connect networks, collect information, compare solutions, and compile knowledge for your best solution สร้างเครือข่าย รวบรวมข้อมูล เปรียบเทียบโซลูชั่น เพื่อพิจารณา เลือกโซลูชั่นที่ดีที่สุด

Food Wiki

ค้นหา 6,332 คำศัพท์

ข้อมูลติดต่อ


ดร. นิธิยา รัตนาปนนท์

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประวัติการศึกษา


- ปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต (เคมี) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2511
- ปริญญาโทมหาบัณฑิตวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน (ชีวเคมี) มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2513
- ปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การอาหาร) มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2520

ประสบการณ์การทำงาน


ประวัติการรับราชการ
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2513 เริ่มรับราชการครั้งแรกตำแหน่งอาจารย์โท ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- 1 พฤศจิกายน 2515 โอนไปสังกัดคณะเกษตรศาสตร์ ตำแหน่งอาจารย์โท ภาควิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการอาหาร
- 30 มิถุนายน พ.ศ. 2521 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
- 27 มกราคม พ.ศ. 2525 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
- 26 มิถุนายน พ.ศ. 2545 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
- 17 กันยายน พ.ศ. 2551 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ท. 11
- 19 พฤศจิกายน 2554 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณ สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ได้รับการฝึกอบรม ดูงาน สัมมนาและเป็นวิทยากรในต่างประเทศ ได้แก่ เกาหลี จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ลาว เขมร อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย อังกฤษ แคนาดา อิสราเอล สหรัฐอเมริกา ตุรกี และอิตาลี

เป็นนักวิจัยที่ปรึกษาให้กับอาจารย์รุ่นใหม่ของ สกว. จำนวน 5 คน
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ หาญใจเมือง ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) การสกัดแอนโทไซยานินจากดอกกระเจี๊ยบแดงด้วยเอนไซม์ ระยะเวลา 2 ปี (1 มิ.ย. 2548-31 พ.ค. 2550)
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อุษาวดี ชนสุต ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชื่อโครงการ ปริมาณสารประกอบฟีนอลและกิจกรรมของเอนไซม์พอลิฟีนอลออกซิเดสในมะเขือบางชนิด ระยะเวลา 2 ปี (1 มิ.ย. 2548-31 พ.ค. 2550)
3. อาจารย์ ดร. ประสงค์ ศิริวงศ์วิไลชาติ ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
ชื่อโครงการ การพัฒนาสารสกัดจากเปลือกมังคุดเพื่อใช้ในการยืดอายุผลิตภัณฑ์อาหาร
ระยะเวลา 2 ปี (15 มิ.ย. 2548-14 มิ.ย. 2550)
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรชัย ราชตนะพันธุ์ ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุ คณะอุตสาหกรรม
เกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อโครงการ การสังเคราะห์คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากเปลือกไมยราบยักษ์ ระยะเวลา 2 ปี (15 พ.ค. 2551-14 พ.ค. 2553)
5. อาจารย์ ดร. พนิดา รัตนปิติกรณ์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อโครงการ สารสกัดจากใบเตยหอมชนิดผงที่ผ่านการห่อหุ้มด้วยแคปซูลชนิดอิมัลชัน
ระยะเวลา 2 ปี (15 พ.ค. 2551-14 พ.ค. 2553)

งานวิจัยและผลงานตีพิมพ์


ผลงานทางวิชาการ
- มีบทความทางวิชาการและผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร โภชนศาสตร์ และวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวพืชสวน ที่เผยแพร่มากกว่า 100 เรื่อง
- เรียบเรียงหนังสือและตำรา 17 เล่ม ได้แก่ การปฏิบัติภายหลังการตัดดอกไม้ วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้เศรษฐกิจ การปฏิบัติภายหลังการเก็บเกี่ยวดอกไม้ โภชนศาสตร์เบื้องต้น คอลลอยด์ เคมีนมและผลิตภัณฑ์นม สารพิษในอาหาร คำศัพท์ทางโภชนาศาสตร์ การปฏิบัติภายหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้ วิทยาศาสตร์การอาหารของไขมันและน้ำมัน เคมีอาหาร หลักการแปรรูปอาหารเบื้องต้น น่ารู้เรื่องไวน์ การแปรรูปลิ้นจี่ คำศัพท์วิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ หลักการวิเคราะห์อาหาร และหลักโภชนศาสตร์

ประวัติการทำงานวิจัย (2550-2556)
1. เป็นผู้ร่วมโครงการวิจัยเรื่อง การปรับปรุงคุณภาพและการยืดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้แกะสลัก (ทุนวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2556)
2. เป็นผู้ร่วมโครงการวิจัยเรื่อง การศึกษาต้นทุนและอุปสรรคการขนส่งผลไม้ไทยผ่านเส้นทาง R3A สู่ตลาดประเทศจีน (ทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร, สวก. พ.ศ. 2555-56)
3. เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง การปรับปรุงคุณภาพเนื้อสตรอเบอรีแช่เยือกแข็งเพื่อส่งโรงงานทำโยเกิร์ต (ทุนวิจัยสกว. ระดับปริญญาโท 2554- 2555)
4. เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่องการเพิ่มมูลค่าเนื้อลำไยสดและเนื้อลำไยอบแห้งเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ (ทุนวิจัย สกว. ปี พ.ศ. 2553-54)
5. เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง การเปลี่ยนแปลงคุณภาพของเนื้อมะม่วงสุกและเนื้อลิ้นจี่ภายหลังการแช่เยือกแข็งด้วยวิธีไครโอจีนิกและระหว่างการเก็บรักษา (ทุนวิจัยสกว. ระดับปริญญาโท 2550-2551)
6. เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่องกระบวนการแปรรูปและการเก็บรักษามะม่วง ลิ้นจี่ และลำไยสดพร้อมบริโภค (ทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติงบประมาณประจำปี 2550-51)
7. เป็นผู้ร่วมวิจัยโครงการวิจัยเรื่องผลสารเคลือบผิวต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง (ทุนวิจัย สกว. ปี พ.ศ. 2549-2550)
8. เป็นผู้ร่วมวิจัยโครงการวิจัยเรื่องกระบวนการทำอาหารเหลวสำเร็จรูปสำหรับผู้สูงอายุ (ทุนวิจัยจากงบประมาณประจำปี 2549-2550)

รางวัล


การได้รับรางวัล
- ได้รับการคัดเลือกให้เป็นอาจารย์ดีเด่นของสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2548 กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ได้รับการเสนอชื่อจากสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้ได้รับการพิจารณาเป็นอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติปี พ.ศ. 2548
- ได้รับการคัดเลือกจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร ให้เป็นอาจารย์ดีเด่นของคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2553
- ได้รับการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เป็นอาจารย์ดีเด่น ได้รับรางวัลช้างทองคำปี พ.ศ. 2553

สมัครสมาชิก