มันสำปะหลัง เป็นพืชหัว (tuber crop)
ประเภทของมันสำปะหลัง
มันสำปะหลังที่ปลูกในแหล่งปลูกทั่วโลกและในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. ชนิดหวาน (sweet type) เป็นมันสำปะหลังที่มีปริมาณสารไซยาไนด์ต่ำ ไม่มีรสขม ใช้เพื่อการบริโภคของมนุษย์ มีทั้งชนิดเนื้อร่วนนุ่มและชนิดเนื้อเหนียวแน่น ไม่มีการปลูกเป็นพื้นที่ใหญ่ๆ เนื่องจากมีตลาดจำกัด ในประเทศไทยมี 3 พันธุ์ ได้แก่ มันสวน มันห้านาที หรือก้านแดง และระยอง 2 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรปรับปรุงขึ้น
2. ชนิดขม (bitter type) เป็นมันสำปะหลังที่มีปริมาณสารไซยาไนด์สูง เป็นพิษและมีรสขม ไม่เหมาะสำหรับการบริโภคของมนุษย์หรือใช้หัวมันสดเลี้ยงสัตว์โดยตรง แต่เนื่องจากมีปริมาณแป้งสูง จึงนิยมใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปต่างๆ เช่น แป้งมัน มันเส้นมันอัดเม็ด และแอลกอฮอล์ นอกจากนี้การแปรรูปเป็นอาหารโดยใช้ความร้อน เช่น ตากแดด เผา และต้ม จะทำให้สารไซยาไนด์แตกตัวหมดไป สามารถทำให้รสขมลดลงหรือหมดไปด้วย พันธุ์มันสำปะหลังชนิดขม ได้แก่ ระยอง 1 ระยอง 2 ระยอง 3 ระยอง 5 ระยอง 60 ระยอง 72 ระยอง 90 เกษตรศาสตร์ 50 ศรีราชา 1 และห้วยบง 60
ส่วนประกอบของมันสำปะหลัง
หัวมันสำปะหลังสด มีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ส่วนประกอบสำคัญในหัวมันสำปะหลัง คือสตาร์ซ (starch) ซึ่งมีถึง 70-80% โดยน้ำหนักแห้ง มันสำปะหลังจึงเป็นพืชที่เป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานกับคนและสัตว์ได้ดี
การแปรรูปผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
1. ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ โดยการแปรรูปหัวมันสำปะหลังสดให้เป็น
2. แป้งมันสำปะหลัง แป้งมันสำปะหลัง (tapioca starch) ประเภทแป้งดิบ (native starch) ซึ่งสามารถนำไปใช้บริโภคโดยตรงหรือเป็นวัตถุดิบเพื่อแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องเพื่อเพิ่มมูล ได้แก่
อัตราการแปรรูปหัวมันสำปะหลังสด 1 กก. จะได้
มันสำปะหลังเส้น 0.40 กก.
มันสำปะหลังอัดเม็ด 0.37 กก.
แป้งมันสำปะหลัง 0.20 กก.
กากมัน 0.40-0.9 กก.
สารพิษในมันสำปะหลัง
ในมันสำปะหลังดิบมีสารไซยาไนด์ (cyanide) ซึ่งเป็นสารพิษทีพบตามธรรมชาติ หากกินมันสำปะหลังดิบอาจตายได้
Reference
http://www.natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/510-211/lecturenote/document/cassava.pdf