คอเลสเตอรอล (cholesterol) จัดเป็นลิพิด (lipid) ชนิดหนึ่งในกลุ่มสเตอรอล มีบทบาทสำคัญคือเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) ของสัตว์ และเป็นสารเริ่มต้นในการสังเคราะห์สเตอรอยด์ฮอร์โมนที่เป็นฮอร์โมนเพศทั้งเพศชายและเพศหญิง สังเคราะห์กรดน้ำดี เกลือน้ำดี (bile salt) และวิตามินดี และพบได้ปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดมีที่มาจาก 2 แหล่งคือ
ไขมันนม และเนื้อเยื่อสมอง อาหารที่มาจากพืชไม่มีคอเลสเตอรอล ดังนั้นการบริโภคผักและผลไม้เป็นประจำทุกวันจะช่วยลดคอเลสเตอรอลได้
ปริมาณคอเลสเตอรอลที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันประมาณ 600 มิลลิกรัม หัวใจทำงานหนัก หากบริโภคอาหารที่มีคอเลสเตอรอลมากเกินไป หรือมีปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดสูงจะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคไขมันเกาะที่ผนังหลอดเลือด (atheroscherosis) ซึ่งเป็นเหตุให้เส้นเลือดตีบ และเกิดโรคต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (coronary heart disease)
เนื่องจากคอเลสเตอรอลเป็นลิพิด จึงไม่ละลายในน้ำ จึงถูกขนย้ายในกระแสเลือดในรูปของลิโพโปรตีน (lipoprotein) ซึ่งมีหน้าที่พาคอเลสเตอรอลไปในกระแสเลือดเลือด มีอยู่สองรูปแบบ คือ
การบริโภคอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพดี เช่น ไข่ขาว และเนื้อปลา โดยเฉพาะปลาทะเลซึ่งนอกจากจะได้รับโปรตีนที่มีคุณภาพดีแล้ว ร่างกายยังได้รับน้ำมันปลาร่วมด้วย จะช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์ HDLs ได้ดี