ผู้เขียน หัวข้อ: อยากให้ทุนวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง Dehydration สำหรับมันสำปะหลัง  (อ่าน 38491 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Prasert

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • กระทู้: 5
  • Like: 0
    • ดูรายละเอียด
ผมเป็นเจ้าของกิจการลานมันสำปะหลัง กำลังคิดทำเครื่องมือที่สามารถ Dehydration มันสำปะหลังแทนการตากแดดแบบที่ปัจจุบันทำกัน ผมพยายามอ่านหนังสือมากมายเพื่อหาวิธี แต่จนปัญญา จึงอยากให้ทุนวิจัยเรื่องนี้ สนใจติดต่อมาที่ ประเสริฐ 085-911-1917

หมายเหตุ : ถ้าเป็นนักศึกษาลาดกระบังก็ดีนะ ใกล้บ้าน

ครูผู้น้อย

  • ผู้ดูแลเว็บบอร์ด
  • ผู้มีส่วนร่วม
  • *****
  • กระทู้: 224
  • Like: 1
    • ดูรายละเอียด
เรียนคุณประเสริฐ

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ ที่ให้ความไว้วางใจ www.foodnetworksolution.com เพื่อเป็นแหล่งประกาศให้ทุนวิจัยเกี่ยวกับ dehydration ของมันสำปะหลัง ยินดีรับเป็นสื่อกลางหาผู้ที่สนใจทำวิจัยให้ค่ะ ที่ลาดกระบังเองก็มีอาจารย์ที่ท่านทำอบแห้งอยู่ ก็น่าจะช่วยดูให้นักศึกษาได้ ทุกมหาวิทยาลัยในเมื่องไทย ก็มีคนเก่งๆ มากมาย หน่วยงานรัฐที่ยินดีให้ทุนสนันสนุกการวิจัยเรื่องนี้ก็มีอยู่หลายแห่ง ท่านใดที่อ่านแล้วสนใจก็ติดต่อกับคุณประเสริฐโดยตรงเองได้นะคะ ท่านเป็นเจ้าของกิจการ กรุณาให้เบอร์โทรไว้กระทู้ด้านบนแล้ว หรือเขียนตอบมาในกระทู้นี้ก็ได้ค่ะ

ครูผู้น้อยเองก็เกิดมากับไร่มันสำปะหลัง คุณพ่อเคยรับราชการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านมันสำปะหลังอยู่ที่ระยอง เคยเห็นลานตากมันสำปะหลังเป็นยังไงเมื่อ 40 ปีที่แล้ว วันนี้ก็ยังคงเป็นอย่างนั้น



รูปนี้เป็นที่เวียดนาม ของไทยก็ตากบนลานซีเมนต์

http://www.cassava-devlp-center.com/

ถึงเวลาที่จะคิดเปลี่ยนกันได้แล้วค่ะ ใครมีความคิดอะไรดีๆ ก็แนะนำได้นะคะ concept สะอาด ประหยัดพลังงาน คิดกันได้จดลิขสิทธิ์เป็นของไทยร่วมกับคุณประเสริฐ ขายได้ทั่ว Asean เลย ครูผู้น้อยจะยินดีมากๆๆ

ขอแสดงความนับถือ

ครูผู้น้อย

ครูผู้น้อย

  • ผู้ดูแลเว็บบอร์ด
  • ผู้มีส่วนร่วม
  • *****
  • กระทู้: 224
  • Like: 1
    • ดูรายละเอียด


 

เอาไอเดียการอบชา กับกาแฟมาฝากคะ

Prasert

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • กระทู้: 5
  • Like: 0
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณมากครับครูน้อย ที่่ช่วยเป็นสื่อกลางให้ และยังคิดไปถึงภูมิภาค ASEAN ด้วย ซึ่งปี 58 นี้เราเองต้องเผชิญกับค่าแรงถูกมากของเพื่อนบ้าน และคุณภาพดิน-สินค้าที่ดีมากด้วย ซึ่งเราคงเอาชนะเขาได้เพียง Technology ฉะนั้นไม่ต้องเกรงใจนะครับสำหรับผู้สนใจ เพราะถือว่ามาแลกเปลี่ยนความคิดกันระหว่าง ภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติ

สำหรับน้อง ๆ ที่ยังสับสนว่า เรียน Food Science หรือ Food Engineer ดีไหม ผมบอกเลยว่า ในโลกใบนี้ มีประเทศไทยเพียงประเทศเดียว ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทั้งอาหารคนและอาหารสัตว์ ซึ่งการเรียนสายนี้ นับว่าตรงกับ Strength ของประเทศ ตอนนี้วงการเกษตรประเทศไทย เพิ่งจะถึง Phase ที่ 2 เท่านั้นยังไปได้อีกไกลสุดลูกหูลูกตาเลย (Phase ที่ 1 ทำกินเอง, Phase ที่ 2 ถนอมอาหารให้ได้ยาว, Phase ที่ 3 แปรรูปสร้างคุณค่าเพิ่ม) สำหรับผมเรียนวิศวะไฟฟ้า จบจุฬา ทำงาน Toyota 17 ปี ตอนนี้ลาออกมาทำลานมันกับพ่อ ก็มานั่งนึกเสียดายว่า ตอนเลือกทำไมไม่เลือกเรียนสายนี้

ขอโทษทีครับ ยาวไปหน่อย

ประเสริฐ

ครูผู้น้อย

  • ผู้ดูแลเว็บบอร์ด
  • ผู้มีส่วนร่วม
  • *****
  • กระทู้: 224
  • Like: 1
    • ดูรายละเอียด
ครูผู้น้อยปลื้ม และขอบพระคุณคุณประเสริฐอย่างยิ่ง ซึ่งท่านเป็นถึงระดับเจ้าของกิจการ จบการศึกษาวิศวกรรมไฟฟ้าจากจุฬา เคยทำงาน Toyata บริษัทยักษ์ใหญ่ ท่านมีวิสัยทัศน์ มองเห็นความสำคัญของการศึกษา สาขาที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ทั้ง Food Science , Food Technology Food Engineering
ความเห็นของท่านจะมีประโยชน์และเป็นกำลังใจ มาก กับ ผู้เรียน รวมทั้งผู้สอน ทุกท่าน ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญ และภูมิใจในวิชาชีพ พยายามที่จะพัฒนาตัวเองให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มมากขึ้น เพื่อพัฒนา strength ของประเทศ ไม่ต้องเสียดายหรอกค่ะ ทีไม่ได้เรียนสาขานี้ ตอนนี้รวยแล้วมาให้ทุนวิจัยด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร นี่แหละ ตรงประเด็นที่สุดแล้วค่ะ ใครที่เห็นด้วยกับคุณประเสริฐก็ช่วยๆกันทำแบบนี้อีกมากๆค่ะ ส่งเสริมกิจกรรมทางการศึกษา มีบุญปัญญาบารมี และเสริมบริวารค่ะ 5555
ครูผู้น้อย ชอบ และเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า ในโลกใบนี้ มีประเทศไทยเพียงประเทศเดียว ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทั้งอาหารคนและอาหารสัตว์ http://www.foodnetworksolution.com ก็ขอเป็นส่วนเล็กๆในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งนี้ค่ะ

woralak

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • กระทู้: 4
  • Like: 0
    • ดูรายละเอียด
ถ้าจะทำแบบกล้วยตากพอไหวไหมคะ คุณครู เห็นมีการออกแบบตู้อบพลังแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ออกมาเยอะเลยค่ะ

Prasert

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • กระทู้: 5
  • Like: 0
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณมากครับ คุณ woralak แต่อยากรบกวนอธิบายโครงสร้างคร่าว ๆ พอไหวไหมครับ จะยิ่งขอบพระคุณมาก ๆ จริง ๆ

ครูผู้น้อย

  • ผู้ดูแลเว็บบอร์ด
  • ผู้มีส่วนร่วม
  • *****
  • กระทู้: 224
  • Like: 1
    • ดูรายละเอียด
ดร. วรลักษณ์ มาตอบด่วนค่ะ
ครูผู้น้อย

woralak

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • กระทู้: 4
  • Like: 0
    • ดูรายละเอียด
โรงเรือนอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์พาราโบลาโดมที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นนี้มีขนาด 8 x 20 x 3. 5 เมตร โดยระบบที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบกึ่งอัตโนมัติ กล่าวคือ เมื่อแสงอาทิตย์มีความเข้มสูง โรงอบแห้งจะได้รับพลังงานแสงอาทิตย์มาก อุณหภูมิของอากาศภายโรงอบจึงมีแนวโน้มที่สูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันแผงโซลาร์เซลล์ก็จะผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้นด้วย ทำให้พัดลมดูดอากาศซึ่งได้รับพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์จะดูดอากาศให้ไหลเวียนมากขึ้น ทำให้อุณหภูมิภายในโรงอบไม่สูงเกินไป ในทางกลับกัน เมื่อแสงอาทิตย์มีความเข้มน้อยลง อากาศภายในก็จะถูกดูดออกไปภายนอกน้อยลงด้วย ทำให้อุณหภูมิไม่ลดลงต่ำมากนัก การทำงานดังกล่าวจึงไม่ต้องมีระบบอิเล็กทรอนิคส์ควบคุม และไม่มีสวิทซ์ปิดเปิด ผู้ใช้เพียงแต่นำผลิตภัณฑ์เข้าไปตาก และเมื่อแห้งก็เก็บออกมา ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน (รศ. ดร. เสริม จันทร์ฉาย อาจารย์จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ร่วมกับ สวทช. ออกแบบให้กับวิสาหกิจชุมชนกล้วยตากบุปผา จ.พิษณุโลก และข้าวแต๋นแม่บัวจันทร์)


Prasert

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • กระทู้: 5
  • Like: 0
    • ดูรายละเอียด
ชัดเจนมาก ๆ เลยครับ ขอบคุณมากครับ ดร. วรลักษณ์

woralak

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • กระทู้: 4
  • Like: 0
    • ดูรายละเอียด
ต้องขอบคุณครูผู้น้อย และ food network solution ที่เป็นแหล่งความรู้และที่แลกเปลี่ยนความรู้ค่ะ

ครูผู้น้อย

  • ผู้ดูแลเว็บบอร์ด
  • ผู้มีส่วนร่วม
  • *****
  • กระทู้: 224
  • Like: 1
    • ดูรายละเอียด
อวยกันไปค่ะ แต่ก็ปลื้มใจ ที่  www.foodnetworksolution.com  มีโอกาสได้รับใช้ค่ะ

Prasert

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • กระทู้: 5
  • Like: 0
    • ดูรายละเอียด
ถึงครูผู้น้อย และทุกท่านที่ให้ความอนุเคราะห์

ผมได้ศึกษาจนพบว่า มีงานวิจัยที่อธิบายเรื่องการ Dehydrate มันสำปะหลัง โดยละเอียด คือ งานวิจัยเรื่อง "การพัฒนากระบวนผลิตวัตถุดิบจากมันสำปะหลัง สำหรับอุตสาหกรรมเอทานอล" ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วีรชัย อาจหาญ ภาคีศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  ซึ่งผมก็ได้พูดคุยกับอาจารย์ วีรชัย แล้ว อาจารย์แนะนำหลายๆ เรื่อง (ถึงกับถอดใจ) ซึ่งอาจารย์กล่าวว่า "ปัจจุบัน เรื่อง Dehydrate มันสำปะหลัง" พ้นกรอบของงานวิจัยไปแล้ว เพราะได้ สมการ ได้ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ อย่างครบถ้วน ที่เหลือก็ถึงขั้นงานด้าน วิศวกรรม ซึ่งอาจารย์ไม่สามารถให้คำแนะนำได้เพิ่มเติม  สำหรับทุกท่านที่สนใจ อยากให้อ่านงานวิจัยนี้ดูนะครับ ในฐานะที่เป็นผู้อ่านที่หวังผลสัมฤทธิ์ในงานวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม ผมว่า งานวิจัยชิ้นนี้ เป็นงานวิจัยที่ดี ตอบทุกโจทย์ที่ผมอยากรู้ และควรรู้
ขอบคุณครูผู้น้อย และทีมงานอีกครั้งที่เป็นสื่อกลางให้ครับ

mystudent

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • กระทู้: 2
  • Like: 0
    • ดูรายละเอียด
สวัสดีครับคุณประเสริฐ ผมได้อ่านงานวิจัยเรื่องที่คุณประเสริฐเขียนถึงแล้วครับ น่าจะเป็นเนื้อหาตามลิ้งค์ข้างล่างนี้
http://www.phtnet.org/download/phtic-research/139.pdf
ผมเห็นด้วยครับว่าเป็นงานวิจัยที่ดี โดยเฉพาะการอบแห้งแบบโรตารี่ แต่อาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาการอบแห้งรอบละ 47 นาที และต้องอบแห้งทั้งหมด 6 รอบ รวมระยะเวลาแล้วประมาณ 4.7 ชั่วโมง ซึ่งผมคิดว่าผู้วิจัยคงได้แนะนำวิธีการปรับปรุงหรือแก้ไขกับคุณประเสริฐไว้แล้ว
โดยส่วนตัวแล้วในมุมมองทางด้านวิศวกรรม ยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้อบแห้งมันสำปะหลัง หรืออาจจะต่อยอดจากงานวิจัยที่กล่าวถึง แต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่เราสนใจครับ และสิ่งที่คุณประเสริฐ บอกว่าถึงกับถอดใจ น่าจะเขียนบอกไว้เพื่อเป็นความรู้แก่ผู้สนใจโดยทั่วไปครับ
อ.สาธิป ที่วิศวกรรมอาหารที่ลาดกระบังยังคงสนใจเรื่องที่ได้พูดคุยกับคุณประเสริฐ และอาจจะขอทุนวิจัยจากหน่วยงานราชการที่สนับสนุน และถ้าคุณประเสริฐยังคงสนใจ ก็อาจจะเรียนเชิญมาในฐานะผู้ประกอบการเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการออกแบบ และพัฒนาครับ // Ekkapong