ไนไทรต์ (NO2) เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) นิยมใช้ในรูปของเกลือโซเดียมไนไทรต์ (sodium nitrite) และโพแทสเซียมไนไทรต์
ไนไทรต์จะถูกรีดิวส์มาจาก เกลือไนเทรต (nitrate, NO3) เช่น เกลือโซเดียมไนเทรต และโพแทสเซียมไนเทรต (ดินประสิว)
E-number ของ สารในกลุ่มไนเทรต (nitrates) ที่อนุญาติให้ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ในกลุ่มสารกันเสีย (preservative)
E-number | ชื่อ | กลุ่ม |
E249 | Potassium nitrite | nitrates |
E250 | Sodium nitrite | nitrates |
E251 | Sodium nitrate | nitrates |
E252 | Potassium nitrate | nitrates |
การใช้ไนไทรต์ ในอาหาร
1. ทำให้เกิดสีของเนื้อสัตว์ (meat color) โดยทำให้เกิดสีแดงอมชมพูในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ (meatproduct) เช่น ไส้กรอก (sausage) แฮม (ham) เบคอน (bacon) แหนม กุนเชียง เนื้อเค็ม สีเกิดจากการรวมตัวของไนไทรต์กับเม็ดสีในเลือด คือ ไมโอโกลบิน (myoglobin) เป็นไนโตรโซฮีโมโครม (nitrosohemochrome) ซึ่งเมื่อถูกความร้อนจะเปลี่ยนเป็น globin introso hemochrome ซึ่งเป็นสีชมพู ที่คงตัว
![]() |
![]() |
2. ใช้เป็นสารกันเสีย (preservative) โดยช่วยยับยั้งการเจริญและการสร้างสารพิษของ Clostridium botulinum เนื่องจากส่วนของไนไทรต์ ที่ไม่แตกตัว จะรวมกับหมู่ซัลฟ์ไฮดริล (sulfhydryl group, -SH) ของกรดแอมิโน (amino acid) เช่น cysteine เกิดเป็น sulfhydryl complex ซึ่งทำให้แบคทีเรียนำกรดแอมิโนใช้ประโยชน์ไม่ได้
ปริมาณการใช้
ปริมาณสูงสุดที่ยอมให้มี ในอาหาร คือ
พิษจากไนไทรต์และไนเทรต
ไนไทรต์และไนเทรต ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้ที่มีปฏิกิริยาตอบสนองไวต่อสารนี้เป็นพิเศษ จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
ปวดท้อง ท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด และปวดศีรษะ ไนไทรต์สามารถทำปฎิกิริยากับเอมีน (amine) ในอาหารกลายเป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรง คือไนโตรซามีน (nitrosamine) ซึ่งทำให้เกิดมะเร็งตับ กระเพาะอาหาร และหลอดอาหาร
เด็กทารกที่มี เมทฮีโมโกลบินมากจะขาดออกซิเจน เพราะเกิดการขนส่งออกซิเจนไม่ได้ และถ้ามีมากกว่า 60% ของปริมาณฮีโมโกลบินทั้งหมดในเลือดจะเสียชีวิต นอกจากนี้ไนไทรต์ยังก่อให้เกิดปัญหาต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์อีกด้วย
ไนเทรตสามารถเปลี่ยนเป็นไนไทรต์ในอาหารและในร่างกายมนุษย์ได้ โดยปฏิกิริยาของแบคทีเรีย และแหล่งสำคัญของไนเทรตในอาหารของมนุษย์ คือ น้ำและผัก ทั้งนี้เพราะไนเทรตเป็นรูปของธาตุไนโตรเจนที่พืชต้องการสำหรับการเจริญเติบโต หากพืชได้รับมากเกินไปจะสะสมไว้โดยเฉพาะในผักกินใบและผักกินราก ในหลายประเทศจึงมีการกำหนดปริมาณสูงสุดของไนเทรตในผักสดและผลไม้ที่จะนำมาบริโภค ต้องไม่เกิน 4,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักสด
ปริมาณการสะสมของไนเทรตขึ้นกับชนิดของพืช อายุพืช ฤดูกาลปลูก และชนิดของปุ๋ยไนโตรเจนที่ให้กับพืช
Reference
พิษจากโซเดียมไนไทรต์ และโซเดียมไนเทรตในอาหาร