จุดเยือกแข็ง (freezing point) คืออุณหภูมิที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง มักใช้กับน้ำเปลี่ยนสถานะเป็นน้ำแข็ง
น้ำบริสุทธิ์ที่ความดันบรรยากาศปกติ (atmospheric pressure) มีอุณหภูมิจุดเยือกแข็ง ที่ 0 องศาเซลเซียส ปริมาณ
ความร้อนที่ใช้เพื่อเปลี่ยนสถานะ คือความร้อนแฝง (latent heat)
การลดลงของอุณหภูมิจุดเยือกแข็ง (freezing point depression) เป็นสมบัติคอลลิเกติฟ (colligative properties)
สารละลาย เช่น น้ำเชื่อม น้ำเกลือ มีจุดเยือกแข็งต่ำกว่าน้ำบริสุทธิ์ เมื่อความเข้มข้นของสารละลายเพิ่มขึ้น
น้ำในอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ น้ำนม ไข่ ก็อยู่ในรูปของสารละลาย จุดเยือกแข็งของอาหาร จะต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง
ของน้ำบริสุทธิ์
อาหาร | ปริมาณความชื้นฐานเปียก (%) | จุดเยือกแข็ง (o ซ) |
ผัก | 78-92 | -0.8 ถึง -2.8 |
ผลไม้ | 87-95 | -0.9 ถึง 2.7 |
เนื้อสัตว์ | 55-70 | -1.7 ถึง -2.2 |
ปลา | 65-81 | -0.6 ถึง 2.0 |
นม | 87 | -0.5 |
ไข่ | 74 | -0.520 ถึง -0.5025 |
จุดเยือกแข็งของน้ำนม
จุดเยือกแข็งของน้ำนมจากสัตว์ส่วนใหญ่มีค่าใกล้เคียงกัน น้ำนมโคปกติมีจุดเยือกแข็งระหว่าง -0.566 ถึง -0.485
น้ำนมน้ำเหลือง (colustrum) มีค่าต่ำกว่านี้เล็กน้อย
การแปรรูปน้ำนม เช่น การพาสเจอไรซ์ (pasteurization) ไม่มีผลต่อจุดเยือกแข็งของน้ำนม จุดเยือกแข็งของ
น้ำนมพาสเจอไรซ์อยู่ระหว่าง - 0.500 ถึง -0.565
การเจือจางน้ำนมด้วยน้ำทำให้จุดเยือกแข็งของน้ำนมสูงขึ้น น้ำนมโคที่มีน้ำปนอยู่นร้อยละ 5 มีจุดเยือกแข็ง
-0.530 องศาเซลเซียส หากมีน้ำปนอยู่ ร้อยละ 10 และ 20 จุดเยือกแข็งจะเพิ่มขึ้นเป็น -0.506 และ -0.485 องศาเซลเซียส
ในการตรวจคุณภาพเพื่อรับซื้อน้ำนมดิบ น้ำนมดิบที่มีคุณภาพดีควรมีค่าจุดเยือกแข็งระหว่าง -0.520 ถึง -0.525
องศาเซลเซียส การตรวสอบจุดเยือกแข็งของน้ำนมสด เพื่อตรวจการปลอมปนน้ำ โดยใช้เครื่องหาจุดเยือกแข็ง
(Cryoscope จุดเยือกแข็งของน้ำนมสามารถใช้คำนวณหาปริมาณน้ำที่เติมลงไปในน้ำนมได้
ไครโอโพรเทกแทนต์ (Cryoprotectant)
สารที่ใช้เพื่อลดจุดเยือกแข็งให้ต่ำลง ป้องกันการเกิดผลึกน้ำแข็ง ตัวอย่างเช่น ทรีฮาโลส (Trehalose) น้ำตาลซูโครส
(sucrose) กลีเซอรอล (glycerol) น้ำตาลแอลกอฮอล์ (sugar alcohol) เช่น ซอร์บิทอล (sorbitol) เป็นต้น