ความหนืด (viscosity) เป็นสมบัติทางรีโอโรยี (Rheological properties) ของของเหลว ที่บ่งบอกถึงความต้านทานการไหล เป็นสมบัติที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของอาหาร และการยอมรับของผู้บริโภค ในผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารเหลว เช่น
ความสำคัญของความหนืด
ผู้บริโภครับรู้ความหนืดของอาหารได้ทางประสาทสัมผัส ระหว่างการใช้ผลิตภัณฑ์ เช่น การเท การตัก ออกจากบรรจุภัณฑ์ การกวน การปาด การจิ้มการชุบทอด (battering) และระหว่างการรับประทาน อาหารที่มีความหนืดผิดปกติ เช่น ซอสที่เหลวเกินไป หรือแยกชั้น ทำให้ผู้บริโภคไม่ยอมที่จะลิ้มลองทั้งที่ซอสนั้นอาจมีรสชาติที่ดี ดังนั้นเพื่อให้อาหารมีความหนืดตามที่ผู้บริโภคต้องการ ผู้ผลิตอาหารจึงจำเป็นต้องเข้าใจปัจจัยที่มีผลต่อความหนืดของอาหาร และรักษาความหนืดของอาหารให้มีความสม่ำเสมอ
ความหนืดของอาหารยังเป็นตัวแปรสำคัญ ที่ใช้เพื่อการออกแบบกรรมวิธีการผลิต กำหนดชนิด และ ขนาดของเครื่องจักรและอุปกรณ์แปรรูปอาหาร เช่น
นิยามของความหนืด
ความหนืดของของไหล หมายถึง แรงต้านทานการไหลภายใน เมื่อถูกแรงมากระทำ แรงต้านเกิดขึ้นเนื่องจากการยึดเกาะกันระหว่างโมเลกุลภายในของเหลวนั้น
พิจารณาจากภาพ เมื่อให้ของไหลอยู่ระหว่างแผ่นเรียบ สองแผ่น วางในแนวขนานกัน โดยที่แผ่นล่างยังยึดนิ่งกับที่ เมื่อแรงมากระทำ (F) มากระทำกับแผ่นเรียบด้านบน จะเกิดแรงเฉือน (Shear force) กับของไหล
ของไหลเมื่อมีแรงฉือนมากระทำ จะเกิดการเคลื่อนในลักษณะเป็นชั้นเนื่องจากความเร็วที่แตกต่างกัน ชั้นของไหลที่อยู่ติดกับแผ่นเรียบด้านบน มีความเร็วสูงสุด (V) เท่ากับความเร็วของแผ่นเรียบ และความเร็วจะลดต่ำลงมาเรื่อยๆ จนถึง ชั้นที่อยู่ล่างสุดซึ่งติดกับแผ่นเรียบด้านล่าง ซึ่งไม่มีการเคลื่อนที่ (v =0 )
แรงเค้นเฉือน (Shear stress) คือค่าแรงต่อหน่วยพื้นที่ (F/A) ที่ทำให้แผ่นเรียบเคลื่อนที่
อัตราเฉือน (Shear rateหรือ velocity gradient ,dv/dx ) คืออัตราส่วนระหว่างความแตกต่างความเร็ว (dv) ของแผ่นเรียบ และ ระยะระหว่างแผ่นแผ่นเรียบ (dx)
ความหนืดของของไหล (viscosity หรือ coefficient of viscosity) ได้จาก ความชัน (slope) ของ กราฟความสัมพันธ์ ระหว่าง shear stress กับ shear rate
ของไหลที่มี อัตราเฉือน (shear rate) เป็นสัดส่วนโดยตรงกับ แรงเฉือน (shear stress) ความสัมพันธ์ระหว่าง shar stress กับ shear rate เป็นเส้นตรง เรียกของไหลประเภทนี้ว่า Newtonian fluidความหนืดของของไหลประเภทนี้ จะคงที่
หน่วยของความหนืด
1 Pa.s = 10 P
น้ำบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิ 20 C มีความหนืด เท่ากับ 1 milli Pascal-second
= 1 centipoise
การแบ่งชนิดของของเหลว
เครื่องวัดความหนืดของอาหารเหลว
เครื่องวัดความหนืดแบบวัดการแผ่กระจายและการไหล
เครื่องวัดความหนืดแบบหมุน (rotational viscometer)
เครื่องวัดความหนืดของแป้ง (visco amylograph)
เครื่องวัดความหนืดแบบไหลผ่านท่อ (capillary viscometer)
บทความที่เกี่ยวข้อง