ผู้เขียน หัวข้อ: เขียน เล่า ถาม แลกเปรี่ยนข้อมูล ตามที่เห็น และเข้าใจ  (อ่าน 28332 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ป. 2/1

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • กระทู้: 19
  • Like: 0
    • ดูรายละเอียด
แนะนำตัว
นักเรียน ชั้น ป. 2/1 โรงเรียนมีชื่อแห่งหนึ่ง
ซึ่งกำลังเรียนเกี่ยวกับเรื่อง “สังคม, อาหาร, อังกฤษ, ภาษาไทย, และอื่นๆ ตามหลักสูตร”
จึงอยากนำมาเล่า เขียน หรือแลกเปรี่ยน ข้อมูล ประสบการณ์
ขอแจ้งและย้ำกับ ท่านผู้ปกครอง ครู พี่ ป้า น้า อา เพื่อนๆ น้องๆ ว่า
การพูดหรือแสดงอารมณ์ของเด็กชั้น ป.2 อาจกระทบใจได้ โดยไม่ตั้งใจ
เนื่องจากเห็นหรือ คิดอย่างไรพูดไปอย่างนั้น รู้สึกอย่างไรแสดงไปอย่างนั้น
เพราะอายุ, การศึกษา, การแสดงออก ยังไม่ซับซ้อน และยังไม่ได้รับการฝึกควบคุมให้เหมาะสมในทุกๆเรื่อง
ความเห็นต่างๆ บทความ และอื่นๆ เช่น การบ้านที่ทำส่งครู ของนักเรียน ป. 2 นี้
เจตนาเพื่อสะท้อนความเห็น, มุมมอง, ความรู้สึก
ไม่มีเจตนาหรือต้องการ ให้ระคายเคืองหรือกระทบบุคคลใด ในทางเสียหาย
หากท่านเห็นด้วยก็พิจารณาตามควร ว่า ควรตาม, ควรปรับ, หรือ ทำอย่างไรต่อไป
หากเพื่อนร่วมชั้น ท่านผู้ปกครอง ครู พี่ ป้า น้า อา น้อง ป. 1 จะคุยด้วย หรือ แนะนำสั่งสอน ก็ยินดีหลายๆ
หากไม่เห็นด้วย ขออย่าได้ถือเป็นอารมณ์น๊าาา
ป. 2/1

ครูผู้น้อย

  • ผู้ดูแลเว็บบอร์ด
  • ผู้มีส่วนร่วม
  • *****
  • กระทู้: 224
  • Like: 1
    • ดูรายละเอียด
:lol:
ก่อนอื่นคงต้องทักทายเด็กป 2/1 ก่อนนะคะ เวป FoodNetworkSolution ยินดีต้อนรับจ้า  :P และก็ต้องขอแนะนำตัวเช่นกัน ว่าป้าเป็นครูผู้น้อย สอนวิชาเกี่ยวกันอาหาร มาก็จะ 20 ปีอยู่แล้ว ป้าชอบกินอาหาร ชอบทำอาหาร ชอบดูคนทำอาหาร แล้วก็อยากเห็นเด็กไทยทำอาหารไทยเป็น เอาให้อาหารดังกันไปทั่วโลกเลย ป้าก็เลยเอาความรู้ที่พอมีอยู่บ้าง มาแบ่งปันกันให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันให้สนุกสนานเฮฮา หนูเรียนอาหารทำอาหารอะไรเป็นก็มาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังนะ บางทีพี่ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร อาจจะมาขอสูตรไปทำขายก็ได้นะ
แล้วคุยกันอีกนะ
ป้า เอง ครู ผู้ น้อย

ป.1

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • กระทู้: 15
  • Like: 0
    • ดูรายละเอียด
ดีใจ ที่มี พี่ๆ ทางอาหาร และ คุณครูป้ามาเขียน แลกเปลี่ยนมุมมอง และประสบการณ์ ขอนินทาหัวหน้าสักหน่อย
จะทำอย่างไรดี เสนองาน ความเห็น ไม่เคยเป็นที่ถูกใจ หรือรับทราบแต่ไม่ได้ช่วยลดปัญหาอะไร ชักเบื่อหัวหน้า

ป. 2/1

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • กระทู้: 19
  • Like: 0
    • ดูรายละเอียด
ถึง น้อง ป.1 วันนี้ ครูสอนเรื่อง การสื่อสารพอดี น่าจะพอปรับใช้
1. ต้องมีข้อมูลมากพอ
2. เลือกวิธีการสื่อสารที่ดี เหมาะกับบุคคล สถานที่
3. เลือกเวลาที่เหมาะสม
4. ความอดทน
เบื้องต้นพิจารณาที่ตัวเรา ไม่เสนอเพราะ คิดว่าหรือน่าจะ อย่างเดียว
ต้องมีข้อมูลเพียงพอ อะไรเป็นข้อดี ข้อเสีย ข้อจำกัด หากเสนอแล้วไม่เป็นที่ยอมรับ ดูว่าควรเพิ่มเติมในส่วนใด
เลือกและปรับวิธีการสื่อสาร ให้เหมาะสม น่าสนใจ
ต้องดูเวลาที่เหมาะสมด้วย เช่นเวลาน้อยเกินไปในการให้ข้อมูล, หัวหน้าพึ่งถูกหัวหน้าต่อว่ามา, หรือพึงผ่านสถานการณ์วิกฤต
แน่นอนว่าหัวหน้ารับผิดชอบมากกว่า หากสรุปอย่างไรก็ทำไปตามนั้น พร้อมกับเก็บข้อมูลไปด้วย ว่าข้อดี ข้อเสีย ข้อจำกัด เป็นอย่างไร เพื่อเสนอปรับปรุงในอนาคต
เอาเหอะน่าอนทนเสนอใหม่
หากเป็นความเห็นที่ดี มีข้อมูลพร้อม ใช้วิธีการและเลือกเวลาเหมาะสม คงไม่มีหัวหน้า/ผู้บริการคนไหน ไม่สนใจ
ป. 2/1

ป. 2/1

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • กระทู้: 19
  • Like: 0
    • ดูรายละเอียด
เพิ่มเติม สำหรับ การเสนองาน ความเห็น เพื่อทำงาน 100%
25% แรก โดยทั่วไปเวลาทำงาน คนสามารถบอกปัญหาได้ แบบนี้หาได้ง่ายมาก
25% สอง สามารถบอกวิธีการแก้ไขที่ 1, 2, 3 ว่ามีข้อดี ข้อเสีย ข้อจำกัด อย่างไร พร้อมเสนอว่าน่าจะเลือกวิธีใด ณ ปัจจุบัน แบบนี้หายากขึ้นมาหน่อย โดยทั่วไปวิธีการมีเย๊อะ แต่ไม่มีใครอาสาไปทำ
25% สาม กล้าที่จะรับอาสาเอาวิธีที่ได้จากการสรุปไปปฎิบัติ แบบนี้หายากขึ้น
25% สี่ หลังรับอาสา ขณะปฏิบัติ สามารถปรับปรุงวิธีการต่างๆ ตามข้อจำกัด และทำจนสำเร็จ แบบนี้หายากมาก
หากใครทำได้ เรียกว่าทำงาน 100%
ลองพิจารณาว่า หัวหน้าพบข้อจำกัดอะไร เช่น ยังไม่ทราบปัญหา, ขาดวิธีการแก้ปัญหา, หรือขาดคนดำเนินการที่จะทำให้สำเร็จ
ตามที่บอก ดูด้วยว่าเราจัดอยู่ในกลุ่มที่ทำงานได้กี่เปอร์เซนต์
ป. 2/1  ;)

ป. 2/1

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • กระทู้: 19
  • Like: 0
    • ดูรายละเอียด
วันพุธนี้ ครูสอนเรื่อง การมอบหมายงานให้ทีมงาน จึงขอนำมาเล่า
ก่อนการมอบหมายงาน ควรพิจารณาสมาชิกของทีม หากมีโอกาสประสานงานกันหรือประชุมร่วมกัน
หัวหน้าควรถามทีมงาน ว่ามีข้อสงสัยหรือคิดว่ามีปัญหาอย่างไรหรือไม่ เพื่อจะได้ทราบจากมุมมองทีมงานและเทียบเคียงกับสิ่งที่ได้เห็น พร้อมหาทาง สนับสนุนปัจจัยต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ทีมงาน ต่อการบรรลุเป้าหมายของงาน
หากสมาชิก แจ้งปัญหาได้, ถามต่อถึงวิธีแก้ไข, หาผู้อาสาเข้าไปจัดการปัญหา, ติดตามผล (ดูทำงาน 100%)
゜☆。.:*:・'゜★☆。 สวัสดีปีใหม่ 2554 ★☆。.:*:・'゜☆。 :D

ป.1

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • กระทู้: 15
  • Like: 0
    • ดูรายละเอียด
หวัดดีปีใหม่ กับพี่ๆ ด้วย
ขอถามพี่ๆ ป้าๆ ทางอาหารหน่อย ว่าควรเรียนเกี่ยวกับอาหาร และทำงานในโรงงานอาหารดีหรือไม่
เห็นพี่ๆที่เรียนบอกว่า ต้องแต่งกายเหมือนนักบิน ทำงานทั้งวัน เงินเดือนก็น้อย
หรือว่าไปเรียนอย่างอื่นดี

ป. 2/1

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • กระทู้: 19
  • Like: 0
    • ดูรายละเอียด
หายไปนาน ขอเล่าตามที่เข้าใจ
อาหารจัดเป็นอุตสาหกรรมหนึ่ง ที่ประเทศไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลก เพราะมีเอกลักษณ์ที่ดี เช่นสวยงาม หลากหลาย มีรสชาติและประโยชน์จากเครื่องเทศต่างๆ ที่ช่วยให้เจริญอาหารและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งเป็นจุดแข็งที่ไม่แพ้อาหารชาติอื่นๆ
การทานอาหารไทยในเมกา จัดว่าเป็นโอกาสพิเศษ ราคาทั่วไปจะสูงกว่าอาหารจานด่วน หลายอย่าง
และที่สำคัญ ไม่ว่าเศณษฐกิจจะติดขัดอย่างไร คนเราก็ต้องกิน และจำนวนประชากรที่กินก็มากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งประเทศไทยมีผลกระทบจากภัยธรรมชาติ น้อยกว่าหลายๆประเทศ ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบของไทย
ส่วนการแต่งกาย หากมองการใส่หมวก ปิดปาก รองเท้าบู๊ท ว่าเหมือนนักบินนั้น
การแต่งกายให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ทำหรือรับผิดชอบ จะช่วยลดการปนเปื้อนในอาหาร เนื่องจากในการผลิตแบบอุตสาหกรรม ต้องเน้นเรื่องความปลอดภัยของอาหาร เพื่อให้ผู้บริโภคได้อาหารที่มีคุณภาพ
ช่วงแรกจะไม่คุ้นเคย หากใส่ประจำก็จะรู้สึกเท่ไปอีกแบบ !!
ส่วนที่ว่าทำงานทั้งวันนั้น เข้าใจว่างานอย่างอื่นก็ต้องทำครบตามกำหนดเวลาเหมือนกัน
ส่วนเงินเดือนน้อย อันนี้แต่ละบริษัทจะไม่เหมือนและไม่เท่ากัน ตอนสมัครงานนอกจากบริษัทจะเลือกเราแล้ว ตัวเราเองก็ต้องเลือกบริษัทด้วย หากเราพิจารณาแล้วว่า OK ก็น่าจะ OK
จากเหตุผลดังกล่าว เรียนรู้และทำงานเกี่ยวกับอาหารดีแน่นอน เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่เราแข่งขันได้ และยังช่วยการเกษตรของไทยเอง อย่างน้อยที่สุดหากนำความรู้มาทำอาหารเอง ก็รักษาประโยชน์จากวัตถุดิบได้ดีกว่า การทำอาหารโดยไม่เข้าใจพื้นฐานที่ดี

ป. 2/1

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • กระทู้: 19
  • Like: 0
    • ดูรายละเอียด
วันก่อนพูดถึงการมอบหมายงานไป จึงขอเล่าต่อ
หลังมอบหมายงาน สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับหัวหน้า คือการติดตามผล
เพราะหากไม่ติดตามผล เราก็ไม่รู้ผลที่แท้จริง
การติดตามผล จะช่วยให้หัวหน้า สามารถพิจารณา ประสิทธิภาพของสมาชิกในทีม
หลายๆครั้งในที่ประชุม จะได้ยินคำว่า “ไม่มีปัญหา” ซึ่งฟังดูดี ฟังแล้วสบายใจ
อย่างไรก็ตาม คำว่า “ไม่มีปัญหา” ที่ใช้กันนี้ โดยทั่วๆไป สามารถพิจารณาสมาชิกของทีมงานได้หลายแบบ
ขอยกตัวอย่างการแบ่ง แบบตามใจฉัน เช่น
1. บอกไม่มี ปัญหา จริงๆแล้ว ปัญหามี แต่ ใส่ใจ ดูแลส่วนที่รับผิดชอบได้ดี จึงแก้ไขปัญหาไปหมดแล้ว แบบนี้ดีที่สุด มีน้อย
2. บอกไม่มี ปัญหา จริงๆแล้ว ปัญหามี แต่ ไม่รู้  ต้องเพิ่มความรู้ ความสามารถ เช่น อบรม ให้คำแนะนำ
3. บอกไม่มี ปัญหา จริงๆแล้ว ปัญหามี แต่ ไม่ใส่ใจดูแลส่วนที่รับผิดชอบอยู่ ต้องเข้าไปตรวจสอบกระตุ้น
4. บอกไม่มี ปัญหา จริงๆแล้ว ปัญหามี แต่ บอกว่าไม่มี แบบนี้แย่หน่อย ต้องดูเจตนาและผล ว่ากระทบต่อส่วนอื่นๆอย่างไร
ลองพิจารณาดูว่า พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ใช้คำนี้ตามแบบที่ 1, 2, 3, หรือ 4
หัวหน้า ยังต้องหาทางปรับทัศนคติ และเพิ่มประสิทธิภาพของสมาชิกในทีม ซึ่งจะช่วยให้การมอบหมายงานครั้งต่อๆ เหมาะสมกับทีมงาน และได้ผลสำเร็จที่ดี
ใครที่แอบเบื่อ หัวหน้า ก็ต้องดูว่า เราจัดอยู่ในกลุ่มที่ทำงานได้กี่เปอร์เซ็นต์ และในงานที่เรารับผิดชอบไม่มี ปัญหาตามแบบที่ 1, 2, 3, หรือ 4

ครูผู้น้อย

  • ผู้ดูแลเว็บบอร์ด
  • ผู้มีส่วนร่วม
  • *****
  • กระทู้: 224
  • Like: 1
    • ดูรายละเอียด
สวัสดี ปีใหม่ย้อนหล้งค่ะ ป 2/1
เป็นยังไงกันบ้างคะ คุณครูให้การบ้านเยอะไหม ป้าชอบที่ ป 2/1 ชวนคุยเรื่องไม่มีปัญหา
มันมีหลายแบบอย่างที่ว่าจริงๆ แต่มันก็คงต้องจับเข่า จับขา จับแขน คุยกันนะยอมรับความจริง ไม่ใช้อารมณ์ เช่น โกรธ คับแต้นใจ อึดอัด ไม่สบายใจ น้อยใจ เดี๋ยวแทนที่จะจับเข่าคุย กลับใช้หน้าแข้ง ฝ่ามือ หรือ ศอก คุยแทน
วันหลังมาคุยด้วยใหม่นะ
ครูผู้น้อย

ป. 2/1

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • กระทู้: 19
  • Like: 0
    • ดูรายละเอียด
ขอสวัสดี คุณครูผู้น้อยล่วงหน้า

"ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้"  :D
"GONG XI FA CAI"   ^_^
"Gong Hei Fatt Choy"  ;)
"ขอให้ มั่งมี ศรีสุข ประสบความสำเร็จตลอดปี"  :P

การบ้านเย๊อะมาก สงสัยคุณครูลืมว่า เสาร์-ทิตย์ เป็นวันหยุด แต่... ไม่มีปัญหา!
ที่เล่ามา จะพูดถึงกรณีเราแสดงบทบาทผู้สนับสนุน ถ้ากรณีเราต้องแสดงเป็นหัวหน้าล่ะ
หัวหน้ามีหลายแบบเหมือนกัน เช่นไม่กล้าตัดสินใจ, สั่งอย่างเดียว, อารมณ์บ่จอยบ่อยยยย, อื่นๆ อีก
เอาไว้ว่างๆ จะเอาหัวหน้ามาเล่าให้ฟัง ไม่ใช่นินทานะ แต่คล้ายมาก

ป. 2/1

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • กระทู้: 19
  • Like: 0
    • ดูรายละเอียด
อ้างจาก: "root"
สวัสดี ปีใหม่ย้อนหล้งค่ะ ป 2/1
เป็นยังไงกันบ้างคะ คุณครูให้การบ้านเยอะไหม ป้าชอบที่ ป 2/1 ชวนคุยเรื่องไม่มีปัญหา
มันมีหลายแบบอย่างที่ว่าจริงๆ แต่มันก็คงต้องจับเข่า จับขา จับแขน คุยกันนะยอมรับความจริง ไม่ใช้อารมณ์ เช่น โกรธ คับแต้นใจ อึดอัด ไม่สบายใจ น้อยใจ เดี๋ยวแทนที่จะจับเข่าคุย กลับใช้หน้าแข้ง ฝ่ามือ หรือ ศอก คุยแทน
วันหลังมาคุยด้วยใหม่นะ
ครูผู้น้อย

ป. 2/1

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • กระทู้: 19
  • Like: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เขียน เล่า ถาม แลกเปรี่ยนข้อมูล ตามที่เห็น และเข้าใจ
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2011, 10:22:11 PM »
ขอค้างไว้ก่อน ที่ว่าจะเอาหัวหน้ามาเล่าให้ฟัง
วันนี้ ครูสอนเรื่อง ความดี และมีน้องพูดถึงคุณครูบอกให้เป็นเด็กดี มันกว้างดี ก็ขอเล่าตามที่เข้าใจ
ความดี มาจากรากฐาน 3 ส่วน
1. คิดดี (มโนกรรม) อยู่ที่เราคนเดียว
คิดดี สบายใจ คิดไม่ดี อาจสบายใจเพราะถูกใจ หรือ ไม่สบายใจ แล้วแต่คน
หากคิดไม่ดี เช่น คิดจะลักทรัพย์ ยังไม่ผิดในทางนิตินัย แต่ลึกๆ ก็รู้อยู่แก่ใจ ยังอยู่ที่เราคนเดียว
2. พูดดี (วจีกรรม) เริ่มกระทบผู้อื่น
พูดดี เราเองสบายใจ คนฟังก็สบายใจ ประสานงานอะไรก็ง่ายขึ้น
พูดไม่ดี คนพูดอาจสบายใจเพราะถูกใจ หรือ ไม่สบายใจเพราะไม่ถูกต้อง
หากพูดไม่ดี เช่น พูดว่าจะลักทรัพย์ หรือข่มขู่ ยังไม่ผิดในทางนิตินัย แต่เริ่มกระทบผู้อื่น
3. ทำดี (กายกรรม) กระทบผู้อื่นแล้ว
ทำดีสบายใจ เป็นที่รัก ได้รับการยอมรับ
ทำไม่ดีอาจสบายใจเพราะถูกใจ หรือ ไม่สบายใจ
หากทำไม่ดี เช่นกระทำการลักทรัพย์ ผิดโดยสมบูรณ์ กระทบผู้อื่นแล้ว แต่ลึกๆ ส่วนใหญ่ก็รู้อยู่แก่ใจ

สำหรับ คนที่บอกว่าทำความดี ไม่เห็นได้ดี ก็อย่าพึ่งใจร้อน
ผลของความดี จะออกผลได้นั้นประกอบด้วย 3 ส่วน
(อ่านมาจากหนังสือของคุณครูไม่ใหญ่ นานมากแล้ว ตอนนี้หาหนังสือไม่เจอ ขออนุญาตินำมาปรับเล่า ตามที่เข้าใจ)
1. ถูกดี: ถูกวัตถุประสงค์
การทำความดี ต้องเป็นประโยชน์ ทั้งต่อตนเอง ต่อหน่วยงาน และต่อสังคม โดยไม่ขัดต่อประเพณี กกหมาย
หากจะไปส่งเพื่อนขึ้นเครื่องบินเดินทางไปต่างประเทศ เป็นความคิดดี ไปบอกเค๊าก็พูดดี หากไปส่งที่สนามบินสุวรรณภูมิก็ทำดี
แต่หากไปส่งที่สนามบินดอนเมือง ก็ไม่ถูกดี ไม่ถูกวัตถุประสงค์ ไม่ได้ทำดี เพราะดอนเมืองปัจจุบันมีแต่บินภายในประเทศ สำหรับเดินทางต่างประเทศต้องไปสุวรรณภูมิ
2. ถึงดี: มีปริมาณมากพอ
หากได้ทำดี ไปสักหน่อย แล้วคอยหวังผล ก็มีแต่ทุกใจ
การทำดีต้องทำสม่ำเสมอ มีปริมาณมากพอ และไม่หวังสิ่งตอบแทน ผลของความดีคือเราสบายใจ เกิดได้ทันที
คนรอบข้างก็จะสามารถระลึกถึงการทำดีนั้นได้ และหากเค๊าสามารถตอบแทนอะไรได้ โดยส่วนใหญ่จะรีบทำเพื่อตอบแทน
3. พอดี: ไม่น้อยจนไม่เห็นผล และไม่มากจนอึดอัด
อย่างที่ว่า การทำดีต้องทำสม่ำเสมอ มีปริมาณมากพอ คนรอบข้างถึงจะระลึกถึงการทำดีนั้นได้ และคิดหาวิธีตอบแทนเมื่อทำได้
ส่วนคนที่บอกว่าทำความดี ไม่เห็นได้ดี เป็นเพราะ ทำไม่ถูกดี ไม่ถึงดี และไม่พอดี
ความพอดี ก็เป็นสิ่งสำคัญ หากไม่พอดีจะทำให้อึดอัด เข้าใจผิด
เช่น การไปส่งเพื่อนถึงบ้านหรือห้องรับแขกเป็นความพอดี แต่หากจะขึ้นไปส่งถึงห้องนอน เค๊าคงอึดอัดและแปรเจตนาไปอีกแบบ เพราะเกินพอดี สำหรับการไปส่งเพื่อน