น้ำนมเปรี้ยว (fermented milk) หมายถึง ผลิตภัณฑ์นมที่ได้จากนํ้านมจากสัตว์ที่นำมาบริโภคได้ หรือส่วนประกอบของนํ้านม
ที่ผ่านการทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคแล้วหมักด้วยจุลินทรีย์ที่ไม่ทำให้เกิดโรคหรืออันตราย ทำให้มีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น
และอาจปรุงแต่งกลิ่น รส สี หรือเติมวัตถุเจือปนอาหาร สารอาหารหรือส่วนประกอบอื่นที่มิใช่น้ำนมด้วยก็ได้ ทั้งนี้ให้รวมถึง
น้ำนมเปรี้ยวที่นำมาผ่านการฆ่าเชื้อ (thermal processing) การแช่เยือกแข็ง (freezing) หรือการทำให้แห้ง (dehydration) ด้วย
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 289) พ.ศ.2548 เรื่อง น้ำนมเปรี้ยวกำหนดให้ น้ำนมเปรี้ยวเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ
ชนิดของนมเปรี้ยว |
นมเปรี้ยวแบ่งตามชนิดของจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักได้ ดังนี้ (1) โยเกิร์ต (Yogurt) หมายถึง นมเปรี้ยวที่ได้จากการหมักด้วยแบคทีเรีย สเตรปโทค็อกคัสเทอร์โมฟิลัส (Streptococcus thermophilus) และแล็กโทบาซิลลัสเดลบรึคคิไอ (2) นมเปรี้ยวแอซิโดฟิลัส (Acidophilus milk) หมายถึง นมเปรี้ยวที่ได้จากการหมักด้วยแบคทีเรียแล็กโทบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส (Lactobacillus acidophilus) (3) นมเปรี้ยวเคเฟอร์ (Kefir) หมายถึง นมเปรี้ยวที่ได้จากการหมักด้วยแบคทีเรียและยีสต์ ได้แก่ แล็กโทบาซิลลัส เคฟิไร (Lactobacillus kefiri) หรือแล็กโทค็อกคัส (4) นมเปรี้ยวคูมิส (Kumys) หมายถึง นมเปรี้ยวที่ได้จากการหมักด้วยแบคทีเรียและยีสต์ ได้แก่ แล็กโทบาซิลลัส เดลบรึคคิไอ ซับสปีชีส์ บัลแกริคัส (Lactobacillus (5) นมเปรี้ยวที่ได้จากการหมักด้วยจุลินทรีย์ชนิดที่แตกต่างหรือนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ใน (1)-(4) เช่น แล็กโทบาซิลลัส คาเซอิ ซับสปีชีส์ ชิโรต้า (Lactobacillus casei |
กรรมวิธีการผลิต |
นมเปรี้ยวที่จะนำไปผ่านการฆ่าเชื้อหลังการหมัก ต้องทำ ห้เป็นเนื้อเดียวกันและฆ่าเชื้อด้วย กรรมวิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรซ์ (pasteurized fermented milk drink หรือ pasteurized drinking yogurt ) หมายถึง นมเปรี้ยวที่ผ่านการพาสเจอไรซ์
(2) นมเปรี้ยวพร้อมดื่อม ยู เอช ที (UHT fermented milk drink หรือ pasteurized drinking yogurt ) หมายความว่า กรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนที่อุณหภูมิตั้งแต่ (3) กรรมวิธีอย่างอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่ากรรมวิธีตาม (1) หรือ (2) ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการอาหารและยา |
คุณภาพหรือมาตรฐาน |
นมเปรี้ยวที่มิได้ปรุงแต่งต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐาน ดังต่อไปนี้ (1) มีกลิ่นรสตามลักษณะของนมเปรี้ยวนั้น (2) มีโปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.7 ของนํ้าหนัก สำหรับโยเกิร์ตนมเปรี้ยวแอซิโดฟิลัส (Acidophilus milk) นมเปรี้ยวเคเฟอร์ (Kefir) (3) มีมันเนย (butter fat) ดังนี้
(4) มีค่าความเป็นกรด (titratable acidity) โดยคำนวณเป็นกรดแล็กทิก ดังนี้
(5) มีจุลินทรีย์ที่ใช้ในกรรมวิธีการหมักคงเหลือในนมเปรี้ยวที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อหลังการหมัก 1 กรัม แล้วแต่กรณี ดังนี้ (5.1) แบคทีเรียไม่น้อยกว่า 10,000,000 ( 107) โคโลนี (5.2) ยีสต์ไม่น้อยกว่า 10,000 โคโลนี (6) ไม่ใช้วัตถุกันเสีย (7) ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค (pathogen) (8) ตรวจพบแบคทีเรียชนิดโคลิฟอร์มน้อยกว่า 3 ต่อนมเปรี้ยว 1 กรัม โดยวิธี เอ็ม พี เอ็น (Most Probable Number) (9) ตรวจพบเชื้อราได้ไม่เกิน 100 โคโลนี สำ หรับนมเปรี้ยวที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อหลังการหมัก 1 กรัม (10) ตรวจพบยีสต์ไม่เกิน 100 โคโลนี สำ หรับนมเปรี้ยวที่ไม่ได้ใช้ยีสต์ในการหมัก และไม่ผ่านการฆ่าเชื้อหลังการหมัก 1 กรัม (11) ตรวจพบยีสต์และเชื้อราได้ไม่เกิน 10 โคโลนี สำ หรับนมเปรี้ยวที่ผ่านการฆ่าเชื้อหลังการหมัก 1 กรัมข้อ 8 นมเปรี้ยวที่ปรุงแต่ง ต้องมีoheนมเป็นส่วนผสม (1) กรณีไม่ผ่านการฆ่าเชื้อหลังการหมัก ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามข้อ 7 (1) (6) (7) (8) (9) และ (10) สำหรับคุณภาพหรือมาตรฐานตามข้อ 7 (2) (3) (4) (2) กรณีที่ผ่านการฆ่าเชื้อหลังการหมัก ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามข้อ 7 (1) (6) (7) (8) และ (11) สำหรับคุณภาพหรือมาตรฐานตามข้อ 7 (2) (3) (1) กรณีที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อหลังการหมักและไม่ได้ปรุงแต่ง ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามข้อ7 (1) (2) (3) (4) (6) (7) (8) (9) และ (10) และต้องมีจุลินทรีย์ (2) กรณีที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อหลังการหมักและปรุงแต่ง ต้องมีนมเป็นส่วนผสมในปริมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของนํ้าหนัก และมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามข้อ 7 (1) (6) (7) (3) กรณีที่ผ่านการฆ่าเชื้อหลังการหมักและไม่ได้ปรุงแต่ง ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามข้อ7 (1) (2) (3) (4) (6) (7) (8) และ (11) (4) กรณีที่ผ่านการฆ่าเชื้อหลังการหมักและปรุงแต่ง ต้องมีนมเป็นส่วนผสมในปริมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของนํ้าหนัก และมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามข้อ 7 (1) (6) (7) ข้อ 10 นมเปรี้ยวชนิดแห้งเมื่ออยู่ในสภาพพร้อมบริโภคตามวิธีละลายเพื่อบริโภคที่ระบุไว้บนฉลากต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานดังนี้ (1) กรณีไม่ปรุงแต่งต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามข้อ 7 (1) (2) (3) (4) (6) (7) (8) และ (11) (2) กรณีปรุงแต่งต้องมีนมเป็นส่วนผสมในปริมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของนํ้าหนัก และมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามข้อ 7 (1) (6) (7) (8) และ (11) สำหรับคุณภาพหรือ กรณีที่มีวัตถุประสงค์การใช้ต่างจากวรรคหนึ่ง อาจมีคุณภาพหรือมาตรฐานต่างจากวรรคหนึ่งได้แต่ต้องเป็นไปตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด
คุณลักษระทางเคมีและจุลินทรีย์ของผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวที่กำหนดตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มีทั้งข้อเหมือนและความแตกต่างจากที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนดดังนี้
|
การบรรจุ ฉลาก และการเก็บรักษา |
การใช้ภาชนะบรรจุนมเปรี้ยว ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องภาชนะบรรจุ
ข้อ 16 การแสดงฉลากของนมเปรี้ยว ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง ฉลาก เว้นแต่การใช้ชื่ออาหารของนมเปรี้ยวและการแสดงข้อความสำ หรับนมเปรี้ยวบางชนิดให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (1) ชื่ออาหารของนมเปรี้ยว (1.1) นมเปรี้ยวตามข้อ 4 (1) ให้ใช้ชื่ออาหารว่า "โยเกิร์ต" หรือ "นมเปรี้ยวโยเกิร์ต" สำ หรับกรณีที่ประสงค์จะใช้ชื่ออาหารว่า "นมเปรี้ยว" ต้องกำ กับชื่ออาหารด้วย (1.2) นมเปรี้ยวตามข้อ 4 (2) ให้ใช้ชื่ออาหารว่า "นมเปรี้ยวแอซิโดฟิลัส" สำ หรับกรณีที่ประสงค์จะใช้ชื่ออาหารว่า "นมเปรี้ยว" ต้องกำ กับชื่ออาหารด้วยข้อความว่า (1.3) นมเปรี้ยวตามข้อ 4 (3) ให้ใช้ชื่ออาหารว่า "นมเปรี้ยวเคเฟอร์" สำ หรับกรณีที่ประสงค์จะใช้ชื่ออาหารว่า "นมเปรี้ยว" ต้องกำกับชื่ออาหารด้วยข้อความว่า (1.4) นมเปรี้ยวตามข้อ 4 (4) ให้ใช้ชื่ออาหารว่า "นมเปรี้ยวคูมิส" สำ หรับกรณีที่ประสงค์จะใช้ชื่ออาหารว่า "นมเปรี้ยว" ต้องกำ กับชื่ออาหารด้วยข้อความว่า "ชนิดคูมิส" (1.5) "นมเปรี้ยว" สำ หรับนมเปรี้ยวตามข้อ 4 (5) การใช้ชื่ออาหารของนมเปรี้ยวอาจใช้ชื่อทางการค้าได้ แต่ต้องมีข้อความตาม (1.1) (1.2) (1.3) (1.4) หรือ (1.5) แล้วแต่กรณี กำ กับชื่ออาหารด้วย โดยจะแสดงอยู่ในบรรทัดเดียวกับชื่อทางการค้าก็ได้ และจะมี ขนาดตัวอักษรต่างกับชื่อทางการค้าก็ได้ แต่ต้องสามารถอ่านได้ชัดเจน (2) นมเปรี้ยวเคเฟอร์และนมเปรี้ยวคูมิส ต้องแสดงข้อความดังต่อไปนี้ด้วย (2.1) "มีเอทิลแอลกอฮอล์ไม่เกิน ...%" (ความที่เว้นไว้ให้ระบุปริมาณแอลกอฮอล์เป็นร้อยละของนํ้าหนัก) ด้วยตัวอักษรที่อ่านได้ชัดเจน บริเวณเดียวกับชื่ออาหาร (2.2) "เด็กและสตรีมีครรภ์ ไม่ควรรับประทาน" ด้วยตัวอักษรที่อ่านได้ชัดเจน (3) นมเปรี้ยวที่ผ่านการฆ่าเชื้อหลังการหมักตามข้อ 6 ต้องแสดงข้อความ "พาสเจอร์ไรส์" หรือ"ยูเอชที" เป็นส่วนหนึ่งของชื่ออาหารหรือกำกับชื่ออาหารแล้วแต่กรณี ข้อ 17 ให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้านมเปรี้ยวที่ได้รับเลขสารบบอาหารอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยื่นขอแก้ไขรายละเอียดให้ถูกต้องตามประกาศนี้ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และ ยังคงใช้ฉลากเดิมต่อไปได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ |
ข้อ 11 นมเปรี้ยวที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อหลังการหมักและที่ผ่านการฆ่าเชื้อหลังการหมักตามข้อ 6 (1)
ต้องเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิไม่เกิน 8 องศาเซลเซียส ตลอดระยะเวลาหลังบรรจุจนถึงผู้บริโภค และระยะเวลาการ
บริโภคต้องไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำ หน่าย แต่ทั้งนี้ไม่รวมนมเปรี้ยวแช่เยือกแข็งหรือนมเปรี้ยว
ชนิดแห้งกรณีที่จะแสดงระยะเวลาการบริโภคเกินกว่าที่กำ หนดตามวรรคหนึ่ง ต้องมีมาตรการในการควบคุม
คุณภาพหรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ตลอดระยะเวลาตั้งแตหลังการบรรจุถึงการจำหน่ายถึงผู้บริโภคเป็นไปตามหลักเกณฑ์
ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการอาหาร
ข้อ 12 นมเปรี้ยวที่ผ่านการฆ่าเชื้อหลังการหมักตามข้อ 6 (2) ต้องเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิปกติ ในระยะ
เวลาไม่น้อยกว่า 5 วัน นับแต่วันที่บรรจุในภาชนะก่อนออกจำหน่าย เพื่อตรวจสอบว่ายังคงมีคุณภาพหรือมาตรฐาน
ตามที่กำหนดและไม่เปลี่ยนแปลงไปจากลักษณะเดิมที่ทำขึ้น แต่ทั้งนี้ไม่รวมนมเปรี้ยวแช่เยือกแข็งหรือนมเปรี้ยวชนิดแห้ง
ข้อ 13 การใช้วัตถุเจือปนอาหารนอกจากวัตถุกันเสีย ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ว่าด้วยเรื่อง วัตถุเจือปนอาหารกรณีตรวจพบวัตถุกันเสียที่ตกค้างมาจากวัตถุที่ใช้ปรุงแต่งกลิ่น รส สี หรือส่วนประกอบอื่น
ที่มิใช่น้ำนมที่เป็นส่วนผสมอยู่ด้วย ปริมาณที่ตรวจพบจะต้องไม่เกินปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ในวัตถุดิบเหล่านั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ 14 ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้านมเปรี้ยวเพื่อจำหน่าย ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย
เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร
ข้อ 15 Reference
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 289) พ.ศ.2548 เรื่อง นมเปรี้ยว