ไมโคทอกซิน หรือสารพิษจากรา เป็นสารประกอบประเภทเมแทบอไลต์ทุติยภูมิที่ราผลิตขึ้นมา เป็นสารพิษที่ผลิตจากเชื้อรา
(mold) สารนี้อาจจะเป็นพิษหรือทำให้เกิดผลร้ายต่อสิ่งที่มีชีวิตต่างๆ โดยเฉพาะสัตว์ และ/หรือคนได้ เมื่อคนหรือสัตว์ได้รับเข้าไป
แม้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย จะทำให้เกิดอาการพิษ ( mycotoxicosis ) แต่ไม่สามารถถ่ายทอดจากคนหนึ่งไปสู่คนอื่นได้
เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อราและสารพิษจากเชื้อรา ตั้งแต่การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา
และการนำผลิตผลทางการเกษตรมาผลิตเป็นอาหาร สารพิษจากเชื้อราเข้าไปทำลาย DNA, RNA และโปรตีน
"Mykes" เป็นคำภาษากรีก หมายถึง fungus และ "toxicum" เป็นคำภาษาลาติน หมายถึง "poison" หรือ "toxin" เมื่อรวมกันเป็น
ไมโคทอกซิน "mycotoxins" จึงมีความหมายว่า fungus poison หรือ fungus toxin
Mycotoxin ที่มักพบในอาหาร
ชนิดของ Mycotoxin |
เชื้อราที่เป็นสาเหตุ |
Aspergillus ได้แก่ Aspergillus flavus และ Aspergillus paraciticus | |
Ergot |
|
Fusarium | |
Aspergillus และ Penicillium | |
Penicillium patulum | |
Fusarium และ Trichoderma | |
Fusarium graminearum |
การเกิดพิษ
Mycotoxin ทำให้เกิดพิษต่ออวัยวะต่างๆ แบ่งเป็น
พิษต่อตับ (hepatotoxin) ได้แก่ อะฟลาทอกซิน (aflatoxin)
พิษต่อไต (nephrotoxin) ได้แก่ ออคราทอกซิน (ochratoxin)
พิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ได้แก่ พาทูลิน (patulin)
พิษต่อระบบทางเดินอาหาร (alimentary tract toxin) ได้แก่ ไทรโคทีซีน (trichothecene)
พิษต่อระบบฮอร์โมน (estrogenic mycotoxin) ได้แก่ ซีราลีโนน (zearalenone)
พิษอื่นๆ (other mycotoxin) ได้แก่ เออร์กอต (ergot) ฟูโมนิซิน (Fumonisins)
EU กำหนดให้มีการสุ่มตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนสารตกค้างประเภทไมโคทอกซิน (mycotoxins) ครอบคลุมในสินค้าอาหารเพื่อการบริโภค ดังต่อไปนี้
Reference
http://www.dld.go.th/qcontrol/images/stories/gfeed/knowledge-toxin.pdf
http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/BQSF/File/VARITY/mycotoxin.htm
http://news.thaieurope.net/content/view/1015/214/