น้ำหนักเนื้อ (drained weight) หมายถึง น้ำหนักของอาหารที่บรรจุในภาชนะปิดสนิท (hermectically sealed container) เช่น อาหารกระป๋อง (canned food) ภายหลังผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน (thermal processing) เมื่อรินแยกเอาส่วนที่เป็นของเหลวออกแล้ว
![]() |
|
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 144 (พ.ศ.2535) เรื่อง อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท กำหนดการตรวจหาน้ำหนักเนื้ออาหาร (drained weight) ให้ใช้วิธีตามที่กำหนด AOAC (Association of Official Analytical Chemists) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 13
MAXIMUM DRAINED WEIGHT
Weight of the solid portion of the product after it has been processed and after draining the covering liquid for a specified time with the appropriate sieve.
บัญชีน้ำหนักเนื้อในอาหาร
ประเภทอาหาร |
ชนิด |
น้ำหนักเนื้ออาหาร เป็นร้อยละของน้ำหนักสุทธิ |
ผลไม้ |
1. ชิ้นหรือแว่น 2. ทั้งผล |
ไม่น้อยกว่า 60 ไม่น้อยกว่า 40 |
พืชผัก | 1. ชิ้น
2. เมล็ด 3. ฝักหรือหัว 4. ดองเค็มหรือหวาน เช่น ซีเซกฉ่าย ก๊งฉ่าย ตั้งฉ่าย 5. เต้าหู้ยี้ 6. เต้าเจี้ยว |
ไม่น้อยกว่า 60 ไม่น้อยกว่า 50 ไม่น้อยกว่า 40 ไม่น้อยกว่า 65 ไม่น้อยกว่า 60 ไม่น้อยกว่า 50 |
เนื้อสัตว์ |
1. บรรจุในน้ำเกลือ ซอส น้ำมัน หรือสิ่งอื่นที่ไม่ใช่เครื่องปรุง 2. เนื้อหอยในน้ำเกลือ ซอส น้ำมัน หรือสิ่งอื่นที่ไม่ใช่เครื่องปรุง 3. ไส้กรอกในน้ำเกลือ |
ไม่น้อยกว่า 60
ไม่น้อยกว่า 50
ไม่น้อยกว่า 50 |
อาหารปรุง สำเร็จ ที่ทำให้สุกแล้ว |
1. แกงเผ็ดต่างๆ 2. พะแนงต่างๆ 3. แกงกะหรี่หรือมัสมั่น 4. ผัดเผ็ดอย่างแห้ง เช่น ผัดพริกขิง ผัดเผ็ดปลาหรือกุ้ง 5. กุ้งเค็มหรือหวาน 6. หมูหวาน 7. ไก่หรือหมูพะโล้/ไก่หรือหมู หรือขาหมูต้มเค็ม |
ไม่น้อยกว่า 50 ไม่น้อยกว่า 65 ไม่น้อยกว่า 60 ไม่น้อยกว่า 90
ไม่น้อยกว่า 80 ไม่น้อยกว่า 75 ไม่น้อยกว่า 55 |
อาหารประเภทหรือชนิดตามที่กำหนดไว้ในบัญชีแต่มีลักษณะพิเศษที่มิอาจกำหนดเนื้ออาหารให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในบัญชีได้ หรืออาหารประเภทอื่นที่มิได้กำหนดไว้ในบัญชี ให้มีน้ำหนักเนื้ออาหารตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
Reference