งา (sesame) เป็นพืชล้มลุกอยู่ในวงศ์ (Family) Pedaliaceae มีชือวิทยาศาสตร์ว่า Sesamum indicum L. เป็นพืชน้ำมัน (oil crop) ส่วนที่นำมาใช้เป็นอาหารคือ เมล็ดงานำไปใช้สกัดเป็นน้ำมันงา (sesame oil) และนำไปใช้ปรุงอาหาร และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ เช่น
ลักษณะทั่วไป
เมล็ดงา อยู่ในฝักซึ่งพัฒนามาจากดอกที่ได้รับการผสมเกสร และฝักแก่ภายใน25 -35 วัน ฝักงามีลักษณะ กลม ปลายแหลมยาว 5-7 เซนติเมตร กว้าง
1-2 เซนติเมตร ฝักแบ่งออกเป็น 2 หรือ4 พู แต่ละพูมี 1-2 กลีก เมื่อฝักแก่จัดและแห้ง ฝักจะแตกอ้าออกตรงรอยต่อของพู เมล็ดติดอยู่กับผนังด้านในของเปลือกฝัก เมล็ดงามีขนาดเล็ก ค่อนข้างกลม รูปไข่ น้ำหนักต่อ1,000 เมล็ดประมาณ 2-4 กรัม เปลือกหุ้มเมล็ดมีทั้งสีขาวสีเหลือง สีน้ำตาล สีเทา หรือสีดำ
แหล่งปลูก
งาเจริญเติบโตได้ดีในเขตที่มีอากาศร้อนและค่อนข้างแห้งแล้ง พันธุ์งาที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ คือ พันธุ์ร้อยเอ็ด 1 และพันธุ์มหาสารคาม 60 งาปลูกมากที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
ฝักงาแก่ไม่พร้อมกัน ฝักที่แก่ก่อนจะแตกอ้าออกทำให้เมล็ดร่วงหล่นเสียหาย ดังนั้น การเก็บเกี่ยวจึงต้องพิจารณาช่วงที่มีจำนวนฝักที่แก่มากที่สุด ถ้าเก็บเกี่ยวเร็วเกินไป ฝักที่ยังไม่แก่จะมีเมล็ดไม่สมบูรณ์ ทำให้ได้ผลผลิตน้อยและมีคุณภาพต่ำแต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานเกินไปฝักจะแตกออกทำให้เมล็ดร่วงเสียหาย โดยทั่วไปงามีอายุ85-120 วัน การเก็บเกี่ยวทำได้โดยตัดต้นงามากองสุมไว้ ตากแดด (sun drying) หรือทำแห้ง (dehydration) เพื่อลดความชื้นของเมล็ดให้แห้งสนิท แล้วจึงเก็บรักษาไว้เพื่อรอจำหน่าย
การใช้ประโยชน์
เมล็ดงา นำไปสกัดเป็นน้ำมันงา (sesame oil) และนำไปใช้ปรุงอาหาร และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ
ส่วนประกอบของเมล็ดงา
ส่วนประกอบหลักของเม็ลด งาคือ น้ำมันมีอยู่ประมาณร้อยละ 45-57 มีโปรตีนประมาณร้อยละ 16-33 และคาร์โบไฮเดรต ประมาณร้อยละ 18-20 น้ำมันจากเมล็ดงาเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพดี คือ ประกอบด้วยกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) ได้แก่ กรดโอเลอิก (oleic acid) และกรดลิโนเลอิก (linoleic acid) ซึ่งกรดลิโนเลอิกเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย (essential fatty acid) นอกจากนั้นยังมี แร่ธาตุ เช่น แมกนีเซียม ทองแดง สังกะสี ลิกแนน เหล็ก ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม และมีวิตามินต่างๆ โดยเฉพาะวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน คือวิตามินอี (vitamin E)
เมล็ดงา ยังมีสารสำคัญ 2 ชนิด คือ เซซามิน (Sesamin) อาจพบในพืชอื่นด้วย และ เซซาโมลิน (Sesamolin) ซึ่งมีในงาเท่านั้น มีคุณสมบัติเป็นสารต้านการเกิดออกซิเดชัน (antioxidant) ป้องกันการเกิดออกซิเดชันของลิพิด (lipid oxidation) ได้ดี ทำให้น้ำมันงาสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานและไม่มีกลิ่นหืน นอกจากนี้ในเมล็ดงายังมีออกซาเลตสูงด้วย
คุณค่าทางโภชนาการของส่วนที่บริโภคได้ของเมล็ดงาแห้ง 100 กรัม
(Seeds, sesame seeds, whole, driedNDB No:12023)
Nutrient | Units | Value per100 grams | Numberof DataPoints | Std.Error |
---|---|---|---|---|
Proximates | ||||
Water (moisture content) | g | 4.69 | 65 | 0.180 |
Energy | kcal | 573 | 0 | 0.000 |
Energy | kJ | 2397 | 0 | 0.000 |
Protein | g | 17.73 | 61 | 0.256 |
Total lipid | g | 49.67 | 58 | 0.501 |
Ash | g | 4.45 | 59 | 0.152 |
Carbohydrate, by difference | g | 23.45 | 0 | 0.000 |
Fiber, total dietary | g | 11.8 | 0 | 0.000 |
Sugars, total | g | 0.30 | 3 | 0.006 |
Minerals | ||||
Calcium, Ca | mg | 975 | 21 | 102.528 |
Iron, Fe | mg | 14.55 | 16 | 1.587 |
Magnesium, Mg | mg | 351 | 3 | 23.961 |
Phosphorus, P | mg | 629 | 20 | 23.830 |
Potassium, K | mg | 468 | 4 | 34.612 |
Sodium, Na | mg | 11 | 3 | 6.384 |
Zinc, Zn | mg | 7.75 | 4 | 0.536 |
Copper, Cu | mg | 4.082 | 4 | 1.277 |
Manganese, Mn | mg | 2.460 | 3 | 0.723 |
Selenium, Se | mcg | 34.4 | 16 | 6.162 |
Vitamins | ||||
Vitamin C, total ascorbic acid | mg | 0.0 | 4 | 0.000 |
Thiamin | mg | 0.791 | 8 | 0.084 |
Riboflavin | mg | 0.247 | 10 | 0.034 |
Niacin | mg | 4.515 | 10 | 0.227 |
Pantothenic acid | mg | 0.050 | 1 | 0.000 |
Vitamin B-6 | mg | 0.790 | 1 | 0.000 |
Folate, total | mcg | 97 | 0 | 0.000 |
Folic acid | mcg | 0 | 0 | 0.000 |
Folate, food | mcg | 97 | 0 | 0.000 |
Folate, DFE | mcg_DFE | 97 | 0 | 0.000 |
Choline, total | mg | 25.6 | 0 | 0.000 |
Vitamin B-12 | mcg | 0.00 | 0 | 0.000 |
Vitamin B-12, added | mcg | 0.00 | 0 | 0.000 |
Carotene, beta | mcg | 5 | 0 | 0.000 |
Carotene, alpha | mcg | 0 | 0 | 0.000 |
Cryptoxanthin, beta | mcg | 0 | 0 | 0.000 |
Vitamin A, IU | IU | 9 | 8 | 6.094 |
Lycopene | mcg | 0 | 0 | 0.000 |
Lutein + zeaxanthin | mcg | 0 | 0 | 0.000 |
Vitamin E (alpha-tocopherol) | mg | 0.25 | 0 | 0.000 |
Vitamin E, added | mg | 0.00 | 0 | 0.000 |
Vitamin D (D2 + D3) | mcg | 0.0 | 0 | 0.000 |
Vitamin D | IU | 0 | 0 | 0.000 |
Vitamin K (phylloquinone) | mcg | 0.0 | 0 | 0.000 |
Lipids | ||||
Fatty acids, total saturated | g | 6.957 | 0 | 0.000 |
14:0 | g | 0.124 | 1 | 0.000 |
16:0 | g | 4.441 | 761 | 0.000 |
18:0 | g | 2.090 | 761 | 0.000 |
Fatty acids, total monounsaturated fatty acid | g | 18.759 | 0 | 0.000 |
16:1 undifferentiated | g | 0.149 | 17 | 0.000 |
18:1 undifferentiated | g | 18.521 | 761 | 0.000 |
20:1 | g | 0.070 | 9 | 0.000 |
22:1 undifferentiated | g | 0.000 | 0 | 0.000 |
Fatty acids, total polyunsaturated fatty acid | g | 21.773 | 0 | 0.000 |
18:2 (linoleic acid) undifferentiated | g | 21.375 | 761 | 0.000 |
18:3 undifferentiated | g | 0.376 | 25 | 0.000 |
18:4 | g | 0.000 | 0 | 0.000 |
20:4 undifferentiated | g | 0.000 | 0 | 0.000 |
20:5 n-3 (EPA) | g | 0.000 | 0 | 0.000 |
22:5 n-3 (DPA) | g | 0.000 | 0 | 0.000 |
22:6 n-3 (DHA) | g | 0.000 | 0 | 0.000 |
Cholesterol | mg | 0 | 0 | 0.000 |
Phytosterols | mg | 714 | 0 | 0.000 |
Amino acids | ||||
Tryptophan | g | 0.388 | 13 | 0.000 |
Threonine | g | 0.736 | 19 | 0.000 |
Isoleucine | g | 0.763 | 19 | 0.000 |
Leucine | g | 1.358 | 19 | 0.000 |
Lysine | g | 0.569 | 19 | 0.000 |
Methionine | g | 0.586 | 19 | 0.000 |
Cystine | g | 0.358 | 10 | 0.000 |
Phenylalanine | g | 0.940 | 19 | 0.000 |
Tyrosine | g | 0.743 | 14 | 0.000 |
Valine | g | 0.990 | 19 | 0.000 |
Arginine | g | 2.630 | 18 | 0.000 |
Histidine | g | 0.522 | 18 | 0.000 |
Alanine | g | 0.927 | 13 | 0.000 |
Aspartic acid | g | 1.646 | 13 | 0.000 |
Glutamic acid | g | 3.955 | 13 | 0.000 |
Glycine | g | 1.215 | 13 | 0.000 |
Proline | g | 0.810 | 13 | 0.000 |
Serine | g | 0.967 | 13 | 0.000 |
USDA National Nutrient Database for Standard Reference, Release 23 (2010)
Reference
http://www.nal.usda.gov/fnic/foodcomp/search/
http://www.rspg.or.th/plants_data/use/oil-2.htm