สารต้านออกซิเดชัน (antioxidant) หรืออาจเรียกว่า สารกำจัดอนุมูลอิสระ คือสารที่สามารถยับยั้ง หรือชะลอการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดอนุมูลอิสระ (free radical) เช่น การเกิดออกซิเดชันของลิพิด (lipid oxidation)
สารต้านออกซิเดชัน สามารถแบ่งตามกลไกการยับยั้งได้เป็น 3 ชนิด คือ
1. Preventive antioxidant ป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ
2. Scavenging antioxidant ทำลายหรือยับยั้งอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น
3. Chain breaking antioxidant ทำให้ลูกโซ่ของการเกิดอนุมูลอิสระสิ้นสุดลง
สารต้านออกซิเดชันที่ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive)
1. สารต้านออกซิเดชันธรรมชาติ ได้แก่ สารเคมีจากพืช เช่น ผัก ผลไม้ เครื่องเทศ สมุนไพร ชา
2. สารต้านออกซิเดชันสังเคราะห์ เช่น
ชนิดของพืช |
ชนิดของสารต้านออกซิเดชัน |
อีพิแกลโลแคทีชินแกลเลต อีพิแกลโลแคทีชิน และ อิพิแคทีชินแกลเลต |
|
วานิลลา |
วานิลลิน |
ขิง |
จินเจอรอล (gingerol) |
พริก |
แคปไซซิน (capsaicin) |
เซซามอล เซซามอลไดเมอร์ เซซาโมลินอล และเซซามินอล |
|
ผักและผลไม้ที่มีสีเหลือง สีแดง หรือสีเข้ม บางชนิด |
|
เจเนสทีน ไอโซฟลาโวน (isoflavone) |
|
ผักและผลไม้ที่มีสีม่วงและสีแดงบางชนิด เช่น องุ่น มะเขือม่วง ลูกหว้า หนามแดง |
แอนโทไซยานิน |
โรสแมรี่ |
คาร์โนซอล กรดโรสมารินิก กรดคาร์โนซิกและโรสมาริดิฟีนอล |
ขมิ้น |
เททระไฮโดรเคอร์คูมิน |
พริกไทยดำ |
กรดเฟรูลิก |
ผลไม้ |
วิตามินซี |
ชา |
เอสเทอร์ของกรดแกลลิก |