ความถ่วงจำเพาะ (specific gravity) คือ อัตราส่วนระหว่างความหนาแน่น (density) ของวัตถุต่อความหนาแน่นของน้ำ ณ อุณหภูมิหนึ่ง ความถ่วงจำเพาะไม่มีหน่วย และเป็นสมบัติทางกายภาพ (physical properties) ของวัสดุ เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำที่มีความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 1 วัตถุที่มีความถ่วงจำเพาะ มากกว่าน้ำ (>1) จะจมน้ำ ส่วนวัตถุที่มีค่าความถ่วงจำเพาะน้อยกว่า 1 หรือน้อยกว่าน้ำ จะลอยน้ำได้
ความถ่วงจำเพาะ = ความหนาแน่นของวัตถุ / ความหนาแน่นของน้ำ
หรือกรณีที่วัตถุและน้ำมีปริมาตรเท่ากัน
ความถ่วงจำเพาะ = มวลของวัตถุ / มวลของน้ำ
ความสัมพันธ์ระหว่างความถ่วงจำเพาะกับคุณภาพอาหาร
พืชหัว (tuber crop)
ความถ่วงจำเพาะของพืชหัว เช่น มันฝรั่ง มันสำปะหลัง มีความสัมพันธ์กับปริมาณสตาร์ซ (starch) หรือเรียกว่า แป้ง
ความถ่วงจำเพาะของหัวมันขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ รวมทั้งการบำรุงดูแลรักษาระหว่างการปลูกหัวมันฝรั่ง หรือมันสำปะหลังที่ความถ่วงจำเพาะมีค่าสูง แสดงว่ามีปริมาณแป้งมาก จะเพิ่มมูลค่าของหัวมันให้มีราคาสูงขึ้น โรงงานแปรรูปมันฝรั่งทอดชนิดแผ่น (potato chip) ตามมาตรฐานสากลต้องการหัวมันฝรั่งที่ค่าความถ่วงจำเพาะมากกว่า 1.085 สำหรับโรงงานแปรรูปในประเทศไทยกำหนดให้มีค่าความถ่วงจำเพาะตั้งแต่ 1.070 ขึ้นไป
การวัดความถ่วงจำเพาะ
การวัดความถ่วงจำเพาะของแข็ง
เครื่องชั่งหาเปอร์เซ็นต์แป้งในหัวมันสำปะหลัง
ที่มา http://www.dit.go.th/cbwm01/contentdet.asp?deptid=148&id=10154
การวัดความถ่วงจำเพาะของของเหลว
ความถ่วงจำเพาะของของเหลว เช่น เบียร์ (beer) ไวน์ (wine) น้ำมันพืช น้ำนม น้ำเชื่อม น้ำเกลือ นิยมใช้
1 ไฮโดรมิเตอร์ (hydromete หรือ lactometer ) ซึ่งมีช่วงที่ใช้วัดความถ่วงจำเพาะของน้ำนม (milk) โดยเฉพาะ
2 พิคโนมิเตอร์ pycnometer
http://en.wikipedia.org/wiki/Relative_density
ที่มา : http://www.kyoto-kem.com/en/learn/density.html
References