Food Wiki

ค้นหา 6,332 คำศัพท์

แบคทีเรีย / bacteria

 

แบคทีเรีย (bacteria)

แบคทีเรีย คือ จุลินทรีย์ที่เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ที่เป็นเซลล์แบบโปรแคริโอต (prokariotic cell) พบทั่วไปในธรรมชาติ ดิน น้ำ อากาศ แบคทีเรียมีบทบาทสำคัญต่ออาหาร และการผลิตอาหาร เพราะแบคทีเรียเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อาหารเน่าเสีย (microbial spoilage) และทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ (food poisoning)    ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ดังนั้น การถนอมอาหาร (food preservation) ทุกวิธีเป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อทำลาย หรือควบคุมสภาวะแวดล้อม เพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรีย

ถึงแม้มีโทษกับอาหาร แต่แบคทีเรียบางชนิด เช่น lactic acid bacteria นำมาใช้ประโยชน์อย่างมากในการหมักอาหาร (fermentation) และการบำบัดของเสีย เช่น การกำจัดน้ำเสีย (waste water treatment)

ขนาดและรูปร่างของแบคทีเรีย

แบคทีเรียมีขนาด 0.5-10 ไมครอน (micron) มีรูปร่างต่างๆกัน

 

แบคทีเรีย

ที่มา http://www.ibri.org/RRs/RR051/51Fitplace.html

แบคทีเรียมีรูปร่างหลายแบบ ดังนี้

  • บาซิลลัส (bacillus) มีรูปร่าง เป็นท่อน หรือเป็นแท่งเช่น Bacillus, Clostridium, Pseudomonas , Salmonella
    • สเตรปโทบาซิลลัส (Streptobacillus) เมื่อแบ่งเซลล์แล้วเรียงตัวต่อเป็นสายยาว
    • ท่อนโค้ง (curverod) เช่น Vibrio
  • ทรงกลมหรือค็อกคัส (cocus) เช่น
    • ไมโครค็อกคัส (Micrococcus) เป็นแบคทีเรีย เซลล์เดี่ยวขนาดเล็ก
    • ดิโพค็อกคัส (Diplococcus) เมื่อแบ่งเซลล์แล้วติดกันเป็นคู่
    • สเตรปโทค็อกคัส (Streptococcus) แบ่งตัว เรียงตัวเป็นสายยาว เหมือนโซ่
    • สเตรฟิโลค็อกคัส (Staphylococcus) เป็นลักษณะของ เซลทรงกลมแบ่งตัวหลายระนาบอยู่ติดกันเป็นกลุ่มคล้ายพวงองุ่น เช่น Staphylococcus aureus
  • สไปโรคีท (Spirochete) รูปร่างบิดเป็นเกลียว ผนังเซลล์ยืดหยุ่นได้ เช่น Campylobacter jejuni

การเพิ่มจำนวนของแบคทีเรีย

แบคทีเรียขยายพันธุ์โดยการแบ่งตัวแบบทวิภาค (binary fission) คือแบ่งจากหนึ่งเป็นสองเซลเท่าๆกัน ระยะเวลแบ่งเซลเรียกว่า generation time ซึ่งแบคทีเรียแต่ละชนิดจะใช้เวลาไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับชนิดของแบคทีเรียและ สภาพแวดล้อ

 

วิดีโอแสดงการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรีย

โครงสร้างของแบคทีเรีย

แบคทีเรีย

แบคทีเรียทุกชนิดมีโครงสร้างที่เป็นองค์ประกอบเซลล์ ได้แก่

  • ผนังเซลล์ (cell wall)
  • เซลล์เมมเบรน (cell membrane)

  • ไซโทพลาสซึม (cytoplasm)

  • โครโมโซมเดี่ยว (single chromosome)

  • ไรโบโซม (ribosomes)

ในแบคทีเรียบางชนิดจะมี

  • แคปซูล (capsules)
  • ไกโคแคลิกซ์ (glycocalyx)
  • พิลไล (pili) หรือฟิมเบรีย (fimbriae)
  • มีโซโซม (mesosome)
  • แฟลกเจลลา (flagella)

  • อินคลูชันแกรนูล (inclusion granule)

  • สปอร์ (bacterial spore)

แบคทีเรียที่มีบทบามสำคัญในอาหาร

Acinetobacter
Aeromonas
Alcaligenes
Alteromonas
Bacillus
Brochothrix
Campylobacter
Carnobactererium
Citrobacter
Clostridium
Corynebacterium
Enterobacter
Enterococcus
Erwinia
Escherichia
Flavobacterium
Hafnia
Kocuria
Lactococcus
Lactobacillus
Leuconostoc
Listeria
Micrococcus
Moraxella
Paenibacillus
Pantoea
Pediococcus
Proteus
Pseudomonas
Psychrobacter
Salmonella
Serratia
Shewanella
Shigella
Staphylococcus
Vagococcus
Vibrio
Weissella
Yersenia

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญของแบคทีเรีย

สารอาหาร

  • แหล่งคาร์บอน (carbon source) แหล่งคาร์บอนอยู่ในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์และสารอินทรีย์ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต
  • แหล่งของอิเล็กตรอน (electron source) แบคทีเรียต้องการอิเล็กตรอนเพื่อใช้ในกระบวนการเมแทบอลิซึม พวกที่ใช้สารอนินทรีย์ เป็นแหล่งอิเล็กตรอนเรียก Lithotroph ส่วนพวกที่ใช้สารอินทรีย์เป็นแหล่งอิเล็กตรอน เรียก organotroph
  • แหล่งไนโตรเจน (nitrogen source) แหล่งของไนโตรเจนมีทั้งสารอินทรีย์และอนินทรีย์ แหล่งที่เป็นสารอินทรีย์ เช่น กรดอะมิโน เพปไทด์ โปรตีน แหล่งที่เป็นสารอนินทรีย์ เช่น เกลือไนไทรต์ ไนเทรต หรือ แอมโมเนียม
  • แหล่งของออกซิเจน ซัลเฟอร์ และฟอสฟอรัส ออกซิเจนได้มาจากหลายแหล่ง เช่น น้ำ และสารอาหาร แหล่งของซัลเฟอร์อาจอยู่ในรูปของสารอินทรีย์ หรือสารอนินทรีย์ ซัลเฟอร์มีความจำเป็น ในการสังเคราะห์กรดแอมิโนบางชนิดแหล่งของฟอสเฟตอาจอยู่ในรูปของฟอสเฟตที่เป็นองค์ประกอบของกรดนิวคลีอิก นิวคลีโอไทด์ ฟอสโฟลิพิด กรดไทโคอิก และสารอื่นๆ
  • ไอออนของโลหะหนัก ไอออนของโลหะหนักมีความจำเป็นต่อการเจริญตามปรกติของแบคทีเรีย เช่น K+, Mg 2+ , Ca2+, Fe2+ เป็นต้น ซึ่งบางชนิดอาจทำหน้าที่เป็น cofacter ที่สำคัญของเอนไซม์ต่างๆ
  • วิตามิน แบคทีเรียต้องการวิตามินในปริมาณน้อย แต่วิตามินมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการเจริญมาก โดยทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่างๆ

ความต้องการออกซิเจน

  • แบคทีเรียที่เจริญได้ในที่มีอากาศเท่านั้น (obligate aerobic bacteria หรือ obligate aerobe)

  • แบคทีเรียที่เจริญในที่ไม่มีอากาศเท่านั้น (obligate anaerobic bacteria หรือ strict anaerobe)

  • แบคทีเรียที่เจริญได้ทั้งที่มีและไม่มีอากาศ (facultative anaerobic bacteria หรือ facultative anaerobe)

  • แบคทีเรียที่เจริญได้ดีในที่มีอากาศเล็กน้อย (microaerophile)

แบคทีเรีย

อุณหภูมิ

  • แบคทีเรียที่ชอบอุณหภูมิสูง (thermophilic bacteria)
  • แบคทีเรียที่ชอบอุณหภูมิปานกลาง (mesophilic bacteria)
  • แบคทีเรียที่ชอบอุณหภูมิต่ำ (psychrophilic bacteria)
ปริมาณน้ำ (moisture content) และวอเตอร์แอคทิวิตี้ (water activity)
 

บทบาทของแบคทีเรียต่ออุตสาหกรรมอาหาร

1. เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อาหารเน่าเสีย (microbial spoilage)

 

กลุ่ม ชนิด

สร้างกรดแล็กทิก (Lactic acid bacteria)

Lactobacillus, Leuconostoc, Pediococcus,Streptococcus

สร้างกรดแอซีติก (Acetic acid bacteria) Acetobacter, Gluconobacter
สร้างกรดบิวทีริก (Butyric acid bacteria) Clostridium
ย่อยสลายโปรตีน (Proteolytic bacteria)

Bacillus, Pseudomonas, Clostridium, Proteus

ย่อยสลายลิพิด (Lipolytic bacteria) Pseudomonas, Alcaligenes, Serratia, Micrococcus, Bacillus, Clostridium
ย่อยสลายน้ำตาล (Sacccharolytic) Bacillus, Clostridium
ย่อยสลายเพกทิน (Pectolytic bacteria) Erwinia, Bacillus, Clostridium
ชอบอุณหภูมิสูง (Thermophilic bacteria) Bacillus, Clostridium, Lactobacillus thermophilus
ชอบอุณหภูมิต่ำPsychrophilic bacteria Pseudomonas, Flavobacterium, Alcaligenes, Micrococcus
ชอบเกลือ (Halophilic bacteria) HalobacteriumStreptococcus, Staphylococcus,Pediococcus,Micrococcus,Sarcina, , Pseudomonas
ทนแรงดันออสโมซิส (Osmophilic bacteria) Leuconostoc
สร้างรงควัตถุ (Pigment former) Flavobacterium, Serratia, Micrococcus
สร้างเมือก (Slime or rope former) Alcaligenes, Enterobactor, Streptococcus, Lactobacillus
สร้างแก๊ส (Gas former) Leuconostoc, Lactobacillus, proteus, Clostridium, Enterobactor

โคลิฟอร์ม (Coliform)

Eschericia coli (fecal coliform) , Enterobactor, Aerogenes

2. แบคทีเรียทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ (food poisoning) ได้แก่

3. ใช้ในการถนอมอาหาร (food preservation) โดยการหมัก (fermentation)

4. ใช้สกัดสารที่มีประโยชน์ เช่น เอนไซม์ (enzyme) แซนแทนกัม (xanthan gum)

5. ใช้การบำบัดน้ำเสีย (waste water treatment)

Reference

www.micro.vet.chula.ac.th/.../63--bacterial-culture-bacterial-culture-media

USFDA : Fish and Fisheries Products Hazards and Controls Guidance



(เข้าชม 56,507 ครั้ง)

สมัครสมาชิก