ไอโซฟลาโวน (isoflavone) คือ กลุ่มของสารประเภท ฟลาโวนอยด์ (flavonoid) ซึ่งเป็นสารรงควัตถุไม่จัดเป็นสารอาหารเพราะไม่ให้พลังงาน และไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายพบตามธรรมชาติในอาหารเช่น ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ เต้าเจี้ยวถั่วเน่า น้ำเต้าหู้ นอกจากนี้ยังพบในถั่วเมล็ดแห้ง (legume) ชนิดอื่น เช่น ถั่วเขียว ถั่วลันเตา
ตารางแสดงปริมาณสารที่ได้จาก Isoflavones ในแหล่งอาหารต่าง ๆ
ชนิดอาหาร | Daidzein (mg/100g.) | Genistein (mg/100g.) | Glycetein (mg/100g.) | Total (mg/100g.) |
Roasted soybeans | 56.3 | 86.9 | 19.3 | 162.5 |
47.3 | 70.7 | 20.2 | 138.2 | |
54.6 | 72.9 | 7.9 | 135.4 | |
Soyflour | 22.6 | 81.0 | 8.8 | 112.4 |
เทมเป้ (Tempeh) | 27.3 | 32.0 | 3.2 | 62.5 |
เต้าหู้ (Tofu) | 14.6 | 16.2 | 2.9 | 33.7 |
Tofu yogurt | 5.7 | 9.4 | 1.2 | 16.4 |
Soy hot dog | 3.4 | 8.2 | 3.4 | 15.0 |
Soy noodle (dry) | 0.9 | 3.7 | 3.9 | 8.5 |
ที่มา : http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=210&Itemid=242
สารโอโซฟวาโวนที่พบใน ถั่วเหลืองคือ เดดซีน (daidzein) และ จีนิสทีน (genistein) เป็นสารพฤกษเคมี (phytochemicals) ที่มีสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพ เป็นสารโภชนเภสัช มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) และเป็น ไฟโตอิสโทรเจน (phytoestrogen) ซึ่งทำงานคล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิง (Estrogen, 17b-estradiol E2 Isoflavones) เนื่องจากมีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกัน ทำให้ไดแอดเซอินสามารถจับกับโปรตีนตัวรับของเอสโตรเจน (estrogen receptor) ในร่างกายได้ สามารถใช้สารนี้ลดปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับอาการ หลังการหมดประจำเดือน (menopausal symptoms) หรืออาจมีผลป้องกันหรือปรับเปลี่ยนภาวะความผิดปกติของร่างกายหรือการเกิดโรคต่างๆ เช่น มะเร็งบางชนิด โรคหัวใจและหลอดเลือด
Reference