น้ำมันปาล์ม (palm oil) เป็นน้ำมันพืช (vegetable oil) ที่ใช้วัตถุดิบ คือผลของต้นปาล์ม ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า อีเลอีส กีนีเอ็นซิส
(Elaeis guineensis) ผลปาล์มน้ำมัน (palm) เป็นพืชน้ำมัน (oil corp) ซึ่งมีน้ำมันร้อยละ 56 มีสีเหลืองส้มของแคโรทีน (carotene)
น้ำมันปาล์ม (palm oil) ได้จากผลปาล์ม 2 ส่วนคือ
1. จากเปลือกหุ้มภายนอก (mesocarp) น้ำมันที่ได้เรียกกว่า น้ำมันจากเนื้อเมล็ดปาล์ม (palm oil)
2. จากเนื้อในของเมล็ด (palm kernel) น้ำมันที่ได้เรียกว่า น้ำมันจากเมล็ดปาล์ม palm kernel oil ซึ่งมีน้ำมันร้อยละ 44-48
ที่มา http://qwickstep.com/search/oil-fractionation.html
ชนิดของน้ำมันปาล์ม (palm oil)
น้ำมันปาล์ม เป็นอาหารควบคุมเฉพาะ จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 56 (พ.ศ.2524) เรื่อง น้ำมันปาล์ม ได้แบ่งประเภทของน้ำมันปาล์มดังนี้
(1) น้ำมันปาล์มจากเนื้อปาล์ม (palm oil)
(2) น้ำมันปาล์มโอลีอินจากเนื้อปาล์ม (palm olein)
(3) น้ำมันปาล์มสเตียรินจากเนื้อปาล์ม (palm stearin)
(4) น้ำมันปาล์มจากเมล็ดปาล์ม (palm kernel oil)
(5) น้ำมันปาล์มโอลีอินจากเมล็ดปาล์ม (palm kernel olein)
(6) น้ำมันปาล์มสเตียรินจากเมล็ดปาล์ม (palm kernel stearin)
ข้อเสียของน้ำมันปาล์ม คือ จะสลายตัว (hydrolyse) ได้ง่ายด้วยเอนไซม์ลิเพส (lipase) เมื่อเกิดการช้ำหรือการกระแทกของผลปาล์ม
ในระหว่างการเก็บเกี่ยวและการขนย้าย ทำให้มีปริมาณกรดไขมันอิสระ (free fatty acid) เพิ่มสูงขึ้น และมีสีเหลืองส้มของแคโรทีน
(carotene) ปะปนทำให้น้ำมันต้องกำจัดสีโดยขบวนการทำให้น้ำมันบริสุทธิ์
การแปรรูปน้ำมันปาล์ม
การผลิตน้ำมันปาล์มให้ทำได้ ดังนี้
(1) วิธีธรรมชาติ ทำโดยการบีบอัด หรือบีบอัดโดยใช้ความร้อน หรือวิธีธรรมชาติอื่น ตามที่ได้รับความเห็นชอบจาก สำนักงาน
คณะกรรมการอาหารและยา และนำมาทำให้สะอาดโดยการล้าง การตั้งไว้ให้ตกตะกอน (sedimentation) การกรอง (filtration)
หรือการหมุนเหวี่ยง (centrifuge)
(2) วิธีผ่านกรรมวิธี ทำโดยนำน้ำมันปาล์มที่ได้จากธรรมชาติหรือที่ได้จากการสกัดด้วยสารละลายตามที่ได้รับความเห็นชอบจาก
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และนำมาผ่านกรรมวิธี ทำให้บริสุทธิ์อีกครั้งหนึ่ง
(3) วิธีอื่นตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาคุณภาพมาตรฐานของน้ำมันปาล์ม
น้ำมันปาล์มเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 56 (พ.ศ.2524) เรื่อง น้ำมันปาล์ม กำหนด
คุณภาพมาตรฐานของน้ำมันปาล์มดังนี้
1. น้ำมันปาล์มจากเนื้อปาล์ม (palm oil)
น้ำมันจากเนื้อปาล์ม น้ำมันปาล์มโอลีอินจากเนื้อปาล์ม (palm olein) และ น้ำมันปาล์มสเตียรินจากเนื้อปาล์ม (palm stearin)
ที่ผลิตเพื่อจำหน่าย นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือที่จำหน่าย เพื่อใช้รับประทานหรือใช้ปรุงแต่งอาหาร ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐาน
ดังต่อไปนี้
(1) มีค่าของกรด (acid value) ไม่เกิน 10 มิลลิกรัม โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ต่อน้ำมัน 1 กรัม สำหรับน้ำมันปาล์ม ที่ทำโดย
วิธีธรรมชาติ และไม่เกิน 0.6 มิลลิกรัม โปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ ต่อน้ำหนัก 1 กรัม สำหรับน้ำมันปาล์มที่ทำโดยวิธีผ่านกรรมวิธี
(2) มีค่าเพอร์ออกไซด์ (peroxide value) ไม่เกิน 10 มิลลิกรัมสมมูลย์เพอร์ออกไซด์ออกซิเจน ต่อน้ำมัน 1 กิโลกรัม
(3) มีส่วนประกอบของกรดไขมันเป็นร้อยละของกรดไขมันทั้งหมด โดยใช้วิธีก๊าซลิควิดโครมาโตกราฟฟี หรือ จีแอลซี
(Gas Liquid Chromatography หรือ GLC) ดังนี้
กรดลอริก (Lauric acid) กรดไมริสติก (Myristic acid) กรดปาลมิติก (Palmitic acid) กรดปาลมิโตเลอิก (Palmitoleic acid) กรดสเตียริก (Stearic acid) กรดโอลีอิก (Oleic acid) กรดลิโนลีอิก (Linoleic acid) กรดลิโนลนิก (Linolenic acid) กรดอะราซิดิก (Arachidic acid) | ไม่เกิน 1.2 ระหว่าง 0.5 ถึง 5.9 ระหว่าง 32 ถึง 59 ไม่เกิน 0.6 ระหว่าง 1.5 ถึง 8.0 ระหว่าง 27 ถึง 52.0 ร ะหว่าง 5.0 ถึง 14 ไม่เกิน 1.5 ไม่เกิน 1.0 |
(4) มีค่าสปอนิฟิเคชัน (saponification value) ระหว่าง 190 ถึง 209 มิลลิกรัม โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ต่อน้ำมัน 1 กรัม
(5) มีค่าไอโอดีนแบบวิจส์ (iodine value, Wijs) ดังนี้
(ก) ระหว่าง 50-56 สำหรับน้ำมันปาล์มจากเนื้อปาล์ม
(ข) ไม่น้อยกว่า 55 สำหรับน้ำมันปาล์มโอลีอินจากเนื้อปาล์ม
(ค) ไม่เกิน 48 สำหรับน้ำมันปาล์มสเตียรินจากเนื้อปาล์ม
6) มีสารที่สปอนิฟายไม่ได้ (unsaponifiable matter) ไม่เกินร้อยละ 1.2 ของน้ำหนัก
(7) มีสิ่งที่ระเหยได้ (volatile matter) ที่อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส ไม่เกินร้อยละ 0.2 ของน้ำหนัก
(8) มีปริมาณสบู่ (soap content) ไม่เกินร้อยละ 0.005 ของน้ำหนัก
(9) มีกลิ่นและรสตามลักษณะเฉพาะของน้ำมันปาล์มจากเนื้อปาล์ม
(10) มีสิ่งอื่นที่ไม่ละลาย (Insoluble impurities) ไม่เกินร้อยละ 0.05 ของน้ำหนัก
(11) มีปริมาณแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ทั้งหมด คำนวณเป็นบีตา-แคโรทีน ไม่น้อยกว่า 500 มิลลิกรัม ต่อน้ำมัน 1 กิโลกรัม และไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม ต่อน้ำมัน 1 กิโลกรัม สำหรับน้ำมันปาล์มที่ทำโดยวิธีธรรมชาติ
(12) ไม่มีกลิ่นหืน (rancidity)
(13) ไม่มีน้ำมันแร่
2. น้ำมันจากเมล็ดปาล์ม
น้ำมันปาล์มจากเมล็ดปาล์ม (palm kernel oil) น้ำมันปาล์มโอลีอินจากเมล็ดปาล์ม (palm kernel olein) น้ำมันปาล์มสเตียริน
จากเมล็ดปาล์ม (palm kernel stearin) ที่ผลิตเพื่อจำหน่าย นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือที่จำหน่าย เพื่อใช้รับประทานหรือใช้ปรุง
แต่งอาหาร ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(1) มีค่าของกรด (Acid value) ไม่เกิน 0.6 มิลลิกรัม โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ต่อน้ำมัน 1 กรัม สำหรับน้ำมันปาล์มที่ทำโดย
วิธีผ่านกรรมวิธี
(2) มีค่าเพอร์ออกไซด์ (Peroxide value) ไม่เกิน 10 มิลลิกรัมสมมูลย์เพอร์ออกไซด์ ออกซิเจน ต่อน้ำมัน 1 กิโลกรัม
(3) มีส่วนประกอบของกรดไขมันเป็นร้อยละของกรดไขมันทั้งหมดโดยใช้วิธีกาซลิควิดโครมาโตกราฟฟี หรือ จีแอลซี (Gas Liquid Chromatography) หรือ G L C) ดังนี้ เว้นแต่น้ำมันปาล์ม โอลีอินจากเมล็ดปาล์มและน้ำมันปาล์มสเตียรินจากเมล็ดปาล์ม ให้มีได้ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กรดคาโปรอิค (Caproic acid) กรดคาปรีลิค (Caprylic acid) กรดคาปริค (Capric acid) กรดลอลิค (Lauric acid) กรดไมริสติค (Myristic acid) กรดปาล์มมิติค (Palmitic acid) กรดสเตียริค (Stearic acid) กรดโอลีอิค (Oleic acid) กรดไลโนลีอิค (Linoleic acid) | ไม่เกิน 0.5ระหว่าง 2.4 ถึง 6.2ระหว่าง 2.6 ถึง 7.0ระหว่าง 41 ถึง 55ระหว่าง 14 ถึง 20ระหว่าง 6.5 ถึง 11ระหว่าง 1.3 ถึง 3.5ระหว่าง 10 ถึง 23ระหว่าง 0.7 ถึง 5.4 |
(4) มีค่าสปอนิฟิเคชั่น (Saponification value) ระหว่าง 230 ถึง 254 มิลลิกรัม โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ต่อน้ำมัน 1 กรัม
(5) มีค่าไอโอดีนแบบวิจส์ (Iodine value, Wijs) ระหว่าง 13 ถึง 23 เว้นแต่น้ำมันปาล์มโอลีอินจากเมล็ดปาล์ม และน้ำมันปาล์มสเตียรินจากเมล็ดปาล์ม ให้มีได้ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(6) มีสารที่สปอนิฟายไม่ได้ (Unsaponifiable matter) ไม่เกินร้อยละ 1 ของน้ำหนัก
(7) มีสิ่งที่ระเหยได้ (Volatile matter) ที่อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส ไม่เกินร้อยละ 0.2 ของน้ำหนัก
(8) มีปริมาณสบู่ (Soap content) ไม่เกินร้อยละ 0.005 ของน้ำหนัก
(9) มีกลิ่นและรสตามลักษณะเฉพาะของน้ำมันปาล์มจากเมล็ดปาล์ม
(10) มีสิ่งอื่นที่ไม่ละลาย (Insoluble impurities) ไม่เกินร้อยละ 0.05 ของน้ำหนัก
(11) ไม่มีกลิ่นหืน
(12) ไม่มีน้ำมันแร่ น้ำมันปาล์มที่ผลิตตามวิธีอื่นในข้อ 3 (3) ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตาม (3) (4)
(5) (6) และ (9) แต่ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา ข้อ 6
น้ำมันปาล์มที่ใช้วัตถุเจือปนอาหาร (food additive) หรือที่มีสารปนเปื้อน (contaminants) ต้องใช้หรือมีได้ตามชนิดและปริมาณ
ที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายประกาศนี้เท่านั้น ข้อ 7 น้ำมันปาล์มที่ใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกจากใช้รับประทานหรือใช้ปรุงแต่งอาหาร
ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 แต่ต้องแสดงฉลากไว้ที่
ภาชนะบรรจุว่า"ห้ามใช้รับประทาน" ด้วยตัวอักษรสีแดง ขนาดไม่เล็กกว่า 1 เซนติเมตร ในกรอบพื้นสีขาว และในฉลากนั้นให้แสดง
เครื่องหมายที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาออกให้ไว้ด้วย ข้อ 8 ภาชนะบรรจุที่ใช้บรรจุน้ำมันปาล์มที่ใช้รับประทานหรือ
ใช้ปรุงแต่งอาหาร ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย เรื่อง ภาชนะบรรจุ ข้อ 9 การแสดงฉลากของน้ำมันปาล์มที่
ใช้รับประทานหรือใช้ปรุงแต่งอาหาร ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง ฉลาก
ประกาศฉบับนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร ซึ่งออกให้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 22
(พ.ศ.2522) เรื่อง กำหนดน้ำมันและไขมันเป็นอาหารควบคุมเฉพาะและกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน วิธีการผลิต และฉลาก
สำหรับน้ำมัน และไขมัน เว้นแต่เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับน้ำมันปาล์มจากเนื้อปาล์มตามข้อ 2 (1) (2) หรือ (3) หรือน้ำมันปาล์มจาก
เมล็ดปาล์มตามข้อ 2 (4) (5) หรือ (6) ให้ผู้ที่ได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับ
ดังกล่าวมาดำเนินการแก้ไขตำรับอาหารให้มีรายละเอียดถูกต้องตามประกาศฉบับนี้ ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
องค์ประกอบกรดไขมัน (fatty acid) ของน้ำมันปาล์มดิบ และน้ำมันเมล็ดในปาล์ม
ที่มา http://it.doa.go.th/palm/linkTechnical/oil%20palm%20processing.html
กรดไขมัน |
น้ำมันปาล์มดิบ (Crude Palm Oil) |
น้ำมันเมล็ดในปาล์ม (Palm Kernel Oil) |
กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) |
50% | 82% |
Caproic acid (C6:0) |
- | 0.1 - 0.5 |
Caprylic acid (C8:0 ) |
- | 3.4 - 5.9 |
Capric acid (C10:0) |
- | 3.3 - 4.4 |
Lauric acid (C12:0) |
0.1 - 0.4 | 46.3 - 51.1 |
Myristic acid (C14:0) |
1.0 - 1.4 | 14.3 - 16.8 |
Palmitic acid (C16:0 ) |
40.9 - 47.5 | 6.5 - 8.9 |
Stearic acid (C18:0) |
3.8 - 4.8 | 1.6 - 2.6 |
Arachidic acid (C20:0) |
0 - 0.8 | - |
กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) |
50% | 18% |
Palmitoleic acid (C16:1) | 0 - 0.6 | - |
Oleic acid (C18:1 ) | 36.4 - 41.2 | 13.2 - 16.4 |
Linoleic acid (C18:2) | 9.2 - 11.6 | 2.2 - 3.4 |
Linolenic acid (C18:3) | 0 - 0.5 | - |
กรรมวิธีการผลิตน้ำมันปาล์มดิบ (crude palm oil)
ที่มา http://it.doa.go.th/palm/linkTechnical/oil%20palm%20processing.html
บัญชีวัตถุเจือปนในอาหาร (Food Additives)
อันดับ | ประเภทวัตถุเจือปนในอาหาร | ชื่อวัตถุเจือปนในอาหาร | ปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ เป็นร้อยละของน้ำหนัก | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
1. | สี (Colour) : ให้ใช้ได้เพื่อความมุ่งหมายที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีสีเหมือนธรรมชาติ | ก) บีตา-คาโรทีน (beta-carotene) ข) สีคำแสด (annatto) ค) เคอร์คิวมิน (curcumin) ง) แคนธาแซนธีน (canthaxanthine) จ) เบตา-อะโป-8'-คาโรทีนาล (beta-apo-8'-carotenal) ฉ) เมทิลและเอทิลเอสเทอร์ของกรดเบตา-อะโป-8'-คาโรทีโนอิค แอซิด (methyl and ethyl ester of beta-apo-8'-carotenoic acid) | ไม่กำหนดไม่กำหนดไม่กำหนดไม่กำหนดไม่กำหนดไม่กำหนด | |
2. | กลิ่น (Flavours) : ให้ใช้สารแต่งกลิ่นสังเคราะห์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพื่อแต่งกลิ่นตามข้อ 4 (9) และข้อ 5 (9) | |||
3. | วัตถุกันหืน (Anti Oxidants) |
ก) โพรพิล ออคติล และโดเดซิล แกลเลท (propyl, octyl and dodecyl gallates) ข) บิวทิเลเตด ไฮดรอกซีโทลูอีน (butylated hydroxytoluene, BHT) บิวทิเลเตด ไฮดรอกซีอะนีโซล (butylated hydroxyanisole, BHA) เทอร์ไทอารี บิวทิล ไฮโดรควิโนน (tertiary butyl hydroquinone, TBHQ) ค) สารพวกแกลเลท (gallates) รวมกับ BHA หรือ BHT หรือ TBHQ หรือรวมทั้งสามอย่างใช้รวมกัน
ง) แอสคอร์บิลพัลมิเตท (ascorbyl palmitate) จ) แอสคอร์บิลสเตียเรท (ascorbyl stearate) ฉ) โทโคเฟอรอลส์ชนิดธรรมชาติและชนิดสังเคราะห์ (natural and synthetic tocopherols) ช) ไดลอริล ไธโอไดโพรพิโอเนท (dilauryl thiodipropionate) |
0.01
0.02
0.02แต่จะใช้แกลเลทได้ ไม่เกินร้อยละ 0.01 ของน้ำหนัก0.050.05 ไม่กำหนด |
จะใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้รวมกันได้ไม่เกินร้อยละ 0.01 ของน้ำหนักจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือใช้รวมกันได้ไม่เกินร้อยละ 0.02 ของน้ำหนักวัตถุกันหืนตาม (ง) และ (จ) จะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือใช้รวมกันได้ไม่เกินร้อยละ 0.05 ของน้ำหนัก |
4. | สารเสริมฤทธิ์วัตถุกันหืน (Antioxidant Synergists) | ก) กรดซิตริคและโซเดียมซิเตรท (citric acid and sodium citrate) ข) ไอโซโพรพิลซิเตรท (isopropyl citrate) ค) กรดฟอสฟอริค (phosphoric acid) ง) โมโนกลีเซอไรด์ซิเตรท (monoglyceride citrate) | ไม่กำหนด0.010.010.01 | สารเสริมฤทธิ์ วัตถุกันหืน (ข) (ค) และ (ง) จะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือใช้รวมกันได้ไม่เกินร้อยละ 0.01 ของน้ำหนัก |
5. | วัตถุกันฟอง (Antifoaming Agents) | ไดเมทิลโพลีซิลลอกเซน (dimethyl polysiloxane) อย่างเดียวหรือผสมกับ ซิลิคอนไดออกไซด์ (silicon dioxide) | 0.001 |
บัญชีสารปนเปื้อน (Contaminants)
อันดับ | สารปนเปื้อน | ปริมาณสูงสุดที่ให้มีได้เป็นมิลลิกรัมต่อกิโลกรัม | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1. 2.3.4. |
ปริมาณเหล็ก : ในน้ำมันปาล์มธรรมชาติ ในน้ำมันปาล์มผ่านกรรมวิธีปริมาณทองแดง : ในน้ำมันปาล์มธรรมชาติ ในน้ำมันปาล์มผ่านกรรมวิธีปริมาณตะกั่วปริมาณสารหนู | 5.02.50.40.10.10.1 |