิ้ว เพื่อยึดติดกับด้านข้างของกล่อง รูปที่ 3 9 การปิดเทปของกล่องกระดาษลูกฟูก แหล่งที่มา Friedman W F Distribution Packaging p 404 จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่า การปิดกล่องที่สามารถทำให้ฝาเล็กภายในกล่องยึดติดกับฝาใหญ่ภายนอกได้อย่างสนิทจะมีผลต่อความสามารถรับแรงกดในแนวดิ่ง เนื่องจากเมื่อได้รับแรงกดถ้าฝาทั้งสี่ของกล่องได้รับการยึดกันแน่นเป็นแผ่นเดียวกันจะป้องกันการโป่งออกของตัวผิวกล่องดังแสดงในรูปซ้ายมือรูปที่ 3 10 ในทางตรงกันข้ามถ้าฝาเล็กภายในกล่องไม่ได้ยึดติดกับฝาใหญ่ภายนอก เมื่อได้รับแรงกดฝาเล็กด้านบนจะงอลง ส่วนฝาเล็กด้านล่างจะงอขึ้น ดังแสดงในรูปขวามือของรูปที่ 3 10 การปิดกล่องที่ถูกวิธีย่อมมีผลต่อการใช้งานของกล่อง ไม่ว่าจะเป็นแง่ของการป้องกันฝุ่น ความสะดวกในการเปิดใช้ การรับแรงกดของกล่องและแม้กระทั่งมูลค่าของกล่องที่ใช้แล้วสามารถไปขายต่อได้ราคาสูง รูปที่ 3 10 แสดงการงอตัวของฝาด้านในเมื่อได้รับแรงกด สืบเนื่องจากการพัฒนาโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์อาหารมักจะประยุกต์ใช้กับกล่องกระดาษลูกฟูกที่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ขนส่ง นอกเหนือจากการปิดกล่องซึ่งมีผลต่อความแข็งแรงของกล่องดังกล่าวมาแล้ว สิ่งที่ได้รับการละเลยอยู่เสมอในวงการอุตสาหกรรมอาหาร คือ การเก็บดูแลกล่องในคลังสินค้าก่อนการใช้งาน มักจะพบอยู่ที่คนงานมักนั่งทับหรือเหยียบกล่องกระดาษลูกฟูกในคลังสินค้าก่อนการใช้งาน ซึ่งทำให้ลอนของลูกฟูกแบนเสียรูปทรง ส่งผลให้กล่องลูกฟูกลดประสิทธิภาพในการป้องกันสินค้าที่บรรจุอยู่ภายในเมื่อใช้งาน นอกเหนือจากการเหยียบ นั่งทับกล่องลูกฟูก ยังมีสิ่งที่พึงระวังดังต่อไปนี้ 1 เมื่อยังไม่ถึงเวลาใช้งาน อย่าแกะเชือกหรือสายรัดที่มัดกล่อง 2 การเรียงซ้อนกล่องเปล่าก่อนการใช้งาน ควรเรียงแบบไขว้กัน Interlock คล้ายคลึงกับรูปทางขวามือในรูปที่ 3 5 ซึ่งเป็นการเรียงไขว้กันของกล่องที่บรรจุสินค้าแล้ว 3 อย่าเรียงกล่องเปล่าที่ยังไม่ใช้งานให้สูง เพราะลอนของกล่องล่างจะมีโอกาสถูกกล่องที่อยู่ข้างบนกดทับจนลอนกระดาษแบน 4 ไม่สมควรเรียงกล่องเปล่าแบนราบติดพื้นดิน เนื่องจากจะเกิดการดูดซึมความชื้นจากพื้นดินอย่างน้อยที่สุดควรมีกระดาษรองรับก่อนหรือวางเรียงบนกะบะที่มีกระดาษหรือไม้รองรับ 5 เวลาเคลื่อนย้ายกล่องเปล่าที่มัดเป็นมัดๆ ไม่ควรทำการโยน 6 ควรเรียงวางกล่องเปล่าแบนราบบนพื้น แทนที่จะวางตั้งกับพื้น 7 พยายามหลีกเลี่ยงการเก็บกล่องเปล่าที่ยังไม่ได้ใช้งานในที่ร้อนจัดหรือตากแดด 8 การบริหารคลังสินค้าของกล่องเปล่า ควรใช้ระบบรับมาก่อนใช้ก่อน First In First Out หรือ FIFO บทสรุป การพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์แบ่งเป็น การออกแบบโครงสร้างและกราฟฟิก โดยมีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน โดยการออกแบบโครงสร้างนั้น จะเน้นในเรื่องการปกป้องอันตรายจากภายนอกที่เกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง ซึ่งเป็นสาระสำคัญในบทนี้ ส่วนการรักษาคุณภาพของอาหารซึ่งอาจนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบทางเทคนิคจะได้กล่าวในบทต่อไป มูลเหตุในการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์มีอยู่เกือบทุกขั้นตอนของวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการแนะนำที่มักจะออกแบบในรูปความแปลกใหม่ ในขั้นตอนการเติบโตที่มักจะเริ่มพิจารณาถึงการลดต้นทุนเนื่องจากใช้ปริมาณบรรจุภัณฑ์มากขึ้น และเตรียมตัวที่จะฉีกแนวหนีคู่แข่งในขั้นอิ่มตัว ในขั้นอิ่มตัวนี้การพัฒนาบรรจุภัณฑ์นับเป็นกลยุทธ์ที่ใช้มากที่สุดในการยืดขั้นตอนการอิ่มตัวให้ยาวออกไป ก่อนที่จะปล่อยให้สินค้าเข้าสู่ขั้นตอนการตกต่ำ นอกจากมูลเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับวัฏจักรผลิตภัณฑ์สินค้าแล้ว ยังมีมูลเหตุสำคัญที่ทำให้มีการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ อันได้แก่ กฎหมายและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ขั้นตอนในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สำคัญ คือ การกำหนดจุดมุ่งหมายในการพัฒนา จุดมุ่งหมายนี้ ต้องเฉพาะเจาะจงเป็นที่เข้าใจกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในองค์กร พร้อมทั้งมีความสามารถจะบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ได้ ด้วยเหตุนี้ การตั้งจุดมุ่งหมายจึงมักจะมีการกำหนดตัวเลขเป็นเป้าหมาย ส่วนขั้นตอนที่มักจะละเลย คือ ขั้นตอนของการวางแผนงานที่กำหนดเวลาและงบประมาณ ซึ่งในทางปฏิบัติมักจะทำเป็น Flow Diagram สิ่งที่ขาดไม่ได้ของการเตรียมแผนงาน คือ ผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนการทำงาน สิ่งที่สำคัญมากในขั้นตอนการพัฒนา คือ การประเมินการยอมรับของกลุ่มเป้าหมาย การทดสอบความเข้ากันได้ Compatibility ระหว่างบรรจุภัณฑ์กับสินค้า และท้ายที่สุดคือ การทดสอบความเข้ากันได้ระหว่างบรรจุภัณฑ์และเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ Machinability อาวุธสำคัญที่สุดในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ คือ การกำหนดสเป็ก Specification หรือคุณลักษณะเฉพาะของบรรจุภัณฑ์ สำหรับในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารขนาดย่อม สเป็กดังกล่าวอาจเป็นเพียงแค่เศษกระดาษที่ผู้ซื้อร่างตามความต้องงการบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการใช้ เมื่อติดต่อผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์รายแรก ข้อกำหนดอาจจะเริ่มเปลี่ยนไปเมื่อมีการติดต่อผู้ผลิตมากรายขึ้น ผู้ซื้อจะทราบอย่างถ่องแท้ว่าบรรจุภัณฑ์ประเภทที่มีในท้องตลาดเป็นอย่างไร และสามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการ รวมทั้งสามารถจัดหาได้จากตลาด ด้วนเหตุนี้ จึงเป็นความจริงว่าสเป็กจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขตลอดเวลาให้ทันกับวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีและตลาด ข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะยังสามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงเพื่อใช้ในการลดค่าใช้จ่ายของบรรจุภัณฑ์ โดยการลดคุณสมบัติที่ต้องการให้ต่ำลงเมื่อถึงเวลาจำเป็น การออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ที่จะสามารถฟันฝ่าอันตรายต่างๆ ในระหว่างการขนส่งได้ จำต้องศึกษาถึงสภาวะอันตรายของระบบการขนส่งต่างๆ อันได้แก่ อันตรายทางด้านกายภาพ อันตรายจากสภาพภูมิอากาศ อันตรายจากสภาวะทางด้านชีวภาพ และอันตรายจากการปนเปื้อน ถ้าสามารถประเมินถึงอันตรายต่างๆ ที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้นเหล่านี้ได้ย่อมมีทางแก้ไข โดยการเลือกระบบการขนส่งและวัสดุป้องกันการสั่นกระแทกที่เหมาะสมและการจัดการที่ดี ตัวอย่างเช่น ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา มีการกำหนดคุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็น Item 222 ที่ใช้กับการขนส่งทางรถยนต์และ Rule 41 ที่ใช้กับการขนส่งทางรถไฟ เป็นต้น บรรจุภัณฑ์ขนส่งเป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทที่ได้รับการพัฒนาโครงสร้างมากกว่าบรรจุภัณฑ์บริโภค ดังนั้น ในส่วนท้ายของบทนี้จึงได้บรรยายถึงการปิดกล่อง ซึ่งมีวิธีที่นิยมอยู่ 3 วิธี คือ การทากาว การเย็บด้วยลวด และกรปิดด้วยเทป วิธีปิดกล่องที่ดีด้วยการยึดให้ฝาด้านในของกล่องให้ติดกับฝาด้านนอกจะมีผลต่อความสามารถในการรับแรงกดในแนวดิ่งของกล่องกระดาษลูกฟูก นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาวิธีการเก็บกล่องก่อนการใช้งาน การบริหารคลังสินค้าของกล่องด้วยวิธีการ FIFO พร้อมทั้งมาตรการต่างๆ ที่จะหลีกเลี่ยงการทำมิดีมิร้าย Abuse ต่อกล่องกระดาษลูกฟูกเปล่าก่อนการใช้งาน < < ย้อนกลับ การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่4 < < กลับสู่หน้าหลัก
สารบัญ จากหนังสือ บรรจุภัณฑ์อาหาร
สารบัญ จาก หนังสือ บรรจุภัณฑ์อาหาร โดยความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย ผู้แต่ง ท่านอาจารย์ ปุ่น คงเจริญเกียรติ และ ท่านอาจารย์สมพร คงเจริญเกียรติ click พัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 1 click พัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2 click พัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ ตอนที่3 click บรรจุภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 1 click บรรจุภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 2 click บรรจุภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 3 บรรจุภัณฑ์กระดาษ click บรรจุภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 4 กระป๋องและขวดแก้ว click บรรจุภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 5 บรรจุภัณฑ์พลาสติก click บรรจุภัณฑ์อาหาร ตอนที่6 บรรจุภัณฑ์พลาสติก 2 click การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 1 click การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2 click การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 3 click การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 4 อันตรายและการขนส่ง click การพัฒนาโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 5 วัสดุกันกระแทกและการปิดกล่อง clickอายุของผลิตภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 1 click อายุของผลิตภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 2 clickอายุของผลิตภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 3 click อายุของผลิตภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 4 click การทดสอบวัสดุและบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 1 click การทดสอบวัสดุและบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2 click การทดสอบวัสดุและบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 3 click การออกแบบกราฟฟิก ตอนที่ 1 click การออกแบบกราฟฟิก ตอนที่ 2 click การออกแบบกราฟฟิก ตอนที่ 3 click บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่ 1 click บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่ 2 click บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่ 3 click บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่ 4 click บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่ 5 click บรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ตอนที่ 6 click เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 1 click เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2 click เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 3 click เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 4 click เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 5 click กฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 1 click กฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2
บรรจุภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 6
นอกจากขวดและฟิล์มแล้ว PET ยังสามารถนำมาขึ้นรูปเป็นถาด ด้วยการพัฒนา PET ให้โมเลกุลตกผลึก Crystalline กลายมาเป็น CPETหรือ Crystallized วัสดุ PET จะสามารถทนอุณหภูมิได้สูง จึงเหมาะสำหรับทำเป็นถาดบรรจุภัณฑ์อาหารใช้ได้ทั้งเตาอบและเตาไมโครเวฟ ถาดบรรจุอาหาร CPET พิจารณาจากในแง่ของสิ่งแวดล้อม PET นับได้ว่าเป็นพลาสติกเพียงไม่กี่ประเภทที่สามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นเม็ดพลาสติกที่เป็นโมโนเมอร์ Monomer และทำการผลิตใหม่ได้ด้วยการใช้กระบวนการ Depolymerising วัสดุ PET ที่มีคุณภาพดีและมีมูลค่าข้อนค่างสูง สามารถนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อผลิตสินค้าอย่างอื่นได้ เช่น ในเมืองไทยมีการนำเอาขวด PET น้ำดื่มกลับมาผลิตใหม่เป็นพรม ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ ทำให้ขวด PET ได้รับความนิยมใช้มากขึ้น และแย่งตลาดของขวด PVC นอกจากนี้ยังนิยมใช้สำหรับบรรจุภัณฑ์แบบการ์ด 4 โพลิไวนิลคลอไรด์ Polyvinylchloride PVC PVC เป็นพลาสติกที่สามารถแปรเปลี่ยนคุณสมบัติได้ โดยการเติมสารเคมีปรุงแต่ง Additives ต่างๆ เช่น Plasticizer Modifier และ Fillers ทำให้ PVC นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ มากกว่าอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ โดย PVC มักใช้ในรูปแบบของขวด ฟิล์ม และแผ่น แม้ว่าครั้งหนึ่งเคยมีข่าวจะให้เลิกใช้ PVC ในบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากมีสารตกค้างของไวนิลคลอไรด์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดมะเร็งตับได้ แต่วิวัฒนาการทางด้านการผลิตในปัจจุบัน ทำให้สามารถผลิต PVC ที่มีไวนิลคลอไรด์ตกค้างน้อยกว่า 1 ส่วนในล้านส่วน ppm ส่งผลให้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจาก PVC นี้ ปลอดภัยสำหรับใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร ในแง่ของการผลิตฟิล์ม PVC จะผลิตยากกว่าฟิล์ม PE หรือ PP จุดเด่นของฟิล์ม PVC คือ ทนต่อน้ำมันและกันกลิ่นได้ดี ใส แข็งแรงทนทานต่อการเสียดสี ในขณะที่ความต้านทานต่อการซึมผ่านของความชื้นอยู่ในขั้นปานกลาง อุณหภูมิใช้งานของ PVC ไม่เกิน 90° C และถ้าอุณหภูมิการใช้งานเกินกว่า 137° C จะเริ่มเปลี่ยนคุณภาพ ขวด PVC สามารถใช้แทนที่ขวดแก้ว เนื่องจากเบากว่าและตกไม่แตก แต่ในระยะหลังถูกแย่งตลาดโดยขวด PET เนื่องจากเหตุผลทางด้านสิ่งแวดล้อมดังได้กล่าวมาแล้ว ส่วนแผ่น PVC มักใช้กับบรรจุภัณฑ์แบบการ์ด ประเภทบลิสเตอร์แพ็ค blister packaging เนื่องจากมีความใสและเหนียว การบรรจุแบบบลิสเตอร์แพค blister packaging การใช้งานของ PVC กับผลิตภัณฑ์อาหาร 1 นิยมใช้ทำฟิล์มยืดสำหรับห่อเนื้อสัตว์สด ผักและผลไม้สด เนื่องจากความใสและมันวาว ทำให้เห็นผลิตภัณฑ์ได้ดีและอัตราการซึมผ่านของก๊าซและไอน้ำอยู่ในช่วงที่เหมาะสม 2 นิยมใช้ทำถาดบรรจุอาหารแห้ง เช่น ขนมปังกรอบ คุกกี้ ช็อกโกแลตและอื่นๆ เพื่อแบ่งเป็นสัดส่วนและป้องกันการแตกหัก 3 นิยมใช้ทำถาดหรือกล่องบรรจุอาหารสด4 นิยมใช้ทำขวดบรรจุน้ำมันพืชปรุงอาหาร 5 โพลิสไตรีน Polystyrene PS PS พลาสติกจำพวก PS นี้ ใช้ผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ โดยการอัดขึ้นรูปด้วยความร้อนเป็นรูปถ้วย ถาด ในกรณีที่มีการเติมสารพองตัว Blowing Agent PS จะสามารถผลิตออกมาเป็นโฟมที่เรียกว่า EPS ซึ่งนำมาเป็นวัสดุป้องกันการสั่นกระแทก Cushioning เมื่อทำเป็นฟิล์ม PS จะมีความใสมากแวววับเป็นประกายแต่เนื่องจากฉีกขาดได้ง่ายและป้องกันการซึมผ่านความชื้นและก๊าซได้ต่ำการใช้ฟิล์ม PS จึงจำกัดอยู่เพียงการใช้ห่อสินค้า เช่น ผลไม้ ดอกไม้ เป็นต้น หรือทำเป็นบลิสเตอร์แพ็ค ถาดที่ขึ้นรูปจากแผ่น PS จะมีความใสและแข็งแรงพอสมควร ในสภาวะปกติ PS จะเปราะจึงมีการพัฒนาด้วยการเติมสาร Butadine เพื่อเพิ่มความแข็งแรงซึ่งรู้จักกันในนามของ HIPS High Impact Polystyrene การใช้งานของ PS กับผลิตภัณฑ์อาหาร 1 นิยมใช้ทำช่องหน้าต่างของกล่องกระดาษ 2 ใช้ห่อผัก ผลไม้สด และดอกไม้สด เนื่องจากความใสและยอมให้ก๊าซซึมผ่านได้ง่าย 3 ใช้ทำโฟมทั้งเป็นภาชนะบรรจุและแผ่นฉนวนกันความร้อน 4 นิยมใช้ทำถ้วย ถาด หรือแก้วน้ำสำหรับใช้ครั้งเดียว 5 ใช้ทำถาดหลุมสำหรับรองขนมปังกรอบ คุกกี้ ช็อกโกแลต และอื่นๆ ก่อนบรรจุใส่กล่อง บรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารที่ต้องให้ความระมัดระวังในเรื่องความปลอดภัยและการเลือกใช้มากที่สุด โดยเฉพาะใช้ในการบรรจุอาหารร้อน หรือต้องไปผ่านกระบวนการให้ความร้อนซึ่งอาจเป็นกระบวนการฆ่าเชื้อ การปรุงสุก หรือการอุ่นอาหารพร้อมกับบรรจุภัณฑ์อันตรายที่อาจเกิดจากการใช้ภาชนะพลาสติกอย่างไม่ถูกต้อง มีสาเหตุสำคัญมาจากการแพร่กระจายของสารจากภาชนะไปสู่อาหาร การแพร่กระจายนี้จะขึ้นกับชนิดของอาหารและพลาสติกที่ใช้ พร้อมทั้งสภาวะบรรยากาศที่อยู่รอบบรรจุภัณฑ์ การเลือกใช้พลาสติกต้องเลือกชนิดที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหารและเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น บรรจุภัณฑ์ที่ต้องผ่านการอุ่นด้วยการนึ่ง หรือต้ม หรืออุ่นในเตาไมโครเวฟจะต้องทนทานต่ออุณหภูมิสูงได้ดี เป็นต้น การแพรกระจายของสารจะเกิดได้เร็วขึ้นเมื่อถูกความร้อน ดังนั้น หากผู้ประกอบการไม่แน่ใจในคุณภาพของภาชนะพลาสติกที่ใช้บรรจุอาหาร ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้หรือทำการทดลองโดยการนำเอาอาหารไปอุ่นหรือปรุงสุกในบรรจุภัณฑ์พลาสติก ถ้าเกิดการอ่อนตัวหรือภาชนะเสียรูปทรง หรือพลาสติกหลอมก็ไม่ควรจะนำบรรจุภัณฑ์พลาสติกนั้นมาบรรจุอาหาร เพราะอาจเกิดอันตรายจากสารปนเปื้อนที่แพร่กระจายมาจากบรรจุภัณฑ์ได้ พลาสติกที่กล่าวมาทั้ง 5 ประเภทนี้ เป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร นอกจากพลาสติกดังกล่าวแล้วนี้ ยังมีพลาสติกบางประเภท เช่น PC Polycarbonate Cellulose เป็นต้น แต่มีการใช้เป็นจำนวนจำกัด จึงขอละไว้ไม่กล่าวถึงในที่นี้ บทสรุป บรรจุภัณฑ์อาหารมีบทบาทสำคัญในการรักษาคุณภาพอาหารไม่ให้เน่าเสีย ซึ่งมีส่วนช่วยลดปริมาณของคนอดอยาก พร้อมทั้งช่วยให้มนุษยชาติได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางอาหาร ด้วยเหตุนี้ การควบคุมคุณภาพของอาหารให้คงที่และการเลือกประเภทของบรรจุภัณฑ์อาหารให้เหมาะสมกับประเภทของอาหารจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะบรรลุถึงจุดประสงค์ดังกล่าว บรรจุภัณฑ์อาหารทำหน้าที่รักษาคุณภาพของอาหารได้ 2 แนวทางขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของอาหารที่ได้ผ่านขบวนการผลิตและแปรรูปผลิตผลทางเกษตร ยกตัวอย่างเช่น ซองใบชา ตัวบรรจุภัณฑ์ทำหน้าที่เชิงรับ ด้วยการรวบรวมชาด้วยปริมาณที่เหมาะสมต่อการบริโภคต่อครั้ง โดยไม่ให้เกิดการรั่วจากตัวบรรจุภัณฑ์และมีการปกป้องรักษาคุณภาพของใบชาในระดับที่น้อย เนื่องจากใบชาได้รับการอบแห้งมาอย่างดีแล้ว ซึ่งเปรียบเทียบกับนมกล่อง บรรจุภัณฑ์จะทำหน้าที่เชิงรุกโดยการใช้ระบบการบรรจุที่ทำงานในสภาวะปลอดเชื้อเพื่อเก็บรักษาคุณภาพของนมไว้ได้นานตามต้องการ สืบเนื่องจากผลิตภัณฑ์นมมีโอกาสเน่าเสียได้ง่าย จึงจำต้องใช้เทคโนโลยีทางด้านบรรจุภัณฑ์ในการพัฒนาและแปรรูปอาหาร บรรจุภัณฑ์อาหารที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารมีอยู่มากมายและสามารถแบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ บรรจุภัณฑ์ผลิตจากเยื่อและกระดาษ บรรจุภัณฑ์โลหะ บรรจุภัณฑ์แก้ว และบรรจุภัณฑ์พลาสติก บรรจุภัณฑ์กระดาษนับได้ว่าเป็นวัสดุที่ใช้มากที่สุดในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากต้นทุนถูก สามารถทำการพิมพ์สอดสีได้ง่ายและยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย บรรจุภัณฑ์โลหะใช้กันมากในกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน นับเป็นบรรจุภัณฑ์เดียวที่มีความเป็นมาตรฐานทั่วทั้งโลก การลงทุนในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารกระป๋องใช้เงินลงทุนไม่สูงนักและยังเป็นบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะกับประเทศกำลังพัฒนาเนื่องจากบรรจุภัณฑ์กระป๋องแข็งแรงทนต่อการขนส่ง บรรจุภัณฑ์แก้วนับเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีใช้ในอุตสาหกรรมอาหารอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ขวดแก้วยังเป็นบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ซ้ำมากที่สุด บรรจุภัณฑ์อาหารที่นิยมใช้ประเภทสุดท้าย คือ บรรจุภัณฑ์พลาสติก ซึ่งมีความหลากหลายของประเภทพลาสติก เนื่องจากมีคุณสมบัติในการใช้งานที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้จึงได้รวบรวมชื่อย่อและชื่อที่ใช้เรียกในทางพาณิชย์ของพลาสติกที่นิยมใช้อุตสาหกรรมอาหารไว้ ณ ที่นี้ < < ย้อนกลับ บรรจุภัณฑ์อาหาร ตอนที่5 < < กลับสู่หน้าหลัก
อายุของผลิตภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 2
4 2 องค์ประกอบที่ทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพ จากการศึกษาตัวปัจจัยและกลไกที่ทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพ พอสรุปได้ว่าสาเหตุหลักที่มีผลต่ออายุของผลิตภัณฑ์อาหารมี 2 องค์ประกอบ คือ 1 องค์ประกอบภายในตัวผลิตภัณฑ์อาหาร 2 องค์ประกอบภายนอกตัวผลิตภัณฑ์อาหาร อันได้แก่ บรรจุภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น แนวทางในการพัฒนา 2 องค์ประกอบนี้จำต้องแยกจากกัน เพื่อทำให้ได้อายุของผลิตภัณฑ์อาหารตามที่ต้องการด้วยต้นทุนที่ต่ำ 4 2 1 องค์ประกอบภายในตัวผลิตภัณฑ์อาหาร ส่วนประกอบต่างๆ ภายในอาหารมีโอกาสทำให้ภัณฑ์อาหารเสื่อมคุณภาพขึ้นอยู่กับว่าจะเกิดเร็วหรือเกิดช้า ดังนั้น การปรับแต่งสูตรอาหารและการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต จึงเป็นขั้นตอนอันดับแรกที่มีอิทธิพลต่ออายุของผลิตภัณฑ์อาหาร สูตรอาหารที่ประกอบด้วยวัตถุดิบที่เสื่อมคุณภาพได้งายหรือไม่ได้ควบคุมภาพ ย่อมทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารมีอายุสั้น แม้ว่าจะใช้บรรจุภัณฑ์อาหารที่ดีที่สุดก็ตาม อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่สามารถหาวัตถุดิบที่ดีกว่าและเหมาะสมได้ ผลิตภัณฑ์อาหารนั้นยังสามารถจำหน่ายได้แต่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น ขนมปังบางจำพวกที่ใช้วัตถุดิบอย่างดีมีอายุสั้น สินค้านั้นจำต้องขนส่งอย่างรวดเร็วด้วยการจัดส่งในสภาวะแช่เย็นและเก็บกลับทันทีที่สินค้าหมดอายุแล้วเพื่อรักษาภาพพจน์ของสินค้า เวลายาวนานที่สุดที่จะสามารถเก็บอาหารโดยปราศจากผลกระทบของสิ่งแวดล้อมภายนอกนี้ เรียกว่า อายุที่ยาวที่สุดที่สามารถคาดหวังได้ MPSL Maximum Possible Shelf Life 4 2 2 องค์ประกอบภายนอกตัวผลิตภัณฑ์อาหาร องค์ประกอบที่อยู่ภายนอกนี้คือ สิ่งที่อยู่รอบตัวผลิตภัณฑ์อาหารอันได้แก่ บรรยากาศภายใน บรรจุภัณฑ์ ตัวบรรจุภัณฑ์ และสิ่งแวดล้อมภายนอก องค์ประกอบเหล่านี้สามารถควบคุมได้โดยการเลือกใช้ระบบบรรจุภัณฑ์และวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม กลไกต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว เช่น ออกซิเจน ความชื้น แสง ต่างก็มีบทบาททำให้อาหารเสื่อมคุณภาพแต่จะสามารถผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์สมัยใหม่ สินค้าที่เสื่อมคุณภาพด้วยกลไกต่างๆ เหล่านี้สามารถวัดได้และมีชื่อทางเทคนิคดังต่อไปนี้ O MS ผลิตภัณฑ์อาหารที่ไวต่อการทำปฏิกิริยาออกซิเจนและความชื้น Oxygen and Moisture Sensitivity โดยที่ การซึมผ่านของออกซิเจนมีหน่วยเป็นปริมาตรต่อหน่วยพื้นที่ต่อหน่วยความดันต่อวันของสินค้า การซึมผ่านของความชื้นมีหน่วยเป็นน้ำหนักต่อหน่วยพื้นที่ต่อหน่วยความดันต่อวันของสินค้า F AS ผลิตภัณฑ์อาหารที่ไวต่อการสูญเสียกลิ่นและรสชาติ Flavor and Aroma Sensitivity มีหน่วยเป็นมิลลิกรัมต่อหน่วยน้ำหนักของอาหาร LS ความไวต่อแสง Light Sensitivity มีหน่วยเป็นความเข้มข้นของแสงที่ผ่านบรรจุภัณฑ์ต่อวันต่อหน่วยน้ำหนักของอาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาองค์ประกอบภายในและภายนอกของผลิตภัณฑ์อาหารออกจากกัน กล่าวคือ ถ้าผลิตภัณฑ์มีสูตรอาหารที่ดีและใช้วัตถุดิบคุณภาพคัดเลือกอย่างดีย่อมเก็บได้นาน เมื่อทราบสาเหตุหลักของการเสื่อมคุณภาพพร้อมสาเหตุรองย่อมทำให้สามารถเลือกกระบวนการผลิตที่ช่วยลดโอกาสเสื่อมคุณภาพก่อนออกจากโรงงาน เมื่อบรรจุเสร็จเรียบร้อยเดินทางออกจากโรงงาน ย่อมเป็นหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องปกป้องรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารให้ถึงมือผู้บริโภคโดยมีคุณภาพใกล้เคียงกับคุณภาพที่ออกจากกระบวนการผลิต บรรจุ ในทางกลับกัน ถ้าสูตรอาหารไม่ได้รับการจัดการและควบคุมให้ดี คุณภาพของวัตถุดิบไม่แน่นอนไม่มีการตรวจคุณภาพอย่างเคร่งครัด กระบวนการผลิตก็ใช้แบบตามมีตามเกิดด้วยตัวแปรในการผลิตที่แปรปรวนไปเรื่อย องค์ประกอบภายในของตัวผลิตภัณฑ์อาหารย่อมไม่ได้รับการควบคุมที่ดี การเลือกใช้ระบบบรรจุภัณฑ์ที่ดีมาก มีราคาสูงเท่าไรย่อมไม่สามารถพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์มีอายุยาวได้ และเป็นการเปลืองเงินโดยใช่เหตุอีกด้วย 4 3 การยืดอายุของผลิตภัณฑ์อาหาร เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้รับการวิวัฒนาการขึ้นเสมอ เพื่อลดหรือชะลอการเสื่อมคุณภาพของอาหาร พร้อมทั้งยืดอายุของผลิตภัณฑ์อาหารให้มีคุณภาพใกล้เคียงกับคุณภาพที่ออกจากกระบวนการผลิตเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างได้ผลต่อเมื่อทราบถึงหลักการทำงาน ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ วิธีการทำงาน พร้อมทั้งปรับปรุงพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาวะทำงาน การยืดอายุของผลิตภัณฑ์อาหารในที่นี้จะไม่กล่าวถึงการยืดอายุโดยใช้องค์ประกอบภายในผลิตภัณฑ์อาหาร อันได้แก่ สูตรและส่วนผสมของอาหาร แต่จะกล่าวถึงองค์ประกอบภายนอก อันได้แก่ กระบวนการผลิตและระบบบรรจุภัณฑ์ 4 3 1 การทำแห้ง dehydration การทำแห้งนับเป็นวิธีการถนอมอาหารที่เก่าแก่ที่สุดวิธีหนึ่ง การตากแห้ง นอกจากจะช่วยป้องกันการเสื่อมคุณภาพแล้วยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการส่งและเก็บในคลังสินค้า เนื่องจากน้ำหนักลดน้อยลง หัวใจสำคัญในการยืดอายุของผลิตภัณฑ์อาหารด้วยการทำแห้ง คือ การสร้างสภาวะภายในตัวอาหารไม่ให้จุลินทรีย์สามารถเติบโตขยายพันธุ์ได้ ปริมาณน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญในอาหารหลายๆ ชนิด ความฉ่ำของน้ำในอาหารทำให้สินค้าอาหารบางอย่างน่ารับประทาน แต่ถ้าต้องการยืดอายุของอาหารจำต้องลดปริมาณน้ำเพื่อควบคุมปฏิกิริยาที่จะเกิดจากจุลินทรีย์ การลดปริมาณน้ำในอาหารของอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารอาจทำได้หลายวิธี เช่น การปล่อยให้ระเหยกลายเป็นไอตามธรรมชาติด้วยการตากแดด การทำให้แห้งโดยใช้สุญญากาศ การทำให้แห้งด้วยการแช่แข็ง Freeze Dry การกดอัด การใช้วิธีเหวี่ยงหรือเซนติฟิ้ว Centrifugation และการซึมผ่านด้วยวีธีออสโมซิส Osmosis ในทางปฏิบัติอาจจะมีการผสมหลายกรรมวิธีเข้าด้วยกัน การควบคุมปริมาณความชื้นในอาหารโดยใช้บรรจุภัณฑ์ให้ได้ปริมาณความชื้นตามต้องการจะมีประสิทธิผลต่อเมื่อบรรจุภัณฑ์นั้นสามารถปิดผนึกได้สนิท ถ้าความชื้นเกินกว่าขอบเขตที่ตั้งไว้จะก่อให้เกิดปัญหาดังต่อไปนี้ ความชื้นที่น้อยเกินไป จะทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารแตกหักง่าย และยังช่วยเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชั่นอีกด้วย ความชื้นที่มากเกนไปให้ผลตรงข้าม คือ จะทำให้รสชาติและรูปลักษณะไม่น่ารับประทาน บ่อยครั้งที่พบว่าการทำแห้งอย่างเดียวไม่สามารถยืดอายุอาหารได้นานตามที่ต้องการ กรรมวิธีอย่างอื่นที่มักทำร่วมกันในการยืดอายุ คือ การทำดองเกลือ curing พริกไทย ใช้สารเคมี พร้อมทั้งประยุกต์เทคโนโลยีทางด้านระบบบรรจุภัณฑ์ เช่น การบรรจุด้วยสุญญากาศ vacuum packaging การปรับสภาวะภายในบรรจุภัณฑ์ Modified AtmospherePackaging MAP การใช้สารเคมี preservative เป็นต้น สำหรับในกรณีของอาหารที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ซึ่งปิดผนึกได้สนิท อาหารจะยังดูดซึมหรือคายน้ำต่อไป จนกระทั่งสภาวะสมดุลของปริมาณอากาศในช่องว่างของบรรจุภัณฑ์ที่เกิดขึ้น ความชื้นสัมพัทธ์ภายใต้สภาวะสมดุลนี้จะเป็นสภาพที่ดูดซึมหรือคายน้ำต่อไปอีก ค่าสมดุลของอาหารแต่ละชนิดจะแตกต่างกันและมีชื่อเรียกว่าวอเตอร์ แอคติวิตี้ Water Activity Aw อาหารที่มีค่า Aw 0 5 จะอยู่ในสภาวะสมดุล ณ สภาวะความชื้นสัมพัทธ์ที่ 50 ในกรณีของน้ำตาลจะมีค่า Water activity 0 85 หมายความว่าค่าความชื้นสัมพัทธ์ที่สูงนี้จะคายน้ำสู่อากาศ และจะมีปัญหาเมื่อความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงกว่า 85 น้ำเชื่อมเข้มข้นจะมีค่า Water activity ต่ำในขณะที่น้ำเปล่ามีค่า Water activity สูงสุด คือเท่ากับ 1 0 ประเภทของอาหารสามารถจัดแบ่งได้ตามระดับ Water activity ดังแสดงในตารางที่ 4 3 ตารางที่ 4 3 ค่า Water activity ของกลุ่มอาหารต่างๆ ค่าWater activity อาหาร 0 98 ขึ้นไป 0 93 0 98 0 85 0 93 0 60 0 85 ต่ำกว่า 0 60 เนื้อสด ปลาสด ผัก ผลไม้ สด นมและเครื่องดื่มส่วนใหญ่ ผักกระป๋องในน้ำเกลือ ผลไม้กระป๋องในน้ำเชื่อม นมข้นจืด ขนมปัง เนย ไส้กรอกหมัก ผลไม้ในน้ำเชื่อมเข้มข้น เนื้อแห้ง ไส้กรอกหมักแห้ง แฮม เนยเชดดาร์ นมข้นหวาน ผลไม้แห้ง แป้ง เมล็ดธัญพืช แยมและเจลลี่ เนยบางชนิด ช็อกโกแลต ลูกกวาด น้ำผึ้ง ขนมปังกรอบ นมผง ไข่ผง แหล่งที่มา ผศ วิลาวัณย์ เจริญจิระตระกูล จุลินทรีย์ที่มีความสำคัญด้านอาหาร ความรู้ของ Water activity นี้จะเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างยิ่งในการสรรหาวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อรักษาคุณภาพของอาหาร ยกตัวอย่างเช่น กล้วยทอดกรอบจะมีปริมาณความชื้นเพียงแค่ 2 5 ในขณะที่ค่า Water activity จะอยู่ในช่วงประมาณ 0 10 0 20 ในสภาวะความชื้นสูงอย่างเมือไทย ถ้าปล่อยกล้วยทอดกรอบไว้ในอากาศ กล้วยทอดกรอบจะดูดความชื้นจากอากาศ ดังนั้นการเลือกวัสดุบรรจุภัณฑ์จึงต้องใช้ประเภทที่ป้องกันความชื้นได้อย่างดี ในเวลาเดียวกัน กล้วยทอดจะอุ้มน้ำมันไว้ในตัวมาก ดังนั้นโอกาสที่น้ำมันจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนแล้วเกิดกลิ่นเหม็นหืน rancidity จึงมีมาก เพราะฉะนั้นวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ดีสำหรับกล้วยทอดนอกจากจะต้องป้องกันความชื้นแล้ว ยังต้องป้องกันการซึมผ่านของก๊าซออกซิเจนอีกด้วย บางกรณีที่ต้องการยืดอายุผลิตภัณฑ์ให้ยาวนานมากยิ่งขึ้น อาจต้องใส่สารดูดความชื้น หรือสารกำจัดออกซิเจนไว้ภายในบรรจุภัณฑ์นั้นๆ อีกด้วย สิ่งที่พึงสังวรในการใช้สารดูดความชื้นและสารกำจัดออกซิเจน คือ ต้องเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่สามารถป้องกันความชื้นและป้องกันการซึมผ่านของออกซิเจน พร้อมทั้งมีการปิดผนึกให้สนิทแน่น มิฉะนั้นสารดูดความชื้นหรือดูดออกซิเจน จะดูดความชื้นหรือออกซิเจนจากบรรยากาศผ่านผนังของวัสดุบรรจุภัณฑ์หรือผ่านรอยปิดผนึกทำให้หมดประสิทธิภาพในการทำงาน 4 3 2 การใช้ความเย็น ความเย็นที่ใช้ในการยืดอายุอาหารที่อาจจะอยู่ในระดับแช่เย็นที่ระดับอุณหภูมิประมาณ 5° C หรืออาจทำได้โดยการแช่แข็ง เมื่อลดอุณหภูมิลงได้ต่ำกว่า 8° C จะสามารถหยุดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราได้ และถ้าลดต่ำลงไปจนถึง 18° C ปฏิกิริยาต่างๆ ทางเคมีและจุลินทรีย์ต่างๆ จะหยุดชะงักอย่างสิ้นเชิง การแช่เยือกแข็งจะมีผลในแง่ลบทำให้ความชื้นในอาหารเปลี่ยนรูปเป็นเกล็ดน้ำแข็ง เมื่ออุณหภูมิลดลงถึง 0° C และ 5° C เกล็ดน้ำแข็งที่เกิดนี้จะดันทะลุผนังเซลล์และทำลายรสชาติของอาหาร อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำการแช่เยือกแข็งอย่างรวดเร็วจะสามารถลดความเสียหายนี้ได้ หลักการทำงานของการใช้ความเย็นแตกต่างจากการใช้ความร้อน เพราะว่าการให้ความเย็นนั้นจำต้องให้ความเย็นตลอดเวลาจนกระทั่งบริโภค ในขณะที่การใช้ความร้อนจะใช้เฉพาะช่วงสั้นในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อฆ่าเชื้อและคงสภาพได้นาน ในกรณีของอาหารกระป๋องจะเก็บได้ถึง 2 ปี ส่วนการใช้ความเย็นเป็นการชะลอหรือหยุดการเจริญเติบโต การฆ่าเชื้อให้ตายสิ้นนั้นจะต้องลดอุณหภูมิ ลง 70° C ถึง 195° C โดยปกติการลดอุณหภูมิในช่วง 0° C ถึง 10° C จะได้ผลมากกว่าในช่วง 10° C ถึง 30° C เมื่อเทียบคุณภาพของอาหารแล้ว ผู้บริโภคมักนิยมอาหารสด ตามมาด้วยอาหารแช่แข็งแล้วจึงเลือกอาหารที่ผ่านการฆ่าเชื้อเป็นช่องทางเลือกสุดท้าย 4 3 3 การฆ่าเชื้อด้วยความร้อน สารจุลินทรีย์ต่างๆ จะสามารถถูกกำจัดได้ด้วยความร้อน ความสำเร็จในการยืดอายุอาหารด้วยการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนนี้ขึ้นอยู่กับ ก ประเภทของสารจุลินทรีย์ในอาหาร ข สภาพกรด ด่างในอาหาร ค คุณสมบัติทางกายภาพของอาหาร ง ความเป็นฉนวนความร้อนของอาหาร จ รูปทรงและมิติของบรรจุภัณฑ์อาหาร โดยทั่วไป เพื่อเป็นการรักษารสชาติของอาหาร การฆ่าเชื้อจะกระทำที่อุณหภูมิไม่สูงนัก คือ ประมาณ 60° C ถึง 70° C ที่เรียกว่า พาสเจอร์ไซ์ Pasteuriztion ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อได้ระดับหนึ่ง องค์ประกอบการฆ่าเชื้อประกอบด้วยอุณหภูมิและเวลา ถ้าใช้อุณหภูมิสูง เวลาที่ใช้ในการฆ่าเชื้อลดน้อยลงเพื่อที่จะให้ผลที่ใกล้เคียงกันในการฆ่าเชื้อ แต่คุณค่าอาหารจะดีกว่าและลดโอกาสสุกเกินควรของอาหาร การฆ่าเชื้อระบบนี้เรียก อุณหภูมิสูงเวลาสั้น HTST High Temperature Short Time ในอุตสาหกรรมนมจะใช้วิธีการฆ่าเชื้อพิเศษที่รู้จักกันดีในนาม UHT ยูเอชที ซึ่งย่อมาจาก Ultra High Temperature เป็นการฆ่าเชื้อที่ระดับความร้อนสูงที่ 135 150° C และใช้เวลาเพียง 2 3 วินาทีเท่านั้น วิธีการฆ่าเชื้อแบบยูเอชทีจะฆ่าเชื้อโรคได้เป็นส่วนมาก และเป็นพื้นฐานไปสู่วิธีการบรรจุที่เรียกว่า ระบบปลอดเชื้อ Aseptic packaging ระบบปลอดเชื้อนี้เป็นวิธีการที่ทั้งอาหารและตัวบรรจุภัณฑ์จะได้รับกรฆ่าเชื้อด้วยกันแต่แยกกันฆ่าเชื้อ แล้วนำมาบรรจุและปิดผนึกภายใต้สภาวะปลอดเชื้อ การฆ่าเชื้อด้วยความร้อน thermal processing มักจะใช้กับบรรจุภัณฑ์ประเภทกระป๋อง โดยใช้อุณหภูมิประมาณ 110 130° C ที่ความดัน 100 150 PSI เวลาที่ใช้ในการฆ่าเชื้อจะแปรตามองค์ประกอบหลายอย่าง องค์ประกอบที่สำคัญคือ ความสามารถที่ความร้อนจะทะลุทะลวงเข้าไปในบรรจุภัณฑ์ได้มากที่สุด ซึ่งจะแปรผันตามรูปทรงของบรรจุภัณฑ์นั้นๆ จุดที่ต้องทราบค่าความสามารถในการฆ่าเชื้อ คือ ศูนย์กลางภายในกระป๋อง อาหารกระป๋องที่มีสภาพกรดด่างของอาหารสูงกว่า pH 4 6 เอื้ออำนวยให้เกิดแบคทีเรียประเภทที่ไม่ต้องการอากาศ anaerobic bacteria ในการเจริญเติบโต โดยปกติแล้วอาหารกระป๋องที่มีสภาพความเป็นกรดต่ำจะใช้เวลาในการฆ่าเชื้อยาวนานกว่า เพื่อเป็นการประกันว่าสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวได้ ในเวลาเดียวกันการใช้เวลาในการฆ่าเชื้อยาวนานเกินความจำเป็นจะทำให้อาหารสุกเกินไป นอกจากจะทำให้เสียคุณค่าทางด้านโภชนาการแล้วยังทำให้รสชาติอาหารไม่ดีเท่าที่ควร นอกจากอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ฆ่าเชื้อแล้ว ความดันที่ใช้ในการฆ่าเชื้อยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องพิจารณา สำหรับซองพลาสติกที่ใช้ในการฆ่าเชื้อมีชื้อว่า รีทอร์ตเพาช์ Retort Pouch หรือแปลได้ใจความว่า ถุงต้มฆ่าเชื้อได้ ส่วนใหญ่จะทำด้วยเปลวอะลูมิเนียมและเคลือบพลาสติก อย่างน้อย 3 ชั้นขึ้นไป เช่น ไนลอน PP PET หรือจำพวก Co extrusion ที่ทนความร้อน ข้อดีของถุงต้มฆ่าเชื้ออย่างหนึ่ง คือ ความหนาทั้งหมดของถุงต้มฆ่าเชื้อจากผนังซองด้านหนึ่งไปยังผนังอีกด้านหนึ่งไม่เกิน 3 เซนติเมตร เมื่อเทียบกับกระป๋องที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 10 เซนติเมตร จึงช่วยลดเวลาในการฆ่าเชื้อลง ทำให้คุณภาพอาหารและรสชาติอาหารดีกว่าอาหารกระป๋องทั่วๆ ไป ส่วนการกำจัดทิ้งทำได้ง่าย ปริมาณวัสดุที่ใช้น้อยกว่า ลดค่าขนส่งได้มากกว่า แต่เป็นสิ่งที่น่าแปลกใจว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่ค่อยยอมรับบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ ยกเว้นในประเทศญี่ปุ่นและบรรจุภัณฑ์อาหารที่ใช้ทางทหาร หลักในการทำงานของการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนเพื่อยืดอายุของผลิตภัณฑ์อาหารขึ้นอยู่กับเวลา อุณหภูมิ ความดัน และสภาวะความเป็นกรดด่างของอาหาร เมื่อใช้เวลายิ่งนาน ณ อุณหภูมิหนึ่งโอกาสที่เชื้อจะถูกฆ่าตายยิ่งมากเช่นเดียวกัน การฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิสูงแต่ใช้เวลาสั้นจะได้คุณภาพอาหารที่ดีกว่าแต่มีราคาแพงกว่า 4 3 4 กระบวนการปลอดเชื้อ การฆ่าเชื้อด้วยความร้อนไม่ว่าจะเป็นการพาสเจอร์ไรซ์หรือการสเตอริไรซ์ กระทำในขณะที่ผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุสำเร็จเรียบร้อยแล้ว หมายความว่าฆ่าเชื้อทั้งบรรจุภัณฑ์และสินค้าพร้อมกัน ส่วนกระบวนการปลอดเชื้อนั้น ตัวบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อาหารจะแยกจากกัน ฆ่าเชื้อแล้วค่อยนำมาบรรจุและปิดผนึกดังรูปที่ 4 3 และรูปที่ 4 4 แสดงกระบวนการปลอดเชื้อของระบบกระป๋องและระบบซอง รูปที่ 4 3 ระบบปลอดเชื้อของการบรรจุกระป๋องโดยไอน้ำร้อนฆ่าเชื้อ รูปที่ 4 4 ระบบปลอดเชื้อของการบรรจุนมหรืออาหารที่เป็นน้ำลงในซองหรือกล่องรูปอิฐ Brik ระบบปลอดเชื้อนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย หลังจากการคิดค้นมาตั้งแต่ปี ค ศ 1941 ตอนเริ่มแรกยังใช้ไอน้ำร้อนเป็นสื่อในการฆ่าเชื้อ ต่อมาในปี ค ศ 1960 ได้วิวัฒนาการมาใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ H2O2 เพื่อมาบรรจุนมใส่ซองหรือกล่อง สาเหตุที่ได้รับความนิยมเพราะคุณค่าทางอาหารสูงไม่จำเป็นต้องแช่เย็น ในปัจจุบัน น้ำผลไม้หรืออาหารเหลวต่างๆ แม้กระทั่งกะทิมักใช้ระบบปลอดเชื้อ การใช้กระบวนการปลอดเชื้อสำหรับอาหารที่มีความเป็นกรดสูง acid food pH&le 4 6 จะทำการฆ่าเชื้อที่ 93 96° C และใช้เวลาเพียง 15 30 วินาที ส่วนอาหารที่มีความเป็นกรดต่ำ low acid food pH&ge 4 6 จะฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 138 150 ° C เป็นเวลา 1 30 วินาที ข้อดีและข้อเสียของกระบวนการปลอดเชื้อนี้ สรุปไว้ในตารางที่ 4 4 ตารางที่ 4 4 เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของกระบวนการปลอดเชื้อ ข้อดีของกระบวนการปลอดเชื้อ ข้อเสียของกระบวนการปลอดเชื้อ 1 ได้คุณภาพของอาหารสูง 1 การลงทุนสูง 2 ประสิทธิผลการส่งผ่านความร้อนสูง 2 การปฏิบัติงานฆ่าเชื้อยุ่งยากสลับซับซ้อน 3 แปรเปลี่ยนองค์ประกอบการฆ่าเชื้อได้ง่าย 3 ถ้ามีส่วนผสมหลายประเภทของผลิตภัณฑ์อาหารในบรรจุภัณฑ์เดียวกันต้องแยกกันฆ่าเชื้อ 4 ใช้กับวัสดุบรรจุภัณฑ์ได้หลายประเภท 4 ส่วนผสมอาหารที่เป็นชิ้นนั้นฆ่าเชื้อลำบาก ปัจจุบันนี้จำกัดอยู่ที่ขนาด 25 มม 5 วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม่ต้องทนความร้อนสูง ในกรณีใช้กับ H2O2 กระบวนการปลอดเชื้อนี้มีอยู่หลากหลายระบบโดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น โดยมีความแตกต่างในวิธีขึ้นรูป วิธีการบรรจุและวิธีการปลอดเชื้อ ระบบที่ได้รับความนิยมในยุโรปและสหรัฐอเมริกามี 4 ระบบคือ 1 ระบบของ Tetra Pak เครื่องจักรทำการขึ้นรูป บรรจุ และปิดผนึกตัวกล่องจากวัสดุที่ป้อนเป็นม้วน 2 ระบบของ Comblibloc ทำการบรรจุจากกล่องที่ขึ้นรูปไว้แล้ว 3 ระบบของ Robert Bosch เครื่องจักรที่ขึ้นรูปด้วยความร้อน Thermoform บรรจุและปิดด้วยบรรจุภัณฑ์พลาสติก 4 ระบบบรรจุของเหลวของ Bowater เหมาะสำหรับการฆ่าเชื้อปริมาณมากๆ เมื่อใช้บรรจุในระบบถุงในกล่อง Bag in Box 4 3 5 การฆ่าเชื้อด้วยระบบไมโครเวฟ อาหารใดๆ ที่จะทำการฆ่าเชื้อด้วยระบบไมโครเวฟ จะต้องมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ คือ 1 สารที่มีโมเลกุล 2 ขั้ว Dipolar Molecules ยกตัวอย่างเช่น น้ำที่พยายามจะเรียงตัวภายใต้สนามไฟฟ้าเมื่อได้รับคลื่นไมโครเวฟจะทำให้เกิดความร้อนขึ้นมา 2 สารที่มีไอออนอยู่ในของเหลว สนามไฟฟ้าที่เกิดจากคลื่นไมโครเวฟจะทำให้เกิดการเสียดสี Collisions ทำให้เกิดความร้อนขึ้นมา จากการทำงานของคลื่นไมโครเวฟตามที่กล่าวมาแล้ว พบว่าเป็นการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนวิธีหนึ่ง แต่ความร้อนที่ได้นั้นเป็นความร้อนที่เกิดจากภายในอาหารที่คุณสมบัติดังกล่าว ซึ่งแตกต่างจากระบบการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนแบบดั้งเดิม คลื่นไฟฟ้าแม่เหล็กที่ใช้ในไมโครเวฟนั้น มีความถี่ 915 ถึง 2450 เม็กกะเฮิรทส์ หรือวัดเป็นความถี่ได้ 915 x 106 ถึง 2 45 x 109 รอบต่อวินาทีที่กระทำต่ออาหาร การส่งผ่านพลังงานด้วยคลื่นไฟฟ้าแม่เหล็กทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของโมเลกุลของส่วนประกอบอาหารที่มีคุณสมบัติ 2 ข้อดังกล่าว และการสั่นสะเทือนนี้เองที่ทำให้เกิดความร้อนขึ้นภายในอาหาร โชคดีที่อาหารส่วนใหญ่มีความชื้น ไขมัน และน้ำตาลอยู่ ทำให้การฆ่าเชื้อเพื่อยืดอายุของไมโครเวฟเป็นไปอย่างได้ผล ที่มาของรูป http www cfs gov hk english programme programme rafs programme rafs ft 01 02 mcfs html รูปแสดงโมเลกุลของน้ำที่เปลี่ยนทิศสลับไปมาอย่างรวดเร็ว ตามทิศทางของสนามไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อนในอาหาร วัสดุบรรจุภัณฑ์ส่วนใหญ่สามารถส่งผ่านคลื่นไมโครเวฟ Microwave Transparency ได้ แม้ว่าจะมีการดูดคลื่นไว้บ้างแล้ว ตามที่ได้แสดงไว้ในตารางที่ 4 5 บรรจุภัณฑ์แต่ละประเภทจะดูดคลื่นไว้แตกต่างกัน ตัวเลขยิ่งสูงหมายความว่าจะดูดพลังงานไมโครเวฟได้มาก โดยปกติคลื่นไมโครเวฟจะใช้คลื่นความถี่ 2450 MHz แต่ในตารางนี้เป็นการทดสอบที่ 3000 MHz ส่วน RF คือ ความถี่คลื่นวิทยุ Radio Frequency ที่ 10 MHz เพื่อเป็นการเปรียบเทียบความสามารถในการดูดคลื่นที่ความถี่ต่างกัน แม้ว่าจะมีการดูดคลื่นไว้บ้างแล้ว ด้วยเหตุนี้จะไม่มีปัญหาอะไรที่จะใช้การฆ่าเชื้อด้วยไมโครเวฟของตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์พร้อมกัน ตารางที่ 4 5 ความสามารถในการดูดพลังงานจากคลื่นของบรรจุภัณฑ์ วัสดุบรรจุภัณฑ์ ดรรชนีความสามารถในการดูดพลังงาน RF ที่ 10 MHz MW ที่ 3000 MHz ขวดแก้วแบบทั่วๆ ไป Soda lime กระดาษมีความชื้น 10 กระดาษแข็งมีความชื้น 10 ไนลอน 66 โพลิเอสเตอร์ PE PS PVC ที่มี Plasticizer 40 0 1100 0 4000 0 8000 0 0900 0 0400 0 0004 0 0005 0 4000 0 2000 0 4000 0 4000 0 0400 0 0400 0 0010 0 0005 0 1000 แหล่งที่มา Andrews Gordon Developments in the Packaging of Convenience Foods < < ย้อนกลับ อายุของผลิตภัณฑ์อาหาร ตอนที่1อ่านต่อ อายุของผลิตภัณฑ์อาหาร ตอนที่3 > > < < กลับสู่หน้าหลัก
อายุของผลิตภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 3
การฆ่าเชื้อด้วยไมโครเวฟเป็นกระบวนการยืดอายุผลิตภัณฑ์อาหารค่อนข้างใหม่ในเมืองไทย แต่ในระดับตลาดผู้บริโภคหรือร้านอาหารปลีกได้รับความนิยมใช้ในการอุ่นอาหารอย่างแพร่หลาย สำหรับการฆ่าเชื้อด้วยไมโครเวฟในระดับอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์คิดว่าในเมืองไทยยังไม่มีใครเริ่มลงทุน ในต่างประเทศเริ่มจะมีการผลิตในเชิงพาณิชย์เมื่อประมาณ 10 ปีก่อนในประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยใช้ฆ่าเชื้ออาหารที่บรรจุในถาด CPET ปิดฝาด้วยพลาสติกโดยฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 72° C เป็นเวลา 2 นาที สาเหตุที่การฆ่าเชื้อด้วยระบบไมโครเวฟไม่ได้รับความนิยมมากนัก เพราะว่าระบบนี้สามารถยืดอายุอาหารได้เช่นเดียวกับการฆ่าเชื้อด้วยการพาสเจอร์ไรซ์ pasteurization แต่มีอายุไม่ยาวนานพอและยังต้องจัดส่งในระบบแช่เย็นอีกด้วย ในรูปที่ 4 5 นี้เปรียบเทียบการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน 3 ระบบ ซึ่งจะพบว่าอุณหภูมิที่ใช้ในการฆ่าเชื้อไม่ได้แตกต่างกัน แต่จะต่างกันที่เวลา และอัตราการเพิ่มของความร้อนและการเย็นตัวในขณะทำการฆ่าเชื้อ รูปที่ 4 5 เปรียบเทียบอุณหภูมิและเวลาในการฆ่าเชื้อการเย็นตัวของระบบฆ่าเชื้อด้วยความร้อน แหล่งที่มา Willhoft E M A Aseptic Processing and Packaging of Particulate Foods 4 3 6 การยืดอายุอาหารด้วยวิธีการทางเคมี การใช้สารเคมีในการยืดอายุอาหารนั้น สามารถทำได้โดยการผสมสารเคมีเข้าไปในอาหารหรือการใส่เข้าไปในบรรจุภัณฑ์เพื่อยับยั้งปฏิกิริยาที่จำทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพ การใช้สารเคมีทางธรรมชาติและสารเคมีสังเคราะห์ในการยืดอายุอาหารนั้น มักใช้ร่วมกับการถนอมอาหารวิธีอื่นๆ และมักจะมีกฎหมายควบคุมการใช้สารเคมีดังกล่าวในอาหารนั้นด้วยเสมอ การถนอมอาหารด้วยสารเคมีเป็นการใช้เพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน สารเคมีบางจะพวกทำให้สถานะของอาหารอยู่ในสภาพของกรดหรือใช้ในการช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ยีสต์ และรา ในตารางที่ 4 6 แสดงชนิดของสารกันบูด preservative ที่มีผลต่อจุลินทรีย์ และในทางปฏิบัติมักจะใช้สารเหล่านี้มาผสมกัน เนื่องจากไม่มีสารกันบูดชนิดใดที่มีผลทำลายจุลินทรีย์ทุกชนิดได้ การรมควันนับเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ใช้วิธีทำให้แห้ง พร้อมทั้งใช้สารเคมีช่วยในการถนอมอาหารซึ่งโดยมากจะเป็นสารที่มีผสมกับเกลือ ตารางที่ 4 6 แสดงชนิดของสารกันบูดที่มีผลต่อจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ชนิดของสาร แบคทีเรีย ยีสต์ รา ไนไตรต์ nitrite ซัลไฟต์ sulfites กรดฟอร์มิก กรดโพรพิออนิก propionic acid กรดซอร์บิก sorbic acid กรดเบนโซอิก benzoic acid พารา ไฮดรอกซีเบนโซอิก แอซิด เอสเทอร์ ไดพีนิล หมายเหตุ แสดงว่า ไม่มีผล แสดงว่า มีผลบ้างเล็กน้อย แสดงว่า มีผลปานกลาง แสดงว่า มีผลมาก แหล่งที่มา ไพบูลย์ ธรรมรัตน์วาสิก กรรมวิธีการแปรรูปอาหาร การยืดอายุอาหารด้วยวิธีการทางเคมีอีกวิธีหนึ่งคือ การใช้สารดูดออกซิเจนโดยเป็นการทำปฏิกิริยาเคมีของสารดูดออกซิเจนกับบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์ การทำปฏิกิริยากับออกซิเจนของอาหารจะสามารถลดลงได้โดยใช้สารดูดออกซิเจน ซึ่งปกติแล้วจะบรรจุในซองเล็กๆ แยกออกจากตัวสินค้าและบรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์เดียวกัน สารดูดออกซิเจนนี้ส่วนใหญ่ทำจากผงเหล็กที่จะช่วยดูดออกซิเจนที่มีอยู่ในถุงและลดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่จะเกิดกับอาหาร ปรากฏการณ์ใหม่ในวงการอุตสาหกรรมอาหารที่ใช้วิธีการทางเคมีในการยืดอายุอาหาร คือ การใช้สารที่มีคุณค่าทางอาหารที่อยู่ในส่วนประกอบอาหาร เช่น วิตามินอี Alpha Tocopherol และวิตามินซี Ascorbic Acid เป็นตัวทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นแทนที่จะใช้สารเคมีอย่างอื่นๆ 4 3 7 การฉายรังสี food irradiation การฉายรังสีเพื่อยืดอายุของอาหารเริ่มตั้งแต่ปี ค ศ 1920 และเป็นที่ประจักษ์กันทั่วทั้งวงการว่าการฉายรังสีไม่มีผลกระทบต่อคุณค่าของอาหารเลย การฉายรังสีนับเป็นวิวัฒนาการใหม่ที่เริ่มมีการใช้อย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม การฉายรังสีอาจมีผลทำให้โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์เกิดการแปรรูปขึ้นเช่น ทำให้เหนียวขึ้น หดตัว หรือเปลี่ยนสี เป็นต้น ในขณะนี้มี 30 ประเทศทั่วโลกยอมรับการยืดอายุอาหารด้วยการฉายรังสี แต่ยังมีบางประเทศห้ามจำหน่ายอาหารที่ผ่านการฉายรังสีแม้ว่าจะเป็นวิธีการถนอมอาหารที่มีประสิทธิผลสูงสุดตามที่ WHO ของสหประชาชาติอนุมัติให้ใช้การฉายรังสีในการยืดอายุอาหารด้วยปริมาณรังสี 1 Mrad โดยไม่ต้องมีการทดลองใดๆ ส่วนองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา FDA ได้จัดให้การฉายรังสีเป็นวัตถุเจือปนอาหาร เนื่องจากการฉายรังสีอาจก่อให้เกิดสารใหม่ที่ยังไม่ทราบขึ้นในอาหารที่ผ่านการฉายรังสีแล้ว ปริมาณรังสี 1 Mrad หมายความว่าเป็นรังสีที่ได้จากแหล่ง Cobalt 60 ที่กระจายรังสีด้วยความถี่ 100 rads ต่อวินาที เป็นเวลา 2 78 ชั่วโมง หรืออาจได้จากการใช้ลำแสงอิเลคตรอนแต่ใช้เวลาเพียง 0 01 วินาทีก็จะได้ปริมาณแสงจำนวนเท่ากัน ส่วนหน่วย rads เป็นการวัดปริมาณพลังงานที่ถูกดูดซึม โดยมีค่าพลังงานเทียบเท่ากับ 2 4 x 10 6 แคลอรี่ต่อกรัม รังสีที่ใช้กันมี รังสีเอ็กซ์ X rays ลำแสงเร้งอิเลคตรอน Accelerated Electron Beams และรังสีแกมม่า Gamma Rays ปรากฏว่าลำแสงเร่งอิเลคตรอนและรังสีแกมม่าให้ประสิทธิผลที่ดีกว่า แหล่งของรังสีแกมม่ามาจาก โคบอลต์ 60 Cobalt 60 หรือซีเซียม Cesium 137 รังสีแกมม่ามีอำนาจทะลุทะลวงได้ดีกว่าลำแสงเร่งอิเลคตรอน และสามารถฆ่าเชื้อสินค้าบนกะบะได้ทั้งหมดโดยไม่ทำให้รังสีตกค้างอยู่ในอาหารแต่จะใช้เวลานานกว่า ขณะที่อาหารได้รับการฉายรังสีสีส่วนประกอบของอาหารโดยมากจะปล่อยรังสีผ่านไป แต่จุลินทรีย์ที่ได้รับรังสีจะมีระบบ DNA เปลี่ยนแปลงไปจึงทำลายการเจริญเติบโต พร้อมทั้งลดโอกาสการทำปฏิกิริยาต่างๆ ที่จะทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพ ถ้าปริมาณรังสีที่ฉายมากพอ ตัวผลิตภัณฑ์อาหารจะถูกฆ่าเชื้อได้ในระดับเดียวกับการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน แต่มีผลข้างเคียงต่อคุณภาพอาหารน้อยกว่าการใช้ความร้อนเพราะไม่มีผลต่อรสชาติ การเปลี่ยนสี และผลกระทบต่อคุณค่าอาหารจึงได้รับการขนานนามว่าเป็นการฆ่าเชื้อแบบเย็น Cold Sterilization ในตารางที่ 4 7 แสดงถึงผลทางเทคนิคของอาหารที่ผ่านการฉายรังสี ตารางที่ 4 7 ผลทางเทคนิคของอาหารที่ฉายรังสี ผลกระทบ ปริมาณรังสี การฆ่าเชื้อ 2 6 Mrads ยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ 100 1000 Mrads ยับยั้งการเติบโตของแมลง น้อยกว่า 100 Mrads ยับยั้งการเติบโตของเชื้อพาราซิท Parasites น้อยกว่า 100 Mrads วิธีการฆ่าเชื้อโดยการฉายรังสีนี้ ตัวบรรจุภัณฑ์และสินค้าได้รับการฉายรังสีพร้อมๆ กัน เมื่อใช้รังสีแกมม่าด้วยปริมาณ 1 Mrad กับฟิล์มพลาสติกที่ใช้กันทั่วไป เช่น PE PET PS รวมถึงฟิล์มที่ป้องกันการซึมผ่านได้ดี เช่น PVDC และไนลอน 6 สามารถผ่านการฉายรังสี โดยได้รับการอนุมัติจากสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา แม้ปริมาณรังสีสูงมากถึง 6 Mrads PE ยังใช้ได้ดี การยืดอายุอาหารโดยการฉายรังสีนี้แม้ว่าจะได้รับความสนใจจากนักวิชาการด้านต่างๆ มาเป็นสิบปีทั้งในการวิจัยและการพัฒนา แต่ยังไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วทั้งโลก อาจจะเป็นเพราะการพูดถึงการฉายรังสี คนที่ได้ยินมักคิดว่าเป็นกัมมันตภาพรังสีชนิดเดียวกับที่ใช้ในการทดสอบปรมาณู อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยการยืดอายุของผลิตภัณฑ์อาหารด้วยการฉายรังสีได้รับการวิวัฒนาการและพัฒนามากว่า 30 ปี และได้รับความนิยมใช้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะอาหารประเภทแหนมและข้าวสาร 4 3 8 การปรับสภาวะบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์ การปรับสภาวะบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์จะช่วยยืดอายุของผลิตภัณฑ์อาหารสดและอาหารแปรรูป เมื่อเทียบกับการปล่อยให้อาหารเหล่านี้อยู่ในบรรยากาศธรรมดา เปรียบเสมือนกับคนเราจะสุขสบายกว่าในห้องที่ได้ปรับอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสม โดยใช้เครื่องปรับอากาศหรือแอร์คอนดิชั่น การปรับปริมาณอัตราส่วนของอากาศภายในบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสินค้าเหมือนกับการติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้แก่สินค้าเพื่อการอยู่สบายและเป็นการยืดอายุของอาหารด้วย ระบบการบรรจุที่ดูดเอาอากาศภายในบรรจุภัณฑ์ออกหรือที่เรียกว่า บรรจุภัณฑ์สุญญากาศ จัดได้ว่าเป็นการปรับสภาวะอย่างหนึ่ง เนื่องจากเป็นการดูดเอาอากาศออกจากบรรจุภัณฑ์ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อลดโอกาสการทำปฏิกิริยาของออกซิเจนกับอาหารซึ่งจะนำไปสู่การเสื่อมคุณภาพของอาหาร ภายใต้สภาวะบรรยากาศปกติจะประกอบด้วยออกซิเจน 20 และไนโตรเจน 80 โดยประมาณพร้อมทั้งมีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่เล็กน้อย การปรับอัตราส่วนของอากาศภายในบรรจุภัณฑ์เสียใหม่ย่อมทำให้อาหารที่อยู่ภายในทำปฏิกิริยากับอากาศในสภาพแตกต่างกัน ก๊าซแต่ละอย่างมีบทบาทต่อสินค้าดังต่อไปนี้ ออกซิเจน เป็นก๊าซที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น การลดปริมาณออกซิเจนย่อมเป็นการลดปฏิกิริยาทางเคมีไปด้วย ตัวอย่างเช่น อาหารที่ผ่านการทอดหรืออาหารที่มีไขมันมากเมื่อนำมาบรรจุในสภาพปรับบรรยากาศ วิธีนี้จะลดปริมาณออกซิเจนให้เหลือน้อยที่สุด แต่ไม่ถึงกับไม่มีออกซิเจนเลย เนื่องจากจะเป็นการส่งเสริมให้บักเตรีประเภทที่เติบโตภายใต้สภาวะไม่มีออกซิเจน Anaerobic Bacteria เติบโตขึ้นมาแทน คาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซนี้เมื่อฉีดเข้าไปในบรรจุภัณฑ์จะทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย วิธีที่นำมาใช้อย่างหนึ่ง คือ ให้มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 20 ในบรรจุภัณฑ์นั้นๆ แต่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีข้อเสีย คือ เมื่อละลายกับน้ำจะก่อให้เกิดสภาพกรดอย่างอ่อนๆ ไนโตรเจน ก๊าซชนิดนี้เป็นก๊าซที่แตกต่างจากก๊าซทั้งสองที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ เป็นก๊าซเฉื่อยทางชีวภาพและไม่ละลายกับน้ำพร้อมทั้งไม่มีกลิ่น จึงนิยมใช้ก๊าซไนโตรเจนเป็นก๊าซเข้าไปแทนที่อากาศในบรรจุภัณฑ์ ในแง่ของวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กับระบบปรับสภาวะบรรยากาศนี้ สิ่งที่จะต้องระวังมากเป็นพิเศษ กล่าวคือ ระบบการปรับสภาวะบรรจุภัณฑ์ต้องเป็นวัสดุที่ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้เป็นอย่างดีเพื่อรักษาสภาพการปรับบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์ไว้ได้ตลอด นอกจากนี้ความแข็งแรงของรอยปิดผนึกเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องควบคุมให้ได้ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ระบบการปรับสภาวะบรรยากาศนี้จะสามารถยืดอายุผลิตภัณฑ์ได้มากกว่าถึง 2 10 เท่าตัว โดยการปรับสภาวะบรรยากาศที่เหมาะสมสำหรับอาหารแต่ละประเภท คุณประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของระบบบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ คือ ไม่จำเป็นต้องแช่แข็ง แต่อาจจะใช้เพียงแค่การแช่เย็นสำหรับสินค้าสด เช่น ผลไม้ เนื้อ และปลา เป็นต้น 4 4 การประเมินหาอายุของอาหาร ตามที่ได้กล่าวไว้ในบทนำแล้วว่า การประเมินหาอายุของผลิตภัณฑ์อาหารเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและบรรจุภัณฑ์ ถ้าอาหารที่รับประทานต้องการอายุเพียงแค่ 15 30 นาที และใช้เวลาในการเดินทางน้อยกว่า 1 กิโลเมตรจากแหล่งผลิตมายังแหล่งบริโภค บรรจุภัณฑ์ที่ใช้อาจใช้แบบไหนก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ทอดมันหรือกล้วยแขกที่ซื้อจากตลาดปากซอยที่เพิ่งทอดเสร็จใหม่ๆ เมื่อซื้อจากปากซอยนำมารับประทานที่บ้านซึ่งใช้เวลาน้อยและระยะทางสั้นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้จึงอาจเป็นถุงพลาสติกธรรมดาหรือแม้กระทั่งถุงกระดาษพับจากหนังสือพิมพ์ โลหะหนักในหมึกพิมพ์ยังไม่ทันจะรู้ตัวที่จะเข้าทำปฏิกิริยา อาหารนั้นก็รับการบริโภคเข้าไปแล้ว ในเหตุการณ์เช่นนี้แทบไม่มีความจำเป็นต้องใช้ความรู้อะไรในการพัฒนาอาหารและบรรจุภัณฑ์ แต่ภายใต้ธุรกิจการค้ากระแสโลกานุวัตรผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมบรรจุภัณฑ์อาจต้องการอายุการเก็บถึง 15 เดือนแทนที่จะเป็น 15 นาทีและอาจต้องเดินทาง 10000 กิโลเมตรแทนที่จะเป็น 1 กิโลเมตร ดังนั้นความรู้ที่จะใช้ในการพัฒนาอาหารและบรรจุภัณฑ์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง 4 4 1 ปัจจัยที่ต้องพิจารณา อายุขัยของผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์จะแปรผันตามองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1 ตัวผลิตภัณฑ์อาหาร สภาวะการยอมรับได้ของคุณภาพสินค้า ความไวในการทำปฏิกิริยาและความต้องการอื่นๆ 2 ตัวบรรจุภัณฑ์ อัตราการซึมผ่านของวัสดุบรรจุภัณฑ์ การรักษาคุณสมบัติต่างๆ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ คุณสมบัติทางกลของวัสดุบรรจุภัณฑ์ 3 สภาวะขนส่ง เช่น อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และเวลา ในองค์ประกอบทั้ง 3 นี้ การรู้ซึ้งถึงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์อาหารเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เช่น ความไวต่อการทำปฏิกิริยากับความชื้นและออกซิเจน ด้วยเหตุนี้จึงต้องทดสอบความไวในการทำปฏิกิริยาของผลิตภัณฑ์อาหารก่อนที่จะเลือกวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม อายุขัยของผลิตภัณฑ์อาหารใดๆ ของระบบบรรจุภัณฑ์และสภาวะการกระจายสินค้าหนึ่งๆ นั้นจะแปรผันตามคุณภาพของอาหารในขณะที่เริ่มผิตและสภาวะการยอมรับได้เมื่อบริโภคหลังจากช่วงเวลาหนึ่งผ่านไป ความแตกต่างของคุณภาพอาหารขณะผลิตกับขณะบริโภคยิ่งมีความแตกต่างมากอายุขัยของอาหารนั้นยิ่งยาว และถ้าคุณภาพอาหารมีการเปลี่ยนแปลงน้อย ย่อมเปิดโอกาสให้ใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ป้องกันการซึมผ่านน้อย การประเมินอายุของอาหารเป็นการใช้หลักการคำนวณทางคณิตศาสตร์จากปฏิกิริยาที่ทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอัตราซึมผ่านของวัสดุบรรจุภัณฑ์ ยกตัวอย่างเช่น ความกรอบของขนมปังจะทดสอบได้ด้วยการซึมผ่านของไอน้ำ เมื่อขนมปังนิ่มจนทานไม่ได้จะวัดค่าปริมาณของความชื้นในขนมปังที่นิ่มจนยอมรับไม่ได้ เมื่อมีการประเมินอายุของขนมปังในบรรจุภัณฑ์อื่นๆ จะใช้เกณฑ์ของปริมาณความชื้นเป็นเกณฑ์ตัดสิน เช่นเดียวกับการเหม็นหืนของอาหารที่มีไขมันสูง จะใช้เกณฑ์การดูดซึมหรือปฏิกิริยาระหว่างออกซิเจนกับอาหารเป็นเกณฑ์ตัดสินและประเมินอายุของอาหารจากปริมาณการซึมผ่านของออกซิเจนเข้าสู่ภายในบรรจุภัณฑ์ ตัวระบบบรรจุภัณฑ์ที่เลือกใช้ในการรักษาคุณภาพของอาหารประกอบด้วย บรรจุภัณฑ์ชั้นใน primary packaging บรรจุภัณฑ์ชั้นนอก และบรรจุภัณฑ์ขนส่ง การทำงานของเครื่องจักรบรรจุและสมรรถนะของเครื่องจักร เครื่องจักรที่มีสมรรถนะดีและใช้งานอย่างถูกต้องมีผลต่อการรักษาคุณภาพของอาหาร เนื่องจากเอื้ออำนวยให้บรรจุภัณฑ์ทำงานได้อย่างเต็มที่ตามที่ได้ออกแบบมา ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ การประเมินอายุขัยของอาหารพร้อมบรรจุภัณฑ์จึงควรกระทำอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เครื่องบรรจุที่ทำงานจริงๆ ไม่สมควรใช้อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการทดสอบอายุขัยเสมอไป การวัดอัตราการซึมผ่านของวัสดุบรรจุภัณฑ์เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งในการประเมินอายุของอาหาร การวัดอัตราการซึมผ่านที่แน่นอน ถูกต้อง มิได้เป็นสิ่งที่รับประกันได้ว่า การประเมินอายุขัยจะถูกต้องแม่นยำเสมอไป เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากมาย การวัดอัตราการซึมผ่านเป็นเพียงการทดสอบประเภทบ่งบอก Identification ที่กระทำในห้องปฏิบัติการภายใต้สภาวะควบคุม โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่างๆ ซึ่งมีผลให้การซึมผ่านรวดเร็วกว่าทดสอบในห้องปฏิบัติการ อย่างไรก็ตามความรู้พื้นฐานในการประเมินอายุประกอบด้วย ความรู้เรื่อง Moisture Isotherm และการดูดซึมของออกซิเจน 1 Moisture Isotherm เทคนิคที่ใช้ในการประเมินอายุอาหารจะเริ่มจากการหากราฟ Isotherm ของอาหารซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความชื้นของอาหาร ณ จุดสมดุลของอุณหภูมิที่ความชื้นสัมพัทธ์ต่างๆ กันรูปที่ 4 7 แสดงการดูดความชื้นที่สมดุล Sorption Isotherm ที่ความชื้นสัมพัทธ์ต่างๆ จะพบว่าอาหารมีความชื้นมากขึ้น โดยเฉพาะเส้นกราฟ a ที่เพิ่มความชื้นได้เร็วมาก ส่วนกราฟ c เป็นอาหารที่ไม่ค่อยไวต่อความชื้น ค่าที่จุด x นั้นเป็นค่าของอาหารเมื่อมีการแปรรูปแล้ว ส่วนจุด o ในแต่ละกราฟนั้นเป็นจุดวิกฤติของความชื้นที่จะทำให้อาหารไม่เป็นที่ยอมรับ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ที่จะช่วยป้องกันการซึมผ่านของความชื้นไม่ให้เกินกว่าค่า o ของสินค้าแต่ละประเภท รูปที่ 4 7 แสดงการดูดความชื้นที่สมดุล แหล่งที่มา Heiss R Principles of Food Packaging An International Guide ในสภาพความเป็นจริงระหว่างขนส่ง สภาวะความชื้นจะแปรปรวนมากกว่าค่าสมดุลที่หาได้จากในกราฟ และทำให้การซึมผ่านของไอน้ำเกิดขึ้นได้เร็วกว่าภายใต้สภาวะการทดสอบ ด้วยเหตุนี้จึงมักมีการหาค่าความชื้นสัมพัทธ์ที่เปลี่ยนแปลงระหว่างการขนส่งเพื่อนำมาจำลองในห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินการดูดซึมความชื้นของอาหารในระหว่างการขนส่งและการจัดจำหน่าย กราฟ Isotherm ของสินค้าต่างชนิดกันจะมีรูปร่างแตกต่างกันดังแสดงในรูปที่ 4 8 อาหารที่มีโปรตีนสูงหรือแป้งสูงหรืออาหารที่ค่าน้ำหนักโมเลกุลหนักจะมีค่าสมดุลของความชื้นในอาหารที่ค่าความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ รูปกราฟจะไม่ชันมากเมื่อเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ ดังเช่น กราฟรูป A และ B ของแป้งและโปรตีน ในขณะเดียวกันอาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันอยู่มาก เมื่อความชื้นสัมพัทธ์สูงขึ้น ปริมาณความชื้นจะเพิ่มเร็วมากดังเช่นกราฟรูป D E และ F ตามลำดับ อาหารบางชนิดที่ตกผลึกได้ง่าย Crystalline จะเปลี่ยนสถานะทางกายภาพที่ค่าความชื้นหนึ่ง เช่น เกลือจะไม่ดูดความชื้นจากบรรยากาศเลย นอกเสียจากว่าความชื้นสัมพัทธ์จะสูงกว่า 85 รูปที่ 4 8 กราฟแสดงสถานะความชื้นสัมพัทธ์ของแป้งและโปรตีน แหล่งที่มา Pine F A Fundamentals of Packaging p 51 สินค้าใดก็ตามที่รู้ค่าปริมาณความชื้นวิกฤติ ปริมาณความชื้นในสินค้าก่อนจะบรรจุ อัตราการซึมผ่านของไอน้ำของบรรจุภัณฑ์ ความชื้นสัมพัทธ์ที่แตกต่างกันระหว่างบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมและภายในบรรจุภัณฑ์ ก็จะสามารถประเมินอายุของผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำปฏิกิริยากับความชื้นของอาหารนั้นได้ ถ้าอายุที่ประเมินได้นั้นสั้นเกินไป ก็จำเป็นต้องหาบรรจุภัณฑ์ที่สามารถป้องกันความชื้นได้ดียิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์อาหารเกือบทุกชนิดมีส่วนผสมของน้ำอยู่และย่อมมีอิทธิพลต่ออายุของอาหารโดยแปรตามสภาวะของอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศ ดังนั้น การศึกษาสภาพการคายน้ำและดูดน้ำของผลิตภัณฑ์อาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากปัญหาของความชื้นแล้วยังมีปัญหาการทำปฏิกิริยาของออกซิเจนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย 2 การดูดซึมของออกซิเจน การทำปฏิกิริยาของออกซิเจนสลับซับซ้อนมากกว่าการดูดและคายความชื้นของอาหารในระบบบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้กันอยู่ นอกเหนือจากการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนของอาหารแล้ว ปัญหาของออกซิเจนเข้ามาเกี่ยวข้องกับระบบบรรจุภัณฑ์ด้วย 2 ปรากฏการณ์คือ 1 ระบบบรรจุภัณฑ์สุญญากาศ ความแตกต่างของความดันอากาศภายในและภายนอกบรรยากาศที่เห็นได้อย่างเด่นชัด ดังนั้นการซึมผ่านของก๊าซจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2 ระบบบรรจุภัณฑ์ปรับบรรยากาศ ปริมาณของก๊าซออกซิเจนในบรรยากาศกับปริมาณออกซิเจนภายในบรรจุภัณฑ์จะยังคงมีอยู่แม้ว่าจะฉีดก๊าซเฉื่อยเข้าไปแล้ว เนื่องจากภายในสารอาหารยังคงมีออกซิเจนอยู่ หลักการวิเคราะห์จะคล้ายกับการซึมผ่านของไอน้ำ แต่หัวใจสำคัญคือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัดปริมาณของออกซิเจน บางระบบใช้ระบบการเหนี่ยวนำความร้อนของก๊าซที่เป็นตัวนำ Sweep Gas แต่ที่นิยมมากที่สุด คือ การใช้ Gas Chromatography ซึ่งสามารถตรวจวัดออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ได้ การซึมผ่านของออกซิเจนผ่านวัสดุบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะพลาสติก จะแปรเปลี่ยนไปตามชนิดของพลาสติก นอกจากนี้สภาวะสิ่งแวดล้อมยังมีอิทธิพลต่อการซึมผ่าน ยกตัวอย่างเช่น 1 พลาสติกจะพวกไนลอนหรือ Polyamide การซึมผ่านของออกซิเจนจะมีอัตราการซึมผ่านเร็วขึ้น 5 เท่าตัว ถ้าความชื้นสัมพัทธ์ของก๊าซเพิ่มขึ้นจาก 0 เป็น 100 RH ส่วนพลาสติกอื่นๆที่ใช้กันอยู่ทั่วไป เช่น PE PP PVC และ PET ผลกระทบของความชื้นสัมพัทธ์ต่อการซึมผ่านมีน้อยมาก 2 อุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจากอุณหภูมิในช่วง 0° c 50° c พลาสติกส่วนใหญ่จะปล่อยให้มีอัตราการซึมผ่านได้เร็วถึง 100 เท่า โดยมีความชื้นสัมพัทธ์เป็นค่า Logarithm ของอัตราการซึมผ่านและอุณหภูมิจะเป็นเส้นตรง < < ย้อนกลับ อายุของผลิตภัณฑ์อาหาร ตอนที่2อ่านต่อ อายุของผลิตภัณฑ์อาหาร ตอนที่4 > > < < กลับสู่หน้าหลัก
อายุของผลิตภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 4
4 4 2 เทคนิคการประเมินอายุ การทดสอบเพื่อประเมินอายุของผลิตภัณฑ์อาหารในห้องปฏิบัติการ มักจะทดสอบในสภาวะบรรยากาศห้อง 25° c 75 RH หรือในสภาวะเร่งปฏิกิริยาที่ 38° c 90 RH วิธีการตรวจสอบคุณภาพอาหารว่าเสื่อมคุณภาพจรกระทั่งถึงระดับที่จะยอมรับได้หรือไม่นั้น จะใช้วิธีการชิมของกลุ่มเป้าหมายที่เลือกขึ้นมา Taste Panel เริ่มต้นจากการสังเกต เช่น การมีเชื้อราขึ้น หรือการวิเคราะห์ทางเคมี เช่น การหาค่าของ Riboflavin เป็นต้น ด้วยการตรวจสอบที่เป็นขั้นตอนจนพบว่าอาหารเริ่มจะเสื่อมคุณภาพหรือไม่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเป้าหมายที่เลือกขึ้นมา จะวัดเวลาที่เก็บทดลองนั้นจนอาหารเริ่มจะเสื่อมคุณภาพ เปรียบเทียบกับเวลาที่เก็บในห้องทดสอบภายใต้การเร่งสภาวะ และจะใช้ข้อมูลทั้งสองอย่างนำมาประเมินอายุของผลิตภัณฑ์อาหาร ในปกติกรณีที่เก็บในสภาวะเร่งปฏิกิริยาเมื่อเทียบกับสภาวะมาตรฐานจะเกิดขึ้นเร็วกว่าประมาณ 2 4 ถึง 4 5 เท่า ในทางปฏิบัติ การประเมินอายุของอาหารมักจะมีการซื้อสินค้ากลับมาจากร้านค้าที่ขายและทดสอบคุณภาพอาหารหลังจากออกจากโรงงานและผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายที่เป็นจริงจนกระทั่งมาถึงจุดขาย ด้วยการสุ่มตัวอย่างที่ผ่านสภาวะการขนส่งจริงๆ ทำให้สามารถประเมินคุณภาพของอาหารที่ผู้บริโภคจะซื้อไปรับประทานได้อย่างดี ส่วนในห้องปฏิบัติการ การเก็บอาหารภายใต้สภาวะห้องหรือสภาวะที่กำหนดตามความยาวของอายุของอาหาร Full Storage เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง การเสื่อมเสียคุณภาพเนื่องจากความชื้น ในการประเมินอายุอาหารที่จะเสื่อมคุณภาพด้วยความชื้นตั้งอยู่บนข้อสมมุติฐาน 2 ข้อคือ 1 การเปลี่ยนแปลงของความชื้น แปรผันโดยตรงกับอัตราการซึมผ่านของไอน้ำทั่วบริเวณผิวของบรรจุภัณฑ์ แรงต้านที่มีต่อไอความชื้นจะแปรผกผันกับอัตราการซึมผ่าน 2 การเปลี่ยนแปลงของความชื้นมีผลโดยตรงจากความแตกต่างของความดันไอน้ำระหว่างผิว 2 ข้างของบรรจุภัณฑ์ จากข้อสมมุติฐาน 2 ข้อดังกล่าว ได้มีการพัฒนาเทคนิคและการประเมินอายุดังนี้ 1 วิธีการแทนที่ Substitution Method อาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตควรจะมีการเก็บตามสภาวะที่กำหนด การเก็บที่สะดวกที่สุดคือการเก็บในสภาวะห้องเพื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลงของอาหารที่จะเกิดขึ้นตามกำหนดอายุของอาหาร ในกรณีของสินค้าที่พัฒนาใหม่เป็นครั้งแรก การประเมินหาอายุของอาหารที่นิยมปฏิบัติ คือ การเก็บภายใต้การเร่งสภาวะ Accelerated Condition โดยการอาหารที่อุณหภูมิสูงและความชื้นสัมพัทธ์สูง ระยะเวลาที่ใช้เก็บภายใต้การเร่งสภาวะนี้สำหรับอายุของอาหารประมาณ 1 ปี จะใช้เวลาเก็บเพื่อการทดสอบไม่เกิน 3 เดือน ในช่วงเวลาดังกล่าวจะทำการทดสอบหากราฟ แสดงการดูดซึมความชื้นที่อุณหภูมิเดียวกัน Moisture Absorption Isotherm ขณะเดียวกันอาหารที่พัฒนานั้นจะนำมาประเมินอายุโดยการคำนวณเพื่อยืนยันกับผลที่ได้จากการทดสอบภายใต้เร่งสภาวะ เมื่อมีการเก็บข้อมูลต่างๆ ดังกล่าวสมบูรณ์แล้ว เมื่อไรก็ตามที่มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่จะหาค่าอัตราการซึมผ่านของวัสดุใหม่และสามารถหาอายุของสินค้าที่บรรจุในวัสดุใหม่จะหาได้จากสมการดังต่อไปนี้ การใช้สูตรแทนที่อย่างง่ายๆ ตั้งอยู่บนสมมุติฐานดังต่อไปนี้ 1 เส้นกราฟแสดงการดูดซึมความชื้นที่อุณหภูมิเดียวกันของสินค้าไม่ได้เปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาที่เก็บไว้ทดสอบ 2 การเสื่อมคุณภาพของสินค้าเกิดจากอิทธิพลของอัตราการดูดซึมความชื้นที่เกิดขึ้น 2 วิธีการเร่งสภาวะ Acceleration Method เทคนิควิธีนี้นับเป็นวิธีที่นิยมมาก เนื่องจากใช้เวลาไม่นานนัก โดยการเร่งความดันไอน้ำภายใต้สภาวะอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์สูงจนกว่าอาหารจะเสื่อมคุณภาพหรือไม่เป็นที่ยอมรับ ความนิยมของเทคนิคนี้ทำให้ชื่อย่อของ ASL Accelerated Shelf Life เป็นที่รู้จักกันทั่วไป สูตรในการคำนวณ ASL มีดังนี้ ในกรณีผลิตภัณฑ์อาหารเสื่อคุณภาพด้วยการดูดความชื้น และการประเมินหาอายุโดยการชั่งน้ำหนักของความชื้นที่ผลิตภัณฑ์อาหารดูดเข้าไปภายใต้สภาวะการเก็บที่ 80 RH ที่ 30° c สามารถคำนวณ ASL ดังนี้ Shelf Life นี้เป็นการคาดคะเนอายุที่ 80 RH ที่ 30° c วัน C เป็นค่าคงที่ของอัตราการเพิ่มขึ้นของความชื้น ตัวอย่างมันฝรั่งทอดมีค่า 1 75 X คือ ความชื้นเมื่อผลิตภัณฑ์อาหารเสื่อมคุณภาพ Y คือ ความชื้น ณ จุดเริ่มต้นที่ทำการทดสอบ W คือ น้ำหนักของผลิตภัณฑ์อาหาร กรัม WVTR คือ อัตราการซึมผ่านของความชื้น กรัม 100 ตร นิ้ว 24 ชม ที่ 90 RH ที่ 38° c A คือ พื้นที่ผิวของบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากการทดสอบนี้อยู่ภายใต้สภาวะเร่งบรรยากาศเมื่อต้องการทราบถึงอายุของสินค้าในบรรยากาศจะคูณด้วย 3 จะได้ค่าประมาณของกำหนดอายุสินค้านั้น ค่า WVTR นี้ถ้าใช้ฟิล์มที่เคลือบหลายชั้น WVTR ของฟิล์มที่เคลือบหลายชั้นสามารถคำนวณได้ดังนี้ ตัวอย่างเช่น ฟิล์มเคลือบหลายชั้น ประกอบด้วย 45 OPP 70 LDPE 70 OPP โดยแต่ละชั้นมี WVTR 0 75 2 80 และ 0 57 หน่วยตามลำดับ สภาวะภายในบรรจุภัณฑ์จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอขึ้นอยู่กับการคายออกหรือดูดเข้าของบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์กับบรรยากาศภายนอก โดยการซึมผ่านนี้จะแปรตามความเข้มข้นของบรรยากาศที่อยู่ระหว่างชั้นในและชั้นนอกของบรรจุภัณฑ์ หรือที่รู้จักกันในนามของ Partial Pressure ความแตกต่างของความดันระหว่างชั้นของบรรจุภัณฑ์เป็นสิ่งที่คำนวณได้ยากเพราะแปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาทำให้ต้องใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการคำนวณ สูตรที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นถือว่าความเปลี่ยนแลงของความดันนี้คงที่ตลอด ดังนั้นน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์ที่ทำการทดสอบจึงเท่ากับอัตราการซึมผ่านของฟิล์มคูณด้วยเวลาและพื้นที่ผิวของบรรจุภัณฑ์และหารด้วยความหนาของบรรจุภัณฑ์ ในความเป็นจริงจากความแตกต่างของความดันทำให้อากาศหรือความชื้นที่ซึมเข้าไปสู่บรรยากาศภายในแล้วไม่ได้อยู่เฉยๆ แต่เริ่มทำปฏิกิริยากับอาหารและทำให้การประเมินอายุด้วยการชั่งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนี้ยังไม่ใกล้เคียงความเป็นจริง หรือยิ่งสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เมื่อมีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาในการคำนวณจะใช้ในการสร้าง Model ในการส่งผ่านมวลน้ำหนัก Simple Mass Transfer โดยแยกเป็น Model ของสินค้าที่ไวต่อการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน หรือ Model ที่ใช้กับสินค้าเครื่องดื่ม เป็นต้น สูตรพื้นฐานที่ใช้ในการคำนวณและสมการ คือ โดยที่ W น้ำหนักที่เปลี่ยนของส่วนประกอบอาหารที่ทำให้เสื่อมคุณภาพ t เวลา k สัมประสิทธิ์ค่าอัตราการซึมผ่านของวัสดุบรรจุภัณฑ์ l ความหนาของวัสดุบรรจุภัณฑ์ A พื้นผิวของบรรจุภัณฑ์ P out ความดัน Partial Pressure ที่อยู่ภายนอกบรรจุภัณฑ์ P in ความดัน Partial Pressure ที่อยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ P in เป็นความดันภายใน ถ้าเป็นเรื่องของความชื้น คือ ค่าของความชื้นของผลิตภัณฑ์เมื่อเปรียบเทียบความชื้นสัมพัทธ์ในการเก็บ ค่านี้ก็คือค่า Aw คูณด้วยความดันขอไอน้ำ ณ จุดอิ่มตัวที่อุณหภูมิเดียวกัน ค่า P in ดังกล่าวนี้จะใช้ได้เฉพาะ ณ อุณหภูมิหนึ่งเท่านั้นของ Isotherm P out เป็นความดันภายนอก ถ้าพิจารณาเป็นกรณีก็จะสะดวก เช่น ในกรณีพิจารณาการซึมผ่านของออกซิเจน P out มีค่าเท่ากับ 0 21 ของบรรยากาศหรือประมาณ 21 3 kPa ในกรณีที่เป็นความชื้น P out ของความดันไอน้ำ ณ จุดอิ่มตัวมีค่าเป็น 6 เท่าของความชื้นสัมพัทธ์ของบรรยากาศที่ทำการทดสอบ ส่วนกลิ่นนั้นมีค่า P out เป็นศูนย์ การประเมินอายุขัยของผลิตภัณฑ์อาหารโดยการคำนวณจากโมเดลที่สร้างขึ้นมานั้น ไม่ได้พิจารณาปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมของการขนส่ง แม้ว่าตัวผลิตภัณฑ์อาหารจะไม่แตกหักด้วยอันตรายทางกายภาพ แต่ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพระหว่างขนส่งมีบทบาทต่ออัตราการซึมผ่านของวัสดุ การประเมินอายุขัยที่ได้จากห้องปฏิบัติการจึงจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องทำการทดสอบในสนามหรือทดสอบด้วยการขนส่งจริง รูปแบบในการขนส่งนั้นยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องพิจารณา ในการทดสอบในห้องปฏิบัติการนั้น การทดสอบประเมินอายุขัยมักจะกระทำเฉพาะแค่บรรจุภัณฑ์ชั้นในหรือบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สอง แต่ในการขนส่งจริงนั้น จำต้องมีบรรจุภัณฑ์ขนส่ง หรืออาจมีการส่งสินค้ารวมกลุ่ม Unitizing เป็นกะบะ ในสภาวะการขนส่งจริงผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมบรรจุภัณฑ์ชั้นในย่อมอยู่ในสภาวะที่มีอุณหภูมิสูงกว่าในบรรยากาศข้างนอก ด้วยเหตุนี้โมเดลที่สร้างขึ้นมาจำลองปัจจัยต่างๆ จำต้องคำนึงถึงสภาวะจริงในการขนส่งโดยการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมมาจำลองแบบ นอกจากนี้ความแปรปรวนของปัจจัยต่างๆ ที่เกิดระหว่างการขนส่งยังแปรตามตำแหน่งของบรรจุภัณฑ์ขนส่ง ตำแหน่งตรงสี่มุมของบรรจุภัณฑ์ขนส่งบนกะบะย่อมมีโอกาสได้รับอุณหภูมิแตกต่างจากบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ในชั้นของกะบะสินค้า ถ้ามีการจัดเรียงวางบรรจุภัณฑ์บนกะบะให้มีการถ่ายเทได้ดีโดยการจัดให้มีช่องว่างมากขึ้น นั่นหมายความว่าค่าขนส่งจะสูงตามขึ้น ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ย่อมมีผลกระทบต่อต้นทุนค่าใช้จ่าย จุดมุ่งหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและบรรจุภัณฑ์ คือ หาทางออกหรือแนวทางการแก้ปัญหาที่เสียค่าใช้จ่ายโดยรวมน้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้ การสร้างโมเดลเพื่อใช้ในการประเมินอายุขัยของผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมบรรจุภัณฑ์จึงจำต้องศึกษาระบบทั้งหมด Total System Approach ในขณะเดียวกันโมเดลที่สร้างขึ้นจำต้องมีการปรับปรุงพัฒนาอยู่เสมอ และยังต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อผลสำเร็จในการประเมินอายุขัยของผลิตภัณฑ์อาหารและบรรจุภัณฑ์ บทสรุป การประเมินอายุของผลิตภัณฑ์อาหารจะกำหนดให้แน่นอนนั้นค่อนข้างจะลำบาก เนื่องจากอาหารมีส่วนผสมของอาหารหลากหลายชนิด และส่วนผสมดังกล่าวมีการทำปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน สิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกบรรจุภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอาหาร จุลชีววิทยา นักเคมี ต่างได้ระดมความสามารถเพื่อหาวิธีการที่จะประเมินอายุของผลิตภัณฑ์อาหารให้ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยแยกมูลเหตุที่ทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพเป็นมูลเหตุหลักและมูลเหตุรองถัดๆ ไป องค์ประกอบหลักที่ทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพประกอบด้วยองค์ประกอบภายใต้ตัวผลิตภัณฑ์อาหารและองค์ประกอบภายนอก องค์ประกอบทั้ง 2 นี้ต้องวิเคราะห์แยกออกจากกันในการประเมินหาอายุของผลิตภัณฑ์อาหาร องค์ประกอบภายในเริ่มจากการเก็บเกี่ยววัตถุดิบ การแปรรูปอาหาร และปฏิกิริยาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น อันได้แก่ ปฏิกิริยาชีวเคมี ปฏิกิริยาทางเคมี และปฏิกิริยาทางกายภาพ ส่วนองค์ประกอบภายนอกที่สำคัญได้แก่ ความชื้น อากาศ และแสง บางครั้งอาจจะเกิดจากปฏิกิริยาระหว่างวัสดุบรรจุภัณฑ์และตัวผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น การแยกตัว Migration เป็นต้น การยืดอายุของผลิตภัณฑ์อาหารนั้นได้รับการพัฒนามาตลอดเริ่มจากการเก็บรักษาอาหารแบบโบราณ เช่น การตากแห้ง การหมัก การรมควัน จากนั้นจึงวิวัฒนาการมาเป็นการฆ่าเชื้อโรคด้วยความร้อน ความเย็น กระบวนการปลอดเชื้อ ระบบไมโครเวฟ การฉายรังสี นอกจากนี้ยังมีวิวัฒนาการเทคโนโลยีทางด้านบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยยืดอายุของผิตภัณฑ์อาหาร เช่น การปรับสภาวะภายในบรรจุภัณฑ์ หลักเกณฑ์ในการประเมินอายุของอาหาร ใช้วิธีการคำนวณจากการเพิ่มน้ำหนักต่อหน่วยเวลาอันสืบเนื่องจากการดูดซึมความชื้นและออกซิเจน โดยใช้ข้อสมมุติฐานว่าการเพิ่มของน้ำหนักที่เกิดจากความแตกต่างของความดันระหว่างภายนอกและภายในบรรจุภัณฑ์ โดยการซึมผ่านทั่วผิวของบรรจุภัณฑ์ การเพิ่มน้ำหนักของอากาศจะมีผลโดยตรงต่อการเสื่อมคุณภาพของอาหาร นอกจากการคำนวณแล้ว การประเมินอายุของอาหารจะละเลยไม่ได้ในกาเก็บผลิตภัณฑ์อาหารในสภาวะที่เป็นจริงเพื่อเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงจนไม่เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเป้าหมาย < < ย้อนกลับ อายุของผลิตภัณฑ์อาหาร ตอนที่ 3 < < กลับสู่หน้าหลัก
การทดสอบวัสดุและบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 1
การทดสอบวัสดุและบรรจุภัณฑ์ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารหรือผู้เกี่ยวข้องกับการใช้บรรจุภัณฑ์ต่างก็ต้องการบรรจุภัณฑ์ที่ใช้งานได้ดี ปัญหาคือบรรจุภัณฑ์ที่ดีนั้นใช้มาตรการใดในการวัด ถ้าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้อยู่นั้นสามารถสั่งมาใช้งานได้ตามแต่ผู้แปรรูปหรือผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์จะผลิตให้ และใช้บรรจุภัณฑ์จากผู้ผลิตรายเดียวกันเป็นปีๆ โดยที่สินค้าไม่เคยบอบช้ำเสียหาย ภายใต้ปรากฏการณ์เช่นนี้ผู้ประกอบการต้องเชื่อว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้อยู่นั้นดีแน่ๆ เพราะสินค้าไม่เคยเสียหายเลย คำถามที่อาจเกิดขึ้นต่อมาว่า บรรจุภัณฑ์ที่ใช้นั้นอาจดีเกินไปหรือไม่ ถ้ายอมรับว่าดีเกินไป อาจเปิดโอกาสที่จะลดคุณภาพของบรรจุภัณฑ์ลงเพื่อประหยัดต้นทุน ปัญหาก็คือ จะลดคุณภาพอะไรของบรรจุภัณฑ์และจะลดลงเท่าไรโดยที่สินค้าขนส่งจะยังคงไม่แตกหักเสียหาย คุณภาพที่ต้องการลดนี้จำเป็นต้องใช้การทดสอบประเมินค่าออกมา ถ้าลดคุณภาพบรรจุภัณฑ์ลงแล้วต้นทุนย่อมลดลงตาม และเมื่อสั่งบรรจุภัณฑ์ใหม่นี้มาใช้แล้วยังคงไม่มีอะไรเสียหาย ย่อมแสดงว่าบรรจุภัณฑ์ที่ยอมใช้มาเป็นปีๆ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ดีเกินไป หรือที่เรียกว่า Overpackaging ในทางกลับกัน ถ้าบรรจุภัณฑ์ใดไม่สามารถป้องกันสินค้าไดจะเรียกว่า Underpackaging การควบคุมคุณภาพของวัสดุบรรจุภัณฑ์ให้ได้คุณภาพของบรรจุภัณฑ์ที่ดีนั้นจำต้องวิเคราะห์ทั้งระบบ เริ่มจากวัตถุดิบจนกระทั่งถึงผู้บริโภครับประทานหมดแล้วตามที่ได้กล่าวมาแล้ว การควบคุมคุณภาพนี้มีค่าใช้จ่ายและบริษัทขนาดเล็กต่างๆ มักคิดว่าไม่สามารถยอมจ่ายค่าใช้จ่ายนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทดสอบต่างๆ สาระที่จะกล่าวในบทนี้ ต้องใช้เครื่องมือและเครื่องจักรแพงพอสมควร อย่างไรก็ตามการทดสอบเพื่อประเมินคุณภาพเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อนำทางไปสู่การลดค่าใช้จ่ายรวมของบรรจุภัณฑ์ เช่น การหยุดเครื่องบรรจุ เนื่องจากคุณภาพของบรรจุภัณฑ์ไม่ดีหรือใช้งานไม่ได้ เป็นต้น ย่อมทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากรูปที่ 5 1 จะพบว่าเมื่อคุณภาพของบรรจุภัณฑ์ดีขึ้น ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพจะสูงตาม ผู้ประกอบกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์อาหาร จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดระดับคุณภาพที่ต้องการ ด้วยการส่งวัสดุและบรรจุภัณฑ์ไปทดสอบตามหน่วยราชการหรือสถาบันการศึกษาและเลือกการทดสอบที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพโดยตรง รูปที่ 5 1 คุณภาพที่ดีขึ้นย่อมมีค่าใช้จ่ายในการควบคุมคุณภาพ 5 1 1 จุดมุ่งหมาย ก่อนการทดสอบวัสดุและบรรจุภัณฑ์ใดๆ จะต้องรู้ถึงจุดมุ่งหมายในการทดสอบ เนื่องจากการทดสอบมีหลายวิธี แต่ละวิธีกำหนดมาตรฐานและวิธีการทดสอบที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะใช้เครื่องมือทดสอบอย่างเดียวกัน กล่าวโดยทั่วไปแล้วการทดสอบอาจมีจุดมุ่งหมายดังต่อไปนี้ 1 เปรียบเทียบวัสดุต่างชนิดกันโดยการทำการทดสอบพร้อมๆ กัน 2 ควบคุมคุณภาพของวัสดุที่ใช้จริงกับวัสดุที่เคยผ่านการทดสอบมาแล้วโดยการเปรียบเทียบผลที่เกิดจากการทดสอบต่างชนิดและต่างวาระกัน 3 ศึกษาถึงคุณสมบัติการใช้งานของวัสดุหรือตัวบรรจุภัณฑ์ เช่น การทดสอบความสามารถทนแรงกดในแนวดิ่ง เพื่อจำลองการรับน้ำหนักขณะเรียงซ้อนของสินค้า เป็นต้น จุดมุ่งหมายที่ 3 เป็นการทดสอบที่สำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นการทดสอบเพื่อจำลองการใช้งานของวัสดุและบรรจุภัณฑ์ ส่วนการทดสอบตามจุดมุ่งหมายที่ 1 และ 2 อาจรวมสรุปได้ว่าเป็นการทดสอบเพื่อบ่งบอกคุณลักษณะของวัสดุ Identification Test 5 1 2 มาตรฐานการทดสอบ จำนวนตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบและวิธีการทดสอบจะขึ้นอยู่กับมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบ เช่น มาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย หรือที่เรียกย่อว่า สมอ มาตรฐานในการทดสอบบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่ร่างขึ้นมาโดยสมอ รวบรวมอยู่ในภาคผนวกที่ 1 รายชื่อมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์สามารถใช้เป็นแนวทางการทดสอบได้อย่างกว้างๆ นอกจากมาตรฐานของสมอ แล้ว มาตรฐานการทดสอบยังอาจแบ่งได้หลายระดับ ดังต่อไปนี้ 1 มาตรฐานของแต่ละองค์กร บริษัทหรือหน่วยงานที่มีการจัดซื้อจัดหาวัสดุบรรจุภัณฑ์และระบบบรรจุภัณฑ์ต่างๆ จะร่างมาตรฐานการทดสอบของตัวเองออกมาใช้เพื่อให้ได้คุณภาพของบรรจุภัณฑ์ตามแต่ความเหมาะสมที่จะใช้งาน มาตรฐานของแต่ละองค์กรเหล่านี้จะมีความต้องการหรือรายละเอียดทางการทดสอบเฉพาะเจาะจงมากที่สุด 2 มาตรฐานของกลุ่มอาชีพเดียวกัน มาตรฐานการทดสอบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมักจะเกิดจากองค์กรเหล่านี้ เนื่องจากมีความพร้อมในห้องปฏิบัติการและนักวิจัย กลุ่มอาชีพเหล่านี้จะมีการจัดตั้งในแต่ละประเทศและมีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ทาวิชาการซึ่งกันและกัน กลุ่มที่มีชื่อเสียง ได้แก่ FEFCO Federation Europeene des Fabricants de Carton Ondule Test Metohds มาตรฐานทดสอบของสหพันธ์แปรรูปกล่องกระดาษลูกฟูกของยุโรป TAPPI หรือ The Technical Association of Pulp and Paper Industry Atlanta Uniform Freight Classification Committee Atlanta The American Society of Mechanical Engineers New York INCPEN Industry Council for Packaging in the Environment London USDA Forest Products Laboratory Madison Wisconsin BPBMA British Paper of Board Manufacturers Association องค์กรต่างๆ เหล่านี้ส่วนมากจะเป็นองค์กรเอกชนที่ไม่ได้แสวงหากำไร แต่เป็นการเผยแพร่ความรู้ให้กับกลุ่มอาชีพเดียวกัน เพื่อยกระดับมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ 3 มาตรฐานขององค์กรระดับประเทศและระหว่างประเทศ องค์กรสมอ ของไทยเป็นองค์กรหนึ่งที่จัดอยู่ในประเภทนี้ ซึ่งประสานงานโดยตรงกับ ISO หรือ International Standard Organization สำหรับวงการบรรจุภัณฑ์มีองค์กรที่เรียกว่า ISTA International Safe Transit Association ที่มีเครือข่ายทั่วโลก โดยเน้นในเรื่องการทำการทดสอบก่อนทำการขนส่งเพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ในวงการอาหารมาตรฐานระหว่างประเทศที่ได้รับการอ้างถึงมากที่สุด คือ Codex ซึ่งมีชื่อเต็มว่า Codex Alimentarius Commission ซึ่งเป็นองค์กรร่วมระหว่าง Food and Agriculture of the United Nations และ World Health Organization ส่วนองค์กรแต่ละประเทศที่มีร่างมาตรฐานเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ ASTM American Society for Tasting and Materials BS British Standard JIS Japan Institute of Standard Normes Francaise มาตรฐานฝรั่งเศส Deutsche Industrie Normen มาตรฐานเยอรมันที่รู้จักกันในนาม DIN การเลือกใช้มาตรฐานใดเป็นแนวทางในการทดสอบต้องขึ้นอยู่กับการใช้งาน ตัวอย่างเช่น มีกาส่งสินค้าไปประเทศใด ย่อมจะใช้มาตรฐานการทดสอบของประเทศนั้น หรืออาจจะใช้มาตรฐานการทดสอบในจุดมุ่งหมาย 2 และ 3 เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการทดสอบของระดับ 1 สำหรับเพื่อใช้ในองค์กรของตัวเอง 5 1 3 การควบคุมสภาวะ การควบคุมสภาวะก่อนทำการทดสอบและระหว่างการทดสอบ นับเป็นสิ่งสำคัญมากในการทดสอบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเป็นการแน่ใจว่าวัสดุที่ใช้ในการทดสอบจะได้คุณภาพตามสภาวะหนึ่งๆ ตามที่กำหนดไว้ สาเหตุเพราะวัสดุบรรจุภัณฑ์หลายประเภท โดยเฉพาะกระดาษสามารถดูดซึมหรือคายความชื้นสู่อากาศรอบตัวได้ ในกรณีที่เป็นการทดสอบขั้นวิกฤติ อาจจำเป็นต้องตรวจสอบดูว่าความชื้นจริงๆ ในวัสดุบรรจุภัณฑ์มีปริมาณเท่าไร เพื่อให้มั่นใจว่าวัสดุที่ใช้ทดสอบนั้นอยู่ในสภาวะเดียวกับที่ต้องการหรือตามข้อกำหนด การควบคุมสภาวะการทดสอบในแต่ละประเทศอาจจะแตกต่างกัน แล้วแต่สถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศนั้น ตัวอย่างเช่น ประเทศอาร์เจนติน่า ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เยอรมัน เนเธอร์แลนด์และอังกฤษ จะใช้สภาวะการทดสอบควบคุมที่อุณหภูมิ 23° c และความชื้นสัมพัทธ์ที่ร้อยละ 65 ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้สภาวะความชื้นสัมพัทธ์ที่ร้อยละ 50 ที่อุณหภูมิเดียวกัน 23° c ในขณะที่ประเทศไทย ทางสมอ ได้กำหนดไว้ที่อุณหภูมิ 27° c และความชื้นสัมพัทธ์ที่ร้อยละ 75 การกำหนดสภาวะทดสอบ ยังต้องคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงที่บรรจุภัณฑ์ต้องประสบ ตัวอย่างเช่น ถ้าบรรจุภัณฑ์จะส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ก็ควรใช้มาตรฐานของสภาวะการทดสอบของอเมริกาด้วย ห้องที่ใช้ในการทดสอบและเก็บวัสดุบรรจุภัณฑ์จึงต้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้นด้วยระบบปรับอากาศตามสภาวะควบคุมมาตรฐานที่ต้องการ เมื่อมีการควบคุมสภาวะเป็นอย่างน้อย 24 ชั่วโมงแล้วจึงเริ่มทำการทดสอบ การทดสอบที่ดีจะต้องมีความแม่นยำ Precise และไม่แปรปรวนจากการทดสอบแต่ละครั้ง ความแม่นยำนี้มีความสัมพันธ์กับปัจจัยต่อไปนี้ 1 ความสลับซับซ้อนของเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ รวมทั้งการปรับเครื่อง Calibration 2 บุคลากรที่ใช้ในการทดสอบมีขีดความสามารถแค่ไหน รวมทั้งผู้บังคับบัญชาที่ทำการตัดสินใจและประเมินการทดสอบ 3 จำนวนครั้งในการทดสอบที่ไม่ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากเกินไปและได้ผลที่ใกล้เคียงความเป็นจริง ในกรณีนี้อาจจะต้องเปรียบเทียบกับมาตรฐานต่างๆ ที่มีอยู่ แล้วเลือกมาตรฐานที่เหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในการทดสอบ ขั้นตอนสุดท้ายของการทดสอบ คือ การนำเอาผลจากการทดสอบไปใช้งาน ซึ่งจะแปรตามประเภทและจุดมุ่งหมายของการทดสอบที่ได้ตั้งไว้ 5 2 ประเภทของการทดสอบ การทดสอบบรรจุภัณฑ์ สามารถแบ่งประเภทของการทดสอบอย่างง่ายๆ ได้ 2 ประเภท คือ การทดสอบเพื่อการบ่งบอก Identification Test และการทดสอบเพื่อประเมินการใช้งาน Performance Test 5 2 1 การทดสอบเพื่อการบ่งบอก การทดสอบประเภทนี้จะเป็นการทดสอบวัสดุที่ใช้ผลิตตัวบรรจุภัณฑ์เพื่อหาคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุนั้น เช่น กระดาษมักใช้น้ำหนักเป็นเกณฑ์ในการซื้อขายการทดสอบจึงวัดค่าน้ำหนักมาตรฐาน ในขณะที่พลาสติกจะใช้ความหนาแน่นเป็นเกณฑ์ในการแยกประเภทของพลาสติก เป็นต้น การทดสอบเพื่อการบ่งบอกคุณลักษณะของวัสดุบางประเภท ยังสัมพันธ์กับการใช้งานของบรรจุภัณฑ์ เช่น การวัดอัตราการซึมผ่านของน้ำและก๊าซ จะมีความสัมพันธ์กับการคาดคะเนอายุของผลิตภัณฑ์อาหาร หรือการทดสอบความแข็งแรงตามขอบของกระดาษลูกฟูกจะสัมพันธ์กับความสามารถรับแรงกดในแนวดิ่งของกล่องลูกฟูก เป็นต้น ในกรณีที่มีการทดสอบเพื่อการบ่งบอกของวัสดุจากหลายแหล่งพร้อมกัน เพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของวัสดุแต่ละแหล่งนั้น จะมีการทดสอบประเภทนี้ค่อนข้างจะบ่อย วิธีการทดสอบจะทำโดยการแยกวัสดุที่กำลังใช้อยู่เป็นวัสดุหลัก Control และวัสดุอื่นที่ทดสอบเพื่อเปรียบเทียบเป็นวัสดุแปร Variables ในการทดสอบแต่ละครั้งควรทดสอบวัสดุหลักสลับกับวัสดุแปร เพื่อลดความแปรปรวนของอุปกรณ์ทดสอบหลังจากที่ทดสอบเป็นเวลานาน เช่น การทดสอบครั้งแรกจะเริ่มด้วยวัสดุหลักแล้วตามด้วยวัสดุแปร การทดสอบครั้งที่สองจะสลับกันโดยเริ่มด้วยวัสดุแปรแล้วค่อยตามด้วยวัสดุหลัก เป็นต้น 5 2 2 การทดสอบเพื่อประเมินการใช้งาน บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาใช้งานจะต้องทำหน้าที่ต่างๆ กัน ตัวอย่างเช่น บรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกมักจะใช้ในการป้องกันอันตรายทางกายภาพระหว่างการเก็บในคลังสินค้าหรือการขนส่ง การทดสอบเพื่อการใช้งานในการเก็บคงคลังจะเป็นการทดสอบความสามารถรับแรงกดในแนวดิ่ง Compression Strength เนื่องจากในคลังสินค้ากล่องจะถูกเรียงซ้อนเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นจะกดทับลงมายังกล่องที่อยู่ข้างล่าง ดังนั้นการทดสอบความสามารถรับแรงกดในแนวดิ่งจึงเป็นการจำลอง Simulation การกดทับในคลังสินค้าของการเรียงซ้อนนั่นเอง นอกจากการแยกประเภทการทดสอบเป็นการบ่งบอกและการประเมินใช้งานแล้วยังสามารถแยกตามความคล้ายคลึงของลักษณะทดสอบ จากมาตรฐานขององค์กรต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว โดยจัดแบ่งประเภทของการทดสอบที่คล้ายๆ กันเป็น 3 กลุ่มได้ดังนี้ กลุ่มที่ 1 การทดสอบคุณสมบัติบรรจุภัณฑ์ด้านการป้องกันรักษาคุณภาพและการบรรจุ เช่น การซึมผ่านของไอน้ำหรือก๊าซ และความเข้ากันได้ Compatibility ของบรรจุภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์อาหารในแง่ของความแข็งแรง ได้แก่ ความต้านทานต่อการทิ่มทะลุ ความต้านทานต่อแรงดึง เป็นต้น กลุ่มที่ 2 การทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ ความหนาที่แปรปรวน ความแข็งแรงของรอยปิดผนึก และสัมประสิทธิ์ความเสียดทานซึ่งมีผลต่อการเดินวัสดุบรรจุภัณฑ์บนเครื่องจักร เป็นต้น กลุ่มที่ 3 การทดสอบคุณสมบัติทางด้านความสวยงานของบรรจุภัณฑ์สำเร็จรูป เช่น ความแวววาวเป็นประกาย Haze and Gloss ความสามารถต้านทานต่อการเสียดสี และความสามารถในการจับฝุ่นจากอากาศ เป็นต้น ในการเลือกมาตรฐานการทดสอบใดๆ ก็ตาม จำต้องทราบว่าผลที่ได้จากการทดสอบจะนำไปประเมินใช้งานได้อย่างไรบ้าง 5 3 การทดสอบวัสดุ 5 3 1 การทดสอบกระดาษ เปลวอะลูมิเนียม และฟิล์ม 1 น้ำหนักมาตรฐาน ความหนา และความหนาแน่น วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เป็นแผ่นๆ มักจะซื้อขายกันด้วยน้ำหนักมาตรฐานหรือ Basis Weight ตัวอย่างเช่น กระดาษที่เรียกว่า 100 กรัม ความจริงเป็นการเรียกจาก น้ำหนักมาตรฐานเป็นกรัมต่อตารางเมตร แต่เรียกง่ายๆ ว่า กรัม บางครั้งอาจจะได้ยินคำว่า gsm ซึ่งย่อมาจาก gram per square meter หรือกรัมต่อตารางเมตรนั่นเอง รูปที่ 5 2 การทดสอบด้วยการชั่งน้ำหนัก ในอดีตมีการเรียกน้ำหนักมาตรฐานเป็นปอนด์ต่อรีม คำว่า รีม คือ จำนวนกระดาษ 500 แผ่น ของขนาด 24 นิ้ว x 36 นิ้ว ซึ่งมีพื้นที่เท่ากับ 432000 ตารางนิ้ว ดังนั้น น้ำหนักมาตรฐาน 40 ปอนด์ต่อรีม คือ กระดาษขนาดและจำนวนดังกล่าวชั่งได้น้ำหนัก 40 ปอนด์ ส่วนความหนานั้นเป็นคุณสมบัติที่สองที่มักจะกล่าวถึง เนื่องจากความหนามีผลโดยตรงต่อความเหนียวหรือความสามารถในการงอพับของวัสดุบรรจุภัณฑ์ และยังสัมพันธ์กับความสามารถในการซึมผ่านของไอน้ำหรือก๊าซของวัสดุบรรจุภัณฑ์นั้นๆ ศัพท์คำว่า ความหนา ในภาษาอังกฤษ นอกจาก Thickness แล้ว บางครั้งเรียกว่า Caliper สำหรับกระดาษแข็ง บางทีมีการเรียกความหนาเป็นพอยต์ Points ซึ่งหมายถึงเศษหนึ่งส่วนพันของหนึ่งนิ้ว ดังนั้นกระดาษแข็งที่หนา 0 025 นิ้ว ก็คือ 25 พอยต์ ความหนาแน่นจะได้จากการคำนวณของน้ำหนักและความหนา คือ มีค่าเป็นน้ำหนักต่อหน่วยปริมาตรเขียนเป็นสูตรได้ว่า ความหนาแน่นนี้เป็นคุณลักษณะที่จำเป็นต้องทราบของกระดาษประเภทต่างๆ เนื่องจากความหนาแน่นที่แตกต่างกันของกระดาษแต่ละชนิด มีผลต่อคุณสมบัติต่างๆ ของกระดาษโดยตรง 2 ความต้านทานต่อแรงดึง Tensile Strength การทดสอบความต้านทานต่อแรงดึงเป็นการทดสอบศักยภาพความทนทานต่อแรงดึงของวัสดุ โดยวัสดุบรรจุภัณฑ์จะถูกแรงดึงอย่างช้าๆ จนกระทั่งขาดออกจากกัน แล้ววัดค่าแรงดึงสูงสุดขณะที่ขาดและยืดตัวของวัสดุสุดท้ายขณะที่ขาด การทดสอบนี้นับเป็นการทดสอบคุณสมบัติทางกลอย่างง่ายของวัสดุที่เป็นแผ่นหรือฟิล์ม การทดสอบมักจะทำใน 2 ทิศทาง คือ ในแนวทิศที่วัสดุผลิตจากเครื่องจักรแปรรูป เรียกว่า ทิศในแนวของเครื่องจักร Machine Direction หรือ MD และอีกทิศหนึ่ง คือแนวที่ตั้งฉากกับ MD Cross Machine Direction หรือ CD ผลการทดสอบแสดงในรูป ก หน้า 168 รูปที่ 5 3 การทดสอบความต้านทานต่อแรงดึง 3 ความต้านทานต่อแรงดันทะลุ Bursting Strength การทดสอบแรงดันทะลุเป็นการทดสอบขั้นพื้นฐานของอุตสาหกรรมกระดาษ โดยการเพิ่มแรงดันต่อกระดาษที่ถูกยึดไว้ให้แน่น เพื่อทดสอบว่ากระดาษจะทนแรงดันได้มากน้อยแค่ไหน การทดสอบนี้อาจเรียกตามชื่อของผู้ที่ค้นพบว่า Mullen Test มูลเลนเทสต์ การทดสอบนี้เป็นวิธีง่ายๆ ที่จะตรวจสอบความแข็งแรงของวัสดุบรรจุภัณฑ์ซึ่งใช้มากกับกระดาษลูกฟูกและอาจจะใช้กับพลาสติกบางประเภทที่ยืดตัวได้น้อย สิ่งที่ควรตระหนักถึงคือ การทดสอบนี้มิได้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความแข็งแรงของบรรจุภัณฑ์ที่นำวัสดุที่ทดสอบนี้ไปขึ้นรูป แต่เป็นการศึกษาความแข็งแรงขอวัสดุเท่านั้น กล่าวคือ กระดาษลูกฟูก โครงสร้าง A ที่มีค่า Burst Test สูงกว่าโครงสร้าง B เมื่อขึ้นรูปเป็นกล่อง กล่องที่ทำจากกระดาษลูกฟูกโครงสร้าง A ไม่จำเป็นเสมอไปว่าจะแข็งแรงกว่ากล่องที่ทำจากกระดาษลูกฟูก B อย่างไรก็ตามการทดสอบนี้ยังนิยมใช้เนื่องจากทดสอบได้ง่ายและเร็ว รูปที่ 5 4 การทดสอบความต้านทานต่อแรงดันทะลุ 4 ความต้านทานการฉีกขาด Tear Strength การทดสอบแบบนี้คล้ายคลึงกับการทดสอบความต้านทานต่อแรงดันทะลุ คือ เป็นการทดสอบขั้นพื้นฐานเพื่อศึกษาความแข็งแรงของวัสดุ ส่วนมากใช้ทดสอบกับกระดาษ เนื่องจากเป็นการทดสอบที่ง่ายและอุปกรณ์ไม่แพงมากนัก การทดสอบความต้านทานการฉีกขาดมีอยู่หลายวิธี วิธีที่มีการใช้กันมาก คือ การใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า Elmendorf เป็นการวัดพลังงานที่ใช้ในการฉีกกระดาษออกจากกัน ค่าพลังงานที่วัดได้จากสเกลบนเครื่องจะแปลงมาเป็นแรงที่ใช้ในการฉีกกระดาษดังแสดงในรูป ข หน้า 168 5 อัตราการซึมผ่านของก๊าซ Gas Transmission Rate GTR อัตราการซึมผ่านของวัสดุบรรจุภัณฑ์ประเภทแผ่นและฟิล์ม โดยเฉพาะพลาสติกจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวซึ่งสามารถทดสอบอย่างง่ายๆ โดยนำกระดาษมาปิดที่ปากแล้วเป่าลมผ่านกระดาษไปยังมืออีกข้างที่ปิดไว้อีกด้านหนึ่งของกระดาษที่มือจะสามารถรับความรู้สึกของลมร้อนที่ผ่านออกจากกระดาษมาได้ ซึ่งแสดงว่ากระดาษมีความต้านทานความสามารถหรือปล่อยให้อากาศซึมผ่านได้ คุณสมบัติเช่นนี้ก็มีในฟิล์มพลาสติก เพียงแต่ว่าการซึมผ่านของฟิล์มพลาสติกนั้นเกิดขึ้นช้ากว่า การทดสอบอัตราการซึมผ่านของก๊าซเป็นการวัดปริมาตรของก๊าซชนิดต่างๆ ที่สามารถซึมผ่านวัสดุบรรจุภัณฑ์ประเภทใดประเภทหนึ่ง วิธีการทดสอบทำโดยการตัดวัสดุบรรจุภัณฑ์มาประกบตรงกลางระหว่างเซลล์ 2 ข้าง เซลล์แต่ละข้างจะมีความดันของก๊าซแตกต่างกัน ก๊าซของด้านที่มีความดันสูงจะสามารถดันก๊าซผ่านฟิล์มไปยังอีกด้านหนึ่ง ปริมาตรของก๊าซที่วัดได้จากการซึมผ่านจะเป็นค่าคงที่ของวัสดุบรรจุภัณฑ์ ณ อุณหภูมิหนึ่งและพื้นที่ผิวที่กำหนดไว้มีหน่วยเป็นลูกบาศก์เซนติเมตร หรือ ซีซี ตารางเมตร วัน รูปที่ 5 5 การทดสอบหาอัตราซึมผ่านของก๊าซ 6 อัตราการซึมผ่านของไอน้ำ Water Vapor Transmission Rate WVTR การทดสอบอัตราการซึมผ่านของไอน้ำเป็นการทดสอบที่มีหลักการคล้ายคลึงกับการซึมผ่านของก๊าซแต่แตกต่างกัน คือ แทนที่จะวัดเป็นปริมาตรจะวัดเป็นน้ำหนักแทน นอกจากนี้การวัดการซึมผ่านของไอน้ำจะวัดในสถานะที่สมดุลที่อุณหภูมิ 38° c ความชื้นสัมพัทธ์ที่ 90 โดยมีหน่วยเป็น กรัม ตารางเมตร วัน รูปที่ 5 6 การทดสอบหาอัตราการซึมผ่านของไอน้ำ < < กลับสู่หน้าหลักอ่านต่อ การทดสอบวัสดุและบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2> >


สมัครสมาชิก

สนับสนุนโดย / Supported By

  • บริษ้ท มาเรล ฟู้ดส์ ซิสเท็ม จำกัด จัดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์การแปรรูปอาหาร เช่น ระบบการชั่งน้ำหนัก, การคัดขนาด, การแบ่ง, การตรวจสอบกระดูก และการประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พร้อมกับบริการ ออกแบบ ติดตั้ง กรรมวิธีการแปรรูปทั้งกระบวนการ สำหรับ ผลิตภัณฑ์ ปลา เนื้อ และ สัตว์ปีก โดยมีวิศวกรบริการและ สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเทพ มาเรล เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกของอุปกรณ์การแปรรูปอาหารที่ทันสมัย​​ครบวงจรทั้งระบบ สำหรับอุตสาหกรรม ปลา กุ้ง เนื้อ และสัตว์ปีก ต่างๆ เครื่องแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก Stork และ Townsend จาก Marel อยู่ในกลุ่มเครื่องที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดในอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ สามารถบริการครบวงจรตั้งแต่ต้นสายการผลิตจนเสร็จเป็นสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกความต้องการของลูกค้า ด้วยสำนักงานและบริษัทสาขามากกว่า 30 ประเทศ และ 100 เครือข่ายตัวแทนและผู้จัดจำหน่ายทั่วโลก ที่พร้อมทำงานเคียงข้างลูกค้าเพื่อขยายขอบเขตผลการแปรรูปอาหาร Marel Food Systems Limited. We are supply weighing, grading, portioning, bone detection and software applications as well as complete turn-key processing solutions for fish, meat and poultry. We have service engineer and office in Bangkok. Marel is the leading global provider of advanced food processing equipment, systems and services to the fish, meat, and poultry industries. Our brands - Marel, Stork Poultry Processing and Townsend Further Processing - are among the most respected in the industry. Together, we offer the convenience of a single source to meet our customers' every need. With offices and subsidiaries in over 30 countries and a global network of 100 agents and distributors, we work side-by-side with our customers to extend the boundaries of food processing performance.
  • We are well known for reliable, easy-to-use coding and marking solutions which have a low total cost of ownership, as well as for our strong customer service ethos. Developing new products and a continuous programme of improving existing coding and marking solutions also remain central to Linx's strategy. Coding and marking machines from Linx Printing Technologies Ltd provide a comprehensive solution for date and batch coding of products and packaging across manufacturing industries via a global network of distributors. In the industrial inkjet printer arena, our reputation is second to none. Our continuous ink jet printers, laser coders, outer case coders and thermal transfer overprinters are used on production lines in many manufacturing sectors, including the food, beverage, pharmaceutical, cosmetics, automotive and electronic industries, where product identification codes, batch numbers, use by dates and barcodes are needed. PTasia, THAILAND With more than 3,700 coding, marking, barcode, label applicator, filling, packing and sealing systems installed in THAILAND market. Our range is includes systems across a wide range of technologies. To select the most appropriate technology to suit our customers. An excellent customer service reputation, together with a reputation for reliability that sets standards in the industry, rounds off the PTAsia offering and provides customers with efficient and economical solutions of the high quality. Satisfyingcustomers inTHAILAND for 10 years Our 1,313 customers benefit from our many years of experience in the field, with our successful business model of continuous improvement. Our technical and service associates specialise in providing individual advice and finding the most efficient and practical solution to every requirment. PTAsia extends its expertise to customers in the food, beverage, chemical, personal care, pharmaceutical, medical device, electronics, aerospace, military, automotive, and other industrial markets.
  • วิสัยทัศน์ของบริษัท คือ การอยู่ในระดับแนวหน้า "ฟอร์ฟร้อนท์" ของเทคโนโลยีประเภทต่างๆ และนำเทคโนโลยีนั้นๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิตในประเทศไทย เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า บริษัท ฟอร์ฟร้อนท์ ฟู้ดเทค จำกัด เชื่อมั่นและยึดมั่นในอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจ กล่าวคือ จำหน่าย สินค้าและให้บริการที่มีคุณภาพสูง ซึ่งเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ด้วยความซื่อสัตย์และความตรงต่อเวลา เพื่อการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จร่วมกันระยะยาว Our vision is to be in the "forefront" of technology in its field and suitably apply the technology to industries and production in Thailand for customers' utmost benefits. Forefront Foodtech Co., Ltd. strongly believes in and is committed to our own business philosophy which is to supply high quality products and service appropriately to each customer's requirements with honesty and punctuality in order to maintain long term win-win business relationship. Forefront Foodtech Co., Ltd. is the agent company that supplies machinery and system, install and provide after sales service as well as spare parts. Our products are: Nock, made in Germany: manufacturer of skinning machines, membrane skinning machine, slicers and scale ice makers. Frey, made in Germany: manufacturer of vacuum stuffers and chain linking system. Kronen, made in Germany: manufacturer of washing, centrifuges and cutting machinery for vegetable and fruits. Bandall, made in Netherlands: manufacturer of banding machine. Emerson, made in Romania: smoke chamber. G.Mondini, made in Italy: manufacturer of top seal, skin pack, paper seal, slimfresh and slicefresh for ready meal, meat, petfood and etc. Dorit, made in Germany: manufacturer of tumblers and injectors. Cliptechnik, made in Germany: manufacturer of single and double clippers for table top use and standalone clipping machines. Firex, made in Italy: manufacturer of food-processing equipment for kitchen and commercial equipment. Orved, made in Italy: manufacturer of vacuum packing machine. Carsoe, made in Denmark: designs and produces products for the seafood and food processing industry Gernal, made in Belgium: manufacturer of food-processing equipment for industrial Mado, made in Germany: manufacturer of meat-processing industry