กรด (acid) คือสารที่ละลายได้ในน้ำและสามารถแตกตัวให้ โปรตอนหรือไฮโดรเจนไอออน (H+) หรือ H3O+ ได้ สารละลาย
กรดที่ได้มีค่า pH น้อยกว่า 7 โดยทั่วไปกรดมีรสเปรี้ยวและมีฤทธิ์ในการกัดกร่อน
กรดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
กรดแก่ ( strong acid) คือกรดที่สามารถแตกตัวได้เป็นไฮโดรเจนไอออนได้ 100% ในสารละลายซึ่งส่วนใหญ่มีน้ำเป็น
ตัวทำละลายสามารถนำไฟฟ้าได้ดีเช่น การแตกตัวของกรด HCl จะได้ H+ หรือ H3O+ และ Cl- ไม่มี HCl เหลืออยู่
ตัวอย่างของกรดแก่ ได้แก่ กรดไฮโดรคลอริก (HCl) กรดซัลฟูริก (H2SO4 ) กรดไนทริก (HNO3) HBr, HClO4 และ HI
กรดอ่อน (weak acid) คือกรดที่สามารถแตกตัวได้เป็นไฮโดรเจนไอออนได้เพียงบางส่วน นำไฟฟ้าได้ไม่ดี เช่น กรดแอซีติก
(acetic acid) หรือ น้ำส้มสายชู (vinegar) ซึ่งเป็นสารละลายของกรดแอซีติก จะแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออนได้เพียง
บางส่วนเท่านั้น เขียนแทนโดยสมการจะใช้ลูกศร ↔ เพื่อชี้ว่าปฏิกิริยาเกิดขึ้นทั้งปฏิกิริยาไปข้างหน้าและปฏิกิริยาย้อนกลับ
และอยู่ในภาวะสมดุลกัน เช่น
CH3COOH (aq) + H2O (l) ↔ H3O+ (aq) + CH3COO- (aq)
การแตกตัวของกรดอ่อนชนิดเดียวกัน จะเพิ่มขึ้นเมื่อสารละลายมีความเจือจางมากขึ้น เช่น acetic acid ความเข้มข้น
แตกต่างกันจะมีเปอร์เซ็นต์การแตกตัวต่างกัน ดังนี้
CH3COOH 1.0 M แตกตัวได้ 0.42%
CH3COOH 0.10 M แตกตัวได้ 1.30%
CH3COOH 0.010 M แตกตัวได้ 4.20%