ไซคลาเมต (cyclamate) คือเกลือของกรดไซคลามิก (cyclamic acid) เป็นสารให้ความหวาน (sweetener) มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่นรสหวานอมเปรี้ยวเพราะเป็นพวกกรด
ไซโคลเฮกเซนซัลโฟนิก (cyclohexane sulfonic) ไซคลาเมตที่ใช้ในอาหารมักอยู่ในรูปของเกลือโซเดียมหรือเกลือแคลเซียม สำหรับโซเดียมไซคลาเมต ทนความร้อน ละลายในน้ำได้ดี สามารถละลายได้ 1 กรัมในน้ำ 4 มิลลิลิตร หรือโพรพิลินไกลคอล 1.5 มิลลิลิตร และสามารถละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ (1 กรัมใน 60 มิลลิกรัม) แต่ทั้งโซเดียม และแคลเซียมไซคลาเมต ไม่ละลายในเบนซิน คลอโรฟอร์ม หรืออีเทอร์
การใช้ไซคลาเมตเพื่อเป็นสารให้ความหวานทดแนทน้ำตาล (sugar substitute) ได้เริ่มตั้งแต่สมัยต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาของสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 เนื่องจากภาวการณ์ขาดแคลนน้ำตาลทราย (sucrose)
ไซคลาเมต ให้ความหวานสัมพัทธ์ (relative sweetness) สูงกว่าน้ำตาลทราย (sucrose) 30-60 เท่า และไม่ให้พลังงาน ไซคลาเมตนิยมใช้ในอาหารประเภทต่างๆ เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ การใช้ที่ระดับความเข้มข้นสูงจะให้ความรู้สึกทางปาก (mouthfeel) และมีผลค้างอยู่ในปากภายหลังการชิม (after taste) ซึ่งการใช้ไซคลาเมตร่วมกับแซคคารีน (saccharin) เช่น การใช้ไซคลาเมต 10 ส่วน ผลมกับแซคคารีน 1 ส่วน จะช่วยลดปัญาดังกล่าว
สถานะการใช้ในอาหาร
ความนิยมในการใช้ไซคลาเมต เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล เริ่มลดลงในราว พ.ศ.2500 เมื่อมีการศึกษาวิจัยพบว่า การบริโภคไซคลาเมตอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะได้ จากผลการวิจัยพบว่าไซคลาเมตอาจถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียในลำไส้ได้เป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง ซึ่งจะตรวจพบได้ในปัสสาวะหลังจากการบริโภคไซคลาเมต
ตาม พระราชบัญญัตอาหาร พศ 2522 ประเทศไทย กำหนดให้โซเดียมไซคลาเมต และอาหารที่มีส่วนผสมของโซเดียมไซคลาเมต เป็นอาหารควบคุมเฉพาะ
องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้ประกาศห้ามใช้สารนี้เพื่อการบริโภค และต่อมาประเทศอังกฤษก็ได้ประกาศห้ามใช้สารนี้เช่นกัน อย่างไรก็ตามยังมีนักวิชาการอีกจำนวนหนึ่งซึ่งยังไม่รับรองผลการวิจัยดังกล่าว ไซคลาเมตจึงยังมีที่ใช้อยู่ในประเทศต่างๆ บางประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้นถือว่าไซคลาเมตเป็นสารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือ จำหน่าย
ตาม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 154 (พ.ศ.2537) เป็นอันตรายในอาหาร (food hazard) ประเภทอันตรายทางเคมี (chemical hazard) มีการยกเว้นโซเดียมไซคลาเมต ให้สามารถใช้ได้ในผลิตภัณฑ์สับปะรดกระป๋อง เนื่องจากเป็นคำสั่งซื้อจากลูกค้าต่างประเทศ จึงอนุญาติให้ใช้ได้แต่ให้ใช้เฉพาะผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกเท่านั้น
Reference