ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) หรืออาจเรียกว่า ไตรเอซีลกลีเซอรอล (triacylglycerol) เป็นสารในกลุ่มลิพิด (lipid) ซึ่งเป็น
ส่วนประกอบหลักของน้ำมันและไขมันที่ใช้เป็นอาหาร
โมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ เกิดจากการรวมตัวของกรดไขมัน (fatty acid) 3 โมเลกุล กับกลีเซอรอล 1 โมเลกุลด้วยพันธะเอสเทอร์
โดยที่กรดไขมันทั้งสามโมเลกุล (R1, R2, R3) ในโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ หากเหมือนกัน เรียกว่า simple trigleyceride หรือหาก
แตกต่างกัน เรียกว่า mixed triglyceride

ปฏิกิริยาของไตรกลีเซอไรด์
- ปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส (hydrolysis) เป็นปฏิกิริยาการย่อยสลายพันธะเอสเทอร์ในโมเลกุลของไตรกลีเซอรไรด์ด้วยน้ำ
ทำให้ได้กรดไขมันอิสระ (free fatty acid) โดยมีเอนไซม์ลิเพส (lipase) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้มีค่าความเป็นกรด
(acid value) สูงขึ้น

- ปฏิกิริยาอินเตอร์เอสเทอริฟิเคชัน (interesterification) เป็นปฏิกิริยาที่ใช้ดัดแปลงโครงสร้างไตรกลีเซอไรด์ ในน้ำมันหรือไขมัน
ใช้เอนไซม์ลิเพส (lipase) ป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อเปลี่ยนแปลงชนิด หรือตำแหน่งของกรดไขมัน (fatty acid) ในโมเลกุลของ
ไตรกลีเซอไรด์ ทำให้ได้ผลิตภัณใหม่ที่เรียกว่า structure triglyceride
- วัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการ ปรับเปลี่ยนสมบัติทางกายภาพ เช่น จุดหลอมเหลว (meling point) ตัวอย่างเช่น
เนยโกโก้เทียม (Cocoa butter equivalent) สารทดแทนไขมันในน้ำนมแม่ (human breast milk fat substitutes) ไขมันพลังงานต่ำ
(low-calories fat) และน้ำมันที่อุดมด้วยกรดไขมันจำเป็น (oil enriched essential fatty acid) เป็นต้น
- ปฏิกิริยาการเกิดออกซิเดชันของลิพิด (lipid oxidation) เกิดกับไตรกลีเซอไรด์ที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid)
เป็นส่วนประกอบทำให้เกิดการเหม็นหืน (rancidity)
การย่อยสลายในร่างกาย
ไตรกลีเซอไรด์จะถูกย่อยด้วยเอนไซม์ลิเพล (lipase) ได้กรดไขมันอิสระ (fatty acid) และกลีเซอรอล (glycerol) เมื่อลำเลียงเข้าสู่เซลล์
กรดไขมันจะถูกเปลี่ยนเป็นแอซีทิลโคเอนไซม์เอ (acetyl CoA) โดยกระบวนการบีตา-ออกซิเดชัน (β-oxidation) แล้วนำเข้าสู่วัฏจักรเครบส์
(Krebs' cycle) ส่วนกลีเซอรอลจะถูกเปลี่ยนเป็น glyceraldehyde-3-phoshate (PGAL) และเข้าสู่วิถีไกลโคไลซิส (glycolysis) ต่อไป