connect networks, collect information, compare solutions, and compile knowledge for your best solution สร้างเครือข่าย รวบรวมข้อมูล เปรียบเทียบโซลูชั่น เพื่อพิจารณา เลือกโซลูชั่นที่ดีที่สุด

Food Wiki

ค้นหา 6,332 คำศัพท์

Frying / การทอด

การทอด หมายถึง การทำอาหารให้สุกโดยใช้น้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ (fat) เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนความร้อน ปกติใช้
อุณหภูมิในช่วง
170-210 องศาเซลเซียส 

ประเภทของการทอด

  • การทอดโดยใช้น้ำมันน้อย (pan frying) เป็นการทอดโดยการใช้น้ำมันหรือไขมันปริมาณเล็กน้อย เพียงเพื่อไม่ให้อาหาร
    ติดภาชนะทอด กระทะที่ใช้ทอดเป็นกระทะก้นตื้น (skillet) ระหว่างการทอดอาจมีการกลับด้านเพื่อให้อาหารสุกทั่วถึง
    ให้เกิดกลิ่นรสที่ต้องการ เช่น การทอดเนื้อสัตว์ แฮมเบอเกอร์ ไข่ดาว เบคอน เป็นต้น

  • การทอดโดยใช้น้ำมันมากหรือน้ำมันท่วม (deep fat frying) เป็นการทอดที่ใช้น้ำมันปริมาณมาก โดยอาหารจมอยู่ภาชนะ
    ที่บรรจุน้ำมัน เกิดลักษณะผิวหน้าที่แห้ง กรอบ เป็นเปลือกสีน้ำตาล

 

 

 

 

 

 


 

ตัวอย่างของอาหารที่แปรรูปด้วยการทอด

ผลของการทอดต่อคุณภาพอาหาร

ระหว่างการทอด อาหารจะได้รับความร้อนโดยมีน้ำมันเป็นตัวกลางถ่ายเทความร้อน ความร้อนของน้ำมันที่อุณหภูมิสูงกว่า
170 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำภายในอาหารเดือด น้ำระเหยจากภายในออกสู่ภายนอก ทำให้ความชื้นของอาหารลดลง
และผิวหน้าแห้งกรอบ
การทอดมีผลต่ออาหารคือ

  • ทำให้อาหารสุก โดยทำให้คาร์โบไฮเดรต เช่น แป้งเกิด gelatinizationโปรตีนเกิดการสูญเสียสภาพธรรมชาติ
    (
    protein denaturation)
  • ทำลายจุลินทรีย์ที่จะทำให้อาหารเสื่อมเสีย (microbial spoilage) และจุลินทรีย์ก่อโรค (pathogen) รวมทั้ง
    เอนไซม์ในอาหาร
  • ลดความชื้น (water content) และค่าวอเตอร์แอคทิวิตี้ (water activity,aw ) ให้ต่ำลง
  • ทำให้เนื้อสัมผัสกรอบ ทั้งชิ้น หรือกรอบเฉพาะที่ผิวนอกของอาหาร

น้ำมันทอด

  • น้ำมันที่ใช้ทอดแบบน้ำมันท่วม ควรเป็นน้ำมันที่ทนความร้อนสูง และเสื่อมสลายตัวช้า คือมีจุดเกิดควัน (smoking point) ต่ำ
  • เป็นน้ำมันที่มีปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัว (saturated fatty acid) ต่ำ มีกรดไลโนเลอิก (linoleic acid) น้อยกว่าร้อยละ 2
    เช่น น้ำมันปาล์มโอเลอิน น้ำมันพืชที่ผ่านการไฮโดรจิเนชัน (hydrogenation) บางส่วน
  • ไม่ควรใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดคำฝอย และน้ำมันดอกทานตะวัน
    ในการทอดอาหาร เนื่องจากน้ำมันดังกล่าวไม่คงตัว และมีกรดลิโนเลอิก (linoleic acid) สูงถึงร้อยละ 6-7
  • จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 283) พ.ศ. 2547 โดยได้กำหนดให้น้ำมันที่ใช้ทอดหรือประกอบ
    อาหารเพื่อจำหน่าย ทั้งน้ำมันพืชและน้ำมันจากสัตว์ มีค่าสารโพลาร์ในน้ำมันได้ไม่เกิน 25% ของน้ำหนัก

ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพอาหารทอด

  • ชนิดและส่วนประกอบของอาหาร
  • ขนาดและรูปร่างของชิ้นอาหาร
  • ชนิดและคุณภาพของน้ำมันทอด
  • อุณหภูมิของน้ำมันทอด
  • ปริมาณน้ำมันที่ใช้ทอด ว่าเป็นประเภทน้ำมันน้อยหรือน้ำมันท่วม
  • การจัดการหลังการทอด ได้แก่ สะเด็ดน้ำมันหรือกำจัดน้ำมันส่วนเกินหลังการทอด
  • การทำให้เย็น

การเปลี่ยนแปลงของน้ำมันระหว่างการทอด

ระหว่างการทอด น้ำมันรับความร้อนอุณหภูมิสูงเป็นเวลานาน เกิดการสัมผัสกับออกซิเจน และน้ำที่ระเหยออกจากชิ้นอาหาร
ทำให้เกิดปฏิกริยาต่างๆเช่น

  • เกิดการไฮโดรไลซีส ทำให้ไตรกลิเซอไรด์ (triglyceride) แตกตัว เกิดเป็นกรดไขมันอิสระ (free fatty acid) ทำให้
    ค่าความเป็นกรด (acid value) ของน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น

 

เกิดสารประกอบที่ระเหยได้ เช่นสารคาร์บอนีล กรดไฮดรอกซี กรดคีโท และกรดอิพอกซี ทำให้อาหารมีกลิ่นผิดปกติและ
น้ำมันมีสีคล้ำ

  • การเกิดพอลิเมอไรเซชันของโมเลกุลน้ำมัน ในภาวะที่ไม่มีออกซิเจน จะทำให้เกิดสารประกอบที่มีวงแหวน (cyclic
    compounds ) อาจเป็นพิษต่อร่างกาย
  • คุณค่าทางโภชนาการลดลงเนื่องจากสูญเสียกรดไขมันโดยเฉพาะกรดไขมันที่จำเป็นแก่ร่างกาย (essential fatty acid)
    รวมทั้งวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน ได้แก่ vitamin A
     แคโรทีนอยด์ (carotenoid) และ vitamin E
  • เกิดเป็นพอลิเมอร์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง จะทำให้น้ำมันมีความหนืดเพิ่มขึ้น
  • น้ำมันสลายตัวได้เป็นอะโครลีน ( acrolein ) ทำให้เกิดควันนขึ้นบริเวณเหนือผิวหน้าน้ำมันขณะทอดควันทำให้ระคาย
    เคืองและแสบตา

  • อาหารทอดเกิดปฏิกิริยาลิพิดออกซิเดชัน (lipid oxidation) ได้ง่ายระหว่างการเก็บรักษา

Reference



(เข้าชม 10,975 ครั้ง)

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
สมัครสมาชิก