แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - tothemoon555

หน้า: [1]
1
ออยคูลเลอร์คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไร การดูแลรักษาออยคูลเลอร์

ออยคูลเลอร์

ออยคูลเลอร์คืออะไร

ออยคูลเลอร์ (oil cooler) คือ เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) ที่ใช้กันมากในอุตสาหกรรม ระบบทําความเย็น ทำหน้าที่ระบายความร้อนของเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ โดยการระบายความร้อนของน้ำมัน นำกลับเข้าไปใช้ต่อในระบบ และสามารถทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อนของน้ำมันจาก คอมเพชสเซอร์ ในระบบเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ได้อีกด้วย


หลักการทำงานของออยคูลเลอร์

หลักการทำงานของออยคูลเลอร์ คือ ของเหลวสองชนิดซึ่งมีอุณหภูมิเริ่มต้นต่างกันจะไหลผ่านตัวระบายความร้อนด้วยน้ำ ของเหลวหนึ่งไหลผ่านท่อภายในและอีกส่วนหนึ่งไหลไปรอบๆ ท่อภายในเปลือก ซึ่งโดยส่วนใหญ่ น้ำจะวิ่งผ่านทิ้วซึ่งเป็นท่อเล็กภายใน ซึ่งเรียกว่า Tube side และน้ำมันจะไหลผ่านท่อเปลือกนอก ซึ่งด้านนี้จะเรียกว่า Shell side ความร้อนจะถูกถ่ายเทจากของเหลวหนึ่งไปยังอีกของเหลวหนึ่งผ่านผนังท่อ ทั้งจากท่อไปยังของเหลวโดยรอบหรือในทางกลับกัน


การดูแลรักษาออยคูลเลอร์

การตรวจเช็คสภาพ

หมั่นตรวจเช็คสภาพออยคูลเลอร์สม่ำเสมอ ว่ามีปัญหารอยแตก รอยรั่วหรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำปะปนกับน้ำมัน ทำให้ท่อบวม เป็นอันตราย และควรเข้าซ่อมแซมทันที

การดูแลรักษาเมื่อพบตะกรันหรือหินปูน

หากภาพตะกรันหรรือหินปูนภายในออยคูลเลอร์ สามารถดูแลรักษาโดยการเติมสารเคมีทั้งประเภทกรด หรือสารห้ามตะกรัน เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำในระบบหล่อเย็น แต่วิธีนี้ต้องการคนดูแลอย่างใกล้ชิด และไม่สามารถนำตะกรันเก่าที่สะสมตัวอยู่ออกจากระบบได้

อีกวิธีหากตระกรันไม่มาก อาจใช้สว่านเจาะเข้าไปในท่อ เพื่อแซะตะกรันออก หรือ อาจถอดไส้ด้านในออกมาล้างและแช่สารเคมีกรดหรือด่างแรงๆ เพื่อให้สารเคมีกัดตระกรันออกมา โดยระยะเวลาในการแช่ ขึ้นอยู่กับความแรงของสารเคมีที่ใช้ โดยปกติแช่ประมาณ 1 คืน ก่อนล้างออก อย่างไรก็ตาม ควรระมัดระวังการใช้สารเคมี เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายหากเข้าตาหรือสัมผัสได้

การทำความสะอาด

การทำความสะอาด oil cooler เป็นเรื่องที่จำเป็น ขั้นตอนวิธีการล้างทำความสะอาดที่ถูกต้องจะช่วยให้ออยคูลเลอร์มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ


ข้อดีของออยคูลเลอร์

ช่วยระบายความร้อน

การติดตั้งออยล์คลูเลอร์ จะช่วยระบายความร้อนภายในเครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดี มีความสำคัญพอๆกับหม้อน้ำ เพราะถ้าน้ำมันเครื่องเย็นมีผลทำให้อุณหภูมิของเครื่องเย็นลงด้วย

ยืดอายุการใช้งาน

การติด oil cooler ช่วยยืดอายุของน้ำมันเครื่องให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น และทำให้หม้อน้ำไม่ต้องทำงานหนักมาก ช่วยยืดอายุของตัวหม้อน้ำไปในตัว


2pt3q ยินดีให้คำแนะนำและรับผลิตออยคูลเลอร์

หากคุณกำลังมองหา ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับออยคูลเลอร์ 2pt3q ช่วยคุณได้ เรายินดีให้คำแนะนำและรับผลิตออยคูลเลอร์ ด้วยมาตราฐานอันดับ 1 เราใส่ใจ รอบครบ ตรงความต้องการ เพราะเราอุตสาหกรรมผลิตเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเย็น ภายใต้แบนรด์ 2PT3Q มีความเชี่ยวชาญ ในการผลิตออยล์คูลเลอร์  สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

โทรศัพท์ : 02-726-2675-7
Email: info@2pt.co.th
Website : www.2pt3q.com





2
เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน หรืออุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนคืออะไร

เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน

เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนคืออะไร

เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (heat exchanger) คือ อุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในระบบต่างๆ ของวิศวกรรมศาสตร์และอุสาหกรรม เพื่อเป็นเครื่องมือหรือตัวกลางสำหรับการถ่ายเทความร้อน จากของไหลชนิดหนึ่งไปยังของไหลอีกชนิดหนึ่ง โดยที่ของไหลไม่ต้องผสมกัน


เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนทำหน้าที่อะไร

เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนทำหน้าที่ ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อน เพื่อถ่ายเทความร้อนระหว่างของไหลสองชนิด โดยที่ของไหลไม่จำเป็นต้องผสมกัน ด้วยกลไกในการทำงานของการถ่ายเทความร้อน ในอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน ได้แก่ การพาความร้อนผ่านของไหล และการนำความร้อนผ่านตัวกลาง เป็นต้น อีกทั้งสามารถนำเอาพลังงานความร้อนกลับมาใช้งานอย่างถูกหลักการและมีประสิทธิภาพ


เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน 2 ชนิดหลักมีอะไรบ้าง

เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนshell and tube
เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนShell and tube เป็นเครื่องถ่ายเทความร้อนที่นิยมในปัจจุบัน นำไปใช้งานในระบบต่างๆ ด้านวิศวกรรมและอุสาหกรรมอย่างกว้างขวาง

โดยการถ่ายโอนความร้อนจะเกิดผ่านผนังท่อโดยของไหลทั้งสองชนิดจะไม่เกิดการผสมกัน และในระหว่างกระบวนการอัตราการไหลเชิง มวลของของไหลแต่ละชนิดจะมีค่าคงที่ ซึ่งของไหลที่อยู่ในTube จะเรียกว่าฝั่ง Tube side และของไหลที่อยู่ใน Shell จะเรียกว่า Shell side

เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบแผ่น

เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบแผ่น (Plate Heat Exchanger)คือ ตัวแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดหนึ่งที่ใช้แผ่นโลหะในการถ่ายเทความร้อนระหว่างของเหลวสองชนิด

โดยการเอาแผ่นถ่ายเทความร้อนหลายๆแผ่นมาเรียงกันให้ของไหลๆ ผ่านในช่องว่างแต่ละแผ่นสลับกัน ซึ่งแต่แผ่นจะมีปะเก็น ถูกกดจากเฟรมเป็นตัวซีล ทำให้ของไหลทั้งสองชนิดจะไม่สัมผัสกันโดยตรง การถ่ายเทความร้อนจึงเกิดขึ้นผ่านพื้นที่หน้าตัดของแต่ละแผ่น ช่วยเพิ่มความเร็วของการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างมาก


เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนทั้ง 2 แบบต่างกันอย่างไร

1.ด้านพื้นที่การติดตั้งเครื่อง Plate Heat Exchanger จะมีขนาดเล็กกว่า Shell and tube heat exchanger ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งมากกว่า ซึ่งทั้งสองมีปริมาณการถ่ายเทความร้อนที่เท่ากัน

2.ด้านราคาสินค้า ขนาดของเครื่อง Plate heat exchanger มีขนาดเล็กกว่า ราคาจึงถูกกว่า ด้วยแผ่นเพรทส่วนใหญ่จะเป็นสแตนเลสซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมอาหารอย่างแพร่หลาย ทำให้ราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับ Shell and tube ที่เป็นงานแสตนเลสทั้งตัว

3.ด้านการบำรุงรักษา

Shell and tube heat exchanger สามารถบำรุงรักษาและทำความสะอาดในทิ้วได้ง่าย โดยวิธีการแยงแส้ ไม่อุดตันง่าย ถ้าไม่มีตระกลันหรือความสกปรกของของไหลมาก

Plate heat exchanger ชนิดปะเก็นจะสามารถถอดมาทำความสะอาดได้ แต่ระยะระหว่างแผ่นเพรทมีขนาดค่อนข้างเล็ก ทำให้จะต้องทำความสะอาดบ่อยมาก มิเช่นนั้นจะตันและแตกในที่สุด และเมื่อถอดแผ่นเพรทแต่ละแผ่นออกมาทำความสะอาดก็เสี่ยงที่ปะเก็นจะฉีกขาดที่ให้ต้องมีค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนค่าประเก็นใหม่





3
เครื่องทำความเย็นคืออะไร มีกี่ประเภท เครื่องทำความเย็นแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร

เครื่องทำความเย็น

เครื่องทำความเย็น คือ

เครื่องทำความเย็น คือ ระบบทำความเย็นและปรับอากาศที่จะช่วยเพิ่มความเย็นให้กับบริเวณต่าง ๆ ช่วยควบคุมอุณหภูมิ และความชื้น รวมถึงระบบเครื่องทําความเย็นยังเป็นการควบคุมความสะอาดของอากาศได้อีกด้วย ในปัจจุบันเครื่องทำความเย็นมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกสรร เช่น

- เครื่องทำความเย็นในห้อง : เครื่องทำความเย็นจะช่วยให้เกิดความเย็นที่เหมาะกับผู้ใช้งาน ส่งผลให้เกิดความสบายตัว และผ่อนคลายจากอากาศร้อนได้ดี
- เครื่องทำความเย็นโรงงาน : เครื่องให้ความเย็นจะช่วยให้โรงงานมีอุณหภูมิที่เหมาะสมแก่กระบวนการการผลิตได้เป็นอย่างดี
- เครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ : เป็นเครื่องทำความเย็นที่เหมาะกับระบบทําความเย็นในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ หรือห้างสรรพสินค้าที่ต้องใช้พื้นที่ในการให้ความเย็นมาก

การเลือกเครื่องทำความเย็นจึงต้องมีการศึกษาระบบทำความเย็น พื้นที่การใช้งาน สถานที่การใช้งาน รวมถึงวิธีการใช้งานและการดูแลรักษา เพื่อให้เครื่องทำความเย็นมีประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด ผู้ประกอบการควรเลือกเครื่องทำความเย็นที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุดนั่นเอง

ประเภทของเครื่องทำความเย็น

เครื่องทำความเย็นที่พบได้ทั่วไป สามารถแบ่งตามหลักการทำงานของเครื่องทำความเย็นได้เป็น 8 ประเภท  ดังนี้

ระบบเครื่องทำความเย็นแบบอัดไอ ( Vapor compression system)

เครื่องทำความเย็นระบบทำความเย็นแบบอัดไอหรือระบบคอมเพรสเซอร์อัดไอ เป็นเครื่องปรับความเย็นที่ได้รับความนิยมนำมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องปรับอากาศ ระบบห้องเย็นและระบบทําความเย็นในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างมาก

ระบบเครื่องทำความเย็นแบบอัดไอ

โดยเครื่องทำความเย็นประเภทนี้จะมีส่วนประกอบเครื่องทําความเย็นที่แบ่งออกได้เป็น 5 ชนิด ได้แก่

1. อีวาพอเรเตอร์ (Evaporator) หรือคอยล์เย็น : โดยน้ำยาทำความเย็นจะระเหยเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส ซึ่งจะดูดรับความร้อนผ่านผิวท่อทางเดินน้ำยาเข้าไปยังน้ำยาเหลวภายในระบบ ส่งผลให้อุณหภูมิโดยรอบอีวาพอเรเตอร์ลดลง

อีวาพอเรเตอร์

2. คอมเพรสเซอร์ (Compressor) : โดยจะดูดแก๊สที่มีอุณหภูมิ และความดันต่ำจากอีวาพอเรเตอร์ และจะอัดให้แก็สมีความดันและอุณหภูมิสูงที่สูงขึ้น จนแก๊สพร้อมจะควบแน่นเป็นของเหลวเมื่อมีการถ่ายเทความร้อนจากน้ำยาเหลว

คอมเพรสเซอร์

3. คอนเดนเซอร์ (Condenser) : ทำหน้าที่ในการระบายความร้อนออกจากน้ำยาที่มีสถานะเป็นแก๊สที่จับตัวเป็นของเหลว เนื่องจากน้ำยาถูกอัดส่งมาจากคอมเพรสเซอร์ที่อยู่ในสถานะแก๊สจะมีอุณหภูมิ และความดันสูง ซึ่งเมื่อถูกระบายความร้อนแฝงออกจะกลั่นตัวเป็นของเหลวที่มีความดันและอุณหภูมิสูง

คอนเดนเซอร์

4. ท่อพักน้ำยาเหลว (Receiver Tank) : น้ำยาเหลวที่มีความดัน และอุณหภูมิสูง ที่มีการกลั่นตัวมาจากคอนเดนเซอร์จะถูกส่งเข้ามาพักในท่อพักน้ำยา ก่อนจะถูกส่งไปยัง expansion Valve อีกครั้ง ท่อพักน้ำยาเหลวมักพบในเครื่องทําความเย็นขนาดใหญ่

Receiver tank

5. เอกซ์แพนชั่นวาล์ว (Expansion valve) : ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของน้ำยาเหลวที่ผ่านเข้าไปยังอีวาพอเรเตอร์ลดความดันของน้ำยาให้มีความดันต่ำลง จนสามารถระเหยเปลี่ยนสถานะเป็นไอได้ที่อุณหภูมิต่ำ ๆ ในอีวาโปเรเตอร์

Expansion valve

ระบบเครื่องความเย็นระบบแอบซอร์ปชัน (Absorption system)

เป็นระบบทำความเย็นภายในเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ ที่นำพลังงานความร้อนเหลือทิ้งจากแหล่งที่มาอื่น ๆ มาใช้ขับเคลื่อนการทำงานของเครื่องทำความเย็น ระบบทำความเย็นนี้จึงเป็นการประหยัดพลังงานและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมไปในตัว โดยความร้อนที่ป้อนให้ระบบทำความเย็นชนิดนี้ส่วนมากจะอยู่ในรูปของไอน้ำ น้ำร้อน หรือก๊าซร้อน นอกจากนี้ต้นกำเนิดความร้อนที่ใช้ในระบบนี้ยังสามารถใช้ได้หลากหลาย เช่น น้ำจากหม้อไอน้ำ น้ำร้อนจากพลังแสงอาทิตย์ เป็นต้น

Absorption system

ระบบเครื่องทำความเย็นโดยการทำให้สารทำความเย็นระเหย (Expendable refrigerant cooling system)

เป็นระบบทำความเย็นภายในเครื่องทำความเย็น ที่มีหลักการทำงานจากการปล่อยไนโตรเจนเหลวระเหยตัวเป็นแก๊สและดูดรับปริมาณความร้อน ภายในบริเวณที่ต้องการทำความเย็นที่มีฉนวนกันความร้อนหุ้มโดยรอบ ขณะที่สารเปลี่ยนสถานะจะต้องการความร้อนแฝง ซึ่งจะส่งผลให้อุณหภูมิในบริเวณที่ต้องการทำความเย็นลดต่ำลง

ระบบเครื่องทำความเย็นแบบใช้น้ำแข็ง (Ice refrigeration)

เป็นเครื่องทําความเย็นที่มีระบบทำความเย็นที่ใช้หลักการการไหลเวียนของอากาศ การทำงานของระบบนี้ คือ อากาศร้อนจะลอยอยู่บน เมื่อวางถาดใส่น้ำแข็งไว้บริเวณด้านบนสุด น้ำแข็งจะดูดรับปริมาณความร้อนจากอากาศรอบตัว อากาศเย็นที่มีน้ำหนักมากกว่าจะเข้ามาแทนที่ ส่งผลให้อากาศเย็นลงและมีความหนาแน่นสูงขึ้น เครื่องทำความเย็นที่มีระบบการทำงานรูปแบบนี้จะพบในตู้เย็นสมัยก่อน

ระบบเครื่องทำความเย็นแบบใช้น้ำแข็งแห้ง (Dry ice refrigeration)

เครื่องทำความเย็นที่มีระบบทำความเย็นนี้จะใช้น้ำแข็งแห้งที่มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไป มาทำให้เปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นแก๊ส โดยน้ำแข็งแห้งมักจะใส่ลงกับภาชนะที่ต้องการเก็บอาหารแช่เย็น อาจใส่ไว้บริเวณด้านในหรือด้านบนก็ได้ อุปกรณ์ทําความเย็นแบบนี้ยังมีการใช้งานอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน เช่น ภายในกล่องเค้กไอศกรีม

ระบบเครื่องทำความเย็นแบบใช้การระเหยตัวของน้ำ (Water evaporative refrigeration)

เป็นระบบทำความเย็นภายในเครื่องทำความเย็นที่ใช้หลักการการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นไอ เนื่องจากเมื่อเกิดการเปลี่ยนสถานะจะเกิดการดูดรับความร้อนแฝง ซึ่งจะช่วยให้อากาศในบริเวณที่ต้องการเย็นลง นอกจากนี้วิธีนี้ยังสามารถพบเห็นได้ทั่วไปแถบภาคเหนือและภาคอีสาน จากการใช้ตุ่มดินใส่น้ำ ที่เมื่อน้ำในตุ่มถูกระเหยเป็นไอ จะดูดรับความร้อนแฝงทำให้น้ำที่เหลือในตุ่มเย็นลงได้

ระบบเครื่องทำความเย็นแบบใช้เทอร์โมอิเล็กทริก (Thermoelectric refrigeration)

เป็นเครื่องทำความเย็นที่นำหลักการฟิสิกส์มาใช้ จากการถ่ายเทพลังงานความร้อนจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง โดยใช้อิเล็กตรอนเป็นตัวกลางในการทำความเย็น เนื่องจากอิเล็กตรอนสามารถดูดรับความร้อน และถ่ายเทความร้อนจากภายในบริเวณปถ่ายเทยังภายนอก ซึ่งจะช่วยให้บริเวณที่ต้องการทำความเย็นมีอุณหภูมิลดลง

ระบบเครื่องทำความเย็นแบบสตีมเจ็ต (Steam jet refrigeration)

เป็นเครื่องทำความเย็นที่มีระบบทำความเย็นโดยการใช้น้ำเป็นตัวกลาง การทำงานของระบบนี้อาศัยหลักการลดความดันที่ผิวหน้าของน้ำที่อยู่ในภาชนะที่ปิดมิดชิด น้ำจะเกิดการระเหยตัว และเปลี่ยนสถานะกลางเป็นไอได้ที่อุณหภูมิต่ำ ๆ หลักการของระบบนี้เป็นการนำผลพลอยได้จากการทำงานของหม้อไอน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

4
BTU (บีทียู) แอร์ สิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องรู้ เลือกขนาดแอร์ BTU เท่าใดให้เหมาะสม

BTU ย่อมาจากคำอะไร มีความหมายอย่างไร

Paragraph (p): BTU หรือ บีทียู ย่อมาจากคำว่า “British Thermal Unit” หมายถึง หน่วยวัดค่าพลังงานความร้อนตามมาตรฐานสากลที่ใช้ในระบบเครื่องเย็นและเครื่องปรับอากาศ หรืออธิบายความหมายให้เข้าใจง่ายมากขึ้นนั้น BTU คือ หน่วยวัดค่าความเย็นของแอร์  หน่วยที่ใช้สำหรับหาปริมาณความร้อนของระบบเครื่องทำความเย็น นิยมใช้ “ตัน”ซึ่ง 1 ตันความเย็น จะเท่ากับหน่วย BTU ที่ 12,000 BTU ต่อชั่วโมง  ทั้งนี้ เราทราบความหมายของหน่วย BTU กันแล้ว ก็สามารถเลือกขนาด BTU แอร์ ให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ที่ติดแอร์ได้

BTU

โดยการเลือก BTU มีความสำคัญ เพราะจะเกี่ยวข้องกับการประหยัดพลังงานและอายุการใช้งานของแอร์ ถ้าหากขนาดแอร์ BTU มาก ความสามารถในการสร้างความเย็นก็จะมากขึ้น และสามารถทำความเย็นได้ในพื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้น แต่ถ้ามีขนาดแอร์ BTU น้อยเกินไปหรือไม่มากพอตามขนาดพื้นที่ ก็จะทำให้แอร์ใช้ไฟฟ้ามากขึ้นและสร้างความเย็นได้ไม่มากพอ ส่งผลทำให้แอร์เสียง่ายและไม่ประหยัดพลังงาน ค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นนั่นเอง


ความสำคัญของการเลือก BTU แอร์ ที่เหมาะสมต่อการใช้งาน
Paragraph (p): การเลือก BTU (บีทียู) แอร์ เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกๆ ที่ควรคำนึงถึงและจำเป็นต้องพิจารณาเลือกขนาดแอร์ btu ให้พอดีกับขนาดพื้นที่ที่จะติดตั้ง นอกจากทำให้ได้ความเย็นที่เหมาะสมแล้ว ยังช่วยยืดอายุการใช้งานแอร์ให้ยาวนาน และประหยัดไฟฟ้าอีกด้วย หากเลือกขนาด BTU แอร์ที่ไม่เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ อาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายประการ ดังนั้น การเลือกขนาดบีทียู ก็เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องพิจารณาให้มีความเหมาะสมกับขนาดพื้นที่ จึงต้องมีการคำนวณขนาด BTU แอร์ สำหรับการติดตั้ง  ในกรณีถ้าติดตั้งแอร์ที่มีขนาดบีทียูใหญ่มากเกินไป เช่น ถ้าห้องที่มีพื้นที่ที่ต้องการเครื่องปรับอากาศขนาด 36,000 BTU แต่นำแอร์ที่มีขนาด 30,000 BTU ไปติดตั้ง ก็จะทำให้อุณหภูมิของอากาศภายในห้องลดลงอย่างรวดเร็ว และเย็นจัดเกินไป ส่งผลให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหนักและส่งผลให้มีอายุการใช้งานสั้นลง

btu แอร์

ในทางตรงกันข้าม ถ้าพื้นที่ห้องมีขนาดกว้างและโดนแสงแดดตลอด มีหลักการในการเลือกขนาดบีทียูแล้ว ต้องใช้แอร์ที่มีบีทียูมากกว่าปกติ แต่ติดตั้งแอร์ที่มีบีทียูน้อยเกินไป ห้องปรับอากาศจะไม่เย็นเท่าที่ต้องการ และเครื่องจะต้องทำงานหนักมาก จนทำงานตลอดเวลา เพราะความเย็นภายในห้องไม่ได้ตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ หรือใช้เวลานานกว่าที่แอร์จะสามารถทำให้อุณหภูมิในห้องๆ นั้นถึงจุดองศาที่ตั้งไว้ ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน และทำให้แอร์มีอายุการใช้งานสั้นลง  ดังนั้น ขนาด BTU แอร์ มีความสำคัญที่ส่งผลต่อการใช้งาน และต้องเลือกขนาดบีทียูให้พอดี เพื่อให้คุ้มค่ากับการใช้จ่าย และใช้ได้ยาวนาน


ตารางเปรียบเทียบของหน่วย BTU (บีทียู) กับ หน่วยวัตต์ (Watt)
Paragraph (p): หน่วยการทำความเย็น ตามมาตรฐานสากลที่นิยมใช้ มี 3 หน่วย คือ BTU, TON และKW (Kilo Watt) ซึ่งหน่วยบีทียู และวัตต์ เป็นหน่วยที่ใช้วัดพลังงานความร้อนเหมือนกัน จึงสามารถแปลงหน่วยสลับกันได้ โดยมีการเปรียบเทียบการแปลงหน่วยของบีทียู และหน่วยวัตต์ ได้ดังนี้
    •     1 KW (Kilo Watt) = 1000 W
    •     1 KW = 3,412.142 BTU 
    •     1 BTU = 0.293071 W

ตารางเปรียบเทียบของหน่วย BTU (บีทียู) กับ หน่วยวัตต์ (Watt)

จากการเปรียบเทียบหน่วย BTU และหน่วยวัตต์ นั้น การแปลงหน่วยพบว่า  1 BTU เท่ากับ 0.293071 วัตต์ และถ้า 1000 BTU เท่ากับ  293.1 วัตต์  ตัวอย่างการแปลงหน่วยระหว่าง BTU และWatt เช่น ถ้าหากต้องการทราบถึงค่าพลังงานที่ต้องใช้เพื่อช่วยในการพิจารณาด้านอื่นๆ หากขนาดแอร์ 12000 BTU หารด้วย 1000 คูณด้วย 293 วัตต์ จะมีค่าเท่ากับ 3516 วัตต์ หรือ 3.25 กิโลวัตต์   ทั้งนี้ การเปรียบเทียบหน่วยของ BTU และวัตต์ สามารถคำนวณให้ทราบถึงขนาด BTU แอร์ กับค่าพลังงานที่ต้องใช้จ่ายแอร์ ซึ่งช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเลือกบีทียูแอร์ได้ด้วยเช่นกัน


ขนาด btu แอร์ ที่พบบ่อย
Paragraph (p): ขนาดBTU (บีทียู) แอร์ นั้น ถ้าไม่มีความรู้เบื้องต้นเครื่องใช้ไฟฟ้า อาจจะมีข้อคำถามว่า แอร์มีกี่BTU และขนาดแอร์ BTU มีให้เลือกใช้งานและการติดตั้งขนาดบีทียูมีอะไรบ้าง เรามาทำความรู้จักแอร์ แต่ละขนาด BTU เพื่อที่จะสามารถเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับขนาดที่ต้องการสำหรับพื้นที่ในการติดตั้ง และบีทียู แอร์ ที่เหมาะสมยังส่งผลต่อการไม่สิ้นเปลืองพลังงาน ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไฟฟ้า และยังเป็นการถนอมการใช้งาน เพื่อยืดอายุในการใช้งานได้อีกทางหนึ่ง

btu air

อีกทั้ง ยังมีปัจจัยหลายประการที่ต้องพิจารณาในการเลือกขนาดบีทียู แอร์ เช่น แหล่งความร้อนจากภายนอก (รังสีของดวงอาทิตย์ ความร้อนที่ผ่านเข้าอาคาร), แหล่งความร้อนจากภายใน (อุณหภูมิภายในห้อง ลักษณะการทำงาน) และข้อมูลของพื้นที่ที่ต้องการติดตั้ง (ตำแหน่งที่ตั้ง ขนาดพื้นที่ จำนวนคน ช่วงเวลาที่ใช้งาน) ถ้าพิจารณาจากปัจจัยที่สำคัญหลักๆ แล้ว หากได้ขนาดBTU แอร์ ที่จะติดตั้งแล้วนั้น ขนาดแอร์ BTU จะมีความแตกต่างกันตามยี่ห้อเครื่องปรับอากาศ ซึ่งบางยี่ห้อผลิตมามีรุ่นและขนาดของ BTU ที่ต่างกัน เราสามารถเลือกขนาด BTU แอร์ที่ใกล้เคียงและเหมาะสมต่อการใช้งานได้ ซึ่งขนาด BTU (บีทียู) แอร์ ที่พบบ่อย มีดังนี้
•   9,000    BTU
•   13,000  BTU
•   18,000  BTU
•   20,000  BTU
•   24,000  BTU
•   30,000  BTU
•   36,000  BTU
•   48,000  BTU
•   60,000  BTU






5
Accumulatorในระบบทำความเย็นคืออะไร

Accumulator

accumulatorคือ อุปกรณ์ทำความเย็นที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง แอคคิวมูเลเตอร์จะถูกติดตั้งอยู่ที่ท่อดูดอยู่ที่ท่อก่อนเข้าคอมเพรสเซอร์ ขนาดของแอคคิวจะใหญ่ขึ้นตามขนาดของเครื่อง เพราะทำหน้าที่เก็บน้ำยาที่ระเหย ที่ระเหยไม่หมดจากอีแวปพอเรเตอร์ (Evaporator) accumulator ระบบทำความเย็น สามารถป้องกันน้ำยาในสภาพของเหลวไหลกลับไปเข้าคอมเพรสเซอร์



Accumulator มีความสำคัญอย่างไร

accumulator-ระบบทำความเย็น

Accumulator คืออุปกรณ์ที่ถูกติดตั้งระหว่างคอมเพรสเซอร์และเครื่องระเหย มีความสำคัญคือทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ของเหลวเข้าคอมเพรสเซอร์ ตัวน้ำยาบางส่วนที่ยังเดือดไม่หมดซึ่งอยู่ในเครื่องระเหยจะร่วงลงไปด้านล่างของเครื่องระเหย โดยแอคคิวมูเลเตอร์ จะมีรูเล็ก ๆ เพื่อให้น้ำมันคอมเพรสเซอร์ไหลกลับได้ แต่ถ้าระบบถ้าไม่ทำความสะอาดพอรูนี้จะตันก่อนอันดับแรก

ดังนั้น การติดตั้งแอคคิวมูเลเตอร์ จะถูกติดตั้งอยู่ที่ท่อดูดอยู่ที่ท่อก่อนเข้าคอมเพรสเซอร์ ขนาดของแอคคิวจะใหญ่ขึ้นตามขนาดของเครื่อง และควรที่จะติดตั้งพร้อมกับ ออยเซพพาเรเตอร์ (Oil Separator) สำหรับการเลือกแอคคิวมูเลเตอร์ควรเลือกอันที่สามารถเก็บน้ำยาเหลวได้ไม่ต่ำกว่า 50% ของปริมาณโดยรวมของน้ำยาในระบบ

นอกจากนี้การติดตั้งออยเซพพาเรเตอร์ ซึ่งเป็นน้ำมันมาช่วยในการหล่อลื่นชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวของคอมเพรสเซอร์ โดยจะทำหน้าที่แยกน้ำมันคอมเพรสเซอร์ที่ถูกติดมากับสารทำความเย็นให้ออกจากกัน และน้ำมันนี้จะถูกส่งกลับเข้ายังคอมเพรสเซอร์โดยตรง

ในขณะที่คอมเพรสเซอร์อัดสารทำความเย็น เพื่อส่งไปยังคอนเดนเซอร์ ก็จะอัดเอาน้ำมันจำนวนเล็กน้อยที่ติดในระบบออกไปด้วย ซึ่งในการเดินท่อของระบบทำความเย็นจะต้องให้ น้ำมันคอมเพรสเซอร์หมุนเวียนกลับเข้ามาหล่อลื่นชิ้นส่วนเคลื่อนไหวของคอมเพรสเซอร์ หลังจากถูกอัดผ่านเข้าคอนเดนเซอร์ expansion valve และอีวาพอเรเตอร์



หลักการทำงานของ Accumulator
แอคคิวมูเลเตอร์ทําหน้าที่อะไร

หลายคนสงสัยว่าแอคคิวมูเลเตอร์ทําหน้าที่อะไรบ้าง ในระบทำความเย็น โดยคอมเพรสเซอร์นี้จะออกแบบมาให้อัดสารทำความเย็นในสถานะของแก็ซ คอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็นเข้าไปในระบบทำความเย็น

แต่ถ้าเกิดการทำงานผิดปกติของอีวาพอเรอตร์ อาจทำให้สารทำความเย็นที่ออกจากอีวาพอเรเตอร์ มีสถานะเป็นของเหลว เมื่อคอมเพรสเซอร์อัดสารทำความเย็นในสถานะของเหลวบ่อยครั้ง จะส่งผลให้อายุการใช้งานน้อยลงได้ 

Accumulator ระบบทำความเย็น มีความสามารถในการป้องกันไม่ให้สารความเย็นเหลวที่ยังไม่ระเหยออกจากอีวาพอเรเตอร์ ( Evaporator ) โดยคอมเพรสเซอร์ ( Compressor ) จะดูดแค่เฉพาะสารความเย็นเหลวที่เปลี่ยนเป็นไอจากด้านบนเท่านั้น
เมื่อเครื่องกำลังทำงานน้ำมันหล่อลื่นที่ปนอยู่กับสารความเย็นเหลวด้านล่างจะถูกดูดผ่านรูของแอคคิวมูเลเตอร์ ( Accumulator ) กลับมาใช้ใหม่ในการหล่อลื่นครั้งต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้สารความเย็นเหลวที่ตกค้างในสภาพของเหลวไหลย้อนกลับเข้าสู่เครื่องคอมเพรสเซอร์ ( Compressor )

หลักการทำงานของ Accumulator คอมเพรสเซอร์จะทำการดูดเฉพาะน้ำยาซึ่งกลายเป็นไอที่บริเวณข้างบน ในขณะที่ทำงานอยู่นั้น น้ำมันหล่อลื่นซึ่งปนเปื้อนไปกับน้ำยาเหลวที่อยู่ข้างล่างจะถูกดูดผ่าน aspirator hole เพื่อนำกลับมาหล่อลื่นอีกครั้ง และหลักการทำงานของแอกคิวมูเลเตอร์มี 4 แบบ ได้แก่ Pulsation damper, Pressure Compensate, Emergency Energy Reserve, และ Hydraulic Spring

จะเห็นได้ว่าการติดตั้งแอกคิวมูเลเตอร์ ( accumulator ) จึงเป็นอุปกรณ์ช่วยป้องกันไม่ให้สารทำความเย็นเหลวจากอีวาพอเรอตร์ไหลย้อนกลับไปที่คอมเพรสเซอร์ และนอกจากนี้ยังเป็นภาชนะรับแรงดันที่ทำหน้าที่หลายอย่างในระบบไฮดรอลิค โดยแอคคิวมูเลเตอร์ถูกใช้เพื่อรักษาความดัน, เก็บและดึงพลังงานกลับมา, ลดความดัน เป็นต้น

ภายใต้แรงดันแก๊สแอคคิวมูเลเตอร์จะเก็บปริมาณของเหลวซึ่งสามารถนำมาใช้ซ้ำได้ เมื่อระบบไฮครอลิคต้องการนำมาใช้ เมื่อมีแรงดันเพิ่มขึ้นในระบบไฮดรอลิค accumulator จะทำการสั่งสมความดันของไหลจะส่งผลทำให้แก๊สถูกอัด และถ้าหากมีการเกิดความดันตก แก๊สที่ถูกอัดจะขยายตัวอีกครั้งและอัดของเหลวไปยังวงจรไฮดรอลิค

6
อยากติดตั้ง CCTV แต่ไม่รู้จะเลือกร้านติดกล้องวงจรปิดไหนดี หากคุณกำลังมองหาบริษัท รับติดตั้งกล้องวงจรปิด ร้านกล้องวงจรปิด บริษัทกล้องวงจรปิดที่สินค้ามาตราฐาน บริษัท Personet ยินดีให้บริการทั่วไทย บริการอย่างครบวงจร ด้วยประสบการณ์จากช่างผู้ชำนาญกว่า 10 ปี รอบรู้ในการติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV พร้อมทั้งจำหน่ายอุปกรณ์เสริมในการติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV

ยุคนี้ โจร ขโมยเยอะ มีอยู่ทุกหนแห่ง ความปลอดภัยจึงถือเป็นสิ่งสำคัญ การติดกล้องวงจรปิด CCTV เป็นอุปกรณ์ที่สามารถช่วยป้องกันทรัพย์สิน และลดเหตุการร้ายที่สามารถเกิดขึ้นได้ รวมทั้งเป็นประโยชน์ในการชี้ตัวผู้กระทำความผิดทางกฎหมายอีกด้วย หากคุณสนใจติดตั้งกล้องวงจรปิด อยากสอบถาม ราคากล้องวงจรปิดพร้อมติดตั้ง ติดต่อมาได้ที่ 081 839 0789

รับติดตั้งกล้องวงจรปิด

ราคารับติดตั้งกล้องวงจรปิด

สนใจรับติดตั้งกล้องวงจรปิด เรามีบริการติดตั้งอุปกรณ์อะไรให้บ้าง
ทางบริษัท Personet เราก็ยินดีติดกล้องวงจรปิดราคาดี สินค้ามีมาตราฐาน เรามีบริการรับติดตั้งกล้องวงจรปิดหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ติดตั้งกล้องวงจรปิดไร้สาย ติดกล้องวงจรปิดดูผ่านโทรศัพท์ หรือกล้องวงจรปิดพร้อมติดตั้ง นอกจากนี้เรายังมีบริการติดตั้งอุปกรณ์อื่นๆของ CCTV ให้คุณอีกด้วย มีดังนี้

เครื่องบันทึกภาพ (DVR,NVR)
ทำหน้าที่บันทึกภาพจากกล้องวงจรปิด และเครื่องบันทึกภาพ (DVR,NVR) ยังเป็นสิ่งที่สามารถรวมภาพจากหลาย ๆ กล้องมาบันทึกไว้ในที่เดียว ทุกวันนี้มีการพัฒนาเครื่องบันทึกภาพ ให้สามารถดูผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้ว
อย่างไรก็ตาม คุณก็ควรเลือกเครื่องบันทึกภาพให้ถูกต้อง เหมาะกับระบบของกล้องวงจรปิดด้วย โดยเครื่องบันทึกภาพ (DVR,NVR) มี 2 แบบ ได้แก่
DVR เป็นเครื่องบันทึกภาพที่รองรับระบบกล้องวงจรปิดแบบ Analog
NVR เป็นเครื่องบันทึกภาพที่รองรับระบบกล้องวงจรปิดแบบ IP

ฮาร์ดดิส Hard Disk (HDD)
เป็นสมองหลักสำคัญของ CCTV เพราะทำหน้าที่ในการข้อมูลให้กับกล้องวงจรปิด การเลือกฮาร์ดดิส Hard Disk (HDD) มาใช้นั้น จะต้องคำนึงถึง ปริมาณของการเก็บข้อมูลให้สามารถรองรับได้เพียงพอ ให้ตรงกับการใช้งานของคุณ

ตัวอย่างเช่น ต้องการบันทึกภาพเก็บไว้สามารถดูย้อนหลังได้ตลอดทั้งเดือน ต้องคำนึงถึงรุ่นของเครื่องบันทึกภาพด้วยว่าสามารถรองรับฮาร์ดดิสก์ได้จำนวนเท่าใด เพราะในแต่ละรุ่นนั้นมีช่องเก็บความจุที่ไม่เท่ากัน

อีกสิ่งหนึ่งที่คุณควรใส่ใจ คือ คุณภาพของฮาร์ดดิสก์ หากต้องการเก็บข้อมูลที่สำคัญ การใช้งานที่คงทน อยู่ไปได้นานระยะยาว โดยที่ฮาร์ดดิสไม่เสื่อมสภาพได้ง่าย เราก็แนะนำให้คุณควรเลือกฮาร์ดดิสก์เกรด Enterprise แม้อาจจะมีราคาสูง แต่การันตีคุณภาพมีความคงทนที่มากกว่าแบบอื่นๆ

และเราก็ไม่แนะนำให้คุณใช้ฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์ เพราะฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้ ไม่รองรับการเขียนบันทึกข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายของฮาร์ดดิสก์ เนื่องจากทำงานหนักมากเกินไป ไม่เหมาะสม ดังนั้นคุณควรเลือกฮาร์ดดิสก์ให้ถูกประเภทการใช้งาน

จอภาพมอนิเตอร์แสดงผล (Monitor)
ทำหน้าแสดงภาพจากกล้องวงจรปิด เปรียบเหมือนหน้าต่างของระบบกล้องวงจรปิดทั้งหมด และการเลือกใช้ จอภาพมอนิเตอร์แสดงผล (Monitor) ให้มีความคมชัด ควรเลือกใช้จอชนิด LCD หรือ LED ที่สามารถแสดงความละเอียดภาพได้ถึงขนาด Full HD

และอีกปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง คือ ช่องรองรับอุปกรณ์บันทึกภาพ ว่าเป็นชนิด HDMI หรือ VGA เพื่อให้เราสามารถเลือกสายสัญญาณที่จะต่อกับเครื่องบันทึกภาพให้เข้ากันได้นั้นเอง

รับติดตั้งกล้องวงจรปิด ราคาถูก

สายสัญญาณ (Cabling)
สายสัญญาณ (Cabling) เปรียบเสมือนเส้นเลือดของระบบอุปกรณ์กล้องวงจรปิด โดยทั่วไปกล้องแบบ Analog HD จะใช้สายสัญญาณ อยู่ 2 ประเภท คือ Coaxial แบบ RG6 และ ใช้สายสัญญาณ UTP แปลงสัญญาณด้วย Balun (บาลัน) แต่ถ้าเป็นกล้องแบบ IP Camera นั้นจะใช้สาย Lan

อุปกรณ์จ่ายเลี้ยงไฟ (Adapter)
ทำหน้าที่คอยแปลงค่าไฟให้เหมาะสม เพราะตัวกล้องวงจรปิดจำเป็นต้องมีไฟเลี้ยงตลอดเวลา เพื่อที่จะได้ทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง การเลือกใช้งานอุปกรณ์จ่ายเลี้ยงไฟ (Adapter) ให้เหมาะสมนั้น คุณต้องคำนึงถึงขนาดของกำลังไฟ ในอุปกรณ์ที่ต้องจ่ายไฟเลี้ยงให้กับ CCTVด้วย

เครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS)
ทำหน้าที่จ่ายไฟสำรอง เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินไม่คาดคิด เช่น ไฟดับ ไฟตก หรือ ไฟกระชาก โดยเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) สามารถทำงานต่อไปได้สักระยะเวลาหนึ่ง ช่วยให้ CCTV ยังคงบันทึกภาพและเก็บข้อมูลต่อไปแม้ไฟจะดับไปแล้วก็ตาม นอกจากนี้เครื่องสำรองไฟยังช่วยยืดอายุการใช้งานให้กับอุปกรณ์อื่นที่ต่อพ่วงกับ CCTV ของเราอีกด้วย

7
ก่อนติดตั้งกล้องวงจรปิด ต้องรู้อะไรบ้าง ข้อควรรู้ หากสนใจติดตั้งกล้องวงจรปิด
ตามสถานที่ต่างๆ เช่น สำนักงาน โรงเรียน หรือบ้านพักอาศัยมักจะมีการติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV เพื่อคอยสอดส่องผู้ที่มาเยือน ณ ที่นั้นๆและเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่อาศัยหรืออยู่ตามสถานที่นั้น แต่การจะติดกล้องวงจรปิดดูผ่านโทรศัพท์ก็ควรทราบรายละเอียดต่างๆก่อนเพื่อที่จะติดตั้งกล้องได้ตรงตามจุดประสงค์ของคุณ โดยในบทความนี้จะมีการแนะนำ ต้องรู้อะไรบ้าง ข้อควรรู้ ก่อนติดตั้งกล้องวงจรปิด





รู้จุดประสงค์ในการติดตั้งกล้องวงจรปิด
หลายคนทราบอยู่แล้วว่าการติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV ไว้ก็เพื่อให้ช่วยเป็นหูเป็นตาจับภาพเหตุการณ์ ในยามที่ไม่ได้อยู่ภายในบ้าน ที่ทำงาน หรือตอนที่เรานอน ก่อนที่คุณจะติดตั้งกล้องวงจรปิด ต้องถามตัวเองก่อนเป็นอันดับแรกว่าต้องการติดตั้งเพื่ออะไร จะติดตั้งไว้ที่ส่วนไหนของบ้าน จะติดตั้งในบ้าน หรือ นอกบ้านหรือทั้งสองจุด และต้องการใช้กล้องวงจรปิดแบบไหน มีความละเอียดเท่าไหร่ ต้องการงบประมาณในการติดตั้งเท่าไหร่ ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ควรต้องประเมินเบื้องต้น เพื่อที่ติดตั้งกล้องวงจรปิดไปแล้วจะสามารถตอบโจทย์คุณได้มากที่สุด พร้อมทั้งได้ทราบราคากล้องวงจรปิดพร้อมติดตั้ง

ติดตั้งกล้องวงจรปิดยี่ห้อไหนดี
การเลือกกล้องวงจรปิดควรต้องคิดก่อนว่าต้องการติดตั้งไว้ที่จุดไหน ถ้าหากต้องการติดตั้งไว้ในจุดที่สามารถสอดส่องทรัพย์สินมีค่าประเภทตู้เซฟ โต๊ะเก็บเงิน ประตูทางเข้าออก ควรใช้กล้องวงจรปิดแบบมีมาตรฐาน ประเภทกล้องวงจรปิด CCTV ซึ่งตัวกล้องมีเลนส์คุณภาพสูงและสามารถหมุนได้เป็นวงกลมอิสระ อีกทั้งมีอินฟราเรดซึ่งทำให้มองภาพถ่ายในตอนกลางคืนได้ แต่ทั้งนี้ควรระมัดระวังไม่ให้มีแสงมาโดนกล้อง เช่น ถ้าติดที่ริมถนนจะมีแสงไฟจากหน้ารถส่องมาโดนที่หน้ากล้องโดนกล้องซึ่งจะทำให้ไม่สามารถมองเห็นภาพได้



พื้นที่ที่จะติดตั้งกล้องวงจรปิด
1.ติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้บริเวณพื้นที่หลังบ้าน
ในตำแหน่งนี้เหมาะแก่การติดตั้งกล้องวงจรปิดอย่างมาก โดยการติดควรตั้งมุมมองให้หันไปที่กำแพงบ้านและเปิดหน้ากล้องแบบองศากว้าง เพื่อที่กล้องวงจรปิดจะบันทึกวิดิโอได้อย่างทั่วถึง

2. ติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้บริเวณประตูหน้า
การติดกล้องวงจรปิดไว้เหนือประตูบ้านด้านหน้า ถือเป็นจุดที่คนร้ายไม่สามารถเอื้อมแตะถึง อีกทั้งการติดกล้องวงจรปิดไว้ที่จุดนี้จะสามารถช่วยเฝ้าระวังและตรวจสอบผู้ที่มาเยือนบ้านก่อนที่จะเข้าบ้านได้อีกด้วย

3.ติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้บริเวณโรงจอดรถ
ควรติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ที่ด้านบนของโครงสร้างหลังคาจอดรถ เพื่อที่จะมองเห็นและรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดคาดฝันได้

4.ติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้บริเวณหน้าต่าง
การติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ที่จุดนี้ ควรติดไว้เหนือหน้าต่างที่ไม่สามารถเอื้อมถึงได้และติดรั้วตาข่ายคลุมกล้องไว้อีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้มีก้อนหินหรือของแข็งที่ขว้างใส่ อีกทั้งควรหันมุมกล้องเข้าหาหน้าบ้าน เปิดหน้ากล้อง ขยายภาพเป็นวงกว้าง

5. ติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้บริเวณห้องรับแขก
การติดตั้งกล้องวงจรปิดในตำแหน่งนี้ ควรใช้กล้องแบบโดม 360 องศา ซึ่งเคลื่อนหรือหมุนเป็นภาพวงกว้างได้ ทำให้คุณสามารถถ่ายภาพหรือเก็บบันทึกเหตุการณ์ต่างๆได้ทั่วถึง

เลือกประเภทของกล้องวงจรปิด
กล้องวงจรปิดแบบมาตรฐาน
กล้องวงจรปิดแบบมาตรฐาน ส่วนใหญ่จะมีรูปทรงสี่เหลี่ยม คล้ายกล่องกระบอก กล้องวงจรปิดประเภทนี้เหมาะกับการติดตั้งภายในอาคารเพราะเป็นกล้องที่ไม่มีระบบ Infared และไม่มีเลนส์มาให้ด้วย กล้องวงจรปิดแบบมาตรฐานจะติดตั้งภายในทางเดินในตัวอาคารที่ซึ่งมีแสงสว่างเพียงพอสำหรับให้สามารถบันทึกภาพได้ หากต้องการบันทึกภาพในตอนกลางคืนต้องใช้ Housing infared เพื่อทำให้สามารถถ่ายภาพในตอนกลางคืนได้

กล้องวงจรปิดแบบโดม
กล้องวงจรปิดชนิดนี้จะเหมาะกับการติดตั้งภายในบ้านและติดตั้งไว้ใต้ฝ้าเพื่อความสวยงาม กล้องวงจรปิดแบบโดม เป็นกล้องที่มีลักษณะเป็นทรงกลม มีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ มีInfared และไม่มีInfared  และบางรุ่นได้มีการออกแบบมาให้สามารถกันน้ำได้ โดยกล้องชนิดนี้เหมาะกับงานที่ต้องการเก็บซ้อนสายไว้บนฝ้า เพื่อความสวยงามของบ้าน

กล้องวงจรปิดอินฟาเรด
กล้องวงจรปิดชนิดนี้จะมีหลอด LED อยู่รอบด้านข้างเลนส์กล้อง โดยตรงนี้มีทั้งแบบ กล้องโดม และกล้องกระบอกซึ่งสามารถส่องสว่างในเวลากลางคืนได้ โดยภาพที่ได้จะเป็นสีขาวดำ ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาหลอด LED infared มาใช้เป็นหลอด LED Array แทน ข้อดีของหลอด ถ้า Infared ยิ่งเยอะ ก็จะถ่ายภาพตอนกลางคืนได้ไกลมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีข้อเสียก็คือตัวกล้องจะร้อนง่ายและอายุของการใช้งานกล้องจะสั้นลง ดังนั้นปัจจุบันจึงใช้หลอด Array แทนเพื่อให้กล้องมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น

กล้องวงจรปิดแบบ Bullet
กล้องวงจรปิดแบบ Bullet จะมีลักษณะที่กลม ยาว และมีปีกหมวกบริเวณด้านบนของกล้องเพื่อบังแดดและบังฝนที่จะสาดเข้าใส่กล้อง ส่วนมากกล้องนี้จะใช้ติดตั้งภายนอกอาคาร ตามรั้วหน้าบ้านหรือชายคาบ้านเป็นต้น  โดยกล้องชนิดนี้จะเป็นเลนส์ Fix ซึ่งมีขนาดเลนส์คงที่


Personet ติดตั้งกล้องวงจรปิด ราคาถูก



*ขายของไม่เกิน 100 คำ ทิ้งเบอร์ติดต่อไว้(เอาเบอร์เดียว ไม่เอา fax)
บริษัทกล้องวงจรปิด Personet รับติดตั้งกล้องวงจรปิด ติดกล้องวงจรปิด CCTV และติดตั้งกล้องวงจรปิดไร้สายพร้อมทั้งจำหน่ายกล้องวงจรปิดการันตีคุณภาพ มั่นใจและวางใจได้ด้วยประสบการณ์จากทีมช่างผู้มีประสบการณ์ด้านติดกล้องวงจรปิดราคาถูก และ Network Engineer มามากกว่า 10 ปี เราออกแบบและบริการกล้องวงจรปิดพร้อมติดตั้งมาอย่างยาวนาน
หากสนใจติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV กับเราสามารถติดต่อได้ที่
เว็บไซต์ : www.personet.co.th
อีเมลล์ : info@personet.co.th
เบอร์โทรศัพท์ : 02 860 8788

หน้า: [1]