น้ำมันถั่วลิงสง (peanut oil) คือน้ำมันพืช (vegetable oil) ที่สกัด (extraction) โดยใช้เมล็ดถั่วลิสง (peanut) เป็นวัตถุดิบ
ถั่วลิสง เป็นถั่วเมล็ดแห้ง (legume) จัดเป็นพืชน้ำมัน (oil crop) ถั่วลิสงมีน้ำมัน ประมาณร้อยละ 47-50 น้ำมันถั่วลิสงมีกลิ่น
เฉพาะตัว กรดไขมัน (fatty acid) เด่นในน้ำมันถั่วลิสง คือ oleic acid และ linoleic acid และมีกรดอะราชิดิก (arachidic acid)
อยู่สูงกว่า ร้อยละ 1 ในขณะที่น้ำมันอื่นๆ มีกรดไขมันชนิดนี้อยู่น้อยมาก
|
ttp://www.ricebranoil.info/why/index.htm
การผลิตน้ำมันถั่วลิสง
การผลิตน้ำมันถั่วลิสง ให้ทำได้เพียงสองวิธี คือ
คุณภาพน้ำมันถั่วลิสง
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 23 (พ.ศ.2522) น้ำมันถั่วลิสงเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ
น้ำมันถั่วลิสงที่ผลิตเพื่อจำหน่าย นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือที่จำหน่าย เพื่อใช้รับประทาน หรือใช้ปรุงแต่งในอาหาร ต้องมีคุณภาพ
หรือมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(1) มีค่าของกรด (acid value) คิดเป็นมิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ต่อน้ำมัน 1 กรัม (ก) ได้ไม่เกิน 4.0 สำหรับน้ำมันถั่วลิสง
ที่ทำโดยวิธีธรรมชาติ (ข) ได้ไม่เกิน 0.6 สำหรับน้ำมันถั่วลิสงที่ทำโดยวิธีผ่านกรรมวิธี
(2) มีค่าเพอร์ออกไซด์ (peroxide value) คิดเป็นมิลลิกรัมสมมูลต่อน้ำมัน 1 กิโลกรัม ได้ไม่เกิน 10
(3) มีค่าสปอนนิฟิเคชัน (saponification number) คิดเป็นมิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม ได้ 187 ถึง 196
(4) มีค่าไอโอดีนแบบวิจน์ (iodine value, ใช้วิธี Wijs) ได้ 80 ถึง 106
(5) มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ (relative density) ที่ 30/30 องศาเซลเซียส ได้ 0.909 ถึง 0.913
(6) มีดัชนีหักเห (refractive index) ที่ 40 องศาเซลเซียส ได้ 1.460 ถึง 1.465
(7) มีน้ำและสิ่งที่ระเหยได้ (water and volatile matter) ที่อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส ได้ไม่เกินร้อยละ 0.2 ของน้ำหนัก
(8) มีปริมาณสบู่ (soap content) ได้ไม่เกินร้อยละ 0.005 ของน้ำหนัก
(9) มีสารสปอนนิฟายไม่ได้ (unsaponifiable matter) ได้ไม่เกินร้อยละ 1 ของน้ำหนัก
(10) มีสิ่งอื่นที่ไม่ละลาย (insoluble impurities) ได้ไม่เกินร้อยละ 0.05 ของน้ำหนัก
(11) มีกลิ่นและรสตามลักษณะเฉพาะของน้ำมันถั่วลิสง
(12) ไม่มีกลิ่นหืน (rancidity)