ความหนาแน่นเนื้อ (solid density) อาจเรียกว่า ture density หรือ absolute density หมายถึง ความหนาแน่น (density)
ของเนื้อวัสดุที่ไม่รวมช่องว่างระหว่างชิ้นวัสดุ
หน่วยของ ความหนาแน่นเนื้อในระบบ SI คือ กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (Kg/m3) สำหรับวัสดุขนาดเล็ก อาจใช้หน่วยเป็นกรัม
ต่อลูกบากศ์เซ็นติเมตร (g/cm3)
ความหนาแน่นเนื้อของวัสดุขนาดเล็ก อาจเรียกว่า particle density สำหรับความหนาแน่นที่รวมช่องว่างระหว่างวัสดุ
จะเป็นความหนาแน่นรวม (bulk density)
การหาความหนาแน่นเนื้อ
วิธีการหาค่าความหนาแน่นเนื้อของอาหาร ทำได้หลายวิธี ดังนี้
1. การชั่งน้ำหนักในน้ำ วิธีการนี้ ใช้เพื่อหาปริมาตรของวัสดุ เพื่อนำไปใช้ร่วมกับน้ำหนักของวัสดุ แล้วคำนวณหาค่าหา
ความหนาแน่น การหาปริมาตร ใช้หลักการชั่งน้ำหนักวัสดุในน้ำ หรือของเหลว
1.2 การใช้ขวด pycnometer วิธีนี้ใช้หลักการแทนที่วัสดุในของเหลวที่บรรจุอยู่ในขวด pycnometer เหมาะ วัสดุที่มีขนาดเล็ก เช่น เมล็ดธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง
1.3การแทนที่ในวัสดุเม็ดเล็ก วิธีนี้เหมาะสำหรับการหาค่าความหนาแน่นเนื้อของวัสดุที่ดูดซับของเหลว การแช่หรือจุ่มในของเหลวทำให้วัสดุมีปริมาตรเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ (bakery) เช่น ขนมปัง คุ้กกี้ จะใช้การแทนที่ในวัสดุที่มีขนาดเล็ก ที่มีช่องว่างระหว่างเม็ดน้อย หรือมีค่าความพรุน (porosity) น้อย ตัวอย่างของวัสดุที่สามารถใช้เพื่อหาความหนาแน่นเนื้อได้เช่น เม็ดแมงรัก เมล็ดงา