Food Wiki

ค้นหา 6,332 คำศัพท์

Sweet pepper / พริกหวาน

 

พริกยักษ์ หรือ พริกหวาน พริกตุ้มใหญ่ พริกระฆัง (ชื่อภาษาอังกฤษ sweet peeper หรือ bell pepper หรือ Capcicum)
เป็นพริกชนิดหนึ่ง ทีไม่มีความเผ็ด มีชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum annuum Linn.

ส่วนที่ใช้บริโภค

พริกยักษ์จัดเป็นผัก (vegetable) ส่วนที่ใช้บริโภคคือผลแก่ สด ซึ่งมีลักษณะทรงโคนตัด มีพูสี่ถึงหกพู ส่วนกว้างของผล
ประมาณ 5-6 เซนติเมตร เนื้อหนา มีทั้งสีเขียว แดง เหลือง ส้ม ช็อกโกแลต รสชาติหวาน ไม่เผ็ด ภายในผลโปร่ง ภายในมี
เมล็ดแบนมาก นิยมรับประทานเป็นผักสดสดใน
สลัด หรือนำมาปรุงอาหาร

การเก็บรักษาพริกหวานหลังการเก็บเกี่ยว

พริกหวานที่แก่จัด หลังการเก็บเกี่ยว จะถูกบรรจุใส่ภาชนะ แล้วลำเลียงไปยังแหล่งคัดบรรจุ การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังก
ารเก็บเกี่ยวทุกขั้นตอน ต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง เพราะผลพริกหวานมีผิวบาง ต้องระวังไม่ให้เกิดบาดแผล หรือกระทบ
กระแทกหรือชอกช้ำ

  • การคัดเลือก (sorting) เพื่อคัดเอาผลเสียและผิดปกติ ไม่ได้ขนาด มีตำหนิ ออกให้หมด เป็นการป้องกันการแพร่กระจาย
    ของ
    จุลินทรีย์ทั้งแบคทีเรียและ รา จากผลเสียไปยังผลปกติ ซึ่งจุลินทรีย์จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น หากเกิดแผลเปิด หรือ
    รอยช้ำบนผลพริกหวาน
  • การล้างทำความสะอาด
  • การลดอุณหภูมิ (pre-cooling) เพื่อลดปริมาณความร้อนภายในผล ช่วยชะลอการหายใจ โดยพริกหวาน 1 ตัน จะปลดปล่อย
    พลังงานความร้อนออกมามากถึง 500-14300
    BTU/วัน การลดอุณหภูมิของพริกหวานมักทำโดยการเป่าลมเย็น (force air
    cooling) ทำจนอุณหภูมิภายในผลเหลือ ประมาณ 7-13 องศาเซลเซียส
  • การคัดขนาดและคัดเกรด (sizing and grading) พริกหวานจะมีสี ขนาด และความสมบูรณ์ของผลแตกต่างกัน
    การคัดขนาดและคัดคุณภาพ อาจทำด้วยสายตาโดยใช้คน หรือใช้เครื่องคัดขนาด เช่น diverging bar sizers
  • การเก็บรักษาในห้องเย็น (cold storage) ที่อุณหภูมิ 7-13 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95 เปอร์เซ็นต์ เพื่อรอ
    การขนส่ง พริกหวานมีอายุการเก็บรักษาได้ประมาณ 2-3 สัปดาห์

การเกิดการสะท้านหนาวของพริกหวาน

การแช่เย็นพริกหวานที่อุณภูมิต่ำกว่า 7 องศาเซลซียส ทำให้เกิดอาการสะท้านหนาว (chilling injury) เป็นสาเหตุของการ
เสื่อมเสียด้วยจุลินทรีย์ (microbial spoilage) ได้ง่าย

 

Reference

http://www.fao.org/docrep/t0073e/T0073E02.htm

http://vric.ucdavis.edu/postharvest/fruitveg.htm

 

 

 



(เข้าชม 2,550 ครั้ง)

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
สมัครสมาชิก